กูเกิลร่วมมือกับ Antmicro ผู้ให้บริการออกแบบชิปเปิดโครงการ FPGA Interchange format สร้างฟอร์แมตไฟล์สำหรับออกแบบชิปที่ใช้เครื่องมือข้ามยี่ห้อไปมาได้
การออกแบบชิปโดยใช้ FPGA นั้นเป็นการสังเคราะห์ (synthesis) วงจรจากโค้ด เช่นภาษา VHDL หรือ Verilog แปลงโค้ดเป็นวงจรที่เชื่อมโมดูลพื้นฐานต่างๆ เข้าด้วยกัน จากนั้นต้องวางวงจรลงในชิปจริง กระบวนการทั้งหมดนี้มักผูกกับผู้ผลิตชิป FPGA เป็นหลัก
คณะกรรมการยุโรป (European Commission) เสนอร่างกฎหมาย European Chips Act สนับสนุนการลงทุนตั้งโรงงานผลิตชิปบนแผ่นดินยุโรป โดยตั้งเป้ามีส่วนแบ่งตลาดชิปโลก 20% ในปี 2030 (ปัจจุบันมีราว 10%)
กฎหมายนี้ประกอบด้วยโครงการ Chips for Europe Initiative มูลค่า 11 พันล้านยูโร สนับสนุนการวิจัยและการพัฒนาชิป, ตั้งกองทุน Chips Fund ช่วยอุดหนุนสตาร์ตอัพด้านเซมิคอนดักเตอร์ และตั้งคณะทำงานด้านซัพพลายของชิปในยุโรปขึ้นมารับผิดชอบงานด้านนี้
ขั้นต่อไป กฎหมายนี้จะถูกเสนอเข้ารัฐสภายุโรป (European Parliament) เพื่อผ่านกระบวนการออกเป็นกฎหมายต่อไป
ที่มา - European Commission
อินเทลประกาศสร้างโรงงานผลิตชิปใหม่อีก 2 โรงในรัฐโอไฮโอ มูลค่าลงทุนเบื้องต้น 20,000 ล้านดอลลาร์ การก่อสร้างจะเริ่มในช่วงปลายปี 2022 และคาดว่าจะเริ่มเดินสายการผลิตได้ในปี 2025
ปัจจุบัน อินเทลมีโรงงานผลิตชิปในสหรัฐอเมริกาอยู่ 2 จุดหลักๆ คือ รัฐโอริกอน และรัฐแอริโซนา (แต่ละจุดมีหลายโรงงานอยู่ใกล้ๆ กัน) การขยายมายังโอไฮโอถือเป็นการสร้างพื้นที่ผลิตชิปจุดที่สาม และเป็นการขยับขยายพื้นที่ใหม่ครั้งแรกของอินเทลในรอบ 40 ปี
อินเทลบอกว่าพื้นที่ตรงนี้ใหญ่พอสำหรับขยายโรงงานได้เป็น 8 โรงในอนาคต และพร้อมลงทุนเพิ่มอีก 100 ล้านดอลลาร์ให้สถาบันการศึกษาในพื้นที่ ผลิตนักศึกษาสายงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตชิปมาป้อนโรงงานของอินเทล ซึ่งระบุว่าจะมีพนักงาน 3,000 คน
เว็บไซต์ DigiTimes รายงานว่า TSMC เริ่มแจ้งลูกค้ารายใหญ่ของบริษัทแล้วว่าค่าชิปที่ผลิตอาจแพงขึ้นได้ถึง 20% จากปัจจัยต่างๆ เช่นความขาดแคลนที่เกิดจากการระบาดของโควิด-19 ราคาวัตถุดิบ ไปจนถึงค่าขนส่ง
อีกสาเหตุสำคัญน่าจะเป็นเพราะ TSMC ใช้อุปกรณ์หลายชนิดที่มาจากบริษัท ASML ซึ่งโรงงานของ ASML ที่เบอร์ลิน เพิ่งเกิดไฟไหม้ ไปช่วงสัปดาห์ที่แล้ว ทำให้อุปกรณ์ lithography สำหรับพิมพ์ชิปบางส่วนเกิดความล่าช้า ส่งผลกับการขยายกำลังการผลิตและราคา ที่น่าจะไม่ใช่แค่ช่วงสั้นๆ
Raspberry Pi ประกาศขายชิป RP2040 ที่ใช้ใน Raspberry Pi โดยตรงไม่ผ่านตัวแทนจำหน่ายตามปกติสำหรับการสั่งซื้อจำนวนมาก โดยชิปจะขายเป็นม้วน 2 ขนาด คือ ม้วน 500 ชิป ราคา 400 ดอลลาร์ (ชิปละ 0.8 ดอลลาร์ หรือ 27 บาท) ม้วน 3,400 ชิป ราคา 2,380 ดอลลาร์ (ชิปละ 0.7 ดอลลาร์หรือ 23 บาท) ราคานี้ไม่รวมค่าส่งและภาษี
RP2040 ผลิตด้วยเทคโนโลยี TSMC 40LP ขณะที่ตัวชิปจริงๆ มีขนาดเพียง 2 ตารางมิลลิเมตรเท่านั้น ทำให้เวเฟอร์ขนาดมาตรฐาน 30 เซนติเมตรสามารถผลิตได้ถึง 21,000 ชิป และตอนนี้ทาง Raspberry Pi มีเวเฟอร์รอผลิตชิปได้ 20 ล้านชิป
ASML ระบุว่าเกิดเหตุไฟไหม้โรงงานในเยอรมัน และสามารถดับไฟได้เรียบร้อยแล้วโดยไม่มีผู้บาดเจ็บ แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่ากระทบต่อการผลิตมากน้อยเพียงใด ทางบริษัทต้องใช้เวลาประเมินความเสียหายอีกสองสามวันและจะรายงานผลกระทบต่อไป
โรงงานในเบอร์ลินนี้ทาง ASML ได้มาจากการเข้าซื้อบริษัท Berliner Glas ในปี 2020 ผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรผลิตชิปหลายชิ้น เช่น โต๊ะผลิตเวเฟอร์, ชุดกระจก เป็นต้น
วิกฤติชิปขาดแคลนทำให้สินค้าอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากขาดตลาด หลายบริษัทคาดว่าสถานการณ์จะดีขึ้นภายในสองปีข้างหน้าแต่ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะมีโรงงานจำนวนมากจะเดินสายการผลิตเพิ่มเข้ามา หากเครื่องจักรส่งมอบได้ช้าลงก็น่ากังวลว่าจะทำให้สถานการณ์ชิปขาดแคลนทอดยาวออกไปอีก
KiCad โครงการซอฟต์แวร์ออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์แบบโอเพนซอร์สประกาศออกเวอร์ชั่น 6.0 นับเป็นเวอร์ชั่นใหญ่ในรอบ 3 ปี โดยความเปลี่ยนแปลงสำคัญคือการปรับหน้าจอใหม่ทั้งหมดเพื่อให้ผู้ใช้จากโปรแกรมออกแบบวงจรค่ายอื่นสามารถมาใช้งานได้ง่ายขึ้น หน้าจอในโหมด schematic และโหมด PCB ดูเป็นเนื้อเดียวกันมากขึ้น
สำหรับฟีเจอร์ภายในสำคัญคือไฟล์ฟอร์แมตใหม่ ที่ใส่ทั้ง schematic และ library ไว้ในไฟล์เดียวกัน ทำให้ผู้ออกแบบวงจรสามารถฝังสัญลักษณ์ของอุปกรณ์ต่างๆ ลงไปในไฟล์ได้เลย กฎการออกแบบระบบใหม่รองรับกฎที่ซับซ้อนขึ้น เช่นกฎแยกเฉพาะสำหรับบางชั้นของแผงวงจร หรือกฎเฉพาะสำหรับบางโซน และหน้าจอแบบ dark mode ในแมคและลินุกซ์
รัฐบาลอินเดีย ประกาศงบประมาณ 7.6 แสนล้านรูปี (ประมาณ 3.4 แสนล้านบาท) อุดหนุนให้บริษัทผลิตชิปชั้นนำของโลกเข้ามาตั้งโรงงานในอินเดีย ตามที่เคยประกาศไว้
Ashwini Vaishnaw รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอทีของอินเดีย ให้สัมภาษณ์ว่าพูดคุยกับบริษัทผลิตชิปรายใหญ่เกือบทุกราย และได้รับเสียงตอบรับดี ตอนนี้บริษัทหลายรายกำลังคุยกับพาร์ทเนอร์ในอินเดีย เพื่อเตรียมมาตั้งฐานผลิตในอินเดีย เขาคาดว่าในอีก 2-3 ปีข้างหน้า จะมีโรงงานอย่างน้อย 10-12 แห่งเริ่มเดินสายการผลิตได้จริง
รัฐบาลอินเดียเตรียมเปิดรับใบสมัครขอเงินอุดหนุนในวันที่ 1 มกราคม 2022
หน่วยงานพัฒนาการลงทุนแห่งมาเลเซีย (Malaysian Investment Development Authority) เปิดเผยข้อมูลว่า Intel เตรียมลงทุนมูลค่ากว่า 7.1 พันล้านดอลลาร์ เพื่อสร้างโรงงานประกอบชิป (semiconductor packaging) แห่งใหม่ใน Bayan Lepas ใกล้สนามบินนานาชาติในปีนัง และจะมีการแถลงข่าวเพิ่มเติมโดยมี Pat Gelsinger ซีอีโอของ Intel และ Mohamed Azmin Ali รัฐมนตรีอาวุโสของกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมนานาชาติของมาเลเซียร่วมด้วยในวันพุธที่ 15 ธันวาคมนี้
ญี่ปุ่นเตรียมลงทุน 6 แสนล้านเยน (ราว 1.78 แสนล้านบาท) ให้กับบริษัทผลิตชิปจากทั้งไต้หวัน สหรัฐฯ และของญี่ปุ่นเอง เป็นการทยอยให้เป็นเวลาหลายปี พร้อมเงื่อนไขว่าต้องเพิ่มกำลังการผลิตหากชิปขาดแคลน เพื่อรักษาซัพพลายของชิปในประเทศ
เงิน 6 แสนล้านเยนนี้ แบ่งเป็น 4 แสนล้านเยนที่จะลงทุนให้ TSMC ตั้งโรงงานใหม่ที่จังหวัดคุมาโมโตะ อีก 2 แสนล้านเยน สำหรับบริษัทผลิตชิปจากสหรัฐฯ Micron Technology ที่เพิ่งซื้อโรงงานผลิตชิปของ Elpida Memory ที่ฮิโรชิม่าเพื่อตั้งโรงงานผลิต DRAM และ Kioxia Holdings ที่เป็นผู้ผลิตชิป NAND รายใหญ่ของญี่ปุ่น ซึ่งกำลังตั้งโรงงานแห่งใหม่ในหลายเมือง
Reuters รายงานว่าสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน บวกกับปัญหาชิปขาดตลาดทั่วโลก ส่งผลสะเทือนต่อโรงงานผลิตชิปในประเทศจีน ไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีการผลิตบางอย่างได้แล้ว
บริษัทในข่าวคือ SK Hynix บริษัทผลิตหน่วยความจำรายใหญ่จากเกาหลีใต้ ที่มีโรงงานอยู่ที่เมืองอู๋ซี (Wuxi) ประเทศจีน ไม่สามารถซื้อเครื่อง extreme ultraviolet lithography (EUV) จากบริษัทเนเธอร์แลนด์ ASML เพื่อใช้ในการผลิตชิปที่ขนาดเล็กมากๆ ได้มาหลายปีแล้ว
Ford พยายามแก้ปัญหาการขาดแคลนชิปสำหรับรถยนต์ โดยประกาศความร่วมมือกับ GlobalFoundries (GF) อดีตโรงงานผลิตชิปของ AMD เพื่อหาทางออกเรื่องการผลิตชิปร่วมกัน
ความร่วมมือนี้ยังอยู่ในชั้นเริ่มต้น โดยทั้งสองบริษัทจะร่วมกันวิจัยและพัฒนาชิปสำหรับรถยนต์ แต่ยังไม่ชัดเจนว่าจะไปถึงขั้น Ford มีทีมออกแบบชิปของตัวเองแล้วสั่ง GlobalFoundries ผลิตเลยหรือไม่
GlobalFoundries เคยประกาศยอมแพ้ ไม่ลงทุนแข่งกับ TSMC หรือซัมซุง ในเทคโนโลยีผลิตชิปที่ใหม่ที่สุด เพราะต้องลงทุนมหาศาล แต่ด้วยเทคโนโลยีระดับ 14-22 นาโนเมตรที่ GlobalFoundries มีอยู่ก็ถือว่าเหลือเฟือสำหรับชิปสำหรับรถยนต์ หรืออุปกรณ์สำหรับอุตสาหกรรม
สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวโดยอ้างแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ว่ากลุ่มบริษัท Tata ของอินเดีย มีแผนลงทุนเป็นเงินถึง 300 ล้านดอลลาร์ เพื่อตั้งโรงงานประกอบ-ทดสอบชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ ภายในประเทศ ซึ่งจะมาเป็นกลุ่มธุรกิจใหม่ของบริษัท
รายงานระบุว่า Tata ได้เริ่มพูดคุยเพื่อหาพื้นที่สร้างโรงงาน ใน 3 รัฐทางตอนใต้ของอินเดีย โดยโรงงานดังกล่าวจะไม่ได้เป็นผู้ผลิตชิปตั้งต้น แต่เป็นโรงงานประกอบและทดสอบก่อนเป็นผลิตภัณฑ์ในขั้นสุดท้าย ซึ่งคาดว่ามีลูกค้าในเบื้องต้นแล้วคือผู้ผลิตซีพียูรายใหญ่
ปัจจุบันกลุ่มบริษัท Tata มีธุรกิจในเครือด้าน IT อยู่แล้วทั้งการพัฒนาซอฟต์แวร์และธุรกิจให้คำปรึกษา หากบริษัทขยายมายังเซมิคอนดักเตอร์ด้วย จะทำให้กลุ่มบริษัทมีธุรกิจฮาร์ดแวร์ซึ่งครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
ซัมซุง ประกาศลงทุนตั้งโรงงานผลิตชิปแห่งใหม่ที่เมือง Taylor ในรัฐเท็กซัส มูลค่า 1.7 หมื่นล้านดอลลาร์ ตอนนี้ยังไม่ระบุว่าจะใช้กระบวนการผลิตระดับใด แต่ซัมซุงยืนยันว่าจะเป็นฐานการผลิตสำคัญเทียบเท่ากับโรงงานใหม่ในเมือง Pyeongtaek ประเทศเกาหลีใต้
ซัมซุง มีโรงงานผลิตชิปในสหรัฐอเมริกาอยู่แล้วที่เมือง Austin ห่างออกเพียงไป 25 กิโลเมตร หนึ่งในเหตุผลที่เลือกตั้งโรงงานใหม่ที่เมือง Taylor ใกล้ๆ กันเพื่อให้แชร์ทรัพยากรกันได้ง่าย
โรงงานแห่งนี้จะเริ่มก่อสร้างในครึ่งแรกของปี 2022 และมีเป้าหมายเริ่มเดินสายการผลิตจริงในครึ่งหลังของปี 2024
Renesas ผู้ผลิตชิปเฉพาะทางจากญี่ปุ่นเปิดตัว ForgeFPGA ชิป FPGA เน้นราคาประหยัดสำหรับงานที่ความซับซ้อนไม่สูงนัก แต่ต้องการวงจรเฉพาะทาง สำหรับงานที่ต้องการประหยัดพลังงานหรือต้องการเวลาตอบสนองการทำงานที่แม่นยำมากๆ
ชิปตระกูล ForgeFPGA จะเน้นกลุ่มที่ต้องการวงจรซับซ้อนน้อยกว่า 5,000 เกต สองรุ่นแรกมีขนาด 1,000 และ 2,000 Look Up Tables (LUTs) รุ่นเล็กสุดมีอัตราการกินพลังงานขณะที่วงจรไม่ได้ทำงานจะกินกระแสเพียง 20 ไมโครแอมป์
ทาง Renesas จะให้ซอฟต์แวร์ออกแบบ FPGA สำหรับ ForgeFPGA ฟรี โดยซอฟต์แวร์ทำงานได้ทั้งแบบวาดวงจร และคอมไพล์วงจรจากภาษา Verilog รุ่น 1,000 LUT จะเริ่มส่งมอบไตรมาสที่สองของปี 2022 ราคาเริ่มต้น 0.5 ดอลลาร์ต่อชิปเมื่อซื้อจำนวนมาก หรือประมาณ 16 บาทต่อชิป
Toshiba ประกาศแผนการแยกบริษัทออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
Samsung เปิดตัว DRAM ชนิด Low Power Double Data Rate 5X หรือ LPDDR5X แบบ 16Gb เป็นครั้งแรกของวงการชิปความจำ ผลิตด้วยกระบวนการขนาด 14 นาโนเมตร (nm) และออกแบบมาเพื่อใช้งานกับการทำงานที่ต้องใช้หน่วยความจำความเร็วสูง เช่นการทำงานกับข้อมูลที่ส่งผ่าน 5G การทำงานกับปัญญาประดิษฐ์, AR และ metaverse
แรม LPDDR5X ของ Samsung ใส่แรมได้สูงสุด 64GB ต่อหนึ่งแพ็กเกจหน่วยความจำ มีความเร็วประมวลผลอยู่ที่ 8.5 Gbps (กิกะบิตต่อวินาที) เร็วกว่า 6.4 Gbps ของ LPDDR5 ถึง 1.3 เท่าตัว และใช้พลังงานน้อยกว่าราว 20% จากการลดขนาดกระบวนการผลิตไปอยู่ที่ 14 นาโนเมตร
Tecent Cloud แถลงในงานสัมมนาเทคโนโลยีของตัวเองระบุถึงความก้าวหน้าในการพัฒนาชิปของตัวเองได้ 3 ตัวแล้ว แม้จะไม่มีข้อมูลสถาปัตยกรรมภายในหรือรายละเอียดการทำงานอื่นๆ ชิปทั้ง 3 ตัวได้แก่
Nikkei Asia รายงานข่าวว่าปัญหาชิปและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขาดตลาด ส่งผลให้นินเทนโดต้องลดจำนวนการผลิต Nintendo Switch ของปีนี้ลง จากเดิมตั้งเป้า 30 ล้านเครื่อง มาเหลือ 24 ล้านเครื่อง หรือน้อยลง 20%
นินเทนโดขาย Switch ได้ 28.83 ล้านเครื่องในปีการเงินที่แล้ว เดิมทีปีนี้ตั้งเป้าไว้ 25.5 ล้านเครื่อง แต่ก็ต้องปรับลดจำนวนเป้าหมายลงอีก
Shuntaro Furukawa ประธานของนินเทนโดเคยระบุว่า ความต้องการ Switch ยังสูง แต่เมื่อสินค้ามีจำกัด โดยเฉพาะ Switch OLED ก็ต้องแบ่งโควต้าให้ตัวแทนจำหน่ายด้วยวิธีการสุ่มแบบล็อตเตอรี่ไปก่อน
ที่มา - Nikkei Asia
วิกฤตชิปขาดแคลน ยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงในเร็วๆ นี้ ล่าสุดรัฐบาลอินเดียเตรียมพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ปั้นกองทุนสนับสนุนการลงทุนมูลค่าหลักพันล้าน เพื่อดึงดูด TSMC, Intel, AMD, Fujitsu และ United Microelectronics Corp. ให้มาตั้งโรงงานในประเทศ หลังบริษัทผลิตชิปหลายบริษัทเริ่มมองหาฐานผลิตในประเทศอื่นเพิ่มเติมนอกจากประเทศจีน
แผนงานนี้เป็นการกำกับดูแลตรงจากสำนักนายกรัฐมนตรี (Prime Minister’s Office) ร่วมกับกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยสำนักข่าว Times of India ระบุแหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัวตนว่ารัฐบาลอินเดียพร้อมที่จะลงเงินสนับสนุนแบบเต็มที่ และพร้อมที่จะยืดระยะโครงการ PLI (Production linked incentive) ที่เพิ่มเงินสนับสนุนให้กับบริษัทที่ตั้งฐานการผลิตในประเทศ
Mikako Kitagawa นักวิเคราะห์จาก Gartner ให้ข้อมูลกับ The Register ว่าราคาเฉลี่ยของพีซีจะแพงขึ้น 10% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว จากปัญหาเงินเฟ้อ ชิปขาดตลาด
ตอนนี้ผู้ผลิตพีซีเริ่มเจอปัญหาชิ้นส่วนขาดแคลน โดยเฉพาะแผงวงจรสำหรับแสดงผล แผงวงจรจัดการพลังงาน และชิ้นส่วน USB-C ทำให้ต้องเลือกว่าจะนำไปใส่พีซีรุ่นไหน ทางออกคือใส่พีซีราคาแพงที่มีอัตรากำไรดีกว่า ผลคือพีซีราคาถูกมีจำนวนสินค้าน้อยลง หาของยากขึ้น
หากผู้ผลิตพีซีไม่อยากขึ้นราคาสินค้า ก็ยังมีทางเลือกอื่นคือตัดฟีเจอร์บางอย่างลง (เช่น แรมหรือสตอเรจขนาดลดลง) หรือใช้ชิ้นส่วนที่มีราคาถูกลง
ตัวเลขของ IDC ประเมินว่าราคาเฉลี่ยของโน้ตบุ๊กในปี 2021 อยู่ที่ 820 ดอลลาร์ ในขณะที่ราคาของปี 2020 คือ 790 ดอลลาร์
Nikkei Asia รายงานข่าวว่า Alibaba เป็นตัวเต็งที่จะซื้อหรือควบกิจการกับ Tsinghua Unigroup บริษัทเซมิคอนดักเตอร์ของจีนที่กำลังประสบปัญหาการเงิน
Tsinghua Unigroup เป็นบริษัทในเครือ Tsinghua Holdings ซึ่งเป็นบริษัทลงทุนของมหาวิทยาลัยชิงหัวของจีน (ปัจจุบัน Tsinghua Holdings ถือหุ้น 51% ใน Unigroup) ผลงานเด่นของ Unigroup คือชิปมือถือตระกูล UNISOC (Spreadtrum เดิม สถาปัตยกรรม Arm) และซื้อหุ้น 51% ในบริษัท H3C ที่เดิม HPE เป็นเจ้าของ ปัจจุบันบริษัทมีพนักงานมากกว่า 40,000 คน
TSMC ยืนยันข่าวการตั้งโรงงานผลิตชิปที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว โดยซีอีโอ C.C. Wei แจ้งกับนักลงทุนว่าโรงงานใช้กระบวนการผลิตขนาด 22 และ 28 นาโนเมตร รองรับงานได้หลายประเภท เช่น เซ็นเซอร์ภาพหรือไมโครคอนโทรลเลอร์ การก่อสร้างจะเริ่มในปี 2022 และเดินสายผลิตจริงในปี 2024
TSMC ไม่ได้แจ้งตัวเลขมูลค่าของโรงงานนี้ (บอกแค่ว่าไม่ได้นับรวมในแผนลงทุนก้อนใหญ่ 1 แสนล้านดอลลาร์ที่ประกาศไปเมื่อต้นปี) และไม่ได้พูดถึงว่าเป็นการร่วมลงทุนกับโซนี่ตามที่เป็นข่าวด้วยหรือไม่ แต่ปกติแล้ว TSMC จะเป็นเจ้าของโรงงานเอง 100%
ท่ามกลางวิกฤตชิปขาดตลาดยาวนาน บริษัทที่โดดเด่นที่สุดในตอนนี้ย่อมเป็น TSMC (Taiwan Semiconductor Manufacturing Co.) ในฐานะโรงงานผลิตชิปที่ใหญ่ที่สุดในทำให้หลายๆ ประเทศเชิญชวนให้ TSMC ไปตั้งโรงงานในแผ่นดินของตัวเอง
ประเทศล่าสุดที่กำลังจะชวน TSMC มาอยู่ด้วยสำเร็จคือญี่ปุ่น ที่ TSMC กำลังหารือกับ Sony Group เพื่อตั้งโรงงานผลิตชิปมูลค่า 7 พันล้านดอลลาร์ที่จังหวัดคุมาโมโต้ ตอนนี้ยังไม่มีข่าวประกาศอย่างเป็นทางการ แต่คาดว่าน่าจะเริ่มเดินสายการผลิตได้ในปี 2024
แม้ยังเป็นโรงงานที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 20 นาโนเมตร แต่ก็จะตอบโจทย์อุตสาหกรรมรถยนต์และการผลิต ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ชิปขนาดเล็กที่สุด แต่ประสบปัญหาขาดแคลนชิปจนต้องหยุดสายการผลิตกันบ้างแล้ว
Samsung Foundry ธุรกิจรับจ้างผลิตชิปของซัมซุง ประกาศแผนการผลิตชิปด้วยเทคโนโลยี Gate-All-Around (GAA) ระดับ 3 และ 2 นาโนเมตรดังนี้
เว็บไซต์ CNET ชี้ว่าซัมซุงเลื่อนแผน 3nm มาจากเดิมที่จะต้องเปิดตัวภายในปี 2021 ไปเป็นครึ่งแรกของปี 2022 ถือว่าล่าช้าจากเดิมเล็กน้อย แต่ก็ถือว่าไม่กระทบมากนัก เพราะคู่แข่ง TSMC ก็เพิ่งประกาศเลื่อนแผนของตัวเองเช่นกัน