มีกรณีศึกษาที่น่าสนใจจากการแข่งขันเบสบอลในญี่ปุ่น โดยสนามของทีม Tohoku Rakuten Golden Eagles ที่มี Rakuten อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของญี่ปุ่นเป็นเจ้าของ พบว่าเมื่อให้อาหารและเครื่องดื่มที่จำหน่ายในสนามรองรับการจ่ายเงินด้วย QR Code ก็พบว่ายอดขายเพิ่มขึ้นถึง 20% เนื่องจากมีความคล่องตัวในการซื้อ-ขาย ซึ่งในฤดูกาลนี้สนามของทีมจะเปลี่ยนมารับเฉพาะการจ่ายด้วย QR Code เลย
Rakuten หวังว่าผู้ชมในสนามจะปรับตัวได้ และ Rakuten เองก็ต้องการใช้พื้นที่ในการโปรโมตระบบจ่ายเงินของตนเอง รวมทั้งหวังเห็นพฤติกรรมลูกค้าที่ยอมรับ QR Code มากขึ้น
Rakuten เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซญี่ปุ่นประกาศความร่วมมือกับ JD.com เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซจากจีน เพื่อพัฒนาโซลูชั่นระบบขนส่งโดยไม่ต้องใช้คนร่วมกันในประเทศญี่ปุ่น
ภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้ Rakuten จะนำประสบการณ์ขนส่งสินค้าผ่านโดรนในญี่ปุ่น และโซลูชั่นด้านไอทีของบริษัท มาแชร์กับ JD.com ที่มีประสบการณ์ด้านโดรนและกลุ่มพาหนะแบบไม่ต้องใช้คนบังคับ (unmanned group vehicles หรือ UGV) ในจีน เพื่อพัฒนาบริการขนส่งสินค้าโดยไม่ต้องใช้คนของ Rakuten ให้ใช้งานได้หลากหลายสถานการณ์
Rakuten อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของญี่ปุ่น ประกาศเข้าซื้อกิจการ Curbside สตาร์ทอัพจากซิลิคอนวัลเล่ย์ ด้วยมูลค่าที่ไม่เปิดเผย ซึ่ง Rakuten คาดว่าจะนำผลิตภัณฑ์และบริการของ Curbside มาต่อยอดในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
Curbside เป็นบริการด้าน Mobile Commerce หรือการซื้อสินค้าผ่านมือถือ มีจุดแตกต่างคือโฟกัสที่การเชื่อมต่อข้อมูลกับร้านค้าและร้านอาหาร ผู้ใช้งานสามารถเลือกซื้อสินค้าโดยอ้างอิงจากพิกัดที่อยู่ แล้วสามารถขับรถเพื่อไปรับสินค้าได้ ณ เวลาที่ถึงร้านทันที เนื่องจากฝั่งร้านค้าก็จะมีข้อมูลพิกัดจากลูกค้าว่าใกล้เดินทางมาถึงหรือยัง ปัจจุบัน Curbside มีพาร์ทเนอร์เป็นทั้งห้างค้าปลีกรายใหญ่ และเชนร้านอาหารหลายแห่ง ให้บริการเฉพาะในอเมริกา
Rakuten ผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซราชใหญ่ของประเทศญี่ปุ่นประกาศว่า ตอนนี้ทางบริษัทได้รับอนุญาตจากรัฐบาลในการเข้าสู่ธุรกิจการให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์แล้วหลังจากที่แสดงความสนใจมาตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้ว ซึ่งจะถือเป็นผู้ให้บริการรายที่ 4 ของญี่ปุ่น จากปัจจุบันที่มี NTT DoCoMo, KDDI และ SoftBank และถือเป็นการให้ใบอนุญาตผู้ให้บริการโทรศัพท์รายใหม่ครั้งแรกนับตั้งแต่ eMobile ที่ได้รับใบอนุญาตไปตั้งแต่ 13 ปีที่แล้ว (ปัจจุบัน eMobile อยู่ภายใต้ SoftBank)
Hiroshi Mikitani ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Rakuten ยักษ์ใหญ่วงการอีคอมเมิร์ซญี่ปุ่น ขึ้นเวทีงาน Mobile World Congress 2018 ประกาศทำเหรียญ Rakuten Coin
Rakuten มีระบบสะสมแต้ม Rakuten Super Points ให้กับลูกค้าของตัวเองมานานแล้ว (มีแต้มในระบบมากถึง 1 ล้านล้านแต้ม คิดเป็นมูลค่า 9.1 พันล้านดอลลาร์) สิ่งที่ประกาศคราวนี้คือการนำเทคโนโลยี blockchain มาใช้งานกับระบบสะสมแต้มนี้ เพื่อให้ลูกค้าของ Rakuten สามารถแปลงแต้มมาเป็นเหรียญ Rakuten Coin เพื่อซื้อสินค้าทั่วโลกโดยไม่ต้องแปลงเป็นเงินจริง ซึ่งจะมีความยุ่งยากทั้งในแง่การโอนเงินข้ามประเทศ หรือค่าธรรมเนียมต่างๆ
Mikitani ยังไม่ระบุช่วงเวลาที่เราจะได้เห็น Rakuten Coin
Walmart เชนร้านค้าปลีกของอเมริกา และ Rakuten อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของญี่ปุ่น ประกาศความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ โดยนำความถนัดของแต่ละบริษัทมาให้บริการลูกค้าแต่ละประเทศ
โดยในฝั่งญี่ปุ่น Rakuten ประกาศเพิ่มบริการจัดส่งสินค้าของชำภายในประเทศชื่อ Rakuten Seiyu Netsuper ซึ่งเป็นความร่วมมือกับซูเปอร์มาร์เก็ต Seiyu ที่ตอนนี้มี Walmart เป็นเจ้าของ คาดเริ่มให้บริการได้ในครึ่งหลังของปี 2018
ส่วนที่อเมริกา Walmart จะนำบริการอีบุ๊ก Kobo ของ Rakuten ที่ตอนนี้มีหนังสือกว่า 6 ล้านหัวเรื่อง ไปให้บริการที่นั่นผ่าน Walmart.com รวมทั้งจำหน่ายบัตรซื้ออีบุ๊ก และเครื่องอ่าน Kobo ในร้าน Walmart ด้วย
Rakuten ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซญี่ปุ่น ประกาศแสดงความสนใจขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจโทรคมนาคม 4G ภายในประเทศ ซึ่งหาก Rakuten ได้สิทธินี้ อาจทำให้เป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายใหญ่เบอร์ 4 ภายในประเทศ จากที่ปัจจุบันญี่ปุ่นมีผู้ให้บริการใหญ่ 3 รายคือ NTT Docomo, SoftBank และ KDDI
ในเอกสารแถลงของ Rakuten นั้นระบุว่าโทรศัพท์มือถือเข้ามามีบทบาทสำคัญ ในฐานะจุดเชื่อมต่อระหว่างลูกค้ากับบริการต่างๆ ของบริษัทมากขึ้นเรื่อยๆ การได้สิทธิใบอนุญาตจึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยบริษัทคาดว่าจะเริ่มให้บริการได้ในปี 2019 และคาดจะมีฐานลูกค้าราว 15 ล้านเลขหมาย
แอพแชต Viber เคยประกาศเมื่อต้นปีว่าจะเพิ่มระบบซื้อสินค้าภายในแอพ ล่าสุดบริษัทเลยประกาศซื้อกิจการสตาร์ทอัพที่ทำเรื่องนี้ให้เสียเลยนั่นคือ Chatter Commerce ผู้พัฒนาแอพ ShopChat ที่นิยามว่าเป็นคีย์บอร์ดบนมือถือสำหรับการช้อปปิ้ง
แอพ ShopChat มีคุณสมบัติคือเป็นคีย์บอร์ดเสริมบนมือถือ สามารถทำงานร่วมกับแอพสนทนาได้หลายตัว เพื่ออำนวยความสะดวกในการสั่งซื้อสินค้า
มูลค่าของดีลนี้ไม่มีการเปิดเผยออกมา อย่างไรก็ตาม Chatter Commerce ถือว่ามีความสัมพันธ์ที่ดีกับ Viber อยู่แล้ว เนื่องจากมีผู้ลงทุนคือ Rakuten เจ้าของแอพ Viber นั่นเอง
อย่างน้อยที่สุดข่าวนี้ก็ช่วยยืนยันภาพของอีคอมเมิร์ซไปอีกหนึ่งขั้น ว่าแอพสนทนาโต้ตอบจะเข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้น
ถึงแม้จะปิดบริการและสำนักงานทั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอีกหลายประเทศในยุโรป แต่ล่าสุดดูเหมือน Rakuten ผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซจากญี่ปุ่นกำลังเตรียมจะกระโดดเข้าไปทำตลาดในประเทศอินเดีย
The Economic Times รายงานว่า Rakuten ได้จากอดีตผู้บริหารของบริษัทอีคอมเมิร์ซท้องถิ่นของอินเดียไว้แล้ว รวมถึงกำลังมองหาที่ตั้งของโกดังเก็บสินค้า บริเวณตอนเหนือของประเทศ
Rakuten บริษัทอีคอมเมิร์ซจากญี่ปุ่นที่ประกาศปิดเว็บไซต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปเมื่อต้นปี ได้ประกาศระงับการขายและปิดเว็บไซต์ในสหราชอาณาจักรรวมถึงสำนักงานในเมืองแคมบริดจ์ในช่วงสิ้นเดือนสิงหาคมนี้
อย่างไรก็ตามทาง Rakuten ได้ส่งจดหมายไปยังผู้ค้าว่าบริการหลังบ้านสำหรับผู้ค้า (backend) บนเว็บไซต์จะยังคงให้บริการต่อไปจนถึงสิ้นปีนี้ เผื่อกรณีลูกค้าต้องการขอคืนเงินหรือค้นหารายการสินค้าที่เคยซื้อย้อนหลัง รวมถึงแจ้งเตือนผู้ค้าให้ระงับการเปิดพรีออเดอร์บนเว็บไซต์ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป
นอกจากในสหราชอาณาจักรแล้ว Rakuten ยังประกาศปิดบริการในสเปน รวมถึงสำนักงานในเมืองบาร์เซโลนาด้วย
Rakuten ยักษ์ใหญ่วงการอีคอมเมิร์ซญี่ปุ่น (ที่ภายหลังขยายตัวไปทำธุรกิจอื่นมากมาย) ประกาศผลประกอบการประจำปี 2015 ภาพรวมออกมาดี รายได้เติบโต 19.2% แต่บริษัทก็ตัดตัวเลขด้อยค่าสินทรัพย์ (impairment loss) ของธุรกิจบางตัว ได้แก่ เว็บอีคอมเมิร์ซฝรั่งเศส PriceMinister, บริการอีบุ๊ก Kobo และธุรกิจอื่นๆ รวมมูลค่า 38.1 พันล้านเยน
ในโอกาสเดียวกัน Rakuten ยังประกาศวิสัยทัศน์ Vision 2020 ปรับยุทธศาสตร์ธุรกิจเพื่อการเติบโตในอนาคต ฝั่งของธุรกิจคอมเมิร์ซจะเน้นตลาดหลักอย่างญี่ปุ่นและไต้หวัน แต่อีคอมเมิร์ซในประเทศอื่นๆ จะต้องปรับโมเดลไปอีกพอสมควร
ธุรกิจคอมเมิร์ซในสหรัฐจะโฟกัสไปที่ Ebates เว็บรวมคูปองส่วนลดที่ Rakuten ซื้อมาในปี 2014 ส่วนธุรกิจในบราซิลจะปรับไปใช้โมเดล Software as a Service (SaaS) จุดที่น่าสนใจคือตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Rakuten จะปิดเว็บคอมเมิร์ซในสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย วันที่ 1 มีนาคมนี้ (และปลดพนักงานอีก 150 คน) ส่วนประเทศไทยที่มี Tarad.com กำลังอยู่ในกระบวนการขายออกไป
บริษัท Rakuten ยักษ์ใหญ่ด้านธุรกิจอีคอมเมิร์ซของญี่ปุ่น หลังจากเข้าซื้อบริษัทอีบุ๊ก Kobo ไปเมื่อสี่ปีก่อน เพิ่งประกาศการเข้าซื้อกิจการบริษัท OverDrive ในอเมริกาด้วยมูลค่า 410 ล้านเหรียญสหรัฐ
OverDrive เป็นบริษัทที่ทำแพลตฟอร์มจัดจำหน่ายสื่อดิจิทัล ทำระบบ DRM และขายบริการให้ยืมอีบุ๊กแก่บรรดาหอสมุด/ห้องสมุดในอเมริกา ซึ่งถือเป็นผู้เล่นรายใหญ่ด้วยทั้งรองรับเครื่องอ่านอีบุ๊กได้ทุกตัวในตลาดทั้งคินเดิลและอื่นๆ และรองรับการให้บริการสื่อดิจิทัลทั้งอีบุ๊ก วิดีโอ และหนังสือเสียง
Rakuten เว็บอีคอมเมิร์ชรายใหญ่จากญี่ปุ่น (ในไทยเข้ามาถือหุ้นใหญ่ใน Tarad.com) ประกาศรองรับเงิน Bitcoin ในสามประเทศ ได้แก่ สหรัฐฯ, เยอรมนี, และออสเตรีย ให้บริการผ่านแพลตฟอร์ม Bitnet เริ่มจากสหรัฐฯ ก่อนและอีกสองประเทศยังไม่ได้กำหนดระยะเวลา
ร้านค้าที่ขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มของ Rakuten และรองรับ Bitcoin จะได้ประโยชน์สำคัญคือค่าธรรมเนียมที่ต่ำลง และไม่ต้องรับความเสี่ยงการฉ้อโกงบัตรเครดิต โดยปัจจุบันค่าธรรมเนียมของ Bitnet อยู่ที่ 1% และลดลงเรื่อยๆ หากมีการใช้งานปริมาณมาก
Rakuten ลงทุนใน Bitnet ตั้งแต่ปีที่แล้ว
ที่มา - Rakuten
พอดีไปเจอมา เห็นว่าน่าสนใจดีเลยแปลเอามาให้อ่านกันครับ กับผลสำรวจในหัวข้อ "ถ้าเว็บไซต์ไหนหยุดให้บริการแล้วจะสร้างความลำบากให้คุณมากที่สุด" ที่เก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศญี่ปุ่นจำนวน 500 คน (รวมทั้งเพศชายและหญิง) ในช่วงอายุระหว่าง 20 - 60 ปี ได้ผลออกมาดังนี้
Rakuten ยักษ์ใหญ่บริการจำหน่ายสินค้าออนไลน์จากประเทศญี่ปุ่น ประกาศข่าวการเข้าซื้อกิจการของบริษัท Ebates ซึ่งดำเนินธุรกิจเป็นคนกลางในระบบขายของออนไลน์ในประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์
Rakuten เปิดเผยว่าในปีที่แล้ว Ebates มีผู้ใช้บริการเป็นเงินหมุนเวียนกว่า 2.2 พันล้านดอลลาร์ นี่จึงเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญในการขยายความยิ่งใหญ่ของธุรกิจจากผู้ค้าแห่งประเทศญี่ปุ่นที่จะเข้าไปให้บริการในทวีปอเมริกาเหนือ หลังจากก่อนหน้านี้ Rakuten ได้เข้าซื้อกิจการของ Buy.com และ Play.com ซึ่งเป็นธุรกิจขายของออนไลน์ในอเมริกาเช่นกัน
Rakuten บริษัทอีคอมเมิร์ซรายใหญ่จากญี่ปุ่น ซึ่งก็เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน Tarad.com ประกาศซื้อกิจการ Viber แอพสนทนาข้อความและเสียงด้วยมูลค่าถึง 900 ล้านดอลลาร์ สูงกว่าที่เราเคยรายงานข่าวก่อนหน้านี้ที่ 400 ล้านดอลลาร์ (แถมตัวเก็งที่คาดไว้ก็ผิดหมด)
บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์มาแรง Pinterest เตรียมประกาศการเพิ่มทุนรอบใหม่อีก 120 ล้านดอลลาร์ ทำให้มูลค่ากิจการประเมินตามราคาหุ้นเพิ่มทุนใหม่อยู่ที่ 1,500 ล้านดอลลาร์ ความน่าสนใจของการเพิ่มทุนรอบนี้คือผู้ร่วมทุนรายใหญ่ที่สุดคือ Rakuten บริษัทอีคอมเมิร์ซรายใหญ่จากญี่ปุ่น (ซึ่งมาถือหุ้นใหญ่ใน Tarad.com ก่อนหน้านี้) ซึ่งร่วมลงทุนถึง 50 ล้านดอลลาร์
รายงานข่าวระบุว่า Ben Silbermann ซีอีโอ Pinterest มีความยินดีมากที่ Rakuten สนใจร่วมลงทุนเพราะสามารถต่อยอดให้ Pinterest มีรูปแบบการหารายได้ที่ชัดเจนมากขึ้นผ่านอีคอมเมิร์ซ อีกทั้งช่วยให้ Pinterest บุกตลาดในเอเชียได้ง่ายมากขึ้น
บริษัท Rakuten ยักษ์ใหญ่ด้านอีคอมเมิร์ซของประเทศญี่ปุ่น (เพิ่งซื้อกิจการ Tarad.com ไปเมื่อไม่นานนี้) ประกาศการซื้อกิจการบริษัทอีบุ๊ก Kobo คิดเป็นมูลค่า 315 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
Kobo ถือเป็นบริษัทที่ทำเครื่องอ่านอีบุ๊ก-แพลตฟอร์มการจัดจำหน่ายอีบุ๊กอีกแห่งหนึ่ง ถึงแม้จะโด่งดังสู้รายใหญ่อย่าง Amazon และ Barnes & Noble ไม่ได้ แต่ก็มีฐานลูกค้าอยู่พอสมควร (Kobo ยังเป็นพันธมิตรกับร้านหนังสือ Borders ที่ไม่มีแพลตฟอร์มอีบุ๊กของตัวเอง เพียงแต่ Borders ล้มละลายไปแล้ว)