Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

เอเอ็มดีรายงานความคืบหน้าการพัฒนาซีพียูสถาปัตยกรรม Zen 4 ตามแผนการพัฒนาที่เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้ ซีพียูที่อยู่ระหว่างการพัฒนามี 2 รุ่น ได้แก่

  • Genoa: ซีพียูสถาปัตยกรรม Zen 4 ที่อยู่ในแผนการพัฒนามาแต่แรก เน้นประสิทธิภาพสูงสุด จำนวนคอร์สูงสุด 96 คอร์ต่อซ็อกเก็ต ใช้แรม DDR5 และเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอกด้วย PCIe 5.0 พร้อมรองรับมาตรฐาน CXL สำหรับการขยายแรมเพิ่มเติมผ่าน PCIe ตอนนี้เริ่มส่งตัวอย่างให้ผู้ผลิตแล้ว คาดว่าจะวางขายจริงภายในปี 2022
  • Bergamo: ซีพียูสถาปัตยกรรม Zen 4c ที่มีชุดคำสั่งเดียวกับ Zen 4 แต่การออกแบบภายในเน้นประสิทธิภาพต่อพลังงานเป็นหลัก ใช้แพลตฟอร์มเดียวกับ Genoa จำนวนคอร์สูงสุด 128 คอร์ต่อซ็อกเก็ต คาดว่าจะส่งมอบได้ก่อนกลางปี 2023

การเพิ่มสถาปัตยกรรม Zen 4c นับเป็นการตอบสนองต่อตลาดที่เริ่มเน้นประสิทธิภาพต่อพลังงานมากขึ้น หลังผู้ให้บริการคลาวด์เริ่มสนใจประสิทธิภาพในด้านนี้มากขึ้นเรื่อยๆ เช่น Cloudflare ออกมาวิจารณ์ว่าประสิทธิภาพต่อพลังงานของซีพียู x86 นั้นแพ้ Arm ชัดเจน แม้ว่าซอฟต์แวร์ยังไม่ได้ออปติไมซ์

ที่มา - AMD

No Description

No Description

Get latest news from Blognone

Comments

By: mr_tawan
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 9 November 2021 - 02:56 #1230905
mr_tawan's picture

เดาว่า 96-128 core น่าจะเป็น Threadripper หรือ Epyc เป็นหลัก พวก Ryzen ธรรมดาอย่างมากคงมีแค่ 16 คอร์เหมือนเดิม

ปล. แต่ผมเดาผิดหลายรอบละนะ ฮ่าๆ


  • 9tawan.net บล็อกส่วนตัวฮับ
By: sMaliHug on 9 November 2021 - 07:22 #1230909

ฝั่ง Apple ก็ใส่core เยอะแล้ว
ต่อไป nano คงไม่แข่งกัน เพราะถึงจุดตัน
คงมาแข่งจำนวน core
cpu มาแบ่งเป็น core เล็กแล้ว ต่อไปคงใส่ได้กันสนุก

By: kernelbase on 9 November 2021 - 10:49 #1230929

Zen4c ออกแบบภายในเน้นประสิทธิภาพต่อพลังงานเป็นหลัก
กำลังบอกเป็นนัยๆหรือเปล่า
ว่าถ้าZen4c มาในryzenไม่ต้องแยก p,e core ก็แรง+ประหยัดไฟได้

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 9 November 2021 - 12:40 #1230933 Reply to:1230929
hisoft's picture

Zen4c ไม่ได้ต้องแรงเท่า Zen4 นะครับ

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 9 November 2021 - 14:10 #1230941 Reply to:1230929
lew's picture

อันนี้แล้วแต่การใช้งานครับ พวกงาน microservice มันมีแนวทางการใช้งานแบบเดียวตลอด ก็ไม่ต้องแบ่งคอร์ ถ้าคอร์ประสิทธิภาพดีมันเพียงพอก็คือเพียงพอ

แต่พวก desktop CPU คนใช้งานเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา เดี๋ยวอยากเปิดเบราว์เซอร์ (กินซีพียูไม่มาก process เยอะ) เดี๋ยวอยากเล่นเกม (บางเกมแทบไม่อยากได้คอร์เพิ่ม เอาแรงอย่างเดียว) การแบ่งประเภทคอร์มันก็สมเหตุสมผล


lewcpe.com, @wasonliw