StatCounter เผยส่วนแบ่งตลาด search engine ในสหรัฐอเมริกาประจำเดือนธันวาคม 2014 ปรากฎว่าส่วนแบ่งตลาดของกูเกิลลดลง ในขณะที่ส่วนแบ่งของยาฮูเพิ่มมากที่สุดในรอบ 5 ปี
เหตุผลสำคัญที่ทำให้ส่วนแบ่งกูเกิลลดลงประมาณ 2 จุด และยาฮูเพิ่มขึ้นในสัดส่วนใกล้เคียงกัน มาจาก Firefox เปลี่ยนระบบค้นหาเป็นยาฮูนั่นเองครับ (มีผลเฉพาะในสหรัฐ)
Google Search เริ่มแสดงเนื้อเพลงในหน้าผลการค้นหาแล้ว ในกรณีที่เราค้นด้วยชื่อเพลงแล้วตามด้วยคำว่า "lyrics" โดยกูเกิลจะแสดงเนื้อเพลงบางส่วน พร้อมลิงก์สำหรับแสดงเนื้อเพลงแบบเต็มๆ แบบเว็บ Google Play (พร้อมปุ่มกดซื้อเพลงบน Google Play Music)
กูเกิลระบุว่าเนื้อเพลงที่แสดงนั้นถูกลิขสิทธิ์เพราะกูเกิลซื้อสิทธิการใช้เนื้อเพลงมาด้วย
กูเกิลไม่ใช่รายแรกที่แสดงเนื้อเพลงในหน้าผลการค้นหา เพราะ Bing ทำมาก่อนแล้วเมื่อเดือนตุลาคม อย่างไรก็ตาม คนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดย่อมหนีไม่พ้นเว็บรวมเนื้อเพลงทั้งหลาย ที่อยู่ได้ด้วยทราฟฟิกการค้นหาเนื้อเพลงจากกูเกิล
รายการคำค้นหายอดนิยมของ Google ประจำปี 2014 ไม่ค่อยแตกต่างจากค่ายอื่นมากนัก แต่ก็มีบางกระแสที่ไม่น่าเชื่อว่าจะฮิตติดอันดับเหมือนกัน ซึ่งรายการคำค้นหายอดนิยมในปีนี้ก็มีดังต่อไปนี้
จากข่าว Facebook ปรับปรุงระบบค้นหาครั้งใหญ่ ซึ่งสามารถค้นหาโพสต์ได้แล้วนั้น ล่าสุดโฆษกของ Facebook ก็ยืนยันเพิ่มว่า Facebook ได้ถอดการแสดงผลการค้นหาเว็บซึ่งดึงมาจาก Bing ออกไปด้วย เพื่อให้ผู้ใช้งานโฟกัสกับการค้นหาสิ่งที่อยู่ใน Facebook มากขึ้น
ไมโครซอฟท์เจ้าของ Bing ได้ร่วมมือกับ Facebook ให้บริการแสดงผลการค้นหาผ่าน Bing บน Facebook ก่อนหน้านี้ ซึ่งส่วนหนึ่งเพราะไมโครซอฟท์เป็นผู้ลงทุนกับ Facebook อยู่ตั้งแต่ปี 2007 มูลค่า 240 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นหุ้น 1.6% ในปัจจุบัน
สิ่งที่น่าสนใจคือการถอดผลการค้นหาจะกระทบส่วนแบ่งผู้ใช้งาน Bing มากน้อยแค่ไหนครับ
ไมโครซอฟท์เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ให้ Office Word Online เวอร์ชันเว็บ โดยสามารถค้นข้อมูลผ่าน Bing จากหน้าเว็บ Word Online ได้เลย
ฟังดูธรรมดาใช่ไหมครับ ความไม่ธรรมดาของฟีเจอร์นี้คือ Bing จะรู้เองอัตโนมัติว่าคำที่เราต้องการค้นเกี่ยวข้องกับอะไร โดยอ่านบริบทจากข้อความในเอกสาร Word เช่น การค้นคำว่า "Lincoln" มีความหมายได้หลายอย่าง (ชื่อประธานาธิบดี, ชื่อเมือง, ชื่อรุ่นรถยนต์) แต่ Bing สามารถตรวจได้ว่าบทความที่เรากำลังเขียนนั้นเกี่ยวข้องกับประธานาธิบดี Lincoln และสามารถแสดงข้อมูลเบื้องต้นมาให้เราดูได้เลย
รูปแบบการค้นข้อมูลสามารถทำได้ทั้งการค้นในกล่อง search ด้านบน หรือคลิกขวาคำที่ต้องการแล้วเลือก Insights ก็จะมีข้อมูลจาก Bing โผล่มาบนแถบ sidebar ด้านข้าง
Ilya Grigorik พนักงานของกูเกิลโพสต์ข้อมูลลง Google+ ว่าหน้าเว็บ Google Search เวอร์ชันอุปกรณ์พกพาจะทำงานเร็วขึ้นอีก 0.1-0.15 วินาที ถ้าใช้งานบน Chrome for Android
เหตุผลมาจากกูเกิลนำเทคนิคการดึงข้อมูลล่วงหน้า (prefetch) มาใช้กับหน้าผลการค้นหาของ Google Search ก่อนผู้ใช้คลิกลิงก์ไปยังเว็บปลายทาง ซึ่ง Chrome for Android จะดักข้อมูลว่าหน้าผลการค้นหาถูก unload ออกจากแท็บเมื่อไร จากนั้นจะนำข้อมูลบางส่วนจากเว็บปลายทางที่ดาวน์โหลดรอไว้แล้วมาเริ่มเรนเดอร์ทันที ผลคือการเรนเดอร์เว็บเพจปลายทางจะเร็วขึ้นอีกเล็กน้อย
ฟีเจอร์นี้สามารถใช้ได้เฉพาะ Chrome for Android เท่านั้น แต่กูเกิลสัญญาว่าจะรองรับเบราว์เซอร์อื่นๆ เมื่อเบราว์เซอร์เหล่านั้นรองรับเทคนิค prefetch ลักษณะนี้ด้วย
ระบบค้นหาปัจจุบันของ Facebook ที่เรียกว่า Graph Search คือสามารถค้นหารูป สถานที่ เพจ โดยต้องใช้คำค้นหาเป็นประโยคหรือวลีที่ Facebook แนะนำมาเท่านั้น แต่หลังจากนี้ระบบค้นหาจะสามารถค้นหาสิ่งอื่นๆ ที่มากกว่าเดิมได้ก็คือสามารถค้นหาโพสต์โดยใช้คำค้นหา ซึ่งจะทำให้ได้ผลการค้นหาที่มากกว่าเดิม
เบื้องต้นระบบค้นหาโพสต์จะใช้ได้ในสัปดาห์นี้ เฉพาะผู้ใช้ US บน iPhone และ desktop รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ search.fb.com
งานนี้ก็อาจจะต้องปรับค่าความเป็นส่วนตัวกันเยอะหน่อย เพราะอะไรๆ ก็สามารถขุดเจอได้มากขึ้น
ที่มา - Facebook Newsroom
ถ้ายังจำกันได้ เมื่อไม่นานมานี้ ไมโครซอฟท์เพิ่งออกแอพสั่งงานด้วยเสียง Torque สำหรับนาฬิกา Android Wear โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Microsoft Garage ที่ส่งเสริมให้พนักงานสร้างแอพเล่นๆ นอกเวลางาน
ล่าสุดไมโครซอฟท์อัพเดต Torque เวอร์ชัน 2.0 ที่ปรับปรุงให้มันใช้กับสมาร์ทโฟน Android ได้ด้วย ขั้นตอนการใช้งานคือเขย่ามือถือ (หรือพลิกข้อมือถ้าเป็น Android Wear) เพื่อเรียก Torque จากนั้นก็พูดคำที่ต้องการค้นหาได้เลย
Torque ใช้ระบบแยกแยะเสียงของไมโครซอฟท์เอง และค้นหาข้อมูลด้วย Bing ครับ ทดลองเล่นได้ที่ Play Store
ผู้ใช้ Microsoft Office คงคุ้นเคยกับระบบ Clip Art หรือคลังรูปภาพพื้นฐานสำหรับแทรกในเอกสาร ซึ่งใน Office รุ่นหลังๆ ไมโครซอฟท์ก็พัฒนาระบบ Clip Art Online ที่สามารถค้นหารูปภาพจาก Office.com ได้ด้วย (ปัจจุบันใช้งานผ่านปุ่ม Online Pictures)
แต่ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศยกเลิกระบบ Clip Art Online แล้ว โดยระบบค้นหารูปภาพจะย้ายไปใช้ Bing Images แทน (ระบบของไมโครซอฟท์กรองเฉพาะภาพที่เป็น Creative Commons เพื่อไม่ให้มีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ด้วย)
ไมโครซอฟท์ให้เหตุผลว่าพฤติกรรมของผู้ใช้งานเปลี่ยนมาค้นหารูปภาพจากอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ส่งผลให้การใช้ Clip Art Online ลดลงมาก และรูปภาพจาก Bing Images ก็มีจำนวนเยอะกว่า หลากหลายกว่า อัพเดตกว่าคลังรูปภาพของไมโครซอฟท์เอง
Mozilla ออก Firefox 34 (นับเวอร์ชันเป็น 34.0.5) รุ่นเสถียร ของใหม่ได้แก่
Bing สรุปความเคลื่อนไหวของวงการค้นหาประจำปี 2014 โดยแยกคำค้นยอดฮิตเป็นรายประเทศ (ไม่มีไทย) และแยกรายหมวด (รายชื่อทั้งหมดดูได้จาก Bing Trends)
สำหรับผู้ใช้ Bing ในสหรัฐอเมริกามีคำค้นยอดฮิตในรอบปีที่ผ่านมาดังนี้
หลังจาก Firefox ประกาศเปลี่ยนเครื่องมือค้นหาจากกูเกิลเป็นอย่างอื่น ล่าสุดทางทีมงาน Mozilla ก็ออกมาโชว์ UI ใหม่ของกล่องค้นหา (search box) แล้ว
สิ่งที่เพิ่มเข้ามาใน UI แบบใหม่คือเมื่อเราพิมพ์คำค้น โปรแกรมจะแสดงรายชื่อคำค้นในอดีต (เหมือนของเดิม) แต่ด้านล่างของรายชื่อจะมีปุ่มสำหรับเลือกเครื่องมือค้นหาอื่นๆ ขึ้นมาให้เลย (ของเดิมต้องกดลูกศรชี้ลงเพื่อเปลี่ยนเครื่องมือค้นหาก่อน) ดังนั้นเราสามารถพิมพ์คำค้นที่ต้องการแล้วคลิกเมาส์เพื่อเลือกเว็บที่จะค้นได้ง่ายขึ้น
ปัจจุบัน search engine หลักของ Safari เป็น Google ซึ่งเคยมีข่าวว่า Google อาจต้องจ่ายให้ Apple ถึงพันล้านดอลลาร์ต่อปี เพื่อให้เป็น search engine หลักของ iOS ซึ่งสัญญานี้ Apple ทำกับ Google ในปี 2010 และจะหมดในปี 2015 ทำให้ Microsoft กับ Yahoo! จึงรีบพยายามเข้าสวมรอยทันที
Yahoo! นำโดยซีอีโอหญิง Marissa Mayer เผยว่าเธออยากให้ Apple ทิ้ง Google จากการเป็น search engine หลักของ iOS โดยก่อนหน้านี้ Yahoo! ประสบความสำเร็จโดยได้เป็น search engine หลักของ Firefox ไปแล้ว และ Yahoo! ก็เป็นผู้ให้ข้อมูลหุ้นในแอพ Stocks บน iOS ด้วย
หลังจากทางยาฮูประกาศว่าจะเป็นเว็บค้นหามาตรฐานไปก่อนแล้ว ทางมอซซิลล่าก็ออกมาประกาศรายชื่อเว็บค้าหามาตรฐานตามภูมิภาคอื่นๆ ได้แก่
Marissa Mayer เขียนบล็อกประกาศว่าทางยาฮูจับมือกับมอสซิลล่าเพื่อเปลี่ยนตัวค้นหามาตรฐานในไฟร์ฟอกซ์จากกูเกิลเป็นยาฮู โดยมีอายุสัญญาห้าปี โดยครอบคลุมทั้งเบราว์เซอร์รุ่นเดส์ทอปและโมบาย
บล็อกของ Marissa ไม่ได้ระบุว่าสัญญานี้จะมีผลนอกสหรัฐฯ แต่ Cnet รายงานว่าสัญญานี้มีผลเฉพาะในสหรัฐฯ เริ่มต้นเดือนธันวาคมนี้ และหน้าจอผลค้นหาในสหรัฐฯ ก็จะเปลี่ยนไป
ทางฝั่งมอสซิลล่าเองหวังว่าจะแตกสัญญาช่องค้นหาเปลี่ยนไปตามภูมิภาค เพื่อสร้างรายได้จากช่องทางที่หลากหลายมากขึ้น จากเดิมที่รายได้ส่วนใหญ่มาจากกูเกิล
สักวันแถวๆ จีนช่องค้นหาอาจจะกลายเป็น Baidu ก็เป็นได้
กูเกิลเริ่มใช้มาตรการจูงใจให้เว็บไซต์ต่างๆ ทำเว็บที่เหมาะกับการดูบนอุปกรณ์พกพา โดยแปะป้ายคำว่า mobile-friendly ในหน้าผลการค้นหา เพื่อแจ้งเตือนผู้ชมเว็บไซต์ล่วงหน้าว่าเว็บดังกล่าวเหมาะกับอุปกรณ์พกพาหรือไม่
ปัญหาของระบบค้นหาของทวิตเตอร์อย่างที่เราทราบกันดีก็คือ ไม่สามารถค้นหาทวีตย้อนหลังนานๆ ได้ แต่ในทวิตเตอร์เวอร์ชันปรับปรุงใหม่ สามารถค้นหาทวีตต่างๆ ย้อนหลังได้โดยไม่จำกัดช่วงเวลาแล้ว โดยในเชิงวิศวกรรม ทวิตเตอร์ได้ปรับปรุงระบบโดยคำนึงถึงปัจจัยต่อไปนี้
เรื่องการแสดงผลการค้นหาของกูเกิล กลายเป็นประเด็นมาอย่างต่อเนื่อง อย่างก่อนหน้านี้ในประเด็น "สิทธิในการถูกลืม" เพื่อลบผลการค้นหาบนกูเกิลในสหภาพยุโรป แต่ประเด็นล่าสุด ศาลในสหรัฐตัดสินไปในทางตรงกันข้ามกับในสหภาพยุโรป โดยบอกว่าผลการค้นหาของกูเกิลนั้น เป็นเสรีภาพในการแสดงออก (free speech) ทำให้กูเกิลสามารถแสดงผลการค้นหาได้ตามที่บริษัทต้องการ
เรื่องราวนี้เกิดจากการที่เว็บไซต์ CoastNews ฟ้องร้องกูเกิลว่าแสดงผลการค้นหาอย่างไม่เป็นธรรม เพราะจากการแสดงผลการค้นหาบนกูเกิล CoastNews ถูกแสดงผลในลำดับท้ายๆ ขณะที่ผลการค้นหาบน Yahoo หรือ Bing เว็บไซต์ CoastNews อยู่ในอันดับต้นๆ
กูเกิลเปิดให้แอพ Android ใดๆ ที่อยากรองรับการค้นหาข้อมูลด้วยเสียงพูด สามารถฝังโค้ดของกูเกิลเพียง 6 บรรทัด เพื่อเรียกใช้ฟีเจอร์ค้นหาด้วยเสียงของ Google Now ได้แล้ว
วิธีการใช้งานคือผู้ใช้เรียก Google Now ขึ้นมาด้วยวลี "Ok Google" ตามปกติ แล้วสั่งงานด้วยคำว่า "search keyword on appname" ตัวอย่างเช่น "Ok Google, search for hotels in Maui on TripAdvisor" คำค้นว่า "hotels in Maui" จะถูกส่งต่อไปยังระบบค้นหาของแอพ TripAdvisor ให้อัตโนมัติ
Bing เพิ่มความล้ำในการค้นหาไปอีกระดับด้วยการสามารถใช้อีโมจิเพื่อค้นหาข้อมูลได้ หรือแม้กระทั่งจะค้นหาความหมายของอีโมจิตัวนั้นก็สามารถทำได้ และสามารถค้นหาโดยใช้คำอื่นๆ รวมกับอีโมจิได้เช่นกัน เท่านั้นยังไม่พอ ยังสามารถค้นอะไรสนุกๆ เช่น ขึ้น ขึ้น ลง ลง ซ้าย ขวา ซ้าย ขวา บี เอ (ใช้อีโมจิทั้งหมด) ก็ได้ผลการค้นหาเหมือนกันนะ
ก็เป็นกิมมิกสนุกๆ ดี ไปลองเล่นกันได้
ที่มา - Bing
ฟีเจอร์ใหม่ประการหนึ่งของ OS X 10.10 Yosemite คือปรับปรุงการทำงานของระบบค้นหา Spotlight ให้ดีกว่าเดิม นอกจากค้นข้อมูลในเครื่องแล้วยังสามารถค้นข้อมูลบนเว็บได้ด้วย (ผ่าน Bing)
ปัญหาคือทุกครั้งที่เราพิมพ์ข้อความใดๆ ลงในกล่องข้อความของ Spotlight ข้อความที่เราพิมพ์จะถูกส่งกลับไปยังเซิร์ฟเวอร์ของแอปเปิลเสมอ และถ้าเราเปิดใช้ Location Services แอปเปิลก็จะทราบด้วยว่าเราพิมพ์ข้อความนั้นจากที่ไหน
ฟีเจอร์นี้สร้างความกังวลให้ผู้ที่ระมัดระวังเรื่องความเป็นส่วนตัวเป็นอย่างมาก ถึงขนาดมีคนเปิดเว็บ Fix Mac OS X Yosemite เพื่อรวบรวมเครื่องมือและเทคนิคในการปิดความสามารถเหล่านี้
ใน Patch Tuesday ประจำเดือนตุลาคมนี้ ไมโครซอฟท์อัพเดต Internet Explorer 11 เล็กน้อยในด้านการค้นหาข้อมูล ดังนี้
กูเกิลเผยกับเว็บไซต์ Engadget ว่า กำลังทดสอบบริการให้ผู้ค้นหาอาการของโรคสามารถปรึกษาแพทย์ผ่านวิดีโอคอลล์ได้โดยตรง
ในหน้าผลลัพธ์การค้นหา (ดูตัวอย่างที่ท้ายข่าว) ระบุว่ากูเกิลออกค่าใช้จ่ายในการติดต่อกับแพทย์ในช่วงทดสอบการให้บริการ เข้าใจว่าการทดสอบนี้เฉพาะในสหรัฐฯ เท่านั้นครับ
ที่มา: jasonahoule บน Reddit ผ่าน Engadget
เคยหรือไม่ที่หลายครั้งเราร้องเพลงโปรดได้ แต่เกิดอาการลืมเนื้อร้องขึ้นมาอย่างกะทันหัน หรือไม่ก็มีบางคำที่เราอาจจะลืมไปจากเนื้อร้อง/ออกเสียงไม่ชัด ล่าสุด Bing ได้เพิ่มคุณสมบัติในการค้นหาเข้าไป โดยจะแสดงเนื้อเพลงที่เราต้องการขึ้นมาทันที (ภาพดูได้ท้ายข่าว)
โดยเนื้อหาของเพลงที่เราต้องการหาเนื้อร้อง จะแสดงขึ้นมาเป็นผลการค้นหาแรก และแสดงแบบเต็มๆ โดยทีมงานระบุว่าจะใช้เนื้อเพลงที่มีคุณภาพดีที่สุด (ในที่นี้คงหมายถึงตรงกับที่เพลงร้องมากที่สุด) เพื่อให้ผลถูกต้องที่สุด (ผมทดสอบกับเพลง I (Who Have Nothing) ของ Tom Jones ก็ขึ้นครับ)
DuckDuckGo เว็บค้นหาทางเลือกใหม่ โดนบล็อคไม่ให้ใช้งานในประเทศจีนซะแล้ว ตามรอย Google Search ไปอีกราย
Gabriel Weinberg ซีอีโอของ DuckDuckGo ยืนยันข่าวนี้ผ่านทวิตเตอร์ แต่ก็ยอมรับว่าไม่รู้เหตุผลที่จีนบล็อค DuckDuckGo เช่นกัน
ที่ผ่านมา รัฐบาลจีนใช้วิธีเซ็นเซอร์ผลการค้นหาอย่างหนัก ซึ่ง Bing และ Yahoo! ยอมเซ็นเซอร์ตัวเองทำให้เปิดบริการในจีนต่อไปได้ ในขณะที่ Google Search ไม่ยอมเซ็นเซอร์จึงโดนบล็อค และคาดว่า DuckDuckGo น่าจะประสบชะตากรรมเดียวกัน
ที่มา - Tech in Asia