Acer ไทยเปิดตัวโน้ตบุ๊ก Acer Swift Edge หน้าจอ 4K OLED ขนาด 16 นิ้ว ความสว่างสูงสุด 400 นิต ตัวเครื่องทำด้วยโลหะผสมแมกนีเซียมอะลูมิเนียม (Mg-Al Alloy) น้ำหนัก 1.17 กิโลกรัม กล้อง Full HD
Acer Swift Edge ใช้โปรเซสเซอร์ AMD Ryzen 6000 U-Series ที่ใช้กระบวนการผลิตขนาด 6 nm จีพียู RDNA2 แรม 16GB ความจุ 1TB มีพอร์ต HDMI 2.1, USB-A และ USB-C Gen 2 รองรับการเชื่อมต่อ Wi-Fi 6E แบตใช้งานได้สูงสุด 10.5 ชั่วโมงและรองรับระบบชาร์จเร็ว โน้ตบุ๊กมีเทคโนโลยี Microsoft Pluton ที่เป็นโปรเซสเซอร์ด้านความปลอดภัยที่พัฒนาโดย Microsoft
AMD รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 3 ปี 2022 รายได้รวมเพิ่มขึ้น 29% จากช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 5,565 ล้านดอลลาร์ เป็นสถิติสูงสุดของไตรมาสที่ 3 และมีกำไรสุทธิตามบัญชี GAAP 66 ล้านดอลลาร์ เนื่องจากมีการตัดจำหน่ายสินทรัพย์ของ Xilinx
ก่อนหน้านี้ AMD ให้ข้อมูลเบื้องต้นว่าธุรกิจซีพียูของพีซีจะมีรายได้น้อยกว่าที่บริษัทประเมินไว้ โดยกลุ่มธุรกิจ Client ที่เน้นพีซี มีรายได้ 1,022 ล้านดอลลาร์ ลดลง 40% โดย AMD บอกว่าเพราะความต้องการพีซีในตลาดที่ลดลง ส่วนกลุ่ม Data Center รายได้ 1,609 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 45% จากความต้องการ EPYC ที่มากขึ้น กลุ่ม Gaming มีรายได้ 1,631 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 14% และกลุ่ม Embedded รายได้ 1,303 ล้านดอลลาร์
AMD รายงานผลประกอบการเบื้องต้นของไตรมาสที่ 3 ปี 2022 เนื่องจากมีตัวเลขออกมาน้อยกว่าที่บริษัทเคยประเมินไว้ก่อนหน้านี้พอสมควร โดยคาดมีรายได้ราว 5.6 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 29% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน ซึ่งตัวเลขประเมินก่อนหน้านี้ AMD คาดมีรายได้ประมาณ 6.7 พันล้านดอลลาร์
สาเหตุหลักที่รายได้ลดลงไปจากประเมิน AMD บอกว่ามาจากกลุ่มธุรกิจ Client ที่เน้นลูกค้าทั่วไป เป็นผลจากความต้องการซีพียูสำหรับพีซีที่ลดลงมากกว่าที่บริษัทคาดการณ์ไว้ ตลอดจนปัญหาซัพพลายเชนในธุรกิจพีซีด้วย ส่วนธุรกิจอื่นทั้ง Data Center, Gaming และ Embedded ยังเติบโตเป็นไปตามที่บริษัทประเมินไว้
สื่อฮาร์ดแวร์ต่างประเทศหลายรายเริ่มเผยแพร่ผลรีวิวซีพียู AMD Ryzen 7000 ตัวใหม่ล่าสุด ที่ใช้แกน Zen 4 โดยซีพียูชุดแรกที่ได้รีวิวกันคือ ตัวท็อปสุด Ryzen 9 7950X (16 คอร์ 32 เธร็ด) กับ Ryzen 5 7600X (6 คอร์ 12 เธร็ด) ตัวล่างสุดของชุดแรกที่เปิดตัว
ผลรีวิวของ Ryzen 9 7950X ออกมาดีตามคาด โดยมีคะแนนเบนช์มาร์คนำหน้าคู่แข่งระดับเดียวกันคือ Core i9-12900K ในแทบทุกการทดสอบ กลายเป็นแชมป์ใหม่ของซีพียูเดสก์ท็อปได้ไม่ยากเย็น (ต้องรอ Core i9-13900K ที่จะเปิดตัวในเร็วๆ นี้มาเทียบ)
ประเด็นเรื่องการ์ดจอ GeForce RTX ซีรีส์ 40 ราคาแพงขึ้นจากเดิม ยังมีการถกเถียงกันอยู่เรื่อยๆ โดย Jensen Huang ซีอีโอของ NVIDIA ให้เหตุผลว่าต้นทุนของแผ่นเวเฟอร์นั้นแพงขึ้นกว่าเดิม
ช่องยูทูบสายฮาร์ดแวร์ Moore's Law is Dead ให้ข้อมูลที่ยังไม่ยืนยันว่า จีพียูคู่แข่ง AMD RDNA 3 ที่จะเปิดตัว 3 พฤศจิกายน จะได้เปรียบกว่าในเรื่องราคา เพราะต้นทุนค่าผลิตถูกกว่า
AMD ประกาศลดราคาจีพียู Radeon RX ซีรีส์ 6000 ที่เป็นสถาปัตยกรรม RDNA 2 เพื่อเตรียมรับการเปิดตัว Radeon RX 7000 สถาปัตยกรรม RDNA 3 วันที่ 3 พฤศจิกายน
ราคาที่ปรับลดลงแตกต่างกันในแต่ละรุ่น โดยรุ่นบนสุด Radeon RX 6950 XT เดิม 1099 ดอลลาร์ ลดเหลือ 949 ดอลลาร์ (ลด 150 ดอลลาร์) ส่วนรุ่นล่างสุด Radeon RX 6400 เดิม 159 ดอลลาร์ ลดเหลือ 149 ดอลลาร์ (ลดแค่ 10 ดอลลาร์) ทั้งหมดนี้เป็นราคา MSRP ที่ AMD แนะนำ ราคาขายจริงๆ ขึ้นกับผู้ผลิตแต่ละรายอีกทีด้วย
AMD เปิดตัวซีพียู Ryzen และ Athlon 7020 Series for Mobile ถึงแม้รหัสเป็น 7 แต่เป็นแกนซีพียูตัวเก่า Zen 2 จับตลาดโน้ตบุ๊กราคาถูก (ใช้ระบบเลขรุ่นแบบใหม่ เลขหลักที่ 3 จึงบอกรุ่นของสถาปัตยกรรม Zen)
ซีพียูในชุดนี้ใช้กระบวนการผลิต 6nm TSMC, มีทั้งหมด 3 รุ่นย่อย ทุกรุ่นมีจีพียู Radeon 610M แกน RDNA 2, รองรับชิปความปลอดภัย Pluton ของไมโครซอฟท์ และเป็นซีพียูรหัส U ห้อยท้าย กินไฟ 15 วัตต์เท่ากันหมด
AMD ประกาศวันแถลงข่าวจีพียู Radeon รุ่นใหม่ ใช้สถาปัตยกรรม RDNA 3 ในวันที่ 3 พฤศจิกายน
ก่อนหน้านี้ AMD เคยประกาศข้อมูลเบื้องต้นของ RDNA 3 หรือ Navi 3x แล้วว่า มีประสิทธิภาพต่อวัตต์ดีขึ้น 50% จาก RDNA 2 ในปัจจุบัน, และใช้กระบวนการผลิต 5nm
คาดว่า AMD จะใช้ชื่อ Radeon RX 7000 ทำตลาด เพราะนับต่อจาก Radeon RX ซีรีส์ 6000 ในปัจจุบัน อยู่แล้ว แถมเลขจะมาเท่ากับซีพียู Ryzen 7000 ที่เพิ่งเปิดตัวด้วย
AMD ประกาศระบบเลขรุ่นของซีพียู Ryzen Mobile แบบใหม่ที่เริ่มใช้ในปี 2023 เป็นต้นไป ตัวแบรนด์ Ryzen 3,5,7,9 ยังเหมือนเดิม และตัวเลขรุ่นยังเป็นเลข 4 หลัก + ตัวอักษรห้อยท้ายเหมือนเดิม (เช่น 7640U ตามภาพ) แต่ตัวเลขแต่ละหลักมีความหมายชัดเจนและเป็นระบบมากขึ้น จุดเปลี่ยนที่สำคัญที่สุดคือเลขหลักแรกที่เป็นซีรีส์ และก่อนหน้านี้ไม่มีระบบมากนัก เปลี่ยนมาเป็นเลขอิงปีที่ออกขายแทน
NVIDIA ยื่นรายงานต่อ ก.ล.ต. สหรัฐ ว่าได้รับคำสั่งจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐ กำหนดเงื่อนไขห้ามส่งออกจีพียูเซิร์ฟเวอร์ระดับสูงคือ NVIDIA A100 และจีพียูรุ่นใหม่ H100 ไปยังประเทศจีน (รวมฮ่องกง) และรัสเซีย จนกว่าจะได้รับใบอนุญาตจากรัฐบาลก่อน
คำสั่งของรัฐบาลสหรัฐยังกำหนดว่าจีพียูของ NVIDIA ในอนาคตที่มีสมรรถนะเทียบเท่า A100 ขึ้นไป จะต้องขอใบอนุญาตเช่นเดียวกัน
เหตุผลของรัฐบาลสหรัฐคือป้องกันการนำชิปเหล่านี้ไปใช้ในการทหาร หรือถูกส่งต่อเพื่อใช้ในการทหารของจีนและรัสเซีย
AMD เปิดตัวซีพียู Ryzen 7000 Series ที่ใช้แกน Zen 4 และซ็อคเก็ตใหม่ AM5 ตามกำหนด ซีพียูซีรีส์นี้ใช้กระบวนการผลิต 5nm TSMC, รองรับ PCIe Gen 5, DDR5 และถือเป็นการเปลี่ยนเมนบอร์ดคร้้งใหญ่ของ AMD ในรอบหลายปี
จุดเปลี่ยนสำคัญคือตัวสถาปัตยกรรม Zen 4 ที่พัฒนาขึ้นจากเดิม จำนวนคำสั่งต่อรอบ (IPC) เพิ่มขึ้น 13% จาก Zen 3, ตัวเลขของ AMD เองบอกว่าประสิทธิภาพคอร์เดี่ยวเพิ่มขึ้นสูงสุด 29%, ประสิทธิภาพด้านเกมมิ่งเพิ่มขึ้นสูงสุด 15%, ประสิทธิภาพต่อวัตต์เพิ่มขึ้นสูงสุด 27% (เทียบระหว่าง 7950X vs 5950X)
AMD รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2022 มีรายได้รวมทำสถิติสูงสุดต่ออีกไตรมาสที่ 6,550 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 70% เทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน มีกำไรสุทธิตามบัญชี GAAP 447 ล้านดอลลาร์
Dr. Lisa Su ซีอีโอ AMD กล่าวว่า นี่เป็นเติบโตต่อเนื่องติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 8 จากผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง และพอร์ตโฟลิโอสินค้าที่ครอบคุลมมากขึ้น โดยเฉพาะยอดขายที่สูงจากสินค้ากลุ่มศูนย์ข้อมูลและสินค้า Embedded เมื่อมองไปครึ่งหลังของปีนี้ จะมีทั้งสินค้าใหม่ตระกูล 5 นาโนเมตร และผลิตภัณฑ์อื่นที่หลากหลายมากขึ้น
Sam Naffziger ผู้บริหารของ AMD ไปให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ VentureBeat เรื่องเป้าหมายการปรับปรุงประสิทธิภาพต่อพลังงานหรือ performance per watt ให้ดีขึ้น 30 เท่าภายในปี 2025 (เดิมทีคือ 25 เท่าในปี 2020 ที่ทำสำเร็จแล้ว)
สิ่งที่ Naffziger ให้สัมภาษณ์เป็นภาพรวมแนวทางของบริษัทเรื่องประสิทธิภาพของชิปต่างๆ แต่ที่เป็นประเด็นน่าสนใจขึ้นมาคือ ในสไลด์แผ่นหนึ่งของ Naffziger เป็นการคาดการณ์อัตราการใช้พลังงานของจีพียูที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างรวดเร็วในช่วงหลัง โดยวัดค่า Thermal Design Power (TDP) จะเพิ่มเป็น 600W ในช่วงนี้ และจะแตะ 700W ในเร็ววัน (สุดปลายแกน X คือปี 2025)
AMD ประกาศแผนการออกซีพียูเซิร์ฟเวอร์ Epyc รุ่นที่สี่ เริ่มไตรมาส 4/2022 และต่อเนื่องตลอดปี 2023 จากนั้นจะเป็น Epyc รุ่นที่ห้า "Turin" ที่จะตามมาในปี 2024
4th Gen Epyc ประกอบด้วยซีพียูทั้งหมด 4 รุ่นย่อย ได้แก่
นอกจากซีพียูแกน Zen 5 AMD ยังเปิดตัวสถาปัตยกรรมจีพียูใหม่ ทั้งฝั่งคอนซูเมอร์คือ RDNA 3/4 และฝั่งลูกค้าองค์กรคือ CDNA 3 มาพร้อมกัน
ข้อมูลของจีพียูสถาปัตยกรรม RDNA 3 หรือ Navi 3x ยังมีไม่เยอะนัก บอกแค่ว่าตั้งเป้าให้ประสิทธิภาพต่อวัตต์ดีขึ้น 50% จาก RDNA 2, ใช้กระบวนการผลิต 5nm ไม่ระบุค่าย, ปรับสถาปัตยกรรมย่อยของตัว compute unit (CU) ใหม่ แต่ไม่บอกว่าอย่างไร และใช้ Infinity Cache รุ่นใหม่
Navi 3x ยังไม่ระบุวันเปิดตัวแน่ชัด แต่น่าจะเป็นช่วงปลายปี 2022 จากนั้นเราจะเห็น RDNA 4 หรือ Navi 4x ตามมาราวปี 2023
AMD ประกาศแผนการของสถาปัตยกรรมใหม่ๆ ในงานพบปะนักวิเคราะห์การเงิน ประเด็นสำคัญคือการเปิดตัวสถาปัตยกรรมซีพียู Zen 5 ที่จะมาในปี 2024
AMD บอกว่าออกแบบสถาปัตยกรรม Zen 5 ใหม่ทั้งหมด ปรับตัวไปป์ไลน์ของซีพียูใหม่ ปรับแต่งให้เหมาะกับงานประเภท AI และ machine learning มากขึ้น (ยังไม่บอกว่าทำอย่างไร) การผลิตจะใช้ทั้ง 4nm และ 3nm โดยแยกเป็น 3 สถาปัตยกรรมย่อยคือ Zen 5, Zen 5 พร้อม 3D V-Cache และ Zen 5c รุ่นประหยัดพลังงาน (เหมือน Zen 4c)
สินค้าที่ใช้แกน Zen 5 จะมีทั้งซีพียูเดสก์ท็อป โค้ดเนม Granite Ridge และซีพียูโน้ตบุ๊ก โค้ดเนม Strix Point
เว็บไซต์ Phoronix.com ได้รายงานว่า ใน Patch อัพเดทไดรเวอร์ตัวล่าสุดสำหรับ Linux 5.19 ของการ์ดจอ AMD ได้มีการพบถึง Device ID ของอุปกรณ์ใหม่ในตระกูล “Beige Goby” ซึ่งเป็นตระกูลของการ์ดจอระดับเริ่มต้นของ AMD
Phoronix.com ยังระบุอีกว่า เมื่อนำ Device ID ที่ปรากฏขึ้นมาใหม่มาตรวจสอบดู ก็พบว่าเป็น Device ID ที่ไม่เคยเป็นของอุปกรณ์ชิ้นไหนมาก่อน ที่ผ่านมา Device Id ของ การ์ดจอตระกูลนี้คือ 0x7421, 0x7422, 0x7423, และ 0x743F แต่ที่เพิ่มขึ้นมาใหม่คือ 0x7424 นั่นจึงเป็นการยืนยันว่า Patch ที่อัพเดทนั้นทำเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการ์ดจอตัวใหม่นั่นเอง
อีกข่าวเล็กๆ ของ AMD นอกจากซีพียูใหม่ Ryzen 7000 และซ็อคเก็ต AM5 ยังมีชิปใหม่สำหรับโน้ตบุ๊กราคาถูก ที่รียูสแกน Zen 2 มาจับตลาดล่างด้วย
ตอนนี้เรายังไม่มีชื่อชิปอย่างเป็นทางการ แต่ AMD ใช้โค้ดเนมว่า Mendocino มีซีพียู 4 คอร์ 8 เธร็ด แกน Zen 2, ใช้กระบวนการผลิต 6nm TSMC, จีพียูค่อนข้างใหม่หน่อยคือ RDNA 2 เน้นจับตลาดพีซีราคา 399-699 ดอลลาร์ ทั้งที่เป็นวินโดวส์และ Chromebook
พีซีรุ่นที่ประกาศใช้ชิปตัวนี้แล้วคือ Lenovo Ideapad 1 โดยจะเปิดตัวสินค้าจริงในไตรมาส 4 ของปีนี้
ในอดีต AMD เคยออกซีพียูราคาถูกที่ใช้แกนตกรุ่นลักษณะเดียวกัน เช่น Ryzen 3000C ที่ใช้แกน Zen 1 ก็เป็นไปได้สูงที่จะใช้ชื่อ Ryzen 4000C หรือ 5000C ทำตลาด
AMD เปิดตัวซ็อคเก็ตใหม่ AM5 อย่างเป็นทางการ ถือเป็นจุดสิ้นสุดของซ็อคเก็ต AM4 ที่ใช้กันมายาวนาน
ซ็อคเก็ต AM5 เป็นแบบ 1718 พิน, รองรับค่า TDP สูงสุด 170W, แรม DD5 แบบดูอัลแชนเนล, สล็อต PCIe 5.0 สูงสุด 24 เลน, รองรับ SuperSpeed USB สูงสุด 14 พอร์ต, HDMI 2.1 และ DisplayPort 2 รวมสูงสุด 4 พอร์ต, Wi-Fi 6E และ Bluetooth LE 5.2
AMD ประกาศข้อมูลเพิ่มเติมของซีพียู Ryzen 7000 ที่หลายคนรอคอย ใช้แกน Zen 4 และการผลิตที่ 5 นาโนเมตร ถือเป็นซีพียูรุ่นแรกที่ใช้การผลิตระดับนี้
ตัวสถาปัตยกรรม Zen 4 มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญคือ เพิ่มจำนวนแคช L2 ต่อคอร์เป็น 1MB (มากกว่าเดิมเท่าตัว), บูสต์คล็อคสูงสุดเพิ่มเป็น 5GHz+, มีประสิทธิภาพเธร็ดเดี่ยวเพิ่มขึ้น 15%
ตัวแกนซีพียูใช้การผลิตระดับ 5nm แล้วนำมาประกบคู่กับ I/O die ที่ใช้การผลิตระดับ 6 nm ซึ่งมีจีพียูใหม่ที่เป็นสถาปัตยกรรม RDNA 2 (ยังไม่ระบุรายละเอียด) รองรับฟีเจอร์ใหม่ๆ อย่าง DDR5 และ PCIe 5.0 ที่ฝั่งอินเทลรองรับไปก่อนแล้วตั้งแต่ต้นปี
AMD เปิดตัวจีพียูใหม่ในซีรีส์ Radeon RX 6000 อีก 3 รุ่นย่อย โดยเป็นรุ่นที่ลงท้ายด้วย 50 ที่เพิ่มคล็อคขึ้นจากรุ่นเดิมที่ลงท้ายด้วย 00, ปรับสเปกแรมขึ้นเล็กน้อย (แบนด์วิดท์แรมจาก 16 Gbps เป็น 18 Gbps) แต่สเปกอย่างอื่นเหมือนเดิมทุกประการ
จีพียูเด่นในรอบนี้คือ Radeon RX 6950 XT ที่กลายเป็นจีพียูเรือธงแทน Radeon RX 6900 XT ของเดิม เพิ่มคล็อคพื้นฐานจาก 2015 MHz เป็น 2100 MHz และคล็อคตอนบูสต์จาก 2250 MHz เป็น 2310 MHz โดยต้องแลกกับอัตราการใช้พลังงาน (นับเป็น Typical Board Power หรือ TBP) จากเดิม 300W เพิ่มเป็น 335W ราคา 1,099 ดอลลาร์
AMD เปิดตัวซีพียู Ryzen 5000 C-Series สำหรับใช้ใน Chromebook โดยใช้แกน Zen 3 เช่นเดียวกับ Ryzen 5000 รุ่นมาตรฐานของโน้ตบุ๊กที่เปิดตัวในเดือนมกราคม 2021 และถือเป็นการอัพเกรดสำคัญจาก Ryzen 3000 C-Series ที่เปิดตัวเดือนกันยายน 2020 โดยยังเป็นแกน Zen 1 (ปัจจุบัน Ryzen รุ่นล่าสุดสำหรับโน้ตบุ๊กคือ Ryzen 6000 ใช้แกน Zen 3+ เปิดตัวมกราคม 2022)
Ryzen 5000 C-Series มีด้วยกัน 4 รุ่นย่อยได้แก่
เมื่อต้นปี AMD ประกาศข่าว Ryzen 7000 ใช้แกน Zen 4 ซ็อคเก็ตใหม่ AM5 ออกช่วงครึ่งหลังของปี 2022 โดยมีข้อมูลคร่าวๆ แค่ว่าจะรองรับแรม DDR5 และสล็อตแบบ PCIe 5.0
ล่าสุดมีเอกสาร Roadmap ของ AMD ให้ข้อมูลเพิ่มเติมของ Ryzen 7000 ที่แยกออกเป็น 3 รุ่นย่อย ได้แก่
ความน่าสนใจคือ รอบนี้ AMD แยกผลิตภัณฑ์ซีพียูของโน้ตบุ๊กเกมมิ่งเป็น 2 สายชัดเจน ต่างจากในปัจจุบันที่ใช้ "Rembrandt" ตัวเดียวกับทั้งสองตลาด แสดงให้เห็นความจริงจังของ AMD ในการยึดตลาดซีพียูเกมมิ่งโน้ตบุ๊กมากขึ้นด้วย
AMD รายงานผลประกอบการไตรมาสที่ 1 ปี 2022 มีรายได้รวม 5,887 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 71% เทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน เป็นสถิติสูงสุดต่อเนื่องอีกไตรมาส มีกำไรสุทธิตามบัญชี GAAP 786 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ตัวเลขการเงินในไตรมาสส่วนหนึ่งรวม Xilinx ที่ AMD ควบรวมกิจการเสร็จสิ้นในเดือนกุมภาพันธ์ด้วย หากไม่รวมรายการดังกล่าว รายได้จะอยู่ราว 5.3 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งยังเป็นสถิติสูงสุดอยู่ดี
สื่อฮาร์ดแวร์ต่างประเทศเริ่มเผยผลการทดสอบ Ryzen 7 5800X3D ซีพียูรุ่นใหม่ล่าสุดของ AMD ที่เป็นการนำ Ryzen 7 5800X มาใส่แคช L3 แบบใหม่ที่เรียกว่า 3D V-Cache แถมเพิ่มขนาดแคชจาก 32MB เป็น 96MB ช่วยให้ประสิทธิภาพเกมมิ่งดีขึ้น (ตามที่ AMD อ้างคือเฉลี่ย 15%) แลกกับราคาที่เพิ่มมาอีก 100 ดอลลาร์จากรุ่นปกติ
ผลเป็นไปตามที่ AMD โฆษณาคือ Ryzen 7 5800X3D สามารถชิงตำแหน่งซีพียูเกมมิ่งที่เร็วที่สุดมาจาก Intel Core i9-12900KS ได้ โดยที่มีราคาถูกกว่า (449 vs 739 ดอลลาร์) ค่า TDP น้อยกว่า (105W vs 150W) และยังใช้ซ็อคเก็ต AM4 ตัวเดิมที่ใช้มาตั้งแต่ Ryzen 1
ผลการทดสอบของ Tom's Hardware ในเกม 1080p พบว่าว่า 5800X3D เร็วกว่า 1200KS ราว 7%