จากงานแอปเปิลเมื่อคืนที่แอปเปิลนำเสนอว่า Apple Watch เป็นสินค้าตัวแรกที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ซึ่งทั้งสินค้าและกระบวนการผลิตมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด การเปลี่ยนแปลงนี้ก็มีผลต่อสินค้า Apple Watch ที่ออกแบบร่วมกับพาร์ตเนอร์ด้วยเช่นกัน
ในงานแถลงข่าว Wanderlust ของแอปเปิลเมื่อคืนนี้ แอปเปิลใช้เวลาพอสมควรในการเล่าเรื่องราวความพยายามของบริษัท ที่จะออกสินค้าให้มีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด นอกจากการประกาศว่า Apple Watch เป็นสินค้าที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ตัวแรกของแอปเปิลแล้ว ยังมีประเด็นส่วนอุปกรณ์เสริมด้วย
เมื่อ 4 ปีก่อนมีการนำเสนอข่าวการพบแหล่งแร่หายากในชั้นโคลนใต้ทะเลลึกของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นแหล่งแร่ขนาดใหญ่ที่สามารถขุดมาใช้ได้หลายร้อยปีก็ไม่หมด ตอนนี้ทางการญี่ปุ่นก็ตระเตรียมที่เริ่มขุดเจาะเอาแร่ที่ว่าขึ้นมาใช้แล้ว
แหล่งแร่ที่ว่านี้อยู่ในชั้นโคลนใต้ทะเลบริเวณใกล้กับเกาะ Minamitori ซึ่งเป็นเกาะที่อยู่ห่างออกไปจากโตเกียวราว 1,900 กิโลเมตร โดยประเมินว่าจะมีแร่ REO รวมกันประมาณ 16 ล้านตัน ซึ่ง REO (Rare Earth Oxide) ที่ว่านี้หมายถึงแร่ออกไซด์ของธาตุหายากอันเป็นวัตถุดิบสำคัญของภาคอุตสาหกรรมนานาชนิดรวมถึงอุตสาหกรรมชิ้นส่วนไอที
ทีมนักวิจัยนำโดย NIST (National Institute of Standards and Technology) ได้ตีพิมพ์เผยแพร่งานวิจัยการผลิตชิ้นงานเหล็กกล้าไร้สนิมด้วยการพิมพ์ 3 มิติสำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก
เหล็กกล้าไร้สนิมหรือที่บ้านเราเรียกกันแบบติดปากว่า "สแตนเลส" ซึ่งเป็นคำที่ทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ "stainless steel" เป็นวัสดุโลหะผสมที่พัฒนาต่อยอดมาจากเหล็กกล้าอันหมายถึงเหล็กที่ส่วนผสมของคาร์บอนราว 0.2-2.1% ด้วยการเติมโครเมียมเพิ่มเข้าไปในสัดส่วนไม่ต่ำกว่า 10% โดยมวล และอาจเติมโลหะประเภทอื่นเพิ่มเติม ทำให้เหล็กกล้ามีคุณสมบัติทนทานต่อการกัดกร่อนได้ดียิ่งขึ้น
ทีมวิจัยจาก University of British Columbia (UBC) พัฒนาวัสดุเคลือบผิวชนิดใหม่ที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ได้ 99.7% ภายในเวลา 1 ชั่วโมง โดยไม่ต้องใช้น้ำยาฆ่าเชื้อเข้าช่วย
วัสดุเคลือบผิวนี้มีส่วนประกอบของทองแดงและสังกะสี โดยคุณสมบัติพิเศษของมันคือผิวสัมผัสที่มีความขรุขระเล็กในระดับนาโนเมตร ซึ่งความขรุขระของพื้นผิวนี้เองที่จะไปเจาะทำลายผนังเซลล์ของเชื้อแบคทีเรียที่เกาะติดอยู่กับมัน ทำให้เชื้อแบคทีเรียเหล่านั้นตายไปเอง
หนึ่งในวัสดุสำคัญสำหรับงานก่อสร้างในยุคปัจจุบันคือปูนซีเมนต์ที่ใช้สำหรับผสมเป็นคอนกรีต ด้วยคุณสมบัติที่แข็งแรง, ทนทาน และความยืดหยุ่นที่รองรับงานออกแบบการขึ้นรูปโครงสร้างหลากหลายรูปทรง ทำให้ปูนซีเมนต์กลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับงานก่อสร้างทั่วทุกมุมโลก ทว่ากระบวนการผลิตให้ได้มาซึ่งปูนซีเมนต์นั้นจำเป็นต้องอาศัยการให้ความร้อนเพื่อเผาปูน และกระบวนการดังกล่าวเป็นที่มาของก๊าซเรือนกระจกสูงถึง 8% ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ถูกปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศของโลก
นักวิจัยจาก MIT ได้คิดค้นหาวิธีกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์แบบใหม่ที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้โดยการใช้พลังงานไฟฟ้ามา สร้างกระบวนการทางเคมีเพื่อผลิตปูนซีเมนต์แทนการให้พลังงานความร้อนเพื่อเผาปูนตามปกติ
Samsung ขอจดสิทธิบัตรว่าด้วยเรื่องของสารเคลือบผิวที่มีคุณสมบัติป้องกันการทิ้งรอยนิ้วมือ ที่สำคัญมันยังมีคุณสมบัติในการซ่อมแซมร่องรอยขูดขีดที่เสียหายบนผิวหน้าของตัวเองได้ด้วย
Samsung ไม่ได้เจาะจงว่าสิทธิบัตรนี้จะใช้เฉพาะกับงานเคลือบผิวเท่านั้น แต่สารเคลือบผิวที่ว่าอาจทำออกมาในรูปแบบของแผ่นฟิล์มหรือเป็นตัวชิ้นส่วนอุปกรณ์เลยก็ได้ โดยองค์ประกอบของสารดังกล่าวนั้นจะมี polyrotaxane, polyhedral silsesquioxane และสารประกอบ fluorinated (meth)acryl ซึ่งเป็นอะครีลิกประเภทหนึ่งอยู่ด้วย
ปี 2016 โลกเรามีข่าวดีเมื่อมีการค้นพบแบคทีเรียในประเทศญี่ปุ่น ที่มีความพิเศษตรงที่มันสามารถย่อยสลายพลาสติกจำพวก PET ได้ แบคทีเรียนี้ชื่อว่า Ideonella sakaiensis หลายคนคิดว่านี่คือประตูสู่ยุคใหม่ของการกำจัดขยะพลาสติก แต่เบื้องลึกเบื้องหลังว่าอะไรทำให้มันย่อยสลาย PET ได้ ยังคงเป็นสิ่งที่รอการค้นหาคำตอบโดยนักวิทยาศาสตร์
ผ่านมา 2 ปี ทีมนักวิจัยนานาชาติ พยายามศึกษา Ideonella sakaiensis ว่าอะไรทำให้มันสามารถย่อยพลาสติกได้ หนึ่งในกระบวนการที่พวกเขาใช้คือการกระตุ้นเอ็นไซม์ของแบคทีเรียโดยการฉายรังสี X ความเข้มสูง ที่เข้มยิ่งกว่ารังสีจากดวงอาทิตย์ 10 พันล้านเท่า ด้วยหวังจะเห็นว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรกับเอ็นไซม์ของแบคทีเรียมหัศจรรย์นี้ ทว่าผลลัพธ์ที่ได้คือมันทำให้เอ็นไซม์ที่ว่านี้ย่อยพลาสติกได้ดีขึ้นกว่าเดิมเสียอีก
ญี่ปุ่นประกาศข่าวการค้นพบแหล่งแร่หายากปริมาณมหาศาลใต้ทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยแร่เหล่านี้สามารถนำมาใช้งานกับอุตสาหกรรมได้หลากหลายประเภทรวมทั้งอุตสาหกรรมไอทีด้วย
จากการสำรวจกินพื้นที่กว่า 2,500 ตารางกิโลเมตร ทีมนักสำรวจซึ่งประกอบไปด้วยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของญี่ปุ่น ร่วมด้วยภาคเอกชน และเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ได้ค้นพบแหล่งแร่ในชั้นโคลนใต้ทะเลบริเวณใกล้กับเกาะ Minamitori โดยประเมินว่าจะมีแร่รวมกันประมาณ 16 ล้านตัน โดยในนั้นเป็น REO (Rare Earth Oxide) ซึ่งหมายถึงแร่ออกไซด์ของธาตุหายากถึง 1.2 ล้านตัน
งานขายของแปลกๆ ที่แสนจะน่าสนใจจาก The Boring Company มาอีกแล้ว หลังจากเริ่มขายหมวกจนได้เงินมา 300,000 ดอลลาร์ ตามมาด้วยการขายปืนยิงไฟกระบอกละ 500 ดอลลาร์ หมดภายใน 5 วัน และได้เงินมาอีก 10 ล้านดอลลาร์ คราวนี้บริษัทขุดอุโมงค์ของ Elon Musk เตรียมจะเปิดขายอิฐสร้างบ้านกันบ้าง
อันที่จริงจะเรียกว่าอิฐก็ไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะโดยทั่วไปแล้ว "อิฐ" เป็นคำใช้เรียกวัสดุก่อสร้างที่ผลิตขึ้นจากการปั้นขึ้นรูปวัสดุจำพวกดินและทราย ซึ่งจะต้องผ่านกระบวนการทำให้วัสดุแข็งโดยการให้ความร้อน แต่สิ่งที่ The Boring Company กำลังจะขายนี้เป็นหินที่ก่อเกิดเป็นเนื้อวัสดุขึ้นตามธรรมชาติ โดยหินที่ว่านี้ก็เป็นหินที่ได้จากการขุดอุโมงค์ของหัวเจาะนั่นเอง
นักวิจัยจาก Wyss Institue แห่งมหาวิทยาลัย Harvard คิดค้นวัสดุเพื่อใช้เป็นเทปปิดสมานแผลสำหรับแผลผ่าตัดอวัยวะภายในร่างกายได้
แต่เดิมทีการปิดแผลห้ามเลือดแผลผ่าตัดบริเวณอวัยวะภายในร่างกายนั้นมีข้อจำกัดที่ซับซ้อนกว่าแผลผิวหนังภายนอก เทคนิคที่ใช้กันมีทั้งการเย็บแผลด้วยไหมหรือลวดเย็บสำหรับงานผ่าตัดโดยเฉพาะซึ่งต้องอาศัยความชำนาญของแพทย์ผู้ผ่าตัด และต้องใช้เวลาในการลงมือทำ ในขณะการใช้กาวสมานแผลซึ่งทำได้รวดเร็วกว่าและเป็นวิธีทั่วไปสำหรับการปิดแผลห้ามเลือดผิวหนังภายนอกนั้นก็ไม่ตอบโจทย์เรื่องความยืดหยุ่น เพราะเมื่อเนื้อกาวแข็งตัวมันจะเปราะจนแตกและหลุดออกจากแผลได้ง่ายเมื่อพื้นผิวเนื้อเยื่อที่มันยึดเกาะอยู่มีการเคลื่อนไหวปรับเปลี่ยนรูปทรงพื้นผิว ซึ่งคงเป็นไปไม่ได้ที่จะเติมกาวลงไปใหม่กับบาดแผลที่อวัยวะภายในร่างกาย
ความฝันถึงอุปกรณ์ IoT ที่ไม่ต้องคอยชาร์จไฟอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม เมื่อนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Oulu ประเทศฟินแลนด์ ค้นพบวัสดุชนิดใหม่ในกลุ่ม Perovskite Crystal มีคุณสมบัติสามารถเปลี่ยนพลังงานแสง ความร้อน และการเคลื่อนไหวให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้พร้อมกัน
วัสดุดังกล่าวถูกเรียกว่า KBNNO (ตามสูตรเคมี) มีคุณสมบัติเป็น Ferroelectric โดยนักวิทยาศาสตร์ทดสอบความสามารถในการเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้าที่อุณหภูมิห้อง พร้อมตรวจวัดความเปลี่ยนของอุณหภูมิและความดัน พบว่า KBNNO สามารถเปลี่ยนพลังงานทั้งสามเป็นพลังงานไฟฟ้าได้
ซัมซุงแก้ปัญหาตู้เย็นไม่สามารถจุอาหารได้มากพอด้วยเทคโนโลยี SpaceMax ทำฉนวนกันความร้อนให้บางลง เพื่อเพิ่มเนื้อที่ว่างในตู้เย็นได้อีก 100 ลิตร
อย่างไรก็ตาม SpaceMax ไม่ใช่ของใหม่ แต่ซัมซุงพัฒนาต้นแบบมาตั้งแต่ปี 2008 แล้ว ภายใต้ชื่อโครงการว่า Guggenheim โดยล่าสุดซัมซุงพยายามพัฒนาเทคโนโลยีนี้ให้มีประสิทธิภาพในการตัดการแผ่รังสีความร้อนได้ด้วย
SIGGRAPH เป็นงานประชุมวิชาการด้านคอมพิวเตอร์กราฟฟิกและการโต้ตอบที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในสายนี้ โดยรอบปี 2016 งานดังกล่าวถูกจัดขึ้นที่มลรัฐแคลิฟอร์เนียในปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาครับ
จากงานวิจัยที่ขึ้นนำเสนอ 119 งาน เว็บไซต์ Co.Design ได้รวบรวมผลงานเด่นๆ มาแล้วจำนวนหนึ่ง แต่ผมคิดว่าบางชิ้นก็ยังไม่โดนใจพอ จึงได้คัดจนเหลือ 5 ชิ้นมาให้ชมดังนี้
เว็บไซต์ข่าวการพิมพ์สามมิติ 3DPrint.com รายงานว่านักวิจัยจาก Carnegie Mellon University (CMU) ของสหรัฐอเมริกา เผยแพร่งานวิจัยที่ระบุว่า งานพิมพ์จากเครื่องพิมพ์สามมิติที่ใช้วัสดุเป็นไทเทเนียมผง มีปัญหาขั้นรุนแรง (fatally flawed) โดยระบุว่าการพิมพ์สามมิติโดยใช้ไทเทเนียมผง ทำให้เกิดรูพรุนในเนื้องานมากกว่าปกติ
แม้ที่ผ่านมายังไม่มี iPhone หรือ iPad รุ่นไหนที่สามารถกันน้ำได้ แต่ไม่แน่ว่าในอนาคต Apple อาจพัฒนาอุปกรณ์ที่กันน้ำได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยสิทธิบัตรใหม่ที่ Apple เพิ่งยื่นขอจดไปได้เผยให้เห็นแนวคิดการพัฒนาวัสดุอ่อนนุ่มชนิดพิเศษที่จะใช้เพื่อปิดช่องรูต่างๆ ของอุปกรณ์ เพื่อกันน้ำและฝุ่นไม่ให้เข้าไปในรูนั้น โดยมันมีคุณสมบัติพิเศษในการซ่อมแซมตัวเอง
นักวิทยาศาสตร์ของ University of Michigan ได้วิจัยพัฒนาวัสดุแบบใหม่ที่ประกอบไปด้วยผลึกที่เปลี่ยนรูปลักษณ์ได้เมื่อโดนแสงตกกระทบ ซึ่งอาจนำไปใช้ประโยชน์ทำหน้าจอสัมผัสแบบเปลี่ยนรูปทรงได้
ตัวผลึกที่ประกอบขึ้นเป็นวัสดุพิเศษนี้จะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อคลื่นแสงที่ความถี่ต่างๆ แตกต่างกันออกไป โดยผลึกเหล่านั้นจะขยับเปลี่ยนตำแหน่งทำให้รูปทรงของเนื้อวัสดุมีการเปลี่ยนแปลง
มีผู้ไปพบประกาศรับสมัครงานของ Apple ที่น่าสนใจอยู่อันหนึ่งที่เปิดรับวิศวกรวัสดุที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องพลาสติกเพื่อเข้าร่วมทำงานกับทีม iPhone และ iPad
การใช้พลาสติกในผลิตภัณฑ์ของ Apple นั้นมีมานานมากแล้ว แต่การที่เปิดรับวิศวกรที่เน้นประสบการณ์งานด้านนี้โดยตรงในครั้งนี้ ย่อมสะท้อนให้เห็นถึงทิศทางการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เน้นหนักการใช้พลาสติกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจจะช่วยลดต้นทุนในการผลิต และทำให้อุปกรณ์มีน้ำหนักเบาลงได้
จุดนี้จึงชวนให้คิดได้ว่าในอนาคตเราจะเห็นชิ้นส่วนพลาสติกเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มผลิตภัณฑ์อุปกรณ์พกพาจาก Apple ซึ่งน่าสนใจมากว่าจะสร้างความแตกต่างจากแบรนด์อื่นได้อย่างไร และจะยังคงรักษาความเนี้ยบในงานประกอบผลิตภัณฑ์เอาไว้ได้อย่างที่ควรจะเป็นหรือไม่
HTC One S น้องกลางของตระกูล One มีจุดขายอีกอย่างที่ "วัสดุ" ที่ใช้ทำกรอบของตัวเครื่อง โดยจะนำอลูมิเนียมแบบเดียวกับที่ใช้ในเครื่องบิน มาเผาด้วยเทคนิคที่เรียกว่า "Micro Arc Oxidation" ทำให้ตัวโลหะแข็งแกร่งทนทานมากขึ้น แถมยังมีหน้าตาและคุณลักษณะคล้ายเซรามิกมากขึ้น
ล่าสุด HTC ปล่อยวิดีโอแสดงกระบวนการของ Micro Arc Oxidation แล้ว ใครสนใจก็รอดูผลงานจริงๆ กันได้ว่าจะออกมาดูดีแบบที่คุยหรือเปล่าครับ
ที่มา - Android Central
เมื่อประมาณสัปดาห์ที่ผ่านมา แอปเปิลได้ตกลงซื้อสิทธิ์ในการใช้งานโลหะผสม Liquidmetal ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แต่เพียงผู้เดียวได้สำเร็จ
Liquidmetal คือโลหะผสมจากบริษัท Liquidmetal Technology ที่มีความแข็งแรง (strength) กว่า Titanium Alloy 2.5 เท่าและแข็ง (hardness) กว่า Stainless Steel 1.5 เท่า แน่นอนว่าโลหะชนิดนี้ย่อมสามารถทำให้แอปเปิลสามารถสร้างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เล็กลงและเบาลงมากขึ้นได้อีกพอสมควร
นักวิจัยมหาวิทยาลัย Northwestern ได้ทำการวิจัยที่จะรวมการยึดเกาะของตุ๊กแกและความเหนียวหนืดของสารจากหอยมาสร้างว้สดุที่สามารถยึดจับกับอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะแห้งหรือเปียก ด้วยพลังยึดเกาะอันเหลือเชื่อ กาวตัวนี้จะสามารถเชื่อมอะไรก็ได้เพื่อใช้ในการรักษาต่อไป
รองศาตราจารย์ Phillip Messersmith นักวิศวกรรมชีวอุปกรแพทย์ ได้ให้มุมมองเกี่ยวเทปที่มีความยึดเกาะสูง โดยมีตุ๊กแก เป็นต้นแบบ สามารถนำมาแทนที่การเย็บเพื่อปิดแผลได้ หรือ อาจจะนับมาเป็นผ้าพันแผลกันน้ำ หรือ ตัวจ่ายยาแบบพลาสเตอร์
โดยผ้าพันแผลจะยึดเกาะอย่างเหนียวแน่นในระหว่างการรักษาตัว และจะถูกถอดออกย่างง่ายได้เวลารักษาเสร็จ