อย่างที่ทราบกันว่าการเข้าถึงเทคโนโลยีในเกาหลีเหนือค่อนข้างจำกัด เช่นเดียวกับความพยายามของรัฐบาลในสร้างแพลตฟอร์มและเทคโนโลยีต่างๆ ของตัวเอง อย่างผลิตภัณฑ์ล่าสุด Manbang กล่อง IPTV ที่มาพร้อมกับโมเด็มในตัว พร้อมพอร์ต HDMI สำหรับเชื่อมต่อทีวี
กล่อง Manbang จะมีช่องคอนเทนต์ให้เลือก 5 ช่อง พร้อมรองรับช่องพิเศษที่มีไว้นำเสนอข่าวเกี่ยวกับผู้นำสูงสุด และรองรับการอ่านหนังสือพิมพ์แบบออนไลน์
ทั้งนี้เกาหลีเหนือค่อนข้างเข้มงวดเรื่องการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ชาวบ้านทั่วไปแทบจะไม่มีสิทธิ์ ผู้ที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในเกาหลีเหนือได้จะต้องเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงหรือผู้ที่ได้รับความไว้วางใจเท่านั้น แต่ถึงกระนั้นเว็บไซต์ที่เข้าถึงได้ก็จะถูกจำกัดและคัดกรองโดยรัฐบาลทั้งหมดอยู่ดี
CAT Telecom มีอินเทอร์เน็ตไฟเบอร์ความเร็วสูงแบรนด์ C internet อยู่แล้ว ล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว CAT ขยายสายผลิตภัณฑ์โดยออกกล่องทีวีชื่อ C nema ตามมา
กล่อง C nema มีรูปแบบคล้ายกับกล่อง IPTV รายอื่นๆ ในท้องตลาด สามารถดูฟรีทีวีและช่องดาวเทียมอีกจำนวนหนึ่งได้ ดูย้อนหลังได้ ดูผ่านแอพได้ จุดที่แตกต่างคือ C internet จับมือกับ Primetime Solutions ผู้ให้บริการวิดีโอออนดีมานด์ของไทย เพื่อให้มีภาพยนตร์แบบพรีเมียมให้ชมกันด้วย
ลูกค้า C internet แบบแพ็กเกจ 30/3 จะได้กล่อง C nema พร้อมสมาชิก Primetime แพ็กเกจมาตรฐานใช้ฟรี 1 ปี ส่วนลูกค้าแบบ 15/1 จะได้แต่สมาชิก Primetime แต่ไม่ได้กล่องครับ (ในเอกสารไม่มีบอกไว้ แต่เข้าใจว่าเฉพาะลูกค้าใหม่เท่านั้นที่ได้สิทธินี้ครับ)
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทาง CTH ได้ทำการเปิดตัว GMM ZIPtv กล่อง Android Box ของตัวเองที่รับภาพและเสียงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างเป็นทางการ ซึ่งมีแพกเกจอยู่จำนวนหนึ่ง (ใครสนใจไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจากที่นี่ได้ครับ ส่วนเรื่องของชื่อ เป็นผลมาจากการขายกิจการ ของแกรมมี่ให้ทาง CTH)
ทาง CTH เอง ได้ส่งกล่องให้ทาง Blognone รีวิวอยู่ประมาณหนึ่งสัปดาห์กับ Android Box ตัวนี้ครับ ถ้าพร้อมแล้วเข้ามาอ่านรีวิวด้านในได้เลยครับ
ตัวเครื่อง ZIPtv จะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมจัตุรัสแบน ทรงเดียวกับ Apple TV ทุกประการ แต่มาในแบบสีดำตัดกับฝาที่เป็นสีขาว
Panasonic เปิดเผยว่าสถานีโทรทัศน์หลายแห่งในญี่ปุ่นปฏิเสธที่จะออกอากาศโฆษณาผลิตภัณฑ์สมาร์ททีวี Smart VIERA ของตน ซึ่งเบื้องลึกเชื่อว่าเป็นเพราะสถานีเหล่านั้นเกรงว่าโฆษณาตัวนี้จะทำให้ความนิยมในระบบ IPTV เพิ่มมากขึ้น และส่งผลเสียต่อธุรกิจของสถานีเองในท้ายที่สุด
Panasonic ระบุว่า บรรดาสถานีโทรทัศน์ที่ปฏิเสธงานโฆษณาของพวกเขานั้น อ้างเหตุผลว่าเกรงจะทำให้ผู้ชมทีวีทางบ้านเกิดความสับสนในตัวผลิตภัณฑ์ เพราะมีภาพในโฆษณาที่แสดงให้เห็นฟังก์ชันการแบ่งหน้าจอทีวีเพื่อรับชมสัญญาณภาพตามปกติ ควบคู่กับการใช้งานระบบอินเทอร์เน็ต
TOT เปิดตัวบริการทีวีผ่านอินเทอร์เน็ต TOT iPTV พร้อมจับมือกับบริษัท มี เทเลวิชันทำเซ็ทท็อป MeTV สำหรับเชื่อมต่อกับทีวี
ฟังก์ชันหลักของ TOT iPTV นอกจากความสามารถพื้นฐานอย่างสตรีมรายการผ่านเซ็ทท็อป MeTV และดูวิดีโอแบบ on-demand แล้ว ยังสามารถใช้ดูรายการผ่าน iPhone หรือ iPad ได้ รวมถึงการดูรายการย้อนหลังได้นานสุด 72 ชั่วโมง
สเปคของกล่อง MeTV จะรันระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 4.0 ICS (ยังไม่รู้ว่ามี Play Store มาด้วยหรือไม่) ไม่ทราบซีพียู แต่มีแรมสูงถึง 2GB รอม 2GB และแรม 1GB บิ้วท์อิน Wi-Fi ในตัว มีพอร์ต USB และรองรับ SD Card ด้วย ส่วนการเชื่อมต่อกับทีวีสามารถทำได้ทั้งผ่าน HDMI และสาย AV
กสท โทรคมนาคม (CAT) เปิดตัวบริการ CAT e-entertainment ศูนย์รวมความบันเทิงในรูปแบบ IPTV แบบครบวงจรสำหรับผู้ผลิตคอนเทนต์รายใหญ่
CAT e-entertainment นั้นไม่ได้เป็นผู้ให้บริการโดยตรง แต่เป็นเครื่องมือให้ผู้ประกอบการตั้งแต่ Set-top Box สำหรับรับสัญญาณ, บริการให้เช่า Video Encoder ช่วยจัดการคอนเทนต์ไปยังอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงให้เช่าเซิร์ฟเวอร์สำหรับเผยแพร่คอนเทนต์ไปยังผู้ชม หรือช่วยสนับสนุนในเวลาที่ใช้งานเป็นพิเศษ (อย่างการถ่ายทอดสด) และตัวแพลตฟอร์มสามารถเก็บสถิติผู้ชมเพื่อเลือกแสดงโฆษณาตรงตามกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น
เพิ่งมีข่าวว่า Xiaomi กำลังจะขายเซ็ตท็อปสำหรับทีวี ได้ไม่กี่วัน ล่าสุด Xiaomi ได้เปิดตัวเซ็ตท็อปที่ว่าอย่างเป็นทางการในชื่อ Xiaomi Box
ฟังก์ชันของ Xiaomi Box ไม่ได้ต่างกับของเจ้าที่ออกมาก่อนหน้าอย่าง Apple TV หรือ Google TV มากนัก หลักๆ คือการสตรีมหนัง และเพลงจากอุปกรณ์พกพาเข้าทีวี โดยรองรับมาตรฐานทั้ง AirPlay, DLNA และ Miracast ที่ความละเอียดสูงสุด 1080p ทั้งไร้สาย และผ่านสายแลน
ส่วนของระบบปฏิบัติการ Xiaomi เลือกใช้ Android ที่ครอบด้วยอินเทอร์เฟซ MIUI และรองรับสกุลไฟล์แบบครอบจักรวาลตั้งแต่ RM/RMVB, MKV, TS, FLV, AVI, VOB, MOV, WMV, MP4 เป็นต้น
บริษัท Xiaomi ผู้ผลิตมือถือชื่อดังของจีน (หลายคนอาจรู้จักรอม MIUI ที่พัฒนาโดยบริษัทนี้มากกว่าชื่อบริษัท) เตรียมขยายตลาดของตัวเองจากโทรศัพท์มือถือมาเป็นกล่องเซ็ตท็อปแบบเดียวกับ Apple TV หรือ Google TV
Lei Jun ซีอีโอของ Xiaomi ยืนยันข่าวนี้โดยโพสต์ภาพกล่องกระดาษสีน้ำตาลที่เขียนบนกล่องว่า Bingo! (คาดว่าเป็นชื่อผลิตภัณฑ์แต่ยังไม่ยืนยัน) ผ่านเว็บไซต์ Sina Weibo ของจีน โดยระบุว่าจะเริ่มขายวันที่ 14 พฤศจิกายนนี้
Xiaomi เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะไม่ทำแท็บเล็ต เพราะตลาดแท็บเล็ตต้องแข่งกับแอปเปิลที่เข้มแข็งมาก การเลี่ยงมาทำผลิตภัณฑ์เซ็ตท็อปสำหรับต่อทีวี (คาดว่าใช้ระบบปฏิบัติการที่พัฒนาจาก MIUI ด้วยเช่นกัน) จึงน่าจะเป็นโอกาสตลาดที่ดีกว่าสำหรับ Xiaomi
กูเกิลประกาศนำแพลตฟอร์ม Google TV บุกไปยังเกาหลีใต้แล้ว โดยจับมือกับบริการทีวีผ่านเน็ต (IPTV) ของ LG ที่ชื่อ U+ (หรือ Uplus) เพิ่มฟีเจอร์ของ Google TV ลงในกล่องเซ็ตท็อปบ็อกซ์ของ LG ด้วย
ต้องย้ำว่านี่ไม่ใช่ "เครื่องทีวีที่ผลิตโดย LG" นะครับ แต่กรณีนี้ LG เป็นผู้ให้บริการเคเบิลทีวี (แบบผ่าน IP ในเกาหลีใต้) และมีกล่องเซ็ตท็อปบ็อกซ์ของตัวเอง ซึ่ง LG ก็อัพเดตซอฟต์แวร์และเพิ่มฟีเจอร์ของ Google TV เข้ามา
ที่ไม่ธรรมดาก็คือ LG U+ มีนักร้องดัง PSY เจ้าของเพลงฮิต "Gangnam Style" เป็นพรีเซนเตอร์อยู่แล้ว งานนี้เราเลยได้เห็น PSY มาโฆษณา Google TV ให้ด้วยนั่นเอง
มีข่าวลือว่าไมโครซอฟท์จะเปิดตัวบริการชุดใหม่ของ Xbox Live ในงาน E3 สัปดาห์หน้า โดยจะเพิ่มการดูทีวีผ่าน Xbox 360 เข้ามาเป็นฟีเจอร์ใหม่ของระบบ
บริการนี้จะใช้ชื่อว่า Xbox Live Diamond (เป็นบริการขั้นกว่าของ Xbox Live Gold) โดยไมโครซอฟท์จะทำตัวคล้ายๆ ผู้ให้บริการเคเบิลทีวี เก็บค่าสมาชิกรายเดือน แต่ส่งข้อมูลรายการผ่านอินเทอร์เน็ตแทนสายเคเบิลหรือจานดาวเทียม เบื้องต้นน่าจะให้บริการในสหรัฐก่อน ส่วนประเทศอื่นๆ ยังไม่มีข้อมูล
บริการนี้มีรหัสว่า "Orapa" ซึ่งหมายถึงเหมืองเพชรที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
ที่มา - WinRumors
นี่อาจจะเป็นสิ่งที่หลาย ๆ คนที่เป็นสมาชิกเคเบิลทีวีทั่วโลกรอคอย เนื่องจากเคเบิลทีวีปัจจุบันนั้นมักจะให้บริการตามแพ็กเกจ แน่นอนที่สุดว่าการรับชมรายการของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน บางคนดูช่องกีฬาเป็นประจำและไม่ดูการ์ตูนเลย หรือบางคนดูซีรีส์อย่างเดียว ดูการ์ตูนด้วย แต่ไม่ดูสารคดี
วันพฤหัสบดีที่ผ่านมานี้กลุ่มสมาชิกเคเบิลทีวีได้ยื่นฟ้องกลุ่มเครือข่ายผู้ให้บริการเคเบิลทีวีเกือบทั้งหมดในสหรัฐข้อหา "คิดค่าบริการที่ไม่จำเป็นมากเกินไปในสิ่งที่ไม่ตรงตามความต้องการของลูกค้า" โดยความต้องการหลักของผู้ฟ้องคือต้องการที่จะเลือกรับบริการและจ่ายเงินตามจำนวนช่องที่ต้องการเท่านั้น
เร็ว ๆ นี้ผู้ให้บริการเคเบิลทีวีในสหรัฐอเมริกาอาจจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทั้งทางด้านธุรกิจและทางด้านระบบครั้งใหญ่ เมื่อสายเคเบิลเพียงเส้นเดียวนั้นไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า ที่ต้องการใช้ทั้งอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง, ดูรายการ HD, เล่มเกมออนไลน์และสั่งซื้อรายการทีวีตามสั่ง (Video on Demand) พร้อม ๆ กัน
ขณะนี้ผู้ให้บริการได้ใช้ความถี่รวม 750MHz ในการรับส่งข้อมูลในสายเคเบิล โดย 676MHz นั้นถูกนำไปใช้เพื่อการดาวน์โหลดที่รวมการใช้งานอินเทอร์เน็ต Downstream, เคเบิลทีวี, รายการ HD, รายการทีวีตามสั่งและบริการ VoIP ส่วนที่เหลือเพียงแค่ 54 MHz นั้นถูกใช้งานสำหรับการอัพโหลด