งานใหม่ของของ เจ้าชาย Harry หลังละบทบาทในราชวงศ์ คือเป็น Chief Impact Officer ในสตาร์ทอัพ BetterUp สำนักงานใหญ่ในซานฟรานซิสโก เป็นสตาร์ทอัพแนวโค้ชชิ่ง ให้ปรึกษาสภาพจิต และพัฒนาตัวเอง
เจ้าชาย Harry ระบุว่า เขาเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดลำดับความสำคัญของสมรรถภาพทางจิต จะช่วยปลดล็อกศักยภาพและโอกาสที่เราไม่เคยรู้มาก่อนว่าเรามีอยู่ภายในตัว เขาบอกด้วยว่าได้เรียนรู้ในชีวิตอย่างหนึ่งคือ เปลี่ยนความเจ็บปวดให้เป็นจุดมุ่งหมาย
ก่อนจะเกิดเหตุโรคระบาด Facebook เคยผุดโครงการใหญ่ Willow Campus พื้นที่สำหรับทำงาน อยู่อาศัย ร้านค้าและสวนสาธารณะ เป็นการขยายพื้นที่สำนักงานใหญ่ Menlo Park แต่เมื่อโรคระบาดเข้ามา บริษัทพิจารณามาตรการ social distancing ลดความแออัดในสำนักงานในระยะยาว Facebook จึงเตรียมปรับลดขนาด Willow Campus ลง 29%
work from home กลายเป็นประเด็นที่สังคมพูดถึงกันมากในช่วงโรคระบาด แต่กลายเป็นว่าชีวิตจริงไม่ง่ายขนาดนั้นแม้แต่กับบริษัทไอทีในซิลิคอนวัลเล่ย์ก็ตาม The Wall Street Journal ไปสัมภาษณ์บุคลากรในบริษัทเหล่านั้นที่ออกนโยบายทำงานที่บ้านมา พบว่าไม่สามารถปฏิบัติตามได้ ติดปัญหาด้าน security, ข้อมูลอ่อนไหวของผู้ใช้งานทำให้ไม่สามารถนำข้อมูลนั้นไปทำงานที่บ้านได้, ตัวพนักงานไม่มีอุปกรณ์ส่วนตัวที่จะทำงานจากที่บ้านได้
Silicon Valley คือย่านรวมบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลก เป็นหนึ่งในที่ที่ใครก็อยากเข้าไปทำงาน ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าออฟฟิศของบริษัทเหล่านี้ล้วนไม่ธรรมดา เพราะมีสิ่งอำนวยความสะดวกจัดเต็ม และการเลี้ยงข้าวพนักงานฟรีก็ไม่ใช่สิ่งพิเศษอีกต่อไป
ข่าวนี้จะพาไปดูว่าสิทธิประโยชน์สุดเจ๋งของบริษัทใน Silicon Valley นั้นมีอะไรบ้าง
หลายคนคงจะพอทราบเรื่องราวของบริษัท Theranos สตาร์ทอัพอุปกรณ์ตรวจเลือดที่เคยร้อนแรงมากๆ แต่ก็ถูกมรสุมรุมเร้าอย่างรวดเร็วจากที่เคยรุ่งโรจน์กลับเป็นล้มละลาย แถมตัวซีอีโอยังถูกฟ้องฐานฉ้อโกง ล่าสุดเรื่องของ Theranos ได้ทำเป็นสารคดี ฉายที่ HBO ในชื่อว่า The Inventor: Out for Blood in Silicon Valley ฉาย 18 มีนาคมนี้
เรื่องฉาวของ Theranos มีรายละเอียดมาก เริ่มจากมีสื่อ Wall Street Journal เปิดโปงพฤติกรรมน่าสงสัยของบริษัท ไปจนถึงการตั้งคำถามว่าตกลงแล้ว ผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่ว่ากันว่าเป็นการปฏิวัติวงการตรวจเลือดนั้น ใช้ได้จริงมากแค่ไหน การทำเป็นสารคดีจึงน่าจะช่วยให้คนที่ติดตามข่าวได้เห็นภาพรวมทั้งหมดชัดเจนขึ้น
Bill Gates ผู้ร่วมก่อตั้งไมโครซอฟท์ ปกติจะมีเขียนบล็อกแนะนำหนังสือน่าสนใจที่เขาได้อ่านช่วงที่ผ่านมา (อ่าน: หนังสือ 5 เล่มที่อยากให้อ่านช่วงซัมเมอร์นี้ แนะนำโดย Bill Gates
) แต่ในบล็อกล่าสุดนั้น เขาแนะนำซีรี่ส์ที่ควรได้ชมซึ่งก็คือ Silicon Valley ซีรี่ส์ตลกของ HBO
Facebook ประกาศโครงการสร้างตึกใหม่ขยายเพิ่มเติมใน Menlo Park ในชื่ออาคาร MPK 21 ที่สร้างเสร็จแล้วและใช้เวลาสร้างประมาณ 18 เดือน ที่นอกจากจะสวยงามสมกับเป็นออฟฟิศไอทียักษ์ใหญ่ในยุคใหม่แล้ว บนหลังคายังมีสวนขนาดย่อมและแผงโซลาร์ด้วย
แม้จะเป็นงานที่เจ๋งในบริษัทเทคโนโลยีใหญ่เล็กในซิลิคอนวัลเล่ย์ ก็ใช่ว่าจะมีเงินพอซื้อบ้านในที่แพงแสนแพงอย่างซานฟรานซิสโก ผลสำรวจจาก Team Blind ระบุว่า 59% ของคนทำงานในซิลิคอนวัลเล่ย์ รวมทั้งบริษัทไอทีใหญ่ 13 แห่งในนั้น ไม่มีความสามารถทางการเงินมากพอจะซื้อบ้านในย่านนั้นได้
เวลามีแข่งขันประชันไอเดียธุรกิจสตาร์ทอัพ เรามักจะได้ยินคำพูดซ้ำๆ เช่น ธุรกิจของเราจะเปลี่ยนโลกอย่างไร เรากำลังจะ disrupt... และ ตัวเลขมูลค่าการตลาดที่เรากำลังทำธุรกิจมีค่าถึง ... พันล้านดอลลาร์ โปรดลงทุนกับเราเถิด เป็นต้น ตัวจุดประกายให้นักลงทุนสนใจลงทุนคือมูลค่าการตลาด (Total Addressable Market, TAM) ที่มหาศาล เพราะมีโอกาสโตได้มากกว่า คำถามคือ TAM ที่เหล่าสตาร์ทอัพเคลมว่าสูงนั้นจริงหรือไม่
จากกรณีมีจดหมายเวียนจากพนักงาน Google เนื้อหาตั้งคำถามถึงประเด็นเพศในองค์กร นำมาสู่การปลดพนักงานคนดังกล่าว ก่อให้เกิดคลื่นใต้น้ำเมื่อมีผู้ชายจำนวนหนึ่งระบุว่าการพยายามสร้างความเท่าเทียมชายหญิงในองค์กรไอที บางครั้งก็เลยเถิดจนกลายเป็นล่าแม่มด
ASUS ก้าวเข้าสู่วงการการลงทุนเพื่อสตาร์ทอัพ โดยร่วมมือกับ Fenox Venture Capital ทำกองทุนขนาด 50 ล้านดอลลาร์ สนับสนุนสตาร์ทอัพที่ต้องการเข้ามาในตลาดเอเชีย
Anis Uzzaman ซีอีโอ Fenox Venture Capital ระบุว่า ASUS สนใจเรื่องปัญญาประดิษฐ์ IoT AR และ VR ทาง ASUS กำลังมองหาสตาร์ทอัพที่เจาะลึกเรื่องดังกล่าวมาช่วยเสริมทัพและความสามารถของผลิตภัณฑ์ ASUS
ในกองทุนเน้นนำสตาร์ทอัพจากสหรัฐฯเข้ามาเปิดตลาดในเอเชีย ASUS สนใจจะนำเข้ามาในประเทศญี่ปุ่น จีน และไต้หวัน ซึ่ง Fenox ได้เข้ามาลงทุนไว้แล้ว Fenox ระบุว่าจะขยายไปยังประเทศอื่นในเอเชียเพิ่มเติมอีก 8 ประเทศ
การคุกคามทางเพศในซิลิคอนวัลเล่ย์เป็นประเด็นร้อนแรงในช่วงระยะหลังนี้ โดยมีผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบกล้าออกมาเปิดเผยความจริงมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้หญิงอีกมากไม่กล้าออกมาเปิดเผยความจริงเพราะกลัวจะเสียตำแหน่งงานไป
ผู้ประกอบการหญิงบางส่วนในซิลิคอนวัลเล่ย์จึงร่วมมือกันสร้างเว็บไซต์ BetterBrave ที่ระบุข้อมูลทางกฎหมายหากเจอเหตุการณ์คุกคามทางเพศ ระบุสิ่งที่ต้องทำ know-how เพื่อแก้ไขปัญหา หลักการของแพลตฟอร์มคือทำเนื้อหากฎหมายให้อ่านง่าย รวมทั้งวิธีรับมือหากถูกขู่กรรโชก และมีเครื่องมือให้ติดต่อทนายความผ่านเว็บไซต์ได้ด้วย
เว็บไซต์ New York Times ตีแผ่ปากคำของผู้หญิงจำนวนหนึ่งที่ทำงานในซิลิคอนวัลเล่ย์ ต่อประเด็นคุกคามทางเพศจากบรรดานักลงทุน โดยกลุ่มนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ New York Times ระบุว่ายังมีอีกเป็นโหล ที่ไม่กล้าออกมาพูดอะไรเพราะกลัวกระทบหน้าที่การงาน และเป็นความจริงที่น่าเจ็บปวดที่ได้รู้ว่า ผู้หญิงหลายคนถูกสั่งห้ามไม่ให้แพร่งพรายเรื่องนี้ ไม่เช่นนั้นจะโดนไล่ออก
สาเหตุสำคัญที่ทำให้อูเบอร์ต้องปฏิรูปวัฒนธรรมองค์กรระลอกใหญ่ คือมีผู้บริหารระดับสูงคุกคามทางเพศต่อพนักงานหญิงจนเป็นข่าวฉาว และไม่เพียงอูเบอร์ แต่เป็นปัญหาที่มีอยู่ทุกหย่อมหญ้าในซิลิคอนวัลเล่ย์
อย่างไรก็ตาม ยังไม่ค่อยมีคนพูดถึงปัญหาดังกล่าวในวงการการลงทุน ล่าสุดมีรายงานข่าวว่าผู้หญิงหกคน กล่าวหา Justin Caldbeck ผู้บริหารระดับสูงของในบริษัทลงทุนเทคโนโลยี Binary Capital ว่าเขามีพฤติกรรมคุกคามทางเพศ
การได้เข้าทำงานบริษัทไอทีชื่อดังในสหรัฐฯ ไม่ได้การันตีความเสมอภาคในการทำงานเสมอไป ผลวิจัยในสหรัฐฯเผยว่า 40% ของคนที่ลาออกจากงานไอทีในสหรัฐฯ มีสาเหตุเพราะการเลือกปฏิบัติ (unfairness) กลั่นแกล้งกันในที่ทำงาน (bullying) รวมถึงทัศนคติคนวงการไอทีที่ค่อนข้างเหยียดเพศ-เหยียดสีผิว
ผลสำรวจจาก Kapor Center for Social Impact และ Harris Poll สำรวจคนทำงานไอทีในสหรัฐฯ 2,000 คน ที่ลาออกจากงานไอทีในรอบสามปีที่ผ่านมา เผยว่าผู้หญิง 1 ใน 10 ต้องเจอประสบการณ์การคุกคามทางเพศ (unwanted sexual attention) และ 1 ใน 4 คนที่เป็นคนผิวสีลาออกจากงานไอทีเพราะต้องเจอกับการเลือกปฏิบัติ (discrimination)
แคนาดาช่วงหลังๆ มานี้ลงทุนหนักมากเรื่องเทคโนโลยี ไม่เพียงภาครัฐ แต่ภาคเอกชนและการศึกษาต่างทยอยเปิดศูนย์วิจัย โดยเฉพาะในโตรอนโต ที่อาจเรียกได้ว่าจะเป็นซิลิคอนวัลเล่ย์แห่งใหม่ในอนาคตได้
อีกปัจจัยกระตุ้นให้แคนาดาเดินหน้าได้เร็วขึ้นคือนโยบายของโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ค่อนข้างปิดกั้นชาวต่างชาติ บรรดาวิศวกรนักพัฒนาเก่งๆ จากต่างประเทศก็จะหันไปหาแหล่งงานแห่งใหม่ในแคนาดาแทนในสหรัฐอเมริกา
ตัวเลขคนสหรัฐฯ ที่มาสมัครงานไอทีในแคนาดาพุ่งสูงขึ้นมาก Roy Pereira ซีอีโอบริษัท Zoom.ai ระบุว่าไม่เคยเห็นตัวเลขสมัครงานเยอะขนาดนี้ ส่วนใหญ่เป็นคนอเมริกัน มหาวิทยาลัยโตรอนโตมีนักศึกษาจากสหรัฐฯมาสมัครเรียนช่วงสิ้นปี 2016 มากขึ้น 70% (ก่อนทรัมป์จะออกนโยบายแบนชาวต่างชาติใน 7 ประเทศ)
ไม่เพียงแต่ปัญหาภายในประเทศไทย Uber ก็กำลังมีปัญหาเชิงวัฒนธรรมองค์กรในสหรัฐ ไล่มาตั้งแต่ประเด็น #DeleteUber เพราะสนับสนุน Trump ตามมาด้วยปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศในองค์กร และล่าสุดประเด็นเรื่องซีอีโอโต้เถียงกับคนขับ
อย่างไรก็ตามปัญหาที่ยังคงคาราคาซังและเป็นกระแสโจมตีในสหรัฐอยู่ คือเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศ เนื่องจากหลังการเปิดเผยของอดีตวิศวกรซอฟต์แวร์หญิงในครั้งนั้น ยังมีอดีตพนักงานหญิงออกมาแฉกระล่วงละเมิดทางเพศ และวัฒนธรรมองค์กรที่เน่าเฟะของ Uber อีกถึง 2 ราย
เกม The Founder หรือที่เข้าใจกันง่ายๆ คือเกม The Sims สำหรับสตาร์ทอัพนั่นเอง คอนเซปต์เกมคือสร้างสตาร์ทอัพของคุณเองลงไป ตั้งชื่อ คิดผลิตถัณฑ์ คิดแผนการตลาด หานักลงทุน และรอดูความล้มเหลว ทำไมถึงล้มเหลวงั้นหรือ? เพราะ The Founder คือเกมที่ตีแผ่ด้านมืดสตาร์ทอัพยังไงล่ะ
Hugo Barra อดีตผู้บริหารระดับสูงฝั่ง Android ของกูเกิล ซึ่งย้ายไปดำรงตำแหน่งรองประธานของ Xiaomi Global ตั้งแต่ปี 2013 จนถึงปัจุบัน ประกาศลาออกจาก Xiaomi แล้ว
Barra ประกาศผ่านหน้าเฟซบุ๊กของตนว่าจะลาออกจาก Xiaomi และย้ายกลับมาอยู่ที่ Silicon Valley โดยเขาบอกว่าระยะเวลา 3 ปีครึ่งที่ผ่านมาเป็นการผจญภัยที่ยิ่งใหญ่และท้าทายที่สุดในชีวิตของเขา และขณะนี้ Xiaomi อยู่บนจุดสำคัญในการขยายออกสู่ตลาดโลก
อย่างไรก็ตาม เขาระบุว่าสภาพแวดล้อมในการทำงานได้ส่งผลต่อสุขภาพของเขา จึงอาจเป็นเหตุผลในการลาออกคราวนี้
สตีฟ แบนนอน (Steve Bannon) เป็นนักธุรกิจด้านสื่อ เคยแสดงความเห็นเหยียดเชื้อชาติ-เหยียดผิวค่อนข้างมาก แต่เขากำลังเป็นว่าที่มือขวาคนสำคัญของโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ดึงมาทำงานด้านยุทธศาสตร์ ล่าสุดมีข้อมูลว่าเขาเคยวิจารณ์คนไอทีในซิลิคอนวัลเล่ย์ว่าประกอบด้วยคนเอเชียและผู้อพยพมากเกินไป
แบนนอน พูดเรื่องนี้ไว้เมื่อปีที่แล้วระหว่างสัมภาษณ์พูดคุยกับทรัมป์ แต่สำนักข่าว The Washington Post ขุดขึ้นมาอีกรอบเมื่อวานนี้
ในการสัมภาษณ์คราวนั้น ทรัมป์พูดกับแบนนอนเรื่องนักศึกษาในกลุ่มมหาวิทยาลัยไอวี่ลีก (Ivy League กลุ่มมหาวิทยาลัยชั้นนำของสหรัฐ) โดยทรัมป์เป็นห่วงว่าคนที่มาเรียน เมื่อจบแล้วจะกลับไปทำงานที่ประเทศของตัวเอง ทรัมป์มองว่าต้องพยายามรักษาให้คนเก่งอยู่ในสหรัฐให้ได้
หลังผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งโดนัลด์ ทรัมป์ ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดี บรรดาซีอีโอของบริษัทไอทีหลายแห่งของอเมริกา ก็ต่างเขียนอีเมลถึงพนักงานในบริษัท อธิบายถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและเรียกขวัญกำลังใจพวกเขา แต่ก็มีบางถ้อยคำที่แสดงให้เห็นมุมมองต่อผลการเลือกตั้งนี้
การที่เหล่าซีอีโอจะมองการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ดีนักก็ไม่แปลกนัก เนื่องจากนโยบายของโดนัลด์ ทรัมป์มีท่าทีต่อต้านเทคโนโลยี ซึ่งลามมาจนถึงเสนอแยกแคลิฟอร์เนียออกจากอเมริกา แต่พวกเขาก็ล้วนแสดงความยินดีกับประธานาธิบดีคนใหม่ รวมทั้งยังมีถ้อยคำที่ให้กำลังใจพนักงาน เช่น Tim Cook บอกว่าถึงอย่างไรทุกคนก็ยังต้องเดินหน้าต่อไป เช่นเดียวกับคนอื่นซีอีโอคนอื่นที่ให้พนักงานตั้งใจทำงานกันต่อไป
ยังคงอยู่ในภาวะช็อกทั่วโลกเมื่อโดนัลด์ ทรัมป์ ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดี บางพื้นที่ในสหรัฐฯ มีการเดินประท้วงกันแล้วหลังรู้ผลไม่กี่ชั่วโมง มีแฮชแทก #calexit แคมเปญขอให้มลรัฐแคลิฟอร์เนียแยกตัวเองออกมาจากสหรัฐ ร่อนเต็มทวิตเตอร์
คนแคลิฟอร์เนียส่วนใหญ่เป็นสายพรรคเดโมแครต และยังเป็นเมืองเศรษฐกิจทั้งของสหรัฐฯและของโลก จึงไม่แปลกใจกับปฏิกิริยาชาวเมืองเหล่านี้
แต่ที่น่าสนใจคือแนวคิด #calexit ได้รับการสนับสนุนจากบรรดานักลงทุนในซิลิคอนวัลเล่ย์ด้วย เช่น Shervin Pishevar นักลงทุนในอูเบอร์ และ Hyper Loop และ Jason Calacanis ที่เป็น angel investor ชื่อดัง
อย่างที่รู้กันว่าสายงานไอที โดยเฉพาะงานในซิลิคอนวัลเล่ย์ การแบ่งแยกทางเพศ เชื้อชาติ สีผิว และแม้กระทั่งอายุในทีมงานยังเป็นปัญหาใหญ่ที่แก้กันมานานแล้ว แม้มีการลงนามให้แก้ปัญหานี้กันมาหลายปีแล้ว แต่การพึ่งพาการเปลี่ยนแปลงในภาคใหญ่หรือทางกฎหมายอย่างเดียวคงไม่พอ
ตัวบุคคลที่ใจรักสายไอทีจริงๆ แต่ไม่ได้อยู่ในแพทเทิร์นที่นิยมมานานอย่างการเป็นผู้ชาย ผิวขาว อายุไม่เกิน 30 ปี จบจากสถาบันชั้นนำ Ivy League ก็ต้องปรับตัวด้วยซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านการจ้างงานแบบไม่แบ่งแยกมีทริคมาบอกให้ฟัง
ด้านมืดสตาร์ทอัพยังคงมีและดำเนินอยู่ต่อไป ล่าสุดมีกรณีโกงเงินพนักงานของบริษัทตัวเอง โดยเอาสลิปเงินเดือนปลอมที่ผ่านการแต่งรูปภาพให้ดูเหมือนของจริง ส่งให้พนักงานเพื่ออ้างว่าจ่ายเงินเดือนตามปกติ แต่เอาเข้าจริงไม่มีเงินเข้าบัญชี
เรื่องนี้เจ้าทุกข์คืออดีตพนักงาน Penny Kim เขียนลงในบล็อกและมีคนเข้าไปอ่านมากมาย
วันนี้สำนักข่าว Techcrunch รายงานว่า Skully บริษัทสตาร์ทอัพผลิตหมวกกันน็อคอัจฉริยะเพื่อความปลอดภัยบนท้องถนนสำหรับนักบิด ก่อตั้งโดยสองพี่น้อง Mitch และ Marcus Weller อยู่ในระดับซีรี่ส์ B ประกาศปิดตัวลง ส่งผลให้ลูกค้าที่สั่งจองหมวกล่วงหน้ากว่า 3,000 คน จะไม่ได้สินค้าแต่ได้รับเงินคืนแทน และยังส่งผลกรทบต่อพนักงานฟูลไทม์อีกอย่างน้อย 50 ชีวิต และบิลที่ยังไม่ได้จ่ายให้กับบริษัทผลิตวัสดุอีกด้วย