รวมข่าว Browser ทั้ง Mac, Linux, และ Windows พร้อมแนะนำ Browser มี Update ใหม่อะไรบ้าง
Mozilla ประกาศเพิ่มฟีเจอร์จัดกลุ่มแท็บหรือ tab groups ให้กับ Firefox ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่มีมานานแล้วในเบราว์เซอร์อื่น
Mozilla บอกว่า tab groups เป็นฟีเจอร์ที่ผู้ใช้งานเรียกร้องผ่านระบบเสนอไอเดีย Mozilla Connect มากที่สุด เมื่อมีมากขนาดนี้ Mozilla บอกว่าก็ต้องจัดฟีเจอร์นี้ให้ตามขอ ซึ่งการทำงานผู้ใช้งานสามารถจัดกลุ่มแท็บที่เปิดไว้ ตั้งชื่อตามประเภทที่ต้องการเรียกใช้งาน รวมทั้งใส่สีจัดกลุ่ม
Tab groups เริ่มอัปเดตแล้วใน Firefox 138 นอกจากนี้ Mozilla เตรียมเพิ่มความสามารถ Smart tab groups ในอนาคต ที่ใช้ AI แนะนำชื่อกลุ่มแท็บตามลักษณะแท็บที่เปิดไว้
เว็บเบราว์เซอร์ Brave ประกาศโอเพนซอร์ส Cookiecrumbler ตัวบล็อคหน้าจอแจ้งเตือนว่าเว็บไซต์นี้มีเก็บคุกกี้ ที่หลายคนรำคาญเวลาเข้าชมเว็บไซต์ต่างๆ ในยุคสมัยนี้
Brave มีระบบ Cookiecrumbler มาตั้งแต่ปี 2022 เทคนิคการทำงานของมันใช้โมเดล LLM ตรวจจับส่วนของเว็บไซต์ที่ประกาศแจ้งเตือนว่าเก็บคุกกี้ แทนการเขียนกฎตรวจจับ (rule-based) ที่อาจทำงานผิดพลาด บล็อคหน้าเว็บพังจนใช้งานไม่ได้ อีกทั้งยังสามารถทำงานกับเว็บไซต์ภาษาต่างๆ ได้ด้วย (ตัวอย่างที่ Brave ยกมาให้ดูเป็นหน้าแจ้งเตือนคุกกี้ภาษาไทยของ Sanook)
Parisa Tabriz ผู้จัดการธุรกิจ Chrome ของกูเกิล ให้การในชั้นศาลในคดีกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ฟ้องกูเกิลผูกขาด Search และเสนอให้แยก Chrome เป็นบริษัทใหม่ ซึ่งมีผู้สนใจซื้อหลายราย
ข้อโต้แย้งของ Tabriz คือ Chrome ไม่ได้มีแต่ตัวเบราว์เซอร์ แต่ยังผูกกับบริการอื่นของกูเกิล เช่น Safe Browsing, ระบบแจ้งเตือนหากพบว่ารหัสผ่านถูกเจาะ ฯลฯ ซึ่ง Tabriz บอกว่ามีแต่กูเกิลเท่านั้นที่สามารถสร้างบริการในระดับนี้ได้
ประเด็นน่าสนใจจากห้องไต่สวนคดี Google Search ผูกขาดตลาด ที่กระทรวงยุติธรรมเสนอให้แยก Chrome เป็นบริษัทใหม่
ก่อนหน้านี้เราเห็นข่าวว่าคู่แข่งทั้ง OpenAI และ Perplexity บอกว่าถ้าแยกจริงก็ยินดีเสนอซื้อ แต่ไม่บอกว่าราคาเท่าไร
ค่าย Mozilla มีแนวทางชัดเจนว่าต้องการใช้ฟีเจอร์ AI แบบประมวลผลในเครื่อง (on-device) ด้วยเหตุผลเรื่องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน ข้อมูลไม่ถูกส่งกลับไปยังเซิร์ฟเวอร์ ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ ระบบการแปลภาษาหน้าเว็บ ที่ใช้ซอฟต์แวร์แปลรันในเครื่องตัวเอง
ล่าสุด Firefox เพิ่มฟีเจอร์ใหม่แนวคิดคล้ายๆ กันคือ Link Preview ย่อเนื้อหาในลิงก์ปลายทางแล้วนำมาแสดงผลเวลาเราเอาเคอร์เซอร์ไปพรีวิวก่อนกด (วิธีใช้คือ เอาเคอร์เซอร์ชี้ลิงก์แล้วกด Shift+Alt)
กูเกิลประกาศยอมแพ้กับ Privacy Sandbox ที่หวังมาใช้แทน Third Party Cookies โดย Chrome จะยังคงใช้ Third Party Cookies เหมือนเดิม
กูเกิลเปิดตัว Privacy Sandbox ครั้งแรกในปี 2019 เพื่อหวังเป็นโซลูชันสำหรับการยิงโฆษณาบนเว็บตามความสนใจของผู้ชม ที่เคารพความเป็นส่วนตัวมากกว่าคุกกี้ (หลักการคือยิงโฆษณาตามความสนใจแบบกลุ่ม ไม่ถึงกับเจาะรายตัว)
ไมโครซอฟท์ทยอยเปิดฟีเจอร์ Copilot Vision อ่านภาพหน้าจอ-ภาพจากกล้อง ให้กับผู้ใช้มากขึ้นเรื่อยๆ โดยก่อนหน้านี้เปิดใช้ในแอพ Copilot for Windows แต่ยังจำกัดเฉพาะผู้ทดสอบ Insider เท่านั้น
ล่าสุดไมโครซอฟท์ขยายฟีเจอร์ Vision มายัง Copilot ในเบราว์เซอร์ Microsoft Edge จุดเด่นของมันคือ Copilot ใน Edge จะสามารถอ่านหน้าเว็บที่เรากำลังเปิดอยู่ได้โดยตรง (ไม่ต้องคัดลอกข้อความหรือแคปหน้าจอให้อ่าน)
ฟีเจอร์ Copilot Vision จะเปิดให้ผู้ใช้ Edge ทุกคนใช้งานฟรีแบบ opt-in ตอนนี้กำลังทยอยเปิดให้ผู้ใช้ทีละกลุ่ม หากได้แล้วจะเห็นไอคอนรูปแว่นตาโผล่มาข้างๆ ไอคอนไมโครโฟนของเดิม
Chrome 135 ประกาศรองรับมาตรฐาน Customizable Select Element เป็นรายแรก เปิดทางให้นักพัฒนาสามารถแก้ไขตัวเลือกในแท็ก <select>
ทำให้สามารถแก้ไขตัวเลือกได้อย่างซับซ้อน เช่น การใส่ภาพในตัวเลือก หรือกำหนดสีพื้นหลังของตัวเลือกแต่ละตัว
ก่อนหน้านี้กระบวนการแก้ไขการแสดงผลแท็ก <select>
ต้องอาศัยจาวาสคริปต์เป็นหลัก การปรับปรุงมาตรฐานในรอบนี้ทำให้ใช้เพียง HTML และ CSS เท่านั้น และยังคาดเดาการแสดงผลได้ หากเปิดเว็บในเบราว์เซอร์ที่ไม่รองรับมาตรฐานใหม่
ซอฟต์แวร์ตระกูล Data Loss Prevention (DLP) ป้องกันความลับองค์กรรั่วไหล มักใช้เทคนิค DLL injection ฝังโค้ด (ไฟล์ DLL) ของซอฟต์แวร์ DLP ลงไปในซอฟต์แวร์ตัวอื่น เช่น เว็บเบราว์เซอร์ เพื่อมอนิเตอร์พฤติกรรมการเข้าเว็บของผู้ใช้งาน ว่าได้อัพโหลดข้อมูลขององค์กรลงไปหรือไม่ ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม
Mozilla แจ้งเตือนให้ผู้ใช้ Firefox เวอร์ชันเก่าคือ 128 ลงไป (หรือ 115 ESR ถ้าเป็นรุ่นซัพพอร์ตระยะยาวสำหรับองค์กร) อัพเดตเบราว์เซอร์เป็นเวอร์ชันใหม่ เนื่องจากใบรับรอง root certificate หมดอายุในวันนี้ (14 มีนาคม 2025)
Firefox ใช้ root certificate ใบนี้ในการตรวจสอบส่วนขยาย (add-on) ว่าเชื่อถือได้หรือไม่ เป็นส่วนขยายที่ผ่านการรับรองจาก Mozilla จริงไหม รวมถึงใช้ตรวจสอบเนื้อหาที่มี DRM (เช่น ภาพยนตร์ในบริการสตรีมมิ่ง) หากใบรับรองหมดอายุจะไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลเหล่านี้ได้
ใบรับรองนี้จะมีผลกับทั้ง Firefox เวอร์ชันเดสก์ท็อปและ Android ส่วนเวอร์ชัน iOS ไม่มีผลเพราะใช้ใบรับรองต่างกัน
Chrome Web Store เปลี่ยนนโยบายการแทรก affiliate ใหม่ หลังจากเกิดเหตุการณ์ Honey บริการค้นหาคูปองของ PayPal นำโค้ด affiliate ของตัวเองไปทับลิงก์ที่ผู้ใช้กดผ่านช่องทางของเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังจำนวนมาก
เนื่องจากช่องทางใช้งานหลักของ Honey คือส่วนขยาย (extension) ของ Chrome ทำให้มันสามารถติดตามการเบราว์เว็บของผู้ใช้ได้ และเมื่อผู้ใช้กำลัง Checkout ตัว Honey ก็จะพยายามค้นหาคูปองพร้อมกับเปลี่ยน cookie สำหรับแสดงตัวผู้แนะนำสินค้า affiliate เป็นของตัวเอง
กูเกิลปรับหน้าตาของ Chrome Enterprise โปรไฟล์สำหรับบัญชีองค์กร ให้ดูแตกต่างจากบัญชีส่วนตัวมากขึ้น (ใช้ Chrome ตัวเดียวกันล็อกอิน 2 บัญชี) โดยบัญชีองค์กรสามารถมีชื่อบริษัทแปะป้ายอยู่หลังชื่อผู้ใช้งาน แยกให้เห็นชัดๆ ว่าเป็นบัญชีทำงาน (ตัวอย่างในภาพเป็นชื่อบริษัทสมมติ Acme) แม้องค์กรไม่ได้ตั้งค่านี้ไว้ ก็จะแสดงคำว่า Work แทนอยู่ดี
กูเกิลยังปรับหน้าจอตอนล็อกอินโปรไฟล์ Chrome ขององค์กรให้เห็นชัดๆ ว่านี่คือบัญชีองค์กรนะ เป็นบัญชีที่ถูกจัดการโดยแอดมินขององค์กร และแอดมินสามารถควบคุมการใช้งานบัญชีนี้ได้
Mozilla ออก Firefox 136 มีของใหม่ที่สำคัญคือ Vertical Tab การแสดงแท็บแนวตั้งใน sidebar ด้านข้าง แบบเดียวกับที่เว็บเบราว์เซอร์ค่ายอื่นๆ มีมาได้สักพักแล้ว
แถบ sidebar ด้านข้างยังเพิ่มตัวเลือกให้ปรับแต่งง่ายขึ้นจาก sidebar โดยตรง ต้องเปิดตัวเลือกนี้ครั้งแรกจากหน้า Settings > General > Browser Layout หลังจากนั้นก็กดเลือกว่าให้แสดงผลอะไรบ้างใน sidebar ได้เลย
ของใหม่อย่างอื่นใน Firefox 136
Opera กลายเป็นเสือปืนไวแห่งกระแส Agentic AI ที่เริ่มมีบริษัทบางรายนำมาใช้งานควบคุมหน้าเว็บตามคำสั่ง (เช่น OpenAI Operator) เปิดตัวฟีเจอร์ Agent ที่ฝังมาในตัวเบราว์เซอร์เลย ใช้ชื่อว่า Browser Operator
ฟีเจอร์นี้เราสามารถพิมพ์ข้อความ prompt เพื่อสั่งให้ Opera ทำงานต่างๆ แทนเรา เช่น เข้าหน้าเว็บอีคอมเมิร์ซ ค้นหาสินค้า เลือกสี ขนาดที่ต้องการ แล้วนำใส่รถเข็นเตรียมให้ผู้ใช้ตรวจสอบอีกครั้งก่อนกดจ่ายเงิน, สามารถรับคำสั่งที่ซับซ้อนมีหลายขั้นตอนได้ เช่น สั่งซื้อตั๋วเข้าชมเกมฟุตบอลแบบกำหนดเงื่อนไข ถ้ามีตั๋วเหลือแค่บางประเภท ต้องการนั่งบริเวณไหน เป็นต้น
ข่าวเล็กๆ ที่อาจไม่ต้องรู้ก็ได้แต่น่าสนใจคือ Chrome for Android จะปรับพื้นที่แสดงผลหน้าเว็บ (viewport) เพิ่มอีกเล็กน้อย ในพื้นที่ส่วนล่างของหน้าจอ ที่เดิมทีเว้นระยะไว้สำหรับ gesture navigation bar ด้านล่าง (สำหรับคนใช้ UI แบบ gesture) จะเปลี่ยนเป็นการแสดงผลหน้าเว็บไปจนสุดขอบล่างของจอ แล้ววาง gesture navigation bar ทับบนหน้าเว็บอีกที (ดูภาพประกอบ)
กูเกิลเรียกการแสดงผลแบบนี้ว่า edge-to-edge คือชนขอบล่าง การเปลี่ยนแปลงจะเริ่มใน Chrome 135 เป็นต้นไป
Mozilla ประกาศเพิ่ม "เงื่อนไขการใช้งาน" (Terms of Use) ให้กับ Firefox ให้เหมือนกับแอพหรือเว็บไซต์อื่นๆ ทั่วไปที่ผู้ใช้ต้องกดยินยอมก่อนใช้งาน
Terms of Use (ToU) อันนี้มีผลเฉพาะการใช้งานตัวไบนารีของเว็บเบราว์เซอร์ Firefox และเป็นคนส่วนกับสัญญาอนุญาตโอเพนซอร์สของตัวซอร์สโค้ด ที่ยังเป็น Mozilla Public License เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
เนื้อหาส่วนใหญ่ใน Terms of Use เป็นเรื่องทั่วๆ ไป เช่น Mozilla ไม่อนุญาตให้ใช้ทรัพย์สินทางปัญญา เครื่องหมายการค้า, ผู้ใช้ไม่สามารถนำ Firefox ไปฟ้องคนอื่นได้, ถ้าเกิดปัญหาขึ้นไม่สามารถฟ้อง Mozilla ได้ เป็นต้น
Perplexity บริการค้นหาข้อมูลพลัง AI ที่กำลังมาแรงในช่วงหลัง ประกาศทำเว็บเบราว์เซอร์ของตัวเองในชื่อ Comet
ตอนนี้ยังไม่มีภาพหน้าตาใดๆ ของ Comet ออกมามีเพียงโลโก้และคำโฆษณาว่าเป็น "A Browser for Agentic Search by Perplexity" และบอกว่าจะเปิดให้ใช้งานในเร็วๆ นี้
ในหน้าประกาศหางานตำแหน่ง Browser C++ Engineer ระบุชัดว่า Comet อิงอยู่บน Chromium และจะมีทั้งเวอร์ชันเดสก์ท็อปกับมือถือ
ที่มา - TechCrunch
Chrome for Android เวอร์ชัน 133 เพิ่มฟีเจอร์ด้านการจัดการแท็บ 2 อย่าง
สองฟีเจอร์นี้ทยอยเปิดใช้งานให้ผู้ใช้ทีละกลุ่ม เท่าที่ลองเครื่องตัวเองพบว่า Tab Groups Sync มาแล้ว แต่ Tab Search ยังไม่มาครับ
ที่มา - 9to5Google
เว็บเบราว์เซอร์ Brave เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ให้ผู้ใช้สามารถเขียน scriptlet หรือ JavaScript แบบคัสตอม เพื่อปรับเปลี่ยนเว็บเพจที่แสดงผลอยู่ได้ตามต้องการ
หากใครคุ้นเคยกับส่วนขยายเบราว์เซอร์จำพวก Greasemonkey หรือ TamperMonkey มันคือฟีเจอร์แบบเดียวกัน แต่ผนวกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเบราว์เซอร์เลย
ฟีเจอร์นี้เริ่มใช้แล้วกับ Brave 1.75 บนเดสก์ท็อป
ที่มา - Brave, Bleeping Computer
Opera เปิดตัว Opera Air เว็บเบราว์เซอร์เฉพาะทางสำหรับสายฮีลใจ (ภาษาทางการเรียก mindfulness) ใช้ธีม frosted glass หน้าตาแนวมินิมัลแบบสแกนดิเนเวีย (ใช้คำนี้จริงๆ) และมีฟีเจอร์เพิ่มจาก Opera เวอร์ชันปกติ 2 อย่าง
เมื่อปี 2021 ไมโครซอฟท์ปรับวิธีเรนเดอร์ฟอนต์ของ Microsoft Edge บนวินโดวส์ให้คมชัดมากขึ้น และประกาศว่าจะส่งแพตช์เข้าโครงการ Chromium
เวลาผ่านมาเกือบ 4 ปี แพตช์ตัวนี้ถูกผนวกเข้ากับโครงการ Chromium เรียบร้อยแล้ว และ Chrome 132 ที่ออกรุ่นเสถียรเมื่อกลางเดือนมกราคม ถือเป็น Chrome รุ่นแรกที่ได้ใช้ฟีเจอร์นี้ แพตช์ตัวนี้ยังจะมีผลกับเบราว์เซอร์ตัวอื่นๆ ที่ใช้ Chromium ด้วย (เช่น Opera, Vivaldi, Brave)
Microsoft Edge เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ชื่อ scareware blocker บล็อคเว็บไซต์ที่ปลอมเป็นหน้าจอระบบคอมพิวเตอร์ขัดข้องหรือติดมัลแวร์ และหลอกล่อให้เราติดต่อซัพพอร์ตเพื่อเริ่มกระบวนการหลอก (scam)
พฤติกรรมของเว็บไซต์กลุ่ม scareware มักแสดงหน้าเว็บในโหมดเต็มจอ เพื่อให้เนียนเหมือนเป็นคำเตือนจากระบบปฏิบัติการจริงๆ และอาจดักการกดปุ่ม Esc เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้กดออกจากโหมดเต็มจอ แถมเว็บไซต์เหล่านี้มักมีอายุเพียงไม่กี่ชั่วโมงเพื่อหลบเลี่ยงการตรวจจับ ทำให้การบล็อคจากลิสต์รายชื่อเว็บอันตรายทำได้ยาก
กูเกิลประกาศว่า Chrome Sync ฟีเจอร์ซิงก์ข้อมูลข้ามอุปกรณ์ผ่าน Google Account จะหยุดการทำงาน มีผลกับ Chrome เวอร์ชันที่เก่ากว่า 4 ปี ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2025 นี้
คำแนะนำของกูเกิลหากยังต้องการใช้งาน Chrome Sync ต่อก็ตรงไปตรงมานั่นคือ อัปเดต Chrome ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุด ซึ่งกูเกิลจะแสดงข้อความเตือนเรื่องนี้ด้วยบน Chrome เวอร์ชันที่เก่ากว่า 4 ปี
ที่มา: กูเกิล
Linux Foundation ประกาศตั้งกลุ่ม Supporters of Chromium-Based Browsers ดึงหลายๆ บริษัทเข้ามาช่วยพัฒนาเว็บเบราว์เซอร์ตระกูล Chromium
กลุ่ม Supporters of Chromium-Based Bowsers ที่อยู่ภายใต้ Linux Foundation จะทำหน้าที่เป็นองค์กรกลางในการร่วมพัฒนา Chromium เพิ่มเติมจากกูเกิลทำอยู่รายเดียว ตอนนี้มีสมาชิกเข้าร่วมเพิ่มอีก 3 รายคือ Meta, Microsoft, Opera และจะเปิดรับสมาชิกเพิ่มเติมอีกในอนาคต
Mozilla ออก Firefox 134 เวอร์ชันนี้มีของใหม่ที่น่าสนใจหลายอย่างดังนี้
ที่มา - Mozilla