iPhone 15 และ iPhone 15 Pro มีฟีเจอร์หนึ่งเกี่ยวกับแบตเตอรี่ ที่แอปเปิลไม่ได้ประกาศเป็นทางการ แต่มีการค้นพบในโค้ดของ iOS 17 ก่อนหน้านี้ ซึ่งหลังจากแอปเปิลส่งเครื่องให้สื่อจำนวนหนึ่งรีวิว ก็ยืนยันถึงการตั้งค่านี้
โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกตั้งค่าการชาร์จ iPhone เพิ่มเติม ใน Settings > Battery > Battery Health & Charging > Charging Optimization จากเดิมตัวเลือกมีเพียงปิดหรือเปิด Optimized Battery Charging (การชาร์จเพื่อถนอมแบตเตอรี่) ตอนนี้มีตัวเลือกสามแบบได้แก่
แอปเปิลหยุดขายอุปกรณ์เสริม MagSafe Battery Pack ที่เป็นแบตเตอรี่เสริมติดด้านหลัง iPhone และ MagSafe Duo ที่ชาร์จแบบคู่ทรงตลับ ซึ่งชาร์จ iPhone และ Apple Watch ได้พร้อมกัน หลังจากแอปเปิลเปิดตัว iPhone 15 ที่ใช้พอร์ต USB-C
เหตุผลของการหยุดขายน่าจะเดาได้ไม่ยาก เพราะทั้งสองอุปกรณ์นั้นใช้พอร์ต Lightning นั่นเอง แต่ก็น่าสนใจว่าแอปเปิลเลือกหยุดขายสินค้าสองตัวนี้ไปเลย ไม่ได้ออกเวอร์ชันอัพเกรดเป็นพอร์ต USB-C มาทดแทน อย่างไรก็ตามสินค้านั้นหยุดขายผ่านช่องทางตรงของแอปเปิล แต่อาจพอหาซื้อได้จากช่องทางตัวแทนจำหน่ายอื่นที่มีของในสต็อก
CATL ผู้ผลิตแบตเตอรี่รายใหญ่จากจีนที่มี Tesla เป็นลูกค้าเจ้าใหญ่ที่สุด เปิดตัวแบตเตอรี่ LFP รุ่นใหม่ ภายใต้ชื่อเล่น "Shenxing" ซึ่งผู้บริหารของ CATL ระบุว่าใช้เวลาชาร์จเพียง 10 นาทีก็สามารถทำให้รถยนต์ไฟฟ้าวิ่งได้ 400 กิโลเมตร หรือหากชาร์จเต็มก็เคลมว่าวิ่งได้ถึง 700 กิโลเมตร โดยตั้งเป้าว่าจะเริ่มผลิตจำนวนมากภายในปลายปีนี้และเริ่มส่งมอบปีหน้า
ชื่อแบตเตอรี่ LFP ย่อมาจากสูตรเคมี LiFePO4 (lithium iron phosphate) ซึ่งเป็นแบตเตอรี่ที่ Tesla นำมาใช้อย่างจริงจังตั้งแต่ปี 2021 แทนที่แบตเตอรี่ nickel cobalt aluminum ที่มีส่วนผสมของแร่โลหะหายากอย่างโคบอลต์
9to5Mac รายงานจากการรวบรวมความเห็นของผู้ใช้ iPhone 14 Pro พบปัญหาสุขภาพแบตเตอรี่ที่ลดลงเร็ว ซึ่ง iPhone มีตัวรายงานนี้ใน Settings > Battery > Battery Health โดยพบว่าจากการใช้งานไม่ถึง 1 ปี ระดับความจุแบตเตอรี่ลดลงมาอยู่ราว 90% หรือน้อยกว่า
ย้อนอดีตไป แอปเปิลเพิ่มการรายงานข้อมูลสุขภาพแบตเตอรี่มาตั้งแต่ iOS 11.3 จากปัญหา Batterygate ที่ iPhone ทำงานช้าลงเมื่อแบตเตอรี่เสื่อมสภาพในปี 2017 นำมาสู่การออกแคมเปญเปลี่ยนแบตเตอรี่ในราคาพิเศษ และเพิ่มตัวเลือกให้ iPhone ทำงานตามปกติไม่หน่วง
คณะมนตรียุโรป (European Council - EC) ผ่านกฎควบคุมการใช้แบตเตอรีเพื่อความยั่งยืน โดยข้อบังคับสำคัญคือ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ต้องเปิดให้ผู้ใช้ถอดแบตเตอรี่และเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้เองโดยง่าย กระทบเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านจำนวนมาก เช่น เครื่องดูดฝุ่นไร้สาย อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ชาร์จได้ในตัว และที่สำคัญคือโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ต
กฎชุดนี้ครอบคลุมเรื่องอื่นๆ เช่น ตัวแบตเตอรีเองก็ต้องมีวัสดุที่ได้จากการรีไซเคิลมากขึ้น มีการแสดงข้อมูลวัสดุและการรีไซเคิลที่ชัดเจน ตลอดจนมีมาตรการตรวจสอบเส้นทางซัพพลายเชนการซึ้อวัตถุดิบ
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วรัฐสภายุโรปผ่านข้อบังคับลดขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยบังคับการใช้งานแบตเตอรี่ที่บังคับให้อุปกรณ์ต่างๆ ต้องปรับเปลี่ยนการออกแบบให้สามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้เอง ตอนนี้เอกสารที่ผ่านรัฐสภายุโรปเผยแพร่ออกมาแล้ว ทำให้เราเห็นรายละเอียดของกฎนี้มากขึ้น อย่างไรก็ดี ข้อบังคับนี้ยังคงเป็นร่างเท่านั้นและต้องผ่านขั้นตอนอีกหลายขั้นจึงบังคับจริง
รัฐสภาสหภาพยุโรป (European Paliament) ผ่านร่างข้อบังคับลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ในกลุ่มแบตเตอรี่ โดยมีส่วนสำคัญคือบังคับให้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ต้องเปิดให้ผู้ใช้ถอดแบตเตอรี่และเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้เองโดยง่าย
ร่างกฎนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของข้อบังคับอื่นๆ เช่น บังคับแสดงข้อมูลคาร์บอนในรถไฟฟ้าและสกูตเตอร์ที่แบตเตอรี่ใหญ่กว่า 2kWh, ตั้งเป้าหมายการเก็บแบตเตอรี่กลับและการรีไซเคิล
ร่างกฎนี้ยังไม่บังคับใช้จริง แต่จะส่งไปยัง European Council เพื่อให้ผ่านร่างนี้ต่อไป
ที่มา - European Parliament News
Tesla เดินหน้าในประเทศจีนอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดประกาศตั้งโรงงาน Megafactory สำหรับผลิตแบตเตอรี่ โดยระบุว่าโรงงานใหม่จะมีกำลังการผลิตแบตเตอรี่ Megapack ราว 10,000 ลูกต่อปี หรือคิดเป็นราว 40 GWh ต่อปี
หากจะเทียบให้เห็นภาพ ปัจจุบันประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนอันดับ 2 ของโลก โดยในปี 2021 มีกำลังการผลิต 44 GWh และประเมินว่าจะขึ้นไปถึง 91 GWh ในปี 2025 ทำให้โรงงาน Megafactory ใหม่ของ Tesla ที่จะมีกำลังการผลิต 40 GWh นั้นแทบจะเทียบได้กับกำลังการผลิตของสหรัฐอเมริกาทั้งประเทศในปี 2021 เลยทีเดียว
แอปเปิลประกาศในหน้าข้อมูลการบริการแบตเตอรี่ iPhone ว่าเครื่องที่อยู่นอกการรับประกันแล้ว ซึ่งปกติมีค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนแบตเตอรี่เพิ่มเติม จะมีการปรับราคาเพิ่มขึ้นอีกจากราคาเดิม 890 บาท โดยมีผลกับ iPhone รุ่นก่อน iPhone 14 ทั้งหมด
ค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนแบตเตอรี่ iPhone ที่ Apple Store หรือศูนย์บริการ Apple Authorized Service Provider (AASP) ปัจจุบันเริ่มต้นที่ 1,600 บาท มีรายละเอียดดังนี้
Honda เปิดตัว Power Pack Exchanger e: สถานีเปลี่ยนแบตเตอรี่สำหรับจักรยานยนต์ไฟฟ้า พร้อมให้บริการแก่ผู้ใช้ใน Tokyo แล้ว
Power Pack Exchanger e: มีลักษณะเป็นตู้ชาร์จแบตเตอรี่พร้อมหน่วยควบคุมและหน้าจอสำหรับรับการสั่งงานจากผู้ใช้และแสดงผล ตัวตู้สามารถชาร์จแบตเตอรี่ของ Honda รุ่น Mobile Power Pack e: (MPP e:) ได้พร้อมกันคราวละ 12 ลูก โดยใช้งานได้กับระบบไฟทั้งความถี่ 50 Hz และ 60 Hz กินกำลังไฟสูงสุด 6.5 กิโลวัตต์ และมีระบบระบายความร้อนเพื่อเพิ่มอายุการใช้งานของแบตเตอรี่
มีรายงานจาก MacRumors ว่าแอปเปิลได้ปรับปรุงเงื่อนไขการซ่อม มีผลกับ iPad mini 6 (รุ่นปัจจุบันที่วางขายปี 2021) จากเดิมหากต้องการเปลี่ยนแบตเตอรี่ ศูนย์ซ่อม AASP หรือ Apple Store จะทำการเปลี่ยนเป็น iPad ใหม่ทั้งเครื่อง แต่จากนี้จะเปลี่ยนให้เฉพาะแบตเตอรี่
เงื่อนไขดังกล่าวระบุว่ามีผลเฉพาะ iPad mini 6 เพียงรุ่นเดียว ส่วนรุ่นอื่นยังใช้วิธีเปลี่ยนให้ทั้งเครื่องต่อ แต่แอปเปิลอาจขยายแนวทางดังกล่าวกับ iPad รุ่นอื่นอีกในอนาคต
ที่มา: MacRumors
ข้อมูลของบริษัทวิจัย SNE ของเกาหลีใต้ ระบุว่า ในเดือนกรกฎาคม บริษัทผลิตแบตเตอรี่รถยนต์สัญชาติจีน BYD ได้ครองอันดับ 2 ในการจัดอันดับบริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าที่มียอดขายมากที่สุด (6.4 GWh) แซงหน้า LG Energy ที่ตกลงไปอยู่ดันดับที่ 3 (4.4 GWh)โดยอันดับที่ 1 ยังคงเป็น CATL (13.3 GWh) เช่นเดิม
ทั้งนี้ ส่วนแบ่งการตลาด BYD ยังคงเป็นอันดับที่ 3 ตามหลัง CATL และ LG ตามลำดับ โดย CATL ได้ส่วนแบ่งการตลาด 34.7% LG ได้ 14.2% และ BYD ได้ส่วนแบ่งไป 12.6 %
บริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่ของจีนเติบโตขึ้นในขณะที่ส่วนแบ่งการตลาดของบริษัทสัญชาติเกาหลีใต้รายใหญ่รวมกันได้แก่ LG, Samsung และ SK ลดลงเหลือ 25.9% จาก 34.2%
นักวิจัยจาก University of Maryland พัฒนาแบตเตอรี่ที่นำเอาสารสกัดจากกระดองปูมาทำแบตเตอรี่ เปิดความเป็นไปได้ในการพัฒนาแบตเตอรี่ชนิดใหม่เพื่อใช้งานในเชิงพาณิชย์ซึ่งไม่เพียงจะมีราคาถูกลงแต่ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
ในปัจจุบันนี้แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนได้รับความนิยมใช้งานมากเนื่องจากความสามารถในการเก็บประจุและความเสถียรในการใช้งานซ้ำ แต่ปัญหาสำคัญของแบตเตอรี่ชนิดนี้คือลิเธียมและโคบอลต์ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญนั้นหายากทำให้มีต้นทุนในการผลิตค่อนข้างสูง และนี่คือที่มาของงานวิจัยนี้
Toyota ประกาศแผนการลงทุนเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าใน 2 ประเทศรวมเป็นเงิน 5.6 พันล้านเหรียญ
เงินส่วนแรก 2.5 พันล้านเหรียญ เป็นการขยายกำลังการผลิตแบตเตอรี่ของโรงงานใน North Carolina ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง อีกส่วนหนึ่งราว 3 พันล้านเหรียญ เป็นการลงทุนในประเทศญี่ปุ่นโดยหนึ่งในนั้นเป็นการลงทุนในโรงงานของ Prime Planet Energy & Solutions ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง Toyota และ Panasonic
ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเปิดเผยกับ Wall Street Journal ว่า Panasonic ผู้ผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติญี่ปุ่น ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์ใหญ่ของ Tesla กำลังอยู่ในระหว่างการเจรจาเพื่อสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรีแห่งใหม่ที่มีมูลค่าราว 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยมองไว้ว่าจะสร้างโรงงานที่รัฐโอคลาโฮมา ซึ่งก็คาดว่าเพื่อป้อนแบตเตอรี่ให้กับ Tesla มากขึ้น
Honda ร่วมมือกับบริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่สัญชาติเกาหลีใต้ LG Energy Solution สร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าในรัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงานหลักของ Honda โดยจะเริ่มสร้างในปี 2023 และเริ่มผลิตในปี 2025 ใช้เงินลงทุนประมาณ 2-3 ล้านเหรียญสหรัฐ คาดว่าโรงงานดังกล่าวจะสามารถผลิตแบตเตอรี่ให้กับรถยนต์ไฟฟ้าได้มากถึง 5-6 แสนคันต่อปี
เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา Zeng Yuqun ผู้ก่อตั้งและประธานบริษัทผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่สัญชาติจีน CATL เปิดเผยในงาน World New Energy Vehicle Congress ที่กรุงปักกิ่งว่า บริษัทกำลังพัฒนาวัสดุที่ใช้ทำแบตเตอรี่ใหม่ในชื่อ M3P ที่สามารถเพิ่มกำลังความหนาแน่นของพลังงาน (energy density) แบตเตอรี่ขึ้น 10-20% เมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ฟอสเฟต ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าวิ่งได้ถึง 700 กิโลเมตรต่อการชาร์จหนึ่งครั้งเมื่อใช้รวมกับแบตเตอรี่รุ่นใหม่ของบริษัท
Zeng เปิดเผยว่าวัสดุใหม่จะมีต้นทุนต่ำลงเมื่อเทียบกับแบตเตอรี่นิกเกิลและแบตเตอรี่ที่ใช้โคบอลต์เป็นหลัก ทั้งนี้ ยังไม่ได้ระบุว่าแบตเตอรี่ M3P จะใช้โลหะชนิดใดบ้างในการผลิตหรือจะเริ่มผลิตเมื่อไร
ทีมนักวิจัยจาก National University of Singapore (NUS) ได้พัฒนาแบตเตอรี่ที่มีรูปร่างหน้าตาเหมือนแผ่นกระดาษเปื้อนหมึก ซึ่งมีความพิเศษตรงที่มันสามารถชาร์จไฟให้ตัวเองได้โดยอาศัยความชื้นจากอากาศ มันถูกทำขึ้นมาจากแผ่นวัสดุเส้นใยหนา 0.3 มิลลิเมตร, เกลือทะเล, หมึกคาร์บอน และไฮโดรเจลแบบพิเศษที่มีคุณสมบัติดูดซับความชื้น
เทคนิคการผลิตไฟฟ้าได้เองโดยอาศัยความชื้นนี้มีชื่อเรียกโดยทั่วไปว่า MEG (moisture-driven electricity generation) และแบตเตอรี่ของทีมวิจัยนี้ก็เป็นอุปกรณ์ MEG อย่างหนึ่งเช่นกัน ซึ่งปัจจุบันนี้มีความพยายามพัฒนาอุปกรณ์ MEG ขึ้นใช้ประโยชน์ในหลายด้าน เช่น อุปกรณ์สวมใส่เพื่อตรวจวัดระดับสุขภาพ, เซ็นเซอร์แบบติดผิวหนัง รวมทั้งอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล
CATL ผู้ผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดในโลกประกาศแผนลงทุนสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ขนาดกำลังการผลิต 100 GWh ในประเทศฮังการีเพื่อป้อนแบตเตอรี่ให้ลูกค้าในยุโรป
โครงการสร้างโรงงานแบตเตอรี่แห่งใหม่นี้ใช้เงินลงทุน 7.34 พันล้านยูโร โดยจะก่อสร้างบนพื้นที่ 221,000 ตารางเมตร (ประมาณ 140 ไร่) ในเขตอุตสาหกรรม Southern Industrial Park เมือง Debrecen ทางตะวันออกของฮังการี โดยงานก่อสร้างจะเริ่มภายในปีนี้ ทั้งนี้แบตเตอรี่ที่ออกจากโรงงานนี้จะถูกป้อนให้กับลูกค้ากลุ่มผู้ผลิตรถยนต์หลายราย ทั้ง Mercedes-Benz, BMW, Stellantis และ Volkswagen
Goldman Sachs วาณิชธนกิจรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา คาดการณ์ว่า มูลค่าโลหะที่ใช้ผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า เช่น โคบอลต์, ลิเธียม และนิกเกิล จะมีราคาถูกลงภายใน 2 ปีข้างหน้า เนื่องจากมีบริษัทมากมายเข้ามาลงทุนเกี่ยวกับโลหะดังกล่าวจนโลหะเหล่านี้เกิดภาวะ Oversupply
ปัจจุบันโคบอลต์, ลิเธียม และนิกเกิล ยังประสบปัญหาขาดแคลน เพราะการระบาดของโรคโควิด-19 และการเกิดสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน จนทำให้ราคาพุ่งสูง แต่จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้หลายองค์กรมองเห็นโอกาสในการลงทุนโลหะเหล่านี้ และมองว่าแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าคืออีกสินค้าที่มีความจำเป็นต่อการใช้งานในอนาคต
นักวิจัยที่มหาวิทลัยโมนาช ประเทศออสเตรเลีย นำโดยศาสตราจารย์ Matthew Hill, ด็อกเตอร์ Mahdokht Shaibani และศาสตราจารย์ Mainak Majumber ทำการปรับปรุงแผ่นคั่นสำหรับแบตเตอรีลิเธียม-ซัลเฟอร์ ได้สำเร็จ โดยทำให้การถ่ายโอนลิเธียมไออนทำได้ดีขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพรวมถึงอายุการใช้งานของแบตเตอรี
ศาสตราจารย์ Matthew Hill ระบุว่าการใช้แผ่นคั่นแบบ nanoporous interlayer ทำให้ส่งผ่านลิเธียมได้เร็วขึ้น ส่งผลให้การชาร์จและปล่อยกระแสทำได้เร็วขึ้นและแก้ปัญหาเดิมที่ทำให้แบตเตอรีชนิดนี้มีอายุสั้น โดยทำให้สารโพลีซัลไฟด์ที่เกิดจากปฏิริยาเคมีและทำให้อายุการใช้งานสั้นลง เดินทางระหว่างแอโนดและแคโทดไม่ได้
Tesla ลงนามข้อตกลงกับ Liontown Resources บริษัทขุดเหมืองในออสเตรเลีย จองซื้อลิเทียม (Lithium Spodumene Concentrate) รวม 700,000 ตันตลอดระยะเวลา 5 ปีล่วงหน้าขณะที่เหมืองยังไม่เปิดทำการ
เหมืองของ Liontown ที่จะขุดลิเทียมส่งมอบให้ Tesla นี้อยู่ที่ Kathleen Valley ทางตะวันตกของออสเตรเลีย คาดว่ามีแร่ลิเทียมออกไซด์ (Li20) ถึง 156 ล้านตัน คาดว่าเพียงพอต่อการขุด 23 ปี การส่งมอบปีแรกจะส่งมอบ 100,000 ตัน และปีต่อๆ ไป 150,000 ตัน ส่วนราคาส่งมอบนั้นมีสูตรคำนวณจากราคาตลาด ณ วันส่งมอบ
LG Energy Solution บริษัทผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าได้ไอพีโอเข้าตลาดหุ้นเกาหลีอย่างเป็นทางการแล้ว โดยมูลค่าหลังปิดตลาดวันนี้อยู่ที่ 118 ล้านล้านวอน หรือราว 3.25 ล้านล้านบาท และถือเป็นบริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดอันดับสองของเกาหลี เป็นรองเพียงแค่ Samsung Electronics เท่านั้น
ราคาไอพีโอของ LG Energy Solution อยู่ที่ 3 แสนวอนต่อหุ้น ระดมทุนกว่า 12.8 ล้านล้านวอน หรือราว 3.53 แสนล้านบาท ถือเป็นไอพีโอบริษัทที่ใหญ่ที่สุดของเกาหลี หลังจากเข้าเทรดวันแรกราคาก็พุ่งไปที่ 5.97 แสนวอน หรือเพิ่มขึ้นราว 99% ก่อนที่จะตกลงมาเล็กน้อยและปิดตลาดที่ราคาสูงกว่าราคาไอพีโอ 68.3%
รถของ Tesla เป็นที่นิยมของคนชอบรถไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง แม้ว่ามีปัญหาในเรื่องคุณภาพการผลิตที่ค่อนข้างแย่มาหลายปี และการต่อต้านสิทธิ์ในการซ่อม รวมถึงปัญหาอื่นๆ จากทาง Tesla ที่ยังมีมาไม่ขาดสาย ค่าซ่อมบำรุงที่แพงจากราคาอะไหล่ที่แพงพอสมควร
เจ้าของ Tesla Mode S ชาวฟินแลนด์ นามว่า Tuomas Katainen เป็นหนึ่งในลูกค้าของ Tesla ที่ไม่ประทับใจกับรถคันนี้อย่างมาก หลังพบปัญหาในการใช้รถคันนี้มากขึ้นเรื่อยๆ หลังใช้งานมานานกว่า 8 ปี จนกระทั่งต้องถูกลากเข้าศูนย์ซ่อมของ Tesla อยู่หนึ่งเดือน และได้รับแจ้งว่าต้องเปลี่ยนแบตเตอรีทั้งลูกในราคาที่สูงถึง 20000 ยูโร แปลงเป็นเงินไทยเกือบ 757,000 บาท แน่นอนว่า Tuomas ทำใจรับค่าซ่อมไม่ได้ เนื่องจากรถของเขาหมดระยะประกันไปแล้ว
Nissan เผยแผน Ambition 2030 ลงทุนกว่า 2 ล้านล้านเยน หรือประมาณ 6 แสนล้านบาท เพื่อผลิตรถยนต์ใช้ไฟฟ้าให้ได้ 23 รุ่น ภายในปี 2030 โดยแบ่งเป็นรถยนต์ Hybrid 8 รุ่น และ BEV (Battery Electric Vehicle) หรือรถยนต์ไฟฟ้าแบบใช้แบตเตอรี่เต็มรูปแบบ อีก 15 รุ่นด้วยกัน
นอกจากนี้ Nissan ยังมีแผนเตรียมผลิตแบตเตอรี่แบบ All-Solid-State Battery หรือ ASSB แบตเตอรี่แบบ Solid State ที่มีความปลอดภัยและจุพลังงานต่อน้ำหนักได้มากขึ้น โดยจะตั้งโรงงานแรกภายในปี 2024 และใช้งานในรถยนต์ไฟฟ้าภายในปี 2028