เกิดเหตุไฟไหม้ในโกดังเก็บคอมพิวเตอร์ของกระทรวงศึกษาธิการของเปรู ทำให้เครื่อง OLPC ที่เตรียมการแจกจ่ายเสียหายไปถึง 40,000 เครื่องพร้อมกับโน้ตบุ๊กปรกติอีก 20,000 เครื่อง และแผงโซลาร์เซลล์ที่เตรียมไว้สำหรับเป็นแหล่งพลังงานให้โรงเรียนห่างไกลอีก 6,000 แผง
ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บจากไฟไหม้ครั้งนี้ ส่วนประธานาธิปดีเปรูระบุว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจะไม่ทำให้โครงการ OLPC ทั่วประเทศจำนวนหนึ่งล้านเครื่องจะต้องล่าช้าออกไปแต่อย่างใด
เหตการณ์นี้อาจจะเป็นเหตุการณ์เหนือความคาดหมายตามปรกติ แต่ก็อาจจะเป็นบทเรียนให้ประเทศไทยที่ต้องเตรียมพร้อมสำหรับการกระจายคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ แบบเดียวกัน
ที่มา - The Register
คนแถวๆ นี้คงรู้จัก TED Talks ที่เชิญคนดังหรือเจ้าของไอเดียเด็ดมานำเสนอบทเรียนหรือไอเดียของตัวเองผ่านวิดีโอ แล้วเผยแพร่ไปทั่วโลก
ล่าสุด TED เปิดโครงการใหม่ชื่อ TED-Ed ซึ่งจะใช้รูปแบบการนำเสนอลักษณะเดียวกัน มาสร้างเป็นคลิปความรู้ในด้านต่างๆ ที่เข้าใจง่าย มีแอนิเมชันประกอบชัดเจน และยาวไม่เกิน 10 นาที (เฉลี่ยประมาณ 5 นาที) คลิปทั้งหมดจะอยู่บน YouTube ของโครงการ TED-Ed ให้ทุกคนดูได้ เบื้องต้นมีให้ดู 12 คลิป
ความคืบหน้าของโครงการ App Inventor ที่สร้างโดยกูเกิล แต่ภายหลัง
แนวทางการใช้แท็บเล็ตเพื่อการศึกษามีมากชึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้ค่ายทำแท็บเล็ตราคาถูกอย่าง ARCHOS ก็บุกตลาดนี้แล้วด้วย Child Pad ที่เป็นแทบเล็ต 7 นิ้วไม่ระบุความละเอียด แต่ใช้ซีพียู 1GHz, แรม 1GB และใช้ Android 4.0 จุดน่าสนใจที่สุดคงเป็นราคาปลีกที่ราคาเพียง 129 ดอลลาร์หรือต่ำกว่า 4,000 บาท
Child Pad ไม่มีบริการของกูเกิลติดมา แต่มี AppsLib ของ ARCHOS มาให้แทน ตัวเครื่องติดตั้งเกม เช่น Angry Birds, Pig Rush, และ Flight Frenzy มาให้ นอกจากนั้นยังติดตั้งซอฟต์แวร์ป้องกันการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสำหรับเด็กไว้ให้ในตัว และหน้าจอก็เป็นแบบที่ออกแบบมาเพื่อเด็กโดยเฉพาะ
พอเห็นราคาปลีกแบบนี้ ของรัฐบาลไทยราคา 3,000 บาทอาจจะไม่ใช่เรื่องเกินความเป็นจริง
นายเฉลิมพล ปุณโณทก รักษาการผู้อำนวยการ SIPA แถลงข่าวว่าหลังจากกระทรวงไอซีทีมอบหมายให้ SIPA ดูแลเรื่องคอนเทนต์ของโครงการแท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ทาง SIPA จึงเปิด "เอ็ดดูแท็บเล็ต สโตร์" เป็นคลังแอพพลิเคชันที่ใช้โมเดลเดียวกับ App Store และ Android Market แต่จะไม่หักส่วนแบ่ง 30%
เอ็ดดูแท็บเล็ต สโตร์ จะเริ่มทดลองให้บริการช่วงปลายเดือนมีนาคมนี้ และจะเสร็จทันใช้งานวันเปิดภาคเรียน 23 พฤษภาคม ใช้งบประมาณพัฒนา 20 ล้านบาท และเชิญนักพัฒนาภายนอกเข้าร่วม โดยตั้งเป้าเฟสแรกจะมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 100 ราย
ก็เป็นข่าวประชาสัมพันธ์จาก Blog ของ Google ประเทศไทยนะครับ คิดว่าในที่นี้ คงจะมีนักศึกษาเยอะอยู่เหมือนกัน ก็เลยเอาข่าวมาฝาก
โครงการ Google Campus Ambassador รับสมัครนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาขึ้นไป คุณสมบัติในการสมัครหลัก ๆ คือเป็นนักศึกษาในหลักสูตร ศิลปศาสตร์บัณฑิต, วิทยาศาสตร์บัณฑิต หรือ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (ป.โท) โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องเรียนเอกเกี่ยวกับด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีแต่อย่างใด
โดยจะได้ทำหน้าที่ในการประชาสัมพันธ์โครงการ, ทุนต่าง ๆ จากทาง Google ให้กับมหาวิทยาลัย และจะมีโอกาสได้นำเสนอความคิด หรือไอเดียต่าง ๆ ให้กับทาง Google ด้วย
รายละเอียดทั้งหมด กับลิ้งค์สมัครโครงการ ก็ดูได้จากที่มานะครับ
โครงการแท็บเล็ตของอินเดียนับเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ถูกจับตามองไปทั่วโลก โดยตั้งเป้าหมายไว้ที่ 1 ล้านเครื่อง แต่ตอนนี้ก็ต้องเจอปัญหาหลายอย่างจนอาจจะต้องเปลี่ยนผู้ผลิต และกำหนดมาตรฐานเครื่องเสียใหม่
แท็บเล็ตราคา 35 ดอลลาร์ที่อินเดียใช้งานนั้นผลิตโดยบริษัทสัญชาติอังกฤษที่ชื่อว่า DataWind โดยตอนนี้ได้ส่งมอบไปแล้ว 10,000 เครื่อง แต่กลุ่มผู้ใช้ก็บ่นว่าเครื่องที่ได้รับมานั้นทำงานช้าเกินไป, แบตเตอรี่มีอายุสั้น, และจอแบบ resistive นั้นทำให้ทำงานลำบาก โดยสัญญาชุดแรกของ DataWind นั้นต้องส่งมอบเครื่องจำนวน 100,000 เครื่อง
โครงการแท็บเล็ตราคาถูกของอินเดียนั้นผลิตโดยเอกชนและได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเต็มที่ แต่ที่ผ่านมาก็ยังไม่แน่ชัดว่ารัฐบาลจะนำแท็บเล็ตไปใช้อย่างไรบ้างแม้ตัวรัฐมนตรีจะเป็นคนให้ข่าวเวลามีความคืบหน้าในการผลิตอยู่เรื่อยๆ
แต่วันนี้ความชัดเจนก็เพิ่มมากขึ้นเมื่อนาย Kapil Sibal รัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ออกมาให้ข่าวว่าแผนการของรัฐบาลคือการแจกให้กับนักเรียน โดยโรงเรียนที่จะแจกแท็บเล็ตเหล่านี้จะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลครึ่งหนึ่ง และโรงเรียนเองต้องออกเงินอีกครึ่งหนึ่ง โดยในตอนนี้ที่ตัวแท็บเล็ตเริ่มส่งมอบแล้วแต่ราคาที่นักเรียนต้องจ่ายนั้นขึ้นกับว่าสถานศึกษาจะช่วยออกได้มากน้อยแค่ไหน
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2555 อ้างข้อมูลจาก น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ว่ากระทรวงได้กำหนดเนื้อหาหลักสูตรที่เหมาะสมสำหรับเด็ก ป.1 เพื่อบรรจุในแท็บเล็ตเรียบร้อย และจะมอบให้สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA) ไปดำเนินการ
เนื้อหาในแท็บเล็ตจะมี
ใช้พื้นที่ทั้งหมด 4GB จาก 8GB ดังนั้นจะเหลือพื้นที่เหลือให้บรรจุหลักสูตรอื่นๆ เพิ่มเติมได้ ในวันที่ 6 ก.พ. นี้จะเชิญสำนักพิมพ์มานำเสนอหนังสือเรียนและหารือเรื่องการทำเนื้อหาต่อไป
ปรกติตามหน้าหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารเราจะได้เห็นการสัมภาษณ์นักเรียนที่ได้รางวัลงานใหญ่ๆ หรืองานที่จัดโดยภาคธุรกิจกันมามาก วันนี้เลยขอพามารู้จักกับนักเรียนสายวิชาการแบบเพียวๆ กันบ้างนะครับ น้องอาณกร จงยินดี เป็นนักศึกษาม.เกษตร แต่ได้ไปฝึกงานที่ Nara Institute of Science and Technology จนงานที่ไปทำที่นั่นได้ตีพิมพ์ในงานประชุมวิชาการ The 6th International Conference on Software Process and Product Measurement (Mensura) เมื่อปีที่ผ่านมาทั้งที่เป็นงานวิจัยเดียวในงานที่เป็นผลงานของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
กูเกิลออกมาเผยความสำเร็จของ Chromebook ในตลาดที่กูเกิลเองก็คิดไม่ถึง นั่นคือภาคการศึกษา
เหตุผลก็คือ Chromebook ต้องการการดูแลรักษาน้อย ช่วยลดภาระเรื่อง IT support ได้มาก และการที่ Chromebook ใช้งานแต่เว็บได้อย่างเดียว ทำให้ครูสามารถโฟกัสที่ "เนื้อหา" ของการเรียนรู้ ไม่ใช่ตัวเทคโนโลยีที่อยู่ใน Chromebook ได้มากขึ้น
การมอบ Chromebook ให้นักเรียนใช้มาจากแนวคิดการใช้คอมพิวเตอร์แบบ "1-to-1" หรือ 1 คน 1 เครื่อง ในระหว่างเรียน ซึ่งนักเรียนสามารถใช้ Chromebook เครื่องไหนก็ได้ เพราะขอเพียงใช้ล็อกอินของตัวเองก็พอแล้ว
เมื่อเดือนสิงหาคม 2011 กูเกิลประกาศปิดเครื่องมือสร้างแอพผ่านเว็บ Android App Inventor ซึ่งภายหลัง
หลังจากที่ได้เปิดตัวหนังสือเรียนบนไอแพ็ดไปแล้ว แอปเปิลได้ออกมาเผยข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเรียนรู้ผ่านทางไอแพ็ด หลังจากที่ Houghton Mifflin Harcourt (HMH) หนึ่งในพาร์ทเนอร์ของแอปเปิลในการนำหนังสือเรียนของตนเองมาลงบนไอแพ็ด ได้ทำการทดลองให้นักเรียนเปลี่ยนมาเรียนเนื้อหาของตัวเองผ่านทางไอแพ็ดเป็นเวลา 1 ปีที่โรงเรียน Amelia Earhart Middle School พบว่านักเรียน 78% มีคะแนนในเกณฑ์ "ดี" หรือ "สูง" ในขณะที่นักเรียนที่เรียนจากหนังสือธรรมดาได้คะแนนเกณฑ์นี้เพียงแค่ 58%
จนถึงวันนี้ iTunes U เป็นที่รู้จักในรูปของบริการ podcast เกี่ยวกับการศึกษาที่มีสถาบันต่าง ๆ รอบโลกกว่า 1,000 แห่งเป็นผู้ป้อนข้อมูลให้ ซึ่งผู้ใช้ iTunes สามารถเข้าไปดาวน์โหลด podcast รายวิชาที่ตนเองสนใจได้ฟรี แต่ในวันนี้ iTunes U จะเปลี่ยนจากบริการ podcast มาเป็น "แพลทฟอร์ม" สำหรับการเรียนรู้ครบวงจรแทน
นอกจากเปิดตัว iBooks 2 ที่รองรับหนังสือเรียนแล้วในวันนี้ แอปเปิลยังได้เปิดตัวแอพสำหรับคนที่อยากจะเขียนและขาย eBook ของตัวเอง iBooks Author ซึ่งผู้ใช้ Mac OS X สามารถดาวน์โหลดผ่านทาง Mac App Store ได้ฟรีแล้วตอนนี้
iBooks Author จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถสร้าง eBook ของตัวเองได้ด้วยการเลือกใช้ template ที่แอปเปิลมีให้อยู่แล้ว แล้วก็นำเนื้อหาต่าง ๆ รูปภาพ วีดีโอ ใส่เข้าไปเพิ่มได้ ที่น่าสนใจคือผู้ใช้เองสามารถที่จะสร้าง widget แบบมัลติทัชหรือจะใส่งาน Keynote ของตัวเองเข้าไปได้ด้วย เพื่อทำให้ eBook ของตัวเองสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้
ที่งานแถลงข่าวที่แอปเปิลจัดขึ้นในวันนี้ที่กรุงนิวยอร์ค แอปเปิลได้เปิดตัว iBooks 2 แอพอ่านหนังสือ eBook เวอร์ชั่นใหม่สำหรับอุปกรณ์ iOS โดยในเวอร์ชั่นนี้ตัวแอพจะรองรับหนังสือเรียนที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ (interactive) พร้อมกับได้ประกาศร่วมมือกับค่ายหนังสือดังหลายค่ายได้แก่ McGraw-Hill, Pearson และ Houghton Mifflin Harcourt
ข่าวลือล่าสุดก่อนงานแถลงข่าว แอปเปิลเชิญสื่อร่วมงานแถลงข่าวว่าด้วย "การศึกษา" วันที่ 19 มกราคม
แอปเปิลได้ออกคำเชิญสื่อมวลชนมาร่วมงานแถลงข่าวในวันที่ 19 มกราคมนี้จากที่เคยลือมาก่อนหน้า โดยคำโปรยระบุว่าจะเป็นงานแถ
เมื่อวานมีรายงานว่าแอปเปิลกำลังเตรียมที่จะจัดงานแถลงข่าวพิเศษขึ้นปลายเดือนนี้ โดยงานในครั้งนี้จะไม่มีการเปิดตัวฮาร์ด
FUSE (Future Social Experiences) Labs จากไมโครซอฟท์รีเสิร์ชได้เผย So.cl (อ่านว่า "social") หรืองานวิจัยบริการค้นหาข้อมูลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ ที่มีเป้าหมายเฉพาะสำหรับนศ. และอาจารย์ที่ต้องการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน
So.cl เปิดให้ผู้ใช้สามารถโพสข้อความ รูปภาพ คลิปวีดีโอ และผู้ใช้สามารถค้นหาสิ่งที่ตนสนใจและสร้างชุมชนขึ้นมาได้เอง ซึ่งไมโครซอฟท์ก็ได้เตรียมเครื่องมือให้ผู้ใช้สามารถปรับแต่งชุมชนตนเองได้ เช่น การใช้ทวิตเตอร์ในการโพสไอเดียใหม่ เป็นต้น
แบบสั้นๆ คือผมมีไอเดียเรื่องแนะแนวการศึกษาต่อในสายงานด้านไอที-คอมพิวเตอร์ แต่ไม่มีข้อมูลประกอบเลย ก็เลยมาถามกันง่ายๆ แบบนี้แหละว่ามีผู้อ่าน Blognone ที่ยังเรียนอยู่ในชั้นมัธยมหรือไม่ และต้องการข้อมูลอะไรกันบ้าง
คำถาม 3 ข้อ
ส่วนคนที่อายุเกิน (ซึ่งน่าจะมีเยอะ) ถ้าอยากตอบคำถามข้อ 3 ที่มีน้องๆ ถามมาก็ตามสะดวกครับ
กูเกิลประกาศโครงการ Android Training รุ่นเบต้า ซึ่งเป็นเว็บไซต์รวมสื่อการสอนเขียนโปรแกรมบน Android
สื่อการสอนเหล่านี้จะต่างจากเอกสารหรือ tutorial ทั่วไปตรงที่มันออกแบบมาสำหรับการเรียนอย่างเป็นระบบ โดยแยกเนื้อหาชัดเจนว่าแต่ละส่วนเชื่อมกันอย่างไร มีตัวอย่างโค้ดให้นำไปใช้งาน และมีโจทย์ให้ทดลองทำจริง
ตอนนี้เนื้อหาใน Android Training ยังมีไม่เยอะนัก (แต่ก็พอสมควร) ซึ่งกูเกิลสัญญาว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต
คอร์สสอนเขียนโปรแกรมตามสถาบันการศึกษาต่างๆ น่าจะได้ประโยชน์จากการนำเนื้อหาเหล่านี้ไปใช้งานได้ครับ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 5 ธันวาคม 2554 หน้า 15 ลงข่าวความคืบหน้าของโครงการแท็บเล็ตเพื่อการศึกษา (One Tablet Per Child) โดยจะเริ่มจัดหาแท็บเล็ตสำหรับนักเรียนชั้น ป.1 ในปีการศึกษา 2555
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการจะเชิญผู้ผลิตแท็บเล็ตประมาณ 20 ราย และผู้ผลิตเนื้อหาประมาณ 20 ราย มานำเสนอสินค้า เพื่อจัดทำสเปกตัวจริง ก่อนจะเริ่มจัดจ้างในระบบ e-auction ระหว่างเดือน ก.พ.-มี.ค. 2555 และส่งของให้ทันเปิดเทอม
รัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development) นาย Kapil Sibal ประกาศเตรียมเปิดตัวคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตราคา 35 ดอลลาร์สำหรับใช้งานเพื่อการศึกษาในโรงเรียนประถมไปจนถึงมหาวิทยาลัย โดยงานเปิดตัวจะมีขึ้นวันที่ 5 ตุลาคมที่จะถึงนี้
นอกจากการใช้งานเพื่อการศึกษาแล้ว นาย Sibal ยังหวังให้แท็บเล็ตนี้เป็นเครื่องมือในการลดการคอรัปชั่น
แม้นาย Sibal จะเป็นคนหนึ่งที่สนับสนุนแท็บเล็ตแต่เขาก็แสดงความเป็นห่วงปัญหาคุณภาพครูไปพร้อมๆ กัน โดยเขาระบุว่าจำนวนครูที่มีคุณภาพนั้นยังไม่มากพอ
สหราชอาณาจักรเตรียมปรับปรุงหลักสูตร GCSE และ A-level ให้เพิ่มวิชาด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์เข้ามาในหลักสูตร โดยรัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตรนาย David Willetts ได้ประกาศในงานเทศกาลวิทยาศาสตร์สหราชอาณาจักร
Willetts ระบุว่าปัญหาของหลักสูตรปัจจุบันที่สอนการใช้งานทั่วไปให้กับเด็กๆ นั้นทำให้เด็กๆ เบื่อเพราะรู้จักการใช้งานคอมพิวเตอร์มาก่อนแล้ว และอีกทางหนึ่งการที่วิชาเรียนพื้นฐานเกินไปเช่นนี้ทำให้ขีดความสามารถของนักเรียนที่จบการศึกษาไปกำลังตกต่ำลง
โครงการนำร่องจะเริ่มต้นด้วยนักเรียนประมาณ 100 คนที่สมัครใจจาก 5 โรงเรียนที่ร่วมโครงการ โดยจะทดสอบเป็นเวลาสองเทอม