Windows Terminal ออกเวอร์ชั่นพรีวิว 1.19 หลังจากออกเวอร์ชั่น 1.18 ไปตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา โดยรอบนี้มีฟีเจอร์หลักหลายอย่าง ได้แก่
Unicode Consortium ประกาศว่าร่างมาตรฐาน Emoji 15.1 ผ่านการอนุมัติอย่างเป็นทางการแล้ว โดยจะมีอีโมจิใหม่ 118 รายการ เริ่มใช้งานได้ผ่านอุปกรณ์และแพลตฟอร์มต่าง ๆ ตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป
รายการอีโมจิที่เพิ่มมานี้ แบ่งเป็นของใหม่ 6 อย่าง ได้แก่ นกฟีนิกซ์, มะนาวสีเขียว (Lime), เห็ดสีน้ำตาล, โซ่ขาด, ส่ายหน้า, พยักหน้า เพิ่มอีโมจิครอบครัวใหม่ 4 รายการ ที่ไม่ระบุเพศคือ ผู้ใหญ่-ผู้ใหญ่-เด็ก, ผู้ใหญ่-เด็ก-เด็ก, ผู้ใหญ่-เด็ก และ ผู้ใหญ่-ผู้ใหญ่-เด็ก-เด็ก
Unicode Consortium ประกาศร่างมาตรฐาน Emoji 15.1 ซึ่งจะอนุมัติในขั้นตอนสุดท้ายเดือนกันยายนปีนี้ แล้วเริ่มมีผลใช้งานกับอุปกรณ์-แพลตฟอร์ม ตั้งแต่ปลายปี 2023 ถึงต้นปี 2024 ซึ่งแต่ละแพลตฟอร์มอาจออกแบบอีโมจิในแบบที่แตกต่างกัน แต่อิงคำแนะนำพื้นฐานเพื่อป้องกันความสับสน
อีโมจิใหม่ที่เพิ่มมาใน Emoji 15.1 ปีนี้ ได้แก่ ส่ายหน้า, พยักหน้า, นกฟีนิกซ์, มะนาวสีเขียว, เห็ดสีน้ำตาล, โซ่ขาด นอกจากนี้ยังเพิ่มอีโมจิครอบครัว ซึ่งแยกเป็นหลายรูปแบบไม่ระบุเพศได้แก่ ผู้ใหญ่-ผู้ใหญ่-เด็ก, ผู้ใหญ่-เด็ก-เด็ก, ผู้ใหญ่-เด็ก และ ผู้ใหญ่-ผู้ใหญ่-เด็ก-เด็ก
อัปเดตล่าสุดของ Google Messages เวอร์ชันเบต้า สามารถส่งอีโมจิแบบเคลื่อนไหวได้แล้ว แต่แอนิเมชันของอีโมจิ จะปรากฎก็ต่อเมื่อใน 1 ข้อความมีอีโมจิแต่เพียงตัวเดียวเท่านั้น (ส่งมากกว่า 1 ตัวใน 1 ข้อความ จะไม่มีแอนิเมชันเคลื่อนไหว)
ฟอนต์อีโมจิที่ใช้ก็จะยังเป็นของ Google/Android ตามเดิม โดยสามารถดูทั้งหมดได้ที่ GitHub Google Font และแน่นอนว่าอีกฝ่ายจะต้องใช้ Google Messenger เหมือนกันด้วยถึงจะเห็นอีโมจิเคลื่อนไหว
ที่มา: 9to5Google
กูเกิลอัพเดต Google Doodle ประจำวันที่ 29 มกราคม ด้วยมินิเกมเพื่อฉลองให้กับชาไข่มุก เครื่องดื่มจากไต้หวันที่เป็นที่นิยมไปทั่วโลก ซึ่งกูเกิลเลือกวันที่ 29 มกราคม เนื่องจากชาไข่มุกถูกประกาศเพิ่มในอีโมจิ ซึ่งสะท้อนความนิยมแพร่หลายนั่นเอง
ตัวเกมให้เรารับบทบาทเป็นสุนัขภูเขา Formosan หรือสุนัขไต้หวัน ที่เสิร์ฟชานมไข่มุกตามสเป็กของลูกค้าแต่ละคน ผู้เล่นต้องพยายามเติมส่วนผสมทั้งไข่มุก ชา และไซรัปให้พอดีกับตำแหน่งเส้น และได้ดาวสูงสุด 3 ดาวต่อแก้ว
กูเกิลยังเผยแพร่คลิปรายละเอียดการออกแบบเกมนี้ด้วย ดูได้ที่ท้ายข่าว
ผู้ใช้ wfme บนเว็บไซต์ Hacker News รายงานว่ากูเกิลจะแครชทุกครั้งที่พิมพ์ถามว่า “how many emojis on iOS” โดยเว็บไซต์แสดงข้อความผิดพลาด
คาดว่าสาเหตุเกิดจากคอนเทนต์ในเว็บไซต์ emojipedia.com มีข้อความบางอย่างที่ทำให้เอนจินของกูเกิลแครชไปได้ โดยหาค้นหาผลลัพธ์โดยให้ข้ามเว็บ emojipedia.com (ใส่ -inurl:emojipedia.com ในคำค้น) ไปก็จะทำงานได้ตามปกติ
ข้อความค้นหาคล้ายๆ กันจำนวนมาก เช่น การค้นหาจำนวนอีโมจิบนลินุกซ์ หรือระบบอื่นๆ ก็แสดงข้อความผิดพลาดหรือไม่ก็ทำงานช้ามากๆ เช่นกัน
ที่มา - Hacker News
Adobe รายงานผลสำรวจ Adobe’s Future of Creativity: 2022 U.S. Emoji Trend Report ซึ่งสำรวจการใช้อิโมจิจากผู้ใช้ 5,000 คนในสหรัฐอเมริกา โดยสำรวจว่าผู้ใช้ใช้อิโมจิเมื่อไรและใช้อย่างไร รวมถึงสาเหตุที่เลือกใช้อิโมจิด้วย
อิโมจิที่ได้รับความนิยมมากที่สุด 5 อันดับได้แก่ 😂, 👍, ❤️, 🤣, 😢 73% จากกลุ่มผู้ใช้มองว่าคนที่ใช้อิโมจิถูกมองว่าเป็นมิตรและตลกขึ้นกว่าคนที่ไม่ได้ใช้ ส่วนอีก 91% รู้สึกว่าอิโมจิทำให้พวกเขาแสดงความรู้สึกง่ายขึ้น
กูเกิลเพิ่มฟีเจอร์ให้แอพคีย์บอร์ด Gboard ผู้ใช้สามารกดปุ่มไม้กายสิทธิ์ที่มุมด้านขวา เพื่อให้ Gboard เลือกใส่ emoji ที่เกี่ยวข้องกับข้อความที่พิมพ์ให้อัตโนมัติ
ตัวอย่างคือข้อความ "OMG that cake was amazing" สิ่งที่เราจะได้กลับมาคือ emoji ที่เกี่ยวข้อง เช่น 😮🤩🍰 แต่ถ้า Gboard เลือกมาให้แล้วยังไม่โดนใจ ผู้ใช้สามารถกดปุ่มไม้กายสิทธิ์ย้ำๆ เพื่อเปลี่ยน emoji ที่เลือกเป็นรูปแบบอื่นๆ แทนได้ พอใจแล้วค่อยกดส่งข้อความให้ผู้รับ (ถ้านึกไม่ออก ลองดูแอนิเมชัน)
Google Docs เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ช่วยให้การค้นหา emoji ทำได้ง่ายขี้น เพียงแค่พิมพ์ @ แล้วตามด้วยชื่อหรือคำอธิบาย emoji ที่ต้องการ เช่น "@smile" "@cat" "@dog" หรือถ้าคิดไม่ออกสามารถพิมพ์ "@:" เพื่อแสดงรายการ emoji ทั้งหมดให้เลือกได้เอง
ฟีเจอร์นี้สามารถใช้งานได้แล้วกับ Google Docs ทั้งแบบบัญชีส่วนตัว และบัญชี Google Workspace
ที่มา - Google Workspace
Telegram เปิดตัว Telegram Emoji Platform ฟีเจอร์ใหม่เกี่ยวกับอีโมจิ รวมทั้งฟีเจอร์ใหม่อีกหลายรายการ มีรายละเอียดดังนี้
ฟีเจอร์อื่นได้แก่ แถบสติกเกอร์-GIF แบบใหม่ สำหรับผู้ใช้ iOS ซึ่ง Android และบนเว็บอัพเดตไปแล้วก่อนหน้านี้, สามารถส่งของขวัญเป็น Telegram Premium หากันได้ และ Interactive Emoji แบบใหม่เพิ่มเติม
ไมโครซอฟท์ประกาศโอเพนซอร์ส อีโมจิ 3D ซึ่งมีทั้งหมด 1,538 รายการ โดยครีเอเตอร์สามารถนำไปผสมหรือสร้างสรรค์ต่อยอดได้
รายละเอียดงานทั้งหมดสามารถดาวน์โหลดได้ที่ Figma หรือที่ GitHub
Jon Friedman ผู้บริหารฝ่ายงานออกแบบและวิจัยของไมโครซอฟท์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เดิมอีโมจิ 3D รูปแบบใหม่ที่มีใช้งานใน Windows 11 และ Microsoft Teams ไม่ได้วางแผนจะโอเพนซอร์ส แต่ก็มีความคิดเห็นเสนอขึ้นมา เพื่อสนับสนุนวงการออกแบบและสร้างสรรค์ โดยดูจากช่วงโควิดที่ผ่านมา อีโมจิเข้ามามีบทบาทมากขึ้นต่อการสนทนา เพื่อแสดงอารมณ์ของผู้พูดที่ชัดเจนขึ้นนั่นเอง
HP วางขายโน้ตบุ๊กรุ่น Pavilion Plus 14 นอกจากสเปกภายในใช้ซีพียูรุ่นใหม่ Intel 12th Gen ตามรอบปกติ และใช้จอ OLED 1800p 90Hz แล้ว ยังมีจุดที่น่าสนใจคือบนคีย์บอร์เพิ่มปุ่ม Emoji เข้ามาให้เป็นพิเศษด้วย
ปุ่ม Emoji รูปหน้ายิ้ม 😀 แชร์ตำแหน่งกับปุ่ม F1 ของเดิม (สลับใช้งานด้วยปุ่ม Fn) กดแล้วจะเป็นการเรียกหน้าต่าง Emoji ของ Windows ขึ้นมา (เท่ากับการกดปุ่ม Win+; ที่ได้ผลเหมือนกัน)
การเพิ่มปุ่มช็อตคัตพิเศษสำหรับงานบางอย่างที่ใช้บ่อยๆ ไม่ใช่เรื่องใหม่ของวงการพีซี ในอดีตเราเห็นการเพิ่มปุ่มรับสาย-วางสายกันมาเยอะแล้ว แต่นี่อาจเป็นครั้งแรกๆ ที่มีปุ่ม Emoji เฉพาะเพิ่มเข้ามา สะท้อนความนิยมของการพิมพ์ Emoji ในการสื่อสารยุคปัจจุบัน
Unicode Consortium ประกาศร่างมาตรฐาน Emoji 15.0 ซึ่งคาดว่าจะเริ่มใช้เป็นทางการช่วงปลายปี 2022 ถึงต้น 2023 มีอีโมจิเพิ่มมาอีก 31 รายการ ซึ่งเป็นจำนวนที่น้อยเมื่อเทียบกับปีก่อน ๆ
รูปแบบอีโมจิจะแตกต่างกันไปตามแต่แพลตฟอร์มนั้นออกแบบ โดย Emojipedia ได้นำเสนอแบบร่างของอีโมจิใหม่ไว้ ดูได้จากรูปตัวอย่างด้านล่าง
ของใหม่ใน Emoji 15.0 ได้แก่ ใบหน้าส่าย, หัวใจสีเทา, หัวใจสีฟ้า, หัวใจสีชมพูอ่อน, ลา, แมงกะพรุน, กวางมูส, ปีก, ขิง, ดอกไฮยาซินธ์, ถั่วลันเตา, พัดพับ, มาราคัส, ฟลูต, หวีแบบแอโฟร, ขัณฑา สัญลักษณ์ของศาสนาซิกข์, สัญลักษณ์ Wi-Fi, มือผลักด้านซ้ายและขวา
ที่มา: Emojipedia
WhatsApp ประกาศขยายความสามารถฟีเจอร์ emoji reactions ที่ผู้ใช้งานสามารถกดอีโมจิแสดงความรู้สึกที่หลากหลายต่อข้อความ จากเดิมที่มีตัวเลือก 6 แบบ มาเป็นใช้อีโมจิไหนก็ได้
Mark Zuckerberg ซีอีโอ Meta เจ้าของ WhatsApp ประกาศผ่าน Facebook ของเขาถึงฟีเจอร์ใหม่นี้ พร้อมบอกว่าอีโมจิโปรดของเขา เช่น 🤖🍟🏄♂️😎💯👊
ฟีเจอร์ใหม่นี้ทำให้ WhatsApp มีลูกเล่นเทียบกับแอปแชตอื่นมากขึ้น โดยจะทยอยอัพเดตกับผู้ใช้งานทุกคน
ที่มา: Engadget
กูเกิลเปิดตัวฟอนต์ใหม่ Noto Emoji ฟอนต์อีโมจิสีขาวดำโดยเฉพาะ เป็นทางเลือกใหม่นอกเหนือจาก Noto Emoji Color ที่เป็นอีโมจิแบบสี
กูเกิลบอกว่าตั้งใจทำ Noto Emoji เป็นสีขาวดำโมโนโครม อ่านง่าย นำไปใช้ต่อได้ง่ายทั้งบนพื้นหลังสีอ่อนเข้ม (light/dark mode ตามสมัยนิยม) แถมเปลี่ยนฟอนต์เป็นสีพื้นสีอื่นได้สะดวกด้วย
การแปลงสัญลักษณ์อีโมจิจาก Noto Emoji Color มีทั้งการใช้รูปเดิมแบบตรงๆ และการเปลี่ยนรูปถ้าจำเป็นต้องทำ เช่น ธงชาติที่แยกแยะด้วยสีขาวดำไม่ได้ เปลี่ยนมาใช้ธงที่มีตัวอักษรย่อชื่อประเทศแทน นอกจากนี้ ไอคอนใบหน้า blob ที่เคยใช้ในอีโมจิของกูเกิลมายาวนาน (ตัวใน thumbnail ของ Blognone) ก็นำกลับมาแล้วอีกครั้งด้วย
กูเกิลอธิบายวิธีแก้ปัญหาการแสดง emoji เป็นกล่องสี่เหลี่ยมใน Android ที่เกิดจากระบบปฏิบัติการรุ่นเก่าไม่รองรับ emoji รุ่นใหม่ๆ ที่ออกตามหลังจากนั้น
เบื้องหลังการทำงานของ emoji เป็นฟอนต์ที่มีอักขระตามรหัส Unicode โดยกรณีของกูเกิลใช้ฟอนต์ชื่อ Noto Emoji (เป็นหนึ่งในฟอนต์ชุด Noto ที่ชื่อมาจากคำว่า no more tofu ซึ่งเต้าหู้หมายถึงกล่องที่แสดงฟอนต์ไม่ได้) ที่จะอัพเดตไอคอน emoji ให้ทันสมัยตลอดเวลา ปัจจุบัน Noto Emoji รองรับแล้ว 3,366 ตัว
Google Docs เตรียมเปิดให้คอมเมนต์งานด้วย Emoji จากเดิมที่คอมเมนต์งานด้วยตัวอักษรเท่านั้น โดย Emoji สามารถปรับเปลี่ยนเพศได้ตามต้องการ รวมถึงสีผิว และ Admin ของระบบไม่สามารถควบคุมการใช้งาน Emoji ของผู้ใช้ทั่วไปได้
ทั้งนี้ผู้ใช้บางส่วนสามารถคอมเมนต์งานด้วย Emoji บน Google Docs ได้ตั้งแต่วันที่ 5 เม.ย. 2022 ก่อน Google จะเปิดให้ผู้ใช้งานทั่วไปใช้ในวันที่ 20 เม.ย. 2022 นอกจากนี้ผู้ใช้งานระดับองค์กรสามารถคอมเมนต์งานด้วย Emoji ได้เช่นกัน
Emoji เริ่มถูกใช้งานในการทำงานมากขึ้น เช่น การใช้งาน Emoji บนแอปพลิเคชัน Slack ถือเป็นการต่อยอดจากเดิมที่ Emoji จะถูกใช้งานในแอปพลิเคชันพูดคุยทั่วไป หรือบนโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ที่ไม่ได้เน้นเรื่องความทางการในการสื่อสาร
Meta ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ให้กับแอป Messenger (Facebook Messenger) ชุดใหม่ เป็นคีย์ลัดให้พิมพ์ในช่องแชต ฟีเจอร์สำคัญคงเป็น /silent
ที่ทำให้ข้อความไม่ถูกแจ้งเตือน สำหรับการส่งข้อความไม่สำคัญที่ไม่ต้องการรบกวนผู้รับ หรือส่งนอกเวลาที่เหมาะสม และยังมีฟีเจอร์อื่นๆ เช่น
Unicode Consortium หน่วยงานที่รับรองมาตรฐานการออกอีโมจิ รายงานสถิติอีโมจิยอดนิยมของปี 2021 โดยใบหน้าดีใจพร้อมน้ำตาไหล หรือ tears of joy (?) เป็นอีโมจิที่คนนิยมส่งหากันมากที่สุด ตามด้วยหัวใจสีแดง (❤️) อยู่ในอันดับที่ 2
ข้อมูลน่าสนใจจากการจัดอันดับนี้พบว่าอีโมจิยอดนิยมใน 10 อันดับแรกนั้น ของปี 2021 เทียบกับปี 2019 ซึ่งมีการจัดอันดับเช่นกัน คล้ายกันมาก โดยมีอีโมจิที่ต่างกันเพียง 1 รายการ รวมทั้งอันดับ 1-2 ก็เหมือนเดิม เมื่อจัดกลุ่มดูว่าอีโมจิประเภทไหนที่คนนิยมส่ง พบว่าใบหน้ายิ้มในแบบต่าง ๆ เป็นกลุ่มอีโมจิที่คนส่งหากันมากที่สุด ตามด้วยหัวใจในรูปแบบต่าง ๆ และกลุ่มใบหน้าที่แสดงความกังวล
ดูรายละเอียดอันดับอีโมจิยอดนิยมแบบแยกรายหมวดได้จากที่มา
ไมโครซอฟท์เริ่มปล่อยอีโมจิดีไซน์ใหม่ของ Windows 11 ตามที่สัญญาไว้ โดยตอนนี้ผู้ใช้ Windows 11 สามารถเลือกอัพเดต November 2021 Windows 11 แบบพรีวิว (เป็น optional ใน Windows Update) ได้แล้ว
อีโมจิใหม่ของ Windows 11 เป็นการปรับดีไซน์ให้เข้าสไตล์ Fluent Design ของไมโครซอฟท์ มีแสงเงามากขึ้นกว่าเดิม แต่ก็ยังไม่ใช่อีโมจิ 3D ที่เคยโชว์มาก่อนหน้า ซึ่งไมโครซอฟท์ก็ไม่ได้ให้เหตุผลว่าทำไมถึงไม่ทำอีโมจิแบบ 3D อีกแล้ว
หลังเสร็จภารกิจออก Windows 11 ตัวจริง (GA) ไมโครซอฟท์ก็เดินหน้าพัฒนา Windows 11 ต่อภายใต้โครงการ Windows Insider และออก Preview Build 22478 ถือเป็นรุ่นพรีวิวตัวแรกของ Windows 11 เวอร์ชันถัดไป (ตอนนี้เปลี่ยนมาอัพเดตปีละครั้งแล้ว รอบหน้าเจอกันตุลาคม 2022)
ของใหม่ใน Build 22478 คืออีโมจิแบบใหม่ที่ปรับดีไซน์ตามแนวทาง Fluent Design ของ Windows 11 ซึ่งดูเผินๆ ก็น่ารัก สดใสสวยงามดี (อีโมจิชุดนี้จะเปิดให้กลุ่ม Insider ใช้งานก่อน แล้วจะปล่อยให้คนใช้ Windows 11 GA ผ่านอัพเดตรายเดือนในภายหลัง)
LINE เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ “ไอคอน REACTION” บนห้องแชท โต้ตอบข้อความและรูปภาพในห้องแชทได้ คล้ายกับฟีเจอร์รีแอคชั่นใน Facebook แต่มีความแตกต่างตรงที่ ไอคอน REACTION ใน LINE จะไม่มีการแจ้งเตือน เพื่อไม่ให้รบกวนการสนทนา
โดยไอคอน REACTION นี้จะสามารถใช้งานได้สำหรับผู้ใช้งาน LINE เวอร์ชั่น 11.11.0 ขึ้นไป สามารกดยกเลิกและเปลี่ยนรีแอคชั่นได้ กดดูที่ข้อความว่าใครเป็นผู้ส่งอีโมจินั้นๆ ได้ด้วย
กูเกิลประกาศปรับปรุงอีโมจิบนแพลตฟอร์ม เพื่อฉลองวันอีโมจิโลก 17 กรกฎาคม โดยระบุว่าทำให้เข้าถึงกับผู้ใช้งานทุกคน (Universal Design) และมีความชัดเจนมากขึ้น
อีโมจิที่ปรับปรุงใหม่มีทั้งหมด 992 รายการ กูเกิลจะเริ่มทยอยเปลี่ยนแปลงในแพลตฟอร์ม Gmail และ Google Chat รวมถึง Chrome OS ในเดือนนี้ ส่วน Android จะมาพร้อมกับ Android 12 ที่กำหนดออกช่วงปลายปี
ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงของอีโมจิที่น่าสนใจ เช่น รูปหน้าสวมมาสก์ ลูกตาจะเปิดโตขึ้น จากเดิมเป็นตาปิด, ขนมพาย เปลี่ยนจากแบ่งชิ้น เป็นทั้งถาด เพื่อให้ใช้แทนได้ทั้งพายแบบคาวและหวาน, บิกินี่ เปลี่ยนการจัดวาง ให้ไม่ดูเป็นการสวมใส่กับหุ่น เป็นต้น
Facebook Messenger ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ Soundmojis หรืออีโมจิแบบมีเสียง (คนใช้ LINE อาจชินแล้ว) ซึ่ง Facebook บอกว่า เป็นการเพิ่มประสบการณ์การแชตที่สนุกมากขึ้น และร่วมฉลองวันอีโมจิโลก 17 กรกฎาคมนี้ โดยสามารถกดเลือกส่งอีโมจิแบบมีเสียงได้ ซึ่งอยู่ในส่วนไอคอนรูปหน้ายิ้มข้างกล่องข้อความ และเลือกแถบลำโพงส่งเสียง
เบื้องต้น Soundmoji มีให้เลือก 27 แบบ อาทิ เสียงปรบมือ จิ้งหรีด รัวกลอง เป็นต้น โดยจะมีเพิ่มเติมอีกในอนาคต
ดูตัวอย่างได้จากคลิปด้านล่าง
ที่มา: Facebook
Twitter เปิดตัวอีโมจิสำหรับ #MilkTeaAlliance หรือพันธมิตรชานม เป็นอีโมจิรูปแก้วชานมที่มีพื้นหลังสามสีซึ่งสะท้อนถึงสีต่างๆ ของชานมในแต่ละประเทศ โดย MilkTeaAlliance เป็นพันธมิตรความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันทางออนไลน์ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายนปี 2020 ที่ผ่านมา
การแสดงอีโมจิชานม สามารถพิมพ์ได้ทั้งภาษาไทยว่า พันธมิตรชานม และภาษาอื่นๆ คือ ภาษาอังกฤษ จีน เกาหลี เมียนมา ทาง Twitter บอกด้วยว่า มีการทวีตพูดคุยถึงพันธมิตรชานม 11 ล้านทวีตในปีที่ผ่านมา