Tags:
Node Thumbnail

การเข้ามาของ iBook เป็นเครื่องมือต่อรองชั้นดีให้กับสำนักพิมพ์ เพราะก่อนหน้านี้ตลาดอีบุ๊กแทบจะถูกครองโดยอเมซอนอย่างเบ็ดเสร็จ แต่ในตอนนี้กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ กำลังเข้าเตรียมจะฟ้องแอปเปิลและสำนักพิมพ์ว่าร่วมมือกันขึ้นราคาในตลาด

ก่อนหน้านี้อเมซอนก็มีนโยบายขายหนังสือในราคาไม่เกิน 9.99 ดอลลาร์เท่านั้นเพื่อจูงใจให้คนมาอ่านอีบุ๊ก แต่หลังจากแอปเปิลเปิดตัว iBook แอปเปิลก็เปิดให้สำนักพิมพ์ตั้งราคาหนังสือได้เอง แต่ขณะเดียวกันก็เซ็นสัญญาว่าสำนักพิมพ์จะไม่ขายหนังสือที่อื่นในราคาที่ถูกกว่าที่ขายใน iBook สัญญาเช่นนี้ทำให้หนังสือที่ขายผ่านแอปเปิลมีราคาถูกที่สุดเสมอ แต่แอปเปิลยืนยันว่าบริษัทไม่ได้พยายามลดการแข่งขันแต่อย่างใด ตรงกันข้ามการที่แอปเปิลเข้ามาในตลาดนี้เป็นการเพิ่มการแข่งขันให้กับตลาด

แอปเปิลและสำนักพิมพ์มีทางเลือกที่จะตกลงกับกระทรวงยุติธรรมก่อนที่คดีจะไปถึงศาล หากตกลงกันได้สำนักพิมพ์น่าจะถอนข้อตกลงเรื่องราคาไป และเปิดทางให้ผู้ขายอีบุ๊กรายอื่นๆ สามารถทำราคาได้อย่างอิสระ

ตลาดอีบุ๊กมีขนาดใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปี 2011 นั้นมีมูลค่า 970 ล้านดอลลาร์แล้ว

ที่มา - Wall Street Journal

Get latest news from Blognone

Comments

By: man2232
AndroidWindows
on 9 March 2012 - 12:35 #392991
man2232's picture

หนังสือเป็นเล่มๆ น่าจะบวกต้นทุนค่ากระดาษเข้าไปอีกนะ
ไม่รู้ว่าสัญญานี้ครอบคลุมเฉพาะอีบุ๊คหรือเปล่า

By: Go-Kung
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 9 March 2012 - 13:03 #392997

ดูแล้วแอบ evil นิดๆ

สนพ.ก็อยากขายได้มากขึ้น เลยต้องมาขายผ่าน iBook ด้วย แต่โดนเงื่อนไขนี้ค้ำคออยู่ เหมือนจะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกนะ

By: shikima
Windows PhoneAndroidUbuntu
on 9 March 2012 - 13:25 #393004

ผมยังรักหนังสือเป็นเล่มๆ อยู่ ราคามันแพงกว่า ebook ไม่เท่าไหร่เลย

By: OatAskZ on 9 March 2012 - 14:30 #393019 Reply to:393004

อะไรหลายๆอย่างที่ ebook ไม่มี แบบหนังสือเล่มๆ

By: punbodyslam
iPhone
on 9 March 2012 - 16:19 #393054 Reply to:393019

อรไรหลายๆอย่างเช่นกัน ที่หนังสือเล่มๆ ไม่มีใน ebook

By: deeplite
Android
on 9 March 2012 - 13:38 #393007
deeplite's picture

กระทรวงยุติธรรม สหรัส ตั้งใจจะหาเงินรึเปล่า ถ้าถอนฟ้องได้แบบนี้

By: mr.k on 9 March 2012 - 13:54 #393013 Reply to:393007

ดีกว่ากระทรวงยุติธรรมไทยล่ะมั้งผมว่า อย่างน้อยก็ยังทำงาน

By: Zatang
ContributoriPhoneAndroid
on 9 March 2012 - 14:20 #393018 Reply to:393013

กระทรวงยุติธรรมก็ทำงานนะครับ ยังเห็นไปเป็นผู้อำนวยการ ศปภ อยู่เลย ไปละ ฟิ้วววว..


อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว

By: PaPaSEK
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 9 March 2012 - 14:47 #393027 Reply to:393007
PaPaSEK's picture

"การตกลงกับกระทรวงยุติธรรม" ไม่ได้หมายถึงเอาเงินไปให้กระทรวงฯ แล้วเรื่องจบครับ

การตกลงกันหมายถึงข้อตกลงที่แอปเปิลตั้งขึ้นมาใช้กับสำนักพิมพ์จะต้องถูกถอนออกไป เพราะกระทรวงฯ มองว่ามันเป็นการผูกขาดการค้าในรูปแบบนึงครับ

อย่าเอาสิ่งที่เคยรู้มาจากประเทศแถวๆ นี้ไปเปรียบเทียบครับ :D

By: deeplite
Android
on 9 March 2012 - 19:00 #393115 Reply to:393027
deeplite's picture

แล้ว ความผิดที่เกิดขึ้นแล้วละครับ เจ๊ากันไปเหรอ
หลายๆ เคสที่ผ่านมา เอกชนต้องจ่ายเงินให้ กท.ยุติธรรมสหรัฐ ทั้งนั้น

By: Not Available a...
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 9 March 2012 - 22:05 #393198 Reply to:393115
Not Available at this Moment's picture

เพราะว่าเดิมทีสิ่งที่เค้ากำหนดห้ามมันก็ไม่ได้เป็นความผิดในตัวเองอยู่แล้วครับคนจะค้าขายถ้าไม่มีกฏหมายห้ามย่อมทำได้ทุกอย่างอยู่แล้วและข้อกฏหมายในเรื่องนี้มันไม่ใข่อะไรที่ระบุชัดเจนเป็นตัวเลขที่จะคำนวนได้แน่นอน แต่มันมีเรื่องความเหมาะสมหรือลักษณะของการกระทำเข้ามาเกี่ยวข้องอีกด้วยทำให้เอกชนอย่างเราๆไม่สามารถรู้ได้เองว่าอะไรที่ข้ามเส้นนั้นไปจนเป็นความผิด

อีกเหตุนึงก็คือคือสิ่งเหล่านี้มันไม่ใช่เหตุผลทางศีลธรรมที่บอกได้โดยคนทั่วไปว่าใครผิดใครถูกแน่นอน แต่มันเป็นเหตุผลทางเทคนิคที่มนุษย์เข้าไปวางแผนขีดเส้นกันเอาเองเพื่อให้สามารถเข้าไปควบคุมดูแลได้อย่างเหมาะสมซึ่งก็ต้องยอมรับว่ามันไม่ใช่หลักเกณท์ที่สมบูรณ์แบบมันต้องปรับแก้กันไปให้เหมาะสมแก่ยุคสมัย

เพราะฉะนั้นถ้าเรายังจะให้รับผิดโดยเด็ดขาดกับหลักเกณท์ที่ไม่สามารถระบุได้แน่นอนและยังอาจมีช่องว่างแบบนี้มันก็จะรุนแรงจนเกินไปครับ


ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 10 March 2012 - 01:29 #393306 Reply to:393115
lew's picture

ไม่เสมอไปครับ ที่จ่ายมักเป็น "ค่าปรับ" (fine) ซึ่งกำหนดไว้ในกฏหมาย ส่วนค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจะต้องจ่ายคืนผู้เสียหายโดยตรงครับ

กรณีที่เคยเกิดขึ้นเช่น Sony เคยใส่ Rootkit ในแผ่นซีดีเพลง กระทรวงยุติธรรม (หรือหน่วยงานอื่น ผมไม่แน่ใจนัก) ออกมาฟ้องให้ ค่าปรับก็เสียกันไป ส่วนค่าเสียหายก็ฟ้องร้องหรือตกลงกันนอกศาล เมื่อตกลงได้ก็จ่ายคืนกับลูกค้าทุกคน ต้องตั้งโต๊ะให้ลูกค้าเอาซีดีมาคืนแล้วจ่ายค่าเสียหายกันรายคนจริงๆ


lewcpe.com, @wasonliw

By: AlninlA
ContributorAndroidUbuntu
on 9 March 2012 - 14:05 #393015
AlninlA's picture

ถ้าตั้งใจจะขายราคาเดียวกันทุกๆ ตลาด (ไม่เกิน 9.99) ก็ไม่น่ามีปัญหานะ แต่ถ้าตั้งใจขายเกิน 9.99 ก็ต้องไม่ขายที่ Amazon อืม ประเด็นมันอยู่ที่นี่นี่เอง

By: JiHuay
iPhoneWindowsIn Love
on 9 March 2012 - 14:36 #393023
JiHuay's picture

กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯทำงานว่องไวจริงๆ

By: plawanja
Android
on 9 March 2012 - 16:39 #393060
plawanja's picture

ที่จริงน่าจะตรงกันข้ามนะ น่าจะไปฟ้อง amezon มากกว่าที่กำหนดราคาขายไว้ที่ 9.99 usd เท่านั้น

ข้อตกลงที่ว่า
Apple also stipulated that publishers couldn't let rival retailers sell the same book at a lower price
ไม่ได้บอกว่า Apple จะได้ราคาที่ต่ำสุดนะครับ มันอาจจะหมายถึงราคาเท่าๆ กับคู่แข่งก็ได้ แต่ที่แน่ๆ ต้อง "ไม่แพงไปกว่า"

คำว่า "ต้องไม่แพงไปกว่า" เหมือนๆ กับ "ต้องไม่มีใครถูกกว่า" แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับ "เราต้องได้ราคาต่ำสุด"

แต่เดิมก่อนที่ ibooks จะเข้ามาทำตลาด amezon เป็นเจ้าตลาดเพียงผู้เดียว สามารถกำหนดราคาขายได้โดยเบ็ดเสร็จ อย่างนี้ไม่เรียกว่า evil?

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 9 March 2012 - 16:42 #393062 Reply to:393060
lew's picture

การได้ราคาถูกแพงเป็นการต่อรองทางธุรกิจตามปรกติครับ ถ้า amazon ซื้อเยอะแล้วต่อรองได้ราคาถูกก็ไม่ใช่เรื่องแปลก ส่วนถ้าราคาที่ amazon เสนอให้ไม่น่าพอใจสำนักพิมพ์ก็มีสิทธิ์ไม่ขายหนังสือเล่มนั้นๆ ให้ (ซึ่งก็เกิดขึ้นมาแล้ว)

ข้อตกลงแบบแอปเปิลไม่ได้บังคับให้แอปเปิลต้องได้ถูกที่สุด "แต่ห้ามมีใครได้ถูกกว่า"


lewcpe.com, @wasonliw

By: manster
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 9 March 2012 - 17:43 #393080 Reply to:393060
manster's picture

ห้ามขายถูกกว่าที่ขายกับ Apple แปลว่า "เราต้องได้ราคาต่ำที่สุด" ถูกต้องแล้วครับ

ราคาขายกับ retailer อื่น >= ราคาขายกับ Apple

By: Go-Kung
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 9 March 2012 - 18:12 #393088 Reply to:393060

การบอกว่าห้ามมีใครขายราคาถูกกว่าตนเอง

มันทำให้ Apple กลายเป็น Price leader ครับ คือ Apple อยากได้กำไรเยอะ ก็บอกราคาไว้แพงเท่าที่จะทำได้เลย

สนพ.และผู้ขายรายอื่นไม่สามารถทำอะไรต่อได้ เพราะสนพ.ทั้งหลายติดสัญญาว่า "ห้ามราคาถูกกว่าที่ให้ Apple"

มันทำลายสภาพการแข่งขันในตลาดไปครับ

ป.ล. อย่าเพิ่งจับปนกับเรื่อง Amazon ขายอยู่เจ้าเดียวนะครับ อันนั้นมันเป็นเพราะยังไม่มีใครที่กระโดดขึ้นมาเป็นคู่แข่งสำคัญของ Amazon ได้เลยมันเลยดูเหมือน monopoly แต่จริงๆแล้วเมื่อมีคู่แข่ง Amazon ไม่สามารถกำหนดราคาได้เองคนเดียวแล้วครับ ต่างกับกรณีสัญญาที่ Apple บอกให้สนพ.ทำอยู่ครับ

By: tekkasit
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 10 March 2012 - 07:14 #393349 Reply to:393060
tekkasit's picture

อเมซอนไม่ได้ห้ามขายหนังสือเกินกว่า 9.99 เหรียญนี่ครับ เพียงแต่กรณ๊ทั่วไปคุณจะได้ส่วนแบ่ง 35% เท่านั้นเอง

แต่ถ้าอยากได้ส่วนแบ่ง 70% จะต้องทำตามเงื่อนไข ซึ่งเมื่อก่อนจะมีว่าราคาหนังสือต้องไม่ไม่เกิน 10 เหรียญ