Google ได้เปิดตัวและเผยแพร่ซอร์สโค้ดของมาตรฐานใหม่สำหรับอุปกรณ์จำพวก Internet of Things ที่เรียกว่า "Physical Web" สร้างโดยใช้มาตรฐาน Bluetooth 4.0 LE (แบบเดียวกับ iBeacon) แก่สาธารณะแล้วอย่างเป็นทางการในวันนี้
สำหรับเทคโนโลยี Physical Web ของ Google นั้น เกิดขึ้นด้วยเหตุผลว่า ปัจจุบันการติดต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ กับโทรศัพท์มือถือนั้น ยุ่งยากกว่าที่ควรจะเป็น เช่น ถ้าสมมติว่าจะต้องการสั่งเครื่องดื่มจากตู้กดน้ำอัตโนมัติ จะต้องโหลดแอพเฉพาะเข้าโทรศัพท์มือถือของตัวเอง ซึ่งในหลายสถานการณ์ก็เป็นการใช้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น
มีการรายงานจำนวนมากบน Apple Support และฟอรัมของเว็บไซต์ MacRumors ว่าผู้ใช้ iOS 8 และ iOS 8.0.2 บนเครื่องรุ่นเก่าหรือผู้ใช้ iPhone 6/iPhone 6 Plus เจอปัญหาในการเชื่อมต่อมือถือกับอุปกรณ์อื่นผ่านบลูทูธ (อาทิ ระบบเครื่องเสียงในรถยนต์ของบีเอ็มดับเบิลยู เมอร์เซเดส-เบนซ์ ฟอร์ด, หูฟัง, ลำโพง) ตั้งแต่ไม่สามารถจับคู่อุปกรณ์ได้ หรือการเชื่อมต่อถูกตัดเมื่อมีสายโทรเข้า เป็นต้น
เพื่อตอบรับกับยุคของ Internet of Things (IoT) ที่ทุกอุปกรณ์กำลังจะติดต่อกันเองได้ในขณะนี้ Broadcom ผู้ผลิตชิปบนอุปกรณ์พกพารายใหญ่ของโลกจึงเปิดตัว WICED (ย่อมาจาก Wireless Internet Connectivity for Embedded Devices) ชุดพัฒนาที่ออกแบบมาเพื่อใช้ทำตัวต้นแบบสำหรับอุปกรณ์ฝังตัวประเภท IoT ที่มาพร้อมกับชิปบลูทูธ และเซนเซอร์ห้าตัวที่พร้อมใช้งานได้ทันที
หากยังพอจำกันได้ เมื่อปีที่แล้วหลังจากที่โมโตโรลาได้เปิดตัว Moto X ไป Skip ได้ถูกเปิดตัวตามมาในฐานะอุปกรณ์เสริม NFC สำหรับช่วยให้ปลดล็อกเครื่อง Moto X ได้โดยไม่ต้องใส่รหัสตามมา แต่ว่าค่อนข้างล้มเหลวและถูกแจกเป็นของแถม Moto X เสียส่วนใหญ่ แต่ดูเหมือนโมโตโรลายังไม่ยอมแพ้ โดยขณะนี้กำลังพัฒนา Skip รุ่นต่อไปอยู่ ซึ่งได้เพิ่มความสามารถในการปลดล็อกและค้นหาผ่านการเชื่อมต่อ Bluetooth แทนที่ NFC เดิม
ฟีเจอร์เด่นฟีเจอร์หนึ่งและเป็นที่พูดถึงพอสมควรใน OS X Yosemite ที่เปิดตัวไปเมื่อสองสัปดาห์ก่อนคือฟีเจอร์ Handoff ที่ทำงานร่วมกันระหว่าง OS X และ iPhone/iPad ที่รัน iOS 8 ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถทำงานข้ามอุปกรณ์ได้อย่างต่อเนื่อง แต่ล่าสุดเว็บไซต์ MacIssue รายงานว่า ฟีเจอร์นี้สามารถใช้งานได้เฉพาะเครื่องแมคที่รองรับ Bluetooth 4.0 Low Energy เท่านั้น
iBeacon เป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาโดยบริษัทแอปเปิล โดยอาศัยคลื่นความถี่และเทคโนโลยีแบบดั้งเดิม ผสานกับแนวคิดในฝั่งของซอฟต์แวร์และการบอกพิกัดตำแหน่งในอาคาร ผลที่ได้คือเทคโนโลยีที่ใช้สำหรับการบอกตำแหน่งและส่งข้อมูลให้กับผู้ใช้ โดยที่ไม่ต้องทำอะไรทั้งสิ้น นอกจากเพียงแค่เปิดเครื่องและอนุญาตให้รับสัญญาณจากตัวอุปกรณ์เท่านั้น
บทความนี้จะเป็นการกล่าวถึงเทคโนโลยี iBeacon โดยคร่าว และรูปแบบการใช้งาน การประยุกต์ใช้งาน ตลอดจนถึงแนวโน้มและความเป็นไปได้ในอนาคต
อีกหนึ่งคุณสมบัติที่ได้ถูกเพิ่มเข้ามาใหม่บน iOS 7.1 ที่หลายๆ คนอาจจะยังไม่ทราบ เพราะว่ายังไม่มีโอกาสได้สัมผัส iBeacon ใกล้ตัว ก็คือคุณสมบัติที่ทำให้ iBeacon สามารถทำงานได้โดยไม่ต้องเปิดแอพขึ้นมาเลย โดยอุปกรณ์ iOS จะค้นหา iBeacon รอบตัวของผู้ใช้เองโดยอัตโนมัติ
iBeacon คือเทคโนโลยี Bluetooth LE ที่แอปเปิลเข็นออกมาสู้กับ NFC ที่สามารถทำให้อุปกรณ์ iOS หรือแม้กระทั่ง Android สามารถติดต่อและสื่อสารกับตัวปล่อยสัญญาณได้ โดยการทำงานของมัน สามารถใช้ในการนำทางภายในอาคารเหมือน GPS ในที่ร่มได้ อีกทั้งยังสามารถใช้ในการให้ข้อมูลสินค้าต่างๆ ตามชั้นวาง หรือแม้กระทั่งการชำระเงินด้วยอุปกรณ์ไร้สาย
กลุ่มมาตรฐานอุตสาหกรรม Bluetooth SIG ออกเอกสารมาตรฐานของ Bluetooth 4.1 ซึ่งถือเป็นการปรับปรุงครั้งแรกนับจาก Bluetooth 4.0 เมื่อปี 2010 โดยมีของใหม่ดังนี้
หลังจากมีข่าวลือว่าโนเกียจะอัพเดตเปิดการสนับสนุน Bluetooth 4.0 พร้อมคุณสมบัติ Low Energy (LE) ให้กับ Lumia หลากรุ่น และต่อมาบริษัทก็เปิดการสนับสนุนดังกล่าวให้กับ Lumia 520, 620, 625 และ 720 ผ่านอัพเดต Lumia Amber ล่าสุดโนเกียก็ยืนยันว่า Lumia ที่รัน Windows Phone 8 รุ่นที่เหลือจะรองรับ Bluetooth 4.0 LE ผ่านอัพเดต Lumia Black
ที่มา: โนเกีย
นักวิจัยด้านความปลอดภัยจากบริษัท Trustwave เตือนว่าส้วมอัตโนมัติรุ่น Satis จากบริษัท Inax (ผู้ผลิตเครื่องสุขภัณฑ์รายใหญ่ของญี่ปุ่น) อาจโดนโจมตีจากคนอื่นผ่านแอพชื่อ My Satis ได้ เนื่องจากส้วมตัวนี้สามารถเชื่อมต่อกับแอพดังกล่าวผ่านบลูทูธแล้วสั่งให้กดน้ำ, ฉีดน้ำล้างเวลาถ่ายเบาหรือหนัก, เป่าลมอุ่นหรือแม้กระทั่งดูบันทึกการถ่ายอุจจาระได้
ทาง Trustwave ได้เตือน Inax ถึงสามครั้งแล้วตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ถึงตอนนี้ก็เป็นเวลาที่จะเผยแพร่ให้สาธารณชนได้รับรู้กัน
แหล่งข่าวเผยกับเว็บไซต์ The Verge ว่าโนเกียจะปล่อยอัพเดตเพื่อเปิดการสนับสนุน Bluetooth 4.0 พร้อมคุณสมบัติ Low Energy (LE) ให้กับ Lumia ที่รันบน Windows Phone 8 อย่าง Lumia 820 และ 920 ซึ่งจะทำให้มือถือรองรับการทำงานกับอุปกรณ์เสริมใหม่ๆ อย่าง Fitbit (เข้าใจว่าเป็นอุปกรณ์ตรวจจับกิจกรรมในชีวิตประจำวัน) ที่โนเกียจะปล่อยเป็นอุปกรณ์เสริมในเร็วๆ นี้ แหล่งข่าวยังระบุว่า Lumia เกือบทุกรุ่นมากับชิปที่รองรับ Bluetooth 4.0 อยู่แล้ว การอัพเดตนี้จึงเป็นเพียงการเปิดใช้สิ่งที่มีเท่านั้น
ไมโครซอฟท์เผยแผนการด้านฮาร์ดแวร์ที่งาน Worldwide Partner Conference (WPC) เมื่อสัปดาห์ก่อน โดยระบุว่าสินค้าที่ต้องการแปะตรา Windows Certified จะต้องเพิ่มข้อกำหนดฮาร์ดแวร์ดังนี้
กูเกิลยังไม่เผยข้อมูลใดๆ ของ Android รุ่นใหม่แต่กลับเป็น Bluetooth SIG ผู้ดูแลมาตรฐาน Bluetooth ที่ออกมาพูดเรื่องนี้อย่างเป็นทางการแทน
Bluetooth SIG ระบุว่า "Android รุ่นใหม่ที่จะออกในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า" จะรองรับมาตรฐาน Bluetooth Smart (หรือ Bluetooth รุ่นประหยัดพลังงาน) ในตัว ช่วยให้ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ที่ใช้ชิป Bluetooth รุ่นใหม่ๆ สามารถใช้งาน Bluetooth Smart ได้ทันที
ระบบปฏิบัติการที่รองรับ Bluetooth Smart มาก่อนหน้านี้ได้แก่ iOS, OS X, Windows 8 และ BlackBerry 10 ครับ (Windows Phone ยังไม่มี)
ที่มา - Bluetooth Blog
BlueBulb หลอดไฟ LED ที่ผู้ใช้สามารถควบคุมการทำงานได้จากอุปกรณ์พกพา โดยใช้สัญญาณบลูทูธ กำลังระดมทุนเพื่อเริ่มผลิตสินค้าออกจำหน่าย
BlueBulb เป็นหลอดไฟ LED สำหรับใช้งานภายในที่พักอาศัยซึ่งมีความพิเศษอยู่ว่า มันสามารถรับคำสั่งเพื่อควบคุมการทำงานได้จากอุปกรณ์พกพาอย่างสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต โดยผู้ใช้สามารถสั่งเปิด-ปิดหลอดไฟดังกล่าวได้, ปรับความสว่างโดยการหรี่แสงไฟได้เหมือนใช้ดิมเมอร์ และที่สำคัญสามารถสั่งปรับเปลี่ยนเฉดสีของแสงที่เปล่งจากหลอดไฟได้มากกว่า 1 ล้านเฉดสี
BlueBulb มีแอพสำหรับควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ โดยในขั้นต้นยังคงจำกัดเฉพาะอุปกรณ์พกพาในระบบ iOS ซึ่งได้แก่ iPhone 4S, iPhone 5, iPad 3, iPad4 และ iPad mini เท่านั้น
Vertus เป็นโครงการใหม่บน KickStarter ที่กำลังระดมทุน โดยมันมีลักษณะเป็นตัวรับสัญญาณบลูทูธ ที่สามารถใช้งานกับลำโพงแบบโมโน ให้เข้าชุดกันและทำงานให้ระบบเสียงแบบสเตอริโอได้ หรือหากนำไปต่อกับชุดหูฟังที่มีหัวต่อ 3.5 มิลลิเมตร ก็จะได้หูฟังแบบบลูทูธไว้ใช้งาน
การใช้งาน Vertus สามารถใช้กับลำโพงชนิดใดก็ได้ที่มีช่องต่อสัญญาณขนาด 3.5 มิลลิเมตร โดยอุปกรณ์ 1 ชุดจะประกอบไปด้วยตัวรับสัญญาณสำหรับลำโพงซ้ายและขวาอย่างละ 1 ตัว ทั้งนี้ภายในตัวรับสัญญาณมีแบตเตอรี่ที่ใช้งานได้ราว 10 ชั่วโมงต่อการชาร์จไฟแต่ละรอบ
Apple ขอจดสิทธิบัตรเทคนิคการใช้สัญญาณบลูทูธเพื่อค้นหาตำแหน่งของรถยนต์ รวมทั้งควบคุมการทำงานบางอย่างจากระยะไกลโดยใช้สมาร์ทโฟนเป็นเครื่องมือควบคุม
งานนี้ต้องใช้องค์ประกอบ 3 ส่วน ทั้งรถยนต์ที่ต้องเพิ่มชุดรับ-ส่งสัญญาณผ่านบลูทูธ, สมาร์ทโฟนที่ต้องมีแอพสำหรับใช้งานควบคู่กันพร้อมข้อมูลแผนที่ของพื้นที่จอดรถอย่างสมบูรณ์ และอย่างสุดท้ายคือภายในพื้นที่จอดรถซึ่งต้องมีเสาส่งสัญญาณกระจายเต็มบริเวณ พร้อมด้วยเซิร์ฟเวอร์ประมวลผลข้อมูล
Cambridge Consultants บริษัทให้คำปรึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากประเทศอังกฤษได้คิดค้นและพัฒนา DropTag ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับติดกับพัสดุ เพื่อใช้ตรวจสอบการกระแทกที่อาจเกิดขึ้นกับพัสดุในระหว่างการเคลื่อนย้ายขนส่ง
ตัว DropTag มีลักษณะเป็นแผ่นป้ายขนาดเล็ก ภายในมีเซ็นเซอร์ตรวจจับความเร่ง (accelerometer), แบตเตอรี่ซึ่งมีอายุการใช้งานนานหลายสัปดาห์, ชุดวงจรบลูทูธแบบพลังงานต่ำสำหรับเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน และเสาส่งสัญญาณซึ่งมีระยะการส่งประมาณ 150 ฟุต โดยต้นทุนในการผลิตประมาณ 2 ดอลลาร์ต่อชิ้น และสามารถนำมาหมุนเวียนใช้ซ้ำกับพัสดุหลายชิ้นได้
สำหรับคนที่ชอบหลงลืมวางของสำคัญทิ้งไว้โน่นไว้นี่ อาจต้องการเครื่องมืออะไรสักอย่างที่จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ และตอนนี้มีคนประดิษฐ์แผ่นสติ๊กเกอร์บลูทูธที่จะทำให้ผู้ใช้นำไปแปะกับอะไรก็ได้ และหาตำแหน่งของมันได้ง่ายๆ ผ่านทางแอพพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน
ชื่อของผลิตภัณฑ์คือ Stick-n-Find ซึ่งมีหน้าตาคล้ายเหรียญสีดำ มีไฟ LED และลำโพงขนาดจิ๋ว พร้อมระบบส่งสัญญาณผ่านบลูทูธ โดยอาศัยพลังงานจากแบตเตอรี่ CR2016 ซึ่งใช้งานได้นานนับปี ทั้งนี้การใช้งานก็เพียงนำเหรียญดังกล่าวไปติดกับสิ่งของที่ต้องการ เช่น พวงกุญแจ, รีโมท หรือแม้แต่ปลอกคอสัตว์เลี้ยง
ไม่ใช่มีแต่ Windows Phone 8 ที่มีปัญหา เพราะทางฝั่งแอนดรอยด์ก็มีคนรวบรวมประเด็นปัญหาของเวอร์ชัน 4.2 หลายอย่างเช่นกัน
ทิศทางของฮาร์ดแวร์พกพาที่ต้องเชื่อมต่อแบบไร้สายหลายประเภทพร้อมๆ กัน เห็นชัดว่าไปในทาง "ชิปคอมโบ" ตัวเดียวเชื่อมต่อไร้สายได้หลายแบบ
ก่อนหน้านี้เรามีข่าวชิปคอมโบจาก MediaTek ที่รองรับ Wi-Fi 802.11ac กับ Bluetooth 4.0 มาแล้ว คราวนี้บริษัท Marvell เอาบ้างโดยรวม 3 มาตรฐานไร้สายคือ 802.11ac, Bluetooth และ NFC มาไว้รวมกัน ฟีเจอร์อื่นคือรองรับ Miracast และมี location engine สำหรับค้นหาพิกัดด้วย Wi-Fi ด้วย (ไม่มี GPS มาให้นะครับ)
Elecom ผู้ผลิตอุปกรณ์เสริมจากประเทศญี่ปุ่น ได้เปิดตัวอุปกรณ์ในตระกูล TK-MBDD041 ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยเป็นคีย์บอร์ดไร้สายผ่านเครือข่าย Bluetooth ที่สามารถใช้เป็น headset ได้ด้วย
โดยเจ้าคีย์บอร์ด/headset นี้รองรับมาตรฐาน Bluetooth 2.1 EDR Class 2 และรองรับโปรไฟล์ดังต่อไปนี้
ดู ๆ แล้วเหมาะสมกับการนำไปใช้กับ Tablet มาก ๆ
ข่าวออกจะเก่าไปนิดนะครับ
ถึงจะมาช้าในตลาด Wi-Fi 802.11ac แต่ก็เหนือกว่าคู่แข่งไปอีกขั้น เมื่อวันที่ 30 มีนาคม ที่ผ่านมา Ralink บริษัทลูกของ Media Tek ได้ประกาศความสำเร็จในการผลิต Combo Chip ที่ใช้สำหรับมือถือและคอมพิวเตอร์ตัวแรกของโลกรหัส MT7650 ที่รวมเอาเทคโนโลยีไร้สายมาตรฐาน 802.11ac และ Bluetooth 4.0 LE เอามาไว้บนชิพเดียวกัน สามารถทำงานได้ทั้งคลื่น 2.4GHz และ 5GHz ใช้การเข้ารหัสสัญญาณแบบ 256-QAM ทำให้ได้ความเร็วได้สูงสุดที่ 433 Mbps รายละเอียดเพิ่มเติมดูตามที่มา
จุดขายสำคัญของ NFC ที่โนเกียเอามาโชว์เสมอๆ คือการใช้แตะลำโพง Bluetooth เพื่อเชื่อมต่อระหว่างกันจากเดิมที่ต้องปรับโหมดการทำงานของอุปกรณ์ให้อยู่ในโหมดพร้อมเชื่อมต่อแล้วค่อยใส่รหัสผ่าน แต่การใช้ NFC ทำให้เพียงการ แตะอุปกรณ์เข้าด้วยกันก็สามารถใช้งานได้ทันที
ก่อนหน้านี้ไม่มีเอกสารอย่างเป็นทางการสำหรับกระบวนการนี้ จนกระทั่งวันนี้ NFC Forum ได้เปิดเอกสารสำหรับนักพัฒนาให้สามารถพัฒนาระบบในรูปแบบเดียวกันได้เองโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ในความเป็นจริงสมาชิกของ NFC Forum คงเห็นเอกสารนี้กันก่อนหมดแล้ว แต่การเปิดเอกสารฟรีแบบนี้ก็ทำให้เราหวังได้ว่าจะมีอุปกรณ์ที่รองรับรูปแบบการใช้งานนี้ในราคาถูกออกมาในอนาคต
วันนี้นอกจากโนเกียจะเปิดตัว Symbian Belle และมือถือรุ่นใหม่ 3 ตัวคือ 700/701/600 ก็ยังมีอุปกรณ์เสริมอีก 1 ชิ้นที่น่าสนใจไม่แพ้กัน