Tags:
Node Thumbnail

โครงการโอเพนซอร์สฮาร์ดแวร์ Open Compute Project (OCP) ร่วมกับบริษัทยักษ์ใหญ่หลายรายคือ AMD, Google, Microsoft, NVIDIA เปิดตัวโครงการ Caliptra การสร้าง "รากแห่งความเชื่อถือ" (root of trust หรือ RoT) ลงไปที่ระดับชิปทุกประเภท

แนวคิด root of trust คือการให้ฮาร์ดแวร์สามารถยืนยันกันต่อได้เป็นชั้นๆ ว่าชั้นก่อนหน้าตัวเองปลอดภัย ไม่แปลกปลอม โดยใช้กระบวนการเข้ารหัสลับ (cryptography) ช่วยยืนยัน แต่ที่ผ่านมา การทำ RoT มักแยกส่วนกันตามผู้ผลิตฮาร์ดแวร์แต่ละชิ้น เช่น SoC แยกจากเมนบอร์ด ทำให้การตรวจสอบยืนยันทำได้ยาก โดยเฉพาะงานประมวลผลยุคใหม่ที่รันงานในคลาวด์ มีความซับซ้อนของฮาร์ดแวร์สูง แต่ก็ต้องการระดับความปลอดภัยที่สูงมาก

Tags:
Node Thumbnail

สัปดาห์ที่แล้วมีงานสัมมนา Open Compute Summit 2017 ซึ่ง Facebook ในฐานะตัวตั้งตัวตีของโครงการนี้ ก็เปิดตัวฮาร์ดแวร์รุ่นใหม่ออกมาหลายแขนง

ฮาร์ดแวร์ที่น่าสนใจคือ Bryce Canyon สตอเรจเซิร์ฟเวอร์รุ่นใหม่ของปี 2017 ที่พัฒนาต่อจาก Honey Badger ในปี 2016

ธีมหลักของ Bryce Canyon คือระบบสตอเรจประสิทธิภาพสูง รองรับงานวิดีโอที่กำลังบูม มันจึงเน้นความหนาแน่น (density) ของการใส่ฮาร์ดดิสก์ โดยรองรับฮาร์ดดิสก์ขนาด 3.5 นิ้วได้ถึง 72 ตัว นอกจากนี้มันยังออกแบบให้ขยายโมดูลซีพียูเพิ่มได้เป็น 2 ชุด เพื่อรองรับภาระงานประมวลผลที่มากขึ้น

การออกแบบฮาร์ดแวร์ยังคำนึงถึงความง่ายในการซ่อมบำรุง อุปกรณ์ทุกชิ้นสามารถถอดได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือช่วย

Tags:
Node Thumbnail

ไมโครซอฟท์ประกาศความร่วมมือกับ Qualcomm (ภายใต้บริษัทลูก Qualcomm Datacenter Technologies) และ Cavium ผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์สาย ARM เปิดตัวต้นแบบ Windows Server เวอร์ชันที่ทำงานบนซีพียูสถาปัตยกรรม ARM แล้ว

เซิร์ฟเวอร์ของ Qualcomm ใช้ซีพียู Qualcomm Centriq 2400 ซึ่งเป็นซีพียู ARM สำหรับเซิร์ฟเวอร์ ผลิตที่ระดับ 10 นาโนเมตร มีจำนวน 48 คอร์ ส่วนเซิร์ฟเวอร์ของ Cavium ใช้ซีพียู ThunderX2 ARMv8-A ของตัวเอง

เซิร์ฟเวอร์ทั้งสองรุ่นรัน Windows Server เวอร์ชันพิเศษที่ใช้ภายในศูนย์ข้อมูลไมโครซอฟท์ โดยทีมงานของไมโครซอฟท์แก้ปัญหาเซิร์ฟเวอร์ ARM ไม่มีซอฟต์แวร์รองรับ ด้วยการพอร์ตตัวระบบปฏิบัติการ, รันไทม์, มิดเดิลแวร์มาสู่สถาปัตยกรรม ARM

Tags:
Node Thumbnail

ถ้ายังจำกันได้ เมื่อปี 2015 Facebook เปิดตัวสวิตช์ขนาดกลางของตัวเองในชื่อ 6-pack โดยเกิดจากการนำสวิตช์ขนาดมาตรฐาน Wedge ที่ออกแบบภายใต้โครงการ Open Compute จำนวน 6 ตัวมาต่อกัน

ปีนี้ Facebook กลับมาอีกครั้งด้วยสวิตช์รุ่นที่สองต่อจาก 6-pack โดยใช้ชื่อว่า "Backpack" ที่ออกแบบมารองรับศูนย์ข้อมูลยุค 100 กิกะบิต (100G) จุดเด่นของมันคือการออกแบบช่องเสียบเป็นโมดูล (รองรับ Wedge 100 ซึ่งเป็น Wedge รุ่นที่สองจำนวน 12 ตัว) แยกส่วนข้อมูล การควบคุม และการจัดการ รวมถึงออกแบบเรื่องระบายความร้อนให้ดีขึ้นด้วย

ฝั่งของซอฟต์แวร์ Backpack จะใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส FBOSS และ OpenBMC ที่เขียนขึ้นเองและใช้มาตั้งแต่ 6-pack คอยบริหารจัดการ ตอนนี้ Backpack ถูกใช้งานจริงภายใน Facebook แล้ว และทางทีมงานก็ส่งเอกสารกำหนดสเปกเข้าโครงการ Open Compute เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะแล้วเช่นกัน

ที่มา - Facebook Code

Tags:
Node Thumbnail

เมื่อต้นปีนี้ กูเกิลร่วมเป็นสมาชิก Open Compute Project ที่มี Facebook เป็นผู้ก่อตั้ง

ล่าสุดกูเกิลออกมาเผยผลงานชิ้นแรกที่ร่วมพัฒนากับ Facebook คือสเปกตู้แร็ค Open Rack v2.0 Standard และเผยแพร่ร่างออกสู่สาธารณะแล้ว

Open Rack v2.0 ใช้ระบบจ่ายไฟแบบ 48V ที่กูเกิลใช้มาตั้งแต่ปี 2010 โดยกูเกิลอธิบายว่าเป็นระบบที่ประหยัดพลังงานกว่าการจ่ายไฟแบบ 12V มาก เดิมทีสเปก Open Rack เวอร์ชันแรกอิงอยู่บนระบบไฟ 12V และกูเกิลพยายามนำเสนอสเปกที่ปรับปรุงขึ้นจากเดิม เพื่อกระตุ้นให้วงการย้ายจากระบบ 12V มาเป็น 48V ในท้ายที่สุด

Tags:
Node Thumbnail

ต้นฉบับของบริษัทไอทีที่ "ออกแบบฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์เอง" ย่อมเป็นกูเกิลอย่างไม่ต้องสงสัย แนวทางของกูเกิลกลายเป็นต้นแบบให้บริษัทไอทีรายอื่นๆ หันมาทำตามกัน รายที่มาแรงที่สุดคือ Facebook ที่ทำเองยังไม่พอ แต่ตั้งกลุ่ม Open Compute Project (OCP) เพื่อเปิดข้อมูลเหล่านี้ต่อสาธารณะ รวมถึงเชิญบริษัทอื่นร่วมพัฒนาด้วย (จนหลายคนมองว่า OCP คือโครงการที่ Facebook รวมกลุ่มเพื่อต่อกรกับกูเกิล)

ที่ผ่านมา กูเกิลสงวนท่าทีต่อ OCP มาโดยตลอด แต่ล่าสุดท่าทีเปลี่ยนไปแล้ว เพราะกูเกิลประกาศเข้าร่วม OCP อย่างเป็นทางการ

Tags:
Node Thumbnail

โครงการ Open Compute ของ Facebook เกิดขึ้นเพื่อแชร์สถาปัตยกรรมฮาร์ดแวร์แบบเปิด ทั้งเซิร์ฟเวอร์ประมวลผล สตอเรจและอุปกรณ์เครือข่าย

Tags:
Node Thumbnail

เฟซบุ๊กเปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ Big Sur ที่เน้นการประมวลผลปัญญาประดิษฐ์ สร้างจาก Tesla Accelerated Computing Platform โดยออกแบบให้ติดตั้งการ์ด NVIDIA Tesla M40 ได้ถึง 8 ใบ

ตัวเครื่องถูกออกแบบให้จัดการได้ง่าย ชิ้นส่วนทั้งหมดสามารถถอดได้โดยไม่ต้องใช้ไขควง ยกเว้นเพียงฮีตซิงก์ซีพียูเท่านั้น ตัวฮาร์ดดิสก์สามารถถอดได้จากหน้าเครื่อง และชิ้นส่วนที่สามารถสัมผัสได้โดยตรงจะแสดงไว้ด้วยสีเขียว Pantone 375 C เหมือนกันในทุกเครื่องของเฟซบุ๊ก

เฟซบุ๊กเตรียมจะเปิดรายละเอียดการออกแบบ Big Sur เข้าไว้ในโครงการ Open Compute Project เร็วๆ นี้

ที่มา - Facebook

Tags:
Node Thumbnail

เอชพีเปิดตัวระบบปฎิบัติการ OpenSwitch สำหรับใช้งานบนสวิตช์ที่ทำตามมาตรฐาน Open Network Install Environment (ONIE) ตอนนี้มีสวิตช์ที่รองรับทั้งหมด 4 รุ่นจากเอชพีเองและ Edge-Core

การรองรับ OpenSwitch เพิ่มเติมทำให้สวิตช์ในตระกูล Altoline ของเอชพีรองรับระบบปฎิบัติการแล้วสามตัว ตัว จากเดิมที่รองรับ Pica8 และ Cumulus อยู่แล้ว

Tags:
Node Thumbnail

ศูนย์ข้อมูลแห่งใหม่ของ Facebook ที่กำลังก่อสร้าง ในเมือง Fort Worth รัฐเท็กซัส จะใช้พลังงานทดแทนทั้งระบบ มูลค่ากว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ บนพื้นที่ 110 เอเคอร์ (0.445 ตารางกิโลเมตร) มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 5 จากศูนย์ข้อมูลของ Facebook ทั้งหมด และจะติดตั้งอุปกรณ์ชุดล่าสุดจาก

Tags:
Node Thumbnail

เมื่อคืนนี้ Facebook จัดงานสัมมนา F8 2015 วันที่สอง โดย Mike Schroepfer ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิค (CTO) ของบริษัทขึ้นเวทีวาดวิสัยทัศน์ของ Facebook ในอีก 10 ปีข้างหน้าให้ทุกคนได้รับรู้

ผมคิดว่าการนำเสนอของ Schroepfer ช่วยให้เราเข้าใจหลายๆ อย่างที่ Facebook กำลังทำอยู่ในตอนนี้ว่าทำไปทำไม (เช่น ทำไมต้องซื้อ Oculus, ทำไมต้องทำโครงการ Open Compute หรือ Internet.org) จึงสรุปเนื้อหาจากงาน F8 มาในบทความนี้ครับ

Tags:
Node Thumbnail

เมื่อต้นปีที่แล้ว ไมโครซอฟท์ประกาศเข้าร่วมโครงการ Open Compute ที่นำทีมโดย Facebook แถมยังเปิดสเปกฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ในศูนย์ข้อมูลของตัวเอง ปีนี้ไมโครซอฟท์กลับมาอีกครั้งพร้อมเซิร์ฟเวอร์รุ่นที่สอง ที่นำเสนอแนวคิดใหม่ "ใส่แบตเตอรี่ในเซิร์ฟเวอร์"

แนวคิดของไมโครซอฟท์พยายามแก้ปัญหาของศูนย์ข้อมูลแบบเดิม ที่มีเครื่องสำรองไฟ UPS ขนาดใหญ่โดยใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด (lead-acid battery) ซึ่งกินพื้นที่มาก (อาจจะถึง 25% ของพื้นที่ศูนย์ข้อมูลทั้งหมด), การแปลงไฟ AC/DC ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานโดยเปล่าประโยชน์ และถ้า UPS มีปัญหาก็ร่วงหมดทั้งศูนย์ข้อมูล

Tags:
Node Thumbnail

ปีที่แล้ว Facebook เปิดตัวฮาร์ดแวร์สวิทช์ของตัวเองในชื่อ Wedge ซึ่งใช้แนวคิด "ทำสวิตช์ให้เหมือนเซิร์ฟเวอร์" นั่นคือใช้ฮาร์ดแวร์มาตรฐาน และเน้นการควบคุมด้วยซอฟต์แวร์ (Linux + ซอฟต์แวร์ควบคุมชื่อ FBOSS)

วันนี้ Facebook เผยความคืบหน้าของโครงการดังนี้

Tags:
Node Thumbnail

เมื่อเกือบ 1 ปีที่แล้ว HP ประกาศความร่วมมือกับ Foxconn ทำฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์สำหรับกลุ่มเมฆ วันนี้ผลงานสำเร็จเป็นรูปเป็นร่างในชื่อ HP Cloudline

HP Cloudline ออกแบบมาสำหรับเซิร์ฟเวอร์ที่ต้องการความสามารถในการขยายตัวสูงๆ (hyperscale) แต่มีราคาไม่แพง ซึ่งเดิมทีตลาดนี้เป็นของเซิร์ฟเวอร์แบบ white box แบบไม่มีแบรนด์ (เพราะทำราคาได้ถูกกว่า) การออก Cloudline จึงเป็นยุทธศาสตร์ของ HP ที่ต้องการเจาะตลาดนี้ โดยเน้นบริการหลังขายของตัวเองที่ white box ให้ไม่ได้ (สโลแกนของ Cloudline คือ "Tier one quality with white box pricing")

Tags:
Node Thumbnail

โครงการ Open Compute ของ Facebook เปิดตัวเซิร์ฟเวอร์แนวคิดใหม่ชื่อ "Yosemite" (ไม่เกี่ยวอะไรกับแอปเปิลเลยสักนิด) รูปแบบคือเป็นเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ SoC แทนที่จะแยกชิ้นส่วนอุปกรณ์แบบเซิร์ฟเวอร์ทั่วไป

Yosemite ออกแบบตัวโครงมาเป็นพิเศษ เซิร์ฟเวอร์หนึ่งตัวสามารถใส่ SoC ได้ 4 หน่วย โดย Soc หนึ่งหน่วยประกอบด้วยซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์ (จับมือกับอินเทลใช้ Xeon D ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อวาน), หน่วยความจำ, อินเทอร์เฟซสำหรับ SSD, คอนโทรลเลอร์สำหรับบริหารจัดการ

Tags:
Node Thumbnail

Juniper ผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่ายระดับสูงเปิดตัวสินค้าในกลุ่ม Open Compute เต็มตัว ด้วยสวิตช์ OCX1100 ที่รันระบบปฎิบัติการ Junos รุ่นใหม่ที่สร้างจาก Open Network Install Environment (ONIE) ทำให้สามารถติดตั้งเครื่องใหม่ลงไปบนสวิตช์ได้เพิ่มเติม เช่น Puppet และ Chef

ตอนนี้ OCX1100 กำลังส่งให้โครงการ Open Compute ตรวจสอบ และคาดว่าจะได้รับการรับรองก่อนที่จะวางขายในช่วงไตรมาสแรกปี 2015

Tags:
Node Thumbnail

จากข่าวล่าสุดเรื่องโครงการสวิตซ์เครือข่ายแบบเปิด Wedge ของ Facebook นักวิเคราะห์หลายสำนักต่างตั้งข้อกังวลว่าโครงการนี้อาจส่งผลกระทบกับ Cisco ผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์เครือข่ายรายใหญ่โดยตรง เพราะอาจเป็นการเปลี่ยนเกมธุรกิจฮาร์ดแวร์ให้เป็น commodity มากขึ้น

โฆษกของ Cisco ได้ชี้แจงข้อสงสัยดังกล่าวว่าโครงการนี้มีค่าใช้จ่ายแฝงในการนำไปใช้จริงอยู่มาก โดยเฉพาะค่าแรง ตัวอย่างเช่นโครงการวางระบบเครือข่ายทั่วไปนั้น ค่าใช้จ่ายฮาร์ดแวร์จะอยู่ราว 30% ขณะที่ค่าแรงบุคลากรอยู่ที่ 50% ซึ่งตัวเลขจะสูงขึ้นกว่านี้มากหากเป็นสวิตซ์เครือข่ายแบบเปิด นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายแฝงอย่างค่าไลเซนส์ซอฟต์แวร์เครือข่ายเสมือนจริงเพิ่มเข้ามาอีก

Tags:
Node Thumbnail

โครงการ Open Compute เริ่มต้นจากการออกแบบเซิร์ฟเวอร์ แต่ภายหลังก็ประกาศขยายมาทำอุปกรณ์เครือข่ายเป็นลำดับต่อไป (ข่าวเก่า 1, ข่าวเก่า 2) วันนี้มีผลงานเป็นรูปเป็นร่างออกมาโชว์แล้วครับ

อุปกรณ์ตัวแรกคือ "สวิตช์" ที่อยู่ภายใต้แนวคิดใหม่คือแยกส่วนการทำงานเป็นระดับฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ (ตามแนวคิด software-defined networking) ผลงานที่ออกมาจึงถูกแยกเป็น 2 ส่วนด้วยเช่นกัน

ฮาร์ดแวร์: Wedge

ฮาร์ดแวร์สวิตช์ของ Facebook ใช้โค้ดเนมว่า "Wedge" มันคือสวิตช์เครือข่ายแนวใหม่ที่ใช้ชิ้นส่วนที่หาได้ทั่วไป

Tags:
Node Thumbnail

Jay Parikh รองประธานด้านวิศวกรรมโครงสร้างพื้นฐานของเฟซบุ๊กเปิดเผยที่งาน Open Compute Summit งานประชุมภายใต้โครงการ Open Compute (โครงการเปิดสเปกฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์สำหรับศูนย์ข้อมูลที่ริเริ่มโดยเฟซบุ๊ก) ว่าบริษัทกำลังพัฒนาต้นแบบระบบสตอเรจที่เก็บข้อมูลแล้วแทบไม่ต้องเข้าถึงอีกเลย (cold storage) ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลสูงสุด 1 เพตะไบต์บนแผ่นบลูเรย์ 10,000 แผ่น และคาดว่าในอนาคตจะสามารถเพิ่มความจุได้เป็น 5 เพตะไบต์

Tags:
Node Thumbnail

Blognone รายงานข่าวของโครงการ Open Compute ศูนย์กลางการเปิดสเปกด้านฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์อยู่เรื่อยๆ แต่ที่ผ่านมาเรามักเห็นแต่ข่าวบริษัทไอทียักษ์ใหญ่ออกมาเปิดเผยสเปกของที่มีอยู่แล้วต่อสาธารณะ และยังไม่เห็นข่าวที่เกี่ยวกับการนำไปใช้เท่าไรนัก

ล่าสุดบริษัท IO ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบศูนย์ข้อมูล บุกเข้ามาทำฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์เองภายใต้ชื่อโซลูชันว่า IO.Cloud

Tags:
Node Thumbnail

โครงการ Open Compute เป็นโครงการเปิดสเปกฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์สำหรับศูนย์ข้อมูลที่ริเริ่มโดย Facebook ตั้งแต่ปี 2011

เวลาผ่านมาเกือบ 3 ปี Open Compute ได้สมาชิกสำคัญเพิ่มอีกรายคือไมโครซอฟท์

ไมโครซอฟท์มีศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับให้บริการ Bing, Azure, Xbox และบริการอื่นๆ ในเครืออยู่แล้ว และภายในศูนย์ข้อมูลเหล่านี้ใช้ระบบเซิร์ฟเวอร์ที่ไมโครซอฟท์ออกแบบเองให้ทำงานกับ Windows Server ได้มีประสิทธิภาพสูงสุด มีต้นทุนถูกกว่าเซิร์ฟเวอร์ทั่วไปได้ถึง 40%, ประหยัดพลังงานสูงสุด 15%, ติดตั้งได้เร็วกว่าถึง 50%

Tags:
Node Thumbnail

โครงการ Open Compute Project ที่นำโดยเฟซบุ๊กเพื่อสร้างฮาร์ดแวร์สำหรับเซิร์ฟเวอร์เฉพาะทางที่มีประสิทธิภาพสูง ตอนนี้หันมาบุกตลาดอุปกรณ์เครือข่ายโดยเริ่มจากสวิตซ์สำหรับติดตั้งบนตู้เซิร์ฟเวอร์ (top-of-rack switch)

สวิตซ์ตามมาตรฐานจะแบ่งเป็นสองส่วนได้แก่ตัวฮาร์ดแวร์ Open Network Switch, และซอฟต์แวร์ Open Network Install Environment (ONIE)

ในฝั่งฮาร์ดแวร์ตอนนี้มีผู้ผลิตสองรายออกมารองรับมาตรฐานแล้วได้แก่

Tags:
Node Thumbnail

Open Compute Project เป็นโครงการที่ริเริ่มโดย Facebook มีเป้าหมายเพื่อเปิดข้อมูลของฮาร์ดแวร์ที่พัฒนาขึ้นเองสำหรับศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ ปัจจุบันสถานะข

Tags:
Node Thumbnail

โครงการ Open Compute เป็นโครงการที่เริ่มจากเฟซบุ๊กเปิดพิมพ์เขียวของเมนบอร์ดและอุปกรณ์ต่างๆ ในศูนย์ข้อมูลของตัวเองให้แก่สาธารณะ เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าที่ทำงานร่วมกับอุปกรณ์เหล่านี้ได้ ปีนี้โครงการ Open Compute ก็สามารถรวบรวมผู้ผลิตทั้งหลายมารวมตัวออกบูตงานประชุมของตัวเองได้แล้ว

เรื่องสำคัญที่สุดคงเป็นชิป X-Gene โดยบริษัท Applied Micro ชิป ARMv8 ทำงานที่สัญญาณนาฬิกา 2.5 GHz 8 คอร์ ผลิตที่เทคโนโลยี 40 นาโนเมตร รองรับแรมได้ 256 GB จะเริ่มส่งมอบภายในปีนี้ และภายในปลายปีนี้จะออกรุ่นที่สอง ทำงานที่สัญญาณนาฬิกา 3 GHz และใช้กระบวนการผลิต 28 นาโนเมตร

Tags:
Node Thumbnail

ถ้ายังจำกันได้ เมื่อปีที่แล้ว Facebook เปิดโครงการ Open Compute โดยเปิดเผยรายละเอียดทางวิศวกรรมในศูนย์ข้อมูลของตัวเองต่อบุคคลภายนอก

โครงการย่อยที่สำคัญอย่างหนึ่งของ Open Compute คือ Open Rack หรือการออกแบบแร็คเซิร์ฟเวอร์แบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพการทำงานสำหรับศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่มากขึ้น

แร็คเซิร์ฟเวอร์ในปัจจุบันมักพัฒนาจากมาตรฐาน EIA 310-D ที่ออกแบบมานานแล้ว ไม่สอดคล้องกับความต้องการของศูนย์ข้อมูลในยุคปัจจุบัน รวมถึงมาตรฐานบางอย่างไม่ได้ระบุไว้ชัดเจน ทำให้แร็คข้ามยี่ห้อทำงานด้วยกันไม่ได้

Pages