SoftBank กลุ่มทุนยักษ์ใหญ่ที่ลงทุนสตาร์ตอัพจำนวนมากผ่านกองทุน Vision Fund เริ่มเข้มงวดกับการลงทุน และถอยออกจากสตาร์ตอัพที่ไม่สร้างผลกำไร ทำให้มีสตาร์ตอัพกลุ่มหนึ่งเริ่มประสบปัญหาทางการเงิน หนึ่งในนั้นคือ Light บริษัทสตาร์ตอัพด้านกล้องอัจฉริยะ ที่อาจถึงขั้นต้องยุติกิจการ
Bloomberg รายงานข่าวว่าบอร์ดบริหารของ Zilingo เว็บไซต์แฟชั่นแบบ B2B จากสิงคโปร์ ซึ่งมีธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงไทยด้วย สั่งพักงาน Ankiti Bose ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท หลังพบความผิดปกติในบัญชีและการเงินของบริษัท
ตามข่าวบอกว่า Zilingo กำลังอยู่ในกระบวนการระดมทุนรอบใหม่อีกราว 150-200 ล้านดอลลาร์ และระหว่างการตรวจสอบบัญชี (due diligence) ผู้ตรวจสอบก็พบความผิดปกติในงบการเงินของบริษัท ทำให้บอร์ดตัดสินใจพักงาน Bose ไปก่อนชั่วคราว
Zilingo ก่อตั้งในปี 2015 โดยมีบริษัทลงทุนชื่อดังคือ Sequoia Capital India และ Temasek เข้ามาถือหุ้น ตอนนี้ยังไม่มีฝ่ายใดออกมาให้ความเห็นต่อข่าวนี้
ConsenSys สตาร์ทอัพที่เน้นพัฒนาบริการบนบล็อกเชน Ethereum ประกาศรับเงินทุนซีรี่ส์ D รวม 450 ล้านดอลลาร์ ทำให้มูลค่ากิจการสูงกว่า 7 พันล้านดอลลาร์แล้ว โดยผู้ลงทุนหลักในรอบนี้คือ ParaFi Capital ซึ่งเคยลงทุนในซีรี่ส์ C มาแล้ว ส่วนผู้ลงทุนรายอื่นที่คุ้นชื่อ เช่น Temasek, SoftBank Vision Fund 2, Microsoft, Anthos Capital เป็นต้น
บริการของ ConsenSys มีหลายอย่าง แต่ที่สายคริปโตน่าจะคุ้นกันดีคือกระเป๋าเงิน MetaMask ส่วนผลิตภัณฑ์อื่นได้แก่ Infura เครื่องมือสำหรับนักพัฒนา, Quorum แพลตฟอร์มบล็อกเชนโอเพนซอร์ส และ Codefi
ปี 2015 ไมโครซอฟท์ซื้อกิจการ Wunderlist แอพจดรายการ To-Do จากนั้นเปลี่ยนมาทำแอพใหม่ชื่อ Microsoft To Do และเลิกทำ Wunderlist ในปี 2020
อย่างไรก็ตาม Christian Reber ผู้สร้าง Wunderlist ชาวเยอรมนี กลับไม่มีความสุขกับการขายกิจการครั้งนั้น (ไม่เปิดเผยมูลค่า แต่คาดว่า 100-200 ล้านดอลลาร์) เขาเล่าว่าเหตุผลสำคัญที่ขายในตอนนั้นเป็นเพราะภรรยา (ที่เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Wunderlist ด้วย) กำลังตั้งครรภ์ เขาจึงอยากหาหลักประกันที่มั่นคงให้ครอบครัว ชีวิตของผู้ก่อตั้งสตาร์ตอัพย่อมประสบปัญหาเรื่องการเงิน เต็มไปด้วยความเครียดและเบิร์นเอาท์ การขายกิจการน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด
ORZON Ventures กองทุนสตาร์ทอัพของ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ที่ร่วมกับกองทุน 500 TukTuks ประกาศลงทุนระดับซีรีส์ A-B ในสตาร์ตอัพชุดแรก 5 บริษัท (โดยไม่เปิดเผยมูลค่า) ได้แก่
Wag สตาร์ทอัพบริการค้นหาคนพาสุนัขเดินเล่น ซึ่งมีชื่อเรียกให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า Uber for dog-walking ได้ประกาศว่าบริษัทบรรลุข้อตกลง เพื่อนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นแนสแดคด้วยวิธี SPAC ผ่านการควบรวมกิจการกับ CHW Acquisition มูลค่าของดีลเฉพาะการควบรวมนี้อยู่ที่ 350 ล้านดอลลาร์
ประเด็นน่าสนใจของดีลนี้คือ Wag เป็นสตาร์ทอัพที่ SoftBank เคยร่วมลงทุนถึง 300 ล้านดอลลาร์ เมื่อปี 2018 แต่บริษัทดำเนินงานไม่ได้ตามแผน ทำให้ SoftBank ประกาศขายหุ้นทั้งหมดแบบขาดทุนในปลายปี 2019 ซึ่งช่วงนั้น SoftBank ทยอยขายหุ้นสตาร์ทอัพที่ไม่เป็นไปตามเป้า และ Wag ก็เป็นหนึ่งในนั้น
Hurun Report รายงานการจัดอันดับสตาร์ทอัพยูนิคอร์น (มูลค่ากิจการมากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์) โดย ByteDance ขึ้นมาเป็นยูนิคอร์นที่มีมูลค่ากิจการสูงที่สุดในโลก แทนที่ Ant Group ซึ่งตกลงไปอยู่อันดับที่ 2
มูลค่ากิจการ ByteDance ซึ่งเป็นเจ้าของแพลตฟอร์ม TikTok อยู่ที่ 3.5 แสนล้านดอลลาร์ ส่วน Ant Group ฟินเทคในเครือ Alibaba มีมูลค่ากิจการ 1.5 แสนล้านดอลลาร์ อันดับ 3-5 ได้แก่ SpaceX (1 แสนล้านดอลลาร์), Stripe (9.5 หมื่นล้านดอลลาร์) และ Klarna (4.6 หมื่นล้านดอลลาร์) ตามลำดับ
TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่มีการเติบโตสูงต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา จำนวนผู้ใช้งาน active ต่อเดือนมีมากกว่า 1 พันล้านบัญชีแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นรองเพียง Facebook เท่านั้น
Hulu ประกาศวันฉายมินิซีรีส์เรื่อง "The Dropout" เล่าเรื่องของ Elizabeth Holmes ผู้ก่อตั้งบริษัท Theranos สตาร์ตอัพด้านสุขภาพที่เติบโตอย่างรวดเร็ว แต่สุดท้ายก็ถูกจับโกหกได้และเป็นคดีในชั้นศาลอยู่ตอนนี้
ซีรีส์เรื่องนี้ได้ Amanda Seyfield มารับบทเป็น Elizabeth Holmes มีกำหนดฉายวันที่ 3 มีนาคม 2022 (สำหรับบ้านเราก็ต้องลุ้นกันว่าจะได้ดูใน Disney+ Hotstar หรือไม่)
เรื่องราวของ Theranos ถูกดัดแปลงเป็นซีรีส์บ้างแล้ว โดย HBO เคยทำสารคดีชื่อ The Inventor เมื่อปี 2018 และหนังสือที่เล่าประวัติ Theranos ชื่อว่า Bad Blood อยู่ระหว่างการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ แสดงโดย Jennifer Lawrence และจะฉายทาง Apple TV+ โดยยังไม่ระบุช่วงเวลา
บีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล (Beacon VC) บริษัทเงินร่วมทุนของธนาคารกสิกรไทย เข้าลงทุนในบริษัท คริปโตมายด์ กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (Cryptomind Group) ซึ่งเป็นบริษัทเจ้าของสื่อด้านคริปโตหลายราย เช่น Bitcoin Addict Thailand, Kim DeFi Daddy, Blockchain Review, Coinman, Sanjay Popli และ Cryptomind Academy รวมถึงเป็นผู้จัดงานสัมมนา Blockchain Thailand Genesis และธุรกิจด้านจัดการเงินทุน-ให้คำปรึกษาในสินทรัพย์ดิจิทัลด้วย
Cryptomind ถือเป็นการลงทุนโดยตรงรายที่ 15 ของ Beacon VC (ไม่นับการลงทุนในกองทุนอื่น) และเป็นการลงทุนด้านสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นบริษัทแรกด้วย
บริษัท Vercel ผู้สร้างเฟรมเวิร์คจาวาสคริปต์ชื่อดัง Next.js ประกาศระดมทุนซีรีส์ D จำนวน 150 ล้านดอลลาร์ ทำให้บริษัทมีมูลค่า 2.5 พันล้านดอลลาร์
ธุรกิจของ Vercel คือเป็นแพลตฟอร์มสำหรับพัฒนาเว็บ front-end ที่รองรับเฟรมเวิร์คหลากหลาย (ไม่ใช่แค่ Next.js แต่รวมถึงตัวอื่นๆ เช่น Vue.js, Ember, Angular) โดยระบบของ Vercel จะรองรับการโฮสต์ไฟล์แบบ serverless นักพัฒนาไม่ต้องดูแลระบบเอง (วัดตามจำนวนครั้งที่เรียกใช้งาน) จัดการเรื่องความปลอดภัยและ CDN ที่กระจายอยู่ทั่วโลก (edge network) เพื่อให้เว็บไซต์ตอบสนองรวดเร็วต่อผู้ใช้ในแต่ละพื้นที่ นักพัฒนาสนใจแค่การพัฒนาเว็บอย่างเดียว ไม่ต้องมีภาระเรื่องการจัดการโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ
Grammarly สตาร์ทอัพผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ ตัวช่วยแนะนำการเขียนภาษาอังกฤษให้ถูกต้องและดีขึ้น ประกาศรับเงินเพิ่มทุนรอบใหม่ 200 ล้านดอลลาร์ โดยมีผู้ลงทุนรายสำคัญคือ Baillie Gifford และกองทุนที่บริหารจัดการโดย BlackRock
ผลจากการเพิ่มทุนครั้งนี้ ทำให้มูลค่ากิจการของ Grammarly เพิ่มขึ้นเป็น 13,000 ล้านดอลลาร์
บริการของ Grammarly รองรับการทำงานผ่านเว็บแอปและบนโปรแกรมอื่น ๆ โดยมีทั้งเวอร์ชันฟรี ที่ตรวจคำสะกด ไวยากรณ์ และคำที่ไม่เหมาะสม ส่วนเวอร์ชันเสียเงินจะเพิ่มคำแนะนำการแก้ไขที่ละเอียดขึ้น รวมถึงตรวจเนื้อหาซ้ำ (Plagiarism) ปัจจุบัน Grammarly มีผู้ใช้งานทั่วโลกมากกว่า 30 ล้านคนต่อวัน
บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTA ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่าบริษัทได้เข้าลงทุนซื้อหุ้น 60% ใน Skootar สตาร์ทอัพให้บริการแพลตฟอร์ม สำหรับรับ-ส่งเอกสาร พัสดุ รวมไปถึงบริหารส่งอาหาร โดยดีลนี้ทำผ่านบริษัทลูก วี เวนเจอร์ส เทคโนโลจีส์ คิดเป็นมูลค่าในการซื้อหุ้น 100 ล้านบาท
TTA บอกว่าการลงทุนใน Skootar นี้ จะช่วยเสริมศักยภาพบริษัทในส่วนช่องทางการขนส่งสินค้าผ่านออนไลน์ รวมทั้งเสริมธุรกิจในเครือให้ครบวงจรมากขึ้น
Notion Labs บริษัทผู้พัฒนาแอพจดโน้ต Notion ระดมทุนเพิ่มอีก 275 ล้านดอลลาร์ ทำให้มูลค่าบริษัทตอนนี้แตะ 1 หมื่นล้านดอลลาร์แล้ว (เพิ่มขึ้นจาก 2 พันล้านดอลลาร์ในการระดมทุนรอบเดือนเมษายนปีนี้)
Notion เป็นแอพจดโน้ต ที่มีฟีเจอร์จัดการเอกสารขั้นสูง เช่น การใช้ตารางแบบสเปรดชีต ปฏิทิน การลิงก์ข้ามโน้ต จนหลายคนนำไปใช้เป็นโปรแกรมจัดการงานภายในทีม (ใช้แทนได้ทั้ง Wiki, Asana/Trello หรือแม้แต่ Office/Google Docs) โปรแกรมยังมีเทมเพลตเป็นจำนวนมากรองรับการจดโน้ตทุกรูปแบบ
Notion ได้ประโยชน์อย่างมากจากช่วง work from home ในปี 2020 ทำให้มีผู้ใช้เพิ่มถึง 4 เท่าตัว (ปัจจุบันมีผู้ใช้งาน 20 ล้านคน) และได้รับความนิยมในหมู่คนรุ่นใหม่ Gen Z ที่ชอบอินเทอร์เฟซแบบ minimalist จนกลายเป็นไวรัลใน TikTok
TechCrunch รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า Jeff Bezos อดีตซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Amazon ได้ตกลงที่จะร่วมลงทุนใน Ula สตาร์ทอัพอีคอมเมิร์ซของอินโดนีเซีย ในการระดมทุนรอบใหม่ที่จะมีเงินลงทุนเพิ่มจากนักลงทุนทั้งหมดราว 80 ล้านดอลลาร์
Ula เป็นสตาร์ทอัพที่ก่อตั้งเมื่อปีที่แล้ว ได้เงินทุนไปแล้วรวม 30 ล้านดอลลาร์ มีกองทุนดังร่วมลงทุนอาทิ B Capital Group, Sequoia Capital India, Lightspeed Venture Partners และ Quona Capital โดยเป็นอีคอมเมิร์ซเน้นการขายส่งสินค้าสำหรับผู้ประกอบรายย่อย (B2B) เพื่อช่วยบริการจัดการซัพพลายเชน สินค้าคงคลัง และเงินทุนหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
AIS Business และ AIS The StartUp จัดงาน NATIONAL DIGITAL CTO FORUM 2022 รวมผู้นำวงการเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพ อัพเดตเทรนด์เทคโนโลยี โอกาสและความท้าทายของวงการสตาร์ทอัพที่กำลังก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่สอง
ย้อนกลับไปราวปี 2011 ถือเป็นช่วงเวลาเริ่มต้นของวงการสตาร์ทอัพในไทย เรามองเห็นการจัดการแข่งขันประชันไอเดีย สร้างโมเดลธุรกิจเพื่อตอบโจทย์ pain point ของลูกค้าและสังคม เรามองเห็นการระดมทุนอย่างคึกคักและไทยก็ถือว่ามีศักยภาพเป็นศูนย์กลางของสตาร์ทอัพในอาเซียนได้
แนวคิดของหน่วยงาน AIS the StartUp เองเริ่มก่อตั้งขึ้นในปลายปี 2011 ซึ่งเป็นช่วงระยะแรกของวงการสตาร์ทอัพพอดี โดยเอไอเอสเล็งเห็นแล้วว่าประเทศไทยไม่สามารถขับเคลื่อนด้วยสินค้าอย่างเดียว แต่ขับเคลื่อนด้วยบริการและต้องเป็นบริการดิจิทัลด้วย จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ผู้บริหารเริ่มโครงการ Startup ขึ้นมา
จนถึงตอนนี้ผ่านมาสิบปี ก้าวสู่ทศวรรษที่สองของสตาร์ทอัพ มีการเปลี่ยนแปลงจากสิบปีที่แล้วอย่างไร และต้องเตรียมความพร้อมเข้าสู่ทศวรรษที่สองของสตาร์ทอัพได้อย่างไร Blognone จะพาไปหาคำตอบที่งานเสวนาออนไลน์ครั้งนี้
Keenon Robotics สตาร์ทอัพหุ่นยนต์สำหรับงานบริการ จากเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ประกาศรับเงินลงทุนซีรี่ส์ D เพิ่ม 200 ล้านดอลลาร์ โดยมีผู้ลงทุนหลักคือกองทุน Softbank Vision Fund 2 และมีกองทุน CICC ALPHA กับ Prosperity7 ของ Aramco เป็นผู้ร่วมลงทุน บริษัทระบุว่าการเพิ่มทุนครั้งนี้ เป็นเงินทุนก้อนใหญ่ที่สุดที่เคยมีมาในธุรกิจหุ่นยนต์ภาคงานบริการ
Keenon ก่อตั้งในปี 2010 เน้นพัฒนาหุ่นยนต์ใช้ในงานส่งของ มีลูกค้าทั้งในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ สุขภาพ และงานดูแล
Kentaro Matsui ผู้บริหาร SoftBank กล่าวว่าหุ่นยนต์ในงานบริการ จะเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน โดยเฉพาะในกลุ่มร้านอาหาร โรงแรม และโรงพยาบาล ที่มีความต้องการมากขึ้น
Canva แพลตฟอร์มออกแบบกราฟิกออนไลน์ ประกาศรับเงินระดมทุนเพิ่มอีก 200 ล้านดอลลาร์ ทำให้มูลค่าบริษัทพุ่งทะลุ 4 หมื่นล้านดอลลาร์ (1.3 ล้านล้านบาท) แล้ว ถือเป็นหนึ่งในสตาร์ตอัพที่ยังไม่ IPO ที่มีมูลค่าสูงสุดในตลาด
Canva เพิ่งระดมทุนมาแล้วรอบหนึ่งในเดือนเมษายน ที่มูลค่าบริษัท 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ เท่ากับเวลาผ่านมาเพียงไม่กี่เดือน มูลค่าบริษัทเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า ปัจจุบันบริษัทมีผู้ใช้ต่อเดือน 60 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากการระดมทุนรอบเดือนเมษายนที่มี 55 ล้านคน
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐและสำนักงาน ก.ล.ต.ในสหรัฐตั้งข้อหาเอาผิดอดีตซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท HeadSpin สตาร์ทอัพพัฒนาอุปกรณ์พกพา ด้วยข้อหาให้ข้อมูลหลอกลวงนักลงทุน ปลอมแปลงตัวเลขรายได้
บริษัทเทคโนโลยี แน่นอนว่าต้องมีเทคโนโลยีเป็นแกนกลาง ทำให้ Tech Stack หรือชุดของเทคโนโลยี มีความสำคัญต่อธุรกิจและนวัตกรรม รวมไปถึงความรู้ความสามารถของคนในทีมด้วย
สตาร์ตอัพมักเริ่มพัฒนาระบบใหม่ทั้งหมดเอง ทำให้มีโอกาสเลือกใช้เทคโนโลยีโดยไม่ต้องคำนึงถึงระบบเดิมที่เคยใช้มา สามารถเลือกใช้ตามความเหมาะสมเพื่อเน้นการขับเคลื่อนธุรกิจ สร้างนวัตกรรมอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ในบทความนี้ คุณพศวีร์ เวชพาณิชย์ CTO ของ RentSpree สตาร์ตอัพคนไทยด้านอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกา เล่าถึง Tech Stack ที่บริษัทเลือกใช้งานมาและความสำคัญของกระบวนการตัดสินใจว่าควรเลือกเทคโนโลยีอย่างไร
ธุรกิจไทยซื้อกันเอง SYNQA Group (บริษัทแม่ของ Omise) ประกาศซื้อหุ้นส่วนใหญ่ของ Eventpop สตาร์ตอัพด้านระบบการจัดอีเวนต์ของไทย โดยไม่เปิดเผยมูลค่า
Eventpop ระบุว่าได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด ทำให้ธุรกิจอีเวนต์หายไป บริษัทจึงนำเทคโนโลยีด้าน O2O (Online to Offline) มาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยหนึ่งในนั้นคือธุรกิจด้านอีคอมเมิร์ซแบบ Omnichannel ที่ร่วมพัฒนากับ SYNQA อยู่ก่อนแล้ว
ทั้งเอไอเอสและไมโครซอฟท์ต่างมีโครงการเพื่อสตาร์ทอัพอยู่แล้วคือ AIS The StartUp และ Microsoft for Startups ล่าสุดทั้งสองประกาศความร่วมมือ เปิดตัวโครงการ AIS x Microsoft for Startups รับสมัครสตาร์ทอัพไทยที่ทำธุรกิจ B2B หรือ Business to Business เข้ามาสมัครเพื่อเข้าถึงการใช้งานเทคโนโลยีคลาวด์ของไมโครซอฟท์ รวมถึงโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าผ่านช่องทางเอไอเอสและไมโครซอฟท์ด้วย
FlowAccount สตาร์ตอัพด้านโปรแกรมบัญชีออนไลน์ของไทย ประกาศระดมทุนรอบ Series A กว่า 4 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 130 ล้านบาท) นำโดย Sequoia Capital India (สาขาของบริษัท VC ชื่อดัง Sequoia ในสหรัฐ) ส่วนนักลงทุนรายอื่นคือ Money Forward และ SBI Investment จากญี่ปุ่น
คุณกฤษฎา ชุตินธร ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง FlowAccount เปิดเผยว่าตอนนี้มีผู้ใช้งานในระบบมากกว่า 50,000 ราย และจะนำเงินก้อนนี้ขยายจากด้านบัญชีกับระบบจัดการเงินเดือน ไปสู่การชำระเงินออนไลน์ อีคอมเมิร์ซ ฟินเทค
HotPlay สตาร์ทอัพจากไทย ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มโฆษณาผ่านเกม ประกาศรวมกิจการกับ Monaker Group Inc. และนำบริษัทจดทะเบียนเข้าตลาดหุ้น Nasdaq ภายใต้ชื่อใหม่ NextPlay Technologies โดยมีตัวย่อในการซื้อขาย NXTP
จุดเด่นของ NextPlay คือเทคโนโลยีด้านโฆษณา (AdTech) ที่เชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มรูปแบบต่าง ๆ ทั้งทีวีดิจิทัล แพลตฟอร์มการท่องเที่ยว เกม ฟินเทค จนถึงคริปโตเคอเรนซี่ และมีซีอีโอคือคุณนิธินันท์ บุญวัฒนพิศุทธิ์
คุณนิธินันท์กล่าวว่า การควบรวมกิจการในครั้งนี้ทำให้เกิดการร่วมมือทางยุทธศาสตร์ เพื่อเชื่อมต่อแพลตฟอร์มต่าง ๆ ด้านสื่อบันเทิงและฟินเทคเข้าด้วยกัน และจะเป็นตัวเปลี่ยนเกมที่สำคัญในอุตสาหกรรม
ที่มา: ข่าวประชาสัมพันธ์
มีรายงานว่า Bukalapak สตาร์ทอัพอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของอินโดนีเซีย เตรียมนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นในประเทศ โดยขายหุ้นไอพีโอเพิ่ม 2.577 หมื่นล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 850 รูเปีย (ประมาณ 1.92 บาท) ซึ่งทำให้เป็นการไอพีโอมูลค่าสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย
ทั้งนี้ประเมินว่ามูลค่ากิจการ Bukalapak หลังเข้าตลาดหุ้นจะอยู่ที่ราว 6 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งยังน้อยกว่า GoTo สตาร์ทอัพมูลค่ากิจการสูงสุดของอินโดนีเซีย (ประมาณ 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์) ที่มีแผนเข้าตลาดหุ้นในประเทศเช่นกัน
Bukalapak มีผู้ลงทุนรายสำคัญ อาทิ Ant Group ธุรกิจการเงินของ Jack Ma, Emtek ผู้ให้บริการมือถือรายใหญ่ในประเทศ, GIC กองทุนของประเทศสิงคโปร์ และไมโครซอฟท์
โควิด-19 ดันยอดตัวเลขอีคอมเมิร์ซโตสูง รายได้อีคอมเมิร์ซของประเทศไทยในปีที่ผ่านมาสูงกว่าปีก่อนหน้าถึง 22.1% แต่ในขณะเดียวกันธุรกิจค้าปลีกก็ต้องเผชิญกับความท้าทายจากการปรับตัวสู่ดิจิทัลเพราะลูกค้าหน้าร้านลดลง ช่องทางการขายออนไลน์กลายเป็นช่องทางสำคัญสำหรับแบรนด์ในการสร้างยอดขาย ดังนั้นแบรนด์ที่ปรับตัวเร็ว สามารถสร้างแพลตฟอร์มการขายได้อย่างทันท่วงทีจึงได้เปรียบในสถานการณ์อันท้าทายนี้
ในบทความนี้ Blognone จะพาไปรู้จัก Muze ผู้พัฒนาระบบ Omni-Channels หรือระบบรองรับการขายทั้งออฟไลน์และออนไลน์ ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของแบรนด์ใหญ่ๆ อย่าง McGroup รวมไปถึงยังเป็นเบื้องหลังผู้พัฒนาระบบ OTT ให้ บีอีซี เวิลด์ มาแล้ว ซึ่งกลายเป็นส่วนสำคัญต่อการเติบโตทางธุรกิจสวนกระแสตลาดในตอนนี้