Toshiba แถลงถึงแผนการพัฒนาความจุฮาร์ดดิสก์ว่ารุ่นความจุสูงสุดจะเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าปีละ 10% ไปจนถึงปี 2026 ที่ฮาร์ดดิสก์จะใหญ่กว่า 40TB ส่วนในปีนี้ก็จะมีรุ่น 26TB วางตลาด
เทคโนโลยีเพิ่มความจุของ Toshiba เดิมใช้ FC-MAMR (Flux-Controlled - Microwave-Assisted Magnetic Recording) มาตลอด แต่ปีนี้ก็จะหันไปใช้ MAS-MAMR (Microwave Assisted Switching – Microwave-Assisted Magnetic Recording) ที่พัฒนาร่วมกับ TDK ผู้ผลิตหัวอ่านเขียนฮาร์ดดิสก์ ร่วมไปกับการเพิ่มแผ่นดิสก์ให้แน่นขึ้น รุ่น 30TB ขึ้นไปนั้นน่าจะใช้ดิสก์ 11 แผ่นขึ้นไปแล้ว
Toshiba ประกาศแผนการแยกบริษัทออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
Wall Street Journal รายงานข่าววงในว่า Western Digital กำลังเจรจาเพื่อควบรวมกับ Kioxia บริษัทหน่วยความจำของญี่ปุ่นที่รีแบรนด์มาจาก Toshiba Memory เดิม ปัจจุบัน Toshiba ถือหุ้นราว 40% ส่วนที่เหลือเป็นของบริษัทลงทุน Bain Capital
หากการเจรจาสำเร็จ บริษัทใหม่จะมีมูลค่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์ โดย David Goeckeler ซีอีโอของ Western Digital จะนั่งเป็นซีอีโอของบริษัทใหม่
ผู้นำตลาดหน่วยความจำในปัจจุบันคือซัมซุง มีส่วนแบ่งตลาด NAND ประมาณ 1/3 ส่วน Kioxia มี 19% และ Western Digital มี 15% ซึ่งถ้าสองบริษัทนี้ควบรวมกันได้ก็จะมีส่วนแบ่งตลาดแซงหน้าซัมซุง
โตชิบาร่วมกับ Peraton Labs สร้างเครื่องมือสำรวจเส้นทางการแฮกระบบ เพื่อทดสอบการเจาะระบบที่ต้องอาศัยช่องโหว่หลายชั้น โดยเฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรมที่มักแยกเครือข่ายของเซิร์เวอร์และระบบควบคุมในโรงงานออกจากกัน
ซอฟต์แวร์ Automated Attack Path Planning and Validation (A2P2V) อาศัยฐานข้อมูลช่องโหว่สาธารณะมาทดสอบความปลอดภัยของอุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่าย เพื่อจำลองความเป็นไปได้ที่ระบบจะถูกเจาะ เช่นการเจาะไฟร์วอลล์เข้าไปยังพรินเตอร์เพื่อกระโดดไปยังตัวควบคุมเครื่องจักรในที่สุด
ทั้งสองบริษัทเสนอเครื่องมือ A2P2V ในงาน Black Hat 2021 ที่ผ่านมา และเปิดโค้ดไว้บน GitHub
เมื่อพูดถึงแบรนด์ Toshiba คงไม่มีใครนึกถึงในแง่บริษัทซอฟต์แวร์มากนัก แต่จริงๆ แล้ว Toshiba มีบริษัทลูกชื่อ Toshiba Digital Solutions ที่ทำธุรกิจด้านโซลูชันไอที และมีผลงานสร้างซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลของตัวเองชื่อ GridDB มาสักระยะหนึ่งแล้ว
GridDB เป็นฐานข้อมูลที่ Toshiba สร้างขึ้นใช้เองภายใน แนวคิดคือเก็บข้อมูลอิงเวลา (time series) ของอุปกรณ์ IoT จำนวนมากๆ มาบันทึกไว้เพื่อประมวลผลข้อมูลในภายหลัง โดยชูจุดเด่นเรื่องการรองรับข้อมูลระดับ petabyte โดยที่ยังมีเสถียรภาพและความน่าเชื่อถือสูง แถมคุยว่าประสิทธิภาพยังดีกว่าคู่แข่งระดับเดียวกันคือ Apache Cassandra
Dynabook แบรนด์โน้ตบุ๊กสายธุรกิจที่หลายๆ คนอาจจะยังไม่คุ้น เพราะเพิ่งรีแบรนด์มาจาก Toshiba Client Solutions หลัง SHARP เข้าถือหุ้นธุรกิจฝั่ง PC ของ Toshiba ในช่วงกลางปี 2018 จึงเปลี่ยนชื่อโน้ตบุ๊กและแท็บเล็ตสายธุรกิจเป็นชื่อนี้ ไลน์ย่อยของ Dynabook แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน คือ
Toshiba ขายธุรกิจโน้ตบุ๊กให้เพื่อนร่วมชาติ Sharp ในปี 2018 โดย Sharp เลือกใช้แบรนด์ใหม่ Dynabook ทำตลาดแทน
แต่ Toshiba ยังมีหุ้นเหลืออยู่ 19.9% ในบริษัท Dynabook Inc. ซึ่งล่าสุด Toshiba ประกาศขายหุ้นก้อนนี้ให้กับ Sharp แล้ว (ตามเงื่อนไขตอนปี 2018 ที่ Sharp มีสิทธิซื้อหุ้นก้อนที่เหลือเพิ่มหรือ call option) ตอนนี้ Dynabook จึงมีสถานะเป็นบริษัทลูกของ Sharp แล้ว 100% และถือว่า Toshiba ถอนตัวออกจากธุรกิจโน้ตบุ๊กอย่างเป็นทางการ
ที่มา - Toshiba, The Register
Toshiba Energy Systems & Solutions เปิดตัวระบบแบตเตอรี่พลังเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนขนาด 1 เมกะวัตต์ ภายในประกอบด้วยเซลล์เชื้อเพลิงขนาด 100 กิโลวัตต์ราว 10 ตัว แบตเตอรี่ชุดนี้เพียงพอจะจ่ายไฟฟ้าให้ทั้งโรงงาน, โรงพยาบาล (ที่ใช้กำลังไฟฟ้าราว 1-2 เมกะวัตต์) หรือครัวเรือนกว่า 1,000 ครัวเรือน โดย Toshiba จะเริ่มขายชุดแบตเตอรี่นี้อย่างเร็วที่สุดภายในปีงบประมาณนี้ (ปีงบประมาณสิ้นสุดเดือนมีนาคม)
รายงานข่าวที่ผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์หลายรายปรับเปลี่ยนดิสก์หลายรุ่นไปใช้เทคโนโลยี SMR เพื่อลดต้นทุนการผลิต ทำให้ Western Digital ต้องออกมาเปิดเผยรายชื่อดิสก์ที่ได้รับผลกระทบก่อนหน้านี้ ล่าสุดฝั่งโตชิบาก็ออกมาเปิดเผยรายชื่อดิสก์สำหรับผู้ใช้ทั่วไปที่ใช้เทคนิค SMR เช่นกัน
ดิสก์ที่กระทบได้แก่
ทั้งนี้ทางโตชิบายืนยันว่าดิสก์ตระกูล NAS อย่าง N300 ที่มีการเขียนข้อมูลสูงจะไม่มีการใช้ SMR
หลายคนอาจคุ้นเคยโน้ตบุ๊กแบรนด์ Toshiba ที่เคยมาทำตลาดในบ้านเราอยู่ช่วงหนึ่ง (เช่น รุ่นบางเบา Portégé) แต่เมื่อ Toshiba ประสบปัญหาทางธุรกิจอย่างหนักในช่วงปี 2015 ทำให้ธุรกิจหลายส่วนหยุดชะงัก และจบด้วยการขายบางธุรกิจออกไปเพื่อลดการขาดทุน
ชะตากรรมของธุรกิจโน้ตบุ๊กของ Toshiba จบลงด้วยการขายให้ Sharp เพื่อนร่วมชาติในปี 2018 โดย Sharp ในฐานะเจ้าของใหม่เลือกใช้แบรนด์ Dynabook ทำตลาด แทนการบอกว่าเป็น Sharp หรือ Toshiba ตรงๆ (รีแบรนด์ในปี 2019) และเลือกทำตลาด Dynabook ในบางประเทศเท่านั้น เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา
Toshiba Memory ธุรกิจหน่วยความจำของ Toshiba ที่แยกบริษัทออกมาในปี 2017 (ขายให้กลุ่มทุน Bain Capital) ประกาศรีแบรนด์ตัวเองใหม่ชื่อ Kioxia (อ่านว่า kee-ox-ee-uh) มีผลวันที่ 1 ตุลาคม 2019
ที่มาของชื่อ Kioxia มาจากคำว่า kioku ในภาษาญี่ปุ่นที่แปลว่า "memory" และคำว่า axia ในภาษากรีกที่แปลว่า "value" โดยวิสัยทัศน์ของบริษัทใหม่คือ Uplifting the world with “memory”
ตอนนี้ยังไม่มีโลโก้ของ Kioxia ออกมาให้ดูกัน และยังไม่มีข้อมูลว่าแรมหรือสินค้าอื่นๆ ของ Kioxia จะรีแบรนด์ไปใช้ชื่อใหม่ หรือยังใช้ชื่อ Toshiba ทำตลาดเหมือนเดิม
Toshiba เปิดตัวฮาร์ดดิสก์รุ่นใหม่ MG08 Series ที่มีความจุถึง 16TB ถือว่าใหญ่ที่สุดในวงการ ณ ตอนนี้ (ใหญ่ที่สุดก่อนหน้านี้คือ 12TB และ 14TB ในซีรีส์ MG07)
ฮาร์ดดิสก์รุ่นนี้ใช้เทคโนโลยีฮาร์ดดิสก์อัดก๊าซฮีเลียม (เพื่อลดแรงเสียดทานของจานหมุน) เป็นรุ่นที่สอง ภายในมีจานหมุนทั้งหมด 9 จาน ที่ความเร็ว 7,200 rpm ในขนาด 3.5 นิ้วมาตรฐาน เลือกเชื่อมต่อได้ทั้ง SATA และ SAS
ฮาร์ดดิสก์ซีรีส์ MG ถือเป็นฮาร์ดดิสก์สำหรับลูกค้าองค์กร และเน้นความจุมากกว่าความเร็ว (Enterprise Capacity HDD)
ที่มา - Toshiba, Notebookcheck
สำนักข่าว Reuters รายงานว่า Sharp อยู่ในขั้นตอนเจรจาปิดดีล เพื่อซื้อส่วนธุรกิจพีซีทั้งหมดของ Toshiba ที่มูลค่าราว 5,000 ล้านเยน หรือประมาณ 1,500 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในสัปดาห์นี้
Sharp คาดว่าดีลนี้จะทำให้บริษัทซึ่งถอนตัวจากธุรกิจพีซีไปตั้งแต่เมื่อปี 2010 จะกลับเข้าสู่ตลาดได้อีกครั้ง เนื่องจากตอนนี้มี Foxconn เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ และ Foxconn เองก็รับจ้างประกอบพีซีให้กับผู้ผลิตรายอื่นอยู่แล้ว ขณะเดียวกันธุรกิจพีซีก็เป็นธุรกิจที่ขาดทุนสะสมของ Toshiba การขายกิจการออกไปก็จะช่วยให้ฐานะการเงินบริษัทดีขึ้น
Toshiba ชี้แจงว่าบริษัทยังประเมินทางเลือกหลายอย่างสำหรับธุรกิจพีซี รวมทั้งมีการเจรจากับผู้สนใจซื้อกิจการบางรายอยู่จริง
Toshiba เปิดตัวแว่นตา AR ประกอบไปด้วยแว่นตา AR100 เชื่อมต่อกับมินิพีซี dynaEdge โมเดล DE-100 ผ่านทางสายสัญญาณ USB-C ออกแบบมาสำหรับผู้ปฏิบัติงานภาคสนาม
ตัวแว่น AR100 จะทำหน้าที่หลักเป็นทั้งส่วนแสดงผล และรับการสั่งงาน บริเวณตำแหน่งที่ตรงกับดวงตาข้างขวาของผู้ใช้ที่สวมใส่แว่น AR100 จะมีจอแสดงภาพขนาดเล็กติดอยู่ โดยจอภาพนี้ปรับตั้งโฟกัสมาให้ความรู้สึกเหมือนกำลังมองหน้าจอสมาร์ทโฟนขนาด 5 นิ้ว จากระยะ 45 เซนติเมตร
Toshiba และ Western Digital มีเรื่องโต้เถียงและฟ้องร้องกันมาสักพักในกรณีที่ Toshiba ตัดสินใจขายธุรกิจผลิตชิพหน่วยความจำ Toshiba Memory ออกไปให้กลุ่มทุน Bain Capital เพื่อนำเงินมาแก้ปัญหาหนี้สินของบริษัท ตอนนี้ทั้งสองบริษัทได้ประกาศยุติการฟ้องร้องกันแล้ว
ปัญหาการเงินรุมเร้า Toshiba จากการขาดทุนจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จนต้องขายธุรกิจหน่วยความจำและธุรกิจทีวีไปแล้ว ล่าสุด Toshiba กำลังเจรจาจะขายธุรกิจพีซีอีกธุรกิจให้กับ Asustek จากไต้หวัน
Asian Nikkei Review ระบุด้วยว่ามี Lenovo อีกรายที่แสดงความสนใจในดีลนี้ด้วยเช่นกัน โดยปีงบประมาณ 2016 ที่ผ่านมา ธุรกิจพีซีของ Toshiba ขาดทุนจากการดำเนินงานไปถึง 500 ล้านเยนและก็คาดว่าสิ้นสุดปีงบประมาณ 2017 ตัวเลขขาดทุนมีสิทธิ์เพิ่มถึง 5 พันล้านเยนจากยอดขายที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ยิ่งบีบให้ Toshiba ต้องเร่งขายธุรกิจ เพื่อหยุดเลือดและนำกระแสเงินสดเข้ามาแก้ปัญหาหนี้จากการขาดทุนโรงไฟฟ้าในระยะสั้น
ที่มา - Asian Nikkei Review
ท่ามกลางปัญหาการเงินรุมเร้า Toshiba ต้องตัดขายธุรกิจทิ้งเพื่อหาเงินมาใช้หนี้ ก่อนหน้านี้เป็นธุรกิจผลิตหน่วยความจำ มี Bain Capital เข้ามาซื้อไปด้วยมูลค่า 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์ และเคยมีข่าวลือว่าจะขายธุรกิจทีวีมาก่อน
ล่าสุด Toshiba ก็ได้ประกาศขายธุรกิจทีวี Toshiba Visual Solutions (TVS) ออกไปแล้วอย่างเป็นทางการ โดยผู้ที่เข้ามาซื้อคือ Hisense Electric จากจีน (มีบริษัทใหญ่ Hisense Group ถือหุ้น 39.35%) ด้วยมูลค่าประมาณ 1.29 หมื่นล้านเยน หรือ 113 ล้านดอลลาร์ ซึ่งจะทำให้ Hisense Electric กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน TVS ที่ 95% ส่วน Toshiba Group จะเหลือสัดส่วนการถือหุ้น 5%
มหากาพย์การขายธุรกิจผลิตชิปหน่วยความจำของ Toshiba สิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการ โดยบอร์ดของ Toshiba อนุมัติการขายบริษัทลูก Toshiba Memory Corporation (TMC) ให้กับกลุ่มบริษัทที่นำโดย Bain Capital ในราคา 2 ล้านล้านเยน
Toshiba เริ่มกระบวนการขายกิจการเซมิคอนดักเตอร์มาตั้งแต่ต้นปี 2017 และเลือกกลุ่มบริษัทที่นำโดย Bain Capital มาก่อนแล้ว แต่โดนสกัดกั้นโดย Western Digital (ที่มีหุ้นใน Toshiba ด้วย) และเรื่องถึงขั้นฟ้องศาล เพราะ Western Digital ระบุว่าฝ่ายตนมีสิทธิยับยั้งการขายบริษัทลูกให้คู่แข่ง
เส้นทางชีวิตของ Toshiba ที่จะขายธุรกิจ Semiconductor ออกไปเพื่อดึงเงินเข้ามาพยุงกิจการอื่นของบริษัท ความคืบหน้าล่าสุดคือ Toshiba เลือกกลุ่มนักลงทุนที่นำโดยรัฐบาลญี่ปุ่น
กลุ่มนักลงทุนนี้ประกอบด้วยกองทุนนวัตกรรม Innovation Network Corporation of Japan (INCJ) ของรัฐบาล, ธนาคาร Development Bank of Japan (DBJ), บริษัทลงทุน Bain Capital จากสหรัฐ และมีข่าวว่าจะได้เงินกู้จากบริษัทผลิตหน่วยความจำ SK Hynix จากเกาหลีใต้มาใช้ในการซื้อกิจการด้วย
ตามแผนการตัดขายธุรกิจบางส่วนของ Toshiba เนื่องจากปัญหาทางการเงิน ซึ่งรวมถึงธุรกิจ Semiconductor ที่คาดว่าจะทำให้ Toshiba ได้เงินค่อนข้างมาก เพราะ Toshiba มีส่วนแบ่งการตลาดในธุรกิจนี้สูงอยู่แล้วนั้น ล่าสุดมีรายงานว่า Toshiba จะประกาศชื่อผู้เข้าซื้อธุรกิจส่วนนี้ในวันที่ 15 มิถุนายน 2017
Reuters ระบุว่าผู้สนใจซื้อกิจการ ได้แก่ กลุ่มของ Broadcom ร่วมกับกองทุน Silver Lake และกลุ่มของ Western Digital ร่วมกับกองทุนฟื้นฟูกิจการของรัฐบาลญี่ปุ่น ขณะที่ Japan Times บอกว่า Hon Hai Precision (Foxconn) ก็ร่วมมือกับ Apple และ Amazon ในการยื่นข้อเสนอซื้อกิจการด้วยเช่นกัน
Nikkei Asian Review รายงานข่าวอย่างไม่เป็นทางการว่า Toshiba ยักษ์ใหญ่อีกรายของวงการเครื่องใช้ไฟฟ้าญี่ปุ่น อาจขายธุรกิจทีวีนอกญี่ปุ่นออกไป
Toshiba กำลังมีสถานการณ์การเงินย่ำแย่เพราะธุรกิจพลังงานนิวเคลียร์ขาดทุนมหาศาล (อ้างอิง) ส่งผลให้บริษัทถูกบีบให้ขายธุรกิจบางส่วนเพื่อดึงกระแสเงินสดเข้ามา
ตามข่าวบอกว่า Toshiba จะเปิดให้บริษัทอื่นๆ เข้ามาประมูลธุรกิจทีวีแข่งกันในเร็วๆ นี้ รายชื่อบริษัทที่โผล่ขึ้นมาแล้วคือ Vestel บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าของตุรกี (ที่ซื้อสิทธิการใช้แบรนด์ Toshiba ในยุโรปไปแล้ว) และ Hisense กับ Midea จากประเทศจีน
Asian Nikkei Review รายงานว่า Toshiba กำลังพิจารณาสปินออฟธุรกิจผลิตชิปออกมาตั้งเป็นบริษัทใหม่ภายในครึ่งปีแรกนี้ โดยมี Western Digital และกองทุนรวมแห่งหนึ่งให้ความสนใจที่จะลงทุนในบริษัทใหม่ของ Toshiba
แหล่งข่าวระบุว่า Toshiba มีแผนจะขายหุ้นในบริษัทใหม่ราว 20% เป็นมูลค่าราว 1.77 หมื่นล้านเหรียญถึง 2.65 หมื่นล้านเหรียญ โดยยังคงถือหุ้นส่วนใหญ่เอาไว้ และมีแผนจะเข้าตลาดหุ้นต่อไปในอนาคตด้วย
ที่มา - Asian Nikkei Review
เราเห็น SSD ขนาด 60TB จาก Seagate กันไปแล้ว ฝั่งของ Toshiba ก็ออกมานำเสนอข้อมูลของ SSD ขนาด 100TB ว่าเป็นไปได้เช่นกัน
หัวใจหลักของ SSD ความจุมากขนาดนี้คือเทคโนโลยี quad-level cell (QLC) ซึ่งเป็นการเรียงเซลล์หน่วยความจำ NAND แบบ 4 เลเยอร์ ส่งผลให้ 1 เซลล์จุข้อมูลได้ 4 บิต (0000 ถึง 1111) เพิ่มความจุขึ้นไปอีกหลายเท่าในราคาถูกกว่าเดิมมาก และกินพลังงานน้อยลงมาเมื่อเทียบกับฮาร์ดดิสก์ความจุเท่ากัน
บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจัดหาอุปกรณ์ระบบไฟฟ้า มีฐานที่ประเทศไทย ทำสัญญากับ Toshiba ประเทศญี่ปุ่น ในโปรเจกต์ "Kimitsu Mega Solar Power Plant" โดยว่าจ้างให้ Toshiba สร้างฟาร์มผลิตพลังงานโซลาร์เซล์ให้กับบริษัทกันกุล พื้นที่ก่อสร้างฟาร์มคือสถานที่ที่เคยจะสร้างเป็นสนามกอล์ฟในเมืองชิบะ ขนาดพื้นที่ 47 เฮกตาร์ (ประมาณ 470,000 ตารางเมตร) ฟาร์มโซลาร์เซลล์ดังกล่าวจะมีกำลังผลิตพลังงานถึง 33.5 ล้านวัตต์
การก่อสร้างจะเริ่มในเดือนกันยายนนี้ และเริ่มผลิตไฟฟ้าได้ในปีงบประมาณ 2018 จำนวนเงินสูงประมาณ 9 พันล้านเยน หรือ กว่า 3 พันล้านบาท
ผู้ดำเนินการโรงงานไฟฟ้านี้จะดำเนินการโดยบริษัทที่จัดตั้งขึ้นมาเฉพาะ คาดว่าจะสามารถผลิตกำลังไฟฟ้าได้ 45 ล้าน kWh ป้อนไฟฟ้าได้กว่าหมื่นครัวเรือน/ปี
Toshiba และ Western Digital แล้ว เตรียมลงทุนครั้งใหญ่แบบต่อเนื่องภายใน 3 ปีนับจากนี้ เพื่อขยายธุรกิจการผลิตหน่วยความจำแบบแฟลช โดยมูลค่าการลงทุนนั้นสูงถึง 1.7 ล้านล้านเยน (ประมาณ 0.6 ล้านล้านบาท)
ก่อนหน้านี้ Toshiba ได้ร่วมลงทุนกับ SanDisk อยู่ก่อนแล้วในการสร้างและดำเนินงานโรงงานในเมือง Yokkaichi จังหวัด Mie และเมื่อ SanDisk ถูก Western Digital ซื้อกิจการไปจนควบรวมกิจการเสร็จสมบูรณ์ไปเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ทาง Western Digital ก็ยังคงสนใจที่จะร่วมมือกับ Toshiba ในการลงทุนขยายโรงงานการผลิตต่อไปอีก