AMD ประกาศเริ่มขายชิปเร่งความเร็วปัญญาประดิษฐ์สำหรับศูนย์ข้อมูล Instinct MI325X อย่างเป็นทางการ หลังจากเปิดตัวไปเมื่อกลางปี ซึ่ง AMD บอกว่าเป็นการกำหนดมาตรฐานใหม่ของการประมวลผลโมเดล Gen AI
Instinct MI325X พัฒนาบนสถาปัตยกรรม CDNA 3 มีหน่วยความจำแบนด์วิดท์สูง HBM3E 256GB รองรับการส่งข้อมูล 6.0TB/s ซึ่ง AMD บอกว่าเทียบกับ H200 ของ NVIDIA แล้ว มีความจุมากกว่า 1.8 เท่า และแบนด์วิดท์มากกว่า 1.3 เท่า
AMD ประกาศพร้อมขายซีพียูกลุ่มเซิร์ฟเวอร์ EPYC Gen 5 โค้ดเนม Turin อย่างเป็นทางการ ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อกลางปีที่ผ่านมา
ซีพียูนี้ใช้สถาปัตยกรรม Zen 5 และ Zen 5c รองรับการดีพลอยบนแพลตฟอร์ม SP5 มีตัวเลือกคอร์เริ่มต้นตั้งแต่ 8 คอร์ ไปจนถึงสูงสุด 192 คอร์ 384 เธรด มี Throughput ดีกว่าคู่แข่ง 2.7 เท่า
Lisa Su ซีอีโอของ AMD โพสต์ฉลองว่าเธอนั่งเก้าอี้ซีอีโอมาครบ 10 ปีแล้ว ขอบคุณพนักงานที่ร่วมทำงานกันมาโดยตลอด และบอกว่าแม้ 10 ปีที่ผ่านมานั้นยอดเยี่ยม แต่ช่วงเวลาที่ดีที่สุดของ AMD ยังมาไม่ถึง
AMD ออกอัปเดต BIOS 1.2.0.2 สำหรับซีพียู Ryzen 5 9600X และ 9700X ซึ่งปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานให้ค่า TDP เพิ่มขึ้นเป็น 105W จากเดิมสูงสุดที่ 65W ความเร็วจะเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 10%
นอกจากนี้ AMD ยังอัปเดตปรับปรุงประสิทธิภาพความหน่วงระหว่างคอร์ของซีพียูตระกูล Ryzen 9000 แบบ Multi-CCD ซึ่งก่อนหน้านี้พบกรณีที่ทำให้ขั้นตอนเขียนอ่านใช้เวลานาน โดยปรับปรุงให้ลดเวลาลงครึ่งหนึ่ง
สุดท้าย AMD เปิดตัวเมนบอร์ดใหม่ X870 และ X870E รองรับความเร็วเต็มอัตราของ PCIe Gen 5 สำหรับกราฟิกและหน่วยความจำ NVMe มี USB4 เป็นมาตรฐาน
ที่มา: Engadget
Cloudflare ประกาศอัพเดตเซิร์ฟเวอร์รุ่นที่ 12 หลังจากอัพเดตรุ่นที่ 11 ไปตั้งแต่ปี 2021 โดยรอบนี้ยังคงอยู่กับ AMD EPYC ต่อไป เลือกเป็น AMD EPYC 9684X Genoa-X
ที่น่าสนใจคือ Cloudflare เลือกสเปคคร่าว แล้วกำหนดรุ่นที่คัดตัวเป็น AMD ทั้งหมด ได้แก่ AMD EPYC 9654 Genoa, AMD EPYC 9754 Bergamo, และ AMD EPYC 9684X Genoa-X โดยทุกรุ่นถูกจำกัดสเปคความร้อนไม่เกิน 400W
หลังประกาศวางขาย Ryzen 9 มาได้ประมาณ 1 เดือน Digital Trends รายงานว่ายอดขายของ Ryzen 9000 จัดว่าแย่มาก อย่างกรณีของร้านค้าในออสเตรเลียเปิดเผยว่า ยอดขายต่ำที่สุดตั้งแต่ที่เคยขาย AMD มาเลย โดยยอดขายยังไม่พ้นเลขหลักเดียวเลยด้วยซ้ำ
Reuters รายงานข่าวไม่ยืนยันอย่างเป็นทางการ ว่าในปี 2022 โซนี่ตัดสินใจเลือก AMD และ TSMC ผลิตชิปของ PS6 เรียบร้อยแล้ว
การที่โซนี่ตัดสินใจเลือก AMD ทำชิปของ PS6 ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ เพราะใช้งาน AMD มาตั้งแต่ PS4 จนถึงปัจจุบัน (ดีล PS4 ยังช่วยให้ AMD มีรายได้เลี้ยงตัวอยู่รอดได้ในช่วงนั้นด้วย) แต่ประเด็นที่น่าสนใจคือ การเลือกของโซนี่คราวนี้มีอินเทล เข้ามาเสนอตัวแข่งกับ AMD ด้วย แต่แพ้ไปในที่สุด
AMD เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ Variable Graphics Memory (VGM) ให้ชิปโน้ตบุ๊ก Ryzen 300 AI ที่เปิดตัวเมื่อเดือนมิถุนายน และตอนนี้เริ่มมีโน้ตบุ๊กที่ใช้ชิปตัวนี้วางขายแล้ว
ชิปโน้ตบุ๊ก Ryzen 300 AI มีจีพียูออนบอร์ดมาให้ในตัวคือ Radeon 890M ปกติแล้วจะได้แรมใช้งาน 512MB
ฟีเจอร์ VGM เปิดให้ผู้ใช้กำหนดแบ่งแรม (ของทั้งระบบ) ให้จีพียูเพิ่มอีก เช่น โน้ตบุ๊กมีแรม 32GB เราสามารถกำหนดให้ 16GB เป็นของซีพียู และ 8GB เป็นของจีพียูได้ เท่ากับว่าจีพียูได้แรมมาเพิ่มอีก 7.5GB ช่วยให้เล่นเกมได้ดีขึ้น ดันเฟรมเรตเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะกับเกมที่ต้องการแรมมากๆ
Mark Cerny หัวหน้าฝ่ายสถาปัตยกรรมระบบ PlayStation ให้สัมภาษณ์กับ CNET ว่าฟีเจอร์ Advanced Ray Tracing ของ PS5 Pro เป็นสิ่งที่ยังไม่มีในจีพียูรุ่นใดของ AMD ในปัจจุบัน และโซนี่เป็นคนผลักดันให้ AMD สร้างฟีเจอร์นี้ขึ้นมาเอง
เว็บไซต์ฮาร์ดแวร์ Wccftech ให้ข้อมูลว่าจีพียูของ PS5 Pro อิงอยู่บนสถาปัตยกรรม RDNA 3 ในปัจจุบัน แต่ฟีเจอร์ Ray Tracing หยิบมาจากจีพียู RDNA 4 ที่จะเปิดตัวในปีหน้า เช่น Double Ray Tracing Intersect Engine, RT Instance Node Transform, 64B RT Node, Ray Tracing Tri-Pair Optimization เป็นต้น
Jack Huynh รองประธานอาวุโสฝ่าย Computing and Graphics Business Group ของ AMD ให้สัมภาษณ์สื่อไอทีที่งาน IFA 2024 ในเยอรมนี เปิดเผยแผนการรวมสถาปัตยกรรมจีพียู RDNA และ CDNA เข้าด้วยกันเป็น UDNA
หลังจากหมดยุค Graphic Core Next (GCN) AMD ใช้แนวทางแยกสถาปัตยกรรม RDNA สำหรับงานเกมมิ่ง เริ่มใช้ในจีพียูตระกูล Radeon RX 5000 ตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา ส่วน CDNA ใช้สำหรับจีพียูฝั่งศูนย์ข้อมูลตระกูล Instinct เริ่มปี 2020
ถึงแม้ RDNA และ CDNA มาจากรากเหง้าเดียวกัน แต่ก็ไม่เหมือนกันซะทีเดียว ทำให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ต้องทำงานเพิ่มขึ้น ในขณะที่คู่แข่ง NVIDIA เลือกใช้สถาปัตยกรรมเดียวกันกับจีพียูเกมมิ่ง-ศูนย์ข้อมูล จึงเป็นข้อเสียเปรียบของ AMD ที่ส่วนแบ่งตลาดตามหลังอยู่แล้ว
ไมโครซอฟท์ประกาศปล่อยอัพเดตฟีเจอร์ Copilot+ PC ให้พีซีกลุ่มที่ใช้ซีพียู x86 คือ AMD Ryzen AI 300 และ Intel Core Ultra 200V เริ่มในเดือนพฤศจิกายน 2024
ที่ผ่านมา โน้ตบุ๊กนับเป็น Copilot+ PC และได้ฟีเจอร์พลัง AI ยังเป็นเอ็กซ์คลูซีฟเฉพาะ Qualcomm Snapdragon X เท่านั้น ฟีเจอร์กลุ่มนี้ได้แก่ Live Captions ของวิดีโอ, Windows Studio Effects เบลอพื้นหลังตอนวิดีโอคอลล์, Cocreate ใน Paint, Windows Recall ย้อนความทรงจำ
AMD เผยผลเบนช์มาร์ค MLPerf ของจีพียู Instinct MI300X เป็นครั้งแรก ประสิทธิภาพใกล้เคียงกับ NVIDIA H100 รุ่นยอดนิยม
จากข่าวก่อนหน้านี้ว่า AMD ออกแพตช์ให้ Windows 11 ทำงานกับซีพียู Ryzen ดีขึ้น โดยแพตช์มีเฉพาะ Windows 11 24H2 ที่ยังมีสถานะ Insider เท่านั้น
ล่าสุด AMD ประกาศแล้วว่าผู้ใช้ Windows 11 23H2 รุ่นเสถียรในปัจจุบัน จะได้แพตช์ตัวนี้ด้วย (เป็นการ backport ย้อนกลับให้โดยไมโครซอฟท์) โดยผู้ใช้ต้องเลือกติดตั้งแพตช์เพิ่มกันเองจากเซคชั่น Optional Updates รหัสแพตช์ KB5041587 นับเป็นแพตช์รอบเดือนสิงหาคม 2024
แพตช์ตัวนี้จะช่วยทำเรื่อง branch prediction ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น มีผลกับซีพียูแกน Zen 3, Zen 4, Zen 5 โดยจะเห็นผลชัดที่สุดในกลุ่ม Zen 5
AMD เริ่มวางขายซีพียู Ryzen 9000 ช่วงต้นเดือนสิงหาคมนี้ โดยโฆษณาว่าใช้แกน Zen 5 ที่มีจำนวนคำสั่งต่อรอบ (IPC) สูงกว่า Zen 4 ถึง 16% อย่างไรก็ตาม ผลการรีวิวของเว็บไซต์ฮาร์ดแวร์ต่างๆ ออกมาในทางเดียวกันว่า ประสิทธิภาพของ Ryzen 9000 ไม่ได้เพิ่มจาก Ryzen 7000 มากเท่าที่โฆษณาไว้
AMD ออกมาชี้แจงผ่านบล็อกของบริษัทใน 2 ประเด็น
AMD ประกาศข่าวซื้อกิจการ ZT Systems บริษัทผู้ออกแบบระบบเซิร์ฟเวอร์ให้กับผู้ให้บริการคลาวด์ขนาดใหญ่ ในราคา 4.9 พันล้านดอลลาร์
ชื่อของบริษัท ZT Systems อาจไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากนัก แต่บริษัทก่อตั้งมานาน 29 ปีแล้ว (ก่อตั้งปี 1994 โดยเริ่มจากธุรกิจพีซี ภายหลังผันตัวมาทำเซิร์ฟเวอร์ในปี 2004) ปัจจุบันธุรกิจทั้งหมดของบริษัทเป็น B2B คือรับวางระบบเซิร์ฟเวอร์ให้กับคลาวด์และบริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ โดย ZT Systems สามารถ "ผลิต" เครื่องเซิร์ฟเวอร์ได้เอง มีโรงงานของตัวเองในหลายประเทศ
มีข้อมูลเพิ่มเติมจากบริษัทวิจัยตลาด Mercury Research หลังจากพบว่า AMD มีรายได้ในไตรมาสที่ผ่านมาเกือบครึ่งมาจากศูนย์ข้อมูล (Data Center) ซึ่งการเติบโตนี้ก็ทำให้ AMD มีส่วนแบ่งตลาดของซีพียูสำหรับศูนย์ข้อมูลเพิ่มขึ้นเช่นกัน
ส่วนแบ่งตลาดซีพียูศูนย์ข้อมูลในไตรมาสที่ผ่านมา AMD มีส่วนแบ่งเพิ่มเป็น 24.1% ขณะที่อินเทลลดลงเป็น 75.9% ถึงแม้ตัวเลขยังห่างกันมาก แต่เป็นแนวโน้มที่ดีของ AMD เมื่อเทียบกับปีก่อนที่ส่วนแบ่งน้อยกว่า 20% ตัวเลขนี้ยังเป็นส่วนแบ่งสูงสุดของ AMD ในรอบ 10 ปี
นอกจากนี้ในตลาดแล็ปท็อป (Mobile) AMD ก็มีส่วนแบ่งที่เพิ่มขึ้นเป็น 20.3% ในด้านจำนวนที่ส่งมอบ แต่หากเทียบที่รายได้จะเป็น 17.7% เนื่องจาก AMD มียอดขายซีพียูกลุ่มที่ราคาสูงน้อยกว่าอินเทล
ทีมนักวิจัยความปลอดภัยจากบริษัท IOActive เปิดเผยช่องโหว่ระดับร้ายแรง (Severity: High) ของซีพียู AMD ซึ่งย้อนรุ่นไปได้ถึงซีพียูรุ่นปี 2006 หรือเป็นระยะเวลาเกือบ 20 ปี (เพราะมีอยู่มานานแล้วแต่เพิ่งถูกค้นพบ)
AMD ประกาศวางขายซีพียูเดสก์ท็อป Ryzen 9000 ชุดแรกในวันพรุ่งนี้ 8 สิงหาคม หลังจากเลื่อนมาเล็กน้อยเพราะปัญหาคุณภาพสินค้าล็อตแรกๆ พร้อมประกาศราคาซีพียูซีรีส์ Ryzen 9000 ทั้งหมด 4 รุ่นย่อย ดังนี้
เว็บไซต์ The Verge ตั้งข้อสังเกตว่า ในผลประกอบการไตรมาส 2/2024 ของ AMD มีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจศูนย์ข้อมูล (ซีพียู Epyc และจีพียู Instinct) เติบโตขึ้นมากถึง 115% ทำให้ตอนนี้รายได้เกือบครึ่ง (48.5%) ของ AMD มาจากศูนย์ข้อมูลแล้ว
AMD แบ่งรายได้ออกเป็น 4 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ ศูนย์ข้อมูล, ไคลเอนต์ (Ryzen/Threadripper), เกมมิ่ง (นับรวมจีพียูเกมมิ่ง Radeon และชิปคอนโซล) และชิปฝังตัว โดยไตรมาสที่ผ่านมา ธุรกิจศูนย์ข้อมูลและไคลเอนต์เติบโต ในขณะที่ธุรกิจเกมมิ่งและฝังตัวถดถอยลง
AMD รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 2 ของปี 2024 มีรายได้รวม 5,835 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 9% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 265 ล้านดอลลาร์ ตามบัญชี GAAP
กลุ่มธุรกิจศูนย์ข้อมูล (Data Center) มีการเติบโตสูง รายได้ทำสถิติใหม่ที่ 2,834 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 115% เป็นผลจากคำสั่งซื้อจีพียูตระกูล Instinct และซีพียู EPYC 4th Gen ที่มากขึ้น, กลุ่มไคลเอนต์ เพิ่มขึ้น 49% เป็น 1,492 ล้านดอลลาร์, กลุ่มเกมมิ่ง ลดลง 59% เป็น 648 ล้านดอลลาร์ และกลุ่ม Embedded รายได้ 861 ล้านดอลลาร์ ลดลง 41%
AMD มีเทคนิคการสร้างเฟรมเพื่อเพิ่มเฟรมเรตชื่อ AMD Fluid Motion Frames (AFMF) (เป็นคนละอย่างกับ FSR ที่มีเรื่องอัพสเกลความละเอียดภาพด้วย โดย AFMF เพิ่มเฟรมอย่างเดียวไม่ขยายภาพ แต่ก็เกี่ยวเนื่องกัน) ล่าสุดออก AFMF 2 ที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นแล้ว
ความสามารถที่เพิ่มเข้ามาใน AFMF 2 คือลด latency ที่เกิดจากการสร้างเฟรมลงได้เฉลี่ย 28% (ทดสอบกับ Cyberpunk 2077 ความละเอียด 4K) และสามารถใช้ร่วมกับเทคนิค Anti-Lag 2 ของจีพียู Radeon ได้ด้วย
หลังจากเปิดตัวโน้ตบุ๊กซีพียู Ryzen AI 300 ชุดใหญ่ไปเมื่อเดือนก่อนวันนี้ ASUS ประกาศวางขายในไทยแล้วมีทั้ง ProArt, Zenbook, VivoBook, TUF, ROG มีราคา และรายละเอียดดังนี้
AMD ประกาศเลื่อนวันวางขายซีพียูเดสก์ท็อป Ryzen 9000 แกน Zen 5 ที่เดิมประกาศขาย 31 กรกฎาคม ออกไปเป็นเดือนสิงหาคม โดยระบุว่าพบปัญหาคุณภาพในสินค้าล็อตแรกๆ (we found the initial production units that were shipped to our channel partners did not meet our full quality expectations.) แต่ไม่บอกรายละเอียดว่าคืออะไร
ตามข่าวบอกว่า AMD เรียกคืนซีพียู Ryzen 9000 ที่ส่งมอบตามช่องทางค้าปลีกและผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ OEM ไปแล้ว และจะเปลี่ยนเป็นสินค้าล็อตใหม่ให้ ทำให้วันวางขายต้องเลื่อนออกไปเล็กน้อย
AMD ประกาศว่า Victor Peng ประธานบริษัท AMD จะเกษียณจากตำแหน่ง มีผลในวันที่ 30 สิงหาคม 2024 โดยหลังจากนั้นเขาจะเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้บริหาร รวมทั้งสนับสนุนการส่งมอบงานจนถึงวันเกษียณจากตำแหน่ง
Victor เคยทำงานเป็นวิศวกรที่ AMD แล้วลาออกไปอยู่ Xilinx บริษัทด้าน FPGA เป็นเวลา 14 ปี ก่อนกลับมาร่วมงานกับ AMD ในปี 2022 ผ่านการซื้อกิจการ Xilinx เมื่อปี 2022 ซึ่งผลจากดีลดังกล่าวทำให้ AMD มีส่วนแบ่งตลาดที่เติบโตในกลุ่ม FPGA
Arm เปิดตัวเทคนิคการอัพสเกลภาพของตัวเองชื่อว่า Accuracy Super Resolution ตัวย่อ Arm ASR โดยพัฒนาต่อมาจาก AMD FSR 2 ที่เปิดเป็นโอเพนซอร์สอยู่แล้ว
Arm บอกว่าเทคนิคอัพสเกลภาพแบ่งได้ 2 วิธีใหญ่ๆ คือ spatial ที่เรียบง่ายกว่า เพราะใช้ภาพจากเฟรมเดียวกันมาคำนวณการอัพสเกล ประหยัดพลังการคำนวณมากกว่า แต่มีข้อเสียคือภาพที่ได้อาจเบลอ แนวทางนี้ใช้ใน FSR 1 ส่วนอีกวิธีคือ temporal ที่ซับซ้อนกว่า ใช้ภาพจากหลายเฟรมมาช่วยคำนวณ เปลืองพลังประมวลผลมากกว่า แต่ได้คุณภาพผลลัพธ์ดีกว่า และหากใช้เทคนิคนี้ร่วมกับข้อมูลจากเอนจินเกม จะช่วยให้ผลลัพธ์ดีขึ้น แนวทางนี้ใช้กับ FSR 2