คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแก้ไขร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรว่าด้วยการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อให้สรรพากรสามารถเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากบริการของบริษัทไอทีต่างชาติได้ เช่น Netflix, LINE, Facebook, Spotify
สาระสำคัญของการแก้ไขประมวลรัษฎากร คือการแก้ไขนิยามของคำว่า "สินค้า" จากเดิมที่ไม่รวมสินค้าที่ไม่มีรูปร่างและส่งมอบกันผ่านอินเทอร์เน็ต ให้เพิ่มบทนิยามว่าด้วยบริการอิเล็กทรอนิคส์ ที่ส่งมอบสินค้าผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ส่วนผู้ให้บริการที่เข้าข่ายจะเสียภาษี (ทั้งให้บริการคนไทยและคนต่างประเทศในไทย) จะต้องมีรายได้ในไทยเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
ฟิลิปปินส์เสนอร่างกฎหมาย เรียกเก็บภาษีบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ ครอบคลุม กูเกิล, YouTube, Alphabet, Netflix, Facebook, Spotify เพื่อหาเม็ดเงินมาช่วยกอบกู้เศรษฐกิจที่หดตัวเพราะโรคระบาด คาดว่าตัวกฎหมายจะช่วยเพิ่มรายได้เข้าประเทศราว 571 ล้านดอลลาร์
อินโดนีเซียเตรียมออกกฎ กำหนดให้บริษัทอินเทอร์เน็ตอย่างบริการสตรีมมิ่ง, เกม ที่ไม่ได้เป็นบริษัทก่อตั้งในประเทศ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัล 10% เริ่มบังคับใช้ในเดือนกรกฎาคมนี้
ก่อนหน้านี้ ทางการอินโดนีเซียเคยบอกว่า กลุ่มบริการสตรีมมิ่งอย่าง Netflix, Spotify อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีเพิ่ม ซึ่งทั้งสองบริษัทยังไม่ได้ให้ความเห็นใดๆ ต่อเรื่องนี้
ที่ผ่านมาบริษัทไอทียักษ์ใหญ่สหรัฐอย่าง Amazon, Google, Microsoft, Facebook ล้วนเจอประเด็นการเลี่ยงภาษีหรือจ่ายภาษีที่ต่ำในหลายประเทศ รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ก็พยายามออกมาตรการเพื่อบีบให้บริษัทเหล่านี้จ่ายภาษีจากการสร้างรายได้ในประเทศนั้น ๆ
ฝรั่งเศส เป็นหนึ่งในประเทศที่มีท่าทีจริงจังเรื่องนี้ เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา รัฐบาลฝรั่งเศสประกาศเก็บภาษี 3% จากบริการดิจิทัลในฝรั่งเศสจากบริษัทที่มีรายได้เกิน 25 ล้านยูโรในฝรั่งเศสและเกิน 750 ล้านยูโรทั่วโลก และแน่นอนว่ากระทบบริษัทไอทีสหรัฐทั้งหมด
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานถึงการยื่นภาษีของกูเกิลเมื่อปี 2018 ในเนเธอร์แลนด์ พบว่ากูเกิลหยุดใช้เทคนิค "Double Irish, Dutch sandwich" เพื่อลดการจ่ายภาษีในสหรัฐฯ จากเดิมที่มีการโอนรายได้ผ่านบริษัทในเบอร์มิวดาถึงกว่า 6 แสนล้านบาท (21.8 พันล้านดอลลาร์) ในปี 2018
โฆษกูเกิลส่งแถลงถึงรอยเตอร์ว่าบริษัทปรับรูปแบบการไลเซนส์ให้ง่ายลงโดยปรับค่าสัญญาอนุญาตให้จ่ายตรงเข้าสหรัฐฯ พร้อมกับระบุว่าที่ผ่านมาบริษัทก็จ่ายภาษีเฉลี่ยสูงกว่า 23% และ 80% เป็นภาษีในสหรัฐฯ
กระทรวงการคลังออกกฏกระทรวง ฉบับที่ 355 ตามพ.ร.บ.ร่างแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 48 ที่เปิดทางให้กระทรวงการคลังสั่งให้สถาบันการเงินส่งข้อมูลของผู้ที่ได้รับเงินเข้าบัญชีทุกบัญชีรวมกันเกินจำนวนครั้งที่กำหนด (3,000 ครั้งต่อปี หรือ 400 ครั้งแต่ยอดเกิน 2 ล้านบาท)
ยูทูเบอร์ยิ่งดัง ยิ่งรายได้ดี ในเกาหลีใต้เองก็เป็นหนึ่งในอาชีพที่ทำรายได้กันได้ดีมาก นอกจากนี้เกาหลีก็เล็งจะเก็บภาษีเทคโนโลยีอยู่แล้วด้วย ล่าสุดหน่วยงานด้านภาษีของเกาหลีใต้สั่งเก็บภาษีจากยูทูเบอร์ 7 ราย มูลค่ารวมกันสามารถเก็บได้ถึง 1 พันล้านวอนหรือกว่า 20 ล้านบาท
ผู้ร่างกฎหมายระบุว่า ยูทูเบอร์ 7 รายทำรายได้รวมกันได้ถึง 4.5 พันล้านวอน แต่ก็ไม่ได้รายงานรายได้ต่อหน่วยงานเก็บภาษี โดยครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่มีการรายงานต่อสาธารณะถึงการเก็บภาษีจากคนทำคอนเทนต์ออนไลน์
ที่ผ่านมา รัฐบาลเกาหลีใต้สามารถจัดเก็บภาษีได้ 203.4 ล้านล้านวอนใน 8 เดือนแรก ลดลงจากปีก่อนหน้า 2.9 ล้านล้านวอน
แอปเปิลได้เริ่มกระบวนการให้การต่อศาลอุทธรณ์แล้ว จากเหตุคณะกรรมาธิการยุโรปสั่งให้แอปเปิล จ่ายเงินภาษีคืนกับไอร์แลนด์มูลค่ากว่า 1.44 หมื่นล้านดอลลาร์ เนื่องจากมีการเลี่ยงภาษี โดยคำตัดสินชั้นต้นนั้นเกิดในปี 2016 แต่แอปเปิลได้อุทธรณ์ (อ่านรายละเอียดเดิมได้ที่นี่)
มีรายงานว่าหน่วยงานสรรพากรของประเทศญี่ปุ่น ได้ตรวจสอบพบว่าหน่วยงาน Facebook ในญี่ปุ่น แจ้งรายได้ต่ำกว่าความจริงไป 500 ล้านเยน โดยให้ปรับแก้ไขตัวเลขรายได้ปี 2017 ใหม่ ผลดังกล่าว Facebook จึงต้องเสียภาษีนิติบุคคลเพิ่มขึ้นอีกราว 100 ล้านเยน หรือประมาณ 29 ล้านบาท
ในการตรวจสอบพบว่า Facebook ในญี่ปุ่น ใช้วิธีบันทึกรายได้จากโฆษณาไปที่สำนักงานในไอร์แลนด์ เพราะมีอัตราภาษีต่ำกว่าของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นวิธีการที่บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่นิยมทำกันอยู่แล้ว แล้วให้บริษัทในไอร์แลนด์จ่ายเงินกลับเข้ามาที่สำนักงาน Facebook ญี่ปุ่น เพื่อเป็นค่าจ้างดำเนินการโฆษณา โดยจ่ายให้สูงกว่าต้นทุนเพียงเล็กน้อยเพื่อให้หน่วยงานในญี่ปุ่นมีกำไรไม่มาก
Emmanuel Macron ประธานาธิบดีของฝรั่งเศสกล่าวก่อนการประชุม G7 ที่จะจัดขึ้นในฝรั่งเศสสัปดาห์นี้ เรียกร้องให้มีการจัดระเบียบภาษีบริษัทด้านดิจิทัลใหม่ทั่วโลก เนื่องจากบริษัทเหล่านี้โดยเฉพาะจากอเมริกามีการเสียภาษีในอัตราที่ต่ำ ซึ่งไม่เป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย โดย Macron บอกว่าแม้แต่กับประชาชนอเมริกาเองก็ไม่ได้ประโยชน์
ข้อเสนอนี้เกิดจากการที่บริษัทอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ อาทิ Facebook, Alphabet (Google) และ Amazon ใช้การบันทึกกำไรในประเทศอย่างไอร์แลนด์ ที่มีอัตราการเสียภาษีที่ต่ำ เนื่องจากธุรกิจดิจิทัลเปิดโอกาสให้ไม่ต้องลงรายได้ในประเทศต้นทางก็ได้
สรรพากรสหรัฐฯ (Internal Revenue Service - IRS) เริ่มส่งจดหมายถึงผู้ถือเงินคริปโตกว่าหมื่นราย เตือนการละเมิดกฎหมายรัฐบาลกลางหากยื่นภาษีไม่ครบถ้วน โดยไม่เปิดเผยว่าได้รายชื่อผู้ถือเงินคริปโตมาได้อย่างไร
IRS ระบุว่าจดหมายที่ส่งออกไปมี 3 รูปแบบ รูปแบบเตือน 2 แบบ แจ้งว่าผู้ถือเงินคริปโตอาจจะไม่ทราบถึงข้อบังคับการยื่นภาษีเงินได้จากเงินคริปโต ส่วแบบที่สามขอให้ผู้รับจดหมายเซ็นเอกสารยืนยันว่าได้ยื่นแบบถูกต้องแล้ว พร้อมกับระบุว่าทาง IRS อาจจะติดต่อผู้เสียภาษีในอนาคต
พชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมสรรสามิต เผยว่า กรมสรรพสามิตกำลังศึกษาแนวทางเก็บภาษีเกมออนไลน์ เนื่องจากเป็นตลาดใหญ่ มีเงินหมุนเวียนจำนวนมาก และกำลังมองหาวิธีการจัดเก็บภาษีจากต่างประเทศควบคู่กันไปเช่น เพลง หนัง ในส่วนที่เป็นบริการเปิดให้สมัครสมาชิกและเสียค่าบริการให้แพลตฟอร์ม
พชร กล่าวต่อว่า ปัจจุบันยังมองไม่เห็นช่องทางในการจัดเก็บ เพราะบริษัทเช่น Google, YouTube, Facebook จดทะเบียนอยู่ในต่างประเทศ ซึ่งที่ผ่านมา กรรมสรรพสามิตเก็บภาษีมหรสพจากโรงหนังได้เพราะจดทะเบียนอยู่ในประเทศไทย
Australian Taxation Office หรือสรรพากรออสเตรเลียประกาศว่าได้เริ่มเชื่อมข้อมูลตลาดเงินคริปโตเข้าระบบ ทำให้ทางสรรพากรได้รับข้อมูลซื้อขายเพื่อจัดเก็บภาษีได้ครบถ้วน
ออสเตรเลียระบุให้รายได้จากการเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์ (capital gain) ต้องลงเป็นรายได้และเสียภาษีแบบเดียวกับรายได้บุคคลธรรมดา แต่สามารถนำรายการขาดทุน (capital loss) เก็บไปหักลดกำไรของปีต่อๆ ไปได้
เป้าหมายของสรรพากรออสเตรเลียคือการกรอกแบบภาษีอัตโนมัติ (pre-filled tax return) ทำให้คนทั่วไปสามารถเสียภาษีหรือขอคืนภาษีโดยการตรวจสอบรายการที่ทางสรรพากรกรอกมาให้ล่วงหน้า
พ.ร.บ.ร่างแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร เปิดให้แสดงความคิดเห็นมาตั้งแต่เดือนเมษายนปีที่แล้ว และผ่านสภาสนช. ช่วงปลายปีที่ผ่านมา วันนี้ก็ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาแล้ว โดยมีผลทันทีในวันที่ 21 มีนาคม 2562 และสถาบันการเงินต้องส่งข้อมูลรอบแรกในวันที่ 31 มีนาคม 2563
กฎหมายฉบับที่ประกาศจริงต่างจากร่างไปเล็กน้อย โดยอนุญาตให้ออกกฎกระทรวงให้เพิ่มเพดานของยอดธุรกรรมได้ หากเพิ่มเพดาน จำนวนคนที่ธนาคารต้องส่งข้อมูลให้สรรพากรก็จะลดลง
รายละเอียดอื่น จะออกประกาศกระทรวงตามมาภายใน 180 วัน
จากข่าวก่อนหน้านี้ว่า ฝรั่งเศสเตรียมออกกฎหมายเก็บภาษีไซเบอร์ต่อบริษัทอินเทอร์เน็ตข้ามชาติ ล่าสุดมีรายละเอียดของกฎหมายนี้ออกมาแล้ว
บริษัทตามร่างกฎหมายฉบับนี้ จะต้องเป็นบริษัทดิจิทัลที่มีรายได้ทั่วโลกเกิน 750 ล้านยูโร และมีรายได้จากในฝรั่งเศสเกิน 25 ล้านยูโร จะโดนเก็บภาษีด้วยอัตรา 3% ของรายได้ดิจิทัลเฉพาะในฝรั่งเศส
บริษัทที่เข้าข่ายนี้มีประมาณ 30 บริษัท ส่วนใหญ่เป็นบริษัทจากสหรัฐอเมริกา แต่ก็มีบริษัทจากจีนและยุโรปประเทศอื่นๆ ด้วยเช่นกัน
สำนักข่าว Reuters เปิดเผยข้อมูลจากเอกสารของสภาหอการค้าดัตช์ ว่ากูเกิลได้มีการเคลื่อนย้ายรายได้มูลค่าถึง 22,700 ล้านดอลลาร์ จากบริษัทที่ไม่มีพนักงาน (shell company) ในเนเธอร์แลนด์ ไปยังบริษัทในเบอร์มิวดา เพื่อลดการจ่ายภาษีการค้านอกอเมริกา ซึ่งเกิดขึ้นในปี 2017
รัฐบาลฝรั่งเศสเตรียมออกกฎหมายเพื่อเก็บภาษีบริษัทไอทีข้ามชาติแล้ว โดยจะมีผลวันที่ 1 มกราคม 2019
ก่อนหน้านี้กลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป (EU) มีแนวคิดจะออกกฎหมายระดับภูมิภาคที่ครอบคลุมสมาชิกทั้ง 28 ประเทศ แต่ยังไม่สามารถหาข้อตกลงกันได้ ทำให้กฎหมายล่าช้าออกไป ทางรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจ Bruno Le Maire จึงตัดสินใจเดินหน้าเองเพียงลำพังประเทศเดียว
Le Maire ให้สัมภาษณ์ทางโทรทัศน์ ระบุว่าบริษัทอินเทอร์เน็ตได้เงินจากคนฝรั่งเศสไปมาก แต่กลับจ่ายภาษีน้อยกว่าบริษัทฝรั่งเศสถึง 14 จุด (percentage point) โดยบริษัททั่วไปจ่ายภาษีประมาณ 23% ของรายได้ แต่บริษัทอินเทอร์เน็ตจ่ายเพียง 8-9% หรือบางบริษัทไม่จ่ายเลยด้วยซ้ำ
เว็บไซต์ข่าวสดรายงานว่า ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้ผ่านร่างแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรที่ว่าด้วยการชำระเงินภาษีผ่านทางช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้กรมสรรพากรตรวจสอบเมื่อบุคคลและนิติบุคคลมีความเคลื่อนไหวทางบัญชีรับโอน และฝากเงินเกิน 3,000 ครั้งต่อปีหรือ ฝากเงินหรือรับโอนรวมกันปีละ 400 ครั้งยอดรวม 2 ล้านบาทขึ้นไป
ในที่ประชุมได้ลงมติในวาระ 3 มีผู้แสดงตนต่อที่ประชุม 146 คน ลงมติเห็นชอบ 139 เสียง และงดออกเสียง 7 เสียง
หลายประเทศเล็งที่จะเก็บภาษีจากบริษัทไอทีอย่าง Google Apple เพราะทำรายได้มหาศาลในประเทศต่างๆ ล่าสุดคือเกาหลีใต้ก็กำลังมองหาช่องทางเก็บภาษีบริษัทเหล่านี้ด้วย โดย Korea Times รายงานว่า กระทรวงเศรษฐกิจหารือกับองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาถึงนโยบายภาษีใหม่ที่มุ่งเน้นไปที่บริษัทเทคโนโลยีระดับโลก
Ahn Jeon-sang จากพรรคเดโมแครตในเกาหลีบอกว่า ภายใต้กฎหมายปัจจุบัน สถานที่ประกอบธุรกิจของบริษัทไอทีต่างประเทศในเกาหลีไม่ได้ถือว่าเป็นสำนักงานของบริษัทนั้นๆ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้พวกเขาไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งอาจต้องจำกัดความของสถานที่ประกอบการใหม่
รัฐบาลยูกันดาผ่านกฎหมายเก็บภาษีโซเชียลมีเดีย โดยเป็นการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้งานรายวัน 5 เซนต์ สำหรับคนที่ใช้งาน Whatsapp, Facebook และ Twitter กฎหมายมีผล 1 กรกฎาคมนี้ อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายละเอียดชัดเจนว่าจะเก็บภาษีอย่างไร
ประธานาธิบดี Yoweri Museveni เป็นแกนนำสนับสนุนและสนับสนุนกฎหมายดังกล่าว เขาระบุว่าโซเชียลมีเดียกระตุ้นเกิดการซุบซิบนินทา
กฎหมายดังกล่าวถือว่าแปลกประหลาด ซึ่งมีการคาดกันว่าน่าจะเป็นเพราะเหตุผลทางการเมือง ถึงได้มีกฎหมายนี้ออกมา ก่อนหน้านี้ Musaveni ก็สั่งระงับการเข้าถึงแอพพลิเคชั่นและโซเชียลมีเดียช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีของประเทศปี 2016
เมื่อวานนี้หลังสรรพากรญี่ปุ่นระบุว่ามีผู้ยื่นรายได้จากเงินคริปโตเกิน 100 ล้านเยนถึง 331 คน วันนี้ทางสรรพากรก็ออกมาระบุว่าเชื่อว่ามีคนเข้าข่ายอีกจำนวนมากที่ไม่ได้ยื่นภาษีให้ถูกต้อง และกำลังเตรียมหาทางไล่ตรวจสอบต่อไป
แม้ว่าทางสรรพากรญี่ปุ่นจะไม่ได้แจกแจงว่ามีผู้มีรายได้จากเงินคริปโตโดยรวมเป็นอย่างไร แต่ก็ระบุว่าตัวเงินภาษีที่ได้จากหมวดนี้สูงถึงประาณ 30,000 ล้านเยน ทำให้ตัวเลขภาษีหมวด "อื่นๆ" นี้สูงขึ้นถึง 50%
ภาษีรายได้จากหมวดนี้จะขึ้นกับฐานภาษีของแต่ละบุคคล เริ่มต้นที่ 5% ไปจนถึง 55% และหากถูกจับได้ว่าเลี่ยงภาษี ค่าปรับสูงสุดจะสูงถึง 20% ของเงินภาษี ดังนั้นหากใครไม่รายงานให้ถูกต้องก็มีโอกาสเสียภาษีรวมเกือบ 70% เลยทีเดียว
National Tax Agency หรือสรรพากรญี่ปุ่น เปิดเผยตัวเลขผู้ลงรายได้ "อื่นๆ" ที่ระบุว่าเป็นรายได้จากการค้าเงินคริปโต เกิน 100 ล้านเยน รวมแล้วถึง 331 คน โดยไม่ได้บอกข้อมูลอื่นว่ารายได้เฉลี่ยหรือรายได้สูงสุดเป็นเท่าใด
ญี่ปุ่นรองรับการซื้อขายเงินคริปโตตั้งแต่ปีที่แล้วและปีนี้เป็นปีแรกที่บังคับให้ผู้มีรายได้จากเงินคริปโตเหล่านี้ต้องยื่นภาษี
ร่างพรก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรสำหรับการเก็บภาษีเงินได้จากเงินคริปโตและโทเคนดิจิทัล ผ่านความเห็นชอบครม. ตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา ตอนนี้ก็ประกาศเข้าราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อยแล้ว นับเป็นกฎหมายโดยตรงสำหรับเงินคริปโตฉบับแรก
ใจความสำคัญคือการสั่งเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 ของประมวลรัษฎากร ให้หักไว้ที่ 15% ของกำไร และกำไรทั้งหมดก็ยังเป็นรายได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ของประมวลรัษฎากร
ประกาศเข้าสู่ราชกิจจาจุเบกษาในวันนี้ และให้มีผลบังคับในวันพรุ่งนี้ทันที
ที่มา - ราชกิจจานุเบกษา
กรมสรรพากรเปิดรับฟังความเห็นร่างแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร โดยมีใจความสำคัญคือ สถาบันการเงิน (ธนาคาร) และผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ ต้องส่งข้อมูลของบุคคลที่มี "ธุรกรรมเป็นลักษณะพิเศษ" โดยมีเงื่อนไขหนึ่งในสอง ได้แก่
ด้วยเงื่อนไขเช่นนี้ ร้านค้าอาหารที่รับเงินผ่าน QR ก็น่าจะเข้าข่ายแทบทั้งหมด เพราะเฉลี่ยรับโอนวันละ 8.2 ครั้งก็เข้าข่ายแล้ว หรือแม่ค้าออนไลน์ที่ยอดอาจจะสูงสักหน่อย ก็น่าจะเข้าข่ายได้โดยง่าย
ประเด็นเรื่องการเก็บภาษีของบริษัทไอทีข้ามชาติเป็นเรื่องใหญ่ในหลายประเทศ โดยเฉพาะในยุโรป ซึ่งมีการหารือกัน หลายครั้ง เรื่องแผนการเก็บภาษีของบริษัทไอทีซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นบริษัทอเมริกัน
ล่าสุดคณะกรรมการยุโรป (European Commission) เสนอร่างกฎหมายเก็บภาษีเศรษฐกิจดิจิทัล 2 ฉบับออกมาแล้ว เป้าหมายคือการเก็บภาษีของบริษัทไอที แม้บริษัทนั้นจะไม่ได้จดทะเบียนในยุโรปก็ตาม