จากกรณี Windows 7 จะหมดระยะซัพพอร์ตในเดือนมกราคม 2020 โดยไมโครซอฟท์เปิดให้องค์กรซื้อแพตช์ความปลอดภัยเพิ่มได้อีก 3 ปี ภายใต้โครงการชื่อ Extended Security Updates (ESU)
ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศราคาออกมาแล้ว โดยราคาคิดต่อจำนวนอุปกรณ์ และราคาจะแพงขึ้นทุกปี ไมโครซอฟท์ยังแบ่งราคาออกเป็น 2 แบบคือ ลูกค้า Windows 7 Pro ไลเซนส์ปกติ และลูกค้าที่มีไลเซนส์ Windows 10 Enterprise อยู่แล้ว สามารถซื้อแพตช์ของ Windows 7 ESU ได้แบบ add-on ในราคาถูกลงครึ่งหนึ่ง
หลังกูเกิลแยกส่วน Hangouts สำหรับตลาดองค์กรเป็น Hangouts Chat สำหรับแชท และ Hangouts Meet สำหรับการประชุม ฝั่งของ Hangouts Meet ก็ดูไปได้เรื่อยๆ และมีชุดฮาร์ดแวร์สำหรับการประชุมที่ออกแบบมาสำหรับ Hangouts Meet โดยเฉพาะ
ล่าสุดกูเกิลประกาศความร่วมมือกับ Logitech ออกชุดฮาร์ดแวร์สำหรับการประชุม Logitech Room Solutions for Meet มาด้วยกัน 3 ขนาด สำหรับห้องประชุมขนาด 2-6 คน, 6 คนขึ้นไป และ 12 คนขึ้นไป
ชุดฮาร์ดแวร์เหล่านี้ประกอบด้วยกล้องของ Logitech, ลำโพง/ไมโครโฟน, คอนโทรลเลอร์ และ Chromebox สำหรับใช้ประมวลผล โดยมีราคาเริ่มต้นที่ชุดละ 3,000 ดอลลาร์ ซึ่ง Logitech โฆษณาว่าถูกกว่าชุดฮาร์ดแวร์สำหรับการประชุมในท้องตลาดมาก
เมื่อปลายปีที่แล้ว Amazon เปิดตัว Corretto หรือ OpenJDK เวอร์ชันของตัวเอง เพื่อใช้ทดแทน Java 8 SE ที่ Oracle เริ่มคิดเงินค่าใช้งาน
ล่าสุด Amazon Corretto 8 ที่เทียบเท่า OpenJDK 8 (เป็นเวอร์ชัน 8u202) มีสถานะเป็น Generally Available (GA) พร้อมใช้งานแล้ว สามารถดาวน์โหลดไปใช้งานได้ฟรี ทั้งบน Windows, macOS, Linux รวมถึงระบบปฏิบัติการ Amazon Linux 2 และมีเวอร์ชัน Docker image ให้ด้วย
Amazon ระบุว่าจะพัฒนา Corretto 11 ซึ่งเทียบเท่า Java 11 ที่เป็นรุ่น LTS ตามมาต่อไป
นอกจาก Office แล้ว ไมโครซอฟท์ยังมีซอฟต์แวร์ฝั่งธุรกิจอีกแบรนด์คือ Dynamics ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ตระกูล ERP/CRM
ในปี 2016 ไมโครซอฟท์จัดทัพ Dynamics ใหม่เป็นชุด Dynamics 365 ที่เป็นบริการบนคลาวด์ และคิดค่าบริการรายเดือนแบบเดียวกับ Office 365 และเมื่อปีที่แล้ว ไมโครซอฟท์ก็ประกาศว่าจะอัพเดตฟีเจอร์ให้ Dynamics 365 ปีละสองครั้ง แบบเดียวกับ Windows 10
ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศข้อมูลของอัพเดตตัวแรกคือ April ’19 Release ที่จะทยอยปล่อยให้ใช้งาน ตั้งแต่เดือนเมษายน 2019 จนถึงเดือนกันยายน 2019 (ก่อนก้าวเข้าสู่อัพเดตตัวที่สองคือ October '19 ต่อไป)
AWS เปิดตัวบริการใหม่ WorkLink สำหรับการแปลงเว็บภายในองค์กรให้พนักงานที่อยู่นอกเครือข่ายบริษัทสามารถเปิดใช้งานได้โดยไม่ต้อง VPN โดยอาศัยการเรนเดอร์หน้าเว็บใหม่ให้กลายเป็น SVG เพื่อป้องกันการนำข้อมูลออก
การแปลงเว็บให้กลายเป็นเว็บอาจจะดูแปลก แต่สำหรับหน่วยงานที่มีกฎการกำกับดูแลสูงๆ เช่น บริการสุขภาพ หรือบริการทางการเงิน จำเป็นต้องมีมาตรการสำหรับป้องกันไม่ให้พนักงานสำเนาตัวข้อมูลดิบออกไปได้ โดยข้อความทั้งหมดไม่สามารถเลือกข้อความได้ (เพราะกลายเป็นภาพ SVG ไปแล้ว) และ WorkLink ไม่อนุญาตให้กดดาวน์โหลดไฟล์ พฤติกรรมโดยรวมคล้ายกับการทำ remote desktop เข้าไปใช้งานแอปภายใน
กูเกิลประกาศแผนการย้ายผู้ใช้ Hangouts Classic (เฉพาะบน G Suite) ไปใช้ Hangouts Chat ตัวใหม่ โดย Hangouts Classic จะใช้ได้จนถึงเดือนตุลาคม 2019
Gartner ได้ทำผลสำรวจ 2019 CIO Survey โดยว่าภาคองค์กรตื่นตัวในการใช้ AI มากขึ้น โดยจำนวนองค์กรที่มีการใช้งาน AI เมื่อสี่ปีที่แล้วยังอยู่ที่ราว 10% แต่ในปี 2019 อยู่ที่ 37% ซึ่งเพิ่มขึ้นราว 270% ในช่วงเวลา 4 ปีที่ผ่านมา
จากผลสำรวจของ Gartner ระบุว่า ภาคองค์กรค่อนข้างตื่นตัวกับการใช้ AI โดยเหตุผลที่ทำให้มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายนั้น เนื่องจากความสามารถของ AI ได้พัฒนาสูงขึ้นมาก ดังนั้นทางฝั่งองค์กรจึงเต็มใจในการใช้งานเทคโนโลยีนี้มากขึ้น ซึ่ง AI ถูกนำไปใช้งานในรูปแบบที่หลากหลาย โดยจากผลการสำรวจพบว่า 52% ของบริษัทโทรคมนาคมมีการดีพลอยแชทบอทแล้ว และ 38% ของผู้ให้บริการด้านสุขภาพมีการใช้งานระบบวินิจฉัยโรคด้วยคอมพิวเตอร์
หน่วยธุรกิจ Google Cloud ของกูเกิลมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญคือ เปลี่ยนตัวซีอีโอจาก Diane Green มาเป็น Thomas Kurian อดีตผู้บริหารของ Oracle
กูเกิลประกาศขึ้นราคา G Suite ขึ้นจากของเดิม
ราคาใหม่จะมีผลวันที่ 2 เมษายนนี้ หากซื้อแพ็กเกจรายปีไปแล้วจะยังได้ราคาเดิม จนกว่าจะต่ออายุแพ็กเกจในรอบหน้า
คู่แข่งโดยตรงของ G Suite คือ Office 365 Business Essentials ยังคิดราคาที่ 5 ดอลลาร์ต่อเดือน โดยเป็นราคาจ่ายรายปี ส่วน Zoho Standard ยังขายถูกกว่าที่ 3 ดอลลาร์ต่อเดือน
Microsoft Teams ยังได้รับฟีเจอร์ใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยไมโครซอฟท์ชูเรื่องการใช้งานของพนักงานหน้างาน (Firstline Workers) ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ค้าปลีก บริการ ท่องเที่ยว และการผลิต ที่ทำงานผ่านสมาร์ทโฟนเป็นหลัก
Windows Server 2008 และ SQL Server 2008 (รวมถึงเวอร์ชันอัพเดตย่อย R2) เป็นระบบปฏิบัติการและฐานข้อมูลที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในโลกองค์กร อย่างไรก็ตาม ซอฟต์แวร์ทั้งสองตัวออกมาตั้งแต่ปี 2008 และปัจจุบันมีอายุครบ 10 ปีแล้ว ใกล้หมดอายุขัยเต็มทน (เข้าระยะ EOS หรือ End of Support)
ทุกคนย่อมอยากเปลี่ยนไปใช้ซอฟต์แวร์เวอร์ชันใหม่เสมอ เพราะมีข้อดีเหนือกว่าทั้งในแง่ของฟีเจอร์และความปลอดภัย แต่ในโลกความเป็นจริงก็ทำไม่ง่าย เพราะเวอร์ชันของระบบปฏิบัติการ-ฐานข้อมูลมักผูกอยู่กับซอฟต์แวร์เฉพาะขององค์กรที่สร้างขึ้นในยุคนั้น
ประเด็นสำคัญของโลกไอทีปี 2019 ที่ต้องจับตาคือ Windows 7 จะหมดระยะซัพพอร์ตในวันที่ 14 มกราคม 2020 เท่ากับว่าเราเหลือเวลาอีก 1 ปีพอดีก่อนที่ระบบปฏิบัติการจะหมดอายุ
ตามปกติแล้วไมโครซอฟท์มีระยะเวลาซัพพอร์ตระบบปฏิบัติการนาน 10 ปี โดยแบ่งเป็นช่วง mainstream support ที่แก้บั๊ก-ออกแพตช์-เพิ่มฟีเจอร์ ในช่วง 5 ปีแรก และช่วง extended support ที่ออกแค่แพตช์ความปลอดภัยในช่วง 5 ปีหลัง
กรณีของ Windows 7 ออกตัวจริงในเดือนกรกฎาคม 2009 มาถึงตอนนี้ก็เกือบครบ 10 ปีแล้ว โดยไมโครซอฟท์ยืดระยะซัพพอร์ตให้อีกเล็กน้อย ไปจบที่เดือนมกราคม 2020
ตลาดซอฟต์แวร์สื่อสารภายในทีมกำลังดุเดือดขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะคู่ระหว่าง Slack กับ Microsoft Teams เพราะหลัง Microsoft Teams เปิดตัว ฝั่งของ Slack ถึงกับซื้อโฆษณาเต็มหน้าหนังสือพิมพ์เพื่อเตรียมสกัดคู่แข่ง
ไม่มีใครรู้ว่าตัวเลขผู้ใช้จริงๆ ของโปรแกรมแต่ละตัวเป็นอย่างไรบ้าง แต่ผลสำรวจจาก Spiceworks บริษัทด้านผู้เชี่ยวชาญไอที ก็พอให้เราเห็นภาพของตลาดนี้มากขึ้น
Pure Storage เคยพลิกวงการสตอเรจองค์กรมาแล้วครั้งหนึ่ง จากการเสนอโซลูชันสตอเรจแบบแฟลชล้วน (All-Flash Array) ในปี 2009 ท่ามกลางตลาดที่ยังคงนิยมใช้งานสตอเรจแบบฮาร์ดดิสก์ ทำให้ Pure Storage ประสบความสำเร็จอย่างสูง และขายหุ้น IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์ไปเมื่อปี 2015
แต่เมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนไป สตอเรจแฟลชแบบ NVMe ความเร็วสูงเริ่มมีราคาถูกลง ทำให้การใช้สตอเรจ NVMe ในองค์กรเริ่มใกล้ความจริงขึ้นมาเรื่อยๆ และในที่สุด Pure Storage ก็ออกผลิตภัณฑ์ตระกูล FlashArray//X ที่เป็นแฟลชแบบ NVMe ล้วนมาจับตลาดนี้
บทความนี้จะพาไปรู้จักกับโซลูชัน FlashArray//X ของ Pure Storage ให้มากขึ้น
บริษัท Docker มีผลิตภัณฑ์ Docker Desktop ที่รวมเอาซอฟต์แวร์สำคัญๆ (Docker/Swarm/Kubernetes) สำหรับรันคอนเทนเนอร์บนพีซีแบบติดตั้งง่าย-ใช้งานง่าย โดยบริษัทบอกว่ามีผู้ใช้เป็นประจำเกือบทุกวันที่ 1.4 ล้านคน
ล่าสุด Docker ออก Docker Desktop Enterprise มาจับตลาดลูกค้าองค์กร โดยมีคุณสมบัติเพิ่มจากรุ่นปกติดังนี้
ที่งาน AWS re:Invent มีการเปิดตัวบริการด้านบล็อคเชน (Blockchain as a Service) 2 ตัว ดังนี้
Amazon Quantum Ledger Database (QLDB) บริการฐานข้อมูลบล็อคเชนแบบมีศูนย์กลาง (centralized) สำหรับการเก็บข้อมูลที่เขียนต่อกันไปเรื่อยๆ (journal) มีความต่อเนื่อง (sequential) แต่ต้องการให้แก้ไขไม่ได้ (immutable) และสามารถยึนยันความถูกต้องของข้อมูลได้ (verifiable) ด้วยการเข้ารหัสข้อมูล
บริการ QLDB เหมาะกับลูกค้าองค์กร เช่น ระบบ ซัพพลายเชน, ธนาคาร หรือบริษัทประกัน Amazon ระบุว่า QLDB รองรับการสเกลได้ดี ทำงานได้เร็วกว่าซอฟต์แวร์บล็อคเชนในท้องตลาด 2-3 เท่า และรองรับการคิวรีด้วยคำสั่ง SQL ด้วย
Nutanix ออกรายงาน Enterprise Cloud Index สำรวจการใช้งานคลาวด์ในโลกองค์กร พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามเกือบทั้งหมด (91%) คิดว่าการใช้งานคลาวด์แบบไฮบริด ผสมกันระหว่าง on-premise และคลาวด์สาธารณะนั้นเป็นรูปแบบที่เหมาะสม แต่การใช้งานจริงในตอนนี้กลับมีเพียง 19% เท่านั้น
ความสำคัญของการพัฒนาบนแพลตฟอร์มคอนเทนเนอร์และระบบ orchrestration เช่น kubernetes เริ่มแสดงความสำคัญขึ้นอย่างมากในช่วงหลังที่องค์กรต้องการรูปแบบการพัฒนาที่รวดเร็ว แม้ว่า kubernetes จะเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ทุกคนสามารถดาวน์โหลดไปใช้งานได้ฟรี แต่ก็อาจจะขาดส่วนประกอบที่จำเป็นสำหรับโลกองค์กรหลายประการ โดยเฉพาะการรับประกันในระยะเวลาที่ยาวนาน และฟีเจอร์สำหรับองค์กรที่มีความซับซ้อนสูง
โอกาสนี้ Blognone ได้พูดคุยกับคุณสุพรรณี อํานาจมงคล Senior Solutions Architect ที่ทำงานกับองค์กรใหญ่ๆ ทั่วภูมิภาคอาเซียนมานานกว่าสิบปี ถึงความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้
Microsoft ประกาศเข้าซื้อบริษัท FSLogix สตาร์ทอัพจากจอร์เจียที่พัฒนาเทคโนโลยี virtual desktop infrastructure หรือ VDI เพื่อมาเติมเต็มระบบ Windows Virtual Desktop ซึ่งเป็นบริการภายใต้ Microsoft 365 ที่เปิดตัวเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา
บริษัท FSLogix จะเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีเรื่องการทำ virtual desktop ซึ่งช่วยลดทรัพยากรในการทำ virtualization ให้กับธุรกิจขนาดเล็กไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ระดับโลก ซึ่งโซลูชั่นของ FSLogix นั้นช่วยให้ประสบการณ์ผู้ใช้ดีขึ้น และลดการซัพพอร์ตจากฝ่ายไอทีได้ ซึ่ง FSLogix ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2013 และระดมทุนไปแล้วกว่า 10 ล้านดอลลาร์
Bloomberg วิเคราะห์การเปลี่ยนตัวซีอีโอ Google Cloud แบบเซอร์ไพร์สวงการ ว่าเป็นเพราะ Diane Green ซีอีโอคนปัจจุบันทำผลงานได้ไม่ค่อยดีนัก
กูเกิลพยายามบุกโลก enterprise มานานแต่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เหตุผลสำคัญมาจากวิธีคิดของกูเกิลที่จับกลุ่มลูกค้าคอนซูเมอร์มาโดยตลอด จึงไม่ค่อยเข้าใจความต้องการของลูกค้าองค์กรมากนัก ตัวชี้วัดที่ชัดเจนคือ Google Cloud Platform เป็นผู้ให้บริการคลาวด์อันดับสาม ที่ตามหลัง AWS แบบถูกทิ้งห่าง (ข่าวส่วนแบ่งตลาดคลาวด์ไตรมาส 2/2018) ส่วน G Suite ก็ยังเป็นอันดับสองตามหลัง Office 365 เช่นกัน
Docker ประกาศออก Docker Engine เวอร์ชัน 18.09 ซึ่งเป็นรุ่นแรกที่ใช้รอบการออกทุก 6 เดือน เปลี่ยนจากก่อนหน้านี้ที่เร่งออกทุก 3 เดือน
ของใหม่ใน Docker Engine เวอร์ชันนี้คือการพัฒนาอิงอยู่บน containerd เวอร์ชัน 1.2 ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัท Docker Inc. มอบให้กับมูลนิธิ Cloud Native Computing Foundation (CNCF)
อย่างอื่นได้แก่ ปรับปรุง BuildKit (Docker Build) เครื่องมือช่วยสร้างอิมเมจ โดยปรับปรุงทั้งประสิทธิภาพให้ทำงานเร็วขึ้น และเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ เช่น SSH forwarding เพิ่มเติม
Docker Engine เวอร์ชันเสียเงิน (Enterprise Edition 18.09) ยังปรับปรุงเรื่องการเข้ารหัส FIPS 140-2 และการบังคับให้ต้องทำ signed image ได้ด้วย
Diane Green ซีอีโอของ Google Cloud ประกาศลงจากตำแหน่งในช่วงต้นปีหน้า 2019
Green เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งและอดีตซีอีโอของ VMware มาก่อน เธอเข้ามาทำงานเป็นซีอีโอของ Google Cloud ในเดือนธันวาคม 2015 และตั้งใจว่าจะทำงานเพียง 2 ปี ตอนนี้เธอบอกว่าได้เวลาลงจากตำแหน่งเพื่อไปทำงานด้านอื่นๆ ที่เธอสนใจ โดยเฉพาะงานด้านการศึกษา และการปั้นซีอีโอหญิงที่มีพื้นฐานจากงานสายวิศวกรรมแบบเดียวกับเธอ
ส่วนคนที่จะมาดำรงตำแหน่งแทนคือ Thomas Kurian อดีตผู้บริหารระดับสูงของ Oracle เจ้าของตำแหน่ง President, Product Development ที่เพิ่งลาออกในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ท่ามกลางข่าวลือว่าเขาขัดแย้งกับผู้ก่อตั้ง Larry Ellison เรื่องทิศทางของคลาวด์
Zendesk ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์บริการลูกค้าชื่อดัง ขยายธุรกิจมายังตลาด CRM โดยตั้งชื่อซอฟต์แวร์ของตัวเองว่า Zendesk Sunshine
Zendesk บอกว่าปัญหาของซอฟต์แวร์ CRM ในปัจจุบันคือเป็นซอฟต์แวร์รุ่นเก่า เขียนมานาน และพัฒนาขึ้นมาบนเทคโนโลยีระบบปิดของตัวเอง กลายเป็นข้อจำกัดของลูกค้าในการนำไปเชื่อมต่อกับระบบไอทีอื่นๆ ขององค์กร แนวคิดของ Sunshine จึงสร้างขึ้นบนเทคโนโลยีที่เปิดกว้าง เน้นการใช้โอเพนซอร์ส และตัวระบบรันอยู่บน AWS ทั้งหมด 100% สามารถเชื่อมต่อกับบริการอื่นของ AWS เพื่อนำข้อมูลไปประมวลผลต่อได้ทันที
หลังจากไมโครซอฟท์หยุดปล่อยอัพเดต Windows Server 2019 ชั่วคราว เพราะบั๊กลบไฟล์ของ Windows 10 v1809 และทิ้งช่วงเกือบ 1 เดือนเพื่อแก้บั๊กและตรวจสอบคุณภาพ ก่อนกลับมาปล่อยไฟล์อัพเดต v1809 รอบใหม่เมื่อวานนี้
ฝั่งของ Windows Server 2019 และ Windows Server v1809 ก็กลับมาเปิดอัพเดตให้อีกรอบเช่นกัน ลูกค้าของไมโครซอฟท์สามารถดาวน์โหลดได้ตามช่องทางต่างๆ เช่น Volume Licensing Service Center (VLSC) หรืออิมเมจบน Azure Marketplace
เมื่อพูดถึง AIS คนส่วนใหญ่มักนึกถึงเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ (mobile network) เป็นอย่างแรก ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกเพราะเป็นธุรกิจดั้งเดิมของบริษัทมาตั้งแต่ต้น ช่วงหลัง AIS ยังขยายมาทำธุรกิจบรอดแบนด์แบบมีสาย (fixed broadband) ที่รู้จักกันในชื่อ AIS Fibre
แต่ในรอบไม่กี่ปีมานี้ AIS กำลังพยายามสร้างธุรกิจ "ขาที่สาม" เพิ่มขึ้นมานอกเหนือจากมือถือและบรอดแบนด์ โดยบริษัทเรียกมันว่า "บริการดิจิทัล" Digital Service ซึ่งธุรกิจส่วนนี้ที่คนรู้จักกันดีคือ AIS Play ที่เป็นบริการวิดีโอออนไลน์ แต่จริงๆ แล้วยังมีส่วนสำคัญอีกส่วนที่คนยังไม่รู้จักกันมากนักคือ AIS Business