การประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2558 มีมติเห็นชอบข้อเสนอของกระทรวงการคลัง เรื่องมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนกิจการเงินร่วมลงทุน (Venture Capital) สำหรับการลงทุนในกิจการที่ใช้เทคโนโลยีหลักเป็นฐานในการประกอบธุรกิจ โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้
ประเด็นเรื่อง Single Gateway ที่ยังมีข่าวและกระแสต่อต้านยังไม่จบ (อ่านได้จากหมวดข่าวเก่า) ได้สร้างแรงเสียดทานให้กับรัฐบาลตลอดระยะเวลาสองอาทิตย์เศษ มาตอนนี้ นายกรัฐมนตรีได้ออกมากล่าวถึงโครงการนี้อีกครั้งหนึ่งแล้วจากการสัมภาษณ์ของสื่อมวลชนที่ทำเนียบรัฐบาล
เว็บไซต์ข่าวมติชนออนไลน์ รายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ตอบคำถามของสื่อมวลชนในประเด็นของ Single Gateway โดยระบุว่าเป็นการพูดคุยหารือกันในคณะรัฐมนตรีเท่านั้น และอันที่จริงแล้วเป็นการหารือว่าจะมีวิธีการอย่างใดบ้างที่จะสามารถป้องกันภัยคุกคามจากอินเทอร์เน็ต ที่ต้องรักษาสมดุลของกฎหมายกับหลักสิทธิมนุษยชนไปควบคู่กัน โดยยังอยู่ในขั้นตอนศึกษาเท่านั้น
ประเด็นเรื่องการจัดตั้ง Single Gateway ยังมีรายละเอียดเพิ่มเติมออกมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดหนังสือพิมพ์แนวหน้ารายงานข้อมูลอย่างไม่ยืนยันเกี่ยวกับความเป็นมาของโครงการ Single Gateway ว่าแท้จริงแล้วมีมาตั้งแต่สมัย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล (หม่อมอุ๋ย) ยังดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจอยู่ด้วยซ้ำ
ปัญหาหน้าตาที่ไม่สวยงามและความยุ่งยากในการใช้งานเว็บไซต์หน่วยงานรัฐบาลไม่ได้มีอยู่แค่ประเทศไทยเรา ประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกาก็มีปัญหานี้มายาวนาน ในที่สุดทีม 18F หน่วยงานรัฐบาลของสหรัฐอเมริกาที่ก่อตั้งมาเพื่อจุดประสงค์ในการพัฒนาบริการทางดิจิตอลของภาครัฐให้ง่ายขึ้น ร่วมกับ U.S. Digital Service (USDS) ได้ประกาศโครงการสร้างมาตรฐานการออกแบบเว็บไซต์สำหรับหน่วยงานรัฐบาลในสหรัฐอเมริกา
นอกจากต้องเดินหน้าประเด็นร้อนอย่างการทำให้เมืองไทยมี Single Gateway แล้ว อีกผลงานของรมว. ไอซีทีคนใหม่ นายอุตตม สาวนายน คือกระบวนการร่างชุดกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล ว่าด้วยร่างพ.ร.บ. ทั้ง 8 ฉบับที่เกี่ยวข้อง ซึ่งล่าสุดมีรายงานว่าถูกดึงกลับมาทบทวนใหม่เกือบทั้งหมด
ทางการฟิลิปปินส์ประกาศแผนขยายโครงข่าย Wi-Fi ฟรีครั้งใหญ่ โดยมีเป้าหมายจะครอบคลุมทั่วประเทศก่อนสิ้นปี 2016 ด้วยงบลงทุน 1.5 พันล้านเปโซต่อปี (ประมาณ 1,150 ล้านบาท)
แนวทางของแผนขยายโครงข่าย Wi-Fi นี้ออกมาเพื่อกดดันผู้ให้บริการรายใหญ่ทั้งสองเจ้าอย่าง Philippine Long Distance Telephone Co. และ Globe Telecom Inc ซึ่งคิดค่าบริการแพงกว่าราคาเฉลี่ยทั่วโลกถึงเกือบ 4 เท่าตัว พร้อมกับขยายไปยังจุดที่สัญญาณไปไม่ถึงอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม Wi-Fi ฟรีนี้จะจำกัดความเร็วไว้ที่ 256kbps ซึ่งดูแล้วอาจจะน้อย แต่ก็เพียงพอสำหรับใช้บริการพื้นฐานอินเทอร์เน็ตต่างๆ รวมถึง Facebook ด้วย ตามแผนระบุว่าจะครอบคลุมให้ได้ถึงครึ่งหนึ่งในปี 2015 ก่อนขยายทั่วประเทศในปี 2016
NATO Communications and Information Agency หน่วยงานความมั่นคงสารสนเทศของนาโต้ตกลงเข้าร่วม Government Security Program (GSP) โครงการนี้ทำให้นาโต้สามารถเข้าถึงซอร์สโค้ดของซอฟต์แวร์สำคัญๆ หลายตัวของไมโครซอฟท์ พร้อมกับสิทธิพิเศษในการแจ้งเตือนความปลอดภัย
โครงการความปลอดภัยนี้ทำให้ชาติที่สงสัยว่าไมโครซอฟท์แอบฝังช่องโหว่ใดไว้หรือไม่ สามารถเข้าตรวจสอบซอร์สโค้ดได้ด้วยตัวเอง พร้อมกับเข้าถึงเอกสารทางเทคนิคเพิ่มเติม
ตอนนี้ GSP มีสมาชิกแล้ว 40 หน่วยงานรวม 25 รัฐบาลทั่วโลก
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ (8 กันยายน 2558) อนุมัติมาตรการส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยมีประเด็นที่เกี่ยวกับธุรกิจเกิดใหม่ (startup ทุกประเภทไม่จำกัดเฉพาะไอที) ดังนี้
สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (EGA) ประกาศเตรียมจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้เทคโนโลยีไอทีสำหรับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงจะเปิด TED Talk ในฝั่งภาครัฐด้วย
ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการของสำนักงานฯ ระบุว่า การเปิดสถาบันการเรียนรู้ในครั้งนี้ เพราะเนื่องจากต้องการให้เจ้าหน้าที่รัฐมีความเข้าใจในเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น โดยในช่วงแรกจะเปิดสอนเนื้อหาเกี่ยวกับ IPv6 และจะขยายเนื้อหาไปในส่วนอื่นๆ เช่น Big Data, Internet of Things เป็นต้น
นอกจากนี้ยังระบุว่า เตรียมที่จะจัด TED Talk ในรูปแบบของภาครัฐ เพื่อทำให้เจ้าหน้าที่รัฐเกิดความตื่นตัวในการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาปรับใช้กับการทำงานด้วย
ที่มา - อีเมลข่าวประชาสัมพันธ์
Press Release 31/8/58
ตั้งแต่ที่สี จิ้นผิง ผู้นำสูงสุดของสาธารณรัฐประชาชนจีน ออกนโยบายตรวจเข้มความปลอดภัยบนโลกอินเทอร์เน็ตเมื่อปี 2013 เป็นผลให้มีการสืบสวนคดีความคิดออนไลน์กว่า 7,400 รายการเมื่อปีก่อน จนเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา จีนเพิ่งประกาศแผนกวาดล้างอาชญากรรมอินเทอร์เน็ตครั้งใหญ่ และออกมารายงานผลอย่างเป็นทางการแล้ว
โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้องกับโครงการนี้ ออกมาเผยตัวเลขของผู้กระทำความผิดผ่านอินเทอร์เน็ตที่ถูกจับกุมแล้วกว่า 15,000 ราย โดยนโยบายนี้มุ่งเป้าไปที่แหล่งที่มาของเว็บไซต์ที่ผิดกฎหมาย หรือให้ข้อมูลอันตราย/บิดเบือน รวมถึงการสืบหาต้นตอของกลุ่มอาชญากรรมบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งแผนต่อไปคือการเพิ่มความเข้มข้นในการทะลายกลุ่มอาชญากรรมออนไลน์ให้เด็ดขาดยิ่งขึ้น
ตามที่มีกระแสข่าวช่วงที่ผ่านมา ล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้นำรายชื่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่มีการปรับเปลี่ยนในหลายตำแหน่งขึ้นทูลเกล้าฯ และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งแล้ว ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนแปลงในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือกระทรวงไอซีที โดยเปลี่ยนจาก ดร.พรชัย รุจิประภา เป็น ดร.อุตตม สาวนายน
ประเด็นร้อนในตอนนี้อย่างแผนการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งใหญ่ ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงทีมเศรษฐกิจจาก ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ไปเป็นสมคิด จาตุศรีพิทักษ์แทน คาดกันว่าจะส่งผลกระทบกับโครงการเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ตอนนี้ก็มีความเห็นจากนายสิทธิชัย โภไคยอุดม ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจออกมาบอกว่านโยบาย Digital Economy ส่อแววล่มแล้วหลังการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้
โดยนายสิทธิชัยให้ความเห็นว่า พร้อมข้อมูลประกอบว่า ตั้งแต่ที่ทีมเศรษฐกิจได้ร่างกฎหมายเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย Digital Economy ยังไม่เคยได้ผ่านเข้าไปสู่กระบวนการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ตามกระบวนการ เพราะถูกดองไว้ที่สำนักนายกรัฐมนตรี
ในวันนี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้กล่าวในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ ในประเด็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยเฉพาะการสื่อสารที่ส่งผลกับเด็ก ซึ่งพลเอกประยุทธ์ได้แสดงความเป็นห่วงในเรื่องของโลกอินเทอร์เน็ต และโลกโซเชียลที่จะมีผลกับเด็ก ส่งผลให้เด็กโตไปเป็นคนที่ก้าวร้าว โดยมีใจความตอนหนึ่งว่า
เมื่อวานนี้ (2 มิ.ย. 2558) มีการเผยแพร่ช่องโหว่ ที่อ้างว่าเป็นของเว็บแอพพลิเคชันซึ่งถูกพัฒนาและใช้กันมากในหน่วยงานรัฐ สถาบันการศึกษาและหน่วยงานอื่นๆ โดยเป็นช่องโหว่ประเภท SQL injection และกลุ่มแฮกเกอร์ชาวอินเดียเป็นผู้ประกาศช่องโหว่และวิธีการโจมตี
ช่องโหว่นี้จะเป็นการสร้างคำสั่ง SQL ไปยังพารามิเตอร์ &id_sub_menu=
ในไฟล์ /core_main/module/web/blog/blog.php
ซึ่งส่งผลให้ผู้โจมตีเข้าถึงข้อมูลในระบบได้โดยไม่ได้รับอนุญาต และในกรณีที่เว็บไซต์นั้นมีความปลอดภัยอยู่ในระดับต่ำ ความเสียหายของการโจมตีจะยิ่งร้ายแรงมากขึ้น จากการตรวจสอบพบว่ามีเว็บไซต์ที่มีช่องโหว่นี้อยู่ถึง 53,100 ราย ทางที่ดีที่สุดคือควรหยุดใช้งานในทันทีครับ
ThaiCERT ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย ภายใต้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) เตรียมเข้าไปช่วยหน่วยงานภาครัฐไทยเพิ่มระบบความปลอดภัยไซเบอร์มากขึ้น หลังหน่วยงานภาครัฐถูกโจมตีอย่างมากในช่วงหลัง
โครงการของ ThaiCERT จะเรียกว่า ThaiCERT Government Monitoring System (ThaiCERT GMS) แบ่งออกเป็น 2 ส่วน
ปีนี้ประเด็นสำคัญของโลกออนไลน์ไทยคงเป็นประเด็นกฎหมายเศรษฐกิจดิจิตอลที่ออกมารวดเดียวสิบฉบับ ขณะที่แรงสนับสนุนกฎหมายเหล่านี้มาจากฝั่งทหาร ที่ระบุว่า "ไม่ได้ทำผิดก็ไม่ต้องกลัวการตรวจสอบ" เมื่อปี 2555 คณะกรรมมาธิการทหาร วุฒิสภา ได้ทำรายงาน "สื่อสังคมออนไลน์กับภัยคุกคามความมั่นคงของชาติ" (PDF จากเว็บวุฒิสภา) เนื้อหาของรายงานฉบับนี้น่าจะทำให้เราได้เข้าใจมุมมองของการผลักดันกฎหมายและนโยบายหลายอย่างในปีที่ผ่านมา วันนี้ผมจึงยกประเด็นหลายประเด็นจากรายงานนี้มาสรุปไว้
เนื่องด้วยผมมีโอกาสได้ไปเข้าชมงาน eGov Day 2015 ที่จัดขึ้นที่ลาน Eden ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อวันที่ 26 เม.ย. โดยเฉพาะบูธโครงการ Smart Citizen Info ตามคำเชิญชวนของโปรแกรมเมอร์ที่ผมรู้จักท่านนึงซึ่งมีส่วนร่วมโดยตรงกับโครงการนี้ แม้ว่าจะโดนชวนตั้งแต่ปีที่แล้ว (เกือบลืมไปแล้ว) แต่ด้วยความสงสัยที่มีต่อบัตรประชาชนแบบสมาร์ทการ์ดว่าตกลงมันมีประโยชน์อย่างไรจะได้ใช้งานจริงได้เมื่อไหร่ จึงได้เดินทางไปหาคำตอบที่ผมเองเชื่อว่าหลายๆ คนก็คงอยากทราบเช่นกัน
ข่าวต่อเนื่องจากกสทช. เห็นชอบให้เลื่อนการจ่ายเงินค่าประมูลทีวีดิจิตอล ในการประชุมวันเดียวกันทางกสทช. ก็อนุมัติเงินจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ เป็นจำนวนเงินกว่า 47 ล้านบาท โดยผ่านการอนุมัติทั้งหมด 14 โครงการ แต่มีโครงการด้านไอที ทั้งหมด 7 โครงการ ได้แก่
นายลี เซียนลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ บุตรชายคนโตของนายลี กวนยู กล่าวปาฐกถาในงาน Founders Forum แสดงวิสัยทัศน์ถึงนโยบาย Smart Nation ของสิงคโปร์ แม้เนื้อหาส่วนมากจะพูดถึงภาพรวมของนโยบายไอทีประเทศ แต่ช่วงหนึ่งเขาก็พูดถึงเรื่องส่วนตัว ว่าเขาเคยเพลิดเพลินกับการเขียนโปรแกรม โดยโปรแกรมสุดท้ายที่เขาเขียน คือโปรแกรมแก้ Sudoku ที่เขียนด้วย C++ เขาระบุว่าเพราะเขาเขียน C++ จึงค่อนข้างล้าสมัยแล้ว และลูกชายทั้งสองคนของเขาเรียนด้านไอทีจบจาก MIT แนะนำให้เขาอ่านหนังสือสอนภาษา Haskell เขาคิดว่าจะอ่านมันหลังจากเกษียณอายุแล้ว
ศูนย์ความร่วมมือป้องกันไซเบอร์แห่งนาโต้ (NATO Cooperative Cyber Defence Centre of Excellence - CCDCOE) เริ่มงาน Locked Shields 2015 งานซ้อมป้องกันการโจมตีไซเบอร์ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของโลก ปีนี้มีชาติเข้าร่วม 16 ชาติ รวมผู้เชี่ยวชาญกว่า 400 คน
การซ้อมครั้งนี้จะซ้อมป้องกันการโจมตีระดับรัฐ ผู้เข้าร่วมจะได้รับมอบหมายให้ป้องกันโครงสร้างของประเทศสมมติที่ชื่อว่า Berylia อย่างไรก็ดี ความขัดแย้งระหว่างชาตินาโต้และรัสเซียทำให้ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่าการจำลองครั้งนี้น่าจะจำลองจากการโจมตีจากแฮกเกอร์ที่รัฐบาลรัสเซียหนุนหลัง
หลังจาก กสทช. สุทธิพล ทวีชัยการ ลาออกไปเป็น กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เมื่อปีที่แล้ว ทำให้คณะกรรมการ กสทช. เหลือ 10 คนจากเดิม 11 คน และต้องสรรหากรรมการคนใหม่มาทำหน้าที่แทน
เพิ่มเติมจากที่คณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลฯ ประกาศแผนจัดตั้งศูนย์ข้อมูลแห่งชาติ ในงานสัมมนาที่จัดขึ้นโดยสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (สรอ.) ว่าด้วยการปูแผนงานเพื่อรับกับการก้าวไปสู่รัฐบาลดิจิทัลยังมีรายละเอียดเพิ่มเติมที่น่าสนใจอีกดังนี้
เริ่มต้นด้วยเรื่องการขยายการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ได้มีการจัดตั้งบรอดแบนด์แห่งชาติสำหรับติดตั้งเครือข่ายใยแก้วนำแสงให้เข้าถึงได้จากทุกพื้นที่ทั้งสถานประกอบการ หรือพื้นที่พักอาศัยของประชาชน โดยไม่ต้องออกกฎหมายมารองรับ ซึ่งคาดการณ์ว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2560 นี้
ในการประชุมคณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2558 (งานเดียวกับข่าวเห็นชอบ กสทช. เดินหน้าประมูล 4G) คณะกรรมการฯ ยังมีมติให้หน่วยงานราชการไทยไม่สามารถของบซื้อ-ทำศูนย์ข้อมูล (data center) เฉพาะหน่วยงานของตัวเองได้อีกต่อไป แต่ต้องเปลี่ยนมาใช้ "ศูนย์ข้อมูลแห่งชาติ" แทน ตามแผนการบูรณาการศูนย์ข้อมูลภาครัฐ (Data Center Consolidation) เพื่อลดความซ้ำซ้อนของงบประมาณ
ศูนย์ข้อมูลแห่งชาติจะเปิดให้เอกชนเข้ามาประมูลโครงการในเร็วๆ นี้ โดยโครงการจะต้องดำเนินการเสร็จภายใน 12 เดือน ตอนนี้สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (EGA) กำลังศึกษารายละเอียด
ในยุคสมัยแห่ง big data ที่การวิเคราะห์ข้อมูลสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ รัฐบาลสหรัฐก็ตอบรับความเปลี่ยนแปลงนี้ด้วยการแต่งตั้ง "หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ข้อมูล" (Chief Data Scientist) ขึ้นมาวางนโยบายด้าน big data ของประเทศแล้ว
รัฐบาลบารัค โอบามา ใช้วิธีดึงผู้บริหารสายไอทีไปช่วยงานหลายคน โดยสหรัฐอเมริกามีทั้ง CTO (Chief Technology Officer) และ CIO (Chief Information Officer) ครั้งแรกในสมัยรัฐบาลโอบามารอบแรก