ไมโครซอฟท์ออกส่วนขยายของ Visual Studio ชื่อ .NET Upgrade Assistant ช่วยอัพเกรดโปรเจค .NET เวอร์ชันเก่าๆ ให้เป็น .NET เวอร์ชันล่าสุด (6 หรือ 7 หรือ 8 Preview) ภายในไม่กี่คลิกเท่านั้น
ทิศทางของ .NET ในช่วงหลังคือการออกรุ่นใหม่ปีละ 1 ครั้ง โดยเป็นรุ่นซัพพอร์ตระยะยาว 3 ปี (LTS) ออกปีเว้นปี ทำให้การอัพเกรดมาใช้ .NET รุ่นใหม่เป็นสิ่งจำเป็น ไมโครซอฟท์จึงกระตุ้นให้นักพัฒนา .NET ทยอยอัพเกรดโปรเจคเก่าๆ ยุค .NET Framework หรือ .NET Core ที่ไม่พัฒนาต่อแล้วทั้งคู่ ให้มาเป็น .NET ยุคใหม่ๆ แทน
ไมโครซอฟท์ออก Visual Studio 2022 เวอร์ชัน 17.3 เป็นอัพเดตย่อยตัวที่สามของซีรีส์ มีของใหม่ที่สำคัญคือ .NET Multi-platform App UI (.NET MAUI) ชุดเครื่องมือสร้าง UI ข้ามแพลตฟอร์มตัวใหม่ เข้าสถานะเสถียรแล้ว
ไมโครซอฟท์ออก Visual Studio เวอร์ชัน ARM64 ตามที่สัญญาไว้ ตัวไฟล์ติดตั้งจะเป็นไฟล์เดียวกันกับ x86 ซึ่งจะตรวจสอบสถาปัตยกรรมที่ใช้งานให้อัตโนมัติก่อนดาวน์โหลดไฟล์จริงๆ ให้อีกที
Visual Studio ตัวแรกที่เป็นเนทีฟ ARM คือ Visual Studio 2022 17.3 Preview 2 โดยรุ่น ARM รองรับเฉพาะ Windows 11 เท่านั้น ตอนนี้สถานะยังเป็นพรีวิว และยังรองรับการพัฒนาเฉพาะ Desktop/C++, Desktop/.NET และ Web/.NET เท่านั้น ไมโครซอฟท์บอกว่าจะรับฟังความเห็นไปปรับปรุง ก่อนออกรุ่น General Availability (GA) ภายในปีนี้
ไมโครซอฟท์ประกาศในงาน Build 2022 เมื่อคืนนี้ ว่าจะทยอยออกเครื่องมือสำหรับนักพัฒนาบน Windows ให้รันบนสถาปัตยกรรม Arm แบบเนทีฟ ที่ระบุชื่อมีดังนี้
ไมโครซอฟท์ออก Visual Studio 2022 for Mac เวอร์ชันสมบูรณ์ มีสถานะ general availability (GA) และนับเป็นเวอร์ชัน 17.0
ของใหม่ที่สำคัญของ Visual Studio 2022 for Mac คือการเขียน UI ใหม่ที่เป็น native macOS ทั้งหมดแล้ว รองรับฟีเจอร์ของระบบปฏิบัติการอย่าง VoiceOver และ Voice Control, รองรับ Apple Silicon (ARM64) แบบเนทีฟ ไมโครซอฟท์บอกว่าเปิดโซลูชันใหญ่ๆ เร็วขึ้น 50% เมื่อเทียบกับ Visual Studio 2019 for Mac
ไมโครซอฟท์ปล่อยส่วนขยายสำหรับ Visual Studio 2022 เพื่อใช้งานบริการ GitHub Copilot บริการปัญญาประดิษฐ์ช่วยเขียนโค้ดที่ไมโครซอฟท์ร่วมมือกับ OpenAI จากเดิมรองรับเฉพาะ Visual Studio Code และ GitHub Codespaces เท่านั้น
ตัวส่วนขยายนี้เปิดให้ดาวน์โหลดได้ทุกคนแต่จะใช้บริการได้ต่อเมื่อได้เข้าโครงการทดสอบบริการ Copilot มาก่อนแล้วเท่านั้น เมื่อเปิดใช้งานจะมีโค้ดแนะนำจากปัญญาประดิษฐ์ขึ้นมาขณะพิมพ์ โดยแสดงโค้ดที่ปัญญาประดิษฐ์คาดว่าตรงความต้องการที่สุดแต่สามารถเลือกโค้ดแนะนำอื่นๆ ได้หาก Copilot แนะนำมาหลายชุด
ตอนนี้บริการ Copilot ยังคงจำกัดผู้เข้าร่วม หากต้องการใช้งานก็ต้อลงชื่อรอคิวเท่านั้น
Visual Studio เพิ่มฟีเจอร์เซฟอัตโนมัติเมื่อหน้าต่าง Visual Studio สลับไปทำงานเบื้องหลัง เพื่อแก้ปัญหาลืมเซฟโค้ดล่าสุด แล้วสลับไปใช้โปรแกรมอื่นทำงานกับโค้ดเดียวกัน เพื่อพบว่าโค้ดไม่ได้อัพเดต
ทีมพัฒนาของ Visual Studio บอกว่าได้ยินการรายงานปัญหาลืมเซฟโค้ดเป็นประจำ เมื่อสลับไปใช้เครื่องมืออื่น (เช่น ดีบั๊กเกอร์หรืออีมูเลเตอร์) ก็พบว่าเป็นโค้ดเก่า ไม่ใช่โค้ดล่าสุด หากไปแก้โค้ดในเครื่องมือตัวอื่น ก็จะมีปัญหาเรื่องการซิงก์โค้ดให้เป็นเวอร์ชันเดียวกันตามมาอีก
ไมโครซอฟท์ปรับปรุงฟีเจอร์ Live Unit Testing ให้กับ Visual Studio 2022 ช่วยให้สามารถรัน unit test ทันทีเมื่อโค้ดถูกแก้ไข
ฟีเจอร์ Live Unit Testing จะตรวจสอบว่าโค้ดส่วนไหนบ้างที่เปลี่ยน และรันเทสต์เฉพาะส่วนนั้นๆ อยู่เบื้องหลัง แล้วแจ้งเตือนว่าเทสต์ผ่านหรือไม่ สิ่งที่เพิ่มเข้ามาคือระบบ build ซอร์สโค้ดที่ทำงานได้เร็วขึ้น รองรับการรันเทสต์ขนาดใหญ่ขึ้น
Live Unit Testing เวอร์ชันใหม่ยังมีสถานะเป็นรุ่นพรีวิว ทดลองใช้ได้ใน Visual Studio Enterprise 2022 version 17.2 Preview 2 ขึ้นไป
ไมโครซอฟท์ประกาศเตือนวันสิ้นสุดระยะซัพพอร์ตของ Visual Studio เวอร์ชันเก่า ดังนี้
ไมโครซอฟท์ออก Visual Studio 2022 ตัวจริง หลังเปิดทดสอบพรีวิวมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2021
การเปลี่ยนแปลงสำคัญของ Visual Studio 2022 ได้แก่
สัปดาห์ที่ผ่านมาชุมชน .NET เกิดดราม่าขนาดกลางๆ ขึ้นเมื่อไมโครซอฟท์รับ pull request หมายเลข 22217 เข้ามายัง .NET SDK รุ่นโอเพนซอร์ส เป็นการถอนฟีเจอร์ Hot Reload ออกไปโดยระบุเหตุผลว่าฟีเจอร์นี้จะรองรับเฉพาะผู้ใช้ Visual Studio 2022 เท่านั้น และวันนี้ไมโครซอฟท์ก็ยอมถอย ใส่ฟีเจอร์กลับเข้ามาใหม่พร้อมเขียนบล็อกขอโทษชุมชน
แนวทางนี้ทำให้ไมโครซอฟท์ถูกโจมตีอย่างหนักว่าไม่ได้สนใจจะทำให้ .NET เป็นแพลตฟอร์มเปิดสำหรับนักพัฒนาจริงๆ แต่มุ่งจะขาย Visual Studio เท่านั้น
ไมโครซอฟท์ออก Visual Studio 2022 for Mac Preview 1 ให้คนทั่วไปดาวน์โหลดมาทดสอบแล้ว หลังทดสอบในกลุ่มปิดมาได้ระยะหนึ่ง
ไมโครซอฟท์นิยาม Visual Studio 2022 for Mac ว่าเป็น "modern .NET IDE" ที่ออกแบบมาสำหรับผู้ใช้แมค เพราะเปลี่ยนมาใช้ native UI ของ macOS โดยตรง มีทั้ง Dark/Light Theme และรองรับฟีเจอร์ของ OS อย่าง VoiceOver ในตัว
นอกจากนี้ มันออกแบบมาเพื่อเทคโนโลยีใหม่ๆ ของไมโครซอฟท์คือ .NET 6 และ C# 10 รวมถึง .NET MAUI ในอนาคตด้วย
ความนิยมของ Visual Studio Code ส่งผลให้มีคนสร้างชุดธีมเป็นจำนวนมาก ล่าสุดไมโครซอฟท์เปิดให้นำธีมเหล่านี้ไปใช้กับ Visual Studio 2022 รุ่นใหญ่ได้แล้ว
ไมโครซอฟท์ระบุว่ากำลังพัฒนาตัวช่วยแปลงธีม VS Code มาเป็นธีมของ VS 2022 และติดต่อผู้สร้างธีม VS Code หลายรายให้ลองทดสอบกันดูก่อน ผลคือธีมใหม่จำนวนหนึ่ง (กดดูรายชื่อทั้งหมดได้จากที่มา) ที่ใช้งานได้กับ VS 2022 Preview 4 ขึ้นไป
ผู้ที่สนใจพอร์ตธีมสามารถทดสอบตัวแปลงธีมได้แล้ว ไมโครซอฟท์บอกว่าตัวแปลงธีมยังเพิ่งเริ่มต้นพัฒนา และยังเน้นที่การทำธีมรองรับ C++ และ C# เป็นหลักก่อนขยายไปยังภาษาอื่นๆ ในระยะถัดไป
ไมโครซอฟท์อธิบายฟีเจอร์ใหม่ของ Visual Studio 2022 Preview 3 ที่พยายามแก้ปัญหาความน่าเชื่อถือของซอฟต์แวร์-ไลบรารีที่ใช้ ป้องกันปัญหาโดยยัดไส้มัลแวร์ที่กำลังเป็นที่นิยมในยุคนี้
ฟีเจอร์นี้ชื่อว่า Trust Settings ถ้าเปิดใช้งานแล้ว Visual Studio จะดึงข้อมูลจาก repository ที่เชื่อถือได้ (ตามการกำหนดนโยบายขององค์กร) เท่านั้น หากผู้ใช้พยายามเปิดข้อมูลจากโฟลเดอร์หรือ repository ที่อยู่นอกรายการ ก็จะพบกับคำเตือนตามภาพ
ไมโครซอฟท์ออก Visual Studio 2019 v16.11 มีอัพเดตฟีเจอร์เล็กน้อยเรื่อง Hot Reload ของการเขียนแอพ .NET, อัพเกรดคอมไพเลอร์ Clang/LLVM เป็นเวอร์ชัน 12, ปรับปรุงการใช้เมนู Git
ความสำคัญของ Visual Studio v16.11 คือจะเป็นอัพเดตสุดท้ายของ Visual Studio 2019 ที่มีฟีเจอร์ใหม่แล้ว หลังจากนี้จะมีแต่อัพเดตแก้บั๊กและความปลอดภัยเพียงอย่างเดียว เพราะไมโครซอฟท์ย้ายไปพัฒนา Visual Studio 2022 แทนแล้ว
Visual Studio 2019 v16.11 จะสามารถยังใช้ได้นานไปจนถึงปี 2029 (เท่ากับอายุขัยของ Visual Studio 2019) โดยหลังจากไมโครซอฟท์ออก v16.11 แล้วจะทยอยหยุดซัพพอร์ต v16.x รุ่นก่อนหน้านี้
ไมโครซอฟท์โชว์ฟีเจอร์ Hot Reload ตัวใหม่ของ Visual Studio 2022 Preview 2 ที่รองรับทั้งการเขียน .NET และ C++ แบบเนทีฟ
Hot Reload เป็นฟีเจอร์ของ IDE หลายตัวที่ช่วยให้แก้โค้ดแล้วเห็นการเปลี่ยนแปลงทันที ไม่ต้องรอรีสตาร์ตโปรแกรมที่เขียนอีกครั้ง ทำให้จังหวะการทำงานของโปรแกรมเมอร์เร็วขึ้นมาก อย่างไรก็ตาม การทำ Hot Reload ขึ้นกับภาษาและแพลตฟอร์มที่ใช้งานด้วย
ก่อนหน้านี้ Visual Studio รองรับ Hot Reload เฉพาะการเขียน .NET และ XAML สำหรับส่วน UI เท่านั้น รอบนี้ไมโครซอฟท์กลับไปทำการบ้านมาใหม่ ให้ Hot Reload เวอร์ชันใหม่รองรับการเขียนโปรแกรมหลากหลายมากขึ้น ได้แก่
ไมโครซอฟท์เริ่มเปิดทดสอบ Visual Studio 2022 ฝั่งพีซีมาสักพัก ฝั่งของ Visual Studio 2022 for Mac ก็เริ่มเปิดทดสอบแบบ Private Preview กันแล้ว
การเปลี่ยนแปลงสำคัญที่สุดของ Visual Studio 2022 for Mac คือการปรับมาใช้ UI แบบเนทีฟของ macOS โดยตรง ช่วยให้ประสบการณ์ใช้งานดีขึ้น ลื่นขึ้น แก้ปัญหาด้านประสิทธิภาพและเสถียรภาพ รวมถึงได้ฟีเจอร์ด้าน accessibility จากตัว OS โดยตรงด้วย
ไมโครซอฟท์บอกว่าขอเวลาแก้บั๊กสำคัญๆ อีกระยะหนึ่ง และจะเปิดทดสอบแบบ Public Preview ตามมาในไม่ช้า
ที่มา - Microsoft
กูเกิลเปิดชุดซอฟต์แวร์ Android Game Development Kit (AGDK) ชุดเครื่องมือที่รวมเครื่องมือย่อยๆ อีกหลายตัวเพื่อให้นักพัฒนาเกมสามารถพัฒนาเกมบนแอนดรอยด์ได้ง่ายขึ้น
ชุดพัฒนาประกอบไปด้วยส่วนขยายสำหรับ Visual Studio ที่นักพัฒนาเกมใช้งานเป็นหลักอยู่แล้ว, ไลบรารี Game Activity สำหรับการเชื่อมเกมเข้ากับแอนดรอยด์ ไม่ว่าจะเป็นอินพุตผ่านคอนโทรลเลอร์หรือการรับข้อความ, ชุดปรับแต่งประสิทธิภาพ ตรวจสอบการทำงานจีพียูและระยะเวลาที่ใช้โหลดเกมหรือประสิทธิภาพในการรัน
เครื่องมือทั้งหมดเปิดให้ดาวน์โหลดแล้ววันนี้
ที่มา - YouTube: Android Developers
จากที่ไมโครซอฟท์ประกาศไว้ว่า Visual Studio 2022 เป็น 64 บิตแล้ว รองรับแรมเกิน 4GB วันนี้ Visual Studio 2022 version 17.0 Preview 1 เปิดให้ทดสอบแล้ว
ของใหม่นอกจากเรื่อง 64 บิต ได้แก่
พบกันทุกสามปี ไมโครซอฟท์เปิดตัว Visual Studio 2022 เวอร์ชันพรีวิว ส่วนตัวจริงจะออกช่วงกลางปีนี้
จุดเด่นที่สุดของ Visual Studio 2022 คือเป็นแอพพลิเคชัน 64 บิตเต็มรูปแบบ ทำให้ไม่ถูกจำกัดเรื่องแรม 4GB อีกต่อไปแล้ว จะเปิดโซลูชันใหญ่ขนาดไหนก็แล้วแต่สะดวก ถ้าแรมถึงเงินถึง (ตัวเลขของไมโครซอฟท์ระบุว่าเปิดโซลูชันที่มี 1,600 โปรเจคต์ และ 300,000 ไฟล์ได้สบาย)
ไมโครซอฟท์ออก Visual Studio 2019 v16.8 ของใหม่ที่สำคัญคือ รองรับ .NET 5.0 และยกเครื่องฟีเจอร์ Git ครั้งใหญ่ และใช้ Git เป็น default version control
UI ใหม่มีตั้งแต่เมนู Git แบบใหม่แยกเฉพาะของตัวเอง พร้อมปุ่มลัด Alt+G, หน้าต่างสร้าง repo โฉมใหม่, การดูรายชื่อไฟล์จาก Git ใน Solution Explorer, เพิ่มหน้าต่าง Git repo แบบเต็มจอ, ปรับปรุงหน้าจอ merge conflict และเพิ่มหน้าจอตั้งค่า Git ให้ละเอียดขึ้น
ไมโครซอฟท์บอกว่านี่เป็นเพียงการเริ่มต้นของฟีเจอร์ Git เท่านั้น และจะทยอยเพิ่มฟีเจอร์อื่นๆ เข้ามาในเวอร์ชันถัดๆ ไป
ไมโครซอฟท์มี Visual Studio Codespaces ซึ่งเป็นบริการ IDE (VS Code) ผ่านเว็บ + โฮสต์เซิร์ฟเวอร์สำหรับคอมไพล์ เปิดมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2020 (ก่อนหน้านี้ใช้ชื่อ Visual Studio Online)
ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศยุบ Visual Studio Codespaces เข้าเป็นส่วนหนึ่งของบริการแบบเดียวกันแต่คนละแบรนด์คือ GitHub Codespaces
เหตุผลของการยุบคือบริการทั้งสองตัวซ้ำซ้อนกัน และสร้างความสับสน แถมความเห็นจากผู้ใช้งานมองว่าบริการ codespace ลักษณะนี้เหมาะกับการเชื่อมต่อผ่าน repository (GitHub) มากกว่า IDE (Visual Studio) ไมโครซอฟท์จึงตัดสินใจยุบเหลือตัวเดียว และโยกไปอยู่ใต้แบรนด์ GitHub แทน
ความนิยมของ Visual Studio Code กลายเป็นจุดอ่อนของไมโครซอฟท์ เพราะส่วนขยายของภาษาสำคัญๆ กลับมีใน Visual Studio Code มากกว่า Visual Studio ตัวหลัก
ล่าสุดไมโครซอฟท์ทยอยแก้ปัญหานี้ ด้วยการออก Angular Language Service ตามมาให้ Visual Studio แล้ว ทำให้นักพัฒนาบน Visual Studio สามารถใช้ฟีเจอร์ของ editor พวก auto-completion, rename กับภาษา Angular ได้เต็มรูปแบบ
นับเป็นข่าวดีสำหรับนักพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นที่ใช้เฟรมเวิร์คตระกูล ASP.NET เมื่อไมโครซอฟท์ประกาศออก Web Live Preview ส่วนขยายใหม่สำหรับ Visual Studio 2019 เพื่อเพิ่มความสะดวกใหักับการเขียนโค้ดในส่วนที่เป็น UI ของเว็บแอพพลิเคชั่นที่พัฒนาด้วย ASP.NET
การติดตั้งส่วนขยายดังกล่าวจะช่วยเพิ่มฟังก์ชั่น Edit in Browser ให้ VS 2019 ช่วยซิงก์การเปลี่ยนแปลงโค้ด UI ของเว็บกับการแสดงผลหน้าเว็บบนเบราว์เซอร์ ทำให้นักพัฒนาสามารถแก้ไขโค้ด ASPX (ASP.NET Web Forms) หรือ .cshtml, .vbhtml (ASP.NET MVC Razor) แล้วดูผลลัพธ์จากเบราว์เซอร์ได้ทันที
Visual Studio 2019 16.7 Preview 2 ที่ปล่อยมาวันนี้ นอกจากการรองรับการทดสอบโค้ดบน Kubernetes แล้ว ยังปรับปรุงการพัฒนาซอฟต์แวร์บนลินุกซ์ชุดใหญ่ ทางไมโครซอฟท์ก็เขียนบล็อคแสดงแนวทางการพัฒนา Visual Studio อีกอย่างหนึ่ง นั่นคือการรองรับการพัฒนาซอฟต์แวร์บนลินุกซ์เต็มรูปแบบ ด้วยแนวทาง 3 แนวทาง คือการรองรับ CMake บนลินุกซ์, การเชื่อมต่อ gdbserver, และการปรับปรุงการเชื่อมต่อ SSH
การรองรับ CMake บนลินุกซ์เริ่มรองรับตั้งแต่ Visual Studio 2019 version 16.6 Preview 3 ผ่านเอนจิน Ninja ข้อดีของมันคือทำงานได้เร็ว กระบวนการ build โครงการขนาดใหญ่ๆ อาจจะเร็วขึ้นถึงสามเท่าตัว