Tags:
Node Thumbnail

ศึกชิงความเป็นสุดยอดซูเปอร์คอมพิวเตอร์อันดับหนึ่งของโลกเริ่มเข้มข้นแล้ว ผมเคยเขียนข่าว ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 1 petaFLOPS จากฝั่งญี่ปุ่นไป ตอนนี้ฝั่งอเมริกาก็อยู่เฉยไม่ได้แล้ว

คอมตัวใหม่จะอยู่ที่แล็บหน้าเก่าอย่าง Los Alamos National Laboratory (คำนวณเกี่ยวกับนิวเคลียร์) มีชื่อเล่นว่า "Roadrunner" จะทำงานที่ความเร็วมากกว่า petaFLOPS เช่นกัน ผู้ที่ชนะการประมูลโครงการนี้คือ IBM และที่น่าสนใจคือมันเป็นคอมพิวเตอร์ลูกผสมระหว่าง Opteron และ Cell

Tags:
Node Thumbnail

Gentoo distro เริ่มก้าวแรกสำหรับการพอร์ตไปลงบน Cell architecture แต่เรื่องนี้ยังอีกไกล (มาก)

ในขณะนี้ มีเพืยงเครื่องมือสำหรับ cross development และ simulator

การพัฒนายังไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับ hardware หรือเกมคอนโซลใดๆ

ที่มา - Gentoo Linux Newsletter

Tags:

ญี่ปุ่นกำลังจะกลับมาทวงบัลลังก์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลกอีกครั้ง โดยเครื่องใหม่นี้ทะลุกำแพง 1 petaFLOPS ด้วยราคาแค่ 9 ล้านเหรียญ ซึ่งถือว่าถูกเวอร์มากถ้าเทียบกับคอมอันดับหนึ่งของโลกในอดีตที่ผ่านมา

Tags:

รายชื่อซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุด 500 เครื่อง หรือรู้จักกันในนาม TOP500 (ออกปีละ 2 ครั้ง) ประจำเดือนมิถุนายน 2006 ออกแล้ว แชมป์เก่า 3 สมัยอย่าง IBM BlueGene/L ยังครองแชมป์เป็นครั้งที่ 4

รองแชมป์เก่า IBM BGW ที่ Thomas J. Watson Research Center (ตั้งชื่อตามผู้ก่อตั้ง IBM) ก็ยังเกาะติดที่สองไม่ปล่อยเช่นกัน ทั้งสองเครื่องไม่ได้มีการอัพเกรดแต่อย่างใด ส่วนรายใหม่ที่เข้ามาใน Top 10 คือ Bull SA Tera-10 จากฝรั่งเศส ใช้ Itanium 2 เข้ามาเป็นที่ห้า, ที่เจ็ด เครื่อง TSUBAME จากญี่ปุ่น ใช้ Sun Fire Opteron และที่แปด JUBL จากเยอรมัน ซึ่งใช้ IBM eServer แบบเดียวกับแชมป์

Tags:
Node Thumbnail

ตอนนี้กระแส Dual Core หรือว่า CPU ที่มีหน่วยประมวลผลย่อยสองตัวบนชิปเดียวกัน หรือว่า Cell Processor ที่มีหน่วยประมวลผลย่อยหลาย ๆ ตัว บนชิปเดียวกัน กำลังได้รับการพูดถึงและได้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ให้ได้ใช้กันแล้ว แต่ IBM ก็ได้ก้าวล้ำหน้าไปอีก้าวหนึ่ง โดยการประกาศแผนการพัฒนา CPU ที่ชื่อว่า Kilocore1025 ซึ่งมึหน่วยประมาลผลย่อย 1025 ตัว

Tags:
Node Thumbnail

หลังจากเปิดตัวมาหลายปี Sun Grid ซึ่งเป็นศูนย์คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่ให้ลูกค้าของซันเข้าใช้พลังการประมวลผล โดยคิดราคาตามปริมาณชั่วโมง x ซีพียู ที่ใช้จริง

ที่จริงแล้วศูนย์คอมพิวเตอร์นี้เปิดตัวมาก่อนหน้านี้แล้ว โดยซันพยายามเสนอบริการนี้ให้กับหน่วยงานขนาดใหญ่ก่อน แต่ไม่ได้รับความสนใจมากนัก การขายบริการนี้ให้กับลูกค้ารายย่อยจึงเป็นทางออกที่ซันต้องนำมาใช้ในตอนนี้

ตอนนี้ยังให้ใช้เฉพาะในสหรัฐ แต่ก็ยังคิดไม่ออกว่าเอามาทำอะไรดี แต่ชื่อโดเมนมันเท่ห์ดีจริง

ที่มา - Sun Grid

Tags:
Node Thumbnail

ระบบไฟล์ซิสเต็มดูจะหยุดการพัฒนาแบบก้าวกระโดดมานาน (ที่น่าตื่นเต้นหน่อยในช่วงหลังคือ ZFS ของ Solaris) และไฟล์ซิสเต็มส่วนมาก ออกแบบมาสำหรับเซิร์ฟเวอร์เครื่องเดี่ยว

IBM กับห้องวิจัย Lawrence Livermore National Laboratory ได้โชว์ผลการทดสอบไฟล์ซิสเต็มตัวใหม่ GPFS (General Parallel File System) ซึ่งไอบีเอ็มสร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี 2001 อ่านชื่อดูแล้วก็น่าจะรู้ว่าเป็นไฟล์ซิสเต็มสำหรับระบบคลัสเตอร์ โดยมันสามารถทำสถิติความเร็วในการอ่าน/เขียนไฟล์หนึ่งไฟล์ได้ถึง 102 GB ต่อวินาที

Tags:

รายการ TOP500 ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลกประจำเดือน พ.ย. 2005 ออกมาได้ซักพักแล้ว ที่หนึ่งยังครองโดย BlueGene/L ของไอบีเอ็มที่เล่นใช้โพรเซสเซอร์ถึง 131,072 ตัว ทิ้งห่างที่สองที่ใช้ประมาณ 4 หมื่นตัวไกล ในขณะที่ Earth Simulator แชมป์เก่า 5 สมัยของ NEC ตอนนี้ตกไปที่เจ็ดแล้ว ที่น่าสนใจคือใน 10 อันดับแรกมีเครื่องจาก Cray และ SGI เพิ่มขึ้นมาด้วย

Tags:
Node Thumbnail

หากใครตามข่าวคราวอยู่บ้าง คงจำได้ลางๆ ว่าไมโครซอฟท์เคยประกาศไว้ว่าจะกระโดดเข้าสู่งานประมวลผลขั้นสูงอย่างเต็มตัว ซึ่งแต่เดิมถูกครอบครองโดยระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ และตอนนี้ก็ได้ย้ายกลายมาเป็น Linux แทน ตอนแรกไมโครซอฟท์ตั้งเป้าว่าจะต้องเสร็จภายในปีนี้ แต่จนแล้วจนรอดก็เป็นโรคเลื่อนเหมือนเช่นเคย ตอนนี้จึงเพิ่งจะคลอดเบต้า 2 ออกมา โดยใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า Windows Compute Cluster Server 2003 ล่าสุดอีกความพยายามหนึ่งของไมโครซอฟท์ก็คือ การดึงมือหนึ่งทางด้านการออกแบบซุปเปอร์คอมพ์ Bruton Smith มาร่วมทีม  

Tags:
Node Thumbnail

Lawrence Livermore National Laboratory (LLNL) และ IBM ได้เปิดเผยว่า หลังจากการเพิ่มหน่วยประมวลผล Power5 จำนวน 12,544 ตัวเสร็จสมบูรณ์ ตอนนี้ Blue Gene/L ก็วิ่งไปแตะที่ 260 เทระฟลอบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

Tags:
Node Thumbnail

หลังจากที่มีกำหนดการว่าไมโครซอฟท์จะเข้าตลาดคลัสเตอร์ในปลายปีนี้ ตัวเบต้าจึงน่าจะออกในอีกไม่นานนี้

แต่ตอนนี้ไมโครซอฟท์ก็ออกมาประกาศแล้วว่าวินโดวส์คลัสเตอร์นั้นจะถูกเลื่่อนออกไปอีกหกเดือน ไมโครซอฟท์มองว่าการเลื่อนครั้งนี้ไม่มีผลต่อไมโครซอฟท์มากนัก เนื่องจากไมโครซอฟท์ไม่มีฐานลูกค้าเดินในตลาดนี้ที่รอการอัพเกรด แต่นักวิเคราะห์หลายรายก็มองว่าการเลื่อนออกไปนี้จะทำให้ไมโครซอฟท์เสียฐานลูกค้าไปไม่น้อยทีเดียว

Tags:
Node Thumbnail

ไอบีเอ็มปรับขนาดเครื่อง BlueGene อันโด่งดังจนความเร็วทะลุ 100 เทระฟลอปไปแล้ว โดยเมื่อหกเดือนที่แล้ว ไอบีเอ็มได้ประกาศความสำเร็จในการพัฒนาเครื่อง BlueGene จนมีความเร็วถึง 92 เทระฟลอป พร้อมกับประกาศว่าเครื่องดังกล่าวเป็นเครื่องต้นแบบเท่านั้น!! และในวันนี้ไอบีเอ็มก็พัฒนาเครื่องดังกล่้าวจนมีความเร็วสูงขึ้นเกือบเท่าตัวมาอยู่ที่ 183.5 เทระฟลอป พร้อมกับแสดงความมั่นใจว่าจะมีการพัฒนาเครื่องที่มีความเร็วถึง 367 เทระฟลอปได้ในปลายปีนี้

Tags:

กลุ่มพันธมิตรใหญ่สี่รายได้แก่ ไอบีเอ็ม เอชพี ซัน และอินเทล เข้าร่วมตั้งสมาิคมโกลบัส (Globus Consortium) เพื่อสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีกริดในภาคธุรกิจ เทคโนโลยีกริดคือการนำคอมพิวเตอร์จำนวนมากมาช่วยกันคำนวณ เพื่อให้สามารถสร้างคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงๆ ได้ แต่ในทุกวันนี้เทคโนโลยีกริดยังคงจำกัดอยุ่ในวงแคบๆ เช่นการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เฉพาะทางเท่านั้น

เรื่องน่าแลปกใจคือกลุ่มนี้ไม่มีหัวเรือด้านกริดอย่าง ออราเคิลเข้ามาร่วมวงด้วย ทั้งๆ ที่ออราเคิลก็เป็นหนึ่งในผู้ที่ดันเทคโนโลยีกริดเข้าสู่ภาคธุรกิจอย่างเต็มตัวเช่นกัน

อาจจะเป็นเพราะสินค้าไปซ้ำกับไอบีเอ็ม.....

Tags:

The Register มีรายงานถึงส่วนแบ่งตลาดของทาง AMD ในเครื่องระดับซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ที่กำลังหดตัวลง โดนเริ่มเสียส่วนแบ่งให้กับอินเทลไปบ้างแล้ว โดยจากการสำรวจเว็บ top500.org ที่เป็นเว็บรายงานคอมพิวเตอร์ 500 เครื่องที่เร็วที่สุดในโลกนั้น ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เครื่องที่ใช้ชิปของ AMD ลดลงเล็กน้อย จากในเืดือนมิถุนายน ที่มีอยู่ 34 เครื่องที่ติดอันดับ ในเดือนนี้เหลือเพียง 31 เครื่อง ในขณะที่ทางอินเทลนั้นเพิ่มขึ้นจาก 285 เครื่องเป็น 318 เครื่อง

แต่เรื่องคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงนี้ยังไงผมก็ยังอยากเอา X-Box มาต่อกันสักหมื่นเครื่องจริงๆ

Tags:

คล้ายๆ กับพวก Folding@Home และ SETI@Home ล่ะครับ แต่ World Community Grid จะเป็นระบบที่ค่อนข้างไม่เจาะจงเท่า คือรันงานทางวิทยาศาสตร์อะไรก็ได้ตามแต่กรณีไป และจะทำให้ WCG เป็นกริดคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกไปครับ Ars Technica: IBM to host worldwide scientific computing grid

Tags:
Node Thumbnail

AnandTech มีสกู้ปการแปลง XBox มาลง Linux และนำมาต่อเป็นคลัสเตอร์ราคาถูกครับ ราคารวม Mod Chip แล้วตกเครื่องละประมาณ $210 ถูกกว่าพีซีที่เป็น Sempron หรือ Celeron ซึ่งเฉียดๆ $300 อยู่พอควร แต่ประสิทธิภาพก็ไม่ต้องหวังมากนัก เพราะข้างใน XBox เป็น P!!! ครับ ออกมาก็นานแล้ว นอกจากนั้นยังมีการเอาไปทำเป็น Media Center อีกด้วย น่าสนใจทีเดียว

Tags:

ในตอนนี้หลายๆ คนคงได้ยินชื่อเทคโนโลยีคลัสเตอร์กันมามั่งแล้ว แต่ฝั่งลินิกซ์นั้นการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ก็เป็นเรื่องที่ดูยุ่งยากพอควร (ทางฝั่งอื่นๆ ก็ยากเหมือนกัน แต่เวลาจ่ายตังค์แล้วมักมีคนมาช่วยทำให้) Linux Enterprise Cluster

Tags:

NEC หลังจากที่เอา The Earth Simulator ชิงแชมป์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงไปจากไอบีเอ็มได้ ก็มีท่าว่าจะไม่ยอมคืนแชป์ให้เครื่องอย่าง BlueGene/L แล้วครับ

NEC SX-8

เครื่อง NEC SX-8 นี้เป็นเครื่องแบบ VECTOR ครับ นั่นคือมันสามารถขยายการทำงานเพิ่มขึ้นตามจำนวนโหนดที่เราใส่ให้กับมันได้ โดยแต่ละโหนดที่เอ็นอีซีวางขายนั้นมีซีพียูแปดตัว และมีความเร็วสูงสุดที่ 128 กิกะฟลอป

เครื่องที่เอาไปโชว์ชาวโลกว่าเร็วที่สุดนั้นใช้ต่อกันถึง 512 โหนดครับ ได้ความเร็วมา 65 เทระฟลอป

Tags:

SGI (Silicon Graphic เจ้าของคอมที่เรนเดอร์จูราสสิค พาร์ค) ออกสุดยอดโคตรคอมพิวเตอร์มาครับ SGI Prism ประกอบด้วย Itanium 2 16 ตัว และ ATI FireGL 4 ตัว รันลินุกซ์เพื่อทำงานด้าน Visualize ในอนาคต Prism จะอัดขึ้นไปให้ถึง 512 CPU และการ์ดจอ 16 ตัว แต่ละตัวทำงานที่ความละเอียด 3820x2480 โอ้ จะเอาไปทำอะไรกันมากมายเนี่ย ใน Press ของ SGI บอกว่ามันใช้สถาปัตยกรรมการแชร์หน่วยความจำ NUMAFlex ของ SGI เอง (NUMA เป็นชื่อเรียกสถาปัตยกรรมการแชร์แรมแบบนึ

Tags:
Node Thumbnail

หลังจากเสียแชมป์ไปให้ Earth Simulator ของญี่ปุ่นอยู่สามปี อเมริกาถึงคราวทวงอันดับหนึ่งคืน โดย Blue Gene/L จาก IBM ตั้งอยู่ในศูนย์วิจัยที่เมือง Rochester เดิมอยู่อันดับสี่ แต่เมื่ออัพเกรดแล้วสามารถคำนวณได้ 36 ล้านเทอราฟลอบ ตัวเลขนี้เป็นคำประกาศของ IBM ยังไม่มีการพิสูจน์จริงจัง แต่ทางผู้แทนของ Top500 ซึ่งเป็นผู้จัดอันดับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ก็ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า เขาเชื่อตัวเลขของ IBM การจัดอันดับครั้งใหม่จะตีพิมพ์ใน Top500 List ฉบับหน้า คือ เดือนพ.ย. ปีนี้ครับ

Tags:
Node Thumbnail

ยังจำ Deep Blue เครื่องซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นมาเล่นหมากรุกแล้วชนะคาปารอฟ มือหนึ่งของโลกกันรึเปล่าครับ หลังจากที่ IBM ประสบความสำเร็จจากคอมพิวเตอร์ตัวนี้แล้ว ก็ได้สร้างรุ่นลูกของมันขึ้นมาคือ Blue Gene และจากตอนนั้นก็มีการพัฒนาต่อเนื่องเรื่อยมาก (อย่างเงียบเชียบ)

Tags:

เผอิญผมอยู่ในสายนี้เหมือนกัน เปิดอ่าน Top500 ของ Super Computer ของโลกเราทุกวันนี้ฉบับเดือนมิถุนา 2004 เห็นความเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่างครับ

Pages