DigiTimes เว็บข่าววงการอิเล็กทรอนิกส์ของไต้หวัน รายงานข่าวลือว่า MediaTek จะใช้ไลเซนส์จีพียูของ NVIDIA ในชิปของตัวเอง ซึ่งจะประกาศข่าวในปีหน้า 2024
ตามข่าวบอกว่าชิปของ MediaTek ไม่ได้โฟกัสเฉพาะตลาดมือถือเท่านั้น แต่จะยังทำอุปกรณ์ที่เป็น Windows on Arm ด้วย
ตลาดจีพียูมือถือ ถือเป็นช่องโหว่ของ NVIDIA มายาวนาน นับตั้งแต่บริษัทเลิกทำตลาดชิป Tegra ของตัวเองกับสินค้ากลุ่มสมาร์ทโฟน-แท็บเล็ต (ตอนนี้เหลือแค่ Nintendo Switch กับสินค้ากลุ่ม Jetson/Drive ของ NVIDIA เอง) ในขณะที่คู่แข่ง AMD มีความร่วมมือกับซัมซุงในการใช้จีพียู Radeon ร่วมกับชิป Exynos อยู่บ้างแล้ว
ในฝั่งพีซีหรือเกมมิ่งโน้ตบุ๊ก ผู้ผลิตการ์ดจอล้วนออกฟีเจอร์มากมายเพื่อตอบโจทย์การเล่นเกมที่สมจริงและไหลลื่นมากขึ้น แต่เรื่องนี้ยังค่อนข้างเป็นข้อจำกัดของการเล่นเกมบนสมาร์ทโฟนอยู่
แต่ช่วงหลังฝั่งสมาร์ทโฟนก็เริ่มไล่ตามมาแล้ว ตั้งแต่การรองรับ Ray Tracing บน Snapdragon 8 Gen 2 และล่าสุด Qualcomm ก็เปิดตัว Snapdragon Game Super Resolution (GSR) ที่ช่วยอัพสเกลภาพให้ละเอียดขึ้น โดยไม่หนักฮาร์ดแวร์เครื่อง ลักษณะคล้าย DLSS ของ NVIDIA หรือ FSR ของ AMD
Matrox บริษัทผู้ผลิตการ์ดจอที่หลายคนอาจลืมชื่อกันไปบ้าง ช่วงหลังๆ หันไปทำการ์ดด้านตัดต่อ-เข้ารหัสวิดีโอเป็นหลักแทน โดยยังมีการ์ดจอของตัวเองเหลืออยู่ซีรีส์เดียวคือ Matrox M-Series ที่เน้นการต่อจอมอนิเตอร์จำนวนมาก (สูงสุด 8 จอ) แทนตลาดการ์ดจอแสดงผล 3D ที่ไม่สามารถแข่งขันได้แล้ว
แต่ล่าสุด Matrox หวนคืนวงการจีพียู 3D อีกรอบ ด้วยการผลิตการ์ดจอเดสก์ท็อปที่ใช้จีพียู Intel Arc ลักษณะเดียวกับผู้ผลิตการ์ดจอค่ายอื่นๆ เช่น Acer, ASRock
AMD เปิดตัวจีพียูเวิร์คสเตชันใหม่สองตัวคือ Radeon Pro W7900 และ W7800 ซึ่งเป็นการ์ดจอกลุ่มโปรชุดแรกที่ใช้สถาปัตยกรรม RDNA 3 แบบเดียวกับการ์ดซีรีส์ Radeon RX 7000
จุดเด่นของการ์ดซีรีส์นี้นอกเหนือจากฟีเจอร์มาตรฐานสถาปัตยกรรม RDNA 3 (Chiplet, Ray Tracing, AV1) คือ W7900 ใช้แรมมากถึง 48GB (W7800 ให้ 32GB) จึงรองรับเวิร์คโหลดที่มีขนาดใหญ่มากๆ ตัวเลขประสิทธิภาพตามสเปกคือ 61 TFLOPS (W7900) และ 45 TFLOPS (W7800) นอกจากนี้ยังรองรับมาตรฐาน DisplayPort 2.1 เวอร์ชันใหม่ล่าสุด ตัวการ์ดมาพร้อมพอร์ตขนาดเต็ม 3 พอร์ต และแบบมินิอีก 1 พอร์ต
เราเห็น NVIDIA ออกฟีเจอร์ RTX Video Super Resolution (VSR) ช่วยอัพสเกลวิดีโอสำหรับการเล่นผ่านเว็บเบราว์เซอร์ กันมาแล้ว ล่าสุดฟีเจอร์ VSR ใช้งานกับแอพเล่นวิดีโอยอดนิยม VLC ได้แล้วเช่นกัน
ตัวเทคนิคเบื้องหลังยังทำงานเหมือนกัน คือใช้ฟีเจอร์ AI ของจีพียู (Tensor Core) ช่วยอัพสเกลวิดีโอให้ความละเอียดสูงขึ้น โดยที่ภาพยังคมชัดอยู่
การใช้งานจำเป็นต้องใช้ VLC 3.0.19 เวอร์ชันแยก RTX Beta ด้วย ยังไม่อยู่ใน VLC เวอร์ชันหลัก และเปิดใช้งานฟีเจอร์ VSR ใน NVIDIA Control Panel ก่อน
NVIDIA เปิดตัวจีพียู GeForce RTX 4070 สำหรับเดสก์ท็อปที่รอกันมานาน (จน 4070 โน้ตบุ๊กออกแซงหน้าไปแล้ว) ในราคา 599 ดอลลาร์ ถูกกว่า GeForce RTX 4070 Ti (4080 12GB รีแบรนด์) ที่เปิดตัวมาในเดือนมกราคม ตั้งราคา 799 ดอลลาร์)
GeForce RTX 4070 เป็นการ์ดระดับกลาง เน้นเล่นเกมความละเอียด 1440p โดยประสิทธิภาพดีกว่า 3070 Ti ที่เปิดตัว 599 ดอลลาร์เท่ากันถึงสองเท่า โดยที่ใช้พลังงานน้อยกว่า (200W เทียบกับ 290W) และหากเทียบกับ 3080 จะแรงกว่า 1.4 เท่า (ต้องเปิด DLSS3)
สเปกของ RTX 4070 คือ CUDA core 5888 คอร์, แรม 12GB GDDR6X ส่วนฟีเจอร์อื่นก็ตามมาตรฐานของสถาปัตยกรรม Ada Lovelace เช่น รองรับ DLSS3, รองรับวิดีโอแบบ AV1
AMD โพสต์บล็อกของบริษัท ชูประเด็นว่าการ์ดจอ Radeon ระดับสูงสำหรับกลุ่มลูกค้า enthusiast (คิดที่ราคา 499 ดอลลาร์ขึ้นไป) ของค่ายตัวเองให้แรมกว่าค่ายคู่แข่ง GeForce เพราะเป็นแรม 16GB ขึ้นไปทั้งหมดแล้ว ในขณะที่บางรุ่นของ NVIDIA ยังให้แรม 8GB อยู่เลย
AMD ยังจัดการเปรียบเทียบเบนช์มาร์คของการ์ดสองค่ายที่ราคาไล่เลี่ยกัน เช่น Radeon RX 6800 XT (16GB) ราคา 579 ดอลลาร์ กับ GeForce RTX 3070 Ti (8GB) ราคา 639 ดอลลาร์ ว่าฝั่ง Radeon ชนะหมดในทุกเกมที่นำมาทดสอบ โดยปัจจัยหลักมาจากการให้แรมมากกว่า สอดคล้องกับความต้องการของเกมรุ่นใหม่ๆ ที่ต้องการแรมการ์ดจอมากขึ้นเรื่อยๆ
ช่องฮาร์ดแวร์และบัญชีทวิตเตอร์สายฮาร์ดแวร์หลายราย เริ่มทยอยโพสต์ข้อมูลของ NVIDIA "Blackwell" สถาปัตยกรรมจีพียูรุ่นถัดไปที่จะออกช่วงปลายปี 2024
Blackwell ยังคงธรรมเนียมเดิมของ NVIDIA ที่ใช้โค้ดเนมเป็นชื่อนักวิทยาศาสตร์ โดยรอบนี้คือ David Blackwell นักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกัน ที่มีผลงานด้านทฤษฎีเกม และความน่าจะเป็น
ซัมซุงมีข้อตกลงกับ AMD มาตั้งแต่ปี 2019 เพื่อนำเทคโนโลยีจีพียู Radeon มาใช้ในสมาร์ทโฟน ซึ่งออกผลมาเป็น จีพียู Xclipse ในชิป Exynos 2200 ที่ใช้ใน Galaxy S22 บางรุ่นย่อย
อย่างไรก็ตาม พอมาถึงยุค Galaxy S23 ซัมซุงกลับลำ เปลี่ยนมาใช้ Snapdragon ทั้งหมดแทน ทำให้เกิดคำถามว่าชะตาชีวิตของ Exynos (รวมถึง Xclipse) จะเป็นอย่างไรต่อ โดยมีข่าวลือว่าซัมซุงตั้งทีมพัฒนาชิปใหม่แยกจากทีมเดิม
NVIDIA เปิดตัวจีพียูเวิร์คสเตชันแบรนด์ RTX (Quadro เดิม) ที่ใช้สถาปัตยกรรม Ada Lovelace เพิ่มเติมอีก 6 รุ่น หลังจากเปิดตัวจีพียู RTX 6000 รุ่นท็อปมาตั้งแต่เดือนกันยายน 2022
Pat Gelsinger ซีอีโออินเทล ประกาศว่า Raja Koduri หัวหน้าฝ่ายสถาปัตยกรรม (Chief Architect) จะลาออกจากตำแหน่ง มีสิ้นเดือนมีนาคมนี้ โดยเขาจะไปทำสตาร์ทอัพด้าน Generative AI สำหรับเกมและสื่อบันเทิง
Raja Koduri ร่วมงานกับอินเทลเมื่อ 5 ปีที่แล้ว โดยเขาย้ายมาจาก AMD เพื่อมาดูแลส่วนการพัฒนาชิปกราฟิกให้อินเทลโดยเฉพาะ และเปิดตัวการ์ดจอแบรนด์ใหม่ Intel Arc ในปี 2021
หลังการลาออกนี้ Jeff McVeigh จะเป็นรักษาการหัวหน้าฝ่าย AXG ที่ดูแลคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง ซึ่งก่อนหน้านี้ Raja Koduri ดูแลอยู่ด้วย
NVIDIA เปิดตัว NVIDIA DGX Cloud บริการเช่าเซิร์ฟเวอร์เหมาเครื่อง สำหรับองค์กรที่ต้องการฝึกปัญญาประดิษฐ์ โดยโครสร้างหลักอยู่บน Oracle Cloud ที่มีเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก พร้อมให้บริการชิปกราฟิกถึง 32,000 ชุด
ความแตกต่างของ DGX Cloud คือเป็นการเช่าเครื่องทั้งเครื่องเป็นรายเดือน ซึ่งก็นับว่าราคาถูกกว่าซื้อเองทั้งเครื่องอยู่มาก แต่ละเครื่องมีการ์ด NVIDIA A100 อยู่ 8 ใบ รวมแรม 640GB และหากเช่าหลายเครื่องพร้อมกันก็จะเชื่อมต่อกันด้วยระบบเน็ตเวิร์คของ NVIDIA เอง
ทาง NVIDIA โชว์ว่ามีผู้ใช้ DGX Cloud แล้วเช่น Amgen ใช้โมเดล BioNeMo ของ NVIDIA เพื่อวิจัยยา ขณะที่ ServiceNow ใช้เพื่อวิจัยเรื่องการสร้างโมเดลภาษาขนาดใหญ่, ปัญญาประดิษฐ์ช่วยเขียนโค้ด, และการวิเคราะห์อื่นๆ
NVIDIA เปิดตัวชิป H100 NVL หลังจากเปิดตัวรุ่นแรกในตระกูลเมื่อปีที่แล้ว โดยความพิเศษของโมดูลรุ่นใหม่นี้คือมันใส่แรมมาสูงถึง 188GB นับว่าสูงที่สุดจากเดิมที่ชิป H100 รองรับแรมเพียง 80GB เท่านั้น เหตุผลสำคัญคือโมเดลปัญญาประดิษฐ์ในกลุ่ม GPT ช่วงหลังมีขนาดใหญ่มากๆ ระดับแสนล้านพารามิเตอร์ การรันโมเดลระดับนี้ต้องการแรมขนาดใหญ่
นอกจาก H100 NVL แล้ว NVIDIA ยังเปิดตัวเซิร์ฟเวอร์รุ่นอื่นๆ มาอีก 3 รุ่น ได้แก่
ไมโครซอฟท์เล่าเบื้องหลังการสร้างซูเปอร์คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่บน Azure เพื่อให้บริการ OpenAI เทรนโมเดล AI ขนาดใหญ่จนกลายมาเป็น ChatGPT แบบที่เราเห็นกันทุกวันนี้
จุดเริ่มต้นของเรื่องนี้มาจากข้อตกลงระหว่างไมโครซอฟท์กับ OpenAI ในปี 2019 ตอนนั้นไมโครซอฟท์มีระบบเซิร์ฟเวอร์สำหรับเทรนโมเดล AI ของตัวเองอยู่แล้ว (เช่น โมเดลที่ใช้ใน Microsoft Translator หรือตัวตรวจสะกดใน Word) แต่ขีดความสามารถนั้นไม่พอกับที่โมเดลขนาดใหญ่มากๆ ของ OpenAI ต้องการใช้งาน ทำให้ไมโครซอฟท์ต้องหาวิธีออกแบบระบบใหม่
Microsoft Azure เปิดพรีวิวเครื่อง VM เวอร์ชันใหม่ที่ใช้จีพียู NVIDIA H100 รุ่นใหม่ล่าสุด สถาปัตยกรรม Hopper ที่พัฒนาขึ้นจากจีพียู NVIDIA A100 (Ampere) รุ่นที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน หากอิงจากตัวเลขของ NVIDIA เองคือเทรนโมเดลบางประเภทได้เร็วขึ้น 9 เท่า
VM รุ่นนี้ใช้ชื่อว่า ND H100 v5 เลือกจีพียูได้ต่ำสุด 8 ตัว สเกลขึ้นไปได้เป็นหลักพันตัว (ต่อกันผ่าน InfiniBand) สเปกเครื่องมีดังนี้
ผู้บริหารของ AMD สองคนคือ Rick Bergman (EVP) และ David Wang (SVP) ให้สัมภาษณ์กับสื่อไอทีญี่ปุ่น ITMedia เปิดเผยรายละเอียดที่น่าสนใจว่า AMD เลือกไม่ทำจีพียูระดับท็อปแข่งกับ NVIDIA GeForce RTX 4090 แม้ในทางเทคนิคนั้นเป็นไปได้ เพราะมองว่าไม่น่าจะมีตลาดมากพอ
จีพียูรุ่นสูงสุดของ AMD ในปัจจุบันคือ Radeon RX 7900 XTX ที่มีประสิทธิภาพระดับใกล้ๆ กับ GeForce RTX 4080 ซึ่งเป็นจีพียูตัวรองของ NVIDIA โดยฝั่ง AMD ตั้งราคาถูกกว่าที่ 999 ดอลลาร์ เทียบกับฝั่ง NVIDIA ที่ตั้ง 1,199 ดอลลาร์
เราเห็นข่าว NVIDIA ประกาศฟีเจอร์ Video Super Resolution สำหรับการชมวิดีโอผ่านเบราว์เซอร์ที่เป็น Chromium ไปแล้ว
ฝั่งไมโครซอฟท์ออกมาประกาศฟีเจอร์ชื่อเดียวกันคือ Video Super Resolution ทำงานแบบเดียวกัน ที่เพิ่มเติมคือใช้ได้ทั้งจีพียูค่ายเขียว NVIDIA (GeForce 20/30/40) และค่ายแดง (Radeon RX5700-RX7800)
ฟีเจอร์นี้ใช้ได้บน Microsoft Edge Canary กับผู้ใช้บางกลุ่ม (ยังเปิดใช้แค่ 50% ของผู้ใช้ Canary) โดยต้องเปิดใช้ผ่าน flag edge://flags/#edge-video-super-resolution ก่อน เงื่อนไขคือคอมพิวเตอร์ต้องเสียบไฟด้วย วิดีโอต้องมีความละเอียดน้อยกว่า 720p ถึงจะอัพสเกลให้ และยังใช้ไม่ได้กับวิดีโอที่ติด DRM (PlayReady/Widevine)
อินเทลยกเลิกโครงการจีพียูศูนย์ข้อมูล Rialto Bridge ที่เปิดตัวในปี 2022 และมีกำหนดขายปี 2023+ โดยจะข้ามไปออกจีพียูรุ่นถัดไป Falcon Shores ในปี 2025 เลยทีเดียว
Rialto Bridge เป็นจีพียูระดับสูงของอินเทลตัวที่สอง ถัดจาก Ponte Vecchio (ชื่อทางการคือ Data Center GPU Max) ที่เพิ่งออกขายเมื่อต้นปี 2023 จับตลาดซูเปอร์คอมพิวเตอร์และคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (HPC)
NVIDIA ออกอัพเดตไดรเวอร์ GeForce Game Ready Driver รอบเดือนมีนาคม 2023 (เลขเวอร์ชัน 531.18) มีของใหม่ที่สำคัญคือ RTX Video Super Resolution (VSR) ใช้พลัง AI ด้วยอัพสเกลวิดีโอที่รับชมผ่านเว็บเบราว์เซอร์ให้มีความละเอียดสูงขึ้น
ตอนนี้เว็บเบราว์เซอร์ที่รองรับแล้วคือ Chrome และ Edge โดยต้องใช้กับจีพียู GeForce RTX ซีรีส์ 30 หรือ 40 (ซีรีส์ 20 จะตามมาในอนาคต) และต้องเปิดใช้งานในหน้า Settings ของ NVIDIA Control Panel ด้วย ผู้ใช้สามารถเลือกระดับของการปรับคุณภาพวิดีโอได้ตั้งแต่ 1-4 ซึ่งคุณภาพยิ่งเยอะยิ่งกินแรงจีพียู
ท่ามกลางสงคราม AI ระหว่างบริษัทยักษ์ใหญ่ เช่น Google, Meta, Microsoft+OpenAI รวมถึงรายย่อยลงมาอย่าง Stable Diffusion ถึงแม้ยังไม่เห็นผลแพ้ชนะในเร็ววัน แต่ผู้ชนะตัวจริงอาจเป็น NVIDIA ผู้ขายจีพียูรุ่นท็อปสำหรับเทรนโมเดลขนาดใหญ่ ที่ทุกบริษัทต้องซื้อหามาใช้งาน
จีพียูยอดนิยมของวงการ AI คือ NVIDIA A100 ที่เปิดตัวในปี 2020 ราคาตัวละเกือบ 10,000 ดอลลาร์ เซิร์ฟเวอร์ทั้งชุด DGX A100 มีจีพียู 8 ตัว มีราคาขายราว 200,000 ดอลลาร์ คาดกันว่า NVIDIA ครองตลาดจีพียู AI ถึง 95% เรียกได้ว่าแทบไร้คู่แข่ง
วันนี้ 8 กุมภาพันธ์ โน้ตบุ๊กที่ใช้จีพียู GeForce RTX 4080 และ 4090 เริ่มวางขายเป็นวันแรก (ตัวต่ำกว่านี้จะขาย 22 กุมภาพันธ์) ทำให้เราได้เห็นเบนช์มาร์คและประสิทธิภาพของจีพียูรุ่นใหม่กันแล้ว
เว็บไซต์ PC Mag รีวิวโน้ตบุ๊กที่ใช้ GeForce 4090 สองรุ่น ได้แก่ Asus ROG Strix Scar 18 และ MSI GT77 Titan ทั้งสองรุ่นใช้ซีพียู Core i9-13980HX เหมือนกัน แต่ต่างกันที่แรม โดยรุ่นของ Asus ใช้แรม 32GB และ MSI ใช้แรม 64GB การรีวิวเทียบกับโน้ตบุ๊กรุ่นเก่าของปีที่แล้วที่ใช้จีพียู GeForce 3080 Ti
ผลการรีวิวออกมาตามคาดคือ 4090 มีประสิทธิภาพดีขึ้นจาก 3080 Ti โดยเบนช์มาร์ค 3DMark Time Spy และ GFXBench 5 ได้คะแนนดีขึ้นเท่าตัว
Chrome 110 ที่ตอนนี้มีสถานะเป็น Early Stable เริ่มปล่อยอัพเดตในวงจำกัด รองรับฟีเจอร์ RTX Video Super Resolution (VSR) ของจีพียูค่าย NVIDIA (GeForce ซีรีส์ 30/40 ส่วนซีรีส์ 20 จะตามมาภายหลัง) ที่ให้พลัง AI ช่วย upscaling การแสดงผลวิดีโอในเบราว์เซอร์แล้ว
ปกติแล้วเราคุ้นกับฟีเจอร์ Deep Learning Super Sampling (DLSS) ที่ใช้ AI ช่วยขยายภาพตอนเล่นเกมให้มีความคมชัดมากขึ้น คราวนี้ NVIDIA นำเทคนิคแบบเดียวกันมาใช้กับการแสดงผลวิดีโอใดๆ ก็ได้ในเบราว์เซอร์ (เช่น การขยายวิดีโอที่ต้นฉบับ 1080p เพิ่มเป็น 4K ให้คมชัดขึ้น) โดยระบุว่าใช้ได้กับ Chrome และ Edge
อินเทลประกาศหั่นราคาจีพียูระดับกลาง Intel Arc A750 ที่วางตัวไว้เป็นคู่แข่งของ GeForce RTX 3060 โดยมีประสิทธิภาพต่อราคาดีกว่า จากเดิม 289 ดอลลาร์ ลงเหลือ 249 ดอลลาร์ (เฉพาะการ์ดแบรนด์ของอินเทลเอง) โดยบอกว่าเป็นความตั้งใจตามยุทธศาสตร์หลักของบริษัท ที่เน้นออกจีพียูราคาคุ้มค่า มาเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภค หากเทียบกับราคา RTX 3060 รุ่นแรม 8GB เท่ากัน ตอนนี้ขายอยู่ที่ 339 ดอลลาร์ ถูกกว่ากันถึง 90 ดอลลาร์
มีข่าวลือจากวงการฮาร์ดแวร์ฝั่งจีนว่า Acer เตรียมบุกตลาดการ์ดจอ โดยจะผลิตการ์ด AMD Radeon ขายในแบรนด์ Predator
เอาเข้าจริง Acer อยู่ในธุรกิจการ์ดจอตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่ยังมีเฉพาะการ์ด Intel Arc เพียงสองรุ่น (A770 และ A380) เท่านั้น ข่าวล่าสุดคือจะหันมาผลิตการ์ด Radeon ที่น่าจะมีฐานลูกค้ากว้างขึ้นกว่าเดิม (แต่ยังไม่มีฝั่ง GeForce) โดยคาดกันว่าน่าจะทำตลาดการ์ดระดับกลาง Radeon 7700/7800 ก่อน
การ์ดจอยุคหลังๆ มีประสิทธิภาพแรงขึ้นมาก แลกมากับการกินไฟที่เพิ่มขึ้น และชุดระบายความร้อนที่ขนาดใหญ่ขึ้นจนกินพื้นที่ 3 สล็อต PCIe แล้ว (พร้อมข่าวลือ GeForce Titan หนา 4 สล็อต) ทางออกของปัญหาการ์ดจอหนาเกินจนกินพื้นที่ภายในพีซี อาจต้องแก้ด้วยการใช้ชุดระบายความร้อนด้วยน้ำแทนพัดลม
Alphacool ผู้ผลิตอุปกรณ์เสริมจากเยอรมนี ออกบล็อคระบายความร้อนด้วยน้ำให้ GeForce ซีรีส์ 40 จนสามารถลดขนาดของการ์ด Geforce RTX 4090 ลงมาเหลือสล็อตเดียวได้สำเร็จ