ไมโครซอฟท์ประเทศไทย และ RISE สถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กร จัดแข่ง Hack the Future: Business Rebound Edition ร่วมสร้างโซลูชั่นธุรกิจขนาดกลางและรายย่อยให้สามารถเอาชนะความท้าทายการทำธุรกิจในยุคโควิด - 19
โดยโจทย์การแข่งขันคือ แต่ละทีมจะต้องมีสมาชิกในทีม 3-5 คน หาโซลูชั่นเพื่อแก้ปัญหาให้กับธุรกิจ จากสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องเผชิญในสถานการณ์จริง แบ่งโจทย์ออกเป็น 3 ประเด็นใหญ่
องค์การอนามัยโลก (WHO) ร่วมกับมูลนิธิ Chan Zuckerberg และบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่อย่าง Facebook, Giphy, Microsoft, Pinterest, Slack, TikTok, Twitter, WeChat ประกาศจัดงาน COVID-19 Global Hackathon (ชื่อแท็ก #BuildForCOVID19) แฮคกาธอนระดับโลกเพื่อเชิญชวนคนไอทีมาแก้ปัญหา COVID-19 ในแง่มุมต่างๆ
งานทั้งหมดจะแข่งขันผ่านออนไลน์ โดยส่งข้อเสนอภายใต้ธีม 7 หัวข้อ เช่น สุขภาพ ประชากร ธุรกิจ ชุมชน การศึกษา บันเทิง ฯลฯ การลงทะเบียนจะเปิดรับตั้งแต่วันนี้ไปจนถึง 30 มีนาคมนี้ จากนั้นกรรมการจะคัดเลือกโครงการและให้ความเห็นต่อไป รายละเอียดและเงื่อนไขดูได้จากหน้าเว็บของโครงการ
KBTG จัดงาน Internal Hackathon แข่งขันเฟ้นหามือดีเฉพาะคนในองค์กรครั้งใหญ่ครั้งแรก เพื่อส่งเสริม “Open Innovation Culture” ให้พนักงานจากทุกแผนกทั้งองค์กรได้มีร่วมในการสร้างสรรค์นวัตกรรมให้แก่ธนาคาร ทาง Blognone มีโอกาสได้เข้าร่วมสังเกตการณ์ และพบว่าแม้จะเป็นการแข่งขันภายใน ความตื่นเต้นของการแข่งขันไม่แพ้ hackathon ภายนอก ที่สำคัญยังได้ไอเดียสดใหม่ จากคนรุ่นใหม่ไฟแรงที่ในระยะหลังมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ใน KBTG
งานในครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้คอนเซปต์ Eat your own dog food, Eat your own APIs เปิดโอกาสให้พนักงานมีอิสระในการสร้าง Innovation โดยอาศัยเทคโนโลยีที่ทางธนาคารได้มีการพัฒนาภายใน (Deep Tech อาทิ Facial Recognition และ OCR) ผ่านรูปแบบ API Platform และในขณะเดียวกันก็เป็นการทดสอบเทคโนโลยีกันในองค์กร เพื่อสร้างความมั่นใจก่อนนำออกไปใช้จริง
สำนักงานข้อมูลรัฐวิกตอเรีย (Office of the Victorian Information Commission - OVIC) ออกรายงานการสอบสวนข้อมูลผู้โดยสารระบบขนส่งสาธารณะ ที่ขนส่งรัฐวิกตอเรียเปิดออกมาเพื่อใช้แข่ง Datathon (hackathon สำหรับนักวิยาศาสตร์ข้อมูล) แต่ผู้เข้าแข่งขันกลับพบว่าข้อมูลสามารถนำไปโยงกลับกับตัวตนผู้ใช้งานได้
ชุดข้อมูลการเดินทางนี้มาจากบัตร myki ของรัฐวิกตอเรีย เป็นข้อมูลจากบัตร 15 ล้านใบ รวม 1,800 ล้านรายการ ในช่วงปี 2015-2018 โดยข้อมูลได้ปิดบังตัวตนผ่านการเปลี่ยนหมายเลขบัตร
การแข่งขัน TechJam 2018 by KBTG ปีนี้เป็นครั้งที่สองและเป็นปีแรกที่จัดการแข่งขันในระดับภูมิภาค รูปแบบของการแข่งขันยังคงเป็นการแก้โจทย์ตามที่กรรมการตั้งไว้ โดยมี 3 กลุ่มปัญหาแยกรางวัลจากกัน เน้นการใช้เทคนิคใหม่ๆ เพื่อเข้ามาแก้ปัญหาที่เคยเป็นปัญหาที่ท้าทายสำหรับเทคโนโลยีเดิมๆ พร้อมกับเปิดกว้างให้ผู้เข้าแข่งสามารถหาเทคนิคใหม่ๆ มาลองสนามกันได้
การแข่งรอบสุดท้ายมีขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายนที่ผ่านมา และก็ได้ทีมชนะเลิศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 3 ทีมจากทั้ง Code, Data และ Design จากจำนวนทีมที่สมัครทั้งหมด 1,476 ทีม มากกว่าปีที่แล้ว 250% แบ่งเป็น
TechJam 2018 การแข่งขันที่เฟ้นหาขุนพลด้าน Coding, Data Science และ Design จาก KBTG จบไปแล้วหนึ่งภูมิภาคกับภาคใต้ โดยได้ผู้ชนะจากแต่ละ squad ทั้งหมด 3 ทีมได้แก่ทีม Bonmek จาก Coding Squad, ทีม Wakatta จาก Data Science Squad และทีม Housepartner จาก Design Squad
สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจจากการสัมภาษณ์ผู้ชนะทั้ง 3 ทีม คือทุกคนพูดตรงกันหมดว่า การแข่งขัน TechJam เป็นการแข่งขันที่แปลกใหม่ แหวกและไม่เหมือนที่ไหนมาก่อน ซึ่ง Blognone จะพาไปรู้จักกับการแข่ง TechJam ให้มากขึ้นจากมุมมองของผู้มีประสบการณ์ตรงทั้ง 3 ทีมกันครับ
SCG ประกาศจัดงาน Hackathon ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยเชิญชวนบุคคลทั่วไปเข้าร่วมกิจกรรมและคิดแผนงานเพื่อชิงเงินรางวัลรวม 900,000 บาท พร้อมโอกาสรับการสนับสนุนจาก SCG เพื่อต่อยอดแนวคิดไปสู่การทำเป็นธุรกิจจริง
กิจกรรมจะจัดเป็นเวลา 3 วัน 2 คืน ตั้งแต่วันที่ 26 ถึง 28 ตุลาคม ณ BIG Co-Working Space ย่านพระราม 9 ทั้งนี้มีการตั้งเงินรางวัลสำหรับผลงานต่างๆ แบ่งเป็นหมวดหมู่ 3 ประเภท ตามลักษณะการใช้ประโยชน์ของงานพัฒนานั้น อันได้แก่
กลับมาอีกครั้งกับการแข่งขันเพื่อค้นหาขุนพลและยอดฝีมือด้าน Coding, Data Science และ Design กับ TechJam 2018 การแข่งขันด้านเทคโนโลยี และการออกแบบ ในรูปแบบใหม่ จาก KBTG กลุ่มบริษัทด้านเทคโนโลยีของธนาคารกสิกรไทย ที่จัดขึ้นเป็นปีที่สองติดต่อกัน
การแข่งขันในปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด Tomorrow Squad ที่ต้องการค้นหาผู้ที่จะมาเป็นขุนพลแห่งอนาคต ที่จะมาเปลี่ยนอนาคตของประเทศ จากจุดประสงค์ที่ต้องการผลักดันและขับเคลื่อนวงการด้านเทคโนโลยีของไทย ทำให้การแข่งขันในปีนี้จะการนำเสนอเนื้อหาการแข่งขันแนวใหม่ ด้วยโจทย์ที่เข้มข้นท้าทาย และมีสีสัน
ผู้อ่านคงเคยได้ยินคำว่า Hackathon กันมาบ้าง ส่วนมากจะเป็นการแข่งขันเขียนโปรแกรมตามโจทย์ที่ตั้งไว้และรับรางวัลกันไป ล่าสุด Elon Musk ซีอีโอ Tesla ทวีตว่าได้จัด Hackathon เพื่อแก้ปัญหาสายการผลิต Model 3 อยู่
ทวีตดังกล่าวเป็นการอ้างถึงบทความของ Ars Technica ที่บอกว่า Tesla กำลังทำผิดซ้ำรอยบริษัทรถยนต์อื่นๆ ตั้งแต่ปี 1980 เช่น GM เคยพยายามทำให้สายการผลิตเป็นแบบอัตโนมัติ เสียเงินไปมากมายและล้มเหลว ซึ่ง Elon Musk ก็บอกว่าเป็นบทความวิจารณ์ที่แฟร์ แต่พวกเขาก็กำลังแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว และตอนนี้มี Hackathon ดำเนินอยู่เพื่อแก้ 2 ปัญหาที่ร้ายแรงที่สุดเกี่ยวกับหุ่นยนต์ในสายการผลิต และมันกำลังไปได้สวยทีเดียว
ก่อนหน้านี้ Elon ยอมรับว่าเขาผิดเองที่ใช้หุ่นยนต์มาประกอบ Tesla Model 3 มากเกินไป
Beijing Chaitin Technology หรือเรียกโดยย่อว่า Chaiting ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในจีนเผยข้อมูลว่าสาเหตุที่แฮคเกอร์จีนซึ่งเคยทำผลงานได้ดีในการแข่งรายการ hackathon ระดับนานาชาติต่างๆ กลับเงียบหายไปอย่างเห็นได้ชัดในปีนี้ เป็นผลมาจากการที่ทางการจีนเรียกร้องให้นักวิจัยด้านความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ของจีนงดการร่วมงานแข่งในต่างประเทศ สาเหตุเป็นเพราะมองว่านั่นถือเป็นการช่วยเหลือต่างชาติ
Chaintin อ้างว่าช่วงปลายปีที่แล้วมีคำร้องขอจากทางการจีนมายังบริษัทให้งดการเข้าร่วมงานแข่งแฮคในต่างประเทศ และขอให้หันมาเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเสริมสร้างความปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ภายในประเทศจีนเป็นหลัก
องค์กรต่างๆ จัด Hackathon จนไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ แต่จะมีสักกี่ครั้งที่องค์กรศาสนาใช้แฮกกาธอน เป็นอีกช่องทางในการโปรโมทประเด็นเชิงสังคม
VHacks คือ Hackathon ครั้งแรกที่เจ้าภาพการจัดคือนครรัฐวาติกัน โดยมีเป้าหมายคือใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อเอาชนะอุปสรรคทางสังคม โดยครอบคลุมสามประเด็นหลักคือ การรวมตัวกันทางสังคม, ความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา และ การช่วยเหลือผู้อพยพ ผู้ลี้ภัย
ผู้เข้าร่วม VHacks เป็นนักเรียนนักศึกษาประมาณ 120 ชีวิต และยังเน้นความหลากหลายทางภูมิหลังของผู้เข้าร่วมแข่งขันด้วย ไม่จำเป็นต้องนับถือศาสนาคริสต์ก็เข้าร่วมการแข่งขันได้ นอกจากนครรัฐวาติกันแล้วยังมีผู้ร่วมจัดงานเป็นภาคเอกชนหลายแห่ง เช่น Google, Microsoft, SalesForce
เทสโก้ โลตัส ประกาศจัดงานแฮกกาธอน 2018 ให้สตาร์ทอัพ บุคคลจากวงการต่างๆ นิสิต นักศึกษาสมัครเข้ามาฝึกอบรมและประกวดนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมค้าปลีก Lotus Express โดยนวัตกรรมต้องตอบโจทย์ 5 โจทย์สำคัญคือ digital transformation, เทรนด์สุขภาพ, โครงสร้างครอบครัวที่เปลี่ยนแปลง ครอบครัวขนาดเล็กลง การมาถึงของสังคมสูงอายุ, ความสะดวกรวดเร็ว และความยั่งยืน เปิดรับผลงานที่จะเข้าประกวดทุกรูปแบบ เช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ แอพพลิเคชั่น
หลายคนอาจพอทราบข่าว KBTG บริษัทด้านเทคโนโลยีของธนาคารกสิกรไทย จัดงานแข่งขัน TechJam by KBTG กันไปแล้ว
ตัวกิจกรรมหลักของ TechJam จะเปิดรับสมัครจนถึงวันที่ 30 กรกฎาคม 2560 และแข่งรอบชิงชนะเลิศในวันที่ 26-27 สิงหาคม 2560 แต่ทางผู้จัดก็จะมีงานรอบอุ่นเครื่อง TechJam Mixer Event พร้อมผู้เชี่ยวชาญและวิทยากรจาก KBTG, Google Developers และ LINE Thailand ก่อน ในวันที่ 24 มิถุนายน (วันเสาร์นี้) ที่โรงละครเคแบงก์ สยามพิฆเนศ ชั้น 7 สยามสแควร์วัน
เหล่านักพัฒนาทั่วประเทศไทย พลาดไม่ได้กับงานใหญ่ PWA Online Hackathon ชิงรางวัลรวมมูลค่ามากกว่า 400,000 บาท โดยเราจะมาแข่งขันกันบนโลก Online เริ่มตั้งแต่เวลา 20:00 น. ของวันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน 2560 ถึงเวลา 20:00 น. ของวันอาทิตย์ที่ 25 มิถุนายน 2560
PWA Online Hackathon เป็นการแข่งขันทำเว็บไซต์ แบบ Progressive Web App ที่ให้นักพัฒนาสร้างสรรค์ Web Application เจ๋งๆ ภายใน 48 ชั่วโมง จากที่ใดก็ได้ทั่วประเทศ โดยส่งผลงานผ่านช่องทาง Online ซึ่งกฏกติกาหลัก ๆ ของ การแข่งขันนี้มีอยู่ 4 ข้อดังนี้
เชิญนักพัฒนา Web/Mobile Application ร่วมสร้าง Application จากข้อมูล Open Data เพื่อการเตรียมรับมือภัยพิบัติที่ดีกว่าเดิม ในหัวข้อแนวทางการพัฒนา Web/Mobile Application การเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติ
ชุมชน Blognone คงคุ้นเคยกับชื่อบริษัท Ascend Group กลุ่มธุรกิจไอทีที่แยกตัวออกมาจาก True (สถานะตอนนี้คือเป็นบริษัทในเครือ CP แต่ไม่อยู่ใต้ True แล้ว) และเมื่อต้นปี Blognone เองก็เคยสัมภาษณ์คุณชัยวัฒน์ รัตนประทีปพร CTO ของ Ascend Group มาแล้วครั้งหนึ่ง
ปัจจุบัน Ascend Group มีพนักงานประมาณ 2,200 คน โดยมีพนักงานอยู่ในประเทศไทย 1,200 คน (ที่เหลืออยู่ต่างประเทศ หลายประเทศในอาเซียน) สำนักงานใหญ่อยู่ที่ตึก AIA Capital Center ถนนรัชดาภิเษก
สัปดาห์ที่แล้ว ทาง Ascend Group จัดการแข่งขัน hackathon ภายในบริษัท เพื่อกระตุ้นให้พนักงานสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ (ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกบริษัทควรทำ) ผมมีโอกาสได้ไปเยี่ยมชมด้วย เลยนำบรรยากาศมาฝากกันครับ
LINE ประเทศไทย ประกาศจัดงาน hackathon สำหรับพัฒนาเป็นครั้งแรก ในชื่อว่า LINE Hack Thailand 2016 วันที่ 14-15 พฤษภาคม 2016 ที่ SCB Innovation Center บริเวณสำนักงานใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ ถ.รัชดาภิเษก
LINE จะเปิดรับสมัครทีมเข้าแข่ง hackathon ถึงวันที่ 30 เมษายนนี้ (สูงสุดทีมละ 5 คน) แล้วคัดเลือก 12 ทีมไปแข่งขันสร้างบริการใหม่ๆ ด้วย Business Connection API ของ LINE ผู้ชนะอันดับหนึ่งจะได้สิทธิใช้งาน API ของ LINE ฟรี 1 ปี
รายละเอียดอื่นๆ อ่านได้ตามลิงก์
สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์กรมหาชน) ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาอุตสาหกรรม กระทรวงการเศรษฐกิจ ไต้หวัน จัดกิจกรรมการพัฒนาต้นแบบแอปพลิเคชั่น หรือ Open Data Hackathon ในวันที่ 3-4 ตุลาคม 2558 ณ Ma:D Club for Change เอกมัยซอย 4
ขอเชิญนักพัฒนาแอปพลิเคชั่นที่สนใจปัญหาด้าน สุขภาพ ภัยพิบัติ และการจราจรในเมือง และการใช้ Open Data บน data.go.th หรือ online data จากหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ ในการแก้ปัญหาเข้าร่วมแข่งขัน (หมดเขตรับสมัคร 29 กันยายน 2558)
ไมโครซอฟท์จัดงาน hackathon ชื่อ Publish Windows เชิญนักพัฒนาทั่วโลกร่วมสร้างแอพบน Windows 8.1 และ Windows Phone 8.1 โดยมีกิจกรรมในประเทศไทยด้วย
งานของประเทศไทยจะจัดระหว่างวันที่ 16-17 พฤษภาคมนี้ (ศุกร์-เสาร์นี้) ที่ Victor Club ชั้น 8 อาคาร Park Ventures Ecoplex (BTS เพลินจิต) ถ้าติดงานสามารถเข้าร่วมเฉพาะช่วงเย็นได้ครับ
ส่วนรางวัลจะแบ่งเป็นระดับนักเรียนนักศึกษาและระดับบุคคลทั่วไปแยกกัน ของรางวัลมีทั้งมือถือ Lumia 1520 และแท็บเล็ต Dell Venue 8 Pro รวมถึงรางวัลพิเศษจาก MTV Exit Foundation และสิทธิในการแข่งแอพระดับโลกด้วยครับ (รางวัลใหญ่คือตั๋วไปดู F1 ที่เท็กซัส)
GDG Thailand และ GDG Khon Kaen ร่วมกับผู้สนับสนุนจัดการแข่งขันพัฒนาแอพเพื่อการศึกษา OTPC App Hackathon เพื่อเปิดโอกาสให้นักพัฒนาแอนดรอยด์ได้มารวมทีมกันและร่วมพัฒนาแอพเสริมความรู้ และผลักดันการศึกษา ซึ่งนอกจากการแข่งขันยังมีกิจกรรมสุดสนุกจาก GDG Thailand และ Droidsans พร้อมลุ้นรับรางวัลแอนดรอยด์สุดพิเศษจากกูเกิลด้วย
สำหรับการแข่งขันนั้นจะจัดขึ้นในวันที่ 16 – 17 กุมภาพันธ์ 2556 (กรุงเทพฯ) และ 2 - 3 มีนาคม 2556 (ขอนแก่น) โดยจะมีทั้งกูรูแอนดรอยด์และทีมงานพี่เลี้ยงแนะนำตลอดการแข่งขัน แน่นอนว่างานนี้ฟรี ค่าใช้จ่าย อาหาร ของว่างและเสื้อแอนดรอยด์สำหรับผู้เข้าร่วมทุกท่านด้วยครับ
Google เตรียมจัดงาน hackathon เชิญชวนนักพัฒนาร่วมเขียนแอพพลิเคชันให้ Google Glass
ทั้งนี้ Google ประกาศจัดงานขึ้น 2 แห่งด้วยกัน โดยงานแรกจะมีขึ้นที่เมือง San Francisco ในวันที่ 28-29 มกราคมนี้ ส่วนอีกที่คือเมือง New York ในวันที่ 1-2 กุมภาพันธ์ ซึ่งค่าใช้จ่ายสำหรับนักพัฒนาที่ต้องการเข้าร่วมงานอยู่ที่ 1,500 ดอลลาร์ (ประมาณ 45,000 บาท)
Google Glass เปิดตัวเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายนของปีก่อน โดยในเบื้องต้นสามารถสั่งการได้ด้วยการขยับศีรษะ ภายในมีเข็มทิศและ accelerometer สามารถถ่ายวิดีโอและบันทึกเสียง และในขณะนี้ Google กำลังทดสอบฟีเจอร์อื่นๆ เช่น การสั่งงานด้วยเสียง, ระบบแป้นสัมผัส และการใช้งานโทรเข้า/ออก
ชุมชนชาวไอทีใน Kansas City เตรียมจัดงาน CMW หรือชื่อเต็มคือ Compute Midwest ซึ่งเป็นงานสัมมนาเกี่ยวกับวงการไอที โดยหนึ่งในกิจกรรมเด่นของงาน CMW นี้ คือกิจกรรม hackathon ที่ผู้เข้าแข่งขันจะได้ลองความแรงของ Google Fiber กันแบบเต็มๆ
กำหนดการงาน CMW นั้นจะจัดขึ้นในวันที่ 9-11 พฤศจิกายนนี้ โดยส่วนของกิจกรรม hackathon จะเริ่มในวันที่ 2 ของงาน ซึ่งจะให้เวลาผู้เข้าแข่งขัน 24 ชั่วโมงเพื่อพัฒนาแอพพลิเคชันใหม่ๆ และเจ้าภาพสถานที่ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน เป็น Google Fiber Space สำนักงานหลักของ Google Fiber ใน Kansas City นั่นเอง
ทางผู้จัดงานเตรียมเงินรางวัลไว้หลายพันดอลลาร์ และคาดว่าจะมีนักพัฒนาซอฟต์แวร์มากกว่า 100 รายที่อยากจะมาร่วมสัมผัสประสบการณ์สตรีมมิ่งความเร็วสูงในครั้งนี้