เมื่อต้นเดือนนี้ เราเห็นไมโครซอฟท์เริ่มปล่อย Microsoft Edge ตัวใหม่ผ่าน Windows Update สำหรับ Windows 10
ล่าสุดไมโครซอฟท์ออกอัพเดต Microsoft Edge ให้ผู้ใช้ Windows 7 SP1 และ Windows 8.1 ด้วยเช่นกัน ในแง่ตัวเบราว์เซอร์คงไม่มีอะไรต่างกัน แต่กรณีของ Windows 7/8.1 ไม่มี Edge ตัวเดิมมาให้ด้วย การมาถึงของ Edge ตัวใหม่จึงไม่ได้มาแทน Edge ตัวเดิม แต่เป็นเบราว์เซอร์ตัวใหม่ที่เพิ่มเข้ามานอกเหนือจาก Internet Explorer 11 โดยจะไม่เปลี่ยนค่าดีฟอลต์ของระบบด้วย
สิ่งแรกๆ ที่เราจะเห็นในโลกไอทีปี 2020 คือ Windows 7 จะหมดระยะซัพพอร์ตในวันที่ 14 มกราคม 2020 (นั่นคืออีก 2 สัปดาห์) แม้ไมโครซอฟท์พยายามทุกทางให้ผู้ใช้อัพเกรดเป็น Windows 10 แต่ยังมีผู้ใช้ Windows 7 อีกจำนวนมาก (สถิติของ Blognone เองในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา มีผู้ใช้ Windows 7 ประมาณ 6.3% ของผู้ใช้ทั้งหมด หรือคิดเป็น 23% ของผู้ใช้ Windows ทั้งหมด)
เหตุผลที่ผู้ใช้เหล่านี้ไม่ได้อัพเกรดเป็น Windows 10 คงแตกต่างกันไป เช่น คอมพิวเตอร์เก่า (แต่จริงๆ Windows 10 ใช้สเปกขั้นต่ำเท่ากับ Windows 7), ไม่ชอบหรือไม่คุ้นเคยกับ Windows 10 หรือ อาจตกรถ ไม่ทันการอัพเกรดฟรีในช่วงปี 2015-2016
อย่างไรก็ตาม ไมโครซอฟท์ยังแอบหลับตาข้าง โดยเปิดให้ผู้ใช้ Windows 7/Windows 8.1 ที่มีไลเซนส์แท้ อัพเกรดเป็น Windows 10 ได้ต่อไป บทความนี้จะสอนวิธีการทำครับ
Microsoft ออกอัพเดท KB4516067 สำหรับผู้ใช้ Windows Server 2012 R2 และ Windows 8.1 ในวันที่ 10 กันยายนที่ผ่านมา การอัปเดตประกอบไปด้วยการปรับปรุงความปลอดภัยทั่วไปของ Windows พร้อมกับการป้องกันช่องโหว่ที่สำคัญ ฟังดูเหมือนจะเป็นการอัพเดทตามปกติ แต่การอัพเดทในครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ Windows 8.1 โดยอัพเดทตัวที่เป็นปัญหาที่มีชื่อว่า KB4516067 ที่ก่อปัญหาทำให้ไม่สามารถใช้งาน Internet Explorer บน Surface RT และ Surface 2 ซึ่งเป็นอุปกรณ์ตระกูล Surface ของทางบริษัท Microsoft ปัญหามาจาก ใบรับรองถูกเพิกถอนจากโปรแกรม Internet Explorer อันเป็นเหตุที่ทำให้ Surface ทั้งสองรุ่นไม่สามารถใช้งานโปรแกรมดั่งกล่าวได้ ซึ่ง Surface ทั้งสองรุ่นไม่สามารถใช้งานเว็บบราวเซอร์ตัวอื่นได้นอกจาก Internet Explorer เท่
ไมโครซอฟท์ประกาศปิดการทำงานของ VBScript บน Internet Explorer 11 ด้วยเหตุผลว่าเป็นฟีเจอร์ที่ล้าสมัย (deprecated) ไปนานแล้ว แต่ยังเปิดให้ใช้งานต่อมาอีกระยะหนึ่งเพื่อรักษาความเข้ากันได้ (backwards compatibility) โดยเฉพาะกับเว็บไซต์เก่าๆ ภายในองค์กร
ล่าสุดไมโครซอฟท์บอกว่าถึงเวลาอันสมควรแล้ว จึงออกอัพเดตปิดการทำงานของ VBScript ของ IE11 บน Windows 10 ไปตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคม และ Windows 7, 8, 8.1 จะตามมาในวันที่ 13 สิงหาคมนี้
ผู้ที่ยังจำเป็นต้องใช้ VBScript จริงๆ ยังสามารถเปิดกลับมาได้ผ่านการแก้ไข Registry หรือ Group Policy ของระบบปฏิบัติการ
ไมโครซอฟท์ออกเว็บเบราว์เซอร์ Microsoft Edge ยุค Chromium สำหรับ Windows รุ่นเก่าคือ 7, 8, 8.1 โดยตอนนี้ยังมีสถานะเป็นรุ่น Canary channel และจะออก Dev channel ตามมาในเร็วๆ นี้
ฟีเจอร์ของ Edge บน Windows 7, 8, 8.1 ก็เทียบเท่ากับ Edge บน Windows 10 เกือบทุกประการ โดยจะมีฟีเจอร์แสดงผลด้วยเอนจิน IE เพื่อซัพพอร์ตเว็บไซต์เก่าๆ ด้วยเช่นกัน
Adobe ประกาศว่า Creative Cloud เวอร์ชันหน้าที่จะออกในเร็วๆ นี้ (น่าจะเปิดตัวในงาน Adobe MAX เดือนหน้า) จะไม่ซัพพอร์ตระบบปฏิบัติการรุ่นเก่าแล้ว ได้แก่
ส่วน Windows 7 ที่ยังมีผู้ใช้เป็นจำนวนมากจะยังซัพพอร์ตต่อไป ยกเว้นแอพพลิเคชันสายวิดีโอได้แก่ Adobe Media Encoder, After Effects, Audition, Character Animator, Prelude, Premiere Pro จำเป็นต้องใช้ Windows 10 v1703 ขึ้นไปเท่านั้น ไม่สามารถใช้บน Windows 7 ได้อีกแล้ว
ผู้ที่ใช้ระบบปฏิบัติการรุ่นเก่ายังสามารถใช้ Creative Cloud เวอร์ชันปัจจุบันได้ต่อไป แต่จะไม่สามารถติดตั้งแอพเวอร์ชันใหม่ได้แล้ว
Microsoft ออกประกาศล่าสุดเกี่ยวกับการรับแอพบน Microsoft Store ใหม่ โดยจะเลิกรับแอพใหม่สำหรับ Windows 8/8.1 และ Windows Phone 8.x ตั้งแต่ 31 ตุลาคมนี้ หลังจากนั้นจะเลิกปล่อยแอพตามไทม์ไลน์ ดังนี้
เมื่อปลายเดือนที่แล้วไมโครซอฟท์ได้เริ่มทยอยอัพเดตความสามารถใหม่ให้กับ OneDrive desktop ในชื่อ Known Folder Move (KFM) ฟีเจอร์ซึ่งจะช่วยซิงค์โฟลเดอร์ที่ Windows เตรียมไว้ให้ผู้ใช้จัดเก็บข้อมูลทั้ง Desktop, Documents และ Pictures ขึ้นไปเก็บบน OneDrive ได้ง่ายๆ ผ่านการตั้งค่าเพียงไม่กี่คลิก
โดยปกติแล้วการซิงค์โฟลเดอร์ข้างต้นกับ OneDrive ต้องอาศัยการย้ายตำแหน่งของแต่ละโฟลเดอร์ไปวางไว้ภายใต้ OneDrive ด้วยตัวเอง แต่ด้วยฟีเจอร์ KFM สิ่งที่ผู้ใช้ต้องทำเหลือเพียงแค่คลิกเลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการจากหน้าตั้งค่า Auto Save ในเมนู Setting ของ OneDrive เท่านั้น
ไมโครซอฟท์มี 'บริการ' ความปลอดภัยชื่อ Windows Defender Advanced Threat Protection (เรียกย่อๆ คือ Windows Defender ATP) ที่เริ่มนำมาใช้กับ Windows 10 Fall Creators Update
ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศว่าจะขยาย Windows Defender ATP ไปใช้กับ Windows 7 และ Windows 8.1 ด้วย เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าองค์กรที่ยังมี Windows เวอร์ชันเก่าใช้งานอยู่
เมื่อวันก่อน (9 มกราคม 2018) ถือเป็นวันหมดระยะซัพพอร์ตระบบปฏิบัติการ Windows 8.1 แบบ mainstream support แล้ว นั่นแปลว่าไมโครซอฟท์จะไม่แก้บั๊กหรือเพิ่มฟีเจอร์ใดๆ ให้กับ Windows 8.1 อีกต่อไป
จากนี้ไป Windows 8.1 จะเข้าสู่ระยะ extended support เป็นเวลาอีก 5 ปี (หมด 10 มกราคม 2023) ซึ่งใน 5 ปีนี้ ไมโครซอฟท์จะออกแพตช์อุดช่องโหว่ความปลอดภัยให้เพียงอย่างเดียวแล้ว
ส่วน Windows 7 ที่หมดระยะ mainstream support ไปตั้งแต่ปี 2015 จะหมดระยะ extended support ในวันที่ 14 มกราคม 2020 เท่ากับว่าเหลือเวลาอีกประมาณ 2 ปีในการอัพเกรดมาใช้ระบบปฏิบัติการที่ใหม่ขึ้น
หลังไมโครซอฟท์ประกาศไปตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ตอนนี้ Windows 7 Pro ร่วมกับ Windows 8.1 หมดระยะการขายให้กับผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ (OEM) แล้วตั้งแต่ 31 ตุลาคมที่ผ่านมา ดังนั้นหากพบเห็นแล็บท็อปที่ติดตั้งมาพร้อม Windows 7 Pro หรือ Windows 8.1 แสดงว่าเป็นเครื่องสต๊อคที่ยังขายไม่หมด
การหมดระยะดังกล่าว ทำให้ตอนนี้มีเพียง Windows 10 เท่านั้นที่จะถูกติดตั้งบนอุปกรณ์มาตั้งแต่โรงงาน ขณะที่ไมโครซอฟท์ระงับการขาย Windows 8 ให้กับ OEM ตั้งแต่ 30 มิถุนายนที่ผ่านมา
เมื่อเร็วๆ นี้ Shad Larsen หัวหน้าฝ่ายวางแผนธุรกิจของไมโครซอฟท์ ได้ออกมาประกาศนโยบายใหม่ของบริษัท หลังจากที่ประกาศเรื่องการปรับให้ซีพียูรุ่นใหม่ๆ ต้องทำงานบน Windows 10 ได้เท่านั้นไปก่อนหน้านี้ ซึ่งประกาศล่าสุดไมโครซอฟท์ได้ตัดสินใจขยายระยะเวลาการสนับสนุน Windows 7 และ Windows 8.1 ออกไปเพิ่มเติมแล้ว แต่เฉพาะอุปกรณ์ที่ใช้ Skylake เท่านั้น
โดยเรื่องหลักๆ ที่ ไมโครซอฟท์ประกาศออกมามีทั้งหมด 3 ข้อ ดังต่อไปนี้ครับ
ไมโครซอฟท์ประกาศปรับวิธีการออกแพตช์องระบบปฏิบัติการรุ่นเก่าที่ยังซัพพอร์ต ได้แก่ Windows 7, Windows 8.1, Windows Server 2008 R2, Windows Server 2012, Windows Server 2012 R2
เดิมทีไมโครซอฟท์ออกแพตช์แยกเป็นไฟล์ๆ (ตามรหัส KB) และเปิดให้ผู้ใช้หรือแอดมินเลือกอัพเดตเป็นบางแพตช์ได้ แต่หลังจากเดือนตุลาคม 2016 เป็นต้นไป ไมโครซอฟท์จะออกแพตช์รวมเป็นก้อนเดียวในแต่ละเดือน (Monthly Rollup) แทน
ไมโครซอฟท์ให้เหตุผลของการรวมแพตช์เป็นก้อน ว่าเพื่อลดความซับซ้อนของการอัพเดตแพตช์ลง ทุกเครื่องได้แพตช์เท่ากันหมด ลดจำนวนครั้งของการอัพเดตมาเหลือเดือนละครั้ง คาดเดาได้ว่าจะมาเมื่อไรอย่างไร และประสบการณ์การอัพเดตก็คงที่ เหมือนเดิมทุกเดือน
หลังจากไมโครซอฟท์ได้ยืดเวลาการซัพพอร์ต Windows 7/8.1 บนหน่วยประมวลผล Intel Skylake ไปเป็นวันที่ 17 กรกฎาคม 2018 (จากเดิมที่ประกาศไว้ตอนแรก 17 กรกฎาคม 2017)
ล่าสุด ไมโครซอฟท์ได้ต่ออายุการซัพพอร์ตเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ไปจนเท่ากับอายุการสนับสนุนระบบปฏิบัติการ Windows 7 คือวันที่ 14 กรกฎาคม 2020 และ Windows 8.1 ซึ่งตรงกับวันที่ 10 มกราคม 2023 โดยจะได้รับแพตช์ความปลอดภัยจนกว่าจะถึงวันสิ้นสุดการสนับสนุน
ทั้งนี้ สำหรับหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรมใหม่ๆ จากทั้งฝั่ง Intel Kaby Lake และ AMD Bristol Ridge รวมไปถึงรุ่นใหม่หลังจากนั้น จะรองรับเพียงแค่ Windows 10 เท่านั้น
หลังจากที่มีการค้นพบช่องโหว่ในเฟิร์มแวร์ของเมาส์และคีย์บอร์ดไร้สายจำนวนมาก ที่อาจส่งผลให้แฮกเกอร์สามารถยิงคำสั่งเข้าไปยังตัวรับเมาส์/คีย์บอร์ดไร้สายที่ต่อกับคอมพิวเตอร์อยู่ได้ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาพร้อมๆ กับการปล่อย Patch Tuesday ไมโครซอฟท์ก็ได้ออกแพตช์เพื่ออุดช่องโหว่ด้านความปลอดภัยดังกล่าวให้กับเมาส์ไมโครซอฟท์ที่ได้รับผลกระทบแล้ว
อัพเดตหมายเลข KB3152550 สำหรับ Windows 7, 8.1 และ 10 ได้แก้ไขช่องโหว่ข้างต้นด้วยไดรเวอร์ซึ่งจะกรองอินพุทที่รับมาจากเมาส์ไร้สายเพื่อป้องกันการโจมตีโดยแฮกเกอร์ซึ่งอาจยิงข้อมูลที่เป็นคำสั่งคีย์บอร์ดปะปนเข้ามา
เมื่อต้นปีนี้ ไมโครซอฟท์ประกาศว่า คนที่ใช้ซีพียู Intel Skylake รุ่นล่าสุด จะสามารถใช้ Windows 7/8.1 ได้ถึงช่วงกลางปี 2017 เท่านั้น หลังจากนั้นไมโครซอฟท์จะหยุดซัพพอร์ต Windows 7/8.1 บน Skylake แล้ว (เพื่อให้คนใช้คอมรุ่นใหม่ๆ ย้ายไปใช้ Windows 10 กัน)
ล่าสุด ไมโครซอฟท์ออกมาประกาศนโยบายใหม่ ขยายระยะเวลาซัพพอร์ตให้อีก 1 ปี จากเดิม 17 กรกฎาคม 2017 มาเป็น 17 กรกฎาคม 2018
หลังวันที่ 17 กรกฎาคม 2018 ไมโครซอฟท์จะมอง Windows 7/8.1 บน Skylake ว่าเข้าระยะ extended support และจะออกเฉพาะแพตช์ความปลอดภัยสำคัญ (critical) เท่านั้น โดยแพตช์ของ Windows 7 จะออกถึงวันที่ 14 มกราคม 2020 และของ Windows 8.1 ถึงวันที่ 10 มกราคม 2023
ไมโครซอฟท์ยังเตือนให้ลูกค้าที่มีฮาร์ดแวร์รุ่นใหม่ๆ แบบ Skylake ย้ายไปใช้ Windows 10 กันแทน เพราะออกแบบมาให้เข้ากันได้กับ Skylake มากกว่า ทั้งในเรื่องประสิทธิภาพ แบตเตอรี่ และความปลอดภัย
Microsoft Garage ปล่อยแอพเพื่อการจดบันทึกด้วยการเขียนตัวใหม่ ชื่อ Plumbago สำหรับ Windows 8/8.1/10 รายละเอียดมีดังนี้
ดาวน์โหลดได้แล้วที่ Windows Store ครับ
Microsoft ชี้แจงการสนับสนุน Windows 7/8.1/10 ในอนาคต ดังนี้
น่าจะเป็นข่าวดีสำหรับคอเกมผู้ที่ยังใช้งาน Windows รุ่นเก่า เมื่อ Larry Hryb หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ Major Nelson หนึ่งในทีมงานแผนก Xbox ได้เผยแพร่ข้อความผ่านทาง Twitter ว่า Windows 7 และ 8.1 สามารถใช้งานคอนโทรลเลอร์ของ Xbox One แบบไร้สายผ่านตัวรับสัญญาณได้แล้ว จากที่ตอนแรกจำกัดการใช้งานแบบไร้สายเฉพาะบน Windows 10 เท่านั้น
ที่มา - @majornelson
ไมโครซอฟท์ปล่อยเฟิร์มแวร์ Surface 3 และ Surface 3 LTE รอบเดือนพฤศจิกายน โดยปรับปรุงดังนี้
ไมโครซอฟท์ได้ปล่อยเฟิร์มแวร์สำหรับ Surface Book และ Surface Pro 4 ที่เพิ่งเริ่มวางขายไปหมาดๆ โดยได้รวมชุดอัพเดตไดรเวอร์ของกล้องเพื่อเปิดใช้งานฟีเจอร์ Windows Hello, ปรับปรุงเสถียรภาพของการแสดงผลและประสิทธิภาพหน่วยความจำ
ส่วนเฟิร์มแวร์สำหรับ Surface Pro 3 นั้นได้อัพเดตเพื่อเพิ่มการรองรับอุปกรณ์เสริมชุดใหม่อย่าง Microsoft Surface Dock ตัวใหม่และไดรเวอร์สำหรับ Surface Pro 4 Type Cover มีรายละเอียดดังนี้
เว็บไซต์ Ars Technica ทดสอบติดตั้ง Windows 10 บนฮาร์ดแวร์ชุดเดียวกับ Windows 7 และ Windows 8.1 ผลออกมาว่า Windows 10 ทำดีกว่าทุกจุด ทั้งพื้นที่ฮาร์ดดิสก์, หน่วยความจำ และเวลาในการบูต
สำหรับคนที่อัพเกรดมาจาก Windows 7 จะเห็นผลชัดเจนกว่า โดยเฉพาะพื้นที่ฮาร์ดดิสก์และเวลาบูตเครื่องที่ลดลงไปมาก โดยเฉลี่ยแล้ว Windows 10 ใช้พื้นที่เก็บข้อมูลน้อยกว่า Windows 7 ที่เพิ่งติดตั้งใหม่ราว 5-6GB และถ้าเทียบกับ Windows 7 ที่ลงอัพเดตครบถึงตัวล่าสุดแล้ว การติดตั้ง Windows 10 แบบ clean install อาจประหยัดพื้นที่ได้ถึง 15-16GB ส่วนประเด็นเรื่องเวลาบูตเครื่องก็ลดลงเกือบครึ่งหนึ่งจากเดิม
เว็บไซต์ WinBeta เผยว่า Windows RT 8.1 Update 3 จะมากับเมนู Start โดยที่จะไม่ใช่เมนู Start แบบ Windows 10 ที่จะถูกเปิดตัว 29 ก.ค. นี้ แต่จะเป็นเมนู Start ที่ถูกพัฒนาขึ้นบน DirectUI สมัย Windows 10 Technical Preview รุ่นทดสอบแรกๆ แทน
เหตุผลที่ไมโครซอฟท์ทำแบบนี้เพราะเมนู Start แบบ DirectUI ถูกทำขึ้นจากโค้ดของ Windows 8.1 ซึ่งไม่ได้ใช้ API ใหม่ แต่เมนู Start บน Windows 10 รุ่นตัวจริง (RTM) นั้นจะถูกพัฒนาขึ้นบน XAML และมีการเรียกใช้ API หลายตัวเฉพาะของ Windows 10 เท่านั้น
เว็บไซต์ WinSuperSite ได้รับการยืนยันจากไมโครซอฟท์ว่า Windows 10 จะไม่มีฟีเจอร์ซิงค์เลย์เอาท์เมนู Start และแอพที่ลงจาก Windows Store ไปยังอุปกรณ์ต่างๆ ที่ถูกผูกด้วย Microsoft Account เดียวกัน ซึ่งเคยปรากฏบน Windows 8/8.1
ไมโครซอฟท์ให้เหตุผลในการตัดฟีเจอร์ซิงค์เลย์เอาท์เมนู Start ว่า พบว่าผู้ใช้ต้องการปรับแต่งเมนู Start ให้เข้ากับแต่ละอุปกรณ์ที่เขาใช้งาน (อาทิ ตามขนาดหน้าจอ) ส่วนเหตุผลในการตัดฟีเจอร์ซิงค์แอพที่ลงจาก Windows Store ทาง WinSuperSite คาดว่าข้อมูล telemetry จากผู้ใช้ Windows 8/8.1 แสดงให้เห็นว่ามีคนใช้ฟีเจอร์ดังกล่าวน้อย
ที่มา: WinSuperSite
แม้ไมโครซอฟท์จะเลิกสนับสนุน Windows XP ไปแล้ว เมื่อปี 2014 ที่ผ่านมา ทว่าก็ยังมีผู้ใช้อยู่จำนวนมาก ในระดับที่มากกว่า Windows 8.1 มาเป็นระบบปฏิบัติการที่มีผู้ใช้มากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในตลาด แต่ในวันนี้ Windows 8.1 ก็สามารถปลดป้ายแห่งความเป็นอันดับ 2 มาอย่างยาวนานของ Windows XP ลงได้แล้ว
NetMarketShare รายงานส่วนแบ่งการตลาดของระบบปฏิบัติการบนเดสก์ทอป ประจำเดือนมิถุนายน 2015 โดยในภาพรวม Windows ยังคงครองความเป็นเจ้าตลาด อยู่ที่ 90.85% ตามมาด้วย Mac OS 7.54% และ Linux 1.61%
เมื่อแบ่งแยกเป็นเวอร์ชัน พบว่า Windows 7 ยังคงครองแชมป์ ที่ 60.98% ขณะที่ Windows 8.1 ตามมาในอันดับสองที่ 13.12% เพิ่มขึ้นจาก 12.88% และ Windows XP มาในอันดับสาม อยู่ที่ 11.98% ลดลงจาก 14.6%