เมื่อปลายปี 2019 กูเกิลประกาศเข้าซื้อกิจการ Fitbit ผู้ผลิตสมาร์ทวอทช์และสายรัดข้อมือชื่อดัง และเข้าซื้อกิจการเสร็จสิ้นเมื่อต้นปี 2021 จากนั้นก็เริ่มนำเทคโนโลยีของ Fitbit เข้ามารวมกับ WearOS และออกมาเป็น Pixel Watch
อย่างไรก็ตาม มีผู้พบว่ากูเกิลได้ปล่อยเอกสารประกาศเลิกทำตลาด Fitbit ในหลายทวีปทั่วโลก ทั้งในยุโรป, อเมริกา และเอเชีย ดังนี้
Fitbit เปิดตัวสมาร์ทวอทช์และสมาร์ทแบนด์รุ่นใหม่ 3 รุ่น ได้แก่ Inspire 3, Versa 4 และ Sense 2 ซึ่งเป็นรุ่นอัพเกรดจากรุ่นก่อนหน้าที่ทั้งหมดเปิดตัวเมื่อปี 2020
โดยสมาร์ทวอทช์ Sense 2 ชูจุดขายด้านการตรวจจับข้อมูลสุขภาพ แบตเตอรี่อยู่ได้นาน 6 วัน รองรับการตรวจจับคลื่นหัวใจผิดปกติ ECG และอัลกอริทึม PPG, อัตราการเต้นหัวใจ, อุณหภูมิที่ผิวหนัง และฟีเจอร์ EDA ตรวจวัดระดับความเครียดจากการตอบสนองของร่างกาย ราคาขาย 299.95 ดอลลาร์
OnePlus เข้าวงการนาฬิกาฟิตเนสและเปิดตัวเป็นคู่แข่ง Xiaomi ด้วยการเปิดตัว OnePlus Band ในอินเดีย ราคา 34 ดอลลาร์ หรือราว 1,024 บาท สามารถนับจำนวนก้าวและแคลอรี่ที่เผาผลาญ รวมถึงตรวจสอบอัตราการเต้นของหัวใจ ติดตามการนอนหลับและวัดระดับออกซิเจนในเลือด รองรับโหมดการออกกำลังกาย 13 โหมด ได้แก่ วิ่งกลางแจ้ง วิ่งในร่ม Fat Burn Run ขี่จักรยาน พายเรือ ว่ายน้ำ โยคะและคริกเก็ต
บัญชี Twitter ของ OnePlus ประเทศอินเดียปล่อยภาพทีเซอร์ที่คาดว่าจะเป็นสายรัดข้อมือฟิตเนสชิ้นแรกของ OnePlus โดยใช้คำโปรยว่า ปีนี้เราจะช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายฟิตเนสทุกเป้า และทำให้ชีวิตง่ายยิ่งขึ้น พร้อมติดแท็ก #SmartEverywear
สำหรับสายรัดข้อมือของ OnePlus นี้มีข่าวลือมาสักระยะแล้ว โดย Android Central เคยรายงานว่าจะใช้ชื่อ OnePlus Band และ @ ishanagarwal24 ได้รายงานข้อมูลคร่าว ๆ ว่าสายรัดข้อมือฟิตเนสใหม่จาก OnePlus นี้จะมีตัววัดอัตราการเต้นของหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมระบบมอนิเตอร์ระดับออกซิเจนในเลือด, ระบบติดตามการนอนหลับ, หน้าจอ AMOLED ระบบสัมผัสขนาด 1.1 นิ้ว, แบตเตอรี่อยู่ได้ 14 วัน, กันสภาพอากาศตามมาตรฐาน IP68 และมีโหมดในการออกกำลังกายถึง 13 โหมด
Fitbit เปิดตัวสายรัดข้อมือ Charge 4 โดยมาพร้อมกับฟีเจอร์ใหม่หลายอย่าง แต่จะยังคงลักษณะเหมือนกับ Charge 3
ฟีเจอร์ที่น่าสนใจของ Fitbit Charge 4 ได้แก่ GPS ในตัว, ระบบควบคุมเพลง Spotify รวมถึงฟีเจอร์อื่น ๆ ที่พบได้ในสมาร์ทวอชของ Fitbit เช่น Fitbit Pay, การแจ้งเตือนจากแอป, smart wake และเซนเซอร์ SpO2
ฟีเจอร์ที่เด่นที่สุดในรอบนี้คือ GPS เพราะผู้ใช้ FItbit Charge 4 ไม่ต้องนำโทรศัพท์มือถือไปใช้งานขณะออกกำลังกาย โดยข้อมูลการออกกำลังกายจะถูกบันทึกลงแอป และนำมาเปรียบเทียบกับผลการออกกำลังกายในครั้งต่อ ๆ ไป
HONOR เปิดตัว HONOR Band 5 สมาร์ทแบนด์เพื่อตรวจจับค่าต่าง ๆ ระหว่างออกกำลังกายรวมทั้งช่วยแจ้งเตือนสายเรียกเข้าและข้อความต่าง ๆ ได้อีกด้วย โดยรุ่นใหม่ล่าสุดนี้จะวางจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคมนี้เป็นต้นไปผ่านทางเว็บไซต์ Lazada
ด้านสเปคของ HONOR Band 5 นั้นจะมีสเปคดังนี้:
ช่วงที่ผ่านมาตลาด Smart Band หรือ Fitness Tracker กลับมาคึกคักอีกครั้ง เมื่อ Xiaomi เปิดตัว Mi Band 4 ด้วยคุณสมบัติที่จัดเต็มใกล้เคียงกับคู่แข่งที่ราคาหลายพัน แต่มาในราคาแค่ 1,290 บาทเท่านั้น หรือหากสั่งซื้อจากบนเว็บก็พอมีราคาต่ำพันขายด้วยซ้ำ
รีวิวนี้จะพาไปดูความสามารถของ Mi Band 4 ว่ามันคุ้มสมชื่อมันจริงหรือไม่
Disclaimer: บทความนี้ไม่ได้รับการสนับสนุนใดๆ จาก Xiaomi ผู้เขียนซื้อมาใช้เอง
Xiaomi เปิดราคา Mi Band 4 ฟิตเนทแทรคเกอร์ในประเทศไทย ด้วยสเปคหน้าจอ AMOLED, กันน้ำ 5 ATM, วัดอัตราการเต้นของหัวใจ รองรับการควบคุมเพลง แบตเตอรี่อยู่ได้สูงสุด 20 วัน ตัวจับการเคลื่อนไหวเป็น accelerometer 3 แกนและ gyroscope 3 แกน
ส่วนราคาเปิดมาที่ 1,290 บาท ราคาเดียวกับ Galaxy Fit e ของคู่แข่ง
ต้นเดือนที่ผ่านมา ซัมซุงเพิ่งเปิดตัวสายรัดข้อมือด้านสุขภาพ (Fitness Tracker) 2 รุ่นใหม่ในไทยอย่าง Galaxy Fit และ Galaxy Fit e โดยภาพรวมความสามารถของ 2 ตัวนี้คล้ายๆ กัน มีความแตกต่างกันบ้างเพราะถูกวางตัวทางการตลาดเอาไว้กันคนละตำแหน่ง โดย Galaxy Fit e เป็นรุ่นราคาถูก ฟีเจอร์จำกัดกว่า
บทความนี้จึงจะรีวิวในเชิงเปรียบเทียบระหว่างสายรัดข้อมือสุขภาพทั้ง 2 รุ่น
Fitbit เปิดตัวสายรัดข้อมือใหม่ในชื่อว่า Inspire และ Inspire HR โดยเป็นสายรัดข้อมือเวอร์ชันธรรมดา เพื่อจับตลาดกลุ่มองค์กรที่มีปริมาณการซื้อจำนวนมากเป็นหลัก
ตัวสายรัดข้อมือนี้ สามารถติดตามการนอนหลับ, กิจกรรม, การเผาผลาญแคลอรี, แจ้งเตือนโทรศัพท์/ข้อความ/ปฏิทิน, กันน้ำ, แบตเตอรี่อยู่ได้ 5 วัน และอื่น ๆ ส่วน Inspire HR จะมีฟีเจอร์เพิ่มเติม เช่น วัดอัตราการเต้นหัวใจ, การนอนหลับ, ติดตามการฟิตเนสแบบ cardio, คำนวณ pace และระยะทางด้วย GPS บนมือถือ
IDC ได้ออกรายงานวิจัยตลาดอุปกรณ์สวมใส่ประจำไตรมาสสามของปีนี้ โดยในไตรมาสนี้ตลาดภาพรวมเติบโต 21.7% มีอันดับหนึ่งคือ Xiaomi เติบโตสูงถึง 90.9% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และทำให้ Xiaomi เป็นผู้ผลิตที่ครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุดในแง่จำนวนการส่งมอบสินค้า ตามมาด้วยอันดับสองคือ Apple และอันดับสามคือ Fitbit
การเติบโตของ Xiaomi ในไตรมาสนี้มาจากสองปัจจัยคือสายรัดข้อมือ Mi Band 3 และนโยบายการเริ่มรุกตลาดนอกจีนของบริษัท ซึ่งจากข้อมูลระบุว่ายอดส่งสินค้าในจีนเมื่อเทียบกับทั่วโลกของ Xiaomi นั้นอยู่ที่ 61% ลดลงจากเดิมที่จะอยู่ราว 80% ซึ่งทำให้ไตรมาสนี้ Xiaomi ครองอันดับหนึ่งของตลาดด้วยยอดส่งมอบสินค้า 6.9 ล้านยูนิต คิดเป็นส่วนแบ่ง 21.5%
Withings แบรนด์ผลิตภัณฑ์สุขภาพเปิดตัว Pulse HR สายรัดข้อมือฟิตเนสรุ่นใหม่ที่อัพเดตจาก Pulse รุ่นแรกซึ่งออกมาตั้งแต่ 5 ปีที่แล้ว โดยมาพร้อมแบตเตอรี่ที่อยู่ได้นานสุดถึง 20 วัน, กันน้ำในตัว และเพิ่มเซนเซอร์ต่าง ๆ เข้ามา
ตัวสายรัดของ Pulse HR นั้นเป็นซิลิโคน ส่วนหน้าจอเป็น OLED ที่สามารถแสดงข้อมูลการออกกำลังกายแบบเรียลไทม์ อย่างเช่น แคลอรี่ที่เผาผลาญไปแล้ว, เป้าหมายของกิจกรรม ไปจนถึงการแจ้งเตือนจากสมาร์ทโฟน ซึ่งตัว Pulse HR สามารถติดตามการนอนหลับได้ และปลุกผู้ใช้เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมโดยใช้การสั่นได้ด้วย
ระบบปฏิบัติการของ Pulse HR นั้นเป็น OS2 แบบเดียวกับ Steel และ Steel HR ในตัวเครื่องมี GPS สำหรับติดตามตำแหน่ง และยังมีเซนเซอร์วัดอัตราการเต้นของหัวใจด้วย
Garmin เปิดตัวสายรัดข้อมือติดตามกิจกรรมหรือ activity tracker รุ่นใหม่ vívosmart 4 โดยในรุ่นนี้ Garmin ใส่เซนเซอร์ pulse ox2 oximeter สำหรับวัดค่าออกซิเจนในเลือดมาด้วย
ฟีเจอร์ที่น่าสนใจของ vívosmart 4 คือระบบตรวจวัดการนอนหลับแบบใหม่ โดยสามารถตรวจวัดสถานะการนอนได้สามสถานะคือ light, deep และ REM รวมถึงการเคลื่อนไหวตลอดทั้งคืน และจะสรุปข้อมูลต่าง ๆ ให้ในแอพ Garmin Connect
ฟีเจอร์ถัดไปคือ Boddy Battery เป็นระบบตรวจวัดระดับพลังงานในร่างกาย โดยข้อมูลนี้สามารถนำมาใช้เพื่อการกำหนดเวลาออกกำลังกาย, เวลาพักผ่อน และเวลานอนได้ รวมถึงจะมีสรุปด้วยว่ากิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำไปไม่กี่วันก่อนมีผลอย่างไรบ้าง
Fitbit เปิดตัวสายรัดข้อมือฟิตเนสใหม่ Charge 3 อย่างเป็นทางการ สามารถใช้งานได้นานถึง 7 วันต่อการชาร์จ 1 ครั้ง รวมถึงมีการปรับปรุงในด้านอื่นทั้งตัวเครื่องและซอฟต์แวร์หลายประการ
Fitbit ได้ออกแบบ Charge 3 ใหม่ให้ตัวเครื่องบางลง ใช้อะลูมิเนียมเกรดยานอวกาศและหน้าจอ Gorilla Glass 3 จึงทำให้ตัวเครื่องแข็งแกร่งขึ้น ส่วนหน้าจอเป็น OLED แบบสัมผัสที่ขนาดใหญ่และสว่างกว่าเดิม และตัวเครื่องยังกันน้ำระดับที่สามารถใส่ว่ายน้ำได้ กันน้ำระดับ 50 เมตร
ส่วนฟีเจอร์ใหม่และการปรับปรุงส่วนอื่น เช่น
ไม่เพียงแค่การเปิดตัว Xiaomi Mi 8 แต่ยังสานต่อตำนาน fitness tracker ราคาประหยัด กับการเปิดตัว Mi Band 3
สเปก Mi Band 3 มีดังนี้
Fitbit เปิดตัวสายรัดข้อมือฟิตเนสรุ่นใหม่ในชื่อว่า Fitbit Ace เน้นจับตลาดกลุ่มเด็กอายุ 8 ปีขึ้นไป โดยเด็กอายุ 12 ปีหรือต่ำกว่าจะไม่สามารถสร้างบัญชีเองได้ ต้องมีผู้ปกครองคอยควบคุมบัญชี
สำหรับ Fitbit Ace นี้จะออกแบบมาเพื่อเน้นการส่งเสริมให้เด็กทำกิจวัตรต่าง ๆ ทางกายภาพตั้งแต่อายุยังน้อย ผู้ปกครองสามารถใช้แอพ Fitbit เพื่อติดตามดูข้อมูลบุตรของตัวเองทั้งระดับกิจกรรมและการนอนหลับ โดยบัญชีที่ผูกกับ Fitbit Ace จะถูกจำกัดไม่ให้ใช้ฟีเจอร์ด้านโซเชียลอย่างเช่นการแชร์รูปภาพหรือแชร์สถิติการออกกำลังกายเหมือนกับบัญชีปกติของ Fitbit
Garmin เปิดตัว vívofit 4 สายรัดข้อมือที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือสำหรับติดตามกิจกรรมหรือ activity tracker โดยออกแบบมาสำหรับการใช้งานแบบตลอดเวลา และ หน้าจอสีแบบเปิดใช้งานตลอด (always-on) แบตเตอรี่อยู่ได้ประมาณ 1 ปีขึ้นไป
vívofit 4 รองรับการติดตามก้าวเดินตั้งแต่แกะกล่อง หรือสามารถเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนเพื่อใช้ฟังก์ชันอื่น ๆ เพิ่มเติม อย่างเช่นติดตามการนอนหลับ, วิเคราะห์จำนวนก้าวต่อนาที และฟีเจอร์ตัวจับกิจกรรมอัตโนมัติ Move IQ สำหรับการติดตามกิจกรรมอย่างเช่นการเดิน, วิ่ง, ปั่นจักรยาน, ว่ายน้ำ
Adidas เตรียมถอนตัวจากการพัฒนาอุปกรณ์สวมใส่ฟิตเนสเอง โดยจากรายงานของ Portland Business Journal เผยว่าตอนนี้ทางบริษัทได้ปิดแผนกฮาร์ดแวร์ภายในแล้ว โดยจะเปลี่ยนไปเน้นที่ซอฟต์แวร์อย่างแอพ Adidas หรือ Runtastic รวมถึงการเป็นพาร์ทเนอร์กับบริษัทอื่นเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกันอย่างเช่น Fitbit Ionic Adidas ที่คาดว่าจะเปิดตัวในปี 2018
TomTom ประกาศปลดพนักงาน 136 คนเพื่อเป็นการปรับโครงสร้างของบริษัทไปเน้นงานในด้านแผนที่และการนำทางมากยิ่งขึ้น โดยจะมีพนักงานจำนวน 57 คนที่ถูกปลดจากสำนักงาน TomTom ในเนเธอร์แลนด์ ส่วนที่เหลือจะเป็นสำนักงานในสหรัฐฯ และไต้หวัน ซึ่งปัจจุบัน TomTom มีพนักงานทั้งหมด 4,700 คนทั่วโลก การปลดพนักงานครั้งนี้จึงคิดเป็นเพียงไม่ถึง 3% ของพนักงานทั้งหมดของ TomTom เท่านั้น
Strava แอพติดตามการออกกำลังกายยอดนิยม โดยเฉพาะในกลุ่มนักปั่นจักรยาน ประกาศเพิ่มรายการเสริมสำหรับผู้ซื้อแพ็คเกจ Premium นั่นคือประกันภัยอุปกรณ์หากได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นขณะปั่นจักรยาน
ประกันภัยดังกล่าวเป็นของ Sunday’s Insurance รองรับเฉพาะผู้ใช้ในอเมริกา, อังกฤษ และออสเตรเลีย โดยสามารถเบิกค่าเสียหายได้สูงสุด 600 ดอลลาร์ หากเกิดอุบัติเหตุจนทำให้อุปกรณ์เสียหาย ขณะใช้งาน Strava นอกจากนี้ยังสามารถเบิกค่าเดินทางด้วยรถแท็กซี่ กรณีจักรยานเสียหายจนไม่สามารถเดินทางต่อได้ ไปจนถึงประกันค่าเสียโอกาส หากป่วยหรือได้รับอุบัติเหตุจนไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันที่จ่ายเงินไปแล้ว
Strava Premium มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 60 ดอลลาร์ต่อปี
เป็นประเด็นกันมานานมาก ถึงความน่าเชื่อถือของอุปกรณ์สวมใส่ประเภท Fitness Tracker ในแง่ของความถูกต้องของข้อมูลด้านสุขภาพที่ตรวจจับและแสดงผลออกมา ซึ่งงานวิจัยล่าสุดจากนักวิจัย Stanford ก็ชี้ไปในทิศทางลบว่า ตัวเลขแคลอรี่ที่ Fitness Tracker แสดงนั้นไม่มีความแม่นยำเลย
งานวิจัยชิ้นนี้ถูกจัดทำขึ้นโดยศาสตราจารย์ด้านเวชศาสตร์เกี่ยวกับระบบไหลเวียน (Cardiovascular Medicine) จากมหาวิทยาลัย Stanford ซึ่งเก็บข้อมูลจาก Apple Watch, Basis Peak, Fitbit Surge, Microsoft Band, Mio Alpha 2, PulseOn และ Samsung Gear S2 กับอาสาสมัคร 60 คน
eMarketer บริษัทวิจัยตลาดเปิดเผยรายงานที่ชี้ว่า ยอดขายอุปกรณ์สวมใส่ในสหรัฐ ไม่เติบโตแบบปีต่อปี (YoY Growth) ตามที่เคยคาดไว้เมื่อปีที่แล้วว่าจะสูงถึง 60% ก่อนที่จะปรับตัวเลขลดลงเหลือเพียง 24.7% ขณะที่ปีหน้ายอดเติบโตจะเหลือเพียง 12.6% ตามด้วย 9.9%, 7% และ 5.1% ในปี 2018, 2019 และ 2020 ตามลำดับ
Nicole Perrin นักวิเคราะห์ของ eMarketer ระบุว่า ก่อนหน้า Apple Watch จะเปิดตัว ผลสำรวจผู้บริโภคชี้ว่าอุปกรณ์สวมใส่ด้านสุขภาพครองตลาดนี้ โดยสาเหตุสำคัญก็คือฟีเจอร์ด้านการตรวจจับสุขภาพและการออกกำลังกาย ขณะที่สมาร์ทวอทช์อย่าง Apple Watch นั้นทั้งราคาสูง แถมยังไม่มีจุดเด่นในการใช้งานเป็นของตัวเอง ถึงแม้จะมีฟีเจอร์ที่เหมือนกับอุปกรณ์ด้านสุขภาพ แต่ก็ทับซ้อนกับฟีเจอร์บนสมาร์ทโฟน
IDC เปิดเผยรายงานยอดส่งมอบอุปกรณ์สวมใส่ประจำไตรมาส 3 ทั้งหมด 23 ล้านเครื่อง โตขึ้นจากปีที่แล้ว 3.1% โดยสัดส่วนกว่า 85% เป็นของ Fitness Tracker ที่เติบโตขึ้นเป็นตัวเลขถึง 2 หลัก
นักวิเคราะห์ของ IDC ให้เหตุผลที่ Fitness Tracker ครองตลาดว่ามาจากการออกรุ่นใหม่เรื่อยๆ ช่วยให้ขยายฐานผู้ใช้ ประกอบกับช่วงหน้าร้อนที่ผ่านมา มีคนออกกำลังกายกันมากขึ้น และที่สำคัญที่สุดคือความเรียบง่าย ที่บริษัทผู้ผลิต Fitness Tracker ส่วนใหญ่ออกผลิตภัณฑ์ที่เรียบง่ายและตอบโจทย์สุขภาพ ไม่เน้นแฟชันเหมือนอุปกรณ์สวมใส่อื่นๆ ที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและฟังก์ชันการใช้งานมาทีหลัง
ช่วงหลังมีงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์สวมใส่เพื่อสุขภาพมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ล้วนแล้วแต่ยังไม่พบว่าอุปกรณ์เหล่านี้ช่วยทำให้สุขภาพดีขึ้นจริงเสียเท่าไหร่ มาวันนี้มีงานวิจัยอีกชิ้นเผยให้เห็นว่า อุปกรณ์ยี่ห้อดังอย่าง Fitbit นั้นมีไว้ใช้เฉยๆ ก็ไม่ได้ช่วยให้สุขภาพดีขึ้น
อุปกรณ์สวมใส่เพื่อสุขภาพเป็นอุปกรณ์ที่มาแรงในช่วงหลังๆ จุดมุ่งหมายหลักๆ ของอุปกรณ์เหล่านี้คือนับปริมาณแคลอรี่ที่เผาผลาญไปในแต่ละวัน และเตือนผู้ใส่ว่าวันนี้เผาผลาญได้ตามเป้าหมายหรือไม่ จึงนิยมในผู้ที่พยายามที่จะลดความอ้วน แต่งานวิจัยชิ้นใหม่ชี้ให้เห็นว่าความคิดนี้อาจได้ผลไม่ดีอย่างที่เราเข้าใจกัน