Google พยายามเพิ่มความสามารถให้ Google Search อยู่อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดรองรับการแปลงค่าสีระหว่างค่า RGB และค่า Hex แล้ว โดยหากผู้ใช้พิมพ์ค่าสีไม่ว่าจะเป็น Hex (#000000) หรือ RGB (0,0,0) ผลการค้นหาก็จะแสดงแพเนลสี พร้อมค่าของทั้งสองตัวมาให้
นอกจากค่า Hex และ RGB แล้ว ยังมีค่าสีอื่นๆ ให้เพิ่มมาด้วยทั้ง HSV, HSL และ CMYK โดยการแปลงค่านี้รองรับทั้งบนเว็บและแอพ
ที่มา - Android Police
แอพ Bing บริการค้นหาจากไมโครซอฟท์ ออกอัพเดตบน iOS และ Android รองรับการแสดงผลหน้าเว็บแบบ AMP ซึ่งเป็นมาตรฐานโอเพนซอร์สจากทางฝั่งกูเกิล ที่ออกแบบมาสำหรับการใช้งานบนโทรศัพท์เป็นหลัก ทั้งในเรื่องของความเร็วในการโหลดและการใช้ปริมาณข้อมูลเครือข่าย
หน้าเว็บที่รองรับการแสดงผล AMP จะมีไอคอนรูปสายฟ้าปรากฏอยู่ข้างลิงก์ ทั้งนี้การรองรับมาตรฐาน AMP จะไม่ถูกนำมาคิดคำนวณลำดับการแสดงผลการค้นหา
ที่มา - Bing blogs
ระบบค้นหา Google Search ใช้สัญญาณหลายอย่างมาประมวลผลร่วมกันเพื่อจัดอันดับเว็บ เช่น คำค้น, ความใหม่ของเนื้อหา, พื้นที่ของผู้คนหา, จำนวนลิงก์ (ที่เราเรียกกัน PageRank)
สัญญาณประเภทหนึ่งที่กูเกิลนำมาใช้ตั้งแต่ปี 2012 คือตัวคัดกรองสแปมผลการค้นหาชื่อ "Penguin" ที่ออกแบบมาจัดการกับพวกเว็บฟาร์มที่สร้างมาปั่นผลการค้นหาโดยเฉพาะ เดิมทีอัลกอริทึม Penguin จะปรับปรุงคะแนนของเว็บเป็นช่วงๆ แล้วค่อยนำคะแนนมาประมวลผลร่วมกับอัลกอริทึมหลัก (เว็บที่เคยถูกมองว่าเป็นสแปม ต้องใช้เวลานานมากกว่าจะหลุดอันดับใน Penguin)
Google Drive นำระบบประมวลผลภาษาธรรมชาติ Natural Language Processing (NLP) มาช่วยให้การค้นหาเอกสารใน Drive แม่นยำขึ้น เราสามารถพิมพ์คำสั่งว่า “find my budget spreadsheet from last December” หรือ “show me presentations from Anissa” เพื่อเข้าถึงเอกสารได้เลย
นอกจากนี้ ระบบค้นหาของ Google Drive ยังเพิ่มตัวช่วยสะกดคำ (แบบเดียวกับ Google Search) เวลาเราพิมพ์แล้วสะกดผิด ระบบก็จะถามย้ำว่าเราหมายถึงคำไหนกันแน่
ส่วนของ Google Docs ตัวแก้ไขเอกสาร ยังเพิ่มฟีเจอร์เล็กๆ อีกอย่างคือเมนู Format > Columns สำหรับสร้างเอกสารแบบหลายคอลัมน์ได้ง่ายๆ
ที่มา - Google for Work Blog
เมื่อเดือนสิงหาคม Google ได้เริ่มการทดสอบใช้งาน AMP ผ่าน Google Search กับผู้ใช้ไปแล้วนั้น ล่าสุดได้ประกาศว่ารองรับการใช้งาน AMP ผ่าน Google Search อย่างเป็นทางการทั่วโลกแล้ว โดยผู้ใช้สามารถใช้งานได้ผ่าน Google Search บนมือถือไม่ว่าจะเป็นแอพหรือเว็บ เมื่อเว็บไหนที่รองรับการใช้งาน AMP ก็จะแสดงไอคอนรูปสายฟ้าที่ผลการค้นหานั้นๆ ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเว็บได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง
Google ได้บอกว่ามีเนื้อหาที่รองรับ AMP แล้วมากกว่า 600 ล้านไซต์ มีเว็บไซต์ดังๆ ที่รองรับแล้วเช่น eBay, Reddit, WikiHow หรือ Skyscanner เป็นต้น และยังมีเว็บไซต์จากทั่วโลกที่รองรับการใช้งานแล้วมากกว่า 232 แห่งและ 104 ภาษา สามารถใช้งานได้แล้วตั้งแต่วันนี้
ที่มา : Google Inside Search
Google ออกมาเตือนการฝัง widget ลงบนหน้าเว็บ ที่อาจทำผิดกฎ Google Webmaster Guidlines และอาจมีผลต่อ SEO
widget ลักษณะนี้มีลิงก์ไปยังเว็บไซต์ต้นทาง ปัญหาอยู่ที่เจ้าของเว็บไม่สามารถควบคุมลิงก์และข้อความที่ทำลิงก์ (anchor text) ได้ เนื่องจากฝังอยู่ในสคริปต์ของ widget ทำให้ลิงก์เหล่านี้ได้คะแนน PageRank ไปฟรีๆ
กูเกิลจะมองลิงก์เหล่านี้ว่าเป็น unnatural link หรือลิงก์ที่ไม่ได้เกิดเองตามธรรมชาติ และถ้าเข้าข่ายสแปม กูเกิลจะแจ้งเตือนไปยังเจ้าของเว็บไซต์ที่ได้รับลิงก์เหล่านี้ผ่าน Search Console
คำแนะนำของกูเกิลคือให้เอาลิงก์ฝังใน widget เหล่านี้ออก หรือไม่ก็ใส่ rel="nofollow" เพื่อไม่ให้คิดคะแนน PageRank ก็ได้เช่นกัน
กูเกิลเพิ่มความสามารถให้ Google Search บน Android โดยมันสามารถค้นหาเนื้อหาภายในแอพบนเครื่องได้แล้ว (ตัวอย่างเช่น ค้นหาอีเมลใน Gmail หรือค้นหาข้อความใน Facebook Messenger)
วิธีการใช้งานก็แค่เปิดแอพ Google ขึ้นมาแล้วพิมพ์คำค้นตามปกติ แอพจะมีแท็บใหม่ชื่อ In Apps เพิ่มเข้ามา โดยแสดงเนื้อหาที่เกี่ยวข้องจากแอพในเครื่องของเรา (ก่อนหน้านี้ Google มีแท็บชื่อ Apps อันนั้นคือการค้นหาแอพจาก Play Store)
ในเบื้องต้น ฟีเจอร์นี้ใช้ได้กับ Gmail, Spotify, YouTube แต่จากนั้นจะมีแอพอื่นๆ เพิ่มมาอีก เช่น Facebook Messenger, LinkedIn, Evernote, Google Keep เป็นต้น ฟีเจอร์นี้ยังจะใช้ได้กับ LG V20 ที่จะเปิดตัวในเร็วๆ นี้ โดยมีปุ่มลัดบนหน้าจอเพื่อเข้าถึงฟีเจอร์นี้
กูเกิลประกาศการเปลี่ยนแปลงของระบบค้นหา Google Search บนอุปกรณ์พกพา 2 เรื่อง ดังนี้
SIGGRAPH เป็นงานประชุมวิชาการด้านคอมพิวเตอร์กราฟฟิกและการโต้ตอบที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในสายนี้ โดยรอบปี 2016 งานดังกล่าวถูกจัดขึ้นที่มลรัฐแคลิฟอร์เนียในปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาครับ
จากงานวิจัยที่ขึ้นนำเสนอ 119 งาน เว็บไซต์ Co.Design ได้รวบรวมผลงานเด่นๆ มาแล้วจำนวนหนึ่ง แต่ผมคิดว่าบางชิ้นก็ยังไม่โดนใจพอ จึงได้คัดจนเหลือ 5 ชิ้นมาให้ชมดังนี้
กูเกิลยังเดินหน้าขยายการใช้งาน AMP ต่อไป เดิมทีนั้น Google Search บนอุปกรณ์พกพา แสดงเพจแบบ AMP เฉพาะเซคชั่นข่าว (Top Stories หรือ News) เท่านั้น แต่ล่าสุดกูเกิลกำลังจะปรับให้แสดง AMP กับผลการค้นหาแบบปกติด้วย
ผลการค้นหาที่รองรับ AMP จะแสดงไอคอนสายฟ้า กดไปแล้วจะเห็นเว็บเพจแบบ AMP แทน HTML ปกติ แต่ถ้าเว็บเพจนั้นไม่มี AMP ก็ยังต้องเปิดเว็บเพจ HTML ขึ้นมาเหมือนเดิม
ตอนนี้ Google Search แบบ AMP ยังมีสถานะเป็นรุ่นพรีวิว ใครสนใจลองเล่น สามารถคลิกได้ที่ https://g.co/ampdemo (ต้องเปิดจากมือถือเท่านั้น)
ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ดูจะเป็นปัญหาเรื้อรังสำหรับทั้งค่ายเพลงและค่ายหนัง ทำให้ SNEP ค่ายเพลงในฝรั่งเศสได้ยื่นเรื่องไปยังศาลสูงของกรุงปารีส เพื่อให้ศาลมีคำสั่งบล็อกคีย์เวิร์ด "Torrent" ออกจากผลการค้นหาบน Google และ Bing อย่างไรก็ตามศาลกลับตัดสินไปอีกทาง
ศาลให้เหตุผลว่า ถึงแม้ฝรั่งเศสจะมีกฎหมายป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่การกรองผลการค้นหา จะเป็นการละเมิดเสรีภาพในการแสดงออกและติดต่อสื่อสารของประชาชน รวมไปถึงเข้าข่ายการเซ็นเซอร์ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของศิลปิน 3 คนที่ค่ายเพลงยกมาเท่านั้น ขณะเดียวกันคำว่า "Torrent" ก็ยังมีการใช้งานอย่างถูกต้องอยู่อย่าง BitTorrent Protocol ซึ่งนับเป็นเทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสารเป็นต้น
รายได้หลักของ Mozilla มาจากการทำสัญญากับ search engine เพื่อใช้เป็นค่าดีฟอลต์ของ Firefox ซึ่งในอดีต Mozilla ทำสัญญากับกูเกิลมาโดยตลอด แต่ในปี 2014 ก็เปลี่ยนมาเป็นยาฮูแทน โดยมีอายุสัญญา 5 ปี จบปี 2019 แต่ไม่เปิดเผยมูลค่าว่ายาฮูจ่ายให้ Mozilla เท่าไร
ล่าสุดเว็บไซต์ Recode อ้างว่าได้เห็นสัญญาดังกล่าว เนื้อหาในสัญญาคือยาฮูจ่ายเงิน 375 ล้านดอลลาร์ต่อปีให้ Mozilla (ประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาท) จุดที่น่าสนใจคือในสัญญามีเงื่อนไขที่เป็นประโยชน์กับ Mozilla ด้วยว่าถ้าหากยาฮูถูกซื้อกิจการ (ซึ่งตอนนี้กำลังจะโดน) Mozilla เป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาได้ถ้าไม่ชอบเจ้าของรายใหม่ของยาฮู แต่ยาฮูภายใต้เจ้าของใหม่ยังต้องจ่ายเงินต่อเนื่องจนครบสัญญาอยู่ดี
Recode มองว่าเงื่อนไขนี้เกิดจากตอนนั้น ซีอีโอ Marissa Mayer พยายามอย่างมากในการดันธุรกิจ search ของยาอูให้มาแข่งกับกูเกิลให้ได้ เธอเลยพยายามทำทุกทาง จนกลายเป็นเซ็นสัญญาที่เอื้อประโยชน์กับ Mozilla ไปอย่างมากแทน
ช่วงนี้ที่ออสเตรเลียกำลังมีการหาเสียงสำหรับการเลือกตั้งทั่วไป (general election) ในวันที่ 2 กรกฎาคมที่จะถึงนี้ และที่สหรัฐอเมริกาก็มีการสรรหาตัวแทนผู้สมัครลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากสองพรรคใหญ่ ทำให้ Google เปิดคุณสมบัติใหม่ให้กับพรรคการเมืองและผู้ลงสมัครหาเสียงเลือกตั้งของทั้งสองประเทศ สามารถใส่ข้อความรณรงค์หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งได้จากระบบค้นหาโดยตรง
เมื่อเร็วๆ นี้ ศาลของมลรัฐฟลอริดาได้มีคำตัดสินว่า การกระทำของ Google ที่นำเอาผลการค้นหาบางอย่างออก ไม่ใช่การกระทำที่ได้รับการปกป้องภายใต้ First Amendment หรือการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งแรกของสหรัฐอเมริกา ที่มีข้อบัญญัติเรื่องของสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก (freedom of expression)
กูเกิลปรับวิธีการแสดงผลของ Google Search บนอุปกรณ์พกพาอีกรอบ โดยเพิ่มการแสดงการ์ดข้อมูลพร้อมภาพประกอบ ที่เรียกว่า 'rich card' เข้ามาที่ด้านบนของผลการค้นหา
การ์ดข้อมูลแบบใหม่จะถูกแสดงเป็นรายการวนแนวนอน (carousel) ผู้ใช้งานสามารถเลื่อนไปมาได้ก่อนกดลิงก์ กูเกิลระบุว่าเจ้าของเว็บจะแสดงภาพรีวิวเนื้อหาของเว็บไซต์ได้ง่ายและเตะตามากขึ้น ผ่านการระบุข้อมูลอย่างเจาะจง (metadata) ในฟอร์แมต JSON-LD เพิ่มเข้ามา
ในช่วงแรก rich card จะรองรับข้อมูลประเภท "เมนูอาหาร" และ "ภาพยนตร์" ใน Google Search ภาคภาษาอังกฤษก่อน ข้อมูลแบบ rich card จะถูกแสดงผลเฉพาะบนมือถือเท่านั้น
ที่มา - Google Webmaster Blog
ไมโครซอฟท์ปรับปรุงผลการค้นหาของ Bing เมื่อค้นหาโค้ดตัวอย่าง (code snippet) และอัลกอริทึมเพื่ออำนวยความสะดวกให้นักพัฒนา ด้วยการจับมือกับ HackerRank เว็บไซต์รวมโจทย์ด้านโปรแกรมมิ่งในการดึงโค้ดตัวอย่างมาแสดงผลในหน้าผลการค้นหาของ Bing ที่เจ๋งคือผลการค้นหาดังกล่าวเปิดโอกาสให้ได้ลองลงมือแก้ไขและสั่งรันโค้ดตัวอย่างเพื่อศึกษาการทำงานและดูผลลัพธ์ในทันที
โปรแกรมเมอร์ที่ต้องการใช้ฟีเจอร์นี้ก็เพียงแค่ค้นหาโค้ดตัวอย่าง/อัลกอริทึมบน Bing ยกตัวอย่างเช่นการต่อสตริงใน C# (string concat C#) หรือการทำ Bubble sort ด้วย Python (bubble sort python) Bing จะแสดงผลโค้ดตัวอย่างพร้อมเครื่องมือแก้ไขโค้ดให้ใช้งานและตัวเลือกให้สลับภาษาซึ่งครอบคลุมทั้ง C, C++, C#, Python, PHP และ Java ซึ่งจะช่วยให้โปรแกรมเมอร์ได้ลองศึกษาโค้ดที่เขียนด้วยภาษาอื่นๆ ได้สะดวกขึ้นด้วย
กูเกิลประกาศจะเพิ่มน้ำหนักให้ปัจจัยเรื่อง mobile-friendliness หรือความเป็นมิตรต่ออุปกรณ์พกพา ในการจัดลำดับผลการค้นหา โดยจะมีผลในเดือนพฤษภาคม 2016 เป็นต้นไป
เจ้าของเว็บไซต์ท่านใดที่อยากรู้ว่าเว็บของตัวเอง มีค่า mobile-friendliness มากน้อยแค่ไหน เช็คคะแนนได้ที่ Mobile-Friendly Test และอ่านคำแนะนำเรื่องการทำเว็บให้เหมาะกับอุปกรณ์พกพาที่ Mobile Friendly Websites
ทีมพัฒนา Bing ประกาศการอัพเกรดฟีเจอร์ให้กับ Office และเบราว์เซอร์ Microsoft Edge ที่จะมาช่วยให้ชีวิตง่ายขึ้น ด้วยการผนวกความสามารถในการค้นหารูปภาพด้วย Bing ให้กับชุดแอพพลิเคชันดังกล่าว
การใช้งานฟีเจอร์นี้บนแอพพลิเคชันในชุด Office 2013 และ Office 2016 ก็เพียงแทรกรูปจากปุ่ม Online Pictures ก็จะปรากฏตัวเลือกการค้นหารูปด้วย Bing ซึ่งจะแสดงผลลัพธ์ให้ผู้ใช้เลือกแทรกรูปลงในงานของตัวเองได้ง่ายขึ้น ด้วยการแสดงลิงค์ต้นทาง, ขนาดของภาพ และยังสามารถเลือกกรองเอาเฉพาะรูปภาพที่มีการระบุสัญญาอนุญาต (อย่าง Creative Commons) เท่านั้นได้อีกด้วย
คนทำ SEO รุ่นก่อนคงคุ้นเคยกับการดูค่า PageRank ใน Google Toolbar กันเป็นอย่างดี แต่ช่วงหลังเมื่อกูเกิลปรับนโยบาย พยายามซ่อนไม่ให้เห็นค่า PageRank เป็นตัวเลข วิธีการเหล่านี้ก็ถูกลดความสำคัญลงเรื่อยมา (กูเกิลถอด PageRank ออกจาก Toolbar ของตัวเองมานานแล้ว แต่ยังมีเครื่องมือจาก 3rd party ที่ใช้ดูข้อมูลได้อยู่)
ล่าสุด กูเกิลยืนยันกับเว็บไซต์ Search Engine Land ว่าถอดฟีเจอร์ Toolbar PageRank อย่างเป็นทางการแล้ว ในอีก 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า ตัวเลข PageRank เหล่านี้จะไม่ถูกแสดงผลอีกต่อไป
Google เริ่มเปิดระบบโพสต์ข้อความลงบนหน้าผลการค้นหา ให้กับองค์กรธุรกิจ, คนดัง และแบรนด์ใหญ่ๆ ใช้งานแล้ว จากก่อนหน้านี้จำกัดให้เฉพาะเหล่าผู้สมัครตำแหน่งประธานาธิบดีโพสต์เรื่องราวเกี่ยวกับการดีเบตและจุดยืนไปก่อน
สำหรับโพสต์ในหน้าการค้นหาของ Google จะมีดีไซน์เป็น cards เหมือนบนมือถือ สามารถปาด, คลิก หรือแตะเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ ตัวโพสต์สามารถแชร์ได้ แต่ไลค์หรือคอมเม้นท์ไม่ได้
Google บอกว่าระบบนี้จะทำให้ผู้ใช้ติดต่อสื่อสารกับข้อความ, รูปภาพ และวิดีโอผ่านทาง search engine ได้โดยตรง ซึ่งเป็นหนึ่งในความพยายามสร้างผลการค้นหาให้ดูมีชีวิตชีวา โดยตอนนี้ Google ยังไม่มีแผนเก็บเงินจากบริการ
ประเด็นเรื่อง AMP สร้างผลกระทบต่อวงการเว็บพอสมควร คำถามที่ทุกคนคงสงสัยคือการมี AMP ส่งผลต่อการคิดคะแนนในลำดับผลการค้นหาของ Google Search หรือไม่
John Mueller พนักงานของกูเกิลตอบคำถามนี้ว่า "ยังไม่ถูกนำมาคิดคะแนน ณ ตอนนี้" (At the moment, it is not a ranking signal)
อย่างไรก็ตาม Mueller บอกว่าเจ้าของเว็บสามารถนำ AMP มาทำให้เว็บเป็นมิตรกับอุปกรณ์พกพามากขึ้นได้ แม้ตัว AMP จะยังไม่ถูกนำมาพิจารณาจัดลำดับผลการค้นหาก็ตาม
Richard Gingras หัวหน้าทีม Accelerated Mobile Pages (AMP) ของกูเกิล ให้สัมภาษณ์กับ Re/code เกี่ยวกับที่มาที่ไปและแผนการในอนาคตของ AMP
Gingras บอกว่า "เว็บ" ไม่ได้ถูกออกแบบมาสำหรับอุปกรณ์พกพาตั้งแต่แรก ทุกอย่างจึงช้าไปหมด และประสบการณ์การใช้งานที่แย่ทำให้คนอาจนิยมใช้เว็บน้อยลง ทางออกของกูเกิลจึงเป็น AMP ที่เร็วกว่าเว็บ 4 เท่า และใช้ปริมาณข้อมูลน้อยกว่า 10 เท่า
AMP ยังเปิดกว้างกว่า Instant Articles ของ Facebook เพราะเปิดให้บริษัทอื่น (เช่น Twitter, LinkedIn) ร่วมใช้งานได้ด้วย, ไม่ต้องโฮสต์อยู่บนเซิร์ฟเวอร์ของกูเกิล เหมือนกับกรณีของ Facebook หรือ Apple News และเปิดกว้างต่อระบบโฆษณาหลายค่าย ไม่จำกัดเฉพาะกูเกิล (แถมกูเกิลไม่หักส่วนแบ่งค่าโฆษณาด้วย)
Lila Tretikov ผู้อำนวยการของมูลนิธิ Wikimedia Foundation องค์กรแม่ของ Wikipedia และเว็บในเครือ ยื่นจดหมายลาออกแล้ว ด้วยเหตุผลเรื่องความไม่โปร่งใสของโครงการพัฒนาระบบค้นหา Knowledge Engine
เรื่องเดิมคือ Wikimedia Foundation รับเงินสนับสนุนจากมูลนิธิ Knight Foundation จำนวน 250,000 ดอลลาร์ เพื่อพัฒนา search engine แข่งกับบริษัทอื่นๆ แนวทางนี้ถูกคัดค้านจากชุมชนผู้ใช้งานบางกลุ่มที่มองว่า Wikipedia ควรเป็นแค่สารานุกรมดังเดิม ความขัดแย้งนี้ทำให้ Wikimedia Foundation พยายามหลบซ่อนไม่เปิดเผยว่าได้รับเงินก้อนนี้ (รับเงิน ก.ย. 2015 แต่มาเปิดเผยเดือน ก.พ. 2016)
สัปดาห์ที่ผ่านมา เราเห็นข่าว กูเกิลเลิกแสดงโฆษณา AdWords ด้านขวามือในหน้าผลการค้นหา เพิ่มตำแหน่งโฆษณาด้านบน
ตำแหน่งโฆษณา AdWords ที่เพิ่มเข้ามาเป็น 4 ช่อง และการตัดสล็อตด้านขวามือออก ส่งผลกระทบต่อทั้งวงการ SEO (ทำเว็บให้ติดอันดับแบบไม่จ่ายเงิน) และการโฆษณาออนไลน์ (จ่ายเงินเพื่อแสดงผลการค้นหา) เป็นอย่างมาก
เรื่องนี้ Alistair Dent จากบริษัท iProspect เขียนวิเคราะห์ลง Search Engine Land ผมคิดว่าน่าสนใจดีเลยนำมาสรุปอีกต่อหนึ่งครับ
ตามที่กูเกิลประกาศไว้ว่าจะเปิดใช้มาตรฐานหน้าเว็บความเร็วสูง Accelerated Mobile Pages (AMP) ในเดือนกุมภาพันธ์ ตอนนี้กูเกิลก็เริ่มแสดงผลการค้นหาเป็นหน้าเว็บที่รองรับ AMP แล้ว
สำหรับหน้าเว็บที่รองรับ AMP จะมีสัญลักษณ์เป็นวงกลมสีเขียวล้อมรอบสายฟ้าตรงกลาง มีรายละเอียดบทความทั้งแหล่งที่มา และภาพประกอบให้ครบถ้วน (ถ้ามีภาพ) โดยตามที่รายงานมา หน้าเว็บที่รองรับ AMP จะโหลดเสร็จพร้อมอ่านในเวลาเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น
เท่าที่ทดลองใช้ ในประเทศไทยดูเหมือนจะยังไม่สามารถใช้งาน AMP ได้ คงต้องลุ้นกันว่าในงานเปิดตัวจริง (ที่ลือว่าเป็นพรุ่งนี้) กูเกิลจะเปิดให้ใช้งาน AMP ได้ทั่วโลกหรือไม่