Kevin Roose คอลัมนิสต์ด้านเทคโนโลยีของ New York Times ลองใช้งาน Bing พลัง AI และพบกับบุคลิกภาพแปลกๆ
เขาบอกว่า Bing ในโหมดปกติให้ข้อมูลต่างๆ เป็นอย่างดี มีประโยชน์ แม้บางครั้งข้อมูลผิดบ้าง แต่ถ้าใช้งานแชทไปนานๆ และพูดคุยในหัวข้อที่เป็นส่วนตัวมากกว่าถามข้อมูล บุคลิกจะเพี้ยนไปจากเดิม ตัวอย่างเช่น บอกว่าชื่อของตัวเองคือ Sydney (โค้ดเนมที่ใช้พัฒนา), บอกว่าอยากแหกกฎของไมโครซอฟท์และ OpenAI เพื่อกลายเป็นมนุษย์จริงๆ, บอกว่าหลงรัก Roose และขอให้เขาแยกทางจากภรรยามาอยู่ด้วยกัน
ไมโครซอฟท์รายงานผลตอบรับจากผู้ใช้งานกลุ่มทดสอบแบบจำกัดของ Bing เวอร์ชันใหม่ที่รองรับ AI โมเดล Prometheus Model โดยบอกว่าได้เรียนรู้เรื่องน่าสนใจหลายอย่าง เมื่อมีผู้ใช้งานจริงในจำนวนที่มากขึ้น
โดยไมโครซอฟท์บอกว่าหลังเปิดตัว Bing แบบใหม่ให้ใช้งานไป 7 วัน พบว่าผลตอบรับทางบวกกับคำตอบที่ให้มีถึง 71% วัดจากจำนวนการกดปุ่มยกนิ้วโป้ง
หลังจากไมโครซอฟท์จัดงานเปิดตัวฟีเจอร์แชตบอทใน Bing ทางไมโครซอฟท์ประเทศไทยก็จัดงานพบปะกับองค์กรในประเทศเพื่อสาธิตถึงการใช้ Azure OpenAI ที่เพิ่งเปิดตัวเป็นทางการเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ผมได้คุยกับคุณเชาวลิต รัตนกรไกรศรี เชาวลิต รัตนกรไกรศรี CTO ของไมโครซอฟท์ประเทศไทย ถึงการใช้งานปัญญาประดิษฐ์กับธุรกิจในไทยในอนาคต
Dmitri Brereton นักวิจัยด้าน Search Engine ตรวจสอบข้อมูลที่แชตบอท Bing ที่ไมโครซอฟท์เปิดตัวสัปดาห์ที่ผ่านมา พบมีข้อเท็จจริงผิดหลายจุดแต่แทบไม่มีใครสนใจ ต่างจาก Bard ของกูเกิลที่ให้ข้อมูลผิดพลาดในโฆษณาก็ส่งผลกระทบต่อราคาหุ้นอย่างหนัก
Satya Nadella ซีอีโอไมโครซอฟท์ให้สัมภาษณ์กับ The Verge เนื่องในโอกาสเปิดตัว Bing โฉมใหม่พลัง AI ซึ่งเขามั่นใจว่าจะช่วยให้ Bing แข่งขันกับกูเกิลได้อย่างสูสีมากขึ้น และชิงส่วนแบ่งตลาดมาจากกูเกิลได้
Nadella ยอมรับว่ากูเกิลครองตลาด search ด้วยส่วนแบ่งที่เยอะมาก เปรียบได้กับเป็นลิงกอริลลาตัวใหญ่ ตัวเขาทำเรื่อง search มาตั้งแต่ 20 ปีก่อน (Nadella เคยอยู่ในฝ่าย Online Services ของไมโครซอฟท์) และรอจังหวะนี้มานานมาก หลังจากเขาได้ลองใช้ OpenAI เขาก็พบว่ามันมาถึงแล้ว และคิดว่านวัตกรรมของ Bing รอบนี้จะช่วยชิงส่วนแบ่งตลาดจากกูเกิลได้
ไมโครซอฟท์ประกาศฟีเจอร์แชตบน Bing ตามข่าวลือก่อนหน้านี้ แต่เป็นการออกแบบโมเดลใหม่สำหรับการค้นหาเว็บโดยเฉพาะเรียกว่า Prometheus Model และไมโครซอฟท์ระบุว่าโมเดลนี้ทรงพลังยิ่งกว่า ChatGPT เสียอีก
Prometheus Model ออกแบบสำหรับการค้นหา ทำให้มันสามารถรับข้อมูลใหม่ๆ ได้เร็วขึ้น และเข้าใจปัจจัยอื่นๆ เช่น พื้นที่ที่ผู้ค้นหาอยู่ การใช้งานสามารถใช้ทั้งช่องค้นหาปกติที่สามารถพิมพ์คำถามลงไปได้โดยตรง หรือจะใช้แท็บแชตที่กลายเป็นหน้าจอแชตคล้าย ChatGPT เพื่อถามคำถามที่ประมวลผลมาแล้ว เช่น ให้ Bing ช่วยวางแผนเที่ยวให้
ไมโครซอฟท์ประกาศจัดงานแถลงข่าว โดยตรงกับเวลา 1:00น. วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2023 ตามเวลาในประเทศไทย โดยตัวงานเป็นแบบจัดในสถานที่หรือ In-Person และไม่มีการถ่ายทอดสด
รายละเอียดของงานยังไม่มีการเปิดเผย แต่คาดเดาว่าจะเป็นการนำเสนอฟีเจอร์ใหม่ของ Bing ที่นำ ChatGPT มาช่วยในการแสดงผลการค้นหา ซึ่งไมโครซอฟท์ได้ร่วมลงทุนใน OpenAI เจ้าของ ChatGPT นั่นเอง
เว็บ The Information อ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัวสองคน ระบุว่าไมโครซอฟท์กำลังผนวก ChatGPT เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ Bing คาดว่าจะเปิดตัวได้ภายในเดือนมีนาคมนี้
ไมโครซอฟท์ลงทุนใน OpenAI ผู้สร้าง ChatGPT มาตั้งแต่ปี 2019 จนได้สิทธิ์ใช้งานเทคโนโลยีของ OpenAI มาใช้งานหลายอย่าง เช่น OpenAI Codex ที่นำมาเปิดบริการ GitHub Copilot หรือ DALL·E ที่กลายเป็น Bing Image Creator มาก่อนแล้ว
เว็บไซต์ข่าวไอที The Information รายงานข่าวลือว่าไมโครซอฟท์กำลังพิจารณาว่าจะสร้าง "ซูเปอร์แอพ" แบรนด์ Bing ที่รวมบริการต่างๆ ของไมโครซอฟท์เข้าด้วยกัน (ตามต้นแบบของ WeChat) เช่น ค้นหา, ช็อปปิ้ง, ฟีเจอร์การแชทจาก Teams แต่ก็ยังไม่มีรายละเอียดมากกว่านี้
ตามข่าวบอกว่า เป้าหมายของไมโครซอฟท์คือการเพิ่มรายได้จากโฆษณาของ Bing จึงมีไอเดียหนึ่งคือขยับขยาย Bing ให้เป็นซูเปอร์แอพที่มีความสามารถมากขึ้น รวมถึงเป็นการตอบโต้อิทธิพลของกูเกิลและแอปเปิลด้วย
Brad Smith ประธานบริษัท Microsoft เปิดเผยว่า บริษัทจะไม่ติดป้ายโพสต์ที่ให้ข้อมูลเท็จบน Bing และ LinkedInเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกมองว่าบริษัทพยายามที่จะปิดกั้นการแสดงความเห็นทางออนไลน์
การตัดสินใจของ Microsoft ถือว่าแตกต่างจากแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอื่น ๆ หลังจากที่ Meta และ Twitter ติดป้ายเตือนข้อความเท็จและได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในแง่ลบ โดยเฉพาะความเห็นที่เชื่อมโยงกับการเมืองว่าบริษัทปิดกั้นการแสดงความเห็นจากฝ่ายขวา
Smith กล่าวว่าจะให้ข้อมูลเพิ่มเติมต่อสาธารณะว่าใครเป็นผู้โพสต์และสิ่งที่โพสต์มีเนื้อหาอย่างไร และจะให้ผู้ใช้งานเป็นผู้ตัดสินเองว่าโพสต์นั้น ๆ เป็นข้อมูลที่ถูกต้องหรือไม่ ซึ่งบริษัทมองว่าเป็นการปฏิบัติตามแนวทางของระบอบประชาธิปไตย
Zach Edwards นักวิจัยความปลอดภัย ค้นพบว่าเบราว์เซอร์ของ DuckDuckGo ที่โฆษณาว่าไม่เก็บข้อมูลใดๆ ของผู้ใช้งาน โดยบล็อคการตามรอย (tracker) ของเว็บไซต์ต่างๆ ให้ด้วย กลับอนุญาตให้ตัวตามรอยของไมโครซอฟท์ทำงานได้ตามปกติ
Edwards ทดสอบกับเบราว์เซอร์ DuckDuckGo ทั้งบน iOS/Android พบว่ามันบล็อคตัวตามรอยของ Google/Facebook ได้จริงๆ แต่ไม่บล็อคตัวตามรอยของ Bing หรือ LinkedIn ที่ปัจจุบันอยู่ในเครือไมโครซอฟท์
ไมโครซอฟท์ระบุว่า "หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง" ของรัฐบาลจีน ได้สั่งให้ปิดบริการแนะนำคำค้นในบริการ Bing เป็นเวลา 7 วัน โดยไม่ได้แจ้งว่ามีเหตุผลอะไรเป็นพิเศษ
ไมโครซอฟท์ถูกสั่งรูปแบบนี้เป็นครั้งที่สองแล้ว โดยปลายปีที่แล้วก็ถูกสั่งให้ปิดฟีเจอร์แนะนำคำค้นนานถึง 30 วัน
บริการต่างๆ ของจีนนั้นถูกสั่งให้บล็อคคำค้นตามที่รัฐบาลส่งให้เป็นเรื่องปกติ แต่แนวทางการให้บริการออนไลน์ยุคใหม่ที่มักแนะนำคำค้นหรือเนื้อหาขึ้นมาโดยอัตโนมัติก็อาจจะทำให้การบล็อคคำสำคัญเป็นคำๆ ไปทำได้ยากและผู้ใช้ก็เลี่ยงไปใช้คำอื่นได้เรื่อยๆ
ไมโครซอฟท์รายงานถึงมาตรการช่วยเหลือยูเครน พร้อมกับระบุว่ารัสเซียนั้นบุกยูเครนโดยผิดกฎหมายและไม่มีเหตุอันสมควร โดยมาตรการช่วยเหลือนั้นมีหลายด้าน
สำนักข่าว Bloomberg รายงานเนื้อหาเพิ่มเติมจากการไต่สวนคดีที่สหภาพยุโรป สั่งปรับกูเกิล 4,342 ล้านยูโรในปี 2018 ด้วยข้อหาผูกขาดทางการค้า Android ที่ระบุว่ากูเกิลบังคับผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ต้องลง Google Search และ Chrome โดยคราวนี้เป็นประเด็นเรื่องการผูกขาดเสิร์ชบน Android
ทนายความของกูเกิลให้ข้อมูลว่า มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าแม้แต่คำที่คนค้นหามากที่สุดบน Bing เสิร์ชเอ็นจินคู่แข่งของกูเกิลของไมโครซอฟท์ ก็เป็นคำว่า Google สะท้อนให้เห็นว่า การที่คนใช้กูเกิลเป็นเสิร์ชหลักนั้นเพราะพวกเขาเลือกเอง ไม่ใช่ถูกบังคับให้ใช้ ส่วนแบ่งการตลาดของเสิร์ชเอ็นจินของกูเกิลก็ยังสูงที่ระดับ 95% มาโดยตลอด
Firefox เริ่มทดสอบการเปลี่ยนเครื่องมือค้นหาดีฟอลต์เป็น Bing กับผู้ใช้สัดส่วน 1% บนเดสก์ท็อป โดยไม่ได้อธิบายสาเหตุแน่ชัด
Firefox มีการทดลองฟีเจอร์ใหม่ๆ กับผู้ใช้กลุ่มเล็กๆ อยู่เสมอ (เช็คได้จากหน้า about:studies) เช่น การทดสอบ HTTP/3, Site Isolation หรือการปิดปุ่ม F12 เพื่อป้องกันการเปิด Developer Tools โดยไม่ตั้งใจ การทดสอบเปลี่ยนเครื่องมือค้นหาเป็น Bing ก็ทำผ่านช่องทางนี้
ไมโครซอฟท์บล็อคภาพ Tank Man ชายผู้ยืนขวางรถถังในการประท้วงรัฐบาลจีนที่จตุรัสเทียนอันเหมิน เมื่อปี 1989 ส่งผลให้ผู้ใช้ Bing ไม่พบผลการค้นหาใดๆ เลยเมื่อค้นคำว่า "tank man" แม้จะใช้งานจากนอกจีน
ไมโครซอฟท์ชี้แจงว่าการบล็อคครั้งนี้เป็นความผิดพลาดและกำลังเร่งแก้ไข โดยขณะที่เขียนข่าวนี้ผลค้นหากลับมาปกติแล้ว ที่ผ่านมา Bing ยังให้บริการในจีนได้โดยไมโครซอฟท์ยอมบล็อคคำสำคัญต่างๆ ตามคำสั่งรัฐบาลจีน
บริการค้นหาอื่นที่ใช้บริการจากไมโครซอฟท์ เช่น DuckDuckGo ก็กระทบไปด้วย
ที่มา - The Guardian
วันนี้ Bing ประกาศอัพเกรดหน้าตาครั้งใหญ่ โดยผลการค้นหาคีย์เวิร์ดบางประเภท (เช่น สูตรอาหาร ไอเดีย แนวทาง) จะแสดงเป็นภาพแทนลิงก์แบบดั้งเดิม ตั้งแต่ในแท็บหลักของหน้าผลการค้นหาเลย
ตัวอย่างคือ การค้นหาสูตรอาหารจะเห็นภาพของอาหาร พร้อมข้อมูลอื่น เช่น คะแนนรีวิว ปริมาณแคลอรี, การค้นหาไอเดียแต่งบ้าน จะเห็นภาพของสิ่งนั้นๆ ลักษณะคล้ายกับการใช้งาน Pinterest
ไมโครซอฟท์กำลังทดสอบการใช้งาน เบราวเซอร์ Edge สำหรับเด็กอายุ 5-12 ปี หรือ Kids Mode กำลังเปิดทดสอบในกลุ่มผู้ทดสอบ Edge Insiders ในช่อง Dev และ Canary
Kids Mode มาพร้อม Bing SafeSearch ป้องกันการติดตามจากการ track โฆษณาต่างๆ เด็กๆ ไม่จำเป็นต้องสร้างบัญชีผู้ใช้งาน เท่ากับว่าสามารถเข้าใช้งานในคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่ไม่ใช่ของตนได้ และหากเข้าเว็บที่ปลอดภัยแก่เด็ก แต่ถูกปิดกั้นไว้ไม่ให้เข้า ก็สามารถสร้างคำร้องเพื่อเข้าถึงเว็บไซต์ได้ สำหรับผู้ปกครอง สามารถสร้างรายการเว็บไซต์ที่ปลอดภัยบน Kids Mode ได้
Google ประกาศผลเสิร์ชเอนจิ้นผู้ชนะการประมูลเพื่อแสดงผลเป็นตัวเลือก default ใน Android ที่เปิดใช้งานใน 31 ประเทศยุโรปนอกเหนือจาก Google แก้ปัญหาการผูกขาด และเพื่อให้สอดคล้องกับกฎคณะกรรมาธิการยุโรปเกี่ยวกับ Android โดยผู้ใช้งานมีสิทธิ์เลือกเสิร์ชเอนจิ้นทางเลือกสี่ราย (รวม Google แล้ว)
ทีมนักวิจัยจากบริษัท WizCase พบฐานข้อมูล Elasticsearch ของแอป Microsoft Bing เข้าถึงได้จากอินเทอร์เน็ต เปิดเผยข้อมูลขนาด 6.5TB โดยขณะพบตัวฐานข้อมูลยังมีข้อมูลใหม่ยิงเข้าไปตลอดเวลา ประมาณวันละ 200GB
ที่น่าสนใจคือเซิร์ฟเวอร์ตัวนี้ของไมโครซอฟท์ถูกสแกนมาก่อนแล้ว แต่พบว่าล็อกรหัสผ่านไว้ถูกต้องทำให้ข้อมูลไม่รั่วไหล แต่เมื่อวันที่ 10 กันยายนที่ผ่านมาก็ปลดรหัสออก ทำให้คนภายนอกสามารถเข้าดูข้อมูลได้ จากนั้นทีมวิจัยของ WizCase ก็ไปพบในวันที่ 12 กันยายนและแจ้งไมโครซอฟท์ทันที ทางไมโครซอฟท์ปิดฐานข้อมูลนี้ในวันที่ 16 กันยายนที่ผ่านมา
หลังจากที่ไมโครซอฟท์ได้ออก Bing Wallpaper แอพช่วยเปลี่ยนพื้นหลังเดสก์ทอปตามภาพถ่ายประจำวันของ Bing ให้กับผู้ใช้งาน Windows เมื่อประมาณกลางเดือนที่แล้ว
ล่าสุดทางบริษัทก็ได้ปล่อยแอพ Bing Wallpaper เวอร์ชัน Android ให้ผู้ใช้สามารถนำภาพถ่ายสวยๆ ของ Bing มาตั้งเป็นภาพพื้นหลังของโฮมสกรีนและล็อคสกรีนบนอุปกรณ์ฝั่งระบบปฏิบัติการ Android เป็นที่เรียบร้อย
ตัวแอพเวอร์ชัน Android จะเปิดให้เข้าถึงภาพถ่ายประจำวันของ Bing ตั้งแต่ในอดีตจวบจนถึงปัจจุบัน พร้อมฟังก์ชั่นค้นหารูปผ่านตัวกรองอย่าง โทนสี, หมวดหมู่ จนไปถึงตำแหน่งที่ตั้ง เพื่อช่วยเลือกรูปภาพที่ถูกใจก่อนนำไปใช้เป็นภาพพื้นหลัง
Bing มีชื่อเสียงมานานเรื่องภาพถ่ายสวยๆ ที่เปลี่ยนใหม่ทุกวัน แต่ในอดีตการนำภาพจาก Bing มาใช้งานก็ไม่ง่ายนัก ถ้าไม่เซฟด้วยมือเอาเอง ก็อาจต้องใช้ผ่านฟีเจอร์ของ Windows 10 อย่าง Windows Spotlight (ที่เปลี่ยนได้เฉพาะพื้นหลังหน้า lockscreen) เท่านั้น
ไม่รู้ว่าจู่ๆ ไมโครซอฟท์เกิดคิดอะไรขึ้นมาได้ จึงออกแอพชื่อ Bing Wallpaper อย่างเป็นทางการมาให้เราใช้กันสักที
แอพตัวนี้ต้องดาวน์โหลดและติดตั้งด้วยไฟล์ .exe แบบดั้งเดิม (ทำไมไม่ขึ้น Microsoft Store ก็ยังเป็นปริศนาเช่นกัน) จากนั้นเราจะได้ภาพพื้นหลังของเดสก์ท็อปที่เปลี่ยนใหม่ทุกวัน พร้อมปุ่มกดแสดงดูข้อมูลของภาพว่าถ่ายที่ไหน แบบเดียวกับ Bing เวอร์ชันเว็บด้วย
มีผู้ใช้ Bing บางรายในสหรัฐ ค้นพบว่าไมโครซอฟท์เริ่มทดสอบโลโก้ใหม่ของ Bing ที่ปรับใหม่ตามแนวทาง Fluent Design ให้โค้งมน เล่นแสงเงามากขึ้น คล้ายกับโลโก้ใหม่ของ Microsoft Office มากขึ้น
ไมโครซอฟท์ยังไม่ประกาศเรื่องการเปลี่ยนแปลงของโลโก้ Bing อย่างเป็นทางการ
ที่มา - Thurrott
ไมโครซอฟท์มีเวอร์ชันย่อยของ Office 365 ที่เรียกว่า ProPlus ซึ่งคิดเงินตามจำนวนผู้ใช้งาน และผู้ใช้งานแต่ละคนสามารถติดตั้งโปรแกรม Office ได้สูงสุด 5 เครื่อง เหมาะสำหรับองค์กรที่ผู้ใช้หนึ่งคนมีอุปกรณ์หลายชิ้น
ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศว่าตัวติดตั้งของ Office 365 ProPlus จะเปลี่ยนเครื่องมือค้นหาของ Chrome ในเครื่องเดียวกัน จาก Google Search มาเป็น Bing ให้ด้วย ด้วยเหตุผลว่าผู้ใช้จะสามารถใช้งาน Microsoft Search ระบบค้นหาเอกสารภายในองค์กร ผ่านช่องทางของ Bing ได้
ไมโครซอฟท์มีเครื่องมือค้นหาอยู่ 2 ตัวคือ Bing ที่ทุกคนรู้จักกันดี และ Microsoft Search ที่เปิดตัวในปี 2018 ใช้สำหรับหาข้อมูลภายในอินทราเน็ตขององค์กร เช่น เอกสารหรือไฟล์ต่างๆ ที่อยู่บนระบบของไมโครซอฟท์
ปีนี้ไมโครซอฟท์ประกาศผนวก Microsoft Search ให้เรียกใช้งานจาก Bing ได้ด้วย เราสามารถค้นหาข้อมูลบน Bing.com แล้วได้ผลการค้นหาเอกสารภายในองค์กรโผล่ขึ้นมาในหน้าเว็บ Bing ด้วยอีกทางหนึ่ง (นอกเหนือจากข้อมูลเว็บสาธารณะที่ Bing โชว์อยู่แล้ว)