Taiwan Semiconductor Manufacturing Company Limited
แหล่งข่าวของ Nikkei Asia เปิดเผยว่า Apple จะใช้เทคโนโลยีผลิตชิป 3 นาโนเมตรล่าสุดที่ใช้ชื่อว่า N3E ใน iPhone และ Mac ที่จะเปิดตัวในปีหน้า โดย N3E เป็นเทคโนโลยีของบริษัท TSMC ซึ่งเป็นบริษัทเซมิคอนดักเตอร์สัญชาติไต้หวันที่เป็นซัพพลายเออร์สำคัญของ Apple
N3E เป็นเวอร์ชันอัปเกรดจากเทคโนโลยีผลิตชิป 3 นาโนเมตรรุ่นแรกของ TSMC โดยรุ่นแรกเพิ่งจะใช้ได้ในปีนี้และ Apple จะเป็นบริษัทแรกที่ใช้ โดยจะใช้กับ iPad ที่จะเปิดตัวเร็ว ๆ นี้ ส่วน N3E จะใช้ได้ในช่วงครึ่งหลังของปีหน้า ซึ่ง Apple จะใช้ในการผลิตชิป A17 สำหรับ iPhone รุ่นพรีเมี่ยม (ซึ่งคาดว่าเป็น iPhone 15 Pro และ iPhone 15 Pro Max) และใช้ผลิตชิป M3 สำหรับ Mac ที่จะเปิดตัวในปีหน้า
C. C. Wei ซีอีโอ TSMC บริษัทผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของโลกกล่าวในงานสัมมนาที่จีน พูดถึงสถานการณ์ชิปขาดแคลนว่ายังคงดำเนินต่อไป โดยเฉพาะกลุ่มชิปเทคโนโลยีเก่าที่ไม่ซับซ้อน ที่ยังมีปัญหาผลิตไม่ได้ตามความต้องการมากกว่าเดิม
เขาบอกว่าผลจากปัญหานี้ยิ่งกระทบกับลูกค้ารายใหญ่ที่ต้องการชิป อย่างเช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ มีความต้องการชิปใส่ในรถยนต์มากขึ้น 15% ก็ไม่เพียงพอ หรือสมาร์ทโฟนเองก็ต้องการชิปที่จัดการพลังงานได้ดีขึ้น 2-3 เท่าตัว เทียบกับชิปที่ใช้ใน 5 ปีก่อน
อินเทลประกาศรายละเอียดเพิ่มเติมของซีพียูรุ่นถัดๆ ไป ได้แก่ Meteor Lake, Arrow Lake, Lunar Lake ที่จะออกในปี 2023-2024 (ปลายปีนี้จะมี Raptor Lake ที่นับเป็น Core 13th Gen ซึ่งเป็นเวอร์ชันอัพเกรดของ Alder Lake ที่ออกช่วงต้นปี)
Meteor Lake (น่าจะนับเป็น 14th Gen) จะเป็นชิปรุ่นแรกของอินเทลที่ใช้ดีไซน์แบบ tile-based นำชิ้นส่วนต่างๆ มาต่อกันบนชิปตัวเดียวด้วยเทคโนโลยีแพ็กเกจ 3D stacking ที่เรียกว่า Foveros (อ่านรายละเอียดเรื่อง Foveros)
Washington Post รายงานอ้างอิงแหล่งข่าวที่ไม่เปิดเผยตัว ระบุว่า Nancy Pelosi ประธานสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐอเมริกาเตรียมเข้าพบนาย Mark Liu ประธานบริษัท TSMC ซึ่งเป็นบริษัทผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดแห่งไต้หวัน เพื่อหารือเรื่องการลงทุนตั้งโรงงานในสหรัฐ จากการเดินทางเยือนไต้หวันอย่างเป็นทางการครั้งนี้
เนื่องจากกฎหมาย Chips and Science Act เพิ่งผ่านสภา ทำให้รัฐบาลสหรัฐสามารถอุดหนุนเงินจำนวน 52 พันล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับโรงงานผลิตชิปภายในประเทศ ซึ่ง TSMC ได้ตั้งโรงงานในเมือง Phoenix รัฐแอริโซนา มูลค่า 1.2 หมื่นล้านเหรียญไปแล้วด้วย
รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศเตรียมเงินสนับสนุนให้ TSMC มาตั้งโรงงานในจังหวัดคุมาโมโตะรวม 476,000 ล้านเยน หรือกว่า 120,000 ล้านบาท โดยโรงงานนี้จะเป็นการร่วมทุนระหว่าง TSMC, Sony Semiconductor, และ Denso ใช้ชื่อบริษัทว่า Japan Advanced Semiconductor Manufacturing Inc. (JASM)
ตัวโรงงานแห่งนี้จะมีสายการผลิตแบบ 12/16 นาโนเมตรหนึ่งสายการผลิต และ 22/28 นาโนเมตรอีกหนึ่งสายการผลิต ใช้เวเฟอร์ขนาด 12 นิ้ว กำลังผลิตรวม 55,000 เวเฟอร์ต่อเดือน คาดว่าจะใช้ผลิตชิปเช่นเซ็นเซอร์ภาพและไมโครคอนโทรลเลอร์
มีรายงานจาก Nikkei Asia ระบุว่า TSMC วางแผนเตรียมผลิตชิป 2 นาโนเมตร ในปี 2025 ซึ่งคาดว่าลูกค้ารายสำคัญที่สั่งซื้อแล้วก็คือแอปเปิล เพื่อใช้ผลิตชิป Apple Silicon รุ่นใหม่
TSMC บอกว่าสถาปัตยกรรมที่ใช้ในชิป 2 นาโนเมตร เป็นแบบ Nanosheet ซึ่งใช้เทคโนโลยีการผลิตที่แตกต่างสถาปัตยกรรม FinFET ที่ใช้อยู่ในชิป 5 นาโนเมตร ที่ตอนนี้ใช้ในชิป M2 และ A15 Bionic ของแอปเปิล ประสิทธิภาพที่สูงขึ้นคือ ทำงานเร็วกว่า 10-15% บนระดับพลังงานเท่ากัน
ส่วนชิป 3 นาโมเมตรที่ TSMC เคยประกาศก่อนหน้านี้ คาดว่าจะเริ่มผลิตในช่วงครึ่งหลังปีนี้ แต่แอปเปิลจะเปิดตัวในปี 2023 โดยคาดว่าเป็น M3 กับ A17
Nikkei Asia อ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัวตนระบุว่า TSMC เริ่มแจ้งลูกค้าว่ากำลังจะขึ้นราคาชิปอีกครั้งประมาณ 5-8% ขึ้นกับเทคโนโลยีการผลิตโดยราคาใหม่จะมีผลต้นปี 2023 นี้
การประกาศขึ้นราคาครั้งนี้เป็นรอบที่สองภายในหนึ่งปีหลังจาก TSMC ประกาศขึ้นราคาเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้วถึง 20% และก่อนหน้านี้ก็เปลี่ยนนโยบายไม่ลดราคาเทคโนโลยีการผลิตที่เริ่มนิ่ง จากเดิมที่ค่อยๆ ลดราคาทุกไตรมาส
กลุ่มบริษัทผู้ผลิตซีพียูรายใหญ่เกือบทุกราย ได้แก่ ASE (จากไต้หวัน), AMD, Arm, Intel, Qualcomm, Samsung, TSMC รวมถึงผู้ให้บริการคลาวด์อีก 3 รายคือ Google, Meta, Microsoft ร่วมกันเปิดตัวมาตรฐาน Universal Chiplet Interconnect Express (UCIe) สำหรับการให้ชิปเล็ต (chiplet) จากต่างค่ายสามารถนำมาประกอบกันได้บนแพ็กเกจชิปเดียวกัน
มาตรฐาน UCIe กำหนดตั้งแต่การเชื่อมต่อทางกายภาพ โปรโตคอลสื่อสาร ซอฟต์แวร์ และการทดสอบความเข้ากันได้ โดยตัวของ UCIe อิงอยู่บนมาตรฐานเดิมที่มีอยู่แล้วในตลาดคือ PCIe และ Compute Express Link (CXL) ที่ริเริ่มโดยอินเทล อย่างไรก็ตาม สังเกตว่าบริษัทชิปรายใหญ่ที่ยังไม่เป็นสมาชิกคือ NVIDIA
จากที่มีข่าวยังไม่ยืนยัน 100% ว่า อินเทลและ AMD แจ้งผู้ผลิตพีซีรัสเซีย ขอหยุดขายชิปให้ชั่วคราว วันนี้มีข่าวอย่างเป็นทางการแล้วว่า บริษัทผู้ผลิตชิปหลายแห่งหยุดขายชิปให้รัสเซีย ตามคำสั่งแบนของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา
TSMC ในฐานะโรงงานผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดของโลก (และมีโรงงานในสหรัฐอเมริกาด้วย) ยืนยันว่าหยุดการขายชิปให้รัสเซียทั้งหมดแล้ว บริษัทระบุว่าจะปฏิบัติตามกฎการส่งออกของรัฐบาลสหรัฐ
ส่วน GlobalFoundries ที่มีฐานการผลิตสำคัญอยู่ในรัฐนิวยอร์ก ก็บอกว่าปฏิบัติตามกฎห้ามส่งออกสินค้าไปยังรัสเซีย โดยให้ข้อมูลว่าสัดส่วนยอดขายไปยังรัสเซียมีไม่เยอะนัก และฝั่งอินเทลให้ข้อมูลกับ Washington Post ว่าปฏิบัติตามกฎของรัฐบาลสหรัฐแล้วเช่นกัน
เมื่อช่วงกลางปีที่แล้ว TSMC ประกาศตั้งโรงงานผลิตชิปที่รัฐแอริโซนา ล่าสุด Nikkei Asian Review รายงานว่าโรงงานใหม่ของ TSMC อาจไม่เสร็จตามแผน โดยคาดว่าจะล่าช้าราว 3-6 เดือน
ปัญหาที่ทำให้โรงงานผลิตชิป TSMC เสร็จไม่ทันตามกำหนดเนื่องจากการขาดแคลนแรงงาน รวมถึง COVID-19 และปัญหาการขอใบอนุญาตก่อสร้างโรงงาน โดยตามคาดการณ์ตอนแรกโรงงานแห่งใหม่น่าจะก่อสร้างเสร็จได้ภายในเดือนกันยายนปีนี้ แต่จากรายงานล่าสุดระบุว่าอาจจะเสร็จต้นปี 2023
เว็บไซต์ DigiTimes รายงานว่า TSMC เริ่มแจ้งลูกค้ารายใหญ่ของบริษัทแล้วว่าค่าชิปที่ผลิตอาจแพงขึ้นได้ถึง 20% จากปัจจัยต่างๆ เช่นความขาดแคลนที่เกิดจากการระบาดของโควิด-19 ราคาวัตถุดิบ ไปจนถึงค่าขนส่ง
อีกสาเหตุสำคัญน่าจะเป็นเพราะ TSMC ใช้อุปกรณ์หลายชนิดที่มาจากบริษัท ASML ซึ่งโรงงานของ ASML ที่เบอร์ลิน เพิ่งเกิดไฟไหม้ ไปช่วงสัปดาห์ที่แล้ว ทำให้อุปกรณ์ lithography สำหรับพิมพ์ชิปบางส่วนเกิดความล่าช้า ส่งผลกับการขยายกำลังการผลิตและราคา ที่น่าจะไม่ใช่แค่ช่วงสั้นๆ
ญี่ปุ่นเตรียมลงทุน 6 แสนล้านเยน (ราว 1.78 แสนล้านบาท) ให้กับบริษัทผลิตชิปจากทั้งไต้หวัน สหรัฐฯ และของญี่ปุ่นเอง เป็นการทยอยให้เป็นเวลาหลายปี พร้อมเงื่อนไขว่าต้องเพิ่มกำลังการผลิตหากชิปขาดแคลน เพื่อรักษาซัพพลายของชิปในประเทศ
เงิน 6 แสนล้านเยนนี้ แบ่งเป็น 4 แสนล้านเยนที่จะลงทุนให้ TSMC ตั้งโรงงานใหม่ที่จังหวัดคุมาโมโตะ อีก 2 แสนล้านเยน สำหรับบริษัทผลิตชิปจากสหรัฐฯ Micron Technology ที่เพิ่งซื้อโรงงานผลิตชิปของ Elpida Memory ที่ฮิโรชิม่าเพื่อตั้งโรงงานผลิต DRAM และ Kioxia Holdings ที่เป็นผู้ผลิตชิป NAND รายใหญ่ของญี่ปุ่น ซึ่งกำลังตั้งโรงงานแห่งใหม่ในหลายเมือง
มีรายงานจาก The Information ว่าแอปเปิลเตรียมแผนงานสำหรับชิป Apple Silicon ที่ใช้ใน Mac โดยมองข้ามไปถึงรุ่นที่ 3 แล้ว
ปัจจุบันแอปเปิลมีชิปที่ใช้ใน Mac ได้แก่ M1, M1 Pro และ M1 Max ทั้งหมดเป็นชิป 5 นาโนเมตร ส่วนในแผนสำหรับรุ่นที่ 2 แอปเปิลยังใช้ชิป 5 นาโนเมตร แต่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และอาจเพิ่มขนาดสำหรับเดสก์ท็อปที่สามารถใส่ชิปที่ใหญ่ขึ้นได้เช่น Mac Pro
ส่วนชิปรุ่นที่ 3 นั้น รายงานบอกว่าแอปเปิลเริ่มเตรียมแผนการผลิตกับ TSMC แล้ว จะเป็นชิป 3 นาโนเมตร สเป็กอาจมีถึง 40 คอร์ซีพียู มีโค้ดเนมภายในคือ Ibiza, Lobos และ Palma กำหนดเปิดตัวเร็วที่สุดในปี 2023
ที่มา: 9to5Mac
วิกฤตชิปขาดแคลน ยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงในเร็วๆ นี้ ล่าสุดรัฐบาลอินเดียเตรียมพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ปั้นกองทุนสนับสนุนการลงทุนมูลค่าหลักพันล้าน เพื่อดึงดูด TSMC, Intel, AMD, Fujitsu และ United Microelectronics Corp. ให้มาตั้งโรงงานในประเทศ หลังบริษัทผลิตชิปหลายบริษัทเริ่มมองหาฐานผลิตในประเทศอื่นเพิ่มเติมนอกจากประเทศจีน
แผนงานนี้เป็นการกำกับดูแลตรงจากสำนักนายกรัฐมนตรี (Prime Minister’s Office) ร่วมกับกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยสำนักข่าว Times of India ระบุแหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัวตนว่ารัฐบาลอินเดียพร้อมที่จะลงเงินสนับสนุนแบบเต็มที่ และพร้อมที่จะยืดระยะโครงการ PLI (Production linked incentive) ที่เพิ่มเงินสนับสนุนให้กับบริษัทที่ตั้งฐานการผลิตในประเทศ
TSMC ยืนยันข่าวการตั้งโรงงานผลิตชิปที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว โดยซีอีโอ C.C. Wei แจ้งกับนักลงทุนว่าโรงงานใช้กระบวนการผลิตขนาด 22 และ 28 นาโนเมตร รองรับงานได้หลายประเภท เช่น เซ็นเซอร์ภาพหรือไมโครคอนโทรลเลอร์ การก่อสร้างจะเริ่มในปี 2022 และเดินสายผลิตจริงในปี 2024
TSMC ไม่ได้แจ้งตัวเลขมูลค่าของโรงงานนี้ (บอกแค่ว่าไม่ได้นับรวมในแผนลงทุนก้อนใหญ่ 1 แสนล้านดอลลาร์ที่ประกาศไปเมื่อต้นปี) และไม่ได้พูดถึงว่าเป็นการร่วมลงทุนกับโซนี่ตามที่เป็นข่าวด้วยหรือไม่ แต่ปกติแล้ว TSMC จะเป็นเจ้าของโรงงานเอง 100%
ท่ามกลางวิกฤตชิปขาดตลาดยาวนาน บริษัทที่โดดเด่นที่สุดในตอนนี้ย่อมเป็น TSMC (Taiwan Semiconductor Manufacturing Co.) ในฐานะโรงงานผลิตชิปที่ใหญ่ที่สุดในทำให้หลายๆ ประเทศเชิญชวนให้ TSMC ไปตั้งโรงงานในแผ่นดินของตัวเอง
ประเทศล่าสุดที่กำลังจะชวน TSMC มาอยู่ด้วยสำเร็จคือญี่ปุ่น ที่ TSMC กำลังหารือกับ Sony Group เพื่อตั้งโรงงานผลิตชิปมูลค่า 7 พันล้านดอลลาร์ที่จังหวัดคุมาโมโต้ ตอนนี้ยังไม่มีข่าวประกาศอย่างเป็นทางการ แต่คาดว่าน่าจะเริ่มเดินสายการผลิตได้ในปี 2024
แม้ยังเป็นโรงงานที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 20 นาโนเมตร แต่ก็จะตอบโจทย์อุตสาหกรรมรถยนต์และการผลิต ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ชิปขนาดเล็กที่สุด แต่ประสบปัญหาขาดแคลนชิปจนต้องหยุดสายการผลิตกันบ้างแล้ว
หนังสือพิมพ์ไต้หวัน Liberty Times ระบุว่า TSMC เริ่มส่งประกาศแจ้งลูกค้าว่าจะขึ้นราคาค่าจ้างผลิตชิป 7nm และสูงกว่านั้นรวดเดียว 20% ส่วนค่าจ้างผลิตชิปเทคโนโลยีชั้นสูงที่ละเอียดกว่า 7nm จะขึ้นราคา 8%
การขึ้นราคาครั้งนี้มีผลกับคำสั่งซื้อใหม่เท่านั้น โดยทั่วไปแล้วการสั่งผลิตชิปมักสั่งกันล่วงหน้าหลายเดือนหรือนับปี
ข้อมูลจาก Liberty Times ไม่ละเอียดนัก ว่าสายการผลิตใดขึ้นราคาเท่าใด โดยก่อนหน้านี้ DigiTimes รายงานว่ากระบวนการผลิตแบบ 16nm หรือต่ำกว่าจะขึ้นราคา 10% ในปี 2022
อินเทลยืนยันข่าวจีพียูตัวใหม่ Intel Arc จะจ้าง TSMC ผลิต ซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์ IDM 2.0 ที่มีทั้งการจ้างคนอื่นผลิต และเปิดโรงงานของตัวเองรับจ้างผลิตให้คนอื่น
ข่าวนี้ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจนัก เพราะจีพียูเซิร์ฟเวอร์รหัส Ponte Vecchio (Xe-HPC) ก็มีบางส่วนที่จ้าง TSMC ผลิตอยู่ก่อนแล้ว การที่ Intel Arc (Xe-HPG) จะจ้าง TSMC ผลิต "ชิ้นส่วนจำนวนหนึ่ง" (significant elements) ก็ไปในทิศทางเดียวกัน กระบวนการผลิตมีทั้งแบบ 5 และ 6 นาโนเมตร (N6/N5)
TSMC รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2021 รายได้รวม 3.72 แสนล้านดอลลาร์ไต้หวันใหม่ (4.35 แสนล้านบาท) เพิ่มขึ้น 19.8% จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 1.34 แสนล้านดอลลาร์ไต้หวันใหม่
Wendell Huang ซีเอฟโอของ TSMC กล่าวว่าผลประกอบการไตรมาสที่ผ่านมาเติบโตสูงจากความต้องการชิปที่เพิ่มขึ้น ในกลุ่มธุรกิจ HPC (High Performance Computing) และกลุ่มยานยนต์ ส่วนไตรมาสปัจจุบันความต้องการชิปยังคงสูงจาก 4 กลุ่มหลักคือ HPC, IoT, ยานยนต์ และสมาร์ทโฟน
ด้าน C.C. Wei ซีอีโอ TSMC กล่าวว่าบริษัทได้เพิ่มกำลังการผลิตชิปสำหรับกลุ่มยานยนต์เพิ่มขึ้น 60% จากปีก่อน ทำให้ลดปัญหาการขาดแคลนชิปของลูกค้ากลุ่มนี้ได้พอสมควรในไตรมาสปัจจุบัน
Foxconn และ TSMC แถลงว่าเจรจาซื้อวัคซีน COVID-19 จาก Pfizer เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยลงนามซื้อผ่าน Shanghai Fosun Pharmaceutical Group ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายของ BioNTech ในภูมิภาค สัญญาซื้อวัคซีนทั้งหมด 10 ล้านโดส รวมมูลค่า 350 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 10,000 ล้านบาท สองบริษัทแบ่งกันจ่ายคนละครึ่ง
แก้ไข: เวอร์ชั่นแรกของบทความนี้ระบุว่าเป็นการสั่งซื้อ 20 ล้านโดส เมื่อตรวจสอบพบว่ายอดรวมสองบริษัทคือ 10 ล้านโดส
วัคซีนทั้งหมดจะมาจากโรงงานของ BioNTech ในเยอรมัน คาดว่าจะเริ่มส่งมอบได้ภายใต้สิ้นเดือนกันยายน แต่ทาง Fosun ก็เตือนว่ากำหนดการที่แท้จริงนั้นขึ้นกับเงื่อนไขอีกหลายอย่าง
Nikkei Asia อ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัวตนระบุว่า Intel และ Apple กำลังทดสอบผลิตชิปด้วยเทคโนโลยี 3 นาโนเมตรของ TSMC คาดเริ่มผลิตสำหรับการค้าได้ภายในครึ่งหลังของปี 2022 โดย TSMC ระบุว่าเทคโนโลยยี 3 นาโนเมตร นี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการประมวลผลได้ 10% และลดการใช้พลังงานลง 25-30%
แหล่งข่าวระบุว่าว่าชิปที่ผลิตด้วยเทคโนโลยี 3 นาโนเมตร จะถูกใช้กับ iPad ก่อน เนื่องจากกำลังผลิตยังไม่เพียงพอสำหรับอุปกรณ์อื่นๆ ของ Apple
TSMC เริ่มติดต่อรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เพื่อขอซื้อวัคซีนหลังจากเมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมารัฐบาลไต้หวันเห็นชอบให้ทั้ง TSMC และ Foxconn เป็นตัวแทนรัฐบาลเจรจาซื้อวัคซีนจาก Pfizer รวม 10 ล้านโดส
ทั้งสองบริษัทพยายามจัดหาวัคซีนด้วยตัวเองเพื่อมาฉีดให้พนักงานและครอบครัวระยะหนึ่งแล้ว แต่ระบุว่าจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างเต็มรูปแบบ และหลังจากเข้าพูดคุยกับประธานาธิบดีไช่ อิงเหวิน คณะรัฐมนตรีไต้หวันก็ประกาศอนุญาตให้ทั้งสองบริษัทเป็นตัวแทนรัฐบาลจัดหาวัคซีนเป็นทางการ
C.C. Wei ซีอีโอของ TSMC ให้ข้อมูลว่าเริ่มก่อสร้างโรงงานผลิตชิปขนาด 5 นาโนเมตรในรัฐแอริโซนาแล้ว โรงงานจะเสร็จและพร้อมเดินเครื่องผลิตชิปในปี 2024
TSMC ประกาศตั้งโรงงานที่แอริโซนาตั้งแต่กลางปี 2020 สอดคล้องกับทิศทางของบริษัทเซมิคอนดักเตอร์อื่นๆ ที่ขยายการตั้งโรงงานในสหรัฐอเมริกา เช่น ซัมซุง และอินเทล และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลสหรัฐที่ต้องการนำโรงงานผลิตชิปกลับมาอยู่บนแผ่นดินอเมริกา
Wei ยังบอกว่าการผลิตชิป 3 นาโนเมตรที่โรงงาน Fab 18 ในไต้หวันยังเดินหน้าตามกำหนดเดิม คือช่วงครึ่งหลังของปี 2022
Nikkei Asia มีบทความประเมินสถานการณ์ธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ของซัมซุง ที่ตามหลังคู่แข่ง TSMC และช่องว่างเริ่มถ่างออกเรื่อยๆ
ปัญหาของธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ของซัมซุงเกิดจากหลายสาเหตุประกอบกัน เช่น ภัยธรรมชาติ (โรงงานในเท็กซัสต้องปิดเพราะปัญหาไฟดับเป็นวงกว้าง), การเปิดโรงงานใหม่ในเกาหลีใต้ล่าช้า ทำให้ซัมซุงตามหลัง TSMC ในเรื่องการผลิต 5nm ไปหลายเดือน