Pat Gelsinger ซีอีโออินเทล ประกาศว่า Raja Koduri หัวหน้าฝ่ายสถาปัตยกรรม (Chief Architect) จะลาออกจากตำแหน่ง มีสิ้นเดือนมีนาคมนี้ โดยเขาจะไปทำสตาร์ทอัพด้าน Generative AI สำหรับเกมและสื่อบันเทิง
Raja Koduri ร่วมงานกับอินเทลเมื่อ 5 ปีที่แล้ว โดยเขาย้ายมาจาก AMD เพื่อมาดูแลส่วนการพัฒนาชิปกราฟิกให้อินเทลโดยเฉพาะ และเปิดตัวการ์ดจอแบรนด์ใหม่ Intel Arc ในปี 2021
หลังการลาออกนี้ Jeff McVeigh จะเป็นรักษาการหัวหน้าฝ่าย AXG ที่ดูแลคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง ซึ่งก่อนหน้านี้ Raja Koduri ดูแลอยู่ด้วย
อินเทลประกาศหั่นราคาจีพียูระดับกลาง Intel Arc A750 ที่วางตัวไว้เป็นคู่แข่งของ GeForce RTX 3060 โดยมีประสิทธิภาพต่อราคาดีกว่า จากเดิม 289 ดอลลาร์ ลงเหลือ 249 ดอลลาร์ (เฉพาะการ์ดแบรนด์ของอินเทลเอง) โดยบอกว่าเป็นความตั้งใจตามยุทธศาสตร์หลักของบริษัท ที่เน้นออกจีพียูราคาคุ้มค่า มาเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภค หากเทียบกับราคา RTX 3060 รุ่นแรม 8GB เท่ากัน ตอนนี้ขายอยู่ที่ 339 ดอลลาร์ ถูกกว่ากันถึง 90 ดอลลาร์
ช่องยูทูบ RedGamingTech อ้างว่าได้เอกสาร roadmap ของอินเทล ระบุแผนการออกจีพียู Arc ในช่วงปี 2023-2024 ดังนี้
Raja Koduri หัวหน้าฝ่ายจีพียูของอินเทล (ชื่อตำแหน่งเต็มๆ คือ Head of Accelerated Computing Systems and Graphics Group) ให้สัมภาษณ์ถึงทิศทางการทำตลาดจีพียูของบริษัท ว่าจะยังเน้นตลาดกลาง-ล่าง ที่มีกรอบการใช้พลังงานของจีพียูไม่เกิน 200-225 วัตต์
Koduri บอกว่ากลุ่มเป้าหมายหลักของอินเทล มีสาย power connector เพียงเส้นเดียว จ่ายไฟได้สูงสุดที่ 200-225 วัตต์ ดังนั้นอินเทลมีกรอบการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ระดับพลังงานนี้ (Intel Arc A770 สินค้ากลุ่มบนสุดในตอนนี้มี TDP 225 วัตต์) และอินเทลจะชูจุดขายเรื่องประสิทธิภาพต่อราคาที่เยอะกว่าคู่แข่งแทน
อินเทลประกาศราคาของจีพียู Intel Arc รุ่นรองท็อป A750 ที่ 289 ดอลลาร์ วางขาย 12 ตุลาคม วันเดียวรุ่นท็อป A770 ที่ราคา 329 ดอลลาร์ (แล้วทำไมพี่ไม่ประกาศพร้อมกัน!)
สเปกของทั้งสองรุ่นต่างกันดังนี้
หลังจากเลื่อนกันมานาน อินเทลประกาศวันวางขายจีพียูเดสก์ท็อป Intel Arc A770 วันที่ 12 ตุลาคมนี้ ในราคาเริ่มต้น 329 ดอลลาร์
Intel Arc A770 ถือเป็นจีพียูแรงที่สุดในเจ็นแรกของ Arc (ตัวอื่นในซีรีส์คือ A750, A580 และตัวที่ขายไปก่อนแล้วคือ A380 รุ่นล่างสุด) สเปกคร่าวๆ ของ A770 คือ คอร์ Xe หลัก 32 คอร์, คอร์ Raytracing 32 คอร์, คอร์ XMX 512 คอร์, แรม 8/16GB
อินเทลวางระดับของ A770 ไว้เทียบเท่า GeForce RTX 3060 และตั้งราคาที่แนะนำ (MSRP) ไว้ที่ 329 ดอลลาร์เท่ากัน โดยระบุว่า A770 มีประสิทธิภาพเล่นเกมใหม่ๆ ที่เป็น DirectX 12 และ Vulkan เหนือกว่า RTX 3060
ส่วน A750 รุ่นที่จะตั้งราคาถูกลงมานั้นยังไม่บอกว่าจะตั้งราคาเท่าไร
อินเทลเปิดตัวคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก Intel NUC 12 Enthusiast Mini PC (ชื่อรหัส Serpent Canyon) สำหรับเกมเมอร์และดีไซน์เนอร์ที่ต้องการพลังกราฟิกสูง โดยเป็น NUC ตัวแรกที่ใส่ชิปกราฟิกแยก Intel Arc มาในตัว
สเปคโดยรวมอัดเต็มระดับเดียวกับเกมมิ่งโน้ตบุ๊ก
ที่ผ่านมา อินเทลเปิดตัวจีพียู Arc สำหรับโน้ตบุ๊ก, Arc Pro สำหรับโน้ตบุ๊ก ส่วนจีพียูเดสก์ท็อปตระกูล Arc ยังมีวางขายเพียงรุ่นเดียวคือ A380 ที่เป็นตัวล่างสุด (แถมช่วงแรกก็มีปัญหาไดรเวอร์)
วันนี้อินเทลออกมาประกาศสเปกของ Arc รุ่นเดสก์ท็อปทั้ง 4 ตัว แม้ยังไม่ประกาศวันวางขายแต่ก็น่าจะใกล้เข้ามาทุกทีแล้ว
มาถึงวันนี้ อินเทลยังไม่สามารถวางขายการ์ดจอแยก Intel Arc เวอร์ชันเดสก์ท็อปได้ตามแผน (เดิมทีบอกขายภายในไตรมาส 2) ตอนนี้ยังมีเพียงจีพียูรุ่นล่างสุด Intel Arc A380 วางขายแค่รุ่นเดียว แถมรีวิวก็ออกมาแย่เพราะปัญหาบั๊กของไดรเวอร์ และมีปัญหาประสิทธิภาพในการเล่นเกมที่เก่าสักหน่อย
สัปดาห์ที่ผ่านมา Lisa_Pearce ผู้บริหารฝ่ายกราฟิกของอินเทล ต้องออกมาเขียนบล็อกยอมรับว่าคุณภาพของไดรเวอร์มีปัญหาจริง และชี้แจงในประเด็นต่างๆ ดังนี้
อินเทลขึ้นประกาศหน้าเว็บไซต์ว่า จีพียูรุ่นใหม่ๆ ของตัวเอง ได้แก่ จีพียูออนบอร์ดในซีพียู 12th Gen และจีพียูแยกตระกูล Arc จะไม่รองรับ DirectX 9 (D3D9) อีกต่อไป เป็นผลให้ไม่สามารถเล่นเกมเก่าๆ ที่ต้องพึ่งพา DirectX 9 ได้แบบเนทีฟ แต่ยังสามารถเล่นได้ผ่านอีมูเลเตอร์กราฟิก D3D9On12 ของไมโครซอฟท์ ที่ใช้วิธี mapping DirectX 9 บน DirectX 12 และมีอยู่แล้วบน Windows 10 โดยเพิ่งเปิดเป็นโอเพนซอร์สในปี 2021
อินเทลเปิดตัวจีพียู Intel Arc รุ่นแรก A-Series สำหรับคอนซูเมอร์มาตั้งแต่เดือนมีนาคม แต่ประสบปัญหาสินค้าวางจำหน่ายล่าช้า จนตอนนี้ก็ยังไม่สามารถขายได้ในวงกว้าง
แต่ดูท่าอินเทลไม่สนใจเรื่องการวางขายแต่อย่างใด และเดินหน้าเปิดตัว Intel Arc Pro A-Series สำหรับกลุ่มคนทำงานสายกราฟิกและเวิร์คสเตชันต่อทันที
มีข้อมูลหลุดของ Intel NUC Gen 12 รุ่นใหม่ "Serpent Canyon" จากโพสต์ภาษาจีน Baidu ตัวซีพียูยังเป็น 12th Gen Alder Lake เหมือนกับ NUC 12 Extreme "Dragon Canyon" ที่เปิดตัวเมื่อต้นปี สิ่งที่เพิ่มเข้ามาคือจีพียู Arc ของอินเทลเอง ไม่ต้องพึ่งพาจีพียูค่ายอื่นสำหรับเล่นเกมแล้ว (NUC 11 Enthusiast ใช้ RTX 2060)
อินเทลเปิดตัวจีพียู Arc อย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคม โดยเริ่มจากจีพียูฝั่งโน้ตบุ๊กก่อน แต่สินค้ากลับต้องเลื่อนวางขายเพราะปัญหาซัพพลายเชนและซอฟต์แวร์ ทำให้ตอนนี้ยังไม่มีโน้ตบุ๊กที่ใช้ Arc วางขายจริงๆ ในตลาด
แต่ล่าสุดเริ่มมีโน้ตบุ๊กที่ใช้ Arc วางขายแล้วในประเทศจีนคือ Machenike รุ่น Dawn ขนาดหน้าจอ 16" ทำให้เราได้เห็นเบนช์มาร์คของ Arc ที่รันโดยผู้ใช้จริงๆ (ไม่ได้มาจากฝั่งอินเทล)
เบนช์มาร์คที่มีผลออกมาเป็น 3DMark ชุดทดสอบ Timespy และ Fire Strike โดยเป็นของ Intel Arc A730M รุ่นรองท็อปของโน้ตบุ๊ก (รุ่นท็อปสุดคือ Arc A770M) ได้ผลลัพธ์ที่ราว 10,000 และ 23,000 คะแนนตามลำดับ
อินเทลเปิดตัวการ์ดกราฟิก Arctic Sound-M (ATS-M) สำหรับเซิร์ฟเวอร์ มีจุดเด่นที่ตัวถอดรหัสวิดีโอ AV1 เช่นเดียวกับชิป Arc ฝั่งผู้ใช้ตามบ้าน ATS-M มีสองรุ่น คือรุ่น 150W มีคอร์ Xe จำนวนมากกว่า และรุ่น 75W ที่เน้นตัวประมวลผลวิดีโอ
อินเทลโชว์ตัวเลขประสิทธิภาพของ ATS-M เช่น สตรีมวิดีโอ Full HD ได้พร้อมกัน 30 สตรีม, เรนเดอร์เกมได้พร้อมกันสูงสุดมากกว่า 40 หน้าจอ, และจุดคำสั่งรองรับการทำ virtualization สำหรับผู้ให้บริการคลาวด์
อินเทลเพิ่งเปิดตัวจีพียู Intel Arc โดยเริ่มจาก Arc 3 สำหรับโน้ตบุ๊ก และยังไม่มีผลทดสอบประสิทธิภาพกราฟิกจากสำนักที่เป็นกลางออกมา
ระหว่างที่กำลังรอผลกัน อินเทลก็อาศัยจังหวะนี้โชว์ฟีเจอร์ของ Arc ในฐานะจีพียูตัวแรกที่สามารถเข้ารหัส (encoding) และถอดรหัส (decoding) วิดีโอแบบ AV1 ได้ในตัว (จีพียู NVIDIA/AMD สามารถถอดรหัสได้อย่างเดียว) ทำให้งานตัดต่อวิดีโอ หรือสตรีมวิดีโอมีประสิทธิภาพมากขึ้น
อินเทลเปิดตัว discrete GPU ของตัวเองแบรนด์ Arc อย่างเป็นทางการ โดย Arc ชุดแรกเป็นจีพียูสำหรับโน้ตบุ๊กก่อน ใช้ชื่อว่า Intel Arc A-Series มีด้วยกัน 3 ระดับย่อยคือ Arc 3, Arc 5, Arc 7 ล้อไปกับการตั้งชื่อซีพียู i3, i5, i7 ที่เราคุ้นเคยกัน
แกนหลักของจีพียู Arc คือสถาปัตยกรรม Xe HPG ที่อินเทลใช้มาสักระยะแล้วในฝั่งซีพียูเซิร์ฟเวอร์ แต่นำบางส่วนมาปรับให้เหมาะกับตลาดเกมมิ่ง DirectX 12 Ultimate โดยมีฟีเจอร์ดังนี้
อินเทลจัดงานประชุมนักลงทุนประจำปี 2022 ประกาศแผนการออกผลิตภัณฑ์หลายตัว ฝั่งคอนซูเมอร์เน้นที่จีพียู Intel Arc รุ่นแรก "Alchemist" โดยระบุกรอบเวลาคร่าวๆ คือ
อินเทลประเมินว่าปี 2022 จะสามารถขาย Arc Alchemist ได้ถึง 4 ล้านตัว (นับรวมทุกเวอร์ชัน) โดยระบุว่ามีผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ OEM เตรียมออกสินค้าโน้ตบุ๊ก-เดสก์ท็อปที่มี Alchemist มากกว่า 50 รุ่นแล้ว
อินเทลประกาศในงาน CES 2022 ว่าเริ่มส่งมอบชิป Arc ที่เป็นชิปกราฟิกแยกให้กับผู้ผลิตแล้ว นับว่าเป็นไปตามแผนที่เคยประกาศไว้ว่าจะเริ่มทำตลาดชิป Arc ต้นปี 2022
การประกาศครั้งนี้อินเทลระบุว่ามีคอมพิวเตอร์กว่า 50 รุ่นทั้งเดสก์ทอปและโน้ตบุ๊กเตรียมใช้งานชิป Arc โดยมีผู้ผลิตรายหลักๆ เข้าร่วมครบถ้วน เช่น Lenovo ก็ระบุว่าจะเริ่มใช้ชิป Arc กับ Lenovo Yoga 7i แต่ยังไม่ได้ระบุเวลาวางจำหน่ายจริง
ที่มา - Intel
อินเทลประกาศฟีเจอร์ด้านการ upscaling กราฟิกด้วย AI ของตัวเองชื่อ XeSS (Xe Super Sampling) ในลักษณะเดียวกับ DLSS ของฝั่ง NVIDIA (ฝั่ง AMD มี FidelityFX Super Resolution แต่ไม่ได้เป็น AI ช่วย)
XeSS ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ภาพพิกเซลข้างเคียง ภาพจากเฟรมก่อนหน้า มาช่วยสร้างภาพที่ความละเอียดสูงขึ้นเป็น 4K โดยใช้เทคนิค neural network ไม่ต้องประมวลผลแบบเนทีฟ 4K ที่กินแรงเครื่อง
อินเทลยืนยันข่าวจีพียูตัวใหม่ Intel Arc จะจ้าง TSMC ผลิต ซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์ IDM 2.0 ที่มีทั้งการจ้างคนอื่นผลิต และเปิดโรงงานของตัวเองรับจ้างผลิตให้คนอื่น
ข่าวนี้ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจนัก เพราะจีพียูเซิร์ฟเวอร์รหัส Ponte Vecchio (Xe-HPC) ก็มีบางส่วนที่จ้าง TSMC ผลิตอยู่ก่อนแล้ว การที่ Intel Arc (Xe-HPG) จะจ้าง TSMC ผลิต "ชิ้นส่วนจำนวนหนึ่ง" (significant elements) ก็ไปในทิศทางเดียวกัน กระบวนการผลิตมีทั้งแบบ 5 และ 6 นาโนเมตร (N6/N5)
จากข่าว อินเทลเปิดตัวจีพียูเกมมิ่ง Intel Arc ตอนนี้ยังมีรายละเอียดอย่างเป็นทางการออกมาไม่มากนัก เพราะตัวสินค้าต้องรออีกนานกว่าจะวางขายจริงในช่วงต้นปี 2022
ในคลิปวิดีโอแนะนำของอินเทล มีข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องฟีเจอร์ของ Intel Arc รุ่นก่อนผลิตจริง (pre-production) ได้แก่ Mesh Shading, Variable Rate Shading (VRS), เทคนิคการทำ AI Upscaling/Supersampling ลักษณะเดียวกับ NVIDIA DLSS (ฝั่ง AMD ยังไม่มี AI มาช่วย), การทำ Ray Tracing ที่ระดับฮาร์ดแวร์
นอกจากนี้ อินเทลยังมีคลิปโชว์การเล่นเกมต่างๆ เช่น Forza Horizon 4, Psychonauts 2, PUBG, Subnautica Below Zero, Metro Exodus, Days Gone, Crysis Remastered เป็นต้น
อินเทลเปิดตัว Intel Arc เป็นแบรนด์การ์ดจอแยกสำหรับผู้ใช้ทั่วไป โดย Arc เป็นการพัฒนาต่อมาจากชิปกราฟิก Xe-HPG ที่เปิดตัวตั้งแต่ปี 2020 มีชื่อรหัสเป็นชุดตามตัวอักษร ได้แก่ Alchemist, Battlemage, Celestial, และ Druid
ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลของ Arc มากนัก แต่อินเทลระบุว่าชิปกราฟิก Alchemist ตัวแรกจะรองรับการเรนเดอร์แบบ ray tracing สามารถทำ super sampling เพิ่มความละเอียดภาพด้วยปัญญาประดิษฐ์ และรองรับ DirectX 12 Ultimate
อินเทลจะเริ่มวางตลาด Alchemist ผ่านทางผู้ผลิตพีซีภายในไตรมาสแรกปี 2022
ที่มา - Intel