กูเกิลขายไลเซนส์ปัญญาประดิษฐ์ตรวจจับมะเร็งเต้านมให้กับบริษัท iCAD ที่ขายเทคโนโลยีการตรวจจับมะเร็งโดยเฉพาะ โดยทาง iCAD จะนำเทคโนโลยีนี้ไปทดสอบการใช้งาน แล้วนำความสามารถของปัญญาประดิษฐ์ของกูเกิลไปรวมเป็นส่วนหนึ่งของ Breast AI Suite และ ProFound AI Risk ของ iCAD เอง
กูเกิลรายงานการใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อตรวจจับมะเร็งเต้านมมาตั้งแต่ปี 2020 พบว่าช่วยลดความผิดพลาดการตรวจลงได้ แต่ที่ผ่านมาก็กูเกิลก็ยังไม่ได้เดินหน้าที่จะขออนุญาตใช้งานจริง
ทีมวิจัยจากบริษัท PACT Pharma รายงานถึงผลการทดลองรักษาเนื้องอกมะเร็งด้วย T cell ที่ผ่านการตัตต่อพันธุกรรมด้วยเทคนิค CRISPR-Cas9 ทำให้ T cell สามารถจับโปรตีนมะเร็งของคนไข้แต่ละคนได้อย่างเจาะจง
ศาสตราจารย์ Ugur Sahin และ Ozlem Tureci ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท BioNTech ซึ่งเป็นผู้ผลิตวัคซีนป้องกันโควิดให้กับ Pfizer เผยว่า ขณะนี้กำลังพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่นำ mRNA มาใช้เพื่อรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งอาจจะรักษามะเร็งผิวหนัง มะเร็งลำไส้ใหญ่ และเนื้องอกชนิดอื่น ๆ ได้ และน่าจะนำมาใช้กับผู้ป่วยได้ก่อนปี 2030
กูเกิลออกรายงานเรื่องการใช้ AI จากสถาบันวิจัย DeepMind ตรวจจับมะเร็งเต้านมจากแมมโมแกรม พบว่าสามารถลดข้อผิดพลาดได้ดีขึ้น
กูเกิลได้ร่วมมือกับสถาบันวิจัยทางการแพทย์ในสหรัฐฯและอังกฤษเพื่อพัฒนาความสามารถ AI ในการตรวจจับมะเร็งเต้านมมาได้กว่า 2 ปีแล้ว
โดยกูเกิลฝึกระบบด้วยการใช้รูปแมมโมแกรมที่ไม่ระบุตัวตนจากผู้หญิงมากกว่า 25,000 คนในสหราชอาณาจักรและอีก 3,000 คนในสหรัฐอเมริกา เพื่อดูว่า AI จะสามารถสังเกตสัญญาณมะเร็งเต้านมได้หรือไม่ ผลคือ ระบบสามารถลดภาวะ false positive ได้ 5.7% ในกลุ่มผู้หญิงจากสหรัฐฯ และ 1.2% ในกลุ่มผู้หญิงจากอังกฤษ นอกจากนี้ระบบยังลดภาวะ false negative ได้ 9.4% ในกลุ่มผู้หญิงจากสหรัฐฯ และ 2.7% ในกลุ่มผู้หญิงจากอังกฤษ
อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญ มีทั้งข้อมูลจริงและปลอม ในแง่การแพทย์มีข้อมูลการดูแลรักษาร่างกายผิดๆ มากมาย คนทั่วไปโดยเฉพาะคนป่วยมักจะเข้าเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อหาข้อมูลและมีความเป็นไปได้สูงว่าผู้ป่วยจะเชื่อข้อมูลผิดๆ สถาบันมะเร็ง Macmillan Cancer Support จึงจ้างบุคลากร (ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ) เพื่อทำหน้าที่ให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก้ไขความเชื่อผิดๆ แก่ผู้ป่วยผ่านออนไลน์
GE Healthcare ผู้บริการด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ นำเสนอระบบตรวจเต้านมหรือทำแมมโมแกรมแบบใหม่ ให้ผู้เข้ารับการตรวจสอบควบคุมการบีบอัดเต้านมผ่านรีโมทคอนโทรลด้วยตัวเอง เพื่อหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดโดยไม่พึงประสงค์ ทางคณะแพทย์คาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะให้คนทั่วไปที่กลัวการตรวจแมมโมแกรม จะเข้ารับการตรวจมากขึ้น
ตัวรีโมทมีชื่อว่า Dueta คือเทคโนโลยีล่าสุดในระบบตรวจเต้านมหรือ Senographe Pristina ที่ GE เปิดตัวไปเมื่อปีที่แล้ว ทีมแพทย์ระบุว่า ผู้เข้ารับการตรวจจะรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น เมื่อผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย จะได้ภาพฉายรังสีที่ดีและง่ายต่อการวินิจฉัย
มีผลสำรวจระบุว่า คนอเมริกันที่มีสิทธิ์เข้ารับการตรวจแมมโมแกรม หนึ่งในสามของคนเหล่านี้ไม่เข้ารับการตรวจ การทำแมมโมแกรมให้ง่ายและสบายต่อผู้เข้ารับการตรวจมากขึ้นจึงเป็นสิ่งจำเป็น
Verily บริษัททำวิจัยและเทคโนโลยีการแพทย์ในเครือ Alphabet (บริษัทแม่ Google) เตรียมลงทุนในสตาร์ทอัพ Freenome ทำเทคโนโลยีตรวจจับมะเร็ง ทางบริษัทไม่ระบุวงเงินลงทุน แต่จะเสนอห้องแล็บออฟฟิศให้ Freenome ใช้งาน ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ของ Verily เลย
Freenome เป็นบริษัททำ machine learning หาสัญญาณทางชีววิทยา ที่เป็นรากของมะเร็งจากชิ้นส่วนดีเอ็นเอในเลือด ด้าน Google เองก็อยู่ระหว่างพัฒนาเทคโนโลยีตรวจหามะเร็งด้วย การลงทุนครั้งนี้จึงอาจเป็นไปได้ว่า Freenome จะเข้าไปช่วยเสริม Google ให้เทคโนโลยีดังกล่าวมีความคืบหน้าและตรวจจับได้แม่นยำมากขึ้น
GRAIL สตาร์ทอัพด้านการแพทย์จากซานฟรานซิสโก ทำโซลูชั่นตรวจจับมะเร็ง ระดมทุนในซีรี่ส์ B ได้ถึง 900 ล้านดอลลาร์ เรียกได้ว่าเม็ดเงินระดมทุนเยอะขนาดนี้ มีให้เห็นไม่บ่อยนักสำหรับบริษัทที่เพิ่งก่อตั้งเมื่อปี 2016 นี้เอง
GRAIL รวมกลุ่มโดยวิศวกรคอมพิวเตอร์และแพทย์ ทำเทคโนโลยีตรวจจับมะเร็งโดยเน้นไปที่ระยะเริ่มต้นเพื่อให้ทันต่อการรักษา พัฒนาเทคโนโลยีทดสอบเลือด พัฒนาเครื่องมือตรวจสอบยีน ศึกษาด้านคลีนิกและวิทยาศาสตร์ข้อมูลเพื่อให้ระบบสามารถตรวจจับมะเร็งได้ตั้งแต่ระยะแรก
เงินลงทุนที่ได้มารอบนี้ทางบริษัทจะนำไปทำการศึกษาต่อยอดเรื่องการไหลเวียนของเซลล์หรือ Circulating Cell-free Genome Atlas (CCGA) ในสเกลที่ใหญ่ขึ้น
ไอบีเอ็มประกาศความสำเร็จในการใช้ปัญญาประดิษฐ์ Watson ในการวินิจฉัยโรคลูคิเมียเคสหายากภายในเวลาเพียง 10 นาที เทียบกับกระบวนการการแพทย์ปกติที่ใช้เวลาวินิจฉัยถึง 2 สัปดาห์
Samsung Electronics ประกาศข่าวเตรียมจัดตั้งกองทุน 100 พันล้านวอน (ประมาณ 3 พันล้านบาท) เพื่อช่วยเหลือพนักงานและครอบครัวที่เจ็บป่วยโดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคมะเร็งอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการทำงานในโรงงาน และเพื่อเพิ่มมาตรการป้องกันอาการเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานในโรงงานผลิตชิปและหน้าจอของ Samsung
ในส่วนการให้ความช่วยเหลือของเงินจากกองทุนนี้จะครอบคลุมทั้งพนักงานของ Samsung เอง และพนักงานของบริษัทคู่สัญญาที่เข้ามาทำงานในโรงงานของ Samsung ส่วนเงินอีกส่วนหนึ่งจะถูกนำไปใช้เพื่องานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ รวมทั้งว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญให้มาช่วยพัฒนาความปลอดภัยในการทำงานในโรงงานของ Samsung
จำข่าวเรื่องงานวิจัยสร้างอนุภาคนาโนไหลตามกระแสเลือดเพื่อตรวจหามะเร็งที่ทีม Google X กำลังทำอยู่ได้ไหม ตอนนี้มีข้อมูลเพิ่มเติมว่า Google X ลงทุนทำผิวหนังมนุษย์เทียมเพื่อใช้ทดสอบการทำงานของอนุภาคที่ว่านี้ด้วย
เว็บไซต์ The Atlantic ได้มีโอกาสบุกเข้าไปชมสถานที่ทำงานของ Google X และสัมภาษณ์ทีมงานเกี่ยวกับงานวิจัยที่ว่านี้ ทั้งยังมีโอกาสได้พบกับชิ้นส่วนแขนมนุษย์ที่ Google X ทำเทียมขึ้นมาเพื่อเลียนแบบร่างกายและใช้ทดสอบการทำงานของอนุภาคนาโนสุดมหัศจรรย์ซึ่งจะทำงานควบคู่กับกำไลหามะเร็งที่ Google X พัฒนาขึ้นมาควบคู่กัน
ทีม Google X เริ่มมีผลงานพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพร่างกายมนุษย์ออกมามากขึ้น ไล่ตั้งแต่การพัฒนารอยสักดิจิทัลและเม็ดยาดิจิทัลที่สานต่องานพัฒนาจากทีมของ Motorola เดิม รวมทั้งการสร้างคอนแทคเลนส์วัดปริมาณน้ำตาลในเลือด ล่าสุด Google ก็ได้ประกาศเรื่องโครงการใหม่ของทีม Google X ในการสร้างอนุภาคนาโนที่สามารถไหลกระจายตัวไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายผ่านทางกระแสเลือดเพื่อทำหน้าที่ตรวจหาเนื้อร้ายที่จะกลายเป็นมะเร็ง
วารสารฉบับออนไลน์ของสถาบันมะเร็งแห่งชาติเยอรมันประจำวันที่ 13 มกราคม 2552 รายงานผลการวิจัยว่า การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของการเกิดเนื้องอกหรือมะเร็งที่ตา (melanoma) โดยถึงแม้ว่าจะไม่มีความเชื่อมโยงระหว่างระยะเวลาที่ได้รับคลื่นวิทยุกับความบกพร่องของดีเอ็นเอ (DNA) ซึ่งอาจจะนำไปสู่การเป็นมะเร็งได้ก็ตาม การศึกษาได้ทำการตรวจสอบถึงความเป็นไปได้ของความสัมพันธ์ระหว่างการใช้โทรศัพท์เคลื่อนกับมะเร็งที่ตา หรือที่เรียกว่า ภาวการณ์สะสมอย่างผิดปกติของเมลานินที่ม่านตา (uveal melanoma)
Dr. Zuo-Feng Zhang นักวิจัยจาก University of California ตีพิมพ์ผลการวิจัย เกี่ยวกับ ผลของการบริโภค ผัก ผลไม้ ชา สามารถลดอุบัติการณ์ของการเกิดโรคมะเร็งปอดได้ ลงในวารสารวิชาการ Cancer
เป็นที่ทราบกันดีว่า การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของมะเร็งปอด ถึง 90% ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการคัดเลือก ผู้ป่วยมะเร็งปอด 558 คน และผู้ที่ไม่เป็นมะเร็งปอด 837 คน แล้วทำการตรวจสอบประวัติการกินอาหาร ของกลุ่มทดลองทั้งสองกลุ่ม
CBS 13/4/51 รายการ 60 Minutes ได้ถ่ายทอดเรื่องราวของ Kanzius Machine ซึ่งเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่คิดค้นขึ้นโดย John Kanzius นักประดิษฐ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคลื่นวิทยุ ผู้ซึ่งเคยล้มป่วยด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (leukemia) ร่วมกับทีมวิจัยของศาสตราจารย์ Steve Curley แห่ง M.D. Anderson เพื่อใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง โดยไม่เกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายของผู้ป่วย โดยอาศัยแนวคิด และวิทยาการทางด้าน nanotechnology ร่วมกับการใช้คลื่นวิทยุ
MSNBC: มีรายงานผู้ป่วยที่รับบริจาคอวัยวะได้รับมะเร็งจาก เด็กหนุ่มคนหนึ่งซึ่งแพทย์ลงความเห็นว่าเป็นไข้เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Meningitis) ที่มาโรงพยาบาล Stony Brook University Hospital ด้วยอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดหลัง และคออย่างรุนแรง ตาพร่า และชัก แต่ไม่สามารถตรวจพบเชื้อที่เป็นสาเหตุได้ ซึ่งเสียชีวิตลงในเวลาต่อมาหลังจากที่ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
คงเคยเห็นการใส่วัตถุขนาดนาโนเมตรเพื่อวิเคราะห์โรคมะเร็งในหนูมาแล้ว ตอนนี้พัฒนาไปอีกขั้น โดยนักวิจัยได้พบประสิทธิภาพของวัตถุขนาดนาโนในการระเบิดมะเร็งให้สลายตัว
วิธีการคือใส่วัตถุขนานนาโน 2 ชิ้นมีชื่อว่า nanothermite ทำหน้าที่เป็นตัวจุดชนวนและเชื้อเพลิง สามารถสร้างคลื่นจุดระเบิดซึ่งสามารถโจมตีเป้าหมายเซลล์มะเร็งด้วยความเร็ว 1,500 ถึง 2,000 เมตรต่อวินาที ซึ่งหากมาใช้ในร่างกายสิ่งมีชีวิตแล้ว นักวิจัยกล่าวว่าสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย และเมื่อทดลองกับเนื้อเยื่อหนูพบอัตราสำเร็จอยู่ที่ 99%
เทคโนโลยีนี้จะพร้อมใช้ได้ในอีก 2 ถึง 3 ปีข้างหน้า
ที่มา - Engadget.com
ในเดือนหน้าเป็นต้นไป International Agency for Research ซึ่งเป็นหน่วยงานย่อยขององค์การอนามัยโลก จะประกาศให้การทำงานกะดึกเป็นปัจจัยเสี่ยงในการก่อมะเร็ง จัดอยู่ในหมวดหมู่เดียวกับการใช้สารสเตียรอยด์ และการถูกรังสีอัลตราไวโอเล็ตเป็นเวลานาน
การประกาศนี้เกิดขึ้นหลังจากงานวิจัยแรกในเรื่องนี้ถึง 20 ปี โดย Richard Stevens ศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัย Connecticut Health Center ได้รายงานไว้ตั้งแต่ปี 1987 ถึงความเกี่ยวเนื่องกันของมะเร็งทรวงอกที่เพิ่มขึ้นในช่วงปี 1930 ช่วงเวลาเดียวกับที่การทำงานกะดึกได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งอันดับต้นๆ ที่พบได้ในบรรดาคุณผู้หญิง ซ้ำร้ายการตรวจพบก็เป็นไปได้ยาก แต่มีข้อมูลที่พอทำให้เราอุ่นใจขึ้นมาได้บ้าง ด้วยคุณภาพของตัวยา และวิธีการรักษาที่มีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยการยื้อชีวิตผู้ป่วยก็ทำได้ยาวนานขึ้นในปัจจุบัน