กระทรวงโทรคมนาคมของอัฟกานิสถานประกาศว่าจะแบนเกม PUBG: Battlegrounds ออกจากอัฟกานิสถานในอีก 90 วัน ส่วน TikTok จะถูกแบนในอีก 1 เดือนข้างหน้า ภายหลังจากที่ได้ประชุมกับตัวแทนจากฝ่ายความมั่นคงและฝ่ายบังคับใช้กฎหมายชะรีอะฮ์ (กฎหมายของอิสลามที่อ้างอิงกับคัมภีร์อัลกุรอ่าน)
รัฐบาลตาลีบันอ้างว่าต้องการแบนเกมต่อสู้ PUBG และแอปพลิเคชัน TikTok ออกจากประเทศเพราะ “ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในกลุ่มเยาวชน” และ PUBG ยังเป็นเกมที่ “ส่งเสริมความรุนแรง” โดยจะให้ความสำคัญกับการแบน PUBG บนมือถือเป็นหลัก
TikTok เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ชื่อ TikTok Now จำกัดการแชร์วันละ 1 ครั้ง โดยต้องถ่ายภาพ-วิดีโอภายในเวลาที่กำหนด เพื่อให้ได้ "ความเรียล" เป็นภาพที่สะท้อนชีวิตจริงแบบไม่ปรุงแต่ง
ถ้าฟีเจอร์นี้คุ้นๆ ก็ต้องบอกว่า ลอก ได้แรงบันดาลใจมาจากแอพ BeReal ที่กำลังมาแรงอยู่ในช่วงนี้ ซึ่งก่อนหน้านี้เพิ่งมีข่าวว่า Instagram กำลังพัฒนาฟีเจอร์แบบเดียวกัน
TikTok บอกว่าจะเริ่มทดสอบ TikTok Now กับผู้ใช้ในสหรัฐจากแอพหลักของ TikTok โดยตรง แต่ในภูมิภาคอื่นๆ อาจใช้วิธีออกแอพแยก TikTok Now ต่างหากแทน
สหรัฐมีความกังวลอย่างต่อเนื่องว่ารัฐบาลจีนจะเข้าถึงข้อมูลของสหรัฐได้ผ่านแอปพลิเคชันสัญชาติจีนอย่าง TikTok ก่อนหน้านี้ BuzzFeed News ได้รายงานว่ามีคลิปเสียงหลุดการประชุมภายในของ TikTok ที่แสดงให้เห็นว่าพนักงานในจีนของ ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok สามารถเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้ในสหรัฐได้
หลังจาก TikTok ได้รับความนิยมมากขึ้นทำให้กระแสวิดีโอขนาดสั้นได้รับความนิยมไปด้วย Meta ได้ออกฟีเจอร์ Instagram Reels เพื่อดึงดูดผู้ใช้งานและแข่งขันกับ TikTok
สำนักข่าว Wall Street Journal ได้สรุปข้อมูลจากเอกสารที่เผยแพร่ภายในบริษัท Meta หัวข้อ “Creators x Reels State of the Union 2022” ที่เผยแพร่ในเดือนสิงหาคม เปิดเผยว่าผู้ใช้ Instagram ได้ใช้เวลารวม 17.6 ล้านชั่วโมงต่อวันเพื่อชม Reels ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่น้อยกว่า 1 ใน 9 ของจำนวนชั่วโมงที่ผู้ใช้ดูวิดีโอใน TikTok ที่คิดเป็น 197.8 ล้านชั่วโมง
การเติบโตอย่างรวดเร็วของแอปพลิเคชันสัญชาติจีนอย่าง TikTok นำไปสู่ความกังวลของบริษัทผู้ให้บริการโซเชียลมีเดีย รวมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวกับทางการเมืองในสหรัฐ หลัง TikTok เติบโตสวนทางกับแอปอื่นที่ได้รับความนิยมลดลง
ในงาน Code Conference 2022 แอปพลิเคชัน TikTok เป็นหัวข้อที่ได้รับการพูดถึงจากผู้บริหารในวงการเทคโนโลยีและนักการเมืองในสหรัฐ แม้ว่าตัวแทนของ TikTok จะไม่ได้เข้าร่วมงานก็ตาม
ไมโครซอฟท์รายงานถึงช่องโหว่ใน API ที่ TikTok เพิ่มลงในเบราว์เซอร์ภายในแอปผ่านทาง WebView เปิดทางให้แฮกเกอร์ดึงเอา token สำหรับยืนยันตัวตนไปได้ โดยทีมงานของไมโครซอฟท์ยืนยันช่องโหว่ด้วยการสร้างลิงก์ที่ผู้ใช้ TikTok บนแอนดรอยด์คลิปแล้วจะถูกเปลี่ยนโปรไฟล์เป็น "!! SECURITY BREACH !!!"
ช่องโหว่ใน API ของ WebView อาจจะต้องเปิดจากลิงก์ในแอปเท่านั้ แต่เนื่องจากตัวแอป TikTok รองรับ deeplink ผ่านทาง URL ที่ขึ้นต้นด้วย https://m.tiktok[.]com/redirect
อีกทางทำให้แฮกเกอร์สามารถสร้างลิงก์จากภายนอกแอปแต่ก็เปิดจากเบราว์เซอร์ในแอป TikTok อยู่ดี แม้ที่จริง TikTok จะป้องกันการทำเช่นนี้ไว้แต่ทีมงานของไมโครซอฟท์ก็พบวิธีการหลบฟิลเตอร์ได้
TikTok เปิดเผยว่ากำลังทดสอบหน้าฟีดใหม่ที่แสดงเนื้อหาเกี่ยวกับพื้นที่ใกล้เคียงของผู้ใช้ เช่น ร้านค้าหรือสถานที่ต่าง ๆ โดยเลือกทดสอบเฉพาะกับผู้ใ้ช้บางกลุ่มในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้ใช้จะเห็นหน้าฟีดใหม่นี้ในหน้าโฮมใกล้หน้า “กำลังติดตาม” และ “สำหรับคุณ”
การเพิ่มฟีด Nearby อาจเป็นพื้นที่โฆษณาทำให้ผู้ใช้พบธุรกิจเล็ก ๆ ใหม่ ๆ ในพื้นที่ใกล้เคียงก็ได้ ทั้งนี้ การทดลองยังอยู่ในวงจำกัดมากและ TikTok ยังไม่ได้มีแผนเกี่ยวกับการปล่อยหน้าฟีดใหม่เท่าใดนัก โดยฟีด Nearby กำลังทดสอบไปพร้อมกับการให้ผู้ใช้ติดแท็กสถานที่เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับชมเนื้อหาที่มีความใกล้ตัวและเฉพาะตัวมากขึ้น แต่ TikTok ยังไม่สามารถให้คำตอบได้ว่าจะมีเพียงวิดีโอที่ติดแท็กสถานที่เท่านั้นหรือไม่ที่จะแสดงในฟีด Nearby
หลังจาก Felix Krause รายงานว่าเบราว์เซอร์ภายในแอปของ Meta ฝังสคริปต์ติดตามผู้ใช้ เขาก็รายงานเพิ่มเติมว่าเบราว์เซอร์ใน TikTok ก็ฝังสคริปต์แบบเดียวกัน แถมยังไม่มีตัวเลือกให้ใช้งานเบราว์เซอร์ปกติของระบบปฎิบัติการ
สคริปต์ที่ TikTok ฝังยังดักอีเวนต์ในเบราว์เซอร์อย่างหนัก อีเวนต์ที่สำคัญๆ เช่น keydown ดักการพิมพ์ทุกตัวอักษร และ click ที่ดักการคลิกทุกจุด อย่างไรก็ดี Krause ระบุว่าไม่มีหนักฐานชัดเจนว่า TikTok ฝังสคริปต์เพื่อมุ่งร้ายอะไร รวมถึงสคริปต์เก็บข้อมูลอย่างไร และส่งข้อมูลอะไรกลับเซิร์ฟเวอร์บ้าง
บริษัท AI สัญชาติอิสราเอล Watchful เปิดเผยต่อสำนักข่าว Wall Street Journal ว่า Amazon กำลังทดลองฟีเจอร์ใหม่ภายในกลุ่มพนักงานไม่กี่คน เป็นฟีเจอร์แสดงรูปและวิดีโอสินค้าที่มีลักษณะเหมือนหน้าฟีดของ TikTok โดยเรียกกันภายในว่า Inspire เป็นไอคอนคล้ายเพชรที่แสดงบนหน้าโฮมของแอปพลิเคชัน
ฟีเจอร์นี้ทำให้ผู้ต้องการซื้อสินค้าของ Amazon สามารถเลือกดูสินค้าที่เป็นรูปหรือวิดีโอและผู้ใช้สามารถกดลิ้งก์เพื่อซื้อสินค้าหรือแชร์ให้กับผู้ใช้คนอื่น ๆ ได้ อย่างไรก็ตาม ไม่แน่ว่า Amazon จะปล่อยฟีเจอร์นี้ให้ผู้ใช้โดยทั่วไปใช้หรือไม่
หลังจากที่ AI สร้างภาพจากข้อความอย่าง Midjourney กำลังเป็นที่นิยม TikTok ก็ขอเกาะกระแสด้วยการเพิ่มฟิลเตอร์สร้างรูปภาพอัตโนมัติด้วยการพิมพ์ข้อความที่ใช้ชื่อว่า “Al greenscreen” เพื่อใช้เป็นพื้นหลังสำหรับวิดีโอเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม รูปภาพที่สร้างด้วยระบบ AI จะไม่ใช่ภาพที่มีความสมจริงแต่เป็นภาพที่ดูเป็นนามธรรมและเห็นเป็นรูปร่างคร่าว ๆ เท่านั้นไม่เหมือนการสร้างภาพด้วย AI อื่นๆ อย่าง DALL-E ของ Open AI หรือ Midjourney
Pew Research Center ทำการสำรวจผู้ใช้โซเชียลมีเดียวัยรุ่นในสหรัฐฯ ซึ่งมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 1,316 คน พบว่าตอนนี้กลุ่มวัยรุ่นอายุ 13-17 ปีที่เคยใช้ Facebook มีสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มอื่น ๆ และผู้ที่ระบุว่าใช้ Facebook เป็นประจำมีเพียง 2% เท่านั้น
ข้อมูลของ Pew ระบุว่า อันดับแรกที่วัยรุ่นเคยใช้งานคือ YouTube อยู่ที่ 95%, TikTok 67%, Instagram 62%, Snapchat 59% และ Facebook 32% ซึ่งจุดที่น่าสนใจของผลการสำรวจคือทุกวันนี้วัยรุ่นนิยมใช้แพลตฟอร์มเพื่อรับคอนเทนต์ อย่างเช่นดูวิดีโอหรือฟังเพลงมากกว่าจะมีปฏิสัมพันธ์ออนไลน์กับผู้อื่น
ในวันพุธที่ผ่านมา รัฐสภาอังกฤษได้ปิดบัญชี TikTok ที่เปิดใช้ได้เพียงหนึ่งสัปดาห์หลังจากกลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและเจ้าหน้าที่คนอื่น ๆ ที่ถูกรัฐบาลจีนคว่ำบาตรได้แสดงความกังวลว่ารัฐบาลจีนจะสืบข้อมูลผ่านทางแอปพลิเคชันดังกล่าว
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระดับอาวุโสหลายคนได้เขียนจดหมายถึงโฆษกสภาสามัญชนในเดือนที่ผ่านมาเพื่อเตือนถึงความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของข้อมูลที่อาจจะรั่วไหลผ่านทางบริษัทสัญชาติจีน ByteDance ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ TikTok
ทั้งนี้ TikTok ได้ปฏิเสธว่าไม่ได้ส่งต่อข้อมูลของสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรให้กับเจ้าหน้าที่รัฐบาลจีนแต่อย่างใดแต่ได้รับความกดดันอย่างมากจากรัฐบาลของทั้ง 2 ประเทศในการพิสูจน์ว่ามีกระบวนการป้องกันข้อมูลอย่างไรบ้าง
ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok ยื่นจดเครื่องหมายการค้า "TikTok Music" ในสหรัฐอเมริกา ทำให้เกิดประเด็นว่า ByteDance สนใจเข้ามาทำตลาดเพลงแบบสตรีมมิ่งแข่งกับ Sportify, Apple Music หรือไม่
ในช่วงที่ผ่านมา TikTok เริ่มมีอิทธิพลกับวงการเพลงมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น เพลงที่นิยมใน TikTok อาจทำให้เกิดการฟังเพลงนั้นเพิ่มขึ้นจนกลับมาติดชาร์ทเพลงยอดฮิต และจริงๆ แล้ว ByteDance เองก็มีแอพฟังเพลง Resso ที่ทำตลาดในประเทศกำลังพัฒนาบางแห่ง เช่น อินเดีย บราซิล อินโดนีเซีย จึงเป็นไปได้ว่าอาจใช้เอนจิน Resso มารีแบรนด์เป็น TikTok Music ที่น่าจะเจาะตลาดได้ดีกว่า
TikTok ประกาศขยายความสามารถการสร้างคำบรรยายใต้คลิป หรือ Closed Captions จากเดิมที่ฟีเจอร์นี้ ครีเอเตอร์ต้องเปิดใช้งานในคลิป โดยคราวนี้ผู้ใช้งานสามารถเปิดเรียกคำบรรยายได้เองในคลิป เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงเนื้อหา
ในช่วงแรกภาษาที่รองรับคือ อังกฤษ โปรตุเกส เยอรมัน อิตาลี อินโดนีเซีย เกาหลี จีนแมนดาริน สเปน และตุรกี
นอกจากนี้ TikTok ยังเพิ่มฟีเจอร์แปลภาษาสติกเกอร์ โดยหากคลิปนั้นมีสติกเกอร์ข้อความอยู่ด้วย ก็สามารถให้แปลภาษาที่ต้องการได้ด้วย
ที่มา: TikTok
TikTok อาจส่งผลกระทบต่อ YouTube โดยตรง เห็นได้จากการต้องทำแพลตฟอร์มวิดีโอสั้น Shorts ออกมาสู้ แต่ดูเหมือนผลกระทบจาก TikTok อาจมีไปถึงบริการตัวอื่นของกูเกิลด้วย
มีรายงานว่า Prabhakar Raghavan รองประธานอาวุโสฝ่าย Knowledge & Information ของกูเกิล ได้พูดในงานสัมมนา Brainstorm Tech ของนิตยสาร Fortune เกี่ยวกับวิวัฒนาการของการเสิร์ชหาข้อมูล เขาบอกว่าผู้ใช้งานกลุ่มเด็กรุ่นใหม่ เดี๋ยวนี้นิยมค้นหาข้อมูลที่ต้องการจาก Instagram หรือ TikTok มากกว่าที่จะเสิร์ชหาจากกูเกิล หรือ Google Maps
TikTok ประกาศปรับปรุงฟีเจอร์การใช้งาน เพื่อให้ประสบการณ์ใช้งานดีมากขึ้น มีรายละเอียดดังนี้
คุณสมบัติแรก คือการตั้งฟิลเตอร์วิดีโอที่ไม่ต้องการให้แสดงในหน้า For You ผู้ใช้งานสามารถกำหนดคีย์เวิร์ด หรือแฮชแท็ก ที่ไม่ต้องการให้วิดีโอที่เข้าข่ายแสดงผลในฟีด หรืออาจตั้งค่านี้เมื่อพบวิดีโอที่ไม่ต้องการชมแล้วเลือก not interested ก็ได้
ตัวอย่างที่ TikTok ยกมา เช่น ช่วงหนึ่งเราอาจสนใจหาแต่คลิปงาน D.I.Y. แต่เมื่อเลิกสนใจแล้ว วิดีโอแนวนี้ก็ยังแสดงต่อไม่หยุด ก็ไปกำหนดฟิลเตอร์ออกได้ ฟีเจอร์นี้จะเริ่มทยอยให้กับผู้ใช้งานทุกคนในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
YouTube จัดงานแถลงข่าวเนื่องในโอกาส YouTube Shorts เปิดบริการในไทยครบรอบ 1 ปี โดยระบุว่าบริการนี้มีการเติบโตต่อเนื่อง แม้จะไม่ได้ระบุสถิติในไทย แต่ก็ระบุสถิติรวมว่ามีผู้ใช้งานเดือนละ 1.5 พันล้านคน เฉพาะเดือนเมษายนที่ผ่านมามีการรับชมรวมมากกว่า 1 แสนล้านครั้ง
ต่อจากข่าว สมาชิก กสทช. สหรัฐ ขอให้แอปเปิล-กูเกิล แบน TikTok เพราะเป็นภัยต่อความมั่นคง ส่งข้อมูลกลับจีน ล่าสุดมีจดหมายของ Shou Zi Chew ซีอีโอของ TikTok เขียนถึงวุฒิสมาชิกสหรัฐ 9 คนเพื่อชี้แจงเรื่องนี้ โดย Chew ยอมรับว่ามีพนักงานในจีนเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ในสหรัฐได้จริง
TikTok ยอมรับว่ามีพนักงานในจีน สามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ในสหรัฐได้ แต่ก็ต้องได้รับการอนุมัติจากทีมความปลอดภัยในสหรัฐก่อนเท่านั้น
Brendan Carr หนึ่งในกรรมการ กสทช. ของสหรัฐ (Federal Communications Commission หรือ FCC มีคณะกรรมการทั้งหมด 5 คน แต่ปัจจุบันมี 4 คน อีกคนยังไม่ได้แต่งตั้ง) เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงแอปเปิลและกูเกิล ให้ถอด TikTok ออกจากร้านขายแอพของทั้งสองบริษัท ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง (เป็นการเขียนจดหมายในนามส่วนตัว ไม่ใช่มติของ FCC)
Carr อ้างรายงานข่าวของ BuzzFeed เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. ว่าได้คลิปเสียงสนทนาภายในบริษัท ByteDance ที่คุยกันว่าพนักงานในจีนสามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ TikTok ในสหรัฐได้เป็นเวลานานหลายเดือน
ช่วงที่ผ่านมาเราเห็นข่าว Meta พยายามปรับแอปทั้ง Facebook และ Instagram เพื่อสู้กับ TikTok ที่ได้รับความนิยมมากขึ้น ทั้งจากคำกล่าวของซีอีโอ Mark Zuckerberg ที่ว่าระบบ AI คัดเลือกเนื้อหาแบบใน TikTok จะมีบทบาทมากขึ้น หรือล่าสุดที่เป็นเอกสารภายใน พูดถึงการยกเครื่องแอปเพิ่มระบบแนะนำเนื้อหามากขึ้น คราวนี้เป็นความเห็นจากฝั่ง TikTok บ้าง
TikTok ประกาศย้ายข้อมูลของผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกาทั้งหมดไปยังศูนย์ข้อมูลของ Oracle ตามดีลที่ตกลงกันไว้ตั้งแต่ปี 2020 เพื่อให้สอดคล้องกับกฎระเบียบของรัฐบาลสหรัฐ
TikTok บอกว่าเดิมทีเก็บข้อมูลของผู้ใช้ในสหรัฐ ไว้ที่ศูนย์ข้อมูลของ TikTok เองในสหรัฐ (Virginia) และสิงคโปร์ แต่เมื่อมีดีลกับ Oracle และรัฐบาลสหรัฐก็ยินดีปฏิบัติตามข้อตกลง ตอนนี้ทราฟฟิกทั้งหมดในสหรัฐของ TikTok วิ่งผ่านศูนย์ข้อมูลของ Oracle อยู่ ส่วนศูนย์ข้อมูลเก่ามีไว้สำหรับแบ็คอัพเท่านั้น
ที่มา - TikTok
YouTube เปิดเผยสถิติของ Shorts แพลตฟอร์มคลิปวิดีโอแนวตั้ง ที่ทำมาแข่งกับ TikTok ว่ามีผู้ชมแบบล็อกอินบัญชีแล้วมากกว่า 1.5 พันล้านบัญชี ซึ่งประกาศนี้มีประเด็นสำคัญเพราะ TikTok เคยประกาศจำนวนผู้ใช้งานในเดือนกันยายนปีที่แล้วที่ 1 พันล้านบัญชี
YouTube ให้ข้อมูลว่าแพลตฟอร์ม Shorts ได้เข้ามาช่วยเติมเต็มพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของคนดูวิดีโอ เพราะคนสามารถดูวิดีโอได้ทุกที่ทุกเวลามากขึ้น วิดีโอสั้นแบบ Shorts จึงตอบโจทย์ในการดูระหว่างเดินทางมากกว่าการดูวิดีโอขนาดยาว ซึ่งเป็นประโยชน์ให้ครีเอเตอร์สามารถสร้างคลิปอีกรูปแบบเพื่อดึงดูดคนมาติดตามช่องได้มากขึ้น
เว็บไซต์ The Verge ได้เอกสารภายในของ Meta ที่ออกมาช่วงเดือนเมษายนโดย Tom Alison หัวหน้าทีมแอป Facebook พูดถึงแนวทางการปรับปรุง Facebook ใหม่ ซึ่งแม้ไม่ได้ระบุถึงแต่ก็เข้าใจได้ว่าเพื่อแข่งขันกับ TikTok
ประเด็นสำคัญคือการพัฒนา Discovery Engine เรื่องเครื่องมือสำหรับแนะนำคอนเทนต์ให้กับผู้ใช้งาน โดยระบุว่าหน้าฟีดจะปรับมาเน้นการแนะนำคอนเทนต์ ซึ่งผู้ใช้งานคนนั้นอาจไม่ได้ติดตามอยู่ เหมือน For You ใน TikTok แต่อาศัยข้อมูลพฤติกรรมหลายอย่างเพื่อคัดเลือกเนื้อหามาแสดง ตอนนี้เริ่มใช้แล้วใน Reels แต่จะขยายไปสู่คอนเทนต์ประเภทอื่นด้วย โดยแนวทางนี้ซีอีโอ Mark Zuckerberg เคยเกริ่นแล้วในงานแถลงผลประกอบการไตรมาส
TikTok ประกาศปรับปรุงฟีเจอร์ Screen Time ที่ควบคุมเวลาในการใช้งานไม่ให้ไถต่อเนื่องนานเกินไป โดยเพิ่มเครื่องมือให้ผู้ใช้งานควบคุมการตั้งค่าต่าง ๆ ได้มากขึ้น
โดย TikTok เพิ่มหน้า Screen Time Dashboard สรุปการใช้งานแอปว่าใช้เวลานานเท่าใด แบ่งเวลาเป็นกลางวัน-กลางคืน ค่าเฉลี่ยใช้งานต่อวัน พร้อมกับลิงก์ไปยังข้อมูลคำแนะนำด้านสุขภาพ
ผู้ใช้งานยังสามารถกำหนดให้แอปเตือนพักเบรก หากมีการใช้งานต่อเนื่องตามเวลาที่กำหนด และสำหรับผู้ใช้งานช่วงอายุ 13-17 ปี แอปจะขึ้นคำเตือนให้พักการใช้งานแอป ถ้าวันนั้นใช้งานครบ 100 นาที
ที่มา: TikTok
TikTok เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ TikTok Avatars ให้ผู้ใช้งานสร้างอวตารของตนในตามความต้องการ แบบเดียวกับระบบ Avatar ของ Facebook หรือ Memoji ของแอปเปิล
ขั้นตอนการสร้างอวตารของตน ทำได้โดยไปที่กล้องของ TikTok เลือกโหมดเซลฟี่ และเลือกเอฟเฟกต์ Avatar โดยเลือกได้ทั้งจากพรีเซต หรือสร้างใหม่ ปรับแต่งได้ทั้งโครงหน้า สีผิว ทรงผม และเครื่องประดับ จากนั้นใช้อวตารนี้ขยับไปตามการแสดงทางใบหน้า
มีข้อสังเกตว่าการสร้างอวตารเพื่อการสื่อสารนั้น กรณีของแอปเปิลหรือ Facebook เป็นการสร้างคาแรกเตอร์สำหรับสื่อสารในกลุ่มคนรู้จัก แต่กรณีของ TikTok นั้น การใช้งานน่าจะเหมือนกับ VTuber มากกว่า จึงน่าสนใจว่าผลตอบรับจะเป็นอย่างไร ฟีเจอร์นี้เปิดให้ใช้งานแล้วกับผู้ใช้งานทั่วโลก