หลังจากที่ทาง Raspberry Pi Foundation ได้เปิดตัว Raspberry Pi OS 64 บิต รุ่นเบต้าไปเมื่อสองปีก่อน ล่าสุด เมื่อวานนี้ทาง Raspberry Pi Foundation ได้เปิดตัว Raspberry Pi OS 64 บิต รุ่นใหม่ที่ออกจากสถานะรุ่นเบต้าแล้ว
Raspberry Pi OS รุ่น 64 บิต รองรับการทำงานบนสถาปัตยกรรม ARMv8-A โดยรองรับ Raspberry Pi รุ่นดังต่อไปนี้
- Raspberry Pi Zero 2
- Raspberry Pi 3
- Raspberry Pi 4
- Raspberry Pi 400
ใครสนใจสามารถเข้าไปโหลดได้ที่ Raspberry Pi OS
วันนี้ 30 มกราคม พ.ศ.2565 ทางทีมพัฒนา PyThaiNLP ได้ปล่อยแพ็กเกจประมวลผลภาษาธรรมชาติ PyThaiNLP รุ่น 3.0 หลังจากที่ปล่อย PyThaiNLP 2.3 ไปเมื่อปีก่อน
PyThaiNLP 3.0 มีความเปลี่ยนแปลงสรุปได้ดังนี้
หลังจาก PINE64 เปิดตัว PinePhone Pro ไปเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว โดยขายให้กับนักพัฒนาลินุกซ์เท่านั้น
ล่าสุดเมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา ทาง PINE64 เปิดขาย PinePhone Pro รุ่น Explorer Edition สำหรับบุคคลผู้สนใจ ซึ่งผมได้สั่งมา 1 เครื่อง ราคา 399 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 13,328 บาทX และได้ลองเล่นมา 2 วัน จึงถือโอกาสมาเขียนรีวิวให้กับชุมชนชาว Blognone โดยผมจะรีวิวเฉพาะฝั่งฮาร์ดแวร์อย่าง PinePhone Pro อย่างเดียว เพราะซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ยังไม่สมบูรณ์อีกมาก
เมื่อเวลาประมาณ 21:00 น. ที่ผ่านมาผู้ใช้งานทวิตเตอร์เริ่มรายงานว่า Joylada (จอยลดา) แอพอ่านนิยายสัญชาติไทยชื่อดังจากค่าย Ookbee ระบบล่มไม่สามารถใช้งานได้ ทำให้ขณะนี้ #จอยล่ม ขึ้นเทรดอันดับสามของทวิตเตอร์ (22:16 น. วันที่ 20 ธันวาคม)
อัปเดต: 23:20 น. สามารถกลับมาใช้งานปกติแล้ว
รอฉันรอเธออยู่แต่ไม่รู้เธออยู่หนใด เธอจะมาเธอจะมาเมื่อไหร่ ?#จอยล่ม pic.twitter.com/BajODtcD1p
วันนี้ทาง Raspberry Pi ได้เปิดตัว Raspberry Pi Zero 2 W ใน โดยพัฒนาต่อจากรุ่นเดิมคือ Raspberry Pi Zero W หลังจากที่วางขายมานานกว่า 5 ปี
โดยมีสเปคดังนี้
หลังจากเมื่อหลายปีก่อน ทาง Alibaba ได้เปิดตัวชิปเซ็ต Xuantie 910 ของตัวเอง เพื่อป้องกันปัญหาสงครามการค้ากับสหรัฐ
ล่าสุดจากงาน Apsara Conference 2021 ของ Alibaba Cloud ที่ผ่านมา ทาง Alibaba โดย Zhang Jianfeng ผู้อำนวยการ Alibaba Cloud Intelligence ได้ประกาศโอเพนซอร์ซชิป Xuantie ซึ่งเป็นชิปบนสถาปัตยกรรม RISC-V ของตัวเองออกมา ได้แก่ชิป Xuantie E902, E906, C906 และ C910 ที่สามารถรัน Android ได้ รวมไปถึงซอฟต์แวร์และเครื่องมือต่าง ๆ สำหรับสถาปัตยกรรม RISC-V
Pine64 เป็นบริษัทผลิตบอร์ดและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในสายลินุกซ์ ล่าสุดเปิดตัวมือถือใหม่ ชื่อ PinePhone Pro โดยเป็นโทรศัพท์มือถือที่ทำงานด้วยลินุกซ์
จากเดิมที่ทาง Pine64 มีมือถือของตัวเองในชื่อ PinePhone ซึ่งเป็นมือถือที่ทำงานด้วยระบบปฏิบัติการสายลินุกซ์เต็มตัว ไม่ใช่การพอร์ตบนฐาน Android เหมือนมือถือรุ่นอื่น ๆ และสามารถ flash รอมเข้าไปได้อย่างง่ายดาย ทำให้ PinePhone สามารถทำงานด้วยระบบปฏิบัติการอย่าง Ubports (พัฒนาต่อจาก Ubuntu touch), postmarketOS และอื่น ๆ รวมไปถึง Debian ตัวเต็มได้อีกด้วย
PinePhone Pro มีสเปคดังนี้
วันนี้ทางสถาบันวิจัยปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIResearch) และทีม PyThaiNLP ปล่อยโมเดลถอดความจากเสียงพูดภาษาไทย (Automatic Speech Recognition) ที่มีความแม่นยำทัดเทียมกับกูเกิล และบริษัทชั้นนำอื่น ๆ
โมเดลดังกล่าวฝึกฝนบนชุดข้อมูล Mozilla Common Voice 7.0 ที่ได้รับการบริจาคเสียงภาษาไทย จำนวน 133 ชั่วโมง ผู้พูด 7,212 คน (อ่านเพิ่มเติม ร่วมบริจาคเสียงพูดภาษาไทยด้วย Mozilla Common Voice) โดยฝึกกับโมเดล XLSR-Wav2Vec2 ของ Facebook
ทางสถาบันวิจัยได้ปล่อยโมเดลมาในรูปแบบลิขสิทธิ์ CC-BY-SA 4.0 และได้อัปโหลดขึ้น Hugging Face โดยสามารถใช้งานได้ผ่านไลบรารี transformers ในภาษาไพธอนได้
Pine64 เป็นบริษัทผลิตบอร์ดคอมพิวเตอร์ในสายลินุกซ์ ล่าสุดได้เปิดตัวแท็บเล็ตจอ E-ink ที่ทำงานด้วยลินุกซ์ในชื่อ PineNote
สำหรับสเปคของแท็บเล็ต PineNote มีดังนี้
โดยจะเปิดขายสำหรับ early adopters ราคา 399 ดอลลาร์ ภายในปีนี้
เว็บไซต์ expatvac.consular.go.th เป็นเว็บสำหรับรับลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับชาวต่างชาติของกระทรวงต่างประเทศ ได้มีผู้ใช้งานทวิตเตอร์ @RichardBarrow ค้นพบว่า ในเว็บไซต์ลงทะเบียนดังกล่าวได้มีการแสดงรายชื่อ อีเมล ของผู้ลงทะเบียน และมีบางคนค้นพบว่า สามารถเข้าดูข้อมูลส่วนบุคคลภายในได้ โดยเพียงแค่แก้ไข URL
วันนี้เวลาประมาณ 10:00 น. มีรายงานว่าผู้ใช้งาน LINE ในประเทศไทยบนเครือข่าย TrueMove H ไม่สามารถใช้งาน LINE ได้ จากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ #ไลน์ล่ม ขึ้นเทนด์อันดับ 1 ของทวิตเตอร์ ณ เวลานี้ ต่อมาทางเพจ TrueMove H ได้โพสต์ว่า ขณะนี้ Line ขัดข้อง และทางบริษัทได้แจ้งไปทาง Line แล้ว แต่กลับลบโพสต์ดังกล่าวทิ้งในเวลาต่อมา
ส่วนตัวผม ยังสามารถใช้งาน LINE ได้ในเครือข่ายอื่น ๆ
Radxa เปิดตัว Radxa Zero โดยบอกว่าเป็นบอร์ดคอมพิวเตอร์ฝังตัวทางเลือกของ Raspberry Pi Zero W ที่มีขนาดเท่ากัน แต่ใช้ชิป Amlogic S905Y ทำให้ประมวลผลได้สูงถึง 2.0 GHz แรม LPDDR4 เริ่มต้น 512MB สูงสุด 4GB
พอร์ตเป็น micro SD, micro HDMI, GPIO 40 ขา เข้ากันได้กับ Raspberry Pi, USB 3.0 Type C และ USB 2.0 Type C แถมรองรับ eMMC เริ่มต้น 8GB ถึง 128GB รองรับ Micro SD Card
ส่วนราคาเริ่มต้นที่ 15 ดอลลาร์ ถึง 45 ดอลลาร์ กำหนดวางขายในอีก 8 สัปดาห์ข้างหน้า
FeedBurner เป็นบริการฟีดข้อมูลที่อยู่คู่กับ Google มานานตั้งแต่กระแส web 2.0 ล่าสุด กูเกิลประกาศย้ายระบบ FeedBurner จากโครงสร้างเดิมไปยังโครงสร้างระบบใหม่ที่มีความเสถียรมากขึ้น พร้อมกับยกเลิกบริการสมัครรับข้อมูลผ่านอีเมล ซึ่งเป็นบริการของ FeedBurner ไปพร้อมกันด้วย ทำให้ FollowByEmail ของ Blogger ต้องถูกยกเลิกให้บริการตามไปด้วย โดยกำหนดการยกเลิก คือ เดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้
ทางกูเกิลได้แนะนำเจ้าของฟีดข้อมูลที่ใช้บริการสมัครรับข้อมูลผ่านอีเมลให้ดาวน์โหลดข้อมูลรายการสมาชิกอีเมลและย้ายไปใช้งานบริการรสมัครรับข้อมูลผ่านอีเมลอื่น ๆ แทน ส่วนความสามารถอื่น ๆ ของ FeedBurner ยังสามารถใช้บริการได้อยู่
เทคโนโลยีการรู้จำเสียง (Speech Recognition) เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้เราสื่อสารหรือสั่งงานกับคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น ซึ่งระบบดังกล่าวเป็นที่นิยมกันอย่างเผยแพร่ ตัวอย่างเช่น ใช้งานในระบบผู้ช่วยอัจฉริยะ, ใช้สร้างคำบรรยายในวิดีโอ และใช้พิมพ์ข้อความตามเสียง เป็นต้น อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีการรู้จำเสียงทุกภาษาต้องการชุดข้อมูลเสียงขนาดใหญ่สำหรับมาทำเทคโนโลยีดังกล่าว ยิ่งมีข้อมูลมากเท่าไร ความแม่นยำยิ่งสูงขึ้น แต่ชุดข้อมูลเสียงขนาดใหญ่จำนวนมากที่ถูกสร้างโดยบริษัทใหญ่ ๆ เราไม่สามารถใช้งานได้ เนื่องจากราคาที่แพงหรือติดลิขสิทธิ์ จึงทำให้บริษัทเล็ก ๆ หรือนักพัฒนาไม่สามารถเข้าถึงชุดข้อมูลดังกล่าวได้
วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2564 ไลบรารีภาษาไพธอนสำหรับประมวลผลภาษาไทย PyThaiNLP ได้ปล่อยเวอร์ชัน 2.3 โดยสรุปความเปลี่ยนแปลงได้ดังนี้
ข้อมูลเปิดเผย: ผู้เขียนเป็นสมาชิกในทีมพัฒนา PyThaiNLP
หลังจากทาง Innersloth ผู้พัฒนาเกม Among Us ประกาศเปิดตัวแผนที่ใหม่ชื่อว่า เรือเหาะ (Airship) ซึ่งอ้างอิงจากเกม Henry Stickmin ในช่วงปลายปีที่แล้ว
มาวันนี้ Innersloth ประกาศวันปล่อยแผนที่เรือเหาะ 31 มีนาคม ค.ศ.2021 นี้ เป็นการอัปเดตฟรี สามารถเล่นได้ทุกอุปกรณ์ที่เกมรองรับ มาพร้อมกับ Task ใหม่, เลือกห้องหลังประชุม และระบบบัญชี
ปัจจุบัน Innersloth มีสมาชิกสำหรับพัฒนาเกมทั้งหมด 5 คน เนื่องจากจำนวนผู้พัฒนาที่น้อย ทำให้แผนการปล่อยแผนที่ใหม่ล่าช้ากว่ากำหนดเดิมต้นปี 2021
วันนี้ทางสถาบันวิจัยปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทยเปิดตัวชุดข้อมูลจำแนกอารมณ์จากเสียงพูดภาษาไทย (Thai Speech Emotion Recognition) หลังจากใช้เวลาพัฒนา 2 ปี ภายใต้ความร่วมมือของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับการสนับสนุนโดยบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด
ชุดข้อมูลจำแนกอารมณ์จากเสียงพูดภาษาไทยประกอบไปด้วย 5 อารมณ์ ได้แก่ โกรธ เศร้า สุข หงุดหงิด ปกติ นักแสดง 200 คน (ชาย 87 และหญิง 113) จำนวน 36 ชม. (23,797 ประโยค) ถือเป็นชุดข้อมูลจำแนกอารมณ์จากเสียงพูดภาษาไทยที่ใหญ่ที่สุด ณ ปัจจุบัน
ท่านใดสนใจสามารถดาวน์โหลดได้ที่ airesearch.in.th
สถาบันวิจัยปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (VISTEC-depa Thailand Artificial Intelligence Research Institute) ปล่อยโมเดล WangchanBERTa ซึ่งเป็นโมเดลทางภาษาไทยสำหรับงานประมวลผลภาษาธรรมชาติโดยฝึกฝนบนสถาปัตยกรรม RoBERTa
โมเดล WangchanBERTa ถูกฝึกฝนด้วยชุดข้อมูลกว่า 78.48 GB ใช้ตัวตัดคำย่อย SentencePiece ในการแบ่งคำและ ใช้เวลาฝึกฝนโมเดล 3 เดือน
ทำให้โมเดล WangchanBERTa ถือเป็นโมเดลภาษาไทยที่ใหญ่ที่สุด ณ ขณะนี้ ซึ่งในการฝึกฝนใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 10,566.5 kWh หรือคิดเป็นรอยเท้าคาร์บอน 7.5 ตัน เทียบเท่าการใช้รถ 1.6 คันในหนึ่งปี
ผู้ใช้งานหน้า Google Cloud Console ภาษาไทยพบว่า Google ขึ้นประกาศบนหน้า Google Cloud Console ของ Google Cloud Platform ว่า
ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2021 เป็นต้นไป Cloud Console จะไม่รองรับภาษาไทย คุณต้องเปลี่ยนเป็นภาษาอื่น ไม่เช่นนั้นคอนโซลจะใช้ภาษาเริ่มต้นเป็นภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน การดาวน์โหลดแอปบนอุปกรณ์เคลื่อนที่จะใช้ภาษาเริ่มต้นเป็นภาษาอังกฤษแบบอเมริกันหลังจากวันที่ 15 มกราคม
โดยมีปุ่มให้เปลี่ยนภาษา ผู้ใช้งาน Google Cloud Platform ภาษาไทย สำหรับผู่ที่ใช้หน้าจอคอนโซลภาษาไทยอยู่อย่าลืมไปเปลี่ยนภาษาหน้า Google Cloud Console ที่ตัวเองถนัดกันนะครับ
วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2563 ไลบรารี PyThaiNLP ซึ่งเป็นไลบรารีประมวลผลภาษาไทยแบบโอเพนซอร์สในภาษาไพธอน ได้ออกรุ่น 2.2 โดยเน้นปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของไลบรารี โดยสรุปความเปลี่ยนแปลงได้ดังนี้
วันนี้ทาง Raspberry Pi Foundation เปิดตัว Raspberry Pi 4 รุ่นแรม 8GB อย่างเป็นทางการ ในราคา 75 ดอลลาร์สหรัฐ หรือผ่านตัวแทน Cytron ราคา 2,652.40 บาท โดยทีมงานระบุว่าตั้งใจจะมีรุ่นแรม 8GB แต่แรก แต่เนื่องจากสมัยนั้นไม่มีชิปแรมที่ความจุสูงพอ โดยซีพียู BCM2711 ของ Raspberry Pi 4 นั้นรองรับแรมได้สูงสุด 16GB
นอกจากนั้น ยังเปิดตัว Raspberry Pi OS รุ่น 64 บิตในสถานะเบต้า สำหรับผู้ที่ต้องการรันโปรเซสที่ใช้หน่วยความจำเกิน 4GB
เปิดขายแล้ววันนี้
ที่มา: Raspberry Pi Blog
เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม เว็บไซต์ AndroidRookies รายงานว่า วิศวกรคนหนึ่งของ Huawei ได้ส่งแพตช์ความปลอดภัย ชื่อ HKSP (Huawei Kernel Self Protection) เข้าไปเคอร์เนลลินุกซ์ โดยแพตช์นี้จะแนะนำตัวเลือกชุดเครื่องมือเสริมความปลอดภัยให้แก่เคอร์เนลของลินุกซ์
ซึ่งต่อมา ทาง Grsecurity ได้ตรวจพบช่องโหว่ในแพตช์ HKSP และได้เผยแพร่รายละเอียดออกมาบนบล็อกของตัวเอง ซึ่งแพตช์ HKSP ก่อให้เกิดช่องโหว่ buffer overflow ที่ทำให้ผู้ใช้สิทธิ์ปกติอาจจะรันโค้ดในเคอร์เนลได้ โดยทาง Grsecurity ระบุว่าช่องโหว่นี้เจาะได้ง่ายมาก
วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2562 ไลบรารี PyThaiNLP ซึ่งเป็นไลบรารีประมวลผลภาษาไทยแบบโอเพนซอร์สในภาษาไพธอน ได้ออกรุ่น 2.1 โดยสรุปความสามารถใหม่ดังนี้
เมื่อคืนวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ.2562 ที่ผ่านมา ทางมูลนิธิซอฟต์แวร์ไพทอน (Python Software Foundation) ได้ปล่อย Python 2.7.17 เป็นเวอร์ชั่นก่อนลำดับสุดท้าย (penultimate release) ของ Python 2.7 ซึ่งจะหมดระยะเวลาสนับสนุนในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2563 นี้
ได้เวลาเปลี่ยนไปใช้ Python 3.X เต็มตัวแล้ว