หลังสำนักข่าว Reuters รายงานว่า พล.ต.อ. พิศิษฐ์ เปาอินทร์ สมาชิกสปท. และอดีตผู้บังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ให้สัมภาษณ์ว่า รัฐบาลมีแผนจะขอความร่วมมือกับเฟซบุ๊คและไลน์ ในการป้องกันและถอดเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม และเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ โดยรัฐบาลไทยเตรียมพบหารือกับผู้บริหารของทั้งสองบริษัท ภายในอีก 3 เดือนข้างหน้า ล่าสุดบริษัท ไลน์ ประเทศไทยออกแถลงการณ์รับทราบความเคลื่อนไหวนี้แล้ว
รายงานการประชุมคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฎิรูปประเทศด้านการสื่อสารมวลชนเมื่อวันที่ 22 มกราคมที่ผ่านมารายงานถึงการประชุมร่วมกับ Matt Sucherman รองประธานของกูเกิล เพื่อขอความร่วมมือกับกูเกิลในการ "ป้องกันหรือสอดส่องการกระทำ" โดยการถอดเว็บไซต์ที่เผยแพร่ผ่านบริการของกูเกิลเช่น ยูทูป
ข้อเสนอของคณะกรรมาธิการฯ คือการเร่งรัดกระบวนการถอดเว็บไซต์ให้เร็วขึ้น โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการทางศาล แต่ผ่านการพิจารณาของหน่วยงาน "โดยนัยเดียวกับคำสั่งของศาล" เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือกระทรวงไอซีที
ปากีสถานปลดบล็อค YouTube แล้วหลังจากกูเกิลเปิดเว็บเวอร์ชั่นปากีสถานให้เฉพาะ ตามที่ตกลงกันไว้เมื่อปีที่แล้ว และกรรมาธิการด้านเทคโนโลยีของปากีสถานก็แนะนำให้รัฐบาลปลดบล็อค
กูเกิลเพิ่งเปิดบริการ YouTube เวอร์ชั่นปากีสถานเมื่อวันที่ 12 มกราคมที่ผ่านมาพร้อมกับเนปาลและศรีลังกา สำหรับเว็บเวอร์ชั่นปากีสถานนี้จะบล็อควิดีโอที่มีปัญหา เช่น Innocence of Muslims ที่เป็นชนวนของความไม่พอใจในหลายชาติ
PTCL ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตปากีสถานประกาศผ่านเฟซบุ๊กแสดงความยินดีว่าผู้ใช้จะสามารถเข้าถึงเว็บได้แล้ว
ร่างเอกสาร IETF นำเสนอโดยเสนอให้โค้ด HTTP 451 เป็นโค้ดสำหรับการบล็อคเว็บสำหรับรัฐบาล โดยเปิดช่องทางให้เปิดเผยหน่วยงานที่สั่งบล็อคเว็บและช่องทางติดต่อกลับ
ชื่อเต็มของ HTTP 451 คือ "Unavailable For Legal Reasons" ตัวเลขรหัส 451 น่าจะล้อเลียนมาจากหนังสือเรื่อง Fahrenheit 451 ที่พูดถึงโลกอนาคตที่รัฐบาลปิดกั้นการรับรู้ข้อมูลด้วยการเผาหนังสือ
ตัวอย่างหน้าเว็บที่ถูกบล็อคดังนี้
ช่วงเดือนที่ผ่านมาในไทยมีการจับกุมจากเหตุการณ์บนอินเทอร์เน็ตหลายครั้ง ทางเครือข่ายพลเมืองเน็ตก็ออกแถลงการณ์ระบุว่าเจ้าหน้าที่รัฐกระทำการอย่างเป็นปัญหาต่อสิทธิและเสรีภาพ และตีความกฎหมายเกินตัวบท โดยแถลงความเห็น 4 ประเด็น
งาน World Internet Conference ที่จีนเป็นงานประชุมอินเทอร์เน็ตที่ผู้นำเข้าร่วมมากมาย รวมถึง สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ที่ประกาศอธิปไตยในการกำกับดูแลอินเทอร์เน็ตในแบบที่แต่ละประเทศเลือกเอง หลังจากที่จีนถูกวิจารณ์ว่าจำกัดสิทธิ์ผู้ใช้งานด้วยการกำหนดโทษจากการโพสข้อความและบล็อคการใช้งานเว็บต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
ประกาศครั้งนี้ถูกเผยแพร่ด้วยสื่อของรัฐอย่างสำนักข่าวซินหัวผ่านทั้งทางทวิตเตอร์ และเฟซบุ๊ก โดยที่ทั้งสองบริการไม่สามารถใช้งานได้ในจีน
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีร่างกฎหมายรายงานโดยหนังสือพิมพ์ Le Monde ระบุข้อเสนอให้แบนฟรี Wi-Fi และ Tor ตอนนี้ Manuel Valls นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส ก็ออกมาระบุว่ายังไม่มีการพิจารณาแนวทางที่ระบุมาแต่อย่างใด
เขาระบุว่าตำรวจจำเป็นต้องพิจารณาประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของอินเทอร์เน็ตร่วมไปกับการบล็อคการใช้งานเพื่อการก่อการร้าย
ข้อเสนอระบุให้แบนการใช้งานฟรี Wi-Fi ในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยตัวข้อเสนอเองก็มีปัญหาเพราะในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉินประชาชนจำนวนมากอาศัยอินเทอร์เน็ตฟรีเหล่านี้ตรวจสอบข้อมูลข่าวสาร และรับคำแนะนำว่าควรทำอะไรต่อไป
Lu Wei หัวหน้าฝ่ายบริหารข้อมูลในอินเทอร์เน็ตของรัฐบาลจีน ซึ่งมีฉายาว่าผู้ดูแล The Great Firewall ตอบคำถามนักข่าวจากซีเอ็นเอ็นในการแถลงข่าวการสัมมนาอินเทอร์เน็ตโลกครั้งที่ 2 ที่จะจัดขึ้นในมณฑลเจ้อเจียง ระบุว่านักข่าวมักใช้คำว่า "เซ็นเซอร์เนื้อหา" กับรัฐบาลจีนซึ่งเป็นคำที่ไม่ถูกต้อง เพราะสิ่งที่รัฐบาลจีนกำลังทำตอนนี้ คือการเรียนรู้ที่จะจัดการกับเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะเนื้อหาที่มาจากโลกฝั่งตะวันตก ซึ่งวันนี้ก็ยังเรียนรู้ไม่มากพอ
Lu ยกตัวอย่างสาเหตุที่ต้องบล็อคเว็บไซต์ต่างประเทศบางแห่งก็เนื่องจากเว็บเหล่านั้น "ให้อิสระในการเลือกเพื่อน" ซึ่งไม่เหมาะสม เราไม่ควรให้ใครก็ได้มาทำเงินจากประเทศจีน แย่งตลาดคนจีน และทำร้ายประเทศจีน
จากกรณีการรวมตัว DDoS ใส่เว็บไซต์หน่วยงานภาครัฐเมื่อคืนวันที่ 30 กันยายน 2558 เพื่อเป็นสัญลักษณ์ประท้วงต่อต้านโครงการ Single Gateway ของรัฐบาล เมื่อวานนี้ พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ออกชี้แจงภายหลังการประชุมว่า จากการรวมตัวกันกระทำการดังกล่าว เป็นการทำผิดกฎหมายตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ โดยชัดเจน ซึ่งขณะนี้ได้ให้เจ้าหน้าที่ทำการเก็บร่องรอยการทำ DDoS เอาไว้ และถ้ามีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก ก็พร้อมที่จะฟ้องเอาผิดต่อผู้กระทำทุกราย
หลังจากเว็บกระทรวงไอซีทีล่มไปตั้งแต่หัวค่ำที่ผ่านมา หลังเพจ "รวมพลเกมเมอร์บุกยึด CAT TOWER คืนจากม๊อบ" นัดรวมตัวกันเข้าเว็บกระทรวงไอซีทีเพื่อให้เว็บล่ม ตอนนี้ กสท โทรคมนาคม (CAT Telecom) ที่ออกมาสนับสนุนนโยบาย Single Gateway ก็ตกเป็นเป้าหมาย โดยเพจ Anti SOTUS ประกาศรวมตัวแบบเดียวกัน
กสท เป็นหน่วยงานที่กสทช. พ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ ระบุว่าจะเป็นผู้ดำเนินการ Single Gateway และทางกสท เองโดย พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ ก็ระบุว่ากำลังพัฒนาศูนย์กลางดิจิตอลอยู่
หลายวันนี้ข่าว Single gateway ได้ชิงพื้นที่จากหน้าสื่อไปพอสมควร ด้วยความที่เป็นประเด็นใหญ่ ซับซ้อน และมีผลกระทบตามมาเป็นจำนวนมาก
ผู้เขียนเชื่อว่า เราๆ ทุกท่าน ไม่ว่าจะสนใจด้านสารสนเทศกันแค่ไหน ล้วนควรจะได้รับข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับ Single gateway จึงเป็นที่มาของบทความชุดนี้ ที่จะอธิบายว่า Single gateway คืออะไรในแบบภาษาชาวบ้าน (ที่อาจไม่รู้เรื่อง Infrastructure ต่างๆ) และผลกระทบที่จะตามมาครับ
ประเด็น Single Gateway วันนี้ ผู้ที่รับผิดชอบโดยตรงคือรัฐมนตรีไอซีที ดร.อุตตม สาวนายน ก็ออกมาให้สัมภาษณ์นักข่าว ระบุว่าโครงการนี้เป็นไปเพื่อเศรษฐกิจเป็นหลัก ไม่ใช่ความมั่นคง และไม่ได้ทำเร่งด่วน
อย่างไรก็ดี ตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีที่เผยแพร่ในเว็บไซต์สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีล้วนสวนทางกับคำสัมภาษณ์ในครั้งนี้
ประเด็นร้อนเรื่อง Single Gateway มีความคืบหน้าเพิ่มเติม โดยนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวของ Voice TV ว่าจะเดินหน้าโครงการนี้ต่อไป แต่จะรับฟังเสียงคัดค้านโครงการจากทุกภาคส่วนก่อนเริ่มโครงการ
นายอุตตม ยังยืนยันว่าโครงการ Single Gateway มุ่งประโยชน์ด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ ไม่ใช่เพื่อความมั่นคง และไม่ใช่โครงการเร่งด่วน
รองประธาน กสทช. พ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ ให้สัมภาษณ์กับบีบีซีไทย ชี้แจงประเด็น Single Gateway โดยระบุว่าเป็นการดึงให้เอกชนเข้ามาใช้ช่องทางเชื่อมต่อแทนที่จะไปเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน และควรเรียกว่า "ฮับ" หรือศูนย์กลางดิจิตอล
ในแง่การดำเนินการ "ฮับ" นี้จะดำเนินการโดย CAT หรือ กสท โทรคมนาคม
พ.อ.เศรษฐพงศ์ เป็นหนึ่งในกสทช. ที่ออกมาให้ข่าว ระบุว่าการที่ดีแทคออกมาเปิดเผยว่ากสทช. เป็นผู้สั่งให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตบล็อคเฟซบุ๊กทั้งประเทศในปีที่แล้วเป็นเรื่องที่ไม่สมควรและไม่เคารพกติกามารยาท
จากข่าว มติคณะรัฐมนตรีเร่งจัดตั้ง Single Gateway ควบคุมเว็บไซต์ ที่สร้างความสนใจอย่างล้นหลามต่อโครงการนี้
ล่าสุดผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไทยกลุ่มหนึ่ง ที่นำโดยคุณ @phuphu นักวาดการ์ตูนชื่อดัง ได้ริเริ่ม แคมเปญต่อต้านการตั้งซิงเกิลเกตเวย์ (Go against Thai govt to use a Single Internet Gateway.) บนเว็บไซต์ Change.org เพื่อกระตุ้นให้ผู้ใช้เน็ตชาวไทยหันมาสนใจและจับตานโยบายนี้ ใครอยากลงชื่อสนับสนุนก็ร่วมลงชื่อได้ที่ลิงก์ข้างต้น
ประเด็นเรื่อง Single Gateway ยังถูกพูดถึงในสื่อหลายแห่ง ที่น่าสนใจและควรอ่านคือ บทสัมภาษณ์ “อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล” ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต ที่เว็บไซต์ประชาไท
The proposal to unify all Internet gateways into a single entity was proposed back in May. There's nothing new regarding the proposal since then, but it was traveling in the process in the cabinet during these timr.
The prime minister's command dated August 27th, (PDF, Thai Lanaguage) assigned the Ministry of Information and Communication Technology (MICT) to take responsibilities for establishing the entity and report the progress within September.
แนวทางการตั้งทางออกอินเทอร์เน็ตทางเดียวทั้งประเทศ เป็นข้อเสนอมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม แม้จะไม่มีข่าวไปช่วงหนึ่ง แต่ประเด็นนี้ก็อยู่ในมติรัฐมนตรีเรื่อยมา
เอกสารข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ฉบับล่าสุดที่พูดถึงเรื่องนี้ (PDF) คือการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 27 สิงหาคมที่ผ่านมาระบุให้กระทรวงไอซีทีรับผิดชอบเร่งรัดการดำเนินงาน และรายงานความคืบหน้าภายในเดือนกันยายน
กรรมาธิการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศวุฒิสภาปากีสถานแนะนำให้รัฐบาลปลดบล็อค YouTube หลังบล็อคมาแล้วหลายปีตั้งแต่มีภาพยนตร์เรื่อง "Innocence of Muslims" ที่โพสไว้ใน YouTube โดยเจ้าหน้าที่ระบุกับกรรมาธิการว่าทางกูเกิลกำลังทำ YouTube เวอร์ชั่นปากีสถาน
ประธานกรรมาธิการระบุว่าทางกูเกิลเคยเรียกเก็บค่าใช้จ่ายการแบนวิดีโอจากทางปากีสถาน
กระบวนการปลดบล็อคจะต้องอาศัยอำนาจจากศาลฎีกา หากทางรัฐบาลเห็นด้วยกับคำแนะนำนี้และยื่นเรื่องไปยังศาลก็ต้องรอดูว่าศาลจะยอมยกเลิกการบล็อคนี้หรือไม่
แม้ว่าประเทศจีนจะมีผู้ผลิตสมาร์ทโฟน Android หลายราย และยอดขายสมาร์ทโฟน Android นั้นก็มากหลายล้านเครื่องต่อปี แต่ผู้ใช้ Android ในจีนไม่สามารถเข้าถึง Google Play ได้โดยตรง เพราะที่ผ่านมา Google ไม่ยอมรับนโยบายการเซ็นเซอร์เนื้อหาโดยรัฐบาลจีน จึงทำให้สารพัดบริการของ Google ซึ่งรวมถึง Google Play ไม่สามารถใช้งานได้ในจีน แต่ตอนนี้มีรายงานจาก the Information ว่า Google อาจเลิกแนวคิด "ยอมหักไม่ยอมงอ" โดยการผ่อนปรนนโยบายการให้บริการด้วยการยอมรับการเซ็นเซอร์แอพหรือเนื้อหาโดยรัฐบาลจีน เพื่อให้ผู้คนในจีนสามารถใช้ Google Play ได้เสียที
ศาลรัสเซียมีคำสั่งแบนหน้าหนึ่งของ Wikipedia จากการที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกัญชา แต่เนื่องจาก Wikipedia เข้าใช้ HTTPS เข้ารหัสทั้งเว็บทำให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไม่มีทางเลือกแบนบางหน้าตามคำสั่ง ทำให้ต้องแบนทั้งเว็บไป
ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตในรัสเซียบางส่วนเริ่มใช้งาน Wikipedia ไม่ได้ในวันจันทร์ที่ผ่านมา แต่ผ่านไปไม่ถึงวันทางการรัสเซียก็ยกเลิกคำสั่งบล็อคเว็บ โดยระบุว่าทาง Wikipedia ได้ลบเนื้อหาส่วนที่มีคำสั่งแบนออกไปแล้ว แต่ทาง Wikipedia ระบุว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาตามที่อ้าง แม้จะมีการแก้ไขชื่อบทความไปก็ตาม
ซัมซุงและกูเกิลเซ็นเซอร์แอพที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ LGBT บนแอพสโตร์ในเกาหลีใต้ โดยซุมซุงนำแอพ Hornet แอพเครือข่ายสังคมเกย์ ออกจากแอพสโตร์ตั้งแต่ปี 2013 โดยให้เหตุผลกับ Hornet ว่า แอพมีเนื้อหาที่ขัดต่อศีลธรรมและกฎหมายท้องถิ่น ภายใต้นโยบายเซ็นเซอร์ตามกฎหมายท้องถิ่นของแต่ละประเทศ และ Jack’d แอพหาคู่ที่เป็นนิยมของกลุ่มเกย์ในเกาหลีใต้ถูกถอดจาก Google Play โดยไม่มีการแจ้งเตือนและการอธิบายถึงสาเหตุ
Hornet ใช้เวลาถึง 4 ปีเพื่อโต้แย้ง แอพจึงกลับสู่สโตร์ของซัมซุงได้ในบางประเทศที่ไม่มีปัญหากับกฎหมายท้องถิ่น Hornet คาดว่าซัมซุงใช้การสุ่มประเทศเพื่อเซ็นเซอร์ กรณีของประเทศอาร์เจนตินาซึ่งมีกฎหมายการสมรสระหว่างบุคคลเพศเดียวกันตั้งแต่ปี 2010 ก็ยังถูกเซ็นเซอร์เช่นเดียวกันก่อนการโต้แย้งสำเร็จ
เมื่อปีที่แล้วรัฐบาลอิรักสั่งบล็อคเว็บไซต์หลายแห่งเพื่อไม่ให้กลุ่ม ISIS สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ล่าสุดวันที่ 27 มิถุนายนที่ผ่านมา Dyn Research รายงานว่ารัฐบาลอิรักได้สั่งตัดอินเทอร์เน็ตทั้งประเทศเป็นเวลาสามชั่วโมง
อินเทอร์เน็ตในอิรักใช้งานไม่ได้ตั้งแต่เวลาตีห้าถึงแปดโมงเช้าตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งสำนักข่าว El Hadas ของอียิปต์บอกว่าช่วงเวลาดังกล่าวพอดีกับการสอบเข้ามัธยมต้นของนักเรียนทั่วประเทศ โดยอิรักกำหนดการศึกษาขั้นต่ำเพียงชั้นประถมหกเท่านั้น และนักเรียนทั่วประเทศต้องทำการสอบเพื่อเรียนต่อในชั้นมัธยม และโดยทั่วไปหากนักเรียนคนไหนที่สอบไม่ผ่านก็จะไม่เรียนอีกเลย จึงทำให้การสอบนี้กดดันเป็นอย่างมาก
Thailand is well known for its heavily censored Internet. The Ministry of Information and Communications Technology (MICT) has frequently announced the large number (thousands) of blocked websites as its major achievement.
Normally, a visit to government-blocking website via Thai internet service providers (ISP) will redirect to a government's landing page with the message "this site has been blocked". The styles of these landing pages are varied to government agencies that take charge (e.g. MICT or the police).
ต่อเนื่องจากข่าวปอท. ออกมาแจ้งว่าเว็บที่ถูกต้องของหน่วยงานคือ TCSD.in.th เท่านั้น พร้อมกับให้ช่วยแจ้งเว็บอื่นที่มีการแอบอ้าง หลังจากมีการรายงานข่าวไปไม่นาน ทางปอท. ก็ถอดโพสที่เกี่ยวข้องออกจากหน้าเฟซบุ๊กแล้ว
กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ บก.ปอท. โพสเฟซบุ๊กระบุว่าเว็บที่ถูกต้องคือ tcsd.in.th เท่านั้น และหากมีเว็บอื่นๆ แอบอ้างให้แจ้งไปทางปอท. ผ่านทางอีเมล webmaster@tcsd.in.th
การออกมาชี้แจ้งครั้งนี้ มีขึ้นหลังจากมีผู้ใช้ในเว็บ ThaiSEOBoard ระบุว่าเว็บ tcsd.info ส่งผู้ใช้เข้าไปยังเว็บโป๊สองเว็บ ต่อมามีการแก้ไขออกไป แต่ยังมีร่องรอยในคอมเมนต์ HTML อยู่ และมีผู้นำไปโพสต่อในเว็บพันทิพ