Tags:
Node Thumbnail

อินเทลประกาศฟีเจอร์ด้านการ upscaling กราฟิกด้วย AI ของตัวเองชื่อ XeSS (Xe Super Sampling) ในลักษณะเดียวกับ DLSS ของฝั่ง NVIDIA (ฝั่ง AMD มี FidelityFX Super Resolution แต่ไม่ได้เป็น AI ช่วย)

XeSS ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ภาพพิกเซลข้างเคียง ภาพจากเฟรมก่อนหน้า มาช่วยสร้างภาพที่ความละเอียดสูงขึ้นเป็น 4K โดยใช้เทคนิค neural network ไม่ต้องประมวลผลแบบเนทีฟ 4K ที่กินแรงเครื่อง

Tags:
Node Thumbnail

อินเทลเปิดตัว Intel Arc เป็นแบรนด์การ์ดจอแยกสำหรับผู้ใช้ทั่วไป โดย Arc เป็นการพัฒนาต่อมาจากชิปกราฟิก Xe-HPG ที่เปิดตัวตั้งแต่ปี 2020 มีชื่อรหัสเป็นชุดตามตัวอักษร ได้แก่ Alchemist, Battlemage, Celestial, และ Druid

ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลของ Arc มากนัก แต่อินเทลระบุว่าชิปกราฟิก Alchemist ตัวแรกจะรองรับการเรนเดอร์แบบ ray tracing สามารถทำ super sampling เพิ่มความละเอียดภาพด้วยปัญญาประดิษฐ์ และรองรับ DirectX 12 Ultimate

อินเทลจะเริ่มวางตลาด Alchemist ผ่านทางผู้ผลิตพีซีภายในไตรมาสแรกปี 2022

ที่มา - Intel

Tags:
Node Thumbnail

เว็บไซต์ AnandTech มีบทความทดสอบประสิทธิภาพของจีพียู Intel Xe ตัวใหม่ที่เริ่มใช้ใน Core 11th Gen Tiger Lake (โน้ตบุ๊ก) และ Rocket Lake (เดสก์ท็อป) ว่ามีประสิทธิภาพขึ้นจากจีพียู IGP รุ่นก่อนของอินเทลแค่ไหน โดยมุ่งไปที่จีพียู Xe-LP ของ Rocket Lake เป็นหลัก

การทดสอบใช้ซีพียูเดสก์ท็อปของอินเทล รุ่นบนสุด 2 เจนคือ Core i9-11900K (จีพียู Xe-LP มี 32 คอร์) เทียบกับ Core i9-10900K (จีพียู Gen 11 มี 24 คอร์) ในการเล่นเกมดังๆ จำนวนหลายเกมที่ความละเอียดพื้นฐาน 720p พบว่าประสิทธิภาพของ Xe-LP ดีขึ้นกว่า Gen 11 เกือบทุกกรณี (สูงสุดคือดีกว่ากัน 66%, เฉลี่ยดีขึ้น 39%)

Tags:
Node Thumbnail

Raja Koduri หัวหน้าฝ่ายสถาปัตยกรรมของอินเทล (ที่ย้ายมาจาก AMD ในปี 2017) โพสต์ภาพถ่ายของจีพียู Xe HPC โค้ดเนม Ponte Vecchio สำหรับใช้ในซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ที่เคยออกข่าวว่าจะใช้กระบวนการผลิต 7 นาโนเมตร

ภาพนี้ถือเป็นก้าวสำคัญของอินเทล ที่สามารถผลิตชิป 7 นาโนเมตรได้จริงแล้ว (ส่วนในแง่จำนวนหรือความสามารถในการผลิต ก็อีกเรื่องนึง) โดยเว็บไซต์ Wccftech ได้ข้อมูลมาว่า Ponte Vecchio เป็นการผสมผสานชิปจาก 3 แหล่งคือ

Tags:
Node Thumbnail

อินเทลเปิดตัวการ์ดจอแยกแบรนด์ Iris Xe สำหรับเดสก์ท็อปเป็นครั้งแรก โดยมีผู้ผลิตการ์ดให้ 2 ราย (ที่ระบุชื่อแล้วยังมีแค่ ASUS) การ์ดจะผลิตและขายให้กับผู้ประกอบพีซีแบบ OEM เท่านั้น ไม่ขายปลีกให้ลูกค้าทั่วไป

การ์ดจอ Iris Xe สำหรับเดสก์ท็อป (โค้ดเนม DG1) มีหน่วยประมวลผล execution unit จำนวน 80 คอร์ แรม 4GB เน้นจับกลุ่มผู้ใช้ทั่วไป mainstream และผู้ใช้ธุรกิจ SMB เป็นหลัก ไม่สนใจกลุ่มเกมเมอร์ โดยเน้นที่ฟีเจอร์ด้านวิดีโอ (AV1) การแสดงผล (Display HDR, ต่อได้ 3 จอ) และการประมวลผล AI

Tags:
Node Thumbnail

อินเทลเปิดตัวการ์ด H3C XG310 การ์ดสำหรับให้บริการสตรีมมิ่งเกมแอนดรอยด์และบริการวิดีโอสตรีมมิ่งเป็นหลัก แม้ว่าทางอินเทลจะระบุว่ายินดีทำงานร่วมกับบริษัทที่ต้องการใช้งานประเภทอื่นๆ โดยการเปิดตัวครั้งนี้มีผู้ผลิตเกมอย่าง Tencent Games มาเปิดตัวด้วย

H3C XG310 เป็นการ์ดที่ประกอบไปด้วยชิปสถาปัตยกรรม Xe-LP จำนวน 4 ชิป แต่ละชิปวางคู่กับแรม DDR4 ขนาด 8GB เชื่อมต่อด้วยไปป์ไลน์ขนาด 128 บิต การ์ดมีความยาว 3/4 ของความยาวเต็ม เชื่อมต่อด้วย PCIe 3.0 x16

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

ในงานเปิดตัว Intel Iris Xe Max เมื่อวันก่อน อินเทลให้ข้อมูลสั้นๆ ว่าเราจะเห็นจีพียู DG1 ตัวเดียวกันเป็นเวอร์ชันเดสก์ท็อปด้วย (ยังไม่ยืนยันว่าจะใช้แบรนด์ Iris Xe Max ด้วยหรือไม่)

ข้อมูลที่อินเทลยืนยันคือ มีผู้ผลิตฮาร์ดแวร์รายหนึ่งที่ยังไม่เปิดเผยชื่อ เซ็นสัญญาทำการ์ด DG1 สำหรับเดสก์ท็อปแล้ว อย่างไรก็ตาม การ์ดตัวนี้จะยังไม่ขายปลีกให้ผู้บริโภคทั่วไป แต่จะขายให้กับ OEM นำไปใช้ในคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปแบบมีแบรนด์เท่านั้น

Tags:
Node Thumbnail

อินเทลเปิดตัวชิปกราฟิกแยก Iris Xe MAX นับเป็นชิปกราฟิกแยกตัวแรกหลังบริษัทพยายามพัฒนาชิปกราฟิกมานาน โดยชิปนี้ใช้สถาปัตยกรรม Xe-LP ที่พัฒนาจากวงจรเปิดที่อยู่ใน Intel Core รุ่นที่ 11

อินเทลวางตัวให้ Iris Xe Max ทำตลาดสำหรับโน้ตบุ๊กกลุ่มบางเบาต่อไป โดยโน้ตบุ๊กที่ใช้ Intel Core รุ่นที่ 11 ก็มีวงจรกราฟิก Xe-LP มาในตัวอยู่แล้ว แต่การเปิดตัวครั้งนี้อินเทลก็เสนอเทคโนโลยี Deep Link สำหรับกระจายโหลดออกไป โดยแอปพลิเคชั่นที่รองรับ Deep Link ต้องพัฒนาโดยอาศัยชุด SDK ของอินเทลเอง

ตัวชิป Iris Xe MAX จะผลิตด้วยเทคโนโลยี 10nm SuperFin อินเทลระบุว่าประสิทธิภาพโดยรวมเพียงพอสำหรับเล่นเกมยอดนิยมที่ความละเอียด 1080p ได้

Tags:
Node Thumbnail

อินเทลเปิดตัวจีพียูแบบ discrete (dGPU) รุ่นแรกของตัวเองมาแบบเงียบๆ ในชื่อทางการค้าว่า Iris Xe Max ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแรงขึ้นจาก Iris Xe รุ่นมาตรฐานที่เป็นจีพียูออนบอร์ด (iGPU) ของ Tiger Lake

ก่อนหน้านี้ อินเทลเคยประกาศทำจีพียูแยกไว้อยู่แล้ว แต่ใช้ชื่อรหัสว่า DG1 โดยยังมีเฉพาะรุ่นสำหรับผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ OEM ใช้งานในโน้ตบุ๊กเท่านั้น ส่วนโน้ตบุ๊กรุ่นแรกที่ใช้ Iris Xe Max คือ Acer Swift 3x ที่เปิดตัวเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

Tags:
Node Thumbnail

ในแผนการใหญ่ของอินเทลเรื่องจีพียู Xe นอกจากเรื่องประสิทธิภาพต้องต่อกรกับคู่แข่งให้ได้แล้ว ยุทธศาสตร์สำคัญอีกข้อคือการสร้าง ecosystem ขนาดใหญ่พอที่นักพัฒนาให้ความสนใจ ทำซอฟต์แวร์ให้รองรับ

Tags:
Node Thumbnail

สัปดาห์ที่แล้ว เว็บไซต์ฮาร์ดแวร์ต่างประเทศหลายรายเริ่มได้ Intel Core 11th Gen รหัส "Tiger Lake" ไปทดสอบกันแล้ว จุดที่น่าสนใจคือตัวจีพียู Iris Xe (อ่านว่า "เอ็กซ์อี") ที่อิงจากสถาปัตยกรรมใหม่ Xe-LP ให้ผลการทดสอบออกมาดี ชนะจีพียูแบบออนบอร์ดของคู่แข่งคือ Radeon Vega ใน Ryzen ซีรีส์ 4000U ได้แบบทิ้งห่าง

หน่วยประมวลผลรุ่นที่นำไปทดสอบคือ Core i7-1185G7 ซึ่งเป็นรุ่นท็อปสุดของ Tiger Lake ที่เปิดตัวมาในขณะนี้ ตัวจีพียู Iris Xe มีคอร์ (execution unit หรือ EU) จำนวน 96 คอร์ โดยโน้ตบุ๊กที่ทดสอบเป็นโน้ตบุ๊กตัวอย่าง (reference design) ของอินเทลเอง ยังไม่ใช่สินค้าที่วางขายจริง

Tags:
Node Thumbnail

อินเทลเปิดตัวซีพียู Core รุ่นที่ 11 สำหรับโน้ตบุ๊กบางเบา พร้อมส่วนกราฟิกใหม่ Iris Xe หรือชื่อรหัส Tiger Lake ผลิตด้วยกระบวนการผลิต SuperFin 10 นาโนเมตร ตัวชิปรองรับการเชื่อมต่อ Thunderbolt 4 และ PCIe Gen 4 ใช้แรม LPDDR4X พร้อมระบุว่าตัวควบคุมรองรับแรมแบบอื่นในอนาคตได้

อินเทลทดสอบซีพียูรุ่นใหม่เทียบกับ AMD Ryzen 7 4800U เป็นหลักเพื่อยืนยันว่าผลการทดสอบการใช้งานประสิทธิภาพดีกว่าทุกประเภท ด้านกราฟิกอินเทลระบุว่า Iris Xe สามารถคอนฟิกจำนวนคอร์ได้สูงสุด 96 EU ประสิทธิภาพเพียงพอสำหรับการเล่นเกมยุคใหม่ เช่น Borderlands 3, Far Cry New Dawn, และ Hitman 2 ที่ระดับ 1080p รองรับข้อมูลแบบ INT8 ในตัวสำหรับการประมวลผลปัญญาประดิษฐ์

Tags:
Node Thumbnail

ในงาน Intel Architecture Day 2020 เมื่อวันก่อน นอกจากการเปิดเผยข้อมูลของหน่วยประมวลผล Tiger Lake อินเทลยังเปิดเผยข้อมูลของจีพียูซีรีส์ Xe ที่จะจับตลาดทุกระดับ ตั้งแต่การ์ดจอแบบออนบอร์ดไปจนถึงซูเปอร์คอมพิวเตอร์

Xe (อ่านว่า เอ็กซ์อี) เป็นความพยายามครั้งใหญ่ของอินเทลในการกลับเข้าสู่ตลาดจีพียูอีกครั้ง หลังจากล้มเหลวมาตลอด (ถ้ายังจำ Larrabee กันได้) และถึงขั้นต้องดึง Raja Kouduri อดีตหัวหน้าฝ่าย Radeon จาก AMD เข้ามาทำงานด้วย (Raja เป็นคนพรีเซนต์หลักของงานรอบนี้)

Tags:
Node Thumbnail

อินเทลจัดงาน Architecture Day 2020 โดยหัวหน้าทีมสถาปัตยกรรม Raja Koduri นำทีมมาเล่าแผนการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ของอินเทลในอนาคตอันใกล้นี้ สินค้าหลักที่ทุกคนให้ความสนใจย่อมหนีไม่พ้นซีพียูโค้ดเนม Tiger Lake ที่จะใช้ชื่อ Core 11th Gen ทำตลาด

อินเทลเริ่มให้ข้อมูลของ Tiger Lake มาตั้งแต่ต้นปี มันจะเป็น SoC สำหรับโน้ตบุ๊กที่มีทั้งซีพียูและจีพียูมาในตัว (อินเทลใช้คำเรียกว่า XPU)

ของใหม่ใน Tiger Lake มีทั้งซีพียูสถาปัตยกรรมใหม่ Willow Cove, จีพียูตัวใหม่ Xe-LP และการผลิตแบบใหม่ 10nm SuperFIN

Tags:
Node Thumbnail

อินเทลโชว์การทำงานซีพียูสำหรับโน้ตบุ๊ก Tiger Lake ในงาน CES โดยจะเป็นซีพียูตัวแรกที่ใช้ส่วนกราฟิกจาก Intel Xe พร้อมกับระบุว่าประสิทธิภาพจะอยู่ระดับเดียวกับการ์ดจอแยก (discrete-level integrated graphics)

Tiger Lake จะใช้กระบวนการผลิต 10nm+ รองรับ Thunderbolt 4 และจะเริ่มส่งมอบซีพียูในกลุ่มนี้ภายในปีนี้

ส่วนกราฟิก Intel Xe นั้นอินเทลประกาศไว้แต่แรกว่าจะมีตั้งแต่รุ่นราคาถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของซีพียู ไปจนถึงการ์ดแยกสำหรับเกมเมอร์ และการ์ดสำหรับศูนย์ข้อมูล โดยตัวการ์ดแยกรุ่นแรกคือ DG1 นั้นทางอินเทลก็ยังพรีวิวให้ดูโดยไม่ได้แจ้งรายละเอียดมากนัก

ที่มา - Intel

Tags:
Node Thumbnail

ที่งาน Supercomputing 2019 อินเทลเปิดตัวชิปกราฟิกชื่อรหัส Ponte Vecchio โดยออกแบบมาสำหรับงานศูนย์ข้อมูลเพื่อการประมวลผลข้อมูลแบบขนาน มากกว่าจะใช้แสดงกราฟิกจริงๆ

Ponte Vecchio ใช้สถาปัตยกรรม Intel Xe ผลิตที่เทคโนโลยี 7 นาโนเมตร ภายในแพ็กเกจมีหน่วยความจำในตัวเชื่อมต่อกับตัวชิปกราฟิกแบบแบนวิดท์สูง และเชื่อมต่อกับชิปอื่นภายนอกด้วยระบบเชื่อมต่อ Compute Express Link

Tags:
Node Thumbnail

ตลาดจีพียูปี 2019-2020 จะกลับมาร้อนระอุอีกครั้ง เพราะมีผลิตภัณฑ์ใหม่เข้ามาท้าทายบัลลังก์ของ NVIDIA หลายตัว ทั้ง AMD Radeon Navi ที่จะเปิดตัวในเร็วๆ นี้ และฝั่งอินเทลที่จะหวนคืนตลาดจีพียูอีกรอบในปี 2020 ด้วยผลิตภัณฑ์ใหม่ชื่อ Xe

ล่าสุดอินเทลเขียนบล็อกอธิบายข้อมูลของสถาปัตยกรรม Xe เพิ่มเติม โดยบอกว่าจะพัฒนาควบคู่ไปกับซีพียู Xeon เพื่อให้ซีพียู-จีพียูทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี จีพียูกลุ่ม Xe จะจับตลาดหลากหลาย ตั้งแต่ฝั่งไคลเอนต์ไปจนถึงศูนย์ข้อมูล และ Xe จะรองรับการเร่งความเร็ว Ray Tracing ที่ระดับฮาร์ดแวร์ด้วย

Tags:
Node Thumbnail

ข่าวสำคัญอีกอย่างที่แถลงในงาน GDC 2019 คือประกาศเรื่องจีพียูของอินเทล ที่เปิดตัวสถาปัตยกรรมจีพียูรุ่นใหม่ Gen11 (ออกปีนี้) ก่อนจะข้ามไปเป็น Intel Xe ที่พลิกโฉมจีพียูอินเทลในปี 2020

ปัจจุบันจีพียู HD/UHD/Iris ของอินเทลในท้องตลาดนับรวมๆ เป็น Gen9/Gen9.5 ที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2016 โดยอินเทลเคยพยายามอัพเกรดเป็น Gen10 ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยี 10 นาโนเมตร แต่ไม่สำเร็จเพราะปัญหาเรื่องกระบวนการผลิต เลยล่าช้าและข้ามมาเป็น Gen11 ทีเดียวเลย (รอบนี้เป็น 10 นาโนเมตร FinFET แล้ว)