เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีประเด็นว่า Elon Musk ทวีตจะติดตั้งฟาร์มแบตเตอรี่ในรัฐ South Australia ให้ได้ภายใน 100 วัน ไม่งั้นก็จะไม่คิดเงิน เพื่อแก้ปัญหาไฟดับที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง จนเกิดการพูดคุยเจรจาไม่ว่าจะด้านกฎหมาย เงินทุนหรือพาร์ทเนอร์ของภาคส่วนต่างๆ ขึ้น
ล่าสุดการเจรจาลุล่วงแล้ว โดยทาง Tesla ร่วมกับพาร์ทเนอร์ Neoen บริษัทด้านพลังงานจากฝรั่งเศส เซ็นสัญญากับรัฐบาลออสเตรเลีย เพื่อติดตั้ง Powerpack หรือฟาร์มแบตเตอรี่ Lithium-ion ขนาด 129 เมกะวัตต์ชั่วโมง ใกล้กับเมือง Jamestown รัฐ South Australia ร่วมกับฟาร์มพลังงานลมของ Neoen ภายใต้เงื่อนไขติดตั้งฟาร์มแบตเตอรี่ให้เสร็จภายใน 100 วันตามที่ Musk เคยลั่นวาจาเอาไว้ด้วย
ก่อนหน้านี้เราไม่เห็นข่าวคราวของ Tesla เกี่ยวกับการตั้งโรงงานผลิตรถยนต์นอกสหรัฐอเมริกามากนัก จะมีก็แต่อินเดียที่เคยยื่นข้อเสนอให้ Tesla ไปเปิดโรงงานที่ประเทศตัวเอง ล่าสุดโฆษกของ Tesla เปิดเผยแล้วว่าบริษัทฯ กำลังเจรจากับหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Municipal Government) เพื่อตั้งโรงงานในจีน
โฆษกของ Tesla ระบุว่าบริษัทฯ กำลังเจรจากับเมืองเซี่ยงไฮ้และศึกษาความเป็นไปได้ที่จะตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ในจีน เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดจีน รวมถึงดูความเป็นไปได้ที่จะตั้งโรงงานในส่วนอื่นของโลกเช่นกัน ซึ่งในปีที่แล้วรายได้ถึง 15% ของ Tesla มาจากตลาดจีน
Waymo บริษัทพัฒนารถไร้คนขับภายใต้ Alphabet ประกาศดึงตัว Satish Jeyachandran อดีตผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมฮาร์ดแวร์ มานำทีมฮาร์ดแวร์ของ Waymo
Satish จะเข้ามาดูแลการพัฒนาฮาร์ดแวร์ด้านการมองเห็นของรถไร้คนขับอย่างกล้อง, เรดาร์ และ เซ็นเซอร์ LiDAR รวมถึงประสานงานกับฝ่ายซอฟต์แวร์ ทั้งนี้ Satish ทำงานกับ Tesla ถึง 7 ปีก่อนจะลาออกช่วงต้นปีที่ผ่านมา
ที่มา - Bloomberg
Recode รายงานว่า ตอนนี้ Tesla ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่เริ่มต้นการคุยกับอุตสาหกรรมเพลง คาดว่าน่าจะเริ่มทำบริการสตรีมมิ่งเพลงให้บริการผู้ใช้รถยนต์ในอนาคต
แหล่งข่าวของ Recode ในอุตสาหกรรมเพลงเผยว่า Tesla กำลังอยู่ในระหว่างการเจรจากับค่ายเพลงรายใหญ่เกี่ยวกับไลเซนส์ที่จะใช้กับบริการสตรีมมิ่ง โดย Tesla น่าจะรวมบริการนี้เข้ากับรถยนต์ตัวเอง ซึ่งปัจจุบันรถยนต์ Tesla ก็มีแผงคอนโซลอันไฮเทคและการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว การอัพเดตซอฟต์แวร์เพื่อเพิ่มฟีเจอร์สตรีมมิ่งให้ผู้ใช้รถยนต์จึงไม่ใช่เรื่องที่ลำบากแต่อย่างใด
ปกติแล้วรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model S P100D สามารถวิ่งได้ระยะทางราว 500 กิโลเมตรต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง แต่ล่าสุดมีชายสองคนจากประเทศเบลเยี่ยมได้ทดลองขับรถแบบตั้งใจประหยัดสุดๆ หรือที่เรียกว่า Hypermiling ผลออกมาว่าขับได้ไกลถึง 900 กิโลเมตร
สถิติการขับ Tesla แบบประหยัดเดิมเป็นของ Casey Spencer ที่ขับรถรุ่น Model S 85D ได้ระยะทาง 885.62 กิโลเมตร จากการชาร์จหนึ่งครั้ง ซึ่งขณะนี้ Steven Peeters และ Joeri Cools จากประเทศเบลเยี่ยมก็ทำลายสถิตินี้ได้สำเร็จ พวกเขาเลือกขับในเส้นทางที่เป็นรอบ แทนที่จะขับทางไกลไปเรื่อยๆ โดยให้เหตุผลว่าการขับวนซ้ำๆ อยู่ที่เดิมจะทำให้พวกเขาเข้าใจทุกๆ โค้ง และขับได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งระยะทาง 1 รอบคือ 26 กิโลเมตร
เป้าหมายหลักอย่างหนึ่งของ Tesla คือการให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยเป็นอย่างมาก โดยก่อนหน้านี้ Tesla Model S รถยนต์ซีดานก็ได้รับการจัดอันดับความปลอดภัย 5 ดาวโดย National Highway Traffic Safety Administration (NHTSA) มาก่อนแล้ว ล่าสุด Tesla Model X รถยนต์ SUV ก็ได้รับการจัดอันดับ 5 ดาวเช่นกัน
Tesla ระบุว่า Model X ได้คะแนน 5 ดาวในทุกการทดสอบ ทั้งในหมวดหมู่หลัก และหมวดหมู่ย่อย ส่งผลให้ Model X เป็นรถยนต์ SUV รุ่นแรกที่ได้คะแนนระดับนี้เท่าที่เคยมีการทดสอบมา และมีความน่าจะเป็นที่จะพลิกคว่ำต่ำที่สุดในประเภทรถ SUV ด้วยกัน ซึ่งเป็นผลมาจากการวางแบตเตอรี่ที่พื้นรถ ทำให้จุดศูนย์ถ่วงอยู่ต่ำนั่นเอง
ความพิเศษอย่างหนึ่งของรถยนต์ Tesla คือมีเครือข่ายสถานีชาร์จด่วน หรือ Supercharger กระจายอยู่จำนวนมาก เพื่อรองรับความต้องการของผู้ที่เดินทางไกลและไม่สามารถรอชาร์จปลายทางได้ แต่ล่าสุดมีคนตั้งข้อสังเกตไปถึง Elon Musk ทางทวิตเตอร์ว่าที่มาของไฟฟ้าที่สถานี Supercharger เหล่านี้ก็มาจากถ่านหินอยู่ดี
เรื่องนี้เริ่มต้นมาจากที่ Elon Musk ได้ทวีตเล่าว่าจุดกำเนิดของบริษัท Tesla นั้นมาจากการที่ General Motors เคยเรียกคืนรถยนต์ไฟฟ้ารุ่น EV1 เนื่องจากขาดทุนและมีปัญหาเกี่ยวกับหัวชาร์จ ซึ่ง GM ประกาศยกเลิกโครงการรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมดในปี 2003 และจัดการทำลายรถยนต์ EV1 ทิ้งเรียบ
Elon Musk เคยเปรยเรื่องรถบรรทุกพลังงานไฟฟ้าในแผนการขั้นสุดยอด พาร์ท 2 - Master Plan, Part Deux ไปแล้วว่าตอนนั้นอยู่ในขั้นวิจัย ล่าสุดโครงการนี้ดูเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น เมื่อ Musk ได้เผยในงานประชุมผู้ถือหุ้น Tesla ประจำปีว่ากำลังร่วมงานกับบริษัทผลิตรถบรรทุกในการออกแบบรถบรรทุกขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้านี้อยู่
โตโยต้าประกาศขายหุ้นใน Tesla ที่เคยถืออยู่กว่า 2.3 ล้านหุ้น เป็นมูลค่าราว 480 ล้านดอลลาร์สหรัฐหมดแล้ว ถือเป็นการยุติความสัมพันธ์กับ Tesla อย่างเป็นทางการ
โตโยต้าร่วมลงทุนใน Tesla ตั้งแต่ปี 2010 มูลค่าที่ซื้อตอนนั้นราว 50 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ Tesla จะเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนของรถ RAV4 ซึ่งเป็นรถสปอร์ตครอสโอเวอร์พลังงานไฟฟ้าให้โตโยต้า ก่อนที่ปี 2014 โตโยต้าจะระงับการผลิตและขาย RAV4 และยุติบทบาทซัพพลายเออร์ของ Tesla และเทขายหุ้น Tesla เป็นจำนวนมาก
รถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model 3 เปิดตัวครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้ว (ข่าวเก่า (1), (2)) โดยวางตัวเป็นรถยนต์ไฟฟ้าระดับแมส ตั้งราคาที่คนส่วนใหญ่เอื้อมถึง (เริ่มต้นที่ 35,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.2 ล้านบาท) แต่มีคนจำนวนมากเข้าใจผิดว่า Model 3 จะเป็นตัวท็อปรุ่นใหม่ ทาง Tesla จึงเปิดหน้าเว็บเปรียบเทียบสองรุ่นนี้เพื่อแก้ความเข้าใจผิด
Tesla ระบุว่าชื่อรุ่น "Model 3" ไม่ได้หมายถึง "เวอร์ชันที่ 3" หรือรถ Tesla ที่ล้ำยุคมากที่สุด พร้อมย้ำว่า Model S ยังเป็นรถระดับพรีเมียม ที่วิ่งได้ระยะทางไกลกว่า และมีสเปกเหนือกว่า ตามด้วยตารางเปรียบเทียบสเปกคร่าวๆ และฟีเจอร์ของทั้งสองรุ่น โดยแสดงให้เห็นว่า Model S เหนือกว่าทุกด้าน ดังนี้ (Model S vs Model 3)
หากยังจำกันได้ Tesla และ SolarCity เปิดตัวกระเบื้องหลังคาผสานโซลาร์เซลล์ในชื่อ Solar Roof ไปเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความสนใจอย่างมากเพราะมาแทนที่แผงโซลาร์เซลล์แบบเดิมๆ ที่ดูไม่สวยนัก และทนทานต่อสภาพอากาศที่โหดร้ายได้ ล่าสุด Tesla ได้เผยราคาของ Solar Roof แล้ว
Tesla ระบุในบล็อกของบริษัทว่าสำหรับเคสทั่วไป การติดตั้งหลังคา Solar Roof จะมีค่าใช้จ่ายราว 21.85 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 ตารางฟุต หรือประมาณ 8,200 บาทต่อ 1 ตารางเมตร โดยเป็นหลังคา Solar Roof 35% ของพื้นที่หลังคาทั้งหมด ซึ่งราคานี้ต่ำกว่าราคาที่ Consumer Reports เคยคำนวณไว้ว่า Solar Roof ควรตั้งราคาต่ำกว่า 24.50 ดอลลาร์สหรัฐต่อตารางฟุต ถึงจะคุ้มค่า
สำนักวิจัยการตลาด Market Watch เผยว่า โรงงานสามแห่งของ Tesla ในสหรัฐฯ จะเพิ่มสมรรถภาพครั้งใหญ่โดยใช้หุ่นยนต์เข้าช่วยในการผลิตมากขึ้น และ Elon Musk เชื่อว่า หุ่นยนต์จะช่วยเพิ่มกำลังผลิตรถเป็น 5 เท่าภายในปีหน้า และอาจทำให้บริษัทมีมูลค่าการตลาดเทียบเท่า Apple
หนึ่งในโรงงานของ Tesla ที่แคลิฟอร์เนียมีกำลังผลิตรถ 1 แสนคันต่อปี ปัจจุบันอยู่ระหว่างยกระดับคุณภาพการผลิต โดยจะใช้หุ่นยนต์ช่วยผลิตมากขึ้น
Elon Musk เคยพูดไว้เมื่อปี 2015 ว่า ถ้าบริษัทสามารถรักษาการเติบโตได้ 50% และทำกำไรได้เป็นระยะเวลา 10 ปี มูลค่าบริษัทตามราคาตลาดของเราจะไม่ต่างกับ Apple เลย
แน่นอนว่าหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนยังไม่เชื่อมั่นในรถยนต์ไฟฟ้าคือจำนวนสถานีชาร์จ ที่หากมีไม่พอต่อความต้องการ อาจทำให้ไม่สามารถเดินทางไกล หรือใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง ซึ่ง Tesla ถือเป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเจ้าแรกๆ ที่แก้ปัญหานี้ด้วยการใช้สถานีชาร์จด่วน หรือ Supercharger ที่ใช้เวลาชาร์จเพียง 30 นาทีก็เดินทางต่อได้อีกราว 270 กิโลเมตร
Tesla โพสต์บนบล็อกของบริษัทว่าเมื่อขายรถได้มากขึ้น ความสำคัญของเครือข่ายสถานีชาร์จก็มากขึ้นตาม ซึ่งบริษัทถือว่าการชาร์จที่สะดวก, มีจำนวนมากพอ และเชื่อถือได้นั้นเป็นภารกิจสำคัญอย่างมาก โดยเมื่อต้นปี 2017 มีสถานี Supercharger ทั่วโลกอยู่ 5,000 จุด ซึ่ง Tesla ตั้งเป้าขยายให้มากกว่า 10,000 จุด และเพิ่มสถานีชาร์จธรรมดาตามห้างสรรพสินค้า, โรงแรม, ร้านอาหาร ฯลฯ ให้มากกว่า 15,000 จุดภายในสิ้นปีนี้ รวมแล้วจะมีสถานีชาร์จมากกว่า 25,000 จุด เพื่อรองรับรถยนต์ Tesla ทั่วโลกที่ขณะนี้มีมากกว่า 200,000 คันแล้ว
Elon Musk ซีอีโอ Tesla เปิดเผยแผนการขั้นต่อไปของบริษัทผ่านทวิตเตอร์ของเขาเอง ว่าจะเปิดตัวรถรุ่นใหม่ที่เป็นกึ่งรถบรรทุก (Semi Truck) ในเดือนกันยายนนี้
แผนการของ Tesla หลังเปิดตัว Model 3 ที่เป็นรถเก๋งซีดานราคาถูก คือการพัฒนารถยนต์พลังงานไฟฟ้าในรูปแบบอื่นๆ นอกจากรถบรรทุกแล้ว Musk ยังบอกว่าจะเปิดตัวรถกระบะ (pick up) ตามมาใน 18-24 เดือน และจะนำรถสปอร์ต Tesla Roadster รถยนต์รุ่นแรกของบริษัทกลับมาทำใหม่เป็นแบบเปิดกระทุนพับหลังคาได้ (convertible) อีกด้วย
เขายังตอบคำถามในทวิตเตอร์ว่าจะเปิดตัว Model 3 ที่ผลิตเสร็จแล้วในเดือนกรกฎาคมนี้
ในการประชุมกับนักวิเคราะห์หลังแถลงผลประกอบการไตรมาสที่ผ่านมา Elon Musk ซีอีโอ Tesla Motors ถูกถามว่าในแผนการพัฒนารถยนต์อัจฉริยะ เขากังวลเรื่องใด? คำตอบของ Musk คือ การหาที่จอดรถ
WSJ รายงานว่าปัญหาใหญ่ตอนนี้ในสำนักงานของ Tesla ทั้งที่สำนักงานใหญ่ใน Palo Alto และโรงงานใน Fremont นั่นคือที่จอดรถมีไม่เพียงพอกับจำนวนพนักงาน ซึ่งมีการรับเป็นจำนวนเพิ่มขึ้นมากช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
ความวุ่นวายของที่จอดรถใน Tesla นั้นถึงขนาดมีพนักงานคนหนึ่งสร้างบัญชีบน Instagram @teslaparkinglot เพื่อเผยแพร่ภาพความวุ่นวายแต่ละวันในลานจอดรถพนักงาน
ทั้งนี้ Elon Musk ก็ให้ความสำคัญกับปัญหานี้อย่างมาก เขาเสนอแนวทางทั้งเพิ่มรถรับส่ง, แนะนำให้ใช้จักรยาน ตลอดจนมีแผนสร้าง Loop เพื่อขนส่งพนักงานในอนาคต
มูลค่าบริษัทตามราคาหุ้น (market capitalization) ของ Tesla, Inc. สามารถแซงหน้าบริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่อันดับหนึ่งของอเมริกาอย่าง GM (General Motors) ได้เรียบร้อยแล้ว ส่งผลให้ Tesla กลายเป็นบริษัทรถยนต์ที่มีมูลค่ามากที่สุดในสหรัฐอเมริกา
มูลค่าบริษัทของ Tesla พุ่งตามราคาหุ้นขึ้นไปที่ 51 พันล้านดอลลาร์ ตัวเลขนี้สูงกว่ามูลค่าของ GM ราว 1.7 พันล้านดอลลาร์ สะท้อนให้เห็นความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อ Tesla ได้เป็นอย่างดี ก่อนหน้านี้ Tesla พุ่งแซงคู่แข่งอีกรายคือ Ford มาได้แล้ว
อย่างไรก็ตาม ในแง่ผลประกอบการ GM ยังนำห่าง Tesla อยู่มาก บริษัทขายรถได้ปีละ 10 ล้านคัน ในขณะที่ Tesla ขายได้ปีละ 80,000 คัน
วันนี้ Tesla Motors มีมูลค่าตลาดแซง GM (General Motors) ขึ้นเป็นบริษัทผลิตรถยนต์ที่มีมูลค่าใหญ่เป็นอันดับหนึ่งในสหรัฐแล้ว (อันดับหนึ่งของโลกยังคงเป็น Toyota อยู่) หลังจากที่เพิ่งจะแซง Ford ที่เป็นอันดับสองมา หลังจากการซื้อขายเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา
หนึ่งในปัจจัยที่ดันให้ Tesla มี Market Cap แซงได้เนื่องมาจากยอดขายในไตรมาสแรกของทั้ง Ford และ GM ดูไม่ค่อยดีนัก ในขณะที่ยอดขาย Tesla Model S และ Model X ยังเป็นไปได้ดี นอกจากนั้นยังคาดว่าจะเริ่มขาย Model 3 ซึ่งเป็นรุ่นที่ราคาถูกสุดได้ภายในสิ้นปีนี้อีกด้วย
Tesla เพิ่งปล่อยซอฟต์แวร์อัพเดตเวอร์ชัน 8.1 ออกมา มีการปรับปรุงฟีเจอร์ Autopilot และ UI จำนวนหนึ่ง แต่ยังไม่หมดแค่นั้น เพราะ Tesla ได้เพิ่ม Easter Egg หรือลูกเล่นขำๆ มาในอัพเดตนี้ด้วย
Easter Egg อันใหม่นี้คือ "โปรแกรมวาดรูป" สามารถเข้าถึงได้ด้วยการแตะที่โลโก้ตัว T บนหน้าจอ 3 ครั้งแล้วทั้งหน้าจอจะเปลี่ยนเป็นสีขาวทั้งจอ มีเพียงแถบเลือกสีปากกาและยางลบเท่านั้น และหลังวาดเสร็จสามารถส่งรูปกลับไปให้ Tesla ได้ด้วย โดยตามข่าวระบุว่ารูปวาดของเราจะถูกส่งออกไปจริงๆ
Elon Musk ซีอีโอของบริษัทยังได้ทวีตรูปที่เขาวาดขึ้น 2 รูปด้วย ดูได้ท้ายข่าว
ตอนนี้บริษัททำรถไร้คนขับไม่ใช่แค่เจ้าสองเจ้าแล้ว แต่มีอีกมากมายทั้งบริการแชร์รถ และแบรนด์รถยนต์ ตลาดรถไร้คนขับกำลังโต วิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านนี้จึงเนื้อหอม และแม้ว่าจะจ้างในเงินเดือนราคาแพงลิบ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะรักษาไว้ได้ตลอด อย่างเช่นตอนนี้ที่บริษัท Google, Uber เจอปัญหาสมองไหล เพราะพนักงานลาออกไปเปิดบริษัทของตัวเอง บ้างก็โดนซื้อตัว
หลังจากที่ Elon Musk เคยทวีตไว้ว่าจะปล่อยซอฟต์แวร์อัพเดตเวอร์ชัน 8.1 ให้รถยนต์ Tesla ในวันที่ 28-29 มีนาคม ล่าสุดผู้ใช้รถเริ่มได้รับอัพเดตดังกล่าวแล้ว
ซอฟต์แวร์เวอร์ชัน 8.1 โฟกัสไปที่การปรับปรุงฟีเจอร์ที่เกี่ยวกับการขับอัตโนมัติ 2 อย่าง และต้องบอกก่อนว่า 2 อย่างนี้อัพเดตให้เฉพาะรถยนต์ที่ผลิตตั้งแต่เดือนตุลาคม 2016 เท่านั้น โดยเป็นรถยนต์ที่มาพร้อมฮาร์ดแวร์ Autopilot รุ่นใหม่ที่รองรับการขับอัตโนมัติเต็มรูปแบบในอนาคต เรียกว่า Autopilot 2.0 แต่จนถึงตอนนี้มีความสามารถ 2 อย่างนี้ด้อยกว่าฮาร์ดแวร์เก่า (Autopilot 1.0) อัพเดตนี้จึงเป็นการเพิ่มความสามารถให้เท่าฮาร์ดแวร์เก่า
Tencent บริษัทอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ของจีน ได้รายงานการเข้าถือหุ้น 5% ของ Tesla โดยมีมูลค่า ณ วันที่เข้าซื้อราว 1,700 ล้านดอลลาร์ ทำให้บริษัทจีนรายนี้กลายเป็นหนึ่งในผู้ถือใหญ่ของ บริษัทรถยนต์ที่มาแรง ซึ่งมี Elon Musk เป็นผู้บริหาร
ที่ผ่านมา Tencent ได้เข้าลงทุนในกิจการดาวรุ่งหลายอย่าง อาทิ Snap ในฐานะนักลงทุนรุ่นแรกก่อนเข้าตลาดหุ้น มีการลงทุนใน Nio บริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ของจีน จนถึง Didi Chuxing แอพ Ride-Sharing ที่ทำให้ Uber ต้องขายกิจการในจีน
การลงทุนของ Tencent นี้ ทำให้เห็นความสนใจในรถยนต์แห่งอนาคตได้ดีทีเดียว
เมื่อกลางปีที่แล้ว Tesla ได้เปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้า Model S 60 และ 60D ซึ่งเป็นรุ่นความจุแบตเตอรี่ต่ำสุด (60 กิโลวัตต์ชั่วโมง) เพื่อให้ขายได้ราคาถูก นับว่าเป็นรถยนต์ Tesla ราคาถูกที่สุดที่ซื้อได้ในปัจจุบัน (ประมาณ 2.5 ล้านบาท) อย่างไรก็ตาม Tesla ได้ส่งจดหมายข่าวแจ้งลูกค้าว่าตั้งแต่วันที่ 17 เมษายนเป็นต้นไปจะปิดไม่ให้สั่งรถยนต์รุ่นนี้ได้อีก
Tesla ชี้แจงว่าสุดท้ายแล้วลูกค้าส่วนใหญ่ก็ขยับไปซื้อรถรุ่น Model S 75 กันหมด จึงตัดสินใจยกเลิกรุ่น 60 เพื่อเป็นการ "ลดความซับซ้อนของการสั่งรถ"
ที่จริงแล้ว แบตเตอรี่ที่ติดตั้งอยู่ใน Model S 60 เป็นแบตเตอรี่ขนาด 75 กิโลวัตต์ชั่วโมง แต่ใช้ซอฟต์แวร์ล็อกไว้ให้ใช้งานได้แค่ 60 กิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งผู้ใช้สามารถจ่ายเงินซื้ออัพเดตเพื่อปลดล็อกความจุได้ตลอดเวลา ไม่จำเป็นต้องนำรถเข้าศูนย์บริการแต่อย่างใด โดยหลังปลดล็อกแล้วจะขับได้ไกลขึ้นราว 60 กิโลเมตร
ที่มา - Electrek
รัฐ South Australia ที่ประเทศออสเตรเลียประสบปัญหาไฟดับอยู่บ่อยครั้ง จนคนเอือมระอาและเริ่มหาพลังงานทางเลือกมาใช้อย่างจริงจัง โดยเมื่อเดือนตุลาคม 2016 รัฐนี้ได้เกิดเหตุการณ์ไฟดับครั้งใหญ่ บ้านเรือนราว 10,000 หลังคาเรือนไม่มีไฟฟ้าใช้นานกว่า 24 ชั่วโมง จนมีข่าวว่าความต้องการแบตเตอรี่ Tesla Powerwall พุ่งสูงขึ้น 30 เท่าเลยทีเดียว
ล่าสุด Lyndon Rive รองประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์พลังงานของ Tesla ได้ให้สัมภาษณ์ว่าจะดำเนินการติดตั้ง "ฟาร์มแบตเตอรี่" (battery farm) หรือที่ Tesla เรียกว่า Powerpack ที่สามารถเก็บไฟได้ 100 ถึง 300 เมกะวัตต์ชั่วโมง ภายใน 100 วัน
หลังจากนั้น Mike Cannon-Brookes มหาเศรษฐีและซีอีโอของ Atlassian บริษัทซอฟต์แวร์ของออสเตรเลียได้ทวีตถามเชิงท้าไปยัง Elon Musk ซีอีโอของ Tesla ว่าเขาจริงจังกับประเด็นนี้มากแค่ไหน ซึ่ง Elon ก็รับคำท้าโดยการตอบกลับไปว่า Tesla จะติดตั้งฟาร์มแบตเตอรี่ความจุรวม 100 เมกะวัตต์ชั่วโมงให้รัฐ South Australia ภายใน 100 วันนับตั้งแต่วันเซ็นสัญญา และถ้าทำไม่ได้จะให้ฟรีไปเลย โดยประโยชน์ของระบบนี้ก็ชัดเจนว่าเป็นแหล่งจ่ายไฟสำรองเวลาไฟดับ หรือช่วยแบ่งเบาภาระของระบบไฟฟ้าหลักเวลามีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงนั่นเอง
เกาหลีใต้เริ่มมุ่งสู่การใช้งานนรถยนต์ไฟฟ้าเต็มตัว โดยจังหวัด Gyeonggi ซึ่งตัวจังหวัดล้อมรอบกรุงโซล คล้ายปริมณฑลของกรุงเทพ ประกาศแนวทางการสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้า ด้วย 3 มาตรการหลัก
เป้าหมายของจังหวัดคือมีรถยนต์ไฟฟ้า 50,000 คันภายในปี 2020 โดยตอนนี้มีรถยนต์ไฟฟ้าเพียง 448 คัน
เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว เราเห็นข่าวของเกาะ Ta'u กลางมหาสมุทรแปซิฟิกที่ Tesla ได้ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์และแบตเตอรี่ Tesla Powerpack เพื่อให้ทั้งเกาะมีไฟฟ้าใช้โดยไม่ต้องพึ่งพาเครื่องปั่นไฟและน้ำมัน ล่าสุด เกาะ Kauai ของหมู่เกาะ Hawaii ก็เดินตามทางนี้เช่นกัน
Kauai เป็นเกาะใหญ่อันดับสี่ในหมู่เกาะ Hawaii มีพื้นที่ 1,456 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 67,000 คน อาศัยอยู่ในบ้านราว 4,500 หลังคาเรือน ก่อนหน้านี้ต้องอาศัยเครื่องปั่นไฟพลังงานน้ำมันเพื่อเลี้ยงทั้งเกาะ แต่การนำพลังงานไฟฟ้าเข้ามาช่วยจะประหยัดน้ำมันได้ราว 6 ล้านลิตรต่อปี (เสริมเฉยๆ ยังไม่เปลี่ยนเป็นไฟฟ้า 100%) ด้วยความร่วมมือตั้งแต่ปี 2014 ระหว่างหน่วยงานดูแลสาธารณูปโภคของเกาะ Kauai (KIUC), บริษัท Tesla และ Grove Farms เจ้าของที่ดินที่ใช้ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ โดยพื้นที่ตรงนั้นเคยใช้ปลูกอ้อยมาก่อน