JetBrains ประกาศแผนการใช้งานคอมไพเลอร์ตัวใหม่ K2 ของภาษา Kotlin ที่เริ่มทดสอบใน Kotlin 1.7 โดยจะขยับเลขเวอร์ชันของ Kotlin 2.0 เพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลงนี้
ปัจจุบัน Kotlin เวอร์ชันล่าสุดคือ 1.8.10 หลังจากนี้จะออกเวอร์ชัน 1.9 มาก่อน แล้วเปลี่ยนใหญ่เป็น Kotlin 2.0 ที่ใช้คอมไพเลอร์ K2 เป็นดีฟอลต์
คอมไพเลอร์ K2 ถูกเขียนขึ้นมาใหม่ทั้งหมด ใช้สถาปัตยกรรมใหม่ มีประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น 2 เท่า ออกแบบให้ต่อขยายได้ง่าย และแก้บั๊ก แก้หนี้ทางเทคนิคของคอมไพเลอร์ตัวที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ไมโครซอฟท์ปล่อย TypeScript 5.0 ตัวทดสอบแรก ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดคือการทำงานเร็วขึ้น และโค้ดที่ได้มีขนาดเล็กลงมาก และในเวอร์ชั่นหลักนี้ยังถอด flag ต่างๆ ที่มีการใช้งานน้อยๆ ออกไป
ฟีเจอร์สำคัญคือ Decorators ที่ ECMAScript กำลังจะรองรับเช่นกัน แม้ว่าก่อนหน้านี้ TypeScript จะมี Decorators อยู่ก่อนแล้ว แต่เป็นฟีเจอร์ระดับทดลองเท่านั้นและผู้ใช้ต้องเปิด flag --experimentalDecorators
เอง การทำงานของเวอร์ชั่นทดลองกับเวอร์ชั่นมาตรฐานนี้ทำงานไม่เหมือนกัน
การทำงานโดยรวมเร็วขึ้น tsc ใช้เวลาเริ่มต้นเหลือ 89% ของเวอร์ชั่นก่อนหน้านี้ ระยะเวลา build ใช้เวลา 86% และแพ็กเกจรวมมีขนาดเหลือเพียง 58% เทียบกับ TypeScript 4.9
Replit บริการ IDE สำหรับพัฒนาเว็บบนเว็บ ประกาศร่วมมือกับ Neon ผู้ให้บริการ PostgreSQL แบบ Serverless ทำให้นักพัฒนาสามารถสร้างฐานข้อมูลออนไลน์ไปด้วย เปิดทางพัฒนาเว็บเต็มรูปแบบบน Replit
ตัวเซิร์ฟเวอร์มีขนาดเดียวคือแรม 4GB และสตอเรจ 10GB คิดค่าใช้งาน 100 Cycle ต่อวัน หรือวันละ 1 ดอลลาร์ เทียบกับค่าบริการอื่นๆ เช่น การพัฒนาโครงการแบบเป็นส่วนตัวเดือนละ 500 Cycle, ค่ารันเซิร์ฟเวอร์ต่อเนื่องวันละ 20 Cycle, เซิร์ฟเวอร์แรงพิเศษวันละ 350 Cycle หรือค่าปัญญาประดิษฐ์ช่วยเขียนโค้ด 1,000 Cycle ต่อเดือน
ตอนนี้บริการยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ทาง Replit ระบุว่าฐานข้อมูลจะปิดเองหากไม่ได้ใช้งานนาน 5 นาที และเปิดกลับมาในเวลาไม่กี่วินาที ในอนาคตจะเพิ่มเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ให้ใช้งานด้วย
แอปเปิลปล่อยซอร์สโค้ดเครื่อง Apple Lisa ในโอกาสครบรอบ 40 ปีที่คอมพิวเตอร์รุ่นนี้เปิดตัว (19 มกราคม 1983) นับเป็นคอมพิวเตอร์ระดับสูงที่ใช้หน้าจอกราฟิกที่ได้แนวคิดจาก Xerox PARC
Lisa นับเป็นโปรเจคที่จ็อบส์ฟูมฟักโดยตรงตั้งแต่แรก ทีมงานสร้างภาษาใหม่เพื่อทำงานกับ GUI จนกลายเป็น Object Pascal และฮาร์ดแวร์มีประสิทธิภาพสูง พร้อมกับฮาร์ดดิสก์ในตัว ราคาเปิดตัววันแรกของ Lisa อยู่ที่ 9,995 ดอลลาร์ แม้ว่าจะถูกกว่าคอมพิวเตอร์ของ PARC เองอยู่มาก แต่ก็แพงกว่าพีซีหลายเท่าตัว แถมการใช้งาน GUI ในสมัยนั้นก็ยังทำงานได้ช้ามาก
แอปเปิลพัฒนาทั้ง Lisa และ Macintosh แข่งกันเองอยู่พักใหญ่ แต่ Macintosh นั้นสเปคต่ำกว่าและราคาถูกกว่ามากทำให้กลายเป็นสินค้าสำคัญของแอปเปิลในที่สุด
โครงการ Chromium ที่เป็นโครงการต้นน้ำของเบราว์เซอร์ Chrome ประกาศเริ่มรองรับไลบรารีภาษา Rust เป็นจุดเริ่มต้นของการใช้ภาษา Rust เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้ซอฟต์แวร์โดยรวม
การใช้งานช่วงแรกจะเป็นการใช้งานทางเดียว นั่นคือตัวโค้ด Chromium หลักที่เป็น C++ จะเรียกไลบรารีที่เป็นภาษา Rust ได้แต่ไลบรารีเหล่านั้นห้ามเรียกโค้ด C++ อื่นอีก และโค้ด Rust ที่ใช้งานจะเป็นส่วนประกอบที่แยกเฉพาะทาง (standalone components) เท่านั้น ไม่ใช่ส่วนที่เป็นแกนหลักของตัวเบราว์เซอร์ โดยทั่วไปไลบรารีเหล่านี้มักรับผิดชอบงานเฉพาะทางเท่านั้น
เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2565 กลุ่มผู้พัฒนาได้ประกาศปล่อยภาษา Ruby เวอร์ชั่น 3.2.0 ตามธรรมเนียมของชุมชนผู้พัฒนาที่จะออกอัพเดตใหญ่ทุกวันคริสต์มาส
ไฮไลท์ของการอัพเดตครั้งนี้อยู่ที่การเริ่มรองรับการพอร์ตไป WebAssembly ผ่าน WebAssembly System Interface (WASI) ซึ่งจะทำให้โค้ดของ CRuby (ภาษา Ruby ที่ใช้ C เป็น interpreter) สามารถเรียกใช้งานได้บนเว็บเบราเซอร์หรือบนแพลตฟอร์มที่รองรับ WebAssembly และประกาศให้ YJIT ที่เป็น JIT(Just-In-Time) compiler ใหม่ให้อยู่ในสถานะพร้อมใช้บน production จากเดิมที่อยู่ในสถานะ experimental
สัปดาห์ที่ผ่านมา PHP ออกเวอร์ชัน 8.2 ตามนโยบายการออกรุ่นใหญ่ปีละ 1 รุ่น ของใหม่ที่สำคัญในระดับของภาษาได้แก่
ฟีเจอร์ทั้งหมดดูได้จาก PHP 8.2
รายงานดัชนีความนิยมภาษาโปรแกรม TIOBE Index ประจำเดือนธันวาคม 2022 เกิดความเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจ หลัง Java ความนิยมตกลงไปอยู่อันดับสี่ และ C++ แซงขึ้นมาเป็นอันดับสาม ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ TIOBE ที่เริ่มตั้งแต่ปี 2001 ที่ C++ ได้รับความนิยมสูงกว่า Java และถือเป็นครั้งแรกที่ Java หลุด Top 3
แชมป์ยังเป็นของ Python ที่แซงหน้า C ขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่งเมื่อปีที่แล้ว ส่วนการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ที่น่าสนใจในรอบเดือนนี้คือ SQL แซง Assembly ขึ้นมาอยู่อันดับ 8, ภาษา Go ไต่จากอันดับ 19 ขึ้นมาอยู่อันดับ 12, ภาษา Swift ร่วงจากอันดับ 10 ลงมาอยู่อันดับ 15
AWS เปิดบริการ CodeCatalyst บริการพัฒนาซอฟต์แวร์บนคลาวด์ที่เตรียมทั้งเครื่องสำหรับพัฒนา, IDE บนคลาวด์, บริการ CI/CD, ระบบจัดเก็บซอร์สโค้ด, และระบบจัดการบั๊ก (issue tracker) เข้าไว้ด้วยกัน
เซิร์ฟเวอร์สำหรับพัฒนาจะถูกกำหนดสเปคด้วย devfile ทำให้นักพัฒนาที่เปิดพื้นที่พัฒนา (Dev Environment) ขึ้นมาใช้งานก็สามารถเริ่มพัฒนาได้ทันที ส่วนตัว IDE ใช้ AWS Cloud9 หรือจะใช้งานจาก IDE อื่นๆ ที่ AWS ซัพพอร์ตก็ได้เช่นกัน เช่น VS Code นั้นทาง AWS สามารถเชื่อมต่อกับ CodeCatalyst ผ่านทาง AWS Toolkit for VS Code
งานนักพัฒนาอย่าง Developer หรือ Software Engineer กำลังได้รับความนิยม เงินเดือนก็ค่อนข้างสูง แต่จบไม่ตรงสาย จะเปลี่ยนมาสายนี้ได้อย่างไร คำถามนี้น่ากลายเป็นหนึ่งคำถามยอดฮิตไปแล้วในปัจจุบัน
คุณลิ่ว วสันต์ ลิ่วลมไพศาล ผู้ร่วมก่อตั้ง Blognone และ CTO ของ MFEC บริษัทให้คำปรึกษา พัฒนาและวางระบบไอทีองค์กรชั้นนำของไทย ได้ให้คำแนะนำสำหรับผู้ที่ไม่ได้จบมาทางสาย Computer Science แต่มีความสนใจจะพัฒนาทักษะด้านโปรแกรมมิ่ง ไปจนถึงหางานด้านนี้อย่างจริงจัง
curl ไลบรารีเชื่อมต่อเว็บยอดนิยม เริ่มโครงการตั้งแต่ปี 1996 พัฒนาด้วยภาษา C ตามมาตรฐาน ANSI C หรือ C89 มาโดยตลอด ไม่ยอมปรับไปใช้มาตรฐานรุ่นใหม่ๆ แม้จะมีการปรับปรุงมาตรฐานมาแล้วหลายครั้ง ล่าสุดทางโครงการเตรียมยอมรับฟีเจอร์ของมาตรฐาน C99 หนึ่งจุด นั่นคือการสร้างตัวแปรแบบ 64 บิตที่ C89 ไม่รองรับโดยตรง
Meta เขียนบล็อครายงานถึงกระบวนการเร่งการรีวิวโค้ดภายในบริษัท กระบวนการรีวิวโค้ดที่กินเวลานานกลายเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้โปรแกรมเมอร์ทำงานไม่มีความสุข จึงพัฒนาเครื่องมือรีวิวโค้ดให้มีฟีเจอร์ใหม่เพื่อให้คนเข้ามารีวิวได้เร็วขึ้น และทีมงานเก็บข้อมูลระยะเวลาที่ใช้รีวิว (time in review) ว่าแพตช์แต่ละชุดใช้เวลารีวิวนานแค่ไหน และทีมงานพบว่าแม้โดยทั่วๆ ไปแล้วคนรีวิวโค้ดจะเข้ามารีวิวกันค่อนข้างเร็วในเวลาไม่กี่ชั่วโมง แต่แพตช์บางส่วนกับกินเวลานานเป็นวัน
โครงการ Deno รันไทม์จาวาสคริปต์ ออกเวอร์ชัน 1.28 มีของใหม่ที่สำคัญคือรองรับโมดูล npm ของโครงการ Node.js ตามที่ประกาศไว้ ทำให้เราสามารถอิมพอร์ตโมดูล npm ที่มีมหาศาล 1.3 ล้านโมดูลมาใช้กับ Deno ได้
การใช้งาน npm ของ Deno ไม่จำเป็นต้องสั่ง npm install เพราะโมดูลจะถูกติดตั้งตอนรันโปรแกรมครั้งแรก, ไม่ต้องมีไฟล์ package.json และไม่ต้องมีโฟลเดอร์ node_modules เพราะโมดูลจะถูกแคชในไดเรคทอรี global แทน
GitHub เปิดตัวโปรเจคทดลอง “Hey, GitHub!” เป็นการสั่งงานด้วยเสียงคู่กับฟีเจอร์ Copilot ที่ใช้ AI ช่วยเขียนโปรแกรม ทำให้เราแทบไม่ต้องใช้คีย์บอร์ดในการเขียนโปรแกรมอีกเลย
ตัวอย่างการใช้งานเช่น พูดว่า "import Pandas" ก็จะเป็นการเขียนโค้ดที่นำเข้าไลบรารีวิเคราะห์ข้อมูล Pandas ของ Python ให้อัตโนมัติ (ดูตัวอย่างได้จากเว็บ GitHub Next)
คำสั่งเสียง Hey, GitHub รองรับทั้งการเขียนตัวโค้ด, การเลื่อนตำแหน่ง, การสั่งงานตัว IDE (VS Code) และการสั่งให้ GitHub Copilot อธิบายการทำงานของโค้ดที่เขียนมาให้เรา
Prashanth Chandrasekar ซีอีโอของ Stack Overflow ให้สัมภาษณ์กับ ZDNet เล่าสถานการณ์ในปัจจุบัน และแผนธุรกิจในอนาคต
Replit บริการ IDE ในเบราว์เซอร์และในแอปโทรศัพท์มือถือเปิดตัวบริการ Ghostwriter ปัญญาประดิษฐ์ช่วยเขียนโค้ดตามคำสั่ง โดยมีฟีเจอร์หลายรูปแบบ ทั้งการเติมโค้ดหลังผู้ใช้เขียนไว้บางส่วน, อธิบายโค้ดเป็นคอมเมนต์, แปลงโค้ดตามคำสั่ง เช่น การเปลี่ยน React component ให้เป็นฟังก์ชั่น, และการเขียนโค้ดตามคำสั่งทั้งไฟล์
ตอนนี้ Ghostwriter รองรับภาษาทั้งหมด 16 ภาษา ตั้งแต่ Bash, C/C++, C#, Java, JavaScript, PHP, Perl, Python, R, Ruby, Rust, TypeScript และโค้ดที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ CSS, HTML, SQL
ค่าบริการ Ghostwriter อยู่ที่ 10 ดอลลาร์ต่อเดือน สามารถสมัครใช้งานได้ทันทีหรือหากต้องการทดลองใช้งานฟรีต้องลงชื่อรอคิว
ที่มา - Replit
Meta เขียนบล็อกเล่าประสบการณ์ย้ายภาษาโปรแกรมที่ใช้เขียนแอพ Android จากเดิม Java มาเป็น Kotlin ซึ่งตอนนี้ย้ายไปแล้วเกิน 10 ล้านบรรทัด (ยังย้ายไม่เสร็จทั้งหมด)
Meta ระบุว่า Kotlin เป็นภาษาที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในโลกของ Android โดยมีข้อดีเหนือกว่า Java 11 (ที่ใช้ในวงการ Android) หลายด้าน เช่น nullability ที่ระดับของตัวภาษา, รองรับการทำ functional programming ดีกว่า Java, โค้ดสั้นกว่า และรองรับการทำ Domain-specific language (DSL)
Kathleen Booth นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้คิดค้นภาษา Assembly เสียชีวิตแล้ว โดยมีอายุครบ 100 ปีพอดี (เกิดปี 1922)
Kathleen ร่วมกับสามี Andrew Booth ทำงานที่มหาวิทยาลัย Birkbeck College (เป็นส่วนหนึ่งของ University of London) สร้างคอมพิวเตอร์ยุคแรกๆ ชื่อเครื่อง Automatic Relay Calculator (ARC) ในปี 1946 ซึ่งภายหลังพัฒนามาเป็นเครื่อง ARC2 และ Simple Electronic Computer (SEC) ในปี 1948
Kathleen เป็นผู้สร้างซอฟต์แวร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านี้ ซึ่งภายหลังกลายมาเป็นภาษา Assembly เธอยังเขียนหนังสือชื่อ Programming for an Automatic Digital Calculator ในปี 1958
สัปดาห์นี้โครงการ Python ออกเวอร์ชั่น 3.11 โดยหนึ่งในฟีเจอร์สำคัญคือความเร็วที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน 10-60% ในแต่ละชุดการทดสอบ โดยโครงการ Faster CPython นี้เกิดขึ้นได้โดยมีไมโครซอฟท์เป็นผู้สนับสนุนรายสำคัญ
Redmonk บริษัทวิเคราะห์ข้อมูลนักพัฒนา รายงานอันดับภาษาโปรแกรมยอดนิยม ของไตรมาสที่ 3 ปี 2022 โดยใช้ข้อมูลอ้างอิงจาก GitHub และ Stack Overflow (ซึ่ง Redmonk บอกว่าหากภาษาที่คิดว่าน่าจะติด แต่ไม่ติดอันดับ ก็อาจเพราะแพลตฟอร์มอันใดอันหนึ่งไม่มีภาษานี้)
ในอันดับต้น ๆ นั้นแทบไม่มีการขยับตำแหน่ง แต่มีอันดับที่น่าสนใจ เช่น TypeScript ซึ่งได้รับความนิยมเพิ่มมาเรื่อย ๆ เนื่องจากนำไปใช้ในงานได้หลากหลาย ส่วนภาษา Go ก็ไม่สามารถไต่อันดับขึ้นมาที่เลขหลักเดียว ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกับ Kotlin และ Rust
รายชื่ออันดับทั้งหมดเป็นดังนี้
Replit บริการ IDE บนเว็บ ประกาศเปิดบริการบนโทรศัพท์มือถือ เปิดทางให้ทุกคนเขียนโค้ดได้ตลอดเวลา หลักจากที่ก่อนหน้านี้ Replit มีเวอร์ชั่นเว็บสำหรับโทรศัพท์อยู่แล้ว
เวอร์ชั่นแอปมีความสามารถเพิ่มเติมจากเว็บ การควบคุมสามารถใช้จอยสติ๊กบนจอภาพได้เหมือนเมาส์ทำให้เลือกข้อความได้ง่ายขึ้น ตัว IDE สามารถทำ autocomplete ได้จากข้อมูลบนเครื่องโดยตรง และรองรับปัญญาประดิษฐ์เขียนโค้ด Ghostwriter
แม้ฟีเจอร์ด้านการเขียนโค้ดจะค่อนข้างครบ แต่ฟีเจอร์การทำงานร่วมกับชุมชนยังขาดอยู่ และทีมงานจะเพิ่มเข้าภายหลัง
ที่มา - Replit
ภาษา Kotlin ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ หลังกูเกิลเลือกเป็นภาษาหลักในการสร้างแอพบน Android ถึงขั้นมีบางองค์กร เช่น Netflix เริ่มผลักดันการใช้ Kotlin เขียนแอพมือถือทั้ง Android/iOS ไปพร้อมกันเลย
ทีม JetBrains เองก็รับลูกแนวทางนี้ และพัฒนาออกมาเป็น SDK ชื่อว่า Kotlin Multiplatform Mobile (KMM) ที่ตอนนี้เข้าสถานะ Beta แล้ว
หนังสือ The Art of Computer Programming โดย Donald E. Knuth หนึ่งในปรมาจารย์ของวงการวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ออกเล่ม 4 ส่วนที่ 2 เต็มรูปแบบ หลักจากก่อนหน้านี้ค่อยๆ ออกบางบทมาก่อนแล้ว โดยส่วนที่สองนี้หนา 732 หน้า ต่อจากส่วนแรกที่ตีพิมพ์ตั้งแต่ปี 2011
Tim Cook ซีอีโอของ Apple ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวสัญชาติดัตช์ Bright ว่าสหรัฐอเมริกาควรมีวิชาการเขียนโปรแกรมตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มองว่าการเขียนโค้ดเป็นภาษาสากลที่สำคัญมากสำหรับวงการเทคโนโลยีและเป็นภาษาที่ทุกคนควรเรียนรู้ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา
Tim Cook มองว่าการเขียนโค้ดเป็นภาษาที่สำคัญที่สุดที่ควรได้เรียนนอกเหนือไปจากภาษาแม่ที่ใช้ในการสื่อสาร เพราะการเขียนโปรแกรมเป็นประโยชน์ในการถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์
ภาษา TypeScript เปิดตัวต่อโลกครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2012 มาถึงวันนี้มีอายุครบ 10 ปีพอดี ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา TypeScript เติบโตขึ้นมาก จนมีความนิยมแซงหน้า JavaScript แล้วจากสถิติของบางสำนัก
Daniel Rosenwasser หัวหน้าโครงการ TypeScript ของไมโครซอฟท์ เขียนบล็อกเล่าความหลังว่าในช่วงแรกๆ คนไม่เข้าใจว่าไมโครซอฟท์กำลังทำอะไร และมองว่าการกำหนดชนิดตัวแปร (type) ให้ JavaScript เป็นเรื่องเลวร้ายด้วยซ้ำ แต่สุดท้าย TypeScript ก็พิสูจน์ตัวเองว่ามีข้อดีจริงๆ และกลายเป็นภาษายอดนิยมในทุกวันนี้