ไมโครซอฟท์ประกาศแผนการออก DirectStorage 1.1 ที่มีฟีเจอร์ใหม่ GPU Decompression ให้นักพัฒนาเริ่มใช้งานในช่วงปลายปี 2022
ไมโครซอฟท์เปิดตัว DirectStorage 1.0 มาตั้งแต่กลางปี 2021 (อัพเดตให้ผู้ใช้จริงๆ ในเดือนมีนาคม 2022) ช่วยให้ดึงไฟล์ assets ของเกมจากสตอเรจแบบ SSD NVMe ได้ประหยัดพลังซีพียูมากขึ้น โหลดไฟล์เร็วขึ้นสูงสุด 40% (ตัวอย่างเกมที่นำไปใช้งานคือ Forspoken ของ Square Enix)
มาถึงวันนี้ อินเทลยังไม่สามารถวางขายการ์ดจอแยก Intel Arc เวอร์ชันเดสก์ท็อปได้ตามแผน (เดิมทีบอกขายภายในไตรมาส 2) ตอนนี้ยังมีเพียงจีพียูรุ่นล่างสุด Intel Arc A380 วางขายแค่รุ่นเดียว แถมรีวิวก็ออกมาแย่เพราะปัญหาบั๊กของไดรเวอร์ และมีปัญหาประสิทธิภาพในการเล่นเกมที่เก่าสักหน่อย
สัปดาห์ที่ผ่านมา Lisa_Pearce ผู้บริหารฝ่ายกราฟิกของอินเทล ต้องออกมาเขียนบล็อกยอมรับว่าคุณภาพของไดรเวอร์มีปัญหาจริง และชี้แจงในประเด็นต่างๆ ดังนี้
อินเทลขึ้นประกาศหน้าเว็บไซต์ว่า จีพียูรุ่นใหม่ๆ ของตัวเอง ได้แก่ จีพียูออนบอร์ดในซีพียู 12th Gen และจีพียูแยกตระกูล Arc จะไม่รองรับ DirectX 9 (D3D9) อีกต่อไป เป็นผลให้ไม่สามารถเล่นเกมเก่าๆ ที่ต้องพึ่งพา DirectX 9 ได้แบบเนทีฟ แต่ยังสามารถเล่นได้ผ่านอีมูเลเตอร์กราฟิก D3D9On12 ของไมโครซอฟท์ ที่ใช้วิธี mapping DirectX 9 บน DirectX 12 และมีอยู่แล้วบน Windows 10 โดยเพิ่งเปิดเป็นโอเพนซอร์สในปี 2021
Luminous Productions บริษัทในเครือ Square Enix จากทีมเดิมที่ทำ FFXV กำลังจะมีเกมใหม่คือ Forspoken ออกขายในเดือนตุลาคม 2022
ล่าสุด ทีมงาน Luminous Productions ไปพูดในงาน Game Developers Conference (GDC) เล่าถึงเทคโนโลยีเบื้องหลังที่ใช้พัฒนาเกม มีทั้งชุดกราฟิก FidelityFX ของ AMD และฟีเจอร์สตอเรจ DirectStorage ของไมโครซอฟท์ ซึ่ง Forspoken เป็นเกมแรกที่ใช้งานฟีเจอร์นี้
ในคลิปที่ Luminous นำมาโชว์ แสดงระยะเวลาที่ใช้โหลดไฟล์ 20,000 ไฟล์ ขนาดรวม 4.5GB บนสตอเรจ 3 ชนิด ผ่าน DirectStorage API คือ
ไมโครซอฟท์เปิดตัว DirectStorage API บนพีซีอย่างเป็นทางการ ทั้งบน Windows 10 และ 11
DirectStorage API เป็น API ตัวใหม่ที่เริ่มใช้กับ Xbox Series X|S ก่อน ไอเดียของมันคือใช้ประโยชน์จาก NVMe SSD ที่ใช้งานกันแพร่หลายแล้วในยุคนี้ เกมสามารถสั่งดึงข้อมูลจากดิสก์เป็นชิ้นเล็กๆ (64kb) แต่ทำงานขนานกันมากๆ โดยไม่เปลืองแรงของซีพียูมากนัก เพราะกระจายงานโหลดและแตกไฟล์ไปอยู่ที่ตัว NVMe แทน
ชาวเกมเมอร์สายวินโดวส์น่าจะพอทราบว่า การเล่นเกมแบบเต็มหน้าจอ (fullscreen) กับการย่อในหน้าต่าง (windowed) มีผลต่อประสิทธิภาพของเกม ด้วยเหตุผลหลักๆ คือวิธีการเรนเดอร์เฟรมของกราฟิก (presentation mode) และยังมีประเด็นว่าการเล่นแบบหน้าต่างอนุญาตให้แสดงหน้าต่างอื่นหรือการแจ้งเตือนทับบนหน้าต่างเกมอีกที ในขณะที่เกมแบบเต็มหน้าจอได้ทรัพยากรเครื่องแบบไม่ต้องแบ่งให้ใคร
ไมโครซอฟท์มีวิธีเรนเดอร์เฟรม 2 แบบคือ blt แบบดั้งเดิม (ก่อน Windows 7) และ "flip model" ที่เริ่มใช้ใน Windows 7 แล้วพัฒนามาเรื่อยๆ (รายละเอียดบนเว็บไมโครซอฟท์)
ไมโครซอฟท์ประกาศฟีเจอร์ใหม่ของ DirectX 12 คือ Video Encoder เปิด API ให้ใช้จีพียูช่วยเร่งความเร็วการเข้ารหัสวิดีโอได้แล้ว ส่งผลให้แอพจำพวกตัดต่อหรือแปลงไฟล์วิดีโอทำงานได้เร็วขึ้น
DirectX 12 มี API สำหรับถอดรหัสวิดีโอ (Video Decoder) อยู่ก่อนแล้ว การเพิ่ม API สำหรับเข้ารหัสวิดีโอด้วยจีพียูมา ย้ายงานประมวลผลไปที่ฮาร์ดแวร์ ย่อมช่วยทำให้ประสิทธิภาพของแอพเพิ่มขึ้น
เบื้องต้นยังรองรับ codec สองตัวคือ H264 และ HEVC ใช้งานได้กับจีพียู 2 ค่ายคือ Intel (Ice Lake ขึ้นไป) และ NVIDIA (GeForce GTX 10 ขึ้นไป) ส่วนจีพียูฝั่ง AMD จะตามมาในไตรมาส 2/2022
ไมโครซอฟท์ประกาศนำฟีเจอร์ DirectStorage API ที่เริ่มใช้ใน Xbox Series X|S ตามด้วย Windows 11 มาใช้กับ Windows 10 ด้วย โดยใช้ได้กับ Windows 10 v1909 ขึ้นไป
DirectStorage API เป็นเทคโนโลยีด้าน I/O ที่ช่วยลดคอขวดของการดึงข้อมูลจากดิสก์ ที่จากเดิม แอพ/เกมต้องสั่งดึงข้อมูลเองตามคิว เปลี่ยนมาเป็นการเรียกผ่าน API ให้ดึงข้อมูลชิ้นเล็กๆ แต่ขนานไปพร้อมกันเป็นจำนวนมาก เป็นการดึงพลังของสตอเรจยุคใหม่อย่าง NVMe ให้ได้ประโยชน์สูงสุด ผลคือเกมโหลดเร็วขึ้นมาก
ไมโครซอฟท์เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ด้านเกมมิ่งใน Windows 11 ทั้งหมด 3 อย่าง โดยสองอย่างแรกเป็นการยกฟีเจอร์จาก Xbox Series X|S มาใช้กับพีซีด้วย
Auto HDR เป็นการปรับภาพของเกมให้รองรับ HDR อัตโนมัติ แม้เกมนั้นไม่ได้ออกแบบกราฟิกมาเป็น HDR ก็ตาม ไมโครซอฟท์บอกว่ารองรับเกมที่เขียนด้วย DirectX 11 ขึ้นไป (ในเดโมใช้เกม Skyrim) และนักพัฒนาไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเลย
ไมโครซอฟท์ออก DirectX 12 Ultimate เมื่อต้นปี 2020 โดยเป็นชุด API กราฟิกยุคใหม่ ทันสมัยเท่า Xbox Series X
แต่ข้อจำกัดของ DirectX 12 Ultimate คือมันผูกกับ Windows 10 20H1 ขึ้นไป และในอนาคตถ้า DirectX มีฟีเจอร์ใหม่ นักพัฒนาเกมจำเป็นต้องรอผู้ใช้อัพเดตผ่าน Windows Update ก่อนจึงจะใช้ฟีเจอร์เหล่านี้ได้ กลายเป็นอุปสรรคในการรองรับฟีเจอร์ใหม่ๆ
ข่าวสำคัญของแวดวงกราฟิกปีนี้คือ DirectX 12 Ultimate ที่เป็น API กราฟิกเดียวกันของทั้ง Xbox Series X และพีซี (เริ่มใช้ใน Windows 10 v2004 ที่ออกเดือนที่แล้ว)
ล่าสุด NVIDIA ออกไดรเวอร์ GeForce Game Ready เวอร์ชัน 451.48 ที่รองรับ DirectX 12 Ultimate เรียบร้อยแล้ว ถือเป็นจีพียูค่ายแรกที่รองรับ DX12 Ultimate อย่างเป็นทางการ
ฟีเจอร์ใหม่ของ DX12 Ultimate ได้แก่ Ray Tracing, Variable Rate Shading, Mesh Shading, Sampler Feedback ซึ่งแน่นอนว่ากว่าเราจะได้ใช้ DX12 Ultimate กันจริงจัง ก็ต้องรอเกมชุดใหม่ที่พัฒนาด้วย DX12 Ultimate ที่จะเปิดตัวพร้อม Xbox Series X ในช่วงปลายปีนี้
ในข่าว Windows Terminal 1.0 ไมโครซอฟท์ประกาศว่าจะเรนเดอร์กราฟิกของแอพจากลินุกซ์ด้วย GPU ด้วย เบื้องหลังของมันคือสิ่งที่อาจจินตนาการไม่ถึงเมื่อหลายปีก่อนอย่าง DirectX บนลินุกซ์ (ในความหมายนี้คือลินุกซ์ที่ติดตั้งบน Windows Subsystem for Linux 2 หรือ WSL 2)
ไมโครซอฟท์อธิบายว่าพัฒนาเทคนิค GPU paravirtualization (GPU-PV) บนวินโดวส์มาหลายปีแล้ว และใช้งานในโปรแกรมฝั่งวินโดวส์หลายตัว เช่น Windows Defender Application Guard, Windows Sandbox และอีมูเลเตอร์ของ Hololens
ไมโครซอฟท์เปิดตัว DirectX 12 ในปี 2014 และออกตัวจริงในปี 2015 (พร้อม Windows 10 รุ่นแรก) เวลาผ่านมา 6 ปีก็ได้เวลาของ DirectX รุ่นถัดไปที่ไม่ใช่ DirectX 13 แต่เป็น DirectX 12 Ultimate
จุดเด่นสำคัญของ DirectX 12 Ultimate คือการนำฟีเจอร์กราฟิกใหม่ๆ ของคอนโซลยุคใหม่ Xbox Series X มาให้เกมฝั่งพีซีใช้งานได้ด้วย
ในอดีตที่ผ่านมา API ของ Xbox แต่ละรุ่นกับ DirectX นั้นไม่เหมือนกันซะทีเดียว (แม้ใช้แกนกลางเดียวกัน ต่างกันในรายละเอียด) แต่ในยุคใหม่ DX12 Ultimate จะเป็น API ตัวเดียวที่ใช้ได้ทั้งสองฝั่ง ช่วยเร่งให้นักพัฒนาเกมหันมาใช้ฟีเจอร์กราฟิกใหม่ๆ ของฮาร์ดแวร์ได้เร็วขึ้นกว่าเดิม
จุดขายสำคัญอีกประการหนึ่งของ Windows 10 คือใช้สถาปัตยกรรมกราฟิก DirectX เวอร์ชัน 12 ที่เหนือกว่าเวอร์ชัน 11 หลายด้าน ที่ผ่านมาไมโครซอฟท์คงนโยบายจำกัด DirectX 12 ไว้กับ Windows 10 เพียงอย่างเดียว
แต่วันนี้ ไมโครซอฟท์ช็อควงการด้วยการประกาศพอร์ต DirectX 12 กลับมายัง Windows 7 เพื่อให้เกมเมอร์ที่ยังใช้ Windows 7 ได้ประโยชน์จากกราฟิกที่พัฒนาขึ้นด้วย โดยเกมแรกที่จะได้ DirectX 12 บน Windows 7 คือ World of Warcraft: Battle for Azeroth กับแพตช์เวอร์ชัน 8.1.5 เป็นต้นไป
Futuremark เจ้าของซอฟต์แวร์ทดสอบกราฟิก 3DMark ออกชุดการทดสอบสำหรับ DirectX 12 ในชื่อ Time Spy ให้กลุ่มผู้ใช้ทั่วไปแล้ว โดยผู้ที่เสียเงินซื้อไปก่อนแล้ว จะได้รับการอัพเดตฟรี
แต่ทั้งนี้หากใครที่ต้องการตัวเลือกในการข้ามเดโม, ตัวเลือกการปรับแต่งการทดสอบและการทดสอบแบบ stress test จำเป็นต้องจ่ายเงินซื้อรุ่นอัพเกรดเพิ่มในราคา 219 บาท (ขณะนี้กำลังลดราคาเหลือ 109.50 บาท) สำหรับเวอร์ชัน Steam
ส่วนใครที่ยังไม่เคยเป็นเจ้าของ 3DMark มาก่อน ทาง Futuremark เผยว่า จะปรับราคาขึ้นหลังวันที่ 23 กรกฎาคม
ที่มา - 3DMark (Steam)
Futuremark เจ้าของซอฟต์แวร์ทดสอบกราฟิกชื่อดังอย่าง 3DMark ปล่อยคลิปและภาพตัวอย่าง ชุดทดสอบตัวใหม่อย่าง Time Spy ที่มาพร้อมการรองรับเทคโนโลยี DirectX 12 รองรับฟีเจอร์อย่าง asynchronous compute, explicit multi-adapter และการประมวลผลแบบ multi-threading ซึ่งได้ทำงานร่วมกับ Nvidia, AMD, อินเทลและไมโครซอฟท์
Rise of the Tomb Raider ออกอัพเดตตัวใหม่ รองรับเทคโนโลยี DirectX 12 แล้ว ทีมพัฒนากล่าวว่าหนึ่งในความท้าทายในการพัฒนาเกมคือทำอย่างไรให้ผู้เล่นบนพีซีที่มีสเปคคอมอันหลากหลาย แต่ยังได้รับประสบการณ์ที่ดีอยู่ ซึ่ง DirectX 12 เข้ามาช่วยในส่วนนี้
การมาของ DirectX 12 ช่วยให้กระจายการเรนเดอร์ของซีพียูให้ครบทุกคอร์ โดยเฉพาะซีพียูแบบ 8 คอร์ อย่าง Intel Core i7 บางรุ่น และ AMD FX ซีรีส์ 8000 ขึ้นไป ในเวลาที่มีการประมวลผลหนักๆ ซีพียูจะทำงานได้ไม่เร็วพอสำหรับการ์ดจอรุ่นสูงๆ เพราะไม่สามารถใช้ได้ครบทุกคอร์ ทำให้การเล่นไม่ลื่นไหลเท่าที่ควร เมื่อเปลี่ยนมาใช้ DirectX 12 จึงทำให้ได้จำนวนเฟรมที่สูงขึ้น ด้วยการตั้งค่าที่เท่ากัน
ไมโครซอฟท์ยังคงเดินหน้าเปิดข้อมูลของ DirectX 12 มาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้ปล่อยฟีเจอร์ใหม่อย่าง Multiadapter ว่าที่ API ตัวใหม่ที่ช่วยให้จีพียูภายในที่มาพร้อมกับซีพียูไม่เป็นของไร้ค่าอีกต่อไป
ฟีเจอร์นี้เรียกได้ว่าออกแบบมาสำหรับใช้ทรัพยากรของจีพียูของชิปอินเทล และ APU ของ AMD โดยเฉพาะ โดยทำงานต่างกับ SLI/Clossfire ตรงที่ไม่ต้องใช้จีพียูรุ่นเดียวกัน แต่สามารถร่วมประมวลผลได้ โดยมีโหมดการทำงานสองแบบคือเหมือนกับ SLI/Clossfire และอีกแบบจะเป็นการสร้างโปรไฟล์ขึ้นมาเพื่อเลือกให้จีพียูทำงานตามที่ถนัด โดยจะมองจีพียูทั้งหมดเสมือนเป็นตัวเดียวกัน ตามที่มีข่าวลือมา
ที่งาน Build 2015 ของไมโครซอฟท์ ค่ายเกม Square Enix นำวิดีโอของ Final Fantasy XV เวอร์ชันที่รันบน DirectX 12 รุ่นล่าสุดมาโชว์ในงาน
เดโมตัวนี้เป็นการนำเอาเดโม Agni's Philosophy ที่เคยโชว์ตั้งแต่ปี 2012 มารันบน DirectX 12 ซึ่งให้ภาพที่สมจริงขึ้นมาก
ทีมพัฒนา FINAL FANTASY XIV ปล่อยภาพตัวอย่างของเกมออกมา 2 ภาพ โดยภาพหนึ่งเป็นภาพของตัวเกมในรุ่นปัจจุบันที่รันบน DirectX 9 และอีกภาพเป็นตัวเกมรุ่นต่อไปที่เพิ่มการรัน DirectX 11 มาให้ จากภาพจะเห็นว่ามีการเพิ่มเงาสะท้อนและปรับเพิ่มมิติของแสงเงาเข้าไปให้ดูสมจริงขึ้น
สำหรับตัวเกมรุ่นต่อไป FINAL FANTASY XIV: Heavensward ที่เป็นรุ่น 3.0 มีกำหนดวางขาย 23 มิถุนายนนี้ แต่จะมีการปล่อยตัว benchmark ออกมาให้ลองสัมผัสกับกราฟิกที่ถูกปรับเป็น DirectX 11 ในเร็วๆ นี้(บางแหล่งข่าวบอกว่าปลายเดือนนี้) ดูรูปท้ายข่าวครับ
ที่มา: gamerescape
DirectX 9
ในงานสัมมนาฮาร์ดแวร์ WinHEC เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีหัวข้อที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Windows 10 หลายอย่าง ที่เราเคยเสนอไปแล้วคือสเปกฮาร์ดแวร์ขั้นต่ำ Windows 10 และแผนผังการอัพเกรดเป็น Windows 10
อีกหัวข้อที่น่าสนใจคือระบบกราฟิกของ Windows 10 ที่พัฒนาขึ้นจาก Windows 8.1 โดยปรับเวอร์ชันของ Windows Display Driver Model (WDDM) เป็น 2.0 (รุ่น 1.0 เริ่มใช้กับ Vista) และปรับเวอร์ชัน DirectX เป็น 12
เริ่มจาก WDDM 2.0 กันก่อนครับ แผนภาพด้านล่างเป็นพัฒนาการของ WDDM นับจาก Windows 7 เป็นต้นมา
หลังการมาถึงของ Vulkan ชะตากรรมของ AMD Mantle ก็ใกล้ถึงจุดจบ โดยตัวแทนของ AMD ออกมาโพสต์อธิบายทิศทางของ Mantle ในอนาคต
AMD บอกว่า Mantle ประสบความสำเร็จในแง่การกระตุ้นให้อุตสาหกรรมกราฟิกพัฒนา API ยุคใหม่ที่เร่งประสิทธิภาพของฮาร์ดแวร์มากขึ้น ผลออกมาเป็น DirectX 12 และ Vulkan (ซึ่ง AMD ร่วมพัฒนาด้วย) เมื่อทิศทางของอุตสาหกรรมไปทางนี้ บริษัทจึงปรับแผนของ Mantle จากของเดิมที่เคยตั้งเป้าไว้
เว็บไซต์ Tom's Hardware รายงานว่า DirectX 12 ที่จะมากับ Windows 10 จะมี API ที่สนับสนุนการใช้การ์ดจอ AMD และ NVIDIA หลายการ์ดร่วมกันในเครื่องเดียวกันได้ จากแต่เดิมที่ผู้ใช้สามารถใช้การ์ดของแต่ละค่าย (ของ AMD ผ่านเทคโนโลยี Crossfire ส่วนของ NVIDIA ผ่านเทคโนโลยี SLI) ร่วมกันได้ แต่ไม่สามารถใช้การ์ดข้ามค่ายร่วมกันได้ โดยเป็นไปได้ที่จะมีการระบุให้การ์ดจอหนึ่งใบเป็นการ์ดหลัก และการ์ดจอที่เหลือไว้สำหรับเสริมการประมวลผล
จากงานเปิดตัว Windows 10 ในเดือนที่แล้ว ก็มีเสียงตอบรับถึง DirectX 12 กับการพัฒนาเกมในอนาคต ซึ่งชัดเจนว่าประสิทธิภาพบน PC นั้นจะต้องดีขึ้นแน่นอน แต่ก็ยังเป็นที่สงสัยว่าประสิทธิภาพที่ได้บน Xbox One นั้นจะดีขึ้นมากแค่ไหน นักพัฒนาบางท่านเชื่อว่าประสิทธิภาพจะไม่แตกต่างจากเดิมมากนักเพราะ Xbox One ก็มีชุดคำสั่งระดับล่างให้ใช้อยู่แล้ว แต่บางท่านก็เชื่อว่าจะมีลูกเล่นใหม่ๆ มาให้ใช้งาน
นาย Ariel Arias จากสตูดิโอ Thotwise Games (ค่ายเกมสัญชาติอาร์เจนตินา) มีความเห็นที่ต่างออกไป โดยเขาเชื่อว่า DirectX 12 น่าจะเน้นให้นักพัฒนาผลิตเกมสำหรับ Windows 10 และน่าจะมีการใช้คุณสมบัติเฉพาะของ DirectX 12 ในเกมเอ็กซ์คลูซีฟของ Xbox One
ในงาน Windows 10 ของไมโครซอฟท์เมื่อวานนี้มี DirectX 12 มาโชว์แสนยานุภาพด้วย (วิดีโอท้ายข่าว ประมาณนาทีที่ 7:30) ซึ่งก็สร้างความตื่นเต้นกับบรรดาเกมเมอร์ไม่น้อย แต่ในอีกทางก็สร้างความกังวลว่าจะต้องซื้อการ์ดจอใหม่ (อีกแล้ว)
ล่าสุดไมโครซอฟท์ออกมายืนยันว่าการ์ดจอในปัจจุบันจะสามารถใช้กับ DirectX 12 ได้แน่นอน โดยการ์ดจอที่ทำงาน "ได้ดี" กับ DirectX 12 ที่ระบุชื่อได้แก่