หลังจาก Blognone เคยนำเสนอรายงานสำรวจการเปิดใช้งาน HTTPS ในไทย ประจำปีปี 2016 ไป ขณะนี้ผ่านมาหนึ่งปีกว่าๆ แล้ว ก็สมควรถึงเวลาที่จะสำรวจติดตามผลกันอีกครั้ง
รอบนี้เราขยายจำนวนเว็บที่สนใจให้มากขึ้นกว่าเดิม แต่ยังคงตามติดเว็บเดิมที่เคยสำรวจไว้อย่างครบถ้วนครับ
สวัสดีครับ ผมได้ ตัวหลอดไฟ Yeelight LED มา เลยจะเอามารีวิวให้ดูนะครับ เป็นทางเลือกให้คนที่อยากจะเริ่มขั้นแรกของการสร้าง smart home แบบที่ไม่ได้ถือว่าแพงจนเกินไป
Yeelight LED เท่าที่ผมทราบ ไม่ได้มีขายอย่างเป็นทางการในประเทศไทย แต่ก็เหมือนกับสินค้าตัวอื่นๆของจีน ที่มีคนนำเข้ามาขายค่อนข้างเยอะ ตัวผมเองซื้อมาชุดนึงตอนไปเที่ยวฮ่องกง และอีกชุดนึงฝากซื้อจากที่จีน ซึ่งราคาก็ถูกกว่าตามที่หาได้ในไทยอยู่ประมาณร้อยนึง
ประเด็นความขัดแย้งระหว่างกูเกิลและไซแมนเทค ที่กูเกิลระบุว่าไซแมนเทคออกใบรับรองผิดพลาดจำนวนมาก ตอนนี้ยังไม่แน่ชัดว่ากูเกิลจะตัดสินใจแบนไซแมนเทคจากการออกใบรับรองแบบ Extended Validation (EV) เมื่อใด
ใบรับรอง EV ช่วยยืนยันตัวหน่วยงานว่าเป็นองค์กรที่มีตัวตนอยู่จริง ดำเนินการในประเทศที่ระบุจริง เบราว์เซอร์จะช่วยแสดงผล green bar ด้วยการแสดงชื่อองค์กรพร้อมกับประเทศที่องค์กรเหล่านั้นตั้งอยู่ ทำให้กระบวนการหลอกผู้ใช้ (phishing) ลดความเสี่ยงลง
เมื่อประมาณกลางเดือนที่แล้ว ผมมีโอกาสไปร่วมเทศกาล SXSW (South by Southwest) ที่เมือง Austin รัฐ Texas ประเทศสหรัฐอเมริกามาครับ ซึ่งนับว่าเป็นเทศกาลใหญ่ในโลกที่มีคนเป็นแสนไปร่วมงาน
ธีมของเทศกาลปีนี้คือการ Convergence ทุกสิ่งเข้าด้วยกัน จากการที่เทศกาลนั้นจะแยกออกจากกันระหว่าง Interactive, Music และ Film แต่เนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงของโลกที่ทุกอย่างมีส่วนเกี่ยวข้องกันหมดแล้ว ทำให้ปีนี้ ผู้จัดงานจึงให้คนที่มาร่วมเทศกาลในแต่ละหมวด มีสิทธิ์เข้าฟังในหมวดอื่น ๆ ได้แบบ Secondary Access
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) จัดงานสัมมนาประจำปีเรื่อง "ปฏิรูปรัฐ ปฏิวัติข้อมูล" หลักการโดยรวมคืออยากให้ภาครัฐกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อจัดการข้อมูล พร้อมทั้งเสนอแนวทางจัดเก็บและเชื่อมโยงข้อมูลข้ามหน่วยงานเพื่อความสะดวกในการให้บริการประชาชน เปิดข้อมูลเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ภาคประชาชนนำข้อมูลไปประมวลผลต่อได้
ที่สำคัญ ระบบการศึกษาต้องสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการข้อมูลโดยเฉพาะออกมามากกว่านี้ เพราะปัจจุบันยังมีปัญหาคุณภาพคนกับความต้องการทักษะงานยังไม่สอดคล้องกัน
ในงานสัมมนาแบ่งเป็น 4 หัวข้อใหญ่ Blognone จะสรุปสาระสำคัญให้อ่านกันเป็นรายหัวข้อไป
ช้อปปิ้งออนไลน์กลายเป็น 1 ในวิธีช้อปปิ้งที่สะดวกที่สุดอย่างหนึ่ง ไม่ต้องเสียเวลาฝ่าการจราจรไปที่ห้างเพื่อซื้อของและยังให้คุณสามารถซื้อของได้แม้ไม่มีเวลาช้อปมากนักก็ตาม การไปช้อปที่ร้านค้า นอกจากจะเสียเวลา ยังเสียค่าน้ำมันเดินทาง หรือมากกว่านั้น นอกจากนี้สินค้าที่อยากได้อาจหมดหรือไม่มีเมื่อคุณไปถึง
มาดูวิธีที่คุณจะเลี่ยงปัญหานี้ได้ สิ่งที่ดีที่สุดในการช้อปออนไลน์คือ ราคาถูกกว่าไปช้อปที่ร้านค้า ซึ่งอาจมีค่าขนส่งเพิ่มเติมอีก ความลับของการช้อปปิ้งออนไลน์คืออะไร ลูกค้าช้อปปิ้งออนไลน์ย่อมรู้ดี ด้วยการใช้รหัสส่วนลดในการช้อปสินค้า
Droidcon Bangkok 2017 คืองานสัมนาสำหรับนักพัฒนาแอนดรอยด์ที่จัดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายนักพัฒนาและสนับสนุนแพลตฟอร์มแอนดรอยด์
ในปีนี้ Droidcon ได้เดินทางมายังประเทศไทยเป็นครั้งแรกและถือเป็นครั้งแรกในระดับภูมิภาค ด้วยความร่วมมือจากธนาคารกสิกรไทยและ Google Developers ร่วมกันเป็นพันธมิตรเพื่อสนับสนันนักพัฒนาไทยและนักพัฒนาในภูมิภาคที่เดินทางมาร่วมงานมากกว่า 1,000 คน พร้อมยังมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญที่มากด้วยประสบการณ์จากทั้งในและต่างประเทศเข้าร่วมมากกว่า 30 คน นอกจากนี้ภายในงานยังรวบรวมบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกอย่าง Uber, Unity และอื่นๆอีกมากมาย
หลังเหตุการณ์ปัญหาแบตเตอรี่ระเบิดใน Samsung Galaxy Note 7 ทางซัมซุงก็ให้สัญญาว่าจะนำบทเรียนครั้งนี้ไปปรับปรุงกระบวนการผลิตครั้งใหญ่ เริ่มจากเพิ่มการตรวจสอบความปลอดภัยของแบตเตอรี่ 8 ขั้นตอน (8-Point Battery Safety Check) ตั้งแต่การผลิต เพื่อยกระดับความปลอดภัยในสมาร์ทโฟนรุ่นถัดไป
กระบวนการตรวจสอบมีทีมนักวิจัยกว่า 700 คน ทดสอบสมาร์ทโฟนกว่า 2 แสนเครื่อง แบตเตอรี่กว่า 3 หมื่นชิ้น ผลการตรวจสอบปัญหาแบตเตอรี่โดยคนในซัมซุงและผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก พบว่า ปัญหาเกิดจากทั้งการออกแบบและกระบวนการผลิตแบตเตอรี่จากผู้ผลิตแบตเตอรี่สองราย (ไม่เปิดเผยชื่อ)
Blognone ร่วมกับ สมาคมไทยอีสปอร์ต (TESA) ขอเชิญร่วมงานเสวนา G=AME (Animation, Marketing, Engineering) ร่วมหาคำตอบของ "เกม" ในฐานะอาชีพการงานที่มีอนาคตไกลและมีโอกาสทางธุรกิจสูงในอนาคต
งาน G=AME ครั้งนี้ เราจึงเชิญผู้ประกอบอาชีพด้านเกมหลายสาขา รวมถึงตัวแทนจากสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนวิชาเกี่ยวกับเกมโดยตรง มาร่วมให้ข้อมูลว่า "เกม" มีอนาคตแค่ไหนในแง่การทำเป็นอาชีพนี้ และได้รับเกียรติจาก ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ควอลิตี้ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มากล่าวปาฐกถาเปิดงาน
ประเด็น Uber และ GrabCar ในบ้านเรากำลังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง ผมมองว่าทั้งสองบริการที่ทำเรื่องรถเหมือนๆ กันจะเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของปัญหาอื่นๆ ที่มีประเด็นบ้างแล้ว เช่น AirBNB ที่คอนโดหลายแห่งเริ่มมีปัญหากับเจ้าของห้องที่นำไปปล่อยให้เช่า
เทคโนโลยีทำให้จากเดิมที่เราต้องสร้างความน่าเชื่อถือของบริการต่างๆ ด้วยการกำกับดูแลอย่างหนาแน่น เช่น แท็กซี่ที่ต้องแสดงตัวอย่างชัดเจนด้วยสีรถ โรงแรมที่ต้องเป็นอาคารขนาดใหญ่น่าเชื่อถือ กำลังถูกตั้งคำถามว่าหากเรามีบริการที่ควบคุมคุณภาพจนผู้บริโภคชื่อถือได้แล้ว การกำกับดูแลที่แน่นหนาเหล่านั้นยังจำเป็นอยู่หรือไม่
ในปัจจุบันเราสร้างและพัฒนาซอฟต์แวร์ให้บริการออนไลน์มักจะต้องมองหาระบบโครงสร้างพื้นฐานไอที ที่ตอบโจทย์ความต้องที่รองรับจำนวนผู้ใช้งานจำนวนมาก มีระบบรองรับการความเสียหายด้านฮาร์ดแวร์ มีระบบสำรองข้อมูลที่ช่วยปกป้องข้อมูลที่สำคัญของเราให้ปลอดภัย ช่วยให้ภาพรวมของระบบยังคงทำงานต่อไป และค่าใช้จ่ายที่จ่ายตามจริงที่ใช้งาน โดยไม่ต้องลงทุนสูงๆ ในครั้งแรกที่ต้องสร้างและพัฒนาระบบ
กระแส Conversational Action กำลังมาแรงในช่วงนี้ โดยมี Amazon Echo เป็นหนึ่งในตัวจุดประกายสำคัญ และขายดิบขายดีจน Google ต้องทำ Google Home ออกมาแข่ง
ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ผมมีโอกาสนำทั้ง Amazon Echo และ Google Home มาใช้เป็นหัวข้อในวิชาเรียนที่ผมสอนอยู่ มีนักศึกษาช่วยกันค้นคว้าและลองเล่นอุปกรณ์ทั้งสอง จึงนำประสบการณ์มาเล่าให้ฟังว่าการใช้อุปกรณ์ทั้งสองในประเทศไทยเป็นอย่างไร โดยแบ่งเป็นหัวข้อย่อยๆ และทำการประเมินด้วยว่าอุปกรณ์จากค่ายใดเด่นกว่า
เปิดวิสัยทัศน์อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เผยโฉมหน้าก้าวสำคัญด้านการศึกษามุ่งสู่การพัฒนาบัณฑิตรองรับความต้องการตลาดงานและระบบเศรษฐกิจใหม่ “Value–Based Economy” พัฒนาหลักสูตรดิจิทัลครบวงจรทั้งดิจิทัลฟิล์ม-มีเดีย ไอที-นวัตกรรม และการตลาด เสริมความแกร่งให้นักศึกษาจากการผนึกพลังความร่วมมือพันธมิตรระดับโลกจากอเมริกา-แคนาดา และองค์กรธุรกิจเอกชนชั้นนำหลากหลายสนับสนุนการบ่มเพาะ Smart Enterprises และ Startups ศักยภาพสูงสู่ตลาดงานมาตรฐานสากล
ช่วงนี้กระแส fintech กำลังมาแรง ไปไหนเราก็จะได้ยินคำว่า Blockchain อยู่บ่อยๆ แต่ชื่อ Blockchain เป็นคำเรียกเทคโนโลยีโดยรวม (ที่เริ่มโดย Bitcoin) เท่านั้น ในแง่การใช้งานแล้วก็มีซอฟต์แวร์หลายตัวที่เขียนขึ้นมาใหม่ตามแนวคิดของ Blockchain
ซอฟต์แวร์ที่มาแรงที่สุดในยุคนี้คงหนีไม่พ้น Ethereum โครงการโอเพนซอร์สและสกุลเงินดิจิทัลที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับสองรองจากต้นฉบับ Bitcoin เพียงรายเดียวเท่านั้น แถมยังมีคุณสมบัติด้าน Smart Contract ที่ช่วยให้นำไปใช้งานด้านอื่น เป็นระบบการประมวลผลแบบกระจายศูนย์ นอกเหนือจากการเป็นสกุลเงินเพียงอย่างเดียวได้
ในปัจจุบันที่ความเป็นส่วนตัวและการสอดแนมเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญ เรามักเห็นข่าวต่างๆ ออกมาจากในมุมของนักรณรงค์ ผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย แต่หากเรามองการสอดแนมจากมุมของบุคคลผู้ทำหน้าที่ดักฟังสอดแนม และเก็บข้อมูล เราจะมองการสอดแนมไปอย่างไร?
ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ร่วมกับ Digital Ventures (DV) บริษัทในเครือด้านฟินเทค จัดงานเสวนา Faster Future | SCB FinTech Forum ฉายภาพอนาคตของโลก FinTech และการปรับตัวของภาคธุรกิจ โดยมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 500 คน ทั้งผู้บริหารระดับสูงของธนาคาร ลูกค้ากลุ่มองค์กร และผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีในไทย
วันนี้ไม่ว่าจะมองไปทางใดเรื่องของ Smart City หรือเมืองอัจฉริยะ ถือเป็นหนึ่งในเรื่องพูดถึงกันอยู่บ่อยครั้ง เพราะเป็นเรื่องของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้กับเมืองเพื่อให้มีความน่าอยู่มากขึ้น ด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลถึงกัน เพื่อเกิดบริการให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในพื้นที่นั้น และส่งผลให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ปลอดภัยได้มากขึ้น
ในการผลักดันให้ประเทศไทยสามารถก้าวสู่ยุค Thailand 4.0 ได้นั้น อีกหนึ่งกลไกทื่สำคัญคือการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการสามารถมีแหล่งเงินทุนที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจได้ในระยะยาว...
ยุคสมัยเปลี่ยน ทัศนคติต่อเด็กติดเกมก็เปลี่ยน คนติดเกมหลายรายมีความรู้ความสามารถจากการเล่นเกมนำไปต่อยอดในวิชาชีพได้ และหากเกมเป็นพิษร้าย วงการ eSport ก็คงไม่รุ่งเรืองขึ้นมาเรื่อยๆ จนถึงตอนนี้
อย่างไรก็ตาม ผู้ปกครองก็ห้ามความกังวลใจที่เกิดขึ้นกับลูกหลานติดเกมไม่ได้ แล้วเกมเป็นพระเอกหรือผู้ร้ายกันแน่ ? งานเสวนานี้จึงนำเสนออีกมุมมองที่มีต่อเด็กติดเกมให้ทั้งเด็ก และผู้ปกครองได้รับรู้กัน
เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา Blognone จัดงานเสวนา "ติดเกมแต่ก็ยังได้ดี" ที่ Hangar dtac Accelerate โดยเชิญ คุณปรเมศวร์ มินศิริ คนเล่นเกมที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน คุณไตร อัครวิเนค ผู้ประกอบอาชีพด้านเกมและ eSport นพ. ฉัตรชัย อิ่มอารมย์ กุมารแพทย์ และ คุณสิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม ตัวแทนผู้ปกครองที่สนับสนุนการเล่นเกม
ใครที่พลาดไปงานเสวนาก็รับชมย้อนหลังผ่าน YouTube ได้ ส่วนใครที่อยากอ่านสรุป Blognone ก็ได้สรุปมาให้ในที่นี้แล้ว
ในปัจจุบัน ภัยคุกคามในโลกไอทีมีอยู่มากมาย ลำพังเพียง Firewall และระบบป้องกันแบบเดี่ยว ไม่สามารถรองรับภัยคุกคามที่มักโจมตีแบบผสมผสานที่ยากต่อการติดตามตรวจสอบได้ การใช้ Unified Threat Management (UTM ) ซึ่งเป็นระบบที่ภายในรวบรวมซอฟต์แวร์ด้านความมั่นคงปลอดภัย (Security) ประเภทต่าง ๆ เข้ามาไว้ในแพ็คเกจเดียวกัน เพื่อช่วยให้การตรวจสอบภัยคุกคามมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมยังบริหารจัดการได้ผ่านจุดศูนย์กลางเดียว
โดยปรกติ UTM นั้น จะประกอบไปด้วย