Gojek แอปเรียกรถแท็กซี่รายใหญ่จากอินโดนีเซีย ที่ขยายสู่บริการอื่นมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามแนวทางของซูเปอร์แอป ล่าสุดได้ประกาศเพิ่มบริการ GoPlay วิดีโอสตรีมมิ่งที่มีทั้งภาพยนตร์และซีรี่ส์ แบบคิดค่าบริการเหมาจ่ายรายเดือนเหมือน Netflix โดยในช่วงแรกจำกัดอยู่เฉพาะในอินโดนีเซียก่อน ซึ่งคอนเทนต์ส่วนใหญ่ก็เป็นของอินโดนีเซีย (ในไทย Gojek ใช้ชื่อแบรนด์ว่า GET)
อัตราค่าบริการของ GoPlay อยู่ที่ 89,000 รูเปียห์ต่อเดือน (ประมาณ 190 บาท) ถูกกว่า Netflix ที่เริ่มต้น 109,000 รูเปียห์ต่อเดือน นอกจากนี้ยังมีแพ็คเกจใหญ่ 99,900 รูเปียห์ต่อเดือน ซึ่งจะได้คูปองสำหรับสั่งอาหารเดลิเวอรี่ GoFood เพิ่มเติมด้วย
Gojek ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นสารพัดประโยชน์เริ่มเข้าสู่ตลาดเกมส์ด้วยการเปิดตัว GoGames ในอินโดนีเซีย เป็นบริการที่ให้ผู้ใช้งานเติมเงินในเกมส์ได้, อ่านเนื้อหาข่าวสารเกี่ยวกับเกมส์, และติดตามเนื้อหาจากอินฟลูเอนเซอร์ด้านเกมส์ในอินโดนีเซียโดยเฉพาะ
Andre Soelistyo ประธาน Gojek สตาร์ทรถแท็กซี่รายใหญ่จากอินโดนีเซีย เปิดเผยว่าบริษัทคาดว่าจะได้เงินเพิ่มทุนรอบล่าสุดครบ 2,000 ล้านดอลลาร์ ตามแผนที่วางไว้ภายในปีนี้ จากปัจจุบันเพิ่มทุนไปได้แล้วรวมกว่า 1,500 ล้านดอลลาร์ โดยมีผู้ลงทุนรายสำคัญทั้งกูเกิล, Tencent, Visa, ธนาคารไทยพาณิชย์ ตลอดจนกลุ่ม Mitsubishi
นอกจากอินโดนีเซียตลาดหลักแล้ว Gojek ยังขยายสู่ประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ช่วงปีที่ผ่านมา ทั้งสิงคโปร์ เวียดนาม รวมทั้งไทย ในชื่อแบรนด์ GET
Gojek มีทิศทางที่คล้าย Grab แต่ไม่เหมือนเสียทีเดียว โดยขยายจากบริการรถโดยสาร ไปสู่บริการส่งอาหาร เงินดิจิทัล รวมทั้งมีบริการที่แตกต่างอย่าง รับทำความสะอาดบ้าน และจัดส่งยาเวชภัณฑ์
Reuters และ Wall Street Journal รายงานอ้างอิงแหล่งข่าวตัวเองที่ตรงกันว่า Amazon กำลังอยู่ระหว่างการเจรจาในขั้นตอนแรก ๆ เพื่อลงทุนใน Go-Jek สตาร์ทอัพยูนิคอร์นด้านคมนาคมและเดลิเวอรี่ของอินโดนีเซีย
โฆษกของ Amazon ตอบกลับอีเมลของ WSJ ว่าบริษัทจะไม่แสดงความเห็นต่อข่าวลือใด ๆ ทั้งสิ้น ขณะที่ Go-Jek ไม่มีการตอบกลับใด ๆ ทั้งนี้ทั้งนั้นต่อให้ข่าวลือนี้เป็นจริงก็ใช่ว่าดีลทุกอย่างจะลุล่วงในท้ายทีสุด
Go-Jek มีบริษัทใหญ่ ๆ มาลงทุนอย่าง Alphabet, Alibaba, Tencent และ Visa ขณะที่ Amazon เคยไปลงทุนในบริษัทที่ทำธุรกิจคล้าย ๆ Go-Jek ในอังกฤษอย่าง Deliveroo มาแล้ว
Gojek เปลี่ยนโลโก้ใหม่ จากเดิมที่มีภาพคนขับจักรยานยนต์ เปลี่ยนมาเป็นวงกลมสีเขียว ที่มีวงแหวนใหญ่ล้อมรอบ พร้อมตัวอักษรชื่อบริษัทด้านล่างโลโก้
โดยโลโก้เดิมยังติดภาพบริการเรียกรถจักรยานยนต์อยู่ ทั้งที่ Gojek ขยายบริการตัวเองออกไปครอบคลุมทั้งเรียกรถแท็กซี่ เป็น mobile payment และเป็นบริการส่งของ นอกจากนี้ยังขยายบริการไปต่างประเทศนอกอินโดนีเซีย ในไทยเอง (ภายใต้ชื่อ Get) ก็เพิ่งได้รับการลงทุนจากธนาคารไทยพาณิชย์ โลโก้ใหม่จึงปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ไปสู่ความเป็นซูเปอร์แอพมากขึ้น
ธนาคารไทยพาณิชย์ประกาศลงทุนใน GOJEK หรือที่ทำการตลาดในชื่อ GET ในไทยในซีรีส์ F สร้างโซลูชั่นทางการเงินทั้งกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไป ร้านค้า และคนขับ GET ผลของความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นคือ
Bloomberg รายงานอ้างอิงแหล่งข่าวที่ไมเ่ปิดเผยว่า Go-Jek ผู้ให้บริการ Ride-Hailing รถมอเตอร์ไซค์ที่เปิดบริการในไทยในชื่อ GET ได้รับเงินลงทุนก้อนใหญ่จากธนาคารไทยพาณิชย์ในรอบการระดมทุนซีรีส์ F
แหล่งข่าวไม่ได้เปิดเผยมูลค่าเงินที่ไทยพาณิชย์ลงทุนในครั้งนี้ รวมถึงยังไม่มีข้อมูลว่าจะมีความร่วมมืออะไรกันมากกว่าแค่การลงทุนหรือไม่ ทั้งนี้เมื่อปีที่แล้วคู่แข่งอย่างธนาคารกสิกรไทยก็มีไปลงทุนกับคู่แข่ง Go-Jek อย่าง Grab เป็นเงินกว่า 1.6 พันล้านบาทไปก่อนหน้านี้
Go-Jek สตาร์ทอัพบริการเรียกรถโดยสารจากอินโดนีเซีย ที่ทำตลาดในไทยด้วยชื่อ GET! ประกาศรับเงินเพิ่มทุนรอบซีรี่ส์ F เพิ่มเติมอีก โดยคราวนี้ผู้ลงทุนคือกลุ่มบริษัทมิตซูบิชิ ประกอบด้วย มิตซูบิชิ มอเตอร์ส, มิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น และมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ แต่ไม่มีการเปิดเผยมูลค่าเงินลงทุน
ตามแผนที่ Go-Jek ประกาศก่อนหน้านี้ ซีรี่ส์ F บริษัทต้องการระดมทุนอีก 2,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถึงตอนนี้มี กูเกิล, JD.com, Tencent และ Astra ลงทุนไปแล้วรวม 1,100 ล้านดอลลาร์
Go-Jek สตาร์ทอัพแอปเรียกรถโดยสารและบริการที่เกี่ยวข้องจากอินโดนีเซีย ที่เน้นตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกาศว่าได้รับเงินเพิ่มทุนอีก 100 ล้านดอลลาร์ จาก Astra เครือข่ายบริษัทรายใหญ่ของอินโดนีเซีย ซึ่งก็เป็นนักลงทุนใน Go-Jek เดิมอยู่แล้ว ซึ่งเงินลงทุนนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มทุนรอบซีรี่ส์ F ที่ Go-Jek ตั้งเป้าระดมทุนอีก 2,000 ล้านดอลลาร์
การลงทุนของ Astra นั้น สามารถต่อยอดในเชิงกลยุทธ์ให้กับ Go-Jek ได้ เนื่องจาก Astra มีบริษัทในเครือเกี่ยวกับข้องกับธุรกิจยานยนต์และระบบขนส่ง จึงสามารถเอื้อประโยชน์กับ Go-Jek ได้
Go-Jek เพิ่งเปิดตัวให้บริการในไทยอย่างเป็นทางการเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยใช้ชื่อแบรนด์ GET!
Go-Jek แพลตฟอร์มเรียกรถจากอินโดนีเซีย ที่ตอนนี้ทำตลาดในไทยด้วยชื่อ Get ประกาศรับเงินเพิ่มทุนซีรี่ส์ F รอบแรก ซึ่งได้เงินไปราว 1 พันล้านดอลลาร์ จากแผนทั้งหมดที่ต้องการ 2 พันล้านดอลลาร์ ส่วนมูลค่ากิจการยังไม่มีการเปิดเผย แต่คาดอยู่ราว 9.5 พันล้านดอลลาร์
รายชื่อนักลงทุนในรอบนี้ก็มากันครบรายใหญ่ไม่ว่าจะเป็น กูเกิล, JD.com, Tencent ร่วมด้วย Mitsubishi Corporation และ Provident Capital
Go-Jek บอกว่าเงินทุนก้อนนี้จะนำมาใช้ขยายธุรกิจให้กว้างขึ้นภายในอินโดนีเซีย ที่ตอนนี้ทำทั้ง มอเตอร์ไซค์, แท็กซี่, ส่งอาหาร, รับจ่ายเงิน, รับส่งพัสดุ และยังนำเงินมาใช้ขยายกิจการในต่างประเทศ ซึ่งตอนนี้มีทั้ง เวียดนาม (Go-Viet), ไทย (Get) และสิงคโปร์
Google Cloud เปิดตัว Feast เครื่องมือเก็บฟีเจอร์แบบโอเพ่นซอร์สเพื่อการจัดการ, เก็บ และค้นพบฟีเจอร์สำหรับการใช้ในโปรเจค machine learning โดย Google ระบุว่าเป็นผลงานการพัฒนาร่วมกันระหว่างทีมจาก Go-Jek แอพเรียกรถจากอินโดนีเซียและ Google Cloud
การพัฒนา Feast เพื่อเป็นเครื่องมือเก็บฟีเจอร์นี้ เนื่องจากเป็นงานที่ท้าทายสำหรับทีมวิศวกรด้าน machine learning ที่จะต้องพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อการเก็บฟีเจอร์เป็นแพลตฟอร์มเดียวที่จะต้องยืดหยุ่นเพียงพอ คือทีมสามารถนำฟีเจอร์ลงไปเก็บ และนำไปใช้กับโปรเจค machine learning อื่น ๆ ได้ด้วย
อินโดนีเซียเตรียมก้าวไปอีกขั้นของการใช้กฎหมายควบคุมบริการเรียกรถ โดยคราวนี้กระทรวงคมนาคมออกมาประกาศว่า รัฐบาลจะออกกฎคุมราคาค่าโดยสารทั้งแท็กซี่ท้องถิ่น และบริการเรียกรถ ให้มีราคาเริ่มต้นต่อกิโลเมตรสูงขึ้นซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของคนขับ แต่อาจเป็นอุปสรรคต่อการแข่งขันทางธุรกิจ
Go-Jek บริการเรียกรถสารพัดชนิดของอินโดนีเซีย (กำลังจะเข้ามาทำตลาดบ้านเราในชื่อ Get) เปิดบริการใหม่ Go-Pertamina บริการเติมน้ำมันถึงรถยนต์ของผู้ใช้ในอินโดนีเซีย
Go-Jek ร่วมมือกับบริษัทปั๊มน้ำมัน Pertamina จัดส่งน้ำมันจากปั๊มที่ใกล้ที่สุดไปยังรถยนต์ของผู้ใช้ ให้บริการตั้งแต่เวลา 8.00-20.00 ทุกวัน
Go-Pertamina เป็นบริการหนึ่งของแอพ Go-Life แอพลูกของ Go-Jek ที่ให้บริการเดลิเวอรีสิ่งของและบริการต่างๆ เช่น ทำผม ทำความสะอาด เป็นต้น
ที่มา - Go-Jek, Tech in Asia
Google Assistant เพิ่มคุณสมบัติใหม่ โดยสามารถจองรถของแอปแชร์รถต่าง ๆ ได้แล้วผ่านคำสั่งเสียง เช่นบอกว่า "Hey Google, book a ride to..." แล้วระบุจุดหมายปลายทางที่ต้องการ
กูเกิลบอกว่า Google Assistant จะแสดงรายละเอียดราคาค่าโดยสาร, ระยะเวลารอรถ เทียบกันระหว่างผู้ให้บริการทุกราย โดยตอนนี้รองรับ Uber, Lyft, Ola, Grab, GO-JEK และอีกมาก คุณสมบัตินี้จึงน่าจะอำนวยความสะดวกสำหรับคนที่พยายามหาราคาและเวลารอที่คุ้มที่สุด ไม่ต้องเปิดไปมาหลายแอป
เมื่อได้ตัวเลือกที่ต้องการก็สามารถกดเพื่อไปยังหน้าแอปนั้น ๆ และทำการจองรถได้
คุณสมบัติดังกล่าวรองรับภาษาอังกฤษก่อนเป็นภาษาแรก และรองรับเฉพาะประเทศที่มีให้บริการเรียกรถตามที่ระบุข้างต้น โดยจะรองรับภาษาอื่นในไม่กี่เดือนข้างหน้า
Go-Jek บริการเรียกรถแท็กซี่รายใหญ่จากอินโดนีเซีย (ที่ทำการตลาดในไทยชื่อ GET) ประกาศเข้าลงทุนในสตาร์ทอัพ Kumparan ด้วยมูลค่าที่ไม่เปิดเผยผ่านกองทุน Go-Ventures โดยบอกว่าเป็นกลยุทธ์ขยายสู่ธุรกิจคอนเทนต์
Kumparan เป็นเว็บไซต์ข่าวและเครือข่ายสังคมของอินโดนีเซีย มีแนวคิดผสมผสานข่าวที่ผู้อ่านร่วมสร้างเนื้อหาขึ้นมาเอง เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่สนใจในหัวข้อนั้น ๆ
Go-Jek อาจเริ่มต้นด้วยธุรกิจแชร์รถโดยสาร แต่บริษัทก็ขยายการลงทุนในธุรกิจคอนเทนต์มากขึ้น มีการตั้งสตูดิโอเพื่อผลิตภาพยนตร์ขึ้นมา และเตรียมสร้างแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งไว้รับชมคอนเทนต์ของตนโดยเฉพาะ
ก่อนหน้านี้ Go-Jek แอพแท็กซี่จากอินโดนีเซีย ประกาศขยายบริการมายังอาเซียน 4 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม, สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์ และไทย
ล่าสุด Go-Jek เริ่มให้บริการอย่างเป็นทางการในเวียดนามแล้ว โดยเริ่มจากนครหลวงโฮจิมินห์ และใช้ชื่อแบรนด์ในเวียดนามว่า GO-VIET ถือเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่ขยายตัวออกมาตามแผน
ก่อนหน้านี้ GO-VIET เริ่มทดลองให้บริการในบางเขตของโฮจิมินห์ก่อน แต่เมื่อวานนี้ (1 ส.ค.) ก็ให้บริการครบทั้ง 12 เขตแล้ว บริการชุดแรกที่เปิดให้ใช้งานคือเรียกรถ (Go-Bike) และส่งสินค้า (Go-Send)
Go-Jek แพลตฟอร์มบริการรถแท็กซี่-มอเตอร์ไซค์เบอร์หนึ่งจากอินโดนีเซีย ซึ่งประกาศเตรียมบุกตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย ไปก่อนหน้านี้ หลัง Uber ขายกิจการในภูมิภาคให้ Grab ได้ประกาศแผนการทำตลาดในประเทศต่าง ๆ เพิ่มเติมในวันนี้
โดย Go-Jek จะใช้วิธีจัดตั้งบริษัทในแต่ละประเทศที่ดำเนินงาน มีทีมผู้บริหารเป็นคนในประเทศ ส่วน Go-Jek จะสนับสนุนด้านความรู้, ประสบการณ์, เทคโนโลยี และเงินทุน โดยประเทศแรกที่จะเปิดตัวคือเวียดนาม ใช้ชื่อแบรนด์ว่า GO-VIET เริ่มเปิดทดลองให้บริการในเดือนกรกฎาคม
Go-Jek แพลตฟอร์มบริการรถแท็กซี่จากอินโดนีเซีย ซึ่งถูกคาดหมายมาก่อนหน้านี้ว่าน่าจะเตรียมบุกตลาดภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แถลงอย่างเป็นทางการว่าเตรียมเปิดให้บริการใน 4 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม, สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์ และไทย โดยใช้เงินลงทุนราว 500 ล้านดอลลาร์
การประกาศบุกตลาดนอกอินโดนีเซียของ Go-Jek นั้นไม่เกินคาด หลังจากที่ Uber ประกาศขายธุรกิจในภูมิภาคนี้ให้กับ Grab จึงเป็นโอกาสที่ Go-Jek จะเข้ามาเป็นทางเลือกใหม่ในตลาด ทั้งนี้ Go-Jek เริ่มต้นในอินโดนีเซียจากการเป็นแอพเรียกมอเตอร์ไซด์รับจ้าง จากนั้นจึงขยายสู่ธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ทั้งแท็กซี่, รถยนต์ส่วนตัว, จ่ายเงินผ่านมือถือ, ส่งอาหาร ฯลฯ
Go-Jek สตาร์ทอัพเรียกรถจากอินโดนีเซียได้รับเงินลงทุนจาก Allianz บริษัทด้านการเงินและการประกันจากเยอรมนี ผ่านบริษัทย่อยที่เน้นลงทุนในบริษัทดิจิทัลโดยเฉพาะ Allianz X ถือเป็นดีลแรกของการลงทุนในสตาร์ทอัพของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ Allianz
การระดมทุนรอบล่าสุดของ Go-Jek มีมูลค่า 1.5 พันล้านดอลลาร์ โดย Allianz ได้ให้เงินลงทุนกับ Go-Jek ทั้งหมด 35 ล้านดอลลาร์ ซึ่งนอกจาก Allianz แล้วก็มี Google, Tencent, JD.com, Meituan และบริษัทอื่น ๆ เข้าร่วมลงทุนด้วยในการระดมทุนรอบนี้ ซึ่งเมื่อรวมเงินลงทุนทั้งหมดแล้วจะทำให้ Go-Jek มีมูลค่ากว่า 4.5 พันล้านดอลลาร์
ทางการอินโดนีเซียได้ออกกฎใหม่ โดยให้ Grab และ Go-Jek มาลงทะเบียนเป็นบริษัทขนส่งสาธารณะภายในสองเดือน พร้อมทั้งปฏิบัติตามข้อกำหนดความปลอดภัยตามกฎหมาย แม้ว่าบริการเหล่านี้จะไม่มีรถยนต์หรือคนขับโดยเป็นของตัวเองก็ตามที
Budi Karya Sumadi รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมเผยว่า รัฐบาลอินโดนีเซียได้ออกข้อกำหนดใหม่แล้ว ซึ่งบริการเรียกรถจะต้องมารับใบอนุญาตจากทางกระทรวงในการให้บริการเดินทางสาธารณะ ส่วน Budi Setyadi ผู้อำนวยการทั่วไปของการขนส่งทางบกกล่าวว่าเมื่อบริษัทเรียกรถเหล่านี้มาลงทะเบียนและได้รับใบอนุญาตแล้ว ก็จะต้องปฏิบัติตามกฎที่ผู้ให้บริการขนส่งสาธารณะทำเช่นเดียวกัน
ตามที่มีข่าวก่อนหน้านี้ว่ากูเกิลจะลงทุนในสตาร์ทอัพแท็กซี่ Go-Jek ของอินโดนีเซีย ล่าสุดมีรายละเอียดทางการจากกูเกิลออกมาแล้ว
โดย Caesar Sengupta รองประธานฝ่าย Next Billion Users (ชื่อนี้จริงๆ) บอกว่าอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 5 ของโลก คือ 133 ล้านคน แต่บริการออนไลน์ในประเทศยังเป็นช่วงเริ่มต้นเท่านั้น ประชากรเกือบครึ่งยังไม่ได้เข้าถึงอินเทอร์เน็ต จึงเป็นโอกาสของกูเกิล
กูเกิลเปิดเผยการลงทุนตั้งแต่สตาร์ทอัพ Go-Jek, จัดโครงการฝึกอบรมนักพัฒนาในประเทศให้ได้ 1 แสนคนในปี 2020, ติดตั้ง Google Station บริการ Wi-Fi สาธารณะโดยร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ท้องถิ่น และเพิ่มบริการ YouTube Go และ Google Go
มีรายงานว่า กูเกิล, กองทุนเทมาเส็ก ของสิงคโปร์ และ Meituan-Dianping แพลตฟอร์มออนไลน์รายใหญ่ของจีน เตรียมประกาศร่วมลงทุนในสตาร์ทอัพแอพเรียกแท็กซี่ Go-Jek ของอินโดนีเซีย ในการเพิ่มทุนรอบล่าสุด ซึ่งผู้ร่วมลงทุนเดิมบางรายก็จะเพิ่มทุนด้วย โดยมูลค่ารวมจะอยู่ราว 1,200 ล้านดอลลาร์
เรื่องนี้มีความน่าสนใจตรงที่แหล่งข่าวนั้นยืนยันว่า กูเกิล เป็นผู้ลงทุนใน Go-Jek เองโดยตรง ไม่ได้ทำผ่านหน่วยงาน Google Ventures แบบที่ไปลงทุนในสตาร์ทอัพตัวอื่น ซึ่งน้อยครั้งมากที่กูเกิลลงทุนตรงแบบนี้ ซึ่งเชื่อว่า Go-Jek จะได้ประโยชน์หลายอย่างจากการร่วมมือกับกูเกิลครั้งนี้
Go-Jek แพลตฟอร์มแอพเรียกแท็กซี่ของอินโดนีเซีย ประกาศเข้าซื้อกิจการคราวเดียวถึง 3 แห่ง โดยทั้งหมดเป็นธุรกิจด้านบริการทางการเงิน มีรายละเอียดดังนี้