Facebook ได้ยื่นเอกสารรายงานค่าใช้จ่ายของผู้บริหารระดับสูงเมื่อปีที่ผ่านมา 2017 โดยมีประเด็นน่าสนใจคือค่าใช้จ่ายเพื่อดูแลรักษาความปลอดภัย เฉพาะสำหรับซีอีโอ Mark Zuckerberg นั้นสูงถึง 7.3 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นกว่า 50% จากปี 2016 โดยรวมถึงค่าใช้จ่ายการรักษาความปลอดภัยบ้านพัก และบอดี้การ์ดติดตามตัว นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายเครื่องบินเจ็ตส่วนตัวสำหรับเดินทางอีก 1.5 ล้านดอลลาร์
Facebook เขียนคำอธิบายชี้แจงเหตุที่ค่าใช้จ่ายส่วนนี้เพิ่มขึ้นมาก ก็เนื่องจาก Mark Zuckerberg มีความเสี่ยงจากอันตรายต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ในฐานะที่เขาเป็นทั้งผู้ก่อตั้ง, ประธาน และซีอีโอของ Facebook ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้มีความสมเหตุสมผลและจำเป็น
ผ่านไปแล้วสองวัน เป็นเวลารวมกว่า 10 ชั่วโมง ที่ Mark Zuckerberg ซีอีโอ Facebook ได้เข้าไปให้รายละเอียดประเด็น Facebook และ Cambridge Analytica ต่อหน้าคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และตุลาการวุฒิสภาแห่งสหรัฐฯ
คำถามส่วนมากที่วุฒิสมาชิกสอบถามนั้น Mark Zuckerberg สามารถตอบและชี้แจงได้ บางคำถามเขาก็เลือกปฏิเสธ (เช่น เมื่อคืนนอนโรงแรมไหน?) อย่างไรก็ตามมีคำถามอยู่จำนวนหนึ่งที่ Zuckerberg เลือกตอบว่า ไม่ทราบเพราะไม่มีข้อมูลตอนนี้ และปิดประโยคว่าจะให้ทีมไปหาข้อมูลแล้วนำส่งอีกที ซึ่ง Wired ได้รวบรวมคำถามกลุ่มนี้ เพราะถือว่ารับปากแล้วว่าจะส่งข้อมูลเพิ่มเติมอีก
เป็นระยะเวลา 5 ชั่วโมงที่ Mark Zuckerberg โดนบรรดาสมาชิกวุฒิสภายิงคำถามไม่ยั้งเรื่องข้อมูลผู้ใช้ Facebook หลุด มีคำถามหนึ่ง Dick Durbin สมาชิกวุฒิสภาถาม Zuckerberg ว่า สบายใจที่จะบอกไหม ว่าเมื่อคืนพักที่โรงแรมอะไร Zuckerberg ลังเลไปชั่วขณะหนึ่งก่อนจะตอบว่า ไม่
Durbin ถามอีกว่า บอกชื่อคนที่ Zuckerberg คุยแชทด้วยในช่วงสัปดาห์นี้ได้หรือไม่ Zuckerberg ตอบว่า เขาขอไม่เปิดเผยในที่นี้
นัยสำคัญของคำถามดังกล่าวคือ ความสำคัญของข้อมูลส่วนบุคคล และเป็นสิทธิของเจ้าของข้อมูลที่จะบอกหรือไม่ ซึ่งเป็นประเด็นหลักของการไต่สวน Facebook ในวันนี้
ประเด็นเฟซบุ๊กและการใช้ข้อมูลอย่างผิดๆ ของบริษัท Cambridge Analytica ทำให้ความกังวลต่อความเป็นส่วนตัวบนเฟซบุ๊กกระจายตัวอย่างมากในเดือนที่ผ่านมา ความกังวลหลายอย่างอาจจะเป็นความเชื่อที่มีกันมานาน เช่น พูดถึงสินค้าบางอย่างใกล้โทรศัพท์มือถือแล้วมีโฆษณาตรงกัน หรือบางคนอาจจะเข้าใจว่าเฟซบุ๊กถูกแฮกจนนำข้อมูลออกไป
วันนี้ (11 เมษายน 2018) Mark Zuckerberg เข้าให้รายละเอียดเรื่อง Facebook/Cambridge Analytica ต่อหน้าคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และตุลาการวุฒิสภาแห่งสหรัฐฯ ถือเป็นการเผชิญหน้าอีกครั้งระหว่างบริษัทไอทีและฝ่ายนิติบัญญัติหลังจากปีที่แล้ว Facebook เข้าให้การต่อสภาคองเกรสเรื่องข่าวปลอมรัสเซีย
ในการรับฟังวันนี้ นอกจากเป็นโอกาสที่ Zuckerberg จะได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมต่อประเด็นร้อนแล้ว ยังเป็นช่องทางให้ฝ่ายกฎหมายเพิ่มแรงกดดันต่อบริษัทไอที และเป็นการบอกใบ้ว่าในอนาคต บริษัทไอทีจะต้องเจอกับมาตรการทางกฎหมายมากขึ้น ตัวอย่างคำถามในการรับฟังมีดังนี้
จากปัญหาช่วงที่ผ่านมาของ Facebook ซึ่งตอนนี้เรื่องไปจนถึงว่าซีอีโอ Mark Zuckerberg ได้ตอบรับเตรียมไปให้การกับคณะกรรมาธิการตุลาการสภาคองเกรสแล้ว อย่างไรก็ตามในฟากของนักลงทุน (ราคาหุ้น Facebook ตกลงกว่า 15% นับตั้งแต่เกิดเรื่อง) ได้เสนอแนวทางคล้ายกันนั่นคือ Mark Zuckerberg ควรลาออก
เริ่มจาก Michael Connor ผู้อำนวยการของหน่วยงานไม่แสวงหากำไร Open MIC ที่ดูแลเรื่องสื่อ บอกว่าท่าทีของ Zuckerberg ช่วงที่ผ่านมาสะท้อนว่าตัวเขาไม่เข้าใจว่าปัญหานี้ใหญ่โตและกระทบต่อสาธารณะมากแค่ไหน อีกทั้งการที่เขาสวมหมวกสองใบคือเป็นทั้งซีอีโอ และประธานบอร์ดควบไปด้วยกัน ทำให้เขาเองควรสละอย่างน้อยหนึ่งตำแหน่งจะดีกว่า
กลุ่มเคลื่อนไหวในเมียนมาร์ ประกอบด้วย Phandeeyar ซึ่งเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีชั้นนำของประเทศ เขียนจดหมายเปิด วิจารณ์ Facebook ว่าปล่อยให้ข่าวปลอมใส่ร้ายชาวโรฮิงญาในพม่าอยู่บน Facebook โดยไม่แก้ปัญหาเท่าที่ควร
เพียงวันเดียวหลังกลุ่มเคลื่อนไหวเขียนจดหมายเผยแพร่ Mark Zuckerberg ก็เขียนอีเมลตอบกลับ โดยขอโทษที่ไม่ได้แสดงออกอย่างชัดเจนว่าองค์กรของกลุ่มเคลื่อนไหวช่วยให้ Facebook เข้าใจสถานการณ์ในเมียนมาร์อย่างไร และยังบอกอีกว่านอกจากพัฒนาเทคโนโลยีแก้ปัญหาแล้วยังใช้คนมากขึ้นเพื่อดูแลปัญหานี้
ทางกลุ่มเคลื่อนไหวตอบกลับอีเมลของ Zuckerberg ระบุว่าขอบคุณที่ตอบกลับด้วยตัวเอง มันมีความหมายมากจริงๆ และยังถามข้อมูลเชิงลึกว่า Facebook มีการรายงานโพสต์ที่เป็นเท็จในเมียนมาร์กี่โพสต์, มีบัญชีผู้ใช้กี่รายที่ถูกรายงาน และมีกี่รายที่เป็นบัญชีปลอม, ในองค์กรมีผู้ที่เข้าใจภาษาเมียนมาร์กี่ราย และมีคนที่ทำหน้าที่ดูแลปัญหาในเมียนมาร์แบบเต็มเวลากี่ราย เป็นต้น
Facebook Messenger ยังไม่มีฟีเจอร์ลบข้อความของตัวเองที่ส่งไปหาเพื่อนได้ แต่ Facebook สามารถทำฟีเจอร์นี้ให้ Mark Zuckerberg ได้
TechCrunch รายงานอ้างอิงแหล่งข่าวพบว่า มีคนสามคนที่เคยแชทคุยกับ Zuckerberg เมื่อย้อนดูแชทเก่าปรากฏว่าไม่มีข้อความที่ Zuckerberg คุยมา เหลือแต่ข้อความของตนทำให้ดูเหมือนคุยกับตัวเอง
Facebook ให้เหตุผลว่าเพื่อความปลอดภัยของบริษัท โดยอ้างอิงเหตุการณ์ถูกแฮ็กอีเมลของ Sony Pictures ในปี 2014 ที่ข้อมูลภายในบริษัทรั่วไหล Facebook บอกว่าหลังจากเหตุการณ์นั้น บริษัทก็ทำหลายวิธีเพื่อปกป้องการสื่อสารจากผู้บริหารระดับสูงในองค์กร ซึ่งรวมทั้งการจำกัดเวลาเก็บรักษาข้อความของ Zuckerberg ใน Messenger ด้วย
เมื่อถูกถามว่า การลบข้อความออกแบบนี้จะกระทบความเชื่อมั่นต่อบริษัทหรือไม่ Facebook ไม่ได้ตอบประเด็นนี้
Mark Zuckerberg ให้สัมภาษณ์สื่อหลายแห่งทางโทรศัพท์เป็นเวลาเกือบชั่วโมงต่อเรื่องข้อมูลหลุด และกรณีกับ Cambridge Analytica เขาพูดถึงวิสัยทัศน์ต่อการแก้ปัญหาต่างๆ ดังนี้
เรื่องมีอยู่ว่าเมื่อหลายวันก่อน หลังจากเหตุการณ์ข้อมูลผู้ใช้ Facebook หลุด 50 ล้านบัญชี นำมาสู่การขุดประเด็นต่างๆ เรื่องการใช้ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน Facebook มากมายตามมา ก็มีการถามถึงประเด็นนี้กับ Tim Cook ซีอีโอแอปเปิลในรายการโทรทัศน์หนึ่ง ซึ่ง Tim Cook บอกว่า เขาอยากให้บริษัทที่มีการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลทำธุรกิจ ตรวจสอบควบคุมกันภายในให้มากขึ้น ซึ่งดีกว่าการรอให้หน่วยงานรัฐมาตรวจสอบ
CNN รายงานอ้างอิงข้อมูลจากคนในเฟซบุ๊กว่า Mark Zuckerberg ซีอีโอของเฟซบุ๊กตอบรับหนังสือเรียกและเตรียมไปให้การต่อหน้าคณะกรรมาธิการตุลาการสภาคองเกรสในประเด็นความเป็นส่วนตัวของข้อมูลผู้ใช้หลังข่าวอื้อฉาวเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งสภาได้เรียกซีอีโอของ Google และ Twitter เพื่อสอบถามในประเด็นเดียวกันนี้พร้อมๆ กันด้วย
อย่างไรก็ตาม ซีอีโอของเฟซบุ๊กกลับปฏิเสธการเรียกตัวจากรัฐสภาของอังกฤษ และส่งเพียงแค่ตัวแทนไปให้ข้อมูลแทนเท่านั้น ซึ่ง Damien Collins ประธานคณะกรรมาธิการของสภาสามัญชนของอังกฤษระบุว่าน่าประหลาดใจมาก เพราะจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ได้ก่อให้เกิดคำถามขึ้นมากมายกับตัวผู้ใช้งาน แต่ซีอีโอเฟซบุ๊กก็ยังจะตอบปฏิเสธที่ให้ข้อมูลครั้งนี้กับสภา
Collins บอกด้วยว่า เขาอยากจะขอให้ Zuckerberg ทบทวนซ้ำอีกครั้ง ถ้าเขาแคร์คนที่ใช้บริการเฟซบุ๊กจริงๆ
Facebook ลงโฆษณาเต็มหน้าในหนังสือพิมพ์หัวใหญ่ของสหรัฐฯ และอังกฤษ เนื้อหาโฆษณาเป็นคำขอโทษจาก Mark Zuckerberg กรณีข้อมูลหลุดที่ถาโถม Facebook มาในขณะนี้ ในแถลงการณ์ขอโทษเปิดหัวมาด้วยคำกล่าวว่า "เรามีหน้าที่ในการปกป้องข้อมูลของคุณ ถ้าเราทำไม่ได้ เราก็ไม่สมควรได้รับผิดชอบในหน้าที่นี้"
จากเหตุการณ์ข้อมูลผู้ใช้ Facebook หลุด 50 ล้านบัญชี ซึ่งสร้างผลกระทบความเชื่อมั่นอยู่มาก ผ่านไปหลายวันในที่สุดซีอีโอ Mark Zuckerberg ก็ออกมาชี้แจงปัญหาดังกล่าวผ่านโพสต์บน Facebook แล้ว
Zuckerberg เปิดด้วยประโยคที่ว่า ความรับผิดชอบของ Facebook คือการปกป้องข้อมูลของทุกคน และหากเราทำไม่ได้ เราก็ไม่สมควรอยู่เพื่อให้บริการต่อ มาตรการที่ออกมาของ Facebook ในวันนี้เป็นสิ่งที่เคยทำมาก่อนหน้าแล้ว แต่มีความผิดพลาด ยังทำได้ไม่ดีพอ และมีอะไรที่ต้องปรับปรุงอีกมาก
จากประเด็น Cambridge Analytica นำข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้บนเฟซบุ๊กไปทำแคมเปญหาเสียง (อ่านเรื่องราวทั้งหมดได้จากบทความนี้) ล่าสุดคณะกรรมาธิการของสภาสามัญชนของอังกฤษเรียกตัว Mark Zuckerberg ซีอีโอเฟซบุ๊กเพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นข้างต้น
Damien Collins ประธานคณะกรรมาธิการ ระบุในหนังสือเรียกตัว Zuckerberg ว่าก่อนหน้านี้เฟซบุ๊กให้ข้อมูลที่ทำให้คณะกรรมาธิการเข้าใจผิด เมื่อถูกถามว่าข้อมูลที่ Cambridge Analytica นำไปใช้ไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้ใช่หรือไม่ ซึ่งรอบนี้ Collins ระบุว่าต้องการได้ยินข้อมูลจากผู้บริหารของเฟซบุ๊กที่มีอำนาจและมีข้อมูลที่ถูกต้อง พร้อมวางกรอบให้ซีอีโอเฟซบุ๊กตอบรับก่อน 26 มีนาคมนี้
ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา Robert Mueller หนึ่งในคณะสืบสวน FBI ยื่นคำฟ้องร้อง 37 หน้า ฟ้องพลเมืองสัญชาติรัสเซีย 13 คน และบริษัท 3 แห่งของรัสเซีย ในข้อหาจัดทำแคมเปญโฆษณาชวนเชื่อแทรกแซงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ปี 2016 ในคำฟ้องของ Mueller ได้เปิดเผยด้านอันตรายอีกด้านหนึ่งของ Facebook Groups ด้วย
เมื่อ Mark Zuckerberg ผู้ก่อตั้ง Facebook เจอปัญหารุมเร้าอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนตั้งแต่ก่อตั้ง Facebook มา ใครจะคาดคิดว่าโซเชียลมีเดียที่ผู้คนใช้แชร์เรื่องราวไลฟ์สไตล์ อาหารน่ากิน อ่านบทความและดูวิดีโอที่น่าสนใจ จะกลายเป็นเครื่องมือแทรกแซงทางการเมืองที่อาจเปลี่ยนผลการเลือกตั้งได้ หรือแม้แต่สามารถเป็นช่องทางแพร่ข้อมูลปลอมของชาวโรฮิงญาในพม่า จนนำไปสู่เรื่องเศร้ามากมาย
Facebook รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 4 ของปี 2017 มีรายได้รวม 12,779 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 49% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 4,268 ล้านดอลลาร์ โดยตัวเลขนี้รวมรายการพิเศษจากการปรับโครงสร้างภาษีสหรัฐที่ทำให้ต้องบันทึกค่าใช้จ่าย 2,270 ล้านดอลลาร์ แล้ว
Mark Zuckerberg ซีอีโอ Facebook ออกมาอัพเดตแผนการปรับปรุง Facebook ให้ดีขึ้นตามเป้าหมายของเขาในปีนี้ โดยครั้งนี้เขาบอกว่าหน้า News Feed ของ Facebook จะเพิ่มน้ำหนักการแสดงข่าวสารในท้องถิ่นหรือเมืองที่ผู้ใช้งานอาศัยอยู่มากขึ้น ถ้าผู้ใช้ติดตามเพจข่าวท้องถิ่นอยู่แล้ว ก็จะถูกแสดงมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงนี้มีจะเริ่มที่อเมริกาเป็นแห่งแรก แล้วค่อยขยายสู่ประเทศอื่นๆ ในอนาคต
สืบเนื่องจากข่าวที่ Mark Zuckerberg ซีอีโอ Facebook ออกมาประกาศการปรับรื้อ News Feed ครั้งใหญ่ โดยเน้นเนื้อหาจากเพื่อนและครอบครัวมากขึ้น ด้วยเหตุผลว่าเขาต้องการชุมชนที่ดี มีคุณค่าและความหมายเวลาใช้งาน โดย The New York Times ได้สัมภาษณ์เขา และมีประเด็นที่น่าสนใจ
เขาบอกว่าจากการวิจัยนั้นพบว่าผู้ใช้ Facebook รู้สึกว่าการใช้ Facebook ทำให้ห่างจากเพื่อนและครอบครัวมากขึ้น แต่มีเนื้อหาสาธารณะ, แบรนด์ และสื่อ เพิ่มขึ้นมาก จึงต้องกลับมาทบทวนว่าตกลงเรากำลังทำอะไรกันแน่ จึงเป็นที่มาของแนวทางดังกล่าว
Facebook ประกาศเตรียมปรับปรุง News Feed ครั้งใหญ่ ซึ่งตรงกับข่าวที่รายงานก่อนหน้า โดยซีอีโอ Mark Zuckerberg ชี้แจงหลักการและที่มาที่ไปว่า เป้าหมายของ Facebook ในปี 2018 คือการทำให้เป็นพื้นที่ซึ่งเราใช้เวลากับมันได้อย่างมีคุณค่า
ในทุกปี Mark Zuckerberg ซีอีโอ Facebook จะประกาศเป้าหมายส่วนตัวของแต่ละปี อย่างเมื่อปีที่แล้ว คือการเดินทางไป 50 รัฐในอเมริกา หรือในอดีตก็มี วิ่ง 365 ไมล์, สร้าง AI ในบ้าน, อ่านหนังสือใหม่ทุก 2 สัปดาห์ สำหรับเป้าหมายปีนี้เขาบอกเองเลยว่า ไม่ถือเป็นเป้าหมายส่วนตัวเสียทีเดียว แต่เป็นเรื่องของ Facebook
เขาบอกว่าวันนี้โลกมีความสับสนวุ่นวายและแตกแยก ซึ่งถือเป็นภารกิจ Facebook ต้องลงมือทำ เพื่อปกป้องชุมชนจากการก่อกวนและสร้างความเกลียดชัง ให้เวลาที่เราใช้งาน Facebook เป็นเวลาที่ดี เป้าหมายของเขาในปีนี้จึงเป็นการลงมาแก้ไขปัญหาเหล่านี้ มีการควบคุมและปกป้องผู้ที่ใช้งาน Facebook อย่างไม่ถูกต้อง
คงพอจำกันได้เรื่องนิตยสารออนไลน์ที่เตรียมจะทำขึ้นเพื่อวิเคราะห์รูปถ่ายของ Mark Zuckerberg ที่มักแฝงนัยบางอย่างในภาพจนสามารถตีความไปได้ต่างๆ นานา ล่าสุดเปิดให้อ่านออนไลน์แล้ว โดยใช้ชื่อเว็บไซต์ว่า zuckerbergreview.com
หัวข้อใหญ่ที่ปรากฏทันทีที่เข้าเว็บไซต์คือ The California Review of Images and Mark Zuckerberg บรรณาธิการคือ Tim Hwang ผู้มีความสนใจในรูปถ่ายของ Zuckerberg ภายในเว็บไซต์มีคนเขียนหลายคนแต่ละคนเขียนวิเคราะห์เจาะรูปภาพใดรูปภาพหนึ่งของ Zuckerberg โดยเฉพาะ มีตั้งแต่วิเคราะห์รูปโปรไฟล์ที่ Zuckerberg เคยตั้งไว้ตั้งแต่ปี 2013, รูปที่กอดทักทายกับ Narendra Modi นายกรัฐมนตรีอินเดียหรือแม้แต่รูปถ่ายในออฟฟิศ ก็วิเคราะห์กระทั่งการออกแบบ เฟอร์นิเจอร์ เก้าอี้ทำงานกันเลยทีเดียว
Facebook รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 3/2017 มีรายได้รวม 10,328 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 47% จากไตรมาสเดียวกันในปี 2016 ซึ่งถือเป็นไตรมาสแรกที่ Facebook มีรายได้เกินหมื่นล้านดอลลาร์ ส่วนกำไรสุทธิอยู่ที่ 4,707 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นถึง 79% จากปีก่อน โดยรายได้จากโฆษณาผ่านมือถือคิดเป็น 88% ของรายได้จากโฆษณารวมทั้งหมด
จำนวนผู้ใช้งานเป็นประจำทุกเดือน (MAUs) 2,072 ล้านคน เพิ่มขึ้น 16% และผู้ใช้งานเป็นประจำทุกวัน (DAUs) มี 1,368 ล้านคน เพิ่มขึ้น 16%
Mark Zuckerberg ซีอีโอ Facebook ได้เผยถึงวิธีที่จะจัดการเกี่ยวกับการโฆษณาด้านการเมืองบนแพลตฟอร์ม Facebook เพื่อให้การโฆษณาบนแพลตฟอร์มมีความโปร่งใส และเป็นการรับมือกับปัญหาข่าวปลอมที่อาจเกิดขึ้นได้อีกบนแพลตฟอร์ม โดยมีทั้งหมด 3 ข้อดังนี้