ตอนนี้ Snapchat กำลังทดสอบฟีเจอร์ใหม่เกี่ยวกับสถานที่คือ Status และ Passport โดย Jane Manchun Wong ที่ค้นพบโค้ดนี้ระบุว่าเป็นฟีเจอร์เช็คอินสถานที่เหมือนแอป Swarm ของ Foursquare บน Snap Map
ฟีเจอร์ Snapchat Status จะแชร์สถานที่เฉพาะกับคนที่เราแชร์สถานที่ด้วยเท่านั้นเพื่อความเป็นส่วนตัว ซึ่งการแสดงบน Snap Map จะแสดงเป็น Bitmoji และมี Passport ไว้สำหรับการติดตามสถานที่ที่ผู้ใช้เคยไป ซึ่งจะเห็นได้เฉพาะเจ้าของ Passport เท่านั้น
นอกจากนี้ หากไม่อยากใช้ Status หรือแสดงตัวบน Snap Map ก็สามารถเปิด ghost mode ได้เช่นกัน หรือถ้าไม่เปิดแอปเป็นเวลา 8 ชั่วโมง คอนเทนต์ต่าง ๆ เกี่ยวกับสถานที่บน Snapchat ก็จะหายไปโดยอัตโนมัติ
ย้อนหลังไปวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2562 คุณฤภพ ชินวัตร ได้ live ผ่านเฟสบุคแฟนเพจของพรรคไทยรักษาชาติ และเปิดตัวเว็บ https://tsntalk.com/pm25 ซึ่งคนทั่วไปสามารถเข้าไปตรวจสอบค่าฝุ่นละอองขนาด pm2.5 ได้ด้วยการระบุพิกัดทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ที่ต้องการตรวจสอบค่าฝุ่นละออง
ต่อมาตำรวจศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิด เกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีได้ตรวจพบว่าเมื่อระบุพิกัดบางพื้นที่ เว็บดังกล่าวกลับนำข้อมูลของพื้นที่ใกล้เคียงกับพิกัดที่ระบุไว้มาแสดงผลแทน ซึ่งถือเป็นข้อมูลเท็จ สร้างความสับสนให้ประชาชนตื่นตระหนก
เรื่องนี้น่าจะเป็นกรณีศึกษาสำหรับคนที่ทำแคมเปญการตลาดซึ่งเล่นกับข้อมูลพิกัด โดยที่ญี่ปุ่นมีข่าวว่าตำรวจได้จับกุมชายวัย 29 ปี คนหนึ่ง เนื่องจากทำการโกงเครือห้างสรรพสินค้า Aeon คิดเป็นมูลค่าความเสียหายถึง 5.38 ล้านเยน
โดยห้างสรรพสินค้า Aeon มีกิจกรรมที่ให้เล่นผ่านแอปของทางห้าง หากลูกค้าเดินเข้ามาภายในห้างสรรพสินค้าสาขาใดก็ได้ จะได้รับแต้มสะสมมูลค่า 2 เยน ในทุกครั้งที่เข้ามา ซึ่งชายคนดังกล่าวได้โกงข้อมูลพิกัด จนสามารถเดินเข้าห้าง Aeon แต่ละสาขาทั่วญี่ปุ่นไปมา และได้เงินโบนัสนี้รวมแล้วกว่า 2.7 ล้านครั้ง
Foursquare บริการแนะนำสถานที่และแอปเช็กอิน ประกาศเพิ่มทุนซีรี่ส์ F อีก 33 ล้านดอลลาร์ โดยมีกลุ่มผู้ลงทุนหลักคือ Simon Ventures, Naver Corp และ Union Square Ventures ซึ่งเป็นผู้ลงทุนเดิมอยู่แล้ว
ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา Foursquare ได้ปรับรูปแบบธุรกิจไปมากพอสมควร จากเดิมเป็นโซเชียลเน้นกลุ่มผู้ใช้งานให้เช็กอินแนะนำสถานที่ ก็เปลี่ยนมาเน้นขายลูกค้าองค์กรมากขึ้น โดยอาศัยจุดแข็งด้านข้อมูลพิกัดสถานที่ต่าง ๆ ที่แม่นยำ โดยรายได้ส่วนนี้คิดเป็น 90% ของรายได้ทั้งหมด
Foursquare อดีตแอปเช็กอิน ที่ตอนนี้มาโฟกัสการค้นหาสถานที่น่าสนใจ ส่วนการเช็กอินแยกไปอยู่ที่แอป Swarm แทน ประกาศความร่วมมือกับแอปรายงานสภาพอากาศ AccuWeather โดยจะเชื่อมต่อข้อมูลผ่าน Pilgrim SDK เพื่อนำข้อมูลสภาพอากาศ มาประมวลผลร่วมกับข้อมูลการเช็กอิน ทำให้การแนะนำสถานที่และการรายงานสภาพอากาศล่าสุดแม่นยำมากขึ้น
บนความร่วมมือนี้ ผู้ใช้งานที่เลือกกำหนดค่าให้แชร์ข้อมูลได้ จะได้รับข้อมูลแนะนำสถานที่น่าสนใจ อ้างอิงกับสภาพอากาศปัจจุบันผ่านแอป AccuWeather เช่น ถ้าฝนตกอยู่ ก็จะแนะนำร้านค้าในอาคารหรือร้านกาแฟ แต่หากอากาศแจ่มใสแดดออก ก็แนะนำสวนสาธารณะ ชายหาด เป็นต้น
Mitch Lowe ซีอีโอ MoviePass เคยตกเป็นประเด็นหลังจากกล่าวว่า MoviePass มีการติดตามความเคลื่อนไหวของลูกค้า รู้ว่าก่อนและหลังดูภาพยนตร์ลูกค้าทำอะไรบ้าง (และภายหลังก็ได้อัพเดตแอพ เพื่อยกเลิกการเก็บข้อมูลบางอย่าง)
ล่าสุด Lowe ได้ให้สัมภาษณ์กับ Variety เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา โดยเขากล่าวว่าการพูดก่อนหน้านี้เกี่ยวกับข้อมูลที่ MoviePass เก็บนั้นผิดพลาด ซึ่งไม่ตรงกับสิ่งที่ทำจริง ๆ MoviePass จะเก็บข้อมูลผู้ใช้เฉพาะเมื่อใช้งานแอพเท่านั้น โดยจะมีแค่สองสถานการณ์ที่จะเก็บข้อมูลคือ ตอนที่กำลังหาโรงภาพยนตร์ที่อยู่ใกล้ ๆ และเมื่อเช็คอินเข้าโรงภาพยนตร์
MoviePass ได้ออกอัพเดตแอพบน iOS เพื่อยกเลิกการใช้ข้อมูลตำแหน่งในบางกรณี หลังจากเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ที่ซีอีโอกล่าวในงาน Entertainment Finance Forum ว่า MoviePass มีการเก็บข้อมูลลูกค้ารู้ว่าก่อนและหลังดูหนังทำอะไรบ้าง และยังมีกรณีที่ TechCrunch สอบถามไปยังนักพัฒนาคนหนึ่งของ MoviePass และได้รับคำกล่าวว่ามีการเก็บข้อมูลตำแหน่งอยู่เสมอ ๆ ขณะเปิดใช้งานแอพ จึงทำให้หลายคนกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูล
หลังจาก Google เปิดตัวแอพ Trusted Contacts บน Android ไปเมื่อปีก่อน ล่าสุดก็ได้ปล่อยให้ใช้งานบน iOS แล้ว โดยฟีเจอร์การใช้งานต่างๆ เหมือนกับแอพบน Android ทุกประการ ทั้งสามารถรายงานสถานะต่างๆ ให้กลุ่มรายชื่อที่ไว้ใจได้, ร้องขอดูตำแหน่งของคนอื่นในกลุ่มนี้ รวมไปถึงความสามารถในการทำงานแบบออฟไลน์ได้อีกด้วย
นอกจากนี้แอพ Trusted Contacts บน Android ก็มีอัพเดตออกมาเล็กน้อย ได้แก่ ตั้งเวลาให้แชร์ตำแหน่งกับผู้อื่นอัตโนมัติ, เพิ่มรายชื่อที่ไว้ใจด้วยเบอร์โทรศัพท์และรองรับภาษาเพิ่มเติมอีก 25 ภาษา
สามารถดาวน์โหลดแอพ Trusted Contacts ได้แล้วทั้งบน App Store และ Play Store วันนี้
ที่มา : Google Blog
iOS 11 ซึ่งตอนนี้อยู่ในสถานะเบต้าได้เพิ่มคุณสมบัติใหม่ โดยมีแถบสีฟ้าด้านบนเตือนผู้ใช้งาน พร้อมระบุว่าแอพตัวใดที่ทำงานในแบ็คกราวด์ ที่กำลังใช้ข้อมูลพิกัด (Location) อยู่ในขณะนี้ แต่เดิมนั้น iOS จะขึ้นการเตือนแบบนี้เช่นกัน แต่เป็นเพียงสัญลักษณ์ลูกศรเล็กๆ บอกว่ามีแอพใช้งานข้อมูลพิกัด ถ้าอยากรู้ว่าแอพไหนต้องตามเข้าไปตรวจสอบใน Settings เอง การขึ้นข้อความเตือนแบบนี้จึงน่าจะทำให้ผู้ใช้เกิดความระวังมากขึ้น
คนที่เคยใช้ Google Latitude อาจเสียดายบริการตัวนี้ที่ปิดไปในปี 2013 แต่ล่าสุดฟีเจอร์แชร์พิกัดให้เพื่อน ถูกนำกลับมาใส่ใน Google Maps แล้ว
แอพ Google Maps บนมือถือจะสามารถแชร์พิกัดแบบเรียลไทม์ให้ใครก็ได้ (ฝั่งคนที่ดูพิกัด สามารถดูได้ทั้งบนแอพและบนเว็บ แต่ตอนแชร์ต้องมาจากแอพ) ช่วยแก้ปัญหาคำถามซ้ำๆ ว่า "ตอนนี้อยู่ที่ไหนแล้ว" ได้อย่างเบ็ดเสร็จ
วิธีการใช้งานคือกดจากเมนูด้านข้างของ Google Maps แล้วเลือก Share Location ไปยังบุคคลที่ต้องการ เราสามารถกำหนดช่วงเวลาได้ว่าจะแชร์นานแค่ไหน ฝั่งผู้รับจะเห็นไอคอนของเราปรากฏบนแผนที่ ฟีเจอร์นี้จะทยอยเปิดให้ใช้งานในเร็วๆ นี้
Foursquare เปิดตัว Pilgrim SDK เพื่อเปิดให้นักพัฒนาจากแอพภายนอกที่ต้องการใช้งานข้อมูลของผู้ใช้โดยขึ้นกับสถานที่ ซึ่งปัจจุบัน Foursquare ใช้งานอยู่เพื่อแนะนำข้อมูลต่าง ๆ เมื่อผู้ใช้เดินเข้าไปยังสถานที่ต่าง ๆ เช่น บาร์, ร้านค้า, ร้านอาหาร ฯลฯ
Pilgrim SDK จะช่วยให้แบรนด์, นักการตลาด และนักพัฒนาใช้ข้อมูลสถานที่ได้มากขึ้น โดยใช้ข้อมูลซึ่งเก็บโดย Foursquare ที่เพิ่มโดยผู้ใช้ทั่วไป
คลื่นมหาชนผู้ล่าโปเกมอนแทบไม่ค่อยมีให้เห็นแล้ว แต่แม้ผ่านเวลามาเจ็ดเดือนหลังเปิดตัวเกม ท้องถิ่นบางแห่งก็เริ่มคิดว่าถึงเวลา ต้องออกกฎจัดการไม่ให้เกิดความวุ่นวายในสวนสาธารณะ และปัญหาขยะที่มาจากเหล่าเทรนเนอร์
เมือง Milwaukee ในสหรัฐฯ ออกกฎให้ผู้สร้างเกมแนว augmented reality (ในกรณีนี้คือ Niantic แต่รวมถึงกรณีอื่นในอนาคต) ต้องได้รับอนุญาตก่อนจะนำพื้นที่ส่วนใดของสวนสาธารณะไปเป็นส่วนหนึ่งในเกม แม้กฎฉบับนี้ถูกวิจารณ์ว่ามาช้าไป แต่ก็อาจเป็นมาตรการป้องกันความวุ่นวายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตหากมีเกมแนวนี้เพิ่มขึ้นมา
Microsoft ได้ประกาศเป็นพาร์ทเนอร์กับบริษัท TomTom ผู้เชี่ยวชาญในการทำแผนที่และอุปกรณ์นำทาง เพื่อช่วยบริการ Azure ในการให้บริการแบบ location-based และการนำ Azure ไปให้ผู้ผลิตรถยนต์สหรัฐฯ ได้ใช้งานมากขึ้น โดยการร่วมมือกับ TomTom นี้จะช่วยให้ Microsoft อัพเดตข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ได้เร็วขึ้น รวมถึงปรับปรุงเทคโนโลยี High Definition Map และ RoadDNA ให้ดีขึ้นด้วย
นอกจาก TomTom แล้ว Microsoft จะขยายความร่วมมือกับ HERE โดยปัจจุบัน HERE ก็ให้ข้อมูลกับบริการของ Microsoft หลายอย่างอยู่แล้ว เช่น Bing, Cortana, Windows และ Office ซึ่งการขยายความร่วมมือครั้งนี้ก็จะเป็นการให้ Microsoft ใช้งานข้อมูลและบริการ HERE ในบริการอื่น เช่น บนรถยนต์ได้ด้วย
แอพ Trusted Contacts จาก Google เป็นแอพที่ช่วยแชร์สถานะและตำแหน่งของคุณให้กับกลุ่มผู้ใช้ที่คุณไว้ใจได้ เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินหรือสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัย
หลักการทำงานของแอพคือ แอพจะรายงานสถานะต่างๆ เช่น ตำแหน่งของคุณหรือความเคลื่อนไหวล่าสุดให้กลุ่มรายชื่อที่ไว้ใจได้ (trusted) เท่านั้น นอกจากนี้สามารถร้องขอดูตำแหน่งของคนอื่นในกลุ่มนี้ ใช้ในกรณีที่คิดว่าอีกฝ่ายกำลังอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัย โดยเลือกจะบอกตำแหน่งหรือปฏิเสธก็ได้ แต่หากไม่ตอบรับคำร้องขอในระยะเวลาที่กำหนด แอพจะแชร์ตำแหน่งของอีกฝ่ายให้อัตโนมัติ
ผู้ใช้ Instagram อาจสังเกตว่าในหน้า Profile ของผู้ใช้งานคนอื่นเวลาเราเข้าไปดู จะไม่มีปุ่มเรียก Photo Maps ซึ่งแสดงภาพตามตำแหน่งพิกัดที่ระบุไว้ โดยทาง Instagram ได้ยืนยันกับ Mashable ว่าได้เริ่มทยอยถอนคุณสมบัติกล่าวออกไปแล้ว เนื่องจากคุณสมบัตินี้ไม่เป็นที่นิยม
ในส่วนของ Photo Maps ของตนเอง ผู้ใช้งานยังสามารถเรียกดูแผนที่ได้เหมือนเดิม แต่ก็ไม่แน่ว่าคุณสมบัตินี้อาจถูกถอนออกตามไปในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้งานยังคงสามารถเลือกตามข้อมูลในพิกัดของแต่ละรูปได้ เพื่อดูว่ามีภาพใดบ้างที่ถูกอัพโหลดในสถานที่เดียวกัน
ที่มา: Mashable ภาพจาก Instagram Blog
Foursquare เปิดตัวแอพใหม่ Marsbot ซึ่งเป็นการนำระบบบ็อตมาใช้ร่วมกับฐานข้อมูลของ Foursquare โดยมีเป้าหมายเพื่อแนะนำร้านอาหารกิน-ดื่ม ก่อนที่ผู้ใช้งานจะร้องขอข้อมูล
รูปแบบของ Marsbot จะแตกต่างไปจาก Foursquare แอพหลักที่แนะนำร้านอาหารเหมือนกัน โดย Marsbot ใช้วิธีการส่งคำแนะนำร้านอาหาร ร้านดื่ม ผ่านข้อความ (text) โดยผู้ใช้ต้องช่วยตอบคำถามเพื่อให้เข้าใจรสนิยมความต้องการก่อนในเบื้องต้น
Foursquare ระบุว่า Marsbot ยังอยู่ในขั้นตอนการทดสอบเบื้องต้นเท่านั้น มีแอพเฉพาะบน iPhone โดยต้องลงทะเบียนแบบรอคิว waitlist รวมถึงรองรับเฉพาะเมืองนิวยอร์ก และซานฟรานซิสโก
ถ้าใครติดตามข่าวต่างประเทศ อาจเคยเห็นข่าวเชนร้านอาหารเม็กซิกัน Chipotle ในสหรัฐอเมริกาพบแบคทีเรีย E.coli ซึ่งส่งผลสะเทือนต่อยอดขายของ Chipotle ในสหรัฐ
เนื่องจาก Chipotle เป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ คำถามที่นักการเงิน-นักลงทุนสงสัยคือ Chipotle ได้รับผลกระทบมากแค่ไหน คำตอบอาจอยู่ที่ Foursquare ซึ่งมีสถิติจริงของลูกค้า Chipotle จากการเช็คอินผ่านโทรศัพท์มือถือ
Foursquare ออกมาประเมินยอดขายของ Chipotle ประจำไตรมาสแรกของปี 2016 ว่าน่าจะลดลงไปราว 30% จากปีก่อน โดยทั่วไปแล้ว ยอดขายของร้านอาหารช่วงปลายปีจะลดลงอยู่แล้ว แต่กรณีของ Chipotle ที่พบแบคทีเรียเมื่อเดือนตุลาคม 2015 เห็นชัดเจนว่าคนเข้าร้านลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนมาก และยอดขายกลับมากระเตื้องขึ้นบ้างเมื่อ Chipotle ออกโปรโมชั่นแจกอาหารฟรี หลังปิดร้านทุกสาขาพร้อมกัน 4 ชั่วโมงเพื่อประชุมพนักงาน (ดูกราฟประกอบ)
หลังจากโนเกียเสร็จสิ้นกระบวนการขาย HERE ให้กลุ่มบริษัทรถเยอรมัน ทาง HERE ก็ออกมาประกาศแนวทางของบริษัทในยุคใหม่ มีประเด็นสำคัญดังนี้
แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งเพลงอย่าง Spotify (ขณะนี้ยังใช้งานในประเทศไทยอย่างถูกต้องไม่ได้) เพิ่มฟังก์ชั่น Concerts เข้ามาในแอพ เพื่อคอยบอกผู้ใช้ว่าศิลปินที่ผู้ใช้ฟังอยู่ กำลังจะมาแสดงคอนเสิร์ตในละแวกผู้ใช้ ซึ่งเปิดดูข้อมูลนี้ได้จากเมนู Browse ได้ทันที และถ้ากำลังเดินทาง ก็สามารถเปลี่ยนพื้นที่การค้นหาได้ ซึ่งข้อมูลคอนเสิร์ตจะดึงจาก Songkick ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มรวบรวมข้อมูลคอนเสิร์ตศิลปินรายหนึ่ง
Spotify จะเรียนรู้พฤติกรรมผู้ใช้ว่านิยมฟังเพลงแนวใด ศิลปินไหน ต่อยอดจาก Discover Weekly ซึ่งเป็นฟังก์ชั่นแนะนำเพลงตามจริตที่เปิดตัวไปก่อนหน้า
กูเกิลประกาศฟีเจอร์ใหม่ของ Google Maps for Android ให้ผู้ใช้สามารถเพิ่มสถานที่ระหว่างการนำทาง (navigation) โดยไม่ต้องกดยกเลิกการนำทางเดิม ช่วยให้เราแวะไปเยือนสถานที่ต่างๆ นอกเส้นทางหลัก (detour) ได้ง่ายขึ้น
วิธีการใช้งานคือระหว่างการนำทาง จะมีปุ่มค้นหาเพิ่มเข้ามาที่มุมขวาบน กดแล้วจะเห็นรายชื่อสถานที่ที่มักแวะบ่อยๆ เช่น ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ปั๊มน้ำมัน ร้านขายของชำ ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง หรือจะค้นหาสถานที่ด้วยตัวเองก็ได้
นอกจากนี้ กูเกิลยังเพิ่มฟีเจอร์บอกราคาน้ำมันของปั๊มแต่ละแห่ง (ในสหรัฐ ปั๊มแต่ละแห่งตั้งราคาน้ำมันไม่เท่ากันได้) เพื่อให้ผู้ใช้เทียบราคา และเลือกแวะปั๊มที่ให้ราคาถูกที่สุดได้ด้วย
เพื่อสนับสนุนให้สามารถใช้งาน Google Maps ได้อย่างกว้างขวางขึ้น กูเกิลเคยสัญญาไว้ว่าจะพัฒนาชุดรหัสสำหรับระบุตำแหน่ง ที่สามารถใช้แทนการบอกที่อยู่แบบเดิมไปได้เลย
ชุดรหัสที่ว่านี้ถูกเรียกว่า Plus+Codes จากโครงการ Open Location Codes ที่ออกแบบมาแทนที่บ้านเลขที่แบบเดิม กลายเป็นชุดตัวอักษร และตัวเลขความยาวไม่เกิน 11 หลัก (ยิ่งเจาะจงพิกัดน้อย จะยิ่งสั้นลง) ซึ่งตัวเลขเหล่านี้คำนวณมาจากละติจูด และลองจิจูดของพื้นที่ดังกล่าว
ผ่านมาแล้วปีกว่าหลัง Foursquare แยกแอพ Swarm เป็นแอพสำหรับเช็คอินอีกตัว ถึงแม้ผู้ใช้รุ่นเก่าๆ อาจไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงนี้ แต่ซีอีโอ Dennis Crowley ยืนยันว่าการแยกแอพเป็นสิ่งถูกต้องแล้ว
Dennis Crowley ให้สัมภาษณ์กับ VentureBeat ว่าผลประกอบการไตรมาสนี้ออกมาดี ถ้าย้อนไปเมื่อปีก่อน ไม่มีใครแน่ใจว่าการแยกแอพเป็นสิ่งที่ควรทำหรือไม่ แต่มาถึงตอนนี้ตัวเลขต่างๆ บ่งชี้ว่ามันเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง การแยกแอพต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่งให้คนเรียนรู้ถึงความเปลี่ยนแปลง ตอนนี้หมดช่วงนั้นแล้ว ทีมงานของ Foursquare ทั้งสองแอพมีอิสระในการทดลองฟีเจอร์ใหม่ๆ กันมากขึ้น สื่อสารไปยังลูกค้าได้ตรงกลุ่มมากขึ้น
Google Maps เพิ่มฟีเจอร์ใหม่สุดสะพรึงสำหรับท่านชาย ฟีเจอร์ Your Timeline จะแสดงประวัติการเดินทางทั้งหมดของเราบน Google Maps ย้อนได้ละเอียดระดับวันและเวลาว่าอยู่ที่ไหนอย่างไร
ประโยชน์ของฟีเจอร์นี้คือเป็นการบันทึกการเดินทางของเราทั้งหมด เอาไว้ย้อนดูอดีตได้ หรือเอาไว้ประเมินเวลาการเดินทางในชีวิตประจำวันของเราได้ แต่เท่านั้นยังไม่พอ ถ้าเราใช้ Google Photos แล้วถ่ายภาพแบบเปิด location ด้วย ภาพจะปรากฏขึ้นมาใน Timeline ของเราด้วยเช่นกัน (กูเกิลบอกว่าช่วยให้เราจดจำช่วงเวลานั้นๆ ได้ดียิ่งขึ้น)
เพื่อมาต่อกรกับแอปเปิลที่เปิดตัว iBeacon เทคโนโลยีสำหรับบอกตำแหน่งและส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์ตัวจิ๋วที่ใช้ Bluetooth โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องทำอะไรเลย เพียงเปิดให้อุปกรณ์สามารถรับข้อมูลได้ก็พอ กูเกิลจึงเริ่มขยับมาเล่นในตลาด beacon นี้บ้างแล้ว
โดยแพลตฟอร์ม beacon ที่กูเกิลเพิ่งเปิดตัวมานี้ใช้ชื่อว่า EddyStone ล้อมาจากชื่อของประภาคาร Eddystone ในอังกฤษ ฟีเจอร์ของ beacon ติดป้ายกูเกิลตัวนี้ทำได้ในระดับพื้นฐานอย่างการรับข้อมูลจาก beacon ในระยะสัญญาณ ระบุตำแหน่ง ซึ่งนำไปประยุกต์ใช้ในฝั่งธุรกิจอย่างการส่งโปรโมชันให้ลูกค้าที่เดินเข้ามาในร้าน แสดงข้อมูลตามบูธในพิพิธภัณฑ์ เป็นต้น
พร้อมกับการมาของ Swarm เมื่อปลายปีก่อน Foursquare ได้ยกเลิกระบบเจ้าถิ่น (Mayorship) ไปด้วย ผ่านมาครึ่งปีกว่าๆ ตอนนี้ Foursquare นำฟีเจอร์นี้เอากลับมาใส่ใน Swarm แล้วครับ
ในอัพเดตใหม่ของ Swarm ผู้ใช้สามารถแข่งขันกับคนอื่นเพื่อแย่งตำแหน่งเจ้าถิ่นได้เหมือนครั้งก่อนแล้ว โดยกฎของครั้งนี้คือเช็คอินมากที่สุดในรอบ 30 วัน นับวันละ 1 ครั้ง โดยเจ้าถิ่นจะได้แบดจ์มงกุฎเป็นของรางวัลอีกด้วย
สำหรับใครที่ชอบฟีเจอร์นี้ อัพเดตกันได้แล้วทั้ง iOS และ Android ครับ