ก่อนหน้านี้ X ได้เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ X Hiring เพื่อให้องค์กรประกาศรับสมัครพนักงาน ซึ่งมีฟีเจอร์คล้ายกับ LinkedIn หนึ่งในแพลตฟอร์มของ Microsoft
Musk ได้พูดถึง LinkedIn ว่า มีผู้สมัครงานส่ง LinkedIn มาให้ แต่ส่วนตัวรู้สึกว่ามันประจบประแจงเกินไป และไม่ได้ใช้ LinkedIn เพื่อดูประวัติของผู้สมัครเลย พร้อมพูดเสริมว่า X Hiring จะแตกต่างจาก LinkedIn ตรงที่เจ๋งกว่า แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดอะไรไว้
ตอนนี้ X Hiring ยังอยู่ในช่วงเบต้าและให้บริการเฉพาะบริษัทที่จ่ายแบบสมัครสมาชิก 1,000 ดอลลาร์ต่อเดือนเท่านั้น ซึ่งนี่เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายการเปลี่ยน X ให้กลายเป็น Everything App เหมือนกับ WeChat ที่เคยพูดไว้
LinkedIn ประกาศปรับโครงสร้างองค์กร ในส่วนของฝ่ายที่ดูแลธุรกิจทั่วโลก และส่วนธุรกิจในจีน โดยให้เหตุผลเรื่องสภาพตลาดและพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องปลดพนักงานที่อยู่ในสองส่วนนี้รวม 716 คน
ผลจากการปรับโครงสร้างนี้ ทำให้ LinkedIn จะปิดให้บริการ InCareer แอปหางานที่ทำตลาดเฉพาะในจีน เปลี่ยนมาโฟกัสการให้บริการบริษัทที่ดำเนินงานหลายสาขาทั่วโลกและมีสาขาในจีน ทั้งส่วนของการจ้างงานและฝึกอบรม ส่วนกลุ่มที่ดูแลธุรกิจทั่วโลก จะปรับลดจำนวนทีม ลดจำนวนพนักงานฝ่ายบริหาร และว่าจ้างเวนเดอร์มาช่วยดำเนินงานหลายส่วนแทนพนักงานประจำ
บริษัท Inflection AI ที่ก่อตั้งโดย Reid Hoffman ผู้ร่วมก่อตั้ง LinkedIn และ Mustafa Suleyman ผู้ร่วมก่อตั้ง DeepMind ช่วงต้นปี 2022 ตอนนี้มีผลงานออกมาแล้ว เป็นแชทบ็อทชื่อว่า Pi
Pi ย่อมาจาก “personal intelligence” จุดเด่นของมันที่ต่างจากแชทบ็อทตัวอื่นๆ อย่าง ChatGPT, Bing, Bard คือการตั้งใจให้เป็นผู้ช่วยส่วนตัวที่ "ใจดี" และพยายามช่วยเหลือเราในเรื่องต่างๆ (kind and supportive) ตัวบทสนทนามีความเป็นมนุษย์มากขึ้น พยายามชวนเราคุยด้วย ไม่ใช่ตอบคำถามอย่างเดียว
LinkedIn ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ในการใช้งานหลายรายการ โดยบอกว่าเป็นการนำเทคโนโลยี AI GPT-4 ตัวล่าสุดของ OpenAI เข้ามาเสริมการใช้งาน มีรายละเอียดดังนี้
ฟีเจอร์แรกเป็นฝั่งของฝ่ายพนักงานคือ Personalized Writing Suggestions ปรับแต่งเนื้อหาหน้าโปรไฟล์ โดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่ปัจจุบัน แต่เสริมไฮไลท์ด้านความสามารถ ประสบการณ์ ที่สำคัญ ทำให้ส่วนของ About ดูน่าสนใจมากขึ้น ฟีเจอร์นี้เปิดให้ใช้กับลูกค้า Premium เท่านั้น
ไมโครซอฟท์ประกาศเปิดตัวโครงการ Skills for Jobs เพื่อเสริมสร้างทักษะดิจิทัลที่จำเป็นต่อตำแหน่งงานยอดนิยม พร้อมทักษะพื้นฐาน ได้แก่ Digital Literacy & Productivity, Soft Skills และ Entrepreneurship โดยเปิดให้เรียนรู้หลักสูตรออนไลน์เพิ่มเติมอีกกว่า 350 คอร์สผ่าน LinkedIn Learning ได้ฟรีจนถึงปี 2568 พร้อมประกาศนียบัตร Career Essentials เพิ่มโอกาสในการได้รับจ้างงาน
โดยนับเป็นการต่อยอดจากโครงการ Global Skills Initiative (GSI) ที่ได้ให้การสนับสนุนกับผู้คนกว่า 80 ล้านคนทั่วโลกตั้งแต่ปี 2563 (มีผู้เรียนชาวไทยรวมกว่า 534,000 ราย)
LinkedIn ประกาศเพิ่มคุณสมบัติการใช้งานใหม่ เพื่อป้องกันปัญหาบัญชีปลอม ที่พยายามติดต่อกับคนในชุมชนผู้ใช้งาน ซึ่งเป็นปัญหาที่ LinkedIn ได้รับการร้องเรียนเพิ่มขึ้นช่วงที่ผ่านมา
คุณสมบัติแรกคือ About this profile โดยในหน้าโปรไฟล์แต่ละคน จะแสดงข้อมูลพื้นฐานเพิ่มเติม ว่าบัญชีนี้สร้างขึ้นเมื่อใด และมีการอัพเดตข้อมูลล่าสุดเมื่อใด รวมทั้งมีการยืนยันด้วยเบอร์โทรศัพท์ และ/หรือ อีเมลที่เกี่ยวข้องหรือไม่ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจตอบรับคำเชิญในการสนทนา เฉพาะส่วนอีเมล LinkedIn ช่วงแรกจะจำกัดเฉพาะบางหน่วยงาน แล้วจะทยอยเพิ่มอีเมลองค์กรที่รองรับต่อไป
ไม่ได้มีแต่ Twitter ที่มีปัญหาบัญชีปลอมระบาด เพราะโซเชียลมีเดียอย่าง LinkedIn ก็มีปัญหาบัญชีปลอมเพื่อหลอก scam ด้วยเช่นกัน
ล่าสุด LinkedIn เพิ่มมาตรการตรวจสอบตัวตนของผู้ใช้เพิ่ม โดยต้องยืนยันอีเมลทำงาน (work email) หรือหมายเลขโทรศัพท์ ซึ่งจะถูกนำไปแสดงในหน้า About this Profile ว่ายืนยันตัวตนเรียบร้อยแล้วจริงๆ และยังเพิ่มการระบุวันที่สร้างบัญชี เพื่อให้ตรวจเช็คได้ง่ายขึ้นว่าเป็นบัญชีสร้างใหม่หรือไม่
ฟีเจอร์ตรวจสอบตัวตนยังทยอยปล่อยให้ผู้ใช้ในวงจำกัด และจะค่อยๆ ขยายในวงกว้างขึ้นต่อไป
Brad Smith ประธานบริษัท Microsoft เปิดเผยว่า บริษัทจะไม่ติดป้ายโพสต์ที่ให้ข้อมูลเท็จบน Bing และ LinkedInเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกมองว่าบริษัทพยายามที่จะปิดกั้นการแสดงความเห็นทางออนไลน์
การตัดสินใจของ Microsoft ถือว่าแตกต่างจากแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอื่น ๆ หลังจากที่ Meta และ Twitter ติดป้ายเตือนข้อความเท็จและได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในแง่ลบ โดยเฉพาะความเห็นที่เชื่อมโยงกับการเมืองว่าบริษัทปิดกั้นการแสดงความเห็นจากฝ่ายขวา
Smith กล่าวว่าจะให้ข้อมูลเพิ่มเติมต่อสาธารณะว่าใครเป็นผู้โพสต์และสิ่งที่โพสต์มีเนื้อหาอย่างไร และจะให้ผู้ใช้งานเป็นผู้ตัดสินเองว่าโพสต์นั้น ๆ เป็นข้อมูลที่ถูกต้องหรือไม่ ซึ่งบริษัทมองว่าเป็นการปฏิบัติตามแนวทางของระบอบประชาธิปไตย
ช่วงที่ผ่านมาเกิดปัญหาสแคมชวนลงทุนคริปโตระบาดหนัก ผ่านระบบข้อความของ LinkedIn โดยผู้เสียหายบางรายอาจสูญเงินเป็นหลักล้านดอลลาร์ และ FBI เริ่มเข้ามาสอบสวนแล้ว
แนวทางการหลอกลวงอยู่ในรูปการสร้างบัญชีปลอมบน LinkedIn ให้ดูเป็นนักลงทุนที่น่าเชื่อถือ แล้วส่งข้อความไปพูดคุย ทำความสนิทสนมกับผู้ใช้คนอื่นๆ บน LinkedIn เป็นเวลานานพอสมควร เมื่อเหยื่อตายใจแล้วก็จะเริ่มชวนมาลงทุนในวงการคริปโตรูปแบบต่างๆ โดยตอนแรกชวนไปลงทุนในแพลตฟอร์มคริปโตจริงๆ ด้วยเงินไม่เยอะนัก แล้วขยายไปยังแพลตฟอร์มปลอมด้วยเงินที่มากขึ้นกว่าเดิม
เหยื่อที่หลงเชื่อให้สัมภาษณ์ว่าเป็นเพราะ LinkedIn เป็นเครือข่ายคนทำงานที่น่าเชื่อถือกว่าโซเชียลอื่นๆ ก็จะหลงเชื่อได้โดยง่าย
LinkedIn ตกลงจ่ายเงินชดเชยให้พนักงานหญิงในบริษัท 686 คน เป็นเงินรวม 1.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือราว 61.79 ล้านบาทรวมดอกเบี้ย หลังถูกกระทรวงแรงงานของสหรัฐอเมริกาตรวจสอบและพบว่าพนักงานหญิงกลุ่มดังกล่าวได้เงินตอบแทนน้อยกว่าพนักงานชายที่ทำงานลักษณะเดียวกันในช่วงปี 2015 ถึง 2017
ด้าน LinkedIn ระบุว่าเราตกลงที่จะจ่ายเงินชดเชยเพื่อยุติเรื่องนี้ แม้เราจะไม่เห็นด้วยกับข้อกล่าวหาของรัฐฯ เพราะยืนยันว่าบริษัทจ่ายค่าตอบแทนให้พนักงานอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมเสมอมา และในเวลา 3 ปีนับจากนี้ LinkedIn จะจัดทำรายงานให้รัฐฯ เพื่อชี้แจงว่ามีการประเมินนโยบายผลตอบแทนและปรับเงินเดือนให้พนักงานเรื่อยๆ รวมถึงจะจัดอบรมพนักงานเรื่องการไม่เลือกปฏิบัติในที่ทำงาน
LinkedIn ประกาศซื้อกิจการ Oribi สตาร์ทอัพผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการตลาดออนไลน์แบบ Marketing Attribution มูลค่าของดีลไม่มีการเปิดเผย แต่ TechCrunch อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่าอยู่ราว 80-90 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ Oribi ได้รับเงินทุนจากนักลงทุนไปแล้วรวม 28 ล้านดอลลาร์
เหตุผลของดีลนี้ LinkedIn บอกว่ารายได้ของบริษัทที่ผ่านมา จากโซลูชันการตลาดสำหรับลูกค้าธุรกิจเพิ่มขึ้นถึง 43% จึงต้องการเสริมเทคโนโลยีด้านนี้ให้กับลูกค้าที่เป็นองค์กรมากขึ้น แลพได้เครื่องมือที่ช่วยให้เข้าใจผลตอบแทนการลงทุนการตลาดแต่ละช่องทาง ซึ่งเครื่องมือที่เป็นที่นิยมในตลาดตอนนี้ อาทิ Mixpanels, Heap Analytics, Adobe Marketing Clouds และ Google Analytics
สองเดือนหลังจาก LinkedIn ประกาศเตรียมปิดให้บริการในจีนในปีนี้ เนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดของทางการจีน ในการให้บริการส่วนที่เป็นโซเชียลได้ ล่าสุด LinkedIn เปิดตัวแอปใหม่ InCareer สำหรับประเทศจีนโดยเฉพาะ
InCareer เป็นแอปค้นหาตำแหน่งงานในจีน โดยให้บริการผ่านแอป iOS, Android และเว็บ www.linkedin.cn
ส่วนผู้ใช้งานนั้น หน้าโปรไฟล์ยังสามารถแก้ไขข้อมูล เพื่อให้ถูกค้นพบจากผู้ว่าจ้างได้ แต่จะไม่สามารถโพสต์เนื้อหาได้
ที่มา: LinkedIn
LinkedIn เปิดบริการใหม่ ในรูปแบบฟีเจอร์ Service Marketplace เป็นบริการช่วยคนหางานฟรีแลนซ์ แข่งกับแพลตฟอร์มที่ดังเรื่องนี้อยู่แล้วอย่าง Fiverr และ Upwork โดย LinkedIn ทดสอบ Service Marketplace เป็นเวอร์ชันเบต้า ผู้ใช้แล้ว 2 ล้านคนจากผู้ใช้เกือบ 800 ล้านคนตามรายงานผลประกอบการ ซึ่งล่าสุดเตรียมเปิดใช้งานทั่วโลกแล้ว
ไมโครซอฟท์ประกาศปิดให้บริการ LinkedIn เวอร์ชันในจีน โดยให้เหตุผลว่าแม้แพลตฟอร์มจะช่วยให้สมาชิกผู้ใช้งานในจีน สามารถค้นหางานและโอกาสใหม่ ๆ ได้ แต่ในมุมของการเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลนั้น มีความท้าทาย ต่อการปฏิบัติให้ได้ตามข้อกำหนดของทางการจีน ทำให้บริษัทตัดสินใจปิดบริการดังกล่าวภายในปีนี้
เนื่องจากไมโครซอฟท์ยังเห็นโอกาสในการให้บริการแพลตฟอร์มสำหรับค้นหางานในจีน บริษัทจึงเตรียมเปิดตัว InJobs แอปแยกตัวใหม่สำหรับการหางานโดยเฉพาะ ซึ่งตัดฟีเจอร์โซเชียลออกไป แอปนี้จะเปิดตัวภายในปีนี้
LinkedIn เริ่มให้บริการในเวอร์ชันสำหรับจีนโดยเฉพาะในปี 2014 ซึ่งมีการปรับให้เป็นไปตามข้อกำหนด ข้อมูลจาก Statista ระบุว่า LinkedIn ถือเป็นตลาดค้นหางานที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ในจีน
Glassdoor แพลตฟอร์มที่เปิดให้ผู้ใช้งานรีวิวสถานที่ทำงาน, องค์กร เข้าซื้อ Fishbowl แอปพลิเคชันที่ให้แสดงความเห็นต่อเพื่อนร่วมงานแบบไม่ระบุตัวตน พร้อมทั้งสามารถเข้าร่วมกลุ่มสนทนาตามความสนใจเกี่ยวกับงานและค้นหางาน โดยในดีลครั้งนี้ ฟีเจอร์ของ Fishbowl จะ integrate เข้ากับแพลตฟอร์มหลัก Glassdoor ถือเป็นการรวมฟังก์ชันเพื่อให้สามารถแข่งขันกับ LinkedIn ได้
LinkedIn ประกาศหยุดการแสดงเนื้อหาแบบ Stories โดยจะมีผลตั้งแต่ 30 กันยายน 2021 เป็นต้นไป ทั้งนี้ LinkedIn ได้เริ่มเปิดใช้งาน Stories ตั้งแต่ปีที่แล้ว
Liz Li ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายผลิตภัณฑ์ของ LinledIn บอกว่า ในตอนแรก LinkedIn เพิ่ม Stories เพื่ออยากให้มีวิธีการแชร์วิดีโอสั้นที่สนุกและดูเป็นกันเอง แต่เมื่อเปิดใช้งานไป ก็พบว่าผู้ใช้งานต้องการสื่อผสมผสานที่นำเสนอความจริงจัง และเป็นไปในทิศทางเดียวกับหน้าโปรไฟล์มากกว่า
เก็บตกประเด็นจากงานแถลงผลประกอบการไมโครซอฟท์ไตรมาส 2/2021 เรื่องที่น่าสนใจคือซีอีโอ Satya Nadella เปิดเผยว่า LinkedIn กลายเป็นบริษัทที่มีรายได้ 1 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อปีแล้ว อัตราการเติบโตต่อปีอยู่ที่ 27%
ไมโครซอฟท์ซื้อ LinkedIn ในปี 2016 ด้วยมูลค่า 2.6 หมื่นล้านดอลลาร์ ตอนนั้น LinkedIn มีรายได้ประมาณ 3 พันล้านดอลลาร์ต่อปี หรือมีรายได้เพิ่มประมาณ 3 เท่าในเวลา 5 ปีหลังซื้อกิจการ ส่วนสถิติผู้ใช้งานอยู่ที่ 774 ล้านคน อัตราการใช้งานเพิ่มขึ้น 30%
Confluent Inc. บริษัทที่อยู่เบื้องหลังการพัฒนา Apache Kafka ยื่นเอกสารต่อ กลต. สหรัฐ เพื่อเตรียมเข้าขายหุ้น IPO แล้ว
Apache Kafka เป็นซอฟต์แวร์จัดการ event streaming (บ้างก็เรียก data pipeline) เพื่อนำข้อมูลปริมาณมากๆ เข้าระบบอย่างรวดเร็ว ตัวซอฟต์แวร์เริ่มพัฒนาโดยทีมวิศวกรของ LinkedIn ช่วงปี 2011 ก่อนเปิดเป็นโอเพนซอร์ส และยกให้ Apache Software Foundation ดูแลต่อ
หลายแพลตฟอร์มกำลังพัฒนาการสนทนาเสียงแบบ Clubhouse ไม่ว่าจะเป็น Twitter Spaces, Facebook ก็มีข่าวลือว่าจะทำคล้ายๆ กัน, Spotify ก็อาจจะเข้าร่วมวงด้วย ล่าสุด LinkedIn แพลตฟอร์มฝากประวัติและหางานก็ยืนยันแล้วว่ากำลังพัฒนาการสนทนาเสียงด้วยเช่นกัน
LinkedIn กำลังทดสอบเครื่องมือตัวใหม่ Career Explorer เป็นฟีเจอร์แสดงให้คนหางานเห็นว่าทักษะของพวกเขาสามารถหางานได้ในตำแหน่งใดบ้าง และทักษะใดที่พวกเขายังต้องสร้างเพิ่ม เมื่อกดที่รายชื่อทักษะเสริมระบบจะเชื่อมต่อไปยังคอร์สเรียนออนไลน์เพื่อเสริมทักษะและรีสกิลตัวเองใหม่
LinkedIn ปรับโฉมหน้าเว็บและแอปพลิเคชั่นใหม่ในรอบ 5 ปี เพิ่มพื้นที่สีขาวสะอาดตามากขึ้น ลดพื้นที่สีน้ำเงินซึ่งเป็นสีเอกลักษณ์ของ LinkedIn ลง
Scribd แพลตฟอร์มสำหรับอ่าน PDF และอีบุ๊คออนไลน์ ประกาศเข้าซื้อกิจการ SlideShare ซึ่งปัจจุบันมี LinkedIn เป็นเจ้าของ ด้วยมูลค่าที่ไม่เปิดเผย โดย SlideShare จะอยู่ภายใต้ Scribd มีผลตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน เป็นต้นไป
LinkedIn ซื้อกิจการ SlideShare ไปเมื่อปี 2012 และต่อมา LinkedIn ก็ถูกไมโครซอฟท์ซื้อกิจการไปในปี 2016
Trip Adler ซีอีโอ Scribd ให้ความเห็นว่าแม้สองบริษัทนี้จะมีผลิตภัณฑ์คล้ายกัน คือเป็นแพลตฟอร์มอ่านและแชร์เอกสาร แต่ในรายละเอียดก็แตกต่างกัน โดย Scribd เน้นที่ PDF, Word และบทความขนาดยาว (long-form) ขณะที่ SlideShare จะโฟกัสกับ PowerPoint และผู้ใช้งานธุรกิจมากกว่า
จากวิกฤตโรคระบาดส่งผลให้บริษัทปลดพนักงานออกเพื่อลดค่าใช้จ่าย และระงับการจ้างงาน ซึ่งกระทบ LinkedIn แพลตฟอร์มหางานและรับสมัครงานเต็มๆ ล่าสุดทางบริษัทออกมาประกาศว่าต้องปลดพนักงานออก 960 ราย คิดเป็น 6% ของพนักงานทั้งหมด
Ryan Roslansky ซีอีโอ ระบุว่าจะจ่ายเงินชดเชยให้ 10 สัปดาห์รวมถึงการประกันสุขภาพสำหรับพนักงานในสหรัฐฯ 1 ปี และถ้ามีการจ้างงานใหม่ จะเริ่มพิจารณาจ้างจากกลุ่มพนักงานที่ถูกปลดก่อน
ฟีเจอร์ใหม่ของ iOS 14 ที่แจ้งเตือนผู้ใช้ว่าแอปมีการแอบเก็บข้อมูลคลิปบอร์ด ซึ่งหลายแอปก็ถูกจับได้ และล่าสุดแอปโซเชียลมีเดียสำหรับหางานอย่าง LinkedIn ก็ถูกจับได้ลักษณะเดียวกันและถูกฟ้องร้องแล้ว
LinkedIn ถูกฟ้องแบบกลุ่มที่ศาลกลาง (federal) ในซานฟรานซิสโก ฐานแอปเก็บข้อมูลผู้ใช้บน iPhone/iPad ผ่านคลิปบอร์ดรวมถึงเก็บข้อมูลจากอุปกรณ์แอปเปิลเครื่องอื่นด้วย (ไม่มีรายละเอียดว่าเก็บจากเครื่องอื่นอย่างไร)
ด้านหัวหน้าฝ่ายวิศวกรรมของ LinkedIn ยืนยันว่าไม่มีการเก็บข้อมูลผ่านคลิปบอร์ด แต่ก็ได้ตรวจสอบปัญหาของโค้ดที่ทำหน้าที่ "equality check" ที่ตรวจสอบความถูกต้องระหว่างเนื้อหาบนคลิปบอร์ดและเนื้อหาที่พิมพ์ลงไป
ในบางครั้ง การอ่านชื่อนามสกุลนั้นเป็นเรื่องยาก และการอ่านผิดๆ ถูกๆ ก็ดูไม่เป็นมืออาชีพ LinkedIn จึงช่วยให้ใช้ชีวิตง่ายขึ้น ด้วยการเพิ่มฟังก์ชั่นปุ่มอัดเสียง ให้เจ้าของโปรไฟล์กดอัดเสียงพูดชื่อนามสกุลตัวเองได้
เมื่อเจ้าของโปรไฟล์กดอัดเสียง ผู้ใช้งานคนอื่นจะพบไอคอนรูปลำโพงอยู่หลังชื่อ สามารถกดเพื่อฟังได้ ข้อความเสียงมีความยาวสูงสุด 10 วินาที ในการกดอัดเสียงสามารถทำได้เฉพาะบนแอป LinkedIn มือถือเท่านั้น แต่สามารถกดฟังได้ทั้งบนือถือและเดสก์ทอป
LinkedIn รุบะว่าจะปล่อยฟีเจอร์กดอัดเสียงหลังชื่อให้ผู้ใช้ทั้ง 690 ล้านรายใช้ภายในเดือนถัดไป