Visual Studio Code เป็น code editor ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดไมโครซอฟท์เตรียมปรับโลโก้ของ VS Code ให้ต่างจาก Visual Studio IDE รุ่นปกติแล้ว
ไอคอนใหม่ของ VS Code ถูกออกแบบให้เข้าชุดกับไอคอนแบบใหม่ของแบรนด์ Visual Studio ที่มีเส้นเข้ามุมเพิ่มเข้ามาฝั่งขวาล่าง (คล้ายกับไอคอนของ Office) แต่เปลี่ยนจากสัญลักษณ์ ∞ (infinity) แบบครบลูป มาตัดออกไปหนึ่งข้างเพื่อแสดงถึงความเปิดกว้าง (openness) และแสดงให้เห็นว่า VS Code เป็นซับเซ็ตของ Visual Studio IDE ตัวเต็ม
ไอคอนบนวินโดวส์และลินุกซ์จะแสดงเป็นแบบ flat แบนราบ (ขวามือ) ส่วนไอคอนบนแมคจะมีพื้นหลังสีดำเพิ่มเข้ามา และไล่สี gradient เล็กน้อย
ไมโครซอฟท์ออกอัพเดตให้ Visual Studio Code ตัวแก้ไขซอร์สโค้ดฉบับโอเพนซอร์สขยับเลขรุ่นเป็น 1.15
การเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจในอัพเดตนี้อย่างแรกคือ การปรับปรุงการรองรับไฟล์ขนาดใหญ่ ด้วยการปิดฟีเจอร์ของ VS Code บางอย่าง (เช่น line guide, code wrapping / folding) เมื่อเปิดไฟล์ที่มีขนาดตั้งแต่ 30 MB หรือ 300,000 บรรทัดขึ้นไป ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและช่วยลดการใช้งานหน่วยความจำของเครื่องลงได้ (ในบางกรณีถึง 50%) อีกทั้งยังได้ถอดข้อจำกัดในการเปิดไฟล์ขนาดใหญ่ออกจากรุ่น 64 บิต และขยายขนาดไฟล์ที่สามารถเปิดได้จากเดิม 50 MB เป็น 300 MB บนรุ่น 32 บิต
เมื่อเดือนที่แล้วไมโครซอฟท์ประกาศเปิดตัว Windows Template Studio เครื่องมืออำนวยความสะดวกให้กับการพัฒนาแอพ Universal Windows Platform ในรูปแบบของส่วนเสริมใช้งานร่วมกับ Visual Studio ซึ่งจะช่วยให้การเริ่มต้นสร้างแอพ UWP ทำได้ง่ายขึ้นและประหยัดเวลาไปได้อย่างมาก
โดยในขณะที่นักพัฒนากำลังเริ่มต้นโปรเจ็กต์แอพ UWP ใหม่ Windows Template Studio จะมาเป็นวิซาร์ดช่วยขึ้นโครงร่างแอพ (scaffold) โดยเปิดให้นักพัฒนาเลือกหยิบรูปแบบเพจและฟีเจอร์ที่ต้องการ รวมถึงเฟรมเวิร์คที่จะทำงานด้วย ผ่านการเลือกตัวเลือกต่างๆ เพียง 4 ขั้นตอน จนสามารถขึ้นเป็นแอพ UWP ที่พร้อมทดลองรันได้ภายในไม่กี่คลิก
รายละเอียดของตัวเลือกที่มีให้ใช้ภายในวิซาร์ดมีดังนี้
เทรนด์อย่างหนึ่งที่น่าสนใจในโลกการประมวลผลยุคคลาวด์คือ เราไม่จำเป็นต้องเปิดเซิร์ฟเวอร์ค้างไว้เพื่อรอประมวลผลอีกต่อไป มีงานประเภทใหม่ๆ ที่เราสามารถประมวลผลแบบ event-based เฉพาะเมื่อเกิดเหตุการณ์ตามที่กำหนดเท่านั้น (แปลว่าไม่คิดเงินค่าใช้งานตามเวลา แต่คิดตามจำนวนรีเควสต์แทน) แนวทางนี้เรียกกันว่า serverless
ผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่ต่างมีบริการลักษณะนี้ ไม่ว่าจะเป็น Amazon Lambda, Google Cloud Functions และ Microsoft Azure Functions
ไมโครซอฟท์ประกาศปรับสถานะ Visual Studio 2017 for Mac จากสถานะพรีวิวที่ปล่อยมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว มาเป็นสถานะ GA (general available)
ตัว IDE รองรับการพัฒนาจาก Visual Studio เต็มรูปแบบ ทั้ง แอนดรอยด์, แมค, iOS, tvOS, watchOS, เว็บ, และคลาวด์
ไฟล์โปรเจคยังคงใช้ของเดิมจากวินโดวส์ได้, รองรับระบบแพ็กเกจ NuGet, รวมถึงการอินทิเกรต Git ในตัว
ที่มา - Visual Studio
หลังจากที่เปิดให้ทดสอบ Team Foundation Version Control (TFVC) ระบบจัดการซอร์สแบบรวมศูนย์ของไมโครซอฟท์กับ Android Studio และ IntelliJ ผ่านปลั๊กอิน Visual Studio Team Services มาตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2016
เมื่อเดือนที่แล้วไมโครซอฟท์ก็ได้ปลดสถานะพรีวิวให้กับการรองรับ TFVC และออกอัพเดตปลั๊กอินให้นักพัฒนาสาย Android และนักพัฒนาที่ใช้ IDE จากค่าย JetBrains เช่น IntelliJ IDEA และ Rider EAP สามารถใช้งาน TFVC เป็นที่เรียบร้อย
ไมโครซอฟท์ปล่อยอัพเดตเวอร์ชันใหม่ของส่วนเสริม Visual Studio Team Services ให้กับตัวแก้ไขซอร์สโค้ดโอเพนซอร์ส Visual Studio Code โดยได้เพิ่มการรองรับ Team Foundation Version Control (TFVC) ระบบจัดการซอร์สแบบรวมศูนย์ที่ไมโครซอฟท์พัฒนาเอง
ทำให้ในตอนนี้ VS Code สามารถใช้ TFVC เป็นตัวเลือกในการจัดการซอร์สโค้ดเพิ่มเติมนอกเหนือจาก Git ที่ VS Code รองรับตั้งแต่แรก โดยนักพัฒนาจะสามารถใช้ส่วนเสริมดังกล่าวเชื่อมต่อได้ทั้งกับ Team Foundation Server สำหรับกรณีติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ไว้ใช้ภายในองค์กร (ต้องเป็นเวอร์ชัน 2015 Update 2 หรือใหม่กว่า) และ Team Services ที่ให้บริการโดยไมโครซอฟท์
หลังจากที่ Visual Studio 2017 ออกตัวจริงไปได้เพียงไม่กี่สัปดาห์ ไมโครซอฟท์ก็ได้ปรับเปลี่ยนกระบวนการออกอัพเดตให้กับ Visual Studio โดยได้เริ่มปล่อย Visual Studio 2017 เวอร์ชันพรีวิว ซึ่งเป็นการแยกรุ่นสำหรับใช้ทดสอบออกมาต่างหากและเปิดให้สามารถติดตั้งควบคู่ไปกับ Visual Studio 2017 รุ่นใช้งานจริงได้ จากที่แต่ก่อนหน้านี้ Visual Studio จะเปิดให้ใช้รุ่นทดสอบเช่น Visual Studio 2017 RC เฉพาะก่อนการอัพเกรดเวอร์ชันครั้งใหญ่เท่านั้น
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะช่วยให้นักพัฒนาสามารถใช้ Visual Studio รุ่นพรีวิว เพื่อทดลองฟีเจอร์ใหม่ที่อยู่ในระหว่างการพัฒนาได้เร็วและสะดวกขึ้น ในขณะที่ยังคง Visual Studio รุ่นใช้งานจริงไว้สำหรับงาน production ที่ต้องการความเสถียร
หลังทดสอบรุ่นเบต้า-RC กันมานานพอสมควร วันนี้ Visual Studio 2017 ก็ออกรุ่นจริง (GA) เปิดให้ดาวน์โหลดมาใช้งานได้แล้ว ของใหม่ในเวอร์ชันนี้ได้แก่
โลกของ Visual Studio มีชุดรวมส่วนขยายเพิ่มความสามารถชื่อ Productivity Power Tools ที่ออกมาตั้งแต่ยุค Visual Studio 2010 ชุดรวมส่วนขยายนี้ประกอบด้วยส่วนขยายเล็กๆ น้อยๆ ที่ไมโครซอฟท์รวบรวมมาแจกให้ใช้งานฟรี
ในโอกาสที่ Visual Studio 2017 จะออกตัวจริงในวันนี้ 7 มี.ค. (ตามเวลาสหรัฐ) ไมโครซอฟท์ก็รวมชุด Productivity Power Tools for Visual Studio 2017 มาให้ใช้งานกัน
ส่วนขยายในชุด Productivity Power Tools 2017 มีทั้งหมด 15 ตัว ตัวอย่างส่วนขยายในชุดได้แก่ Copy as HTML, Double-Click Maximize, Middle-Click Scroll เป็นต้น
ไมโครซอฟท์ประกาศวันเปิดตัว Visual Studio 2017 อย่างเป็นทางการ 7 มีนาคม 2017 หลังออกรุ่นทดสอบมาแล้วหลายรุ่น
ปี 2017 ยังเป็นปีครบรอบ 20 ปีของ Visual Studio หลังเปิดตัวครั้งแรกกับ Visual Studio 97 เมื่อวันที่ 28 มกราคม 1997 ซึ่งเป็นการนำ IDE ของไมโครซอฟท์หลายตัว ได้แก่ Visual Basic, Visual C++, Visual J++, Visual FoxPro, Visual InterDev มารวมกันเป็นตัวเดียว
ที่มา - MSDN
ไมโครซอฟท์ออกอัพเดตให้ Visual Studio Code ตัวแก้ไขซอร์สโค้ดฉบับโอเพนซอร์สขยับเลขรุ่นเป็น 1.9
การเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจของอัพเดตครั้งนี้ อยู่ที่การปรับปรุงหน้าต้อนรับหรือ Welcome page ซึ่งได้เพิ่มลิงก์แนะนำฟีเจอร์และการใช้งาน รายการโฟลเดอร์ที่ใช้ล่าสุด คู่มือสรุปคีย์ลัด พร้อมดึงการตั้งค่ามาแสดงรวมไว้ในหน้าเดียวกัน ช่วยให้สามารถเรียนรู้และเข้าถึงส่วนต่างๆ ของ Visual Studio Code ได้สะดวกขึ้น
ไมโครซอฟท์ออกอัพเดตให้ Visual Studio Code ตัวแก้ไขซอร์สโค้ดฉบับโอเพนซอร์สขยับเลขรุ่นเป็น 1.7
การเปลี่ยนที่เห็นได้ชัดในอัพเดตครั้งนี้ อย่างแรกคือการเพิ่มเลย์เอาต์แนวนอนให้กับ workbench ซึ่งจะช่วยให้การเปิดโค้ดเทียบกันทีละหลายไฟล์ทำได้สะดวกขึ้น โดยอย่างยิ่งในกรณีที่โค้ดยาวเกินเมื่อแบ่งหน้าจอในแนวตั้ง
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Visual Studio 2017 อย่างเป็นทางการ (ก่อนหน้านี้ใช้โค้ดเนม Visual Studio 15) ตอนนี้สถานะเป็นรุ่น Release Candidate (RC) และเตรียมเปิดให้ดาวน์โหลดตัวจริงในอีกไม่ช้า
Visual Studio 2017 มีของใหม่มากมาย ฟีเจอร์สำคัญคือ
นอกจาก Visual Studio for Mac ไมโครซอฟท์ยังเปิดตัวบริการใหม่ใต้แบรนด์ Visual Studio อีกตัวคือ Visual Studio Mobile Center
Visual Studio Mobile Center คือ "บริการ" สนับสนุนการพัฒนาแอพบนอุปกรณ์พกพา โดยหลักแล้วมันคือการนำ Xamarin Test Cloud บริการทดสอบแอพบนคลาวด์ของ Xamarin มาเพิ่มฟีเจอร์ด้านการคอมไพล์บนคลาวด์, การทดสอบแอพกับกลุ่มผู้ใช้เบต้า (HockeyApp เดิม), การเก็บสถิติการแครชและบั๊ก, สถิติการใช้งาน และเชื่อมต่อกับระบบ backend อย่างการซิงก์ข้อมูลหรือการตรวจสอบตัวตน
มีข่าวเมื่อวันก่อนว่า ไมโครซอฟท์จะเปิดตัว Visual Studio for Mac เมื่อคืนนี้ ข่าวอย่างเป็นทางการก็มาแล้ว
โดยเนื้อแท้แล้ว Visual Studio for Mac คือการนำ Xamarin Studio ของบริษัท Xamarin ที่ไมโครซอฟท์ซื้อมาเมื่อกลางปี มาปรับปรุงใหม่ในชื่อ Visual Studio ดังนั้นความสามารถของมันจะยังไม่เทียบเท่ากับ Visual Studio เวอร์ชันพีซี
Visual Studio for Mac จะรองรับการเขียนภาษา C#, F# ในตัว และรองรับการเขียน .NET เพื่อแปลงเป็นแอพมือถือทั้ง iOS/Android (ฟีเจอร์เดิมของ Xamarin) ฝั่งของการพัฒนาบนเว็บและคลาวด์ รองรับ .NET Core, ASP.NET Core และการเชื่อมต่อกับ Azure App Services
Microsoft ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่า Visual Studio ซึ่งเป็น "เครื่องมือพัฒนาแบบ mobile-first และ cloud-first สำหรับ .NET และ C#" เตรียมจะลง macOS แล้ว ซึ่งตัวโปรแกรมจะถอดแบบฟังก์ชันต่าง ๆ มาจากเวอร์ชันบน Windows ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถสลับไปมาระหว่างแพลตฟอร์มได้ง่ายขึ้น
สำหรับหน้าตาของตัวโปรแกรมจะได้รับแรงบันดาลใจจาก Visual Studio บน Windows แต่จะถูกออกแบบใหม่ให้เข้ากับ macOS ด้วย รวมถึงยังมี Visual Studio Code สำหรับผู้ที่ต้องการแค่ IDE เบา ๆ สำหรับแก้ไขโค้ดเท่านั้น ไม่ได้ต้องการ IDE ฉบับเต็ม
Visual Studio บน macOS นี้ Microsoft จะปล่อยในช่วงงานสัมมนา Connect(); 2016 ที่จะจัดขึ้นวันพุธนี้
ข่าวเก่าไปนิดแต่คิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับทีมพัฒนาที่ใช้ Visual Studio Team Services นะครับ เมื่อไมโครซอฟท์ได้ประกาศให้บริการ Code Search บน Visual Studio Team Services และ Team Foundation Server "15" เข้าสู่สถานะใช้งานจริง (general availiability) ต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
Code Search จะช่วยให้ทีมพัฒนาแชร์โค้ดและทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการเปิดให้สามารถค้นหาโค้ดของตนเองและเพื่อนร่วมทีมจากทั้งโปรเจ็กต์บน TFVC หรือบน Git โดยไม่จำกัดเพียงแค่การค้นด้วยการเทียบข้อความดูเพียงเท่านั้น Code Search ยังเข้าใจโครงสร้างของโค้ดทำให้สามารถค้นหาด้วยบริบทเฉพาะอย่างเข่น class definition, comment หรือ property ได้ โดยในเบื้องต้นรองรับภาษา C#, C, C++, VB.NET และ Java สำหรับภาษาอื่นๆ ไมโครซอฟท์สัญญาว่าจะเพิ่มให้ในภายหลัง
ปัญหาของผู้ใช้ Visual Studio ในช่วงหลังคือไมโครซอฟท์จะบังคับล็อกอิน Microsoft Account บ่อยมาก (ทุก 12 ชั่วโมงถ้าเชื่อมโยงบัญชีกับ Azure ด้วย)
เรื่องนี้ไปถึงไมโครซอฟท์แล้ว โดย John Montgomery ผู้บริหารฝ่าย Visual Studio ให้สัมภาษณ์ว่าเป็นเรื่องที่ผู้ใช้ร้องเรียนเข้ามาเยอะเป็นอันดับแรก ซึ่งตอนนี้ไมโครซอฟท์แก้ไขเรียบร้อยแล้ว และการล็อกอินหนึ่งครั้งจะอยู่ได้นานนับเดือน (extended from hours to months) โดยผู้ใช้ไม่ต้องทำอะไรเพิ่ม เพราะเป็นการแก้ไขที่ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ของไมโครซอฟท์เอง
ไมโครซอฟท์ออกอัพเดตให้กับตัวแก้ไขซอร์สโค้ดโอเพนซอร์ส Visual Studio Code ขยับเลขเวอร์ชันเป็นรุ่น 1.3
โดยได้เพิ่มฟีเจอร์ใหญ่อย่างการเพิ่มแท็บสำหรับหน้าต่าง editor ช่วยจัดระเบียบ workbench ให้ใช้งานได้สะดวกขึ้น และเพิ่มหน้าจัดการ extension ช่วยให้สามารถค้นหาและติดตั้งและอัพเดตส่วนเสริมที่ต้องการได้จาก VS Code เลย (แต่ก่อนต้องค้นหาผ่าน Visual Studio Marketplace แล้วก็อปปี้คำสั่งติดตั้งมาใช้บน VS Code อีกที)
สำหรับการปรับปรุงทั้งหมดที่ไมโครซอฟท์ยกให้เป็นไฮไลท์ของการอัพเดตครั้งนี้มีดังนี้
ไมโครซอฟท์ประกาศความร่วมมือกับ Red Hat และ Codenvy บริษัทที่รับผิดชอบการพัฒนา Eclipse รุ่นถัดไป สร้างมาตรฐานกลางสำหรับการเพิ่มภาษาโปรแกรมใหม่ๆ ให้ซอฟต์แวร์ IDE (Integrated Development Environment) รองรับได้ง่ายขึ้น
แนวคิดของเรื่องนี้คือตัว IDE หรือ Editor จะรองรับภาษาโปรแกรมใหม่ๆ ต้องมีข้อมูลของภาษานั้นเพื่อใช้ตรวจ syntax, เติมโค้ด (code completion) รวมถึงทำ refactoring ดังนั้น IDE จะถูกออกแบบให้ดึงข้อมูลของภาษาโปรแกรมจาก "Language Servers" ที่มีข้อมูลของแต่ละภาษาอยู่
ไมโครซอฟท์ออกมาโชว์ความสามารถใหม่ของ Visual Studio 15 รุ่นถัดไป ว่าจะสามารถแยกโมดูลของโปรแกรม และติดตั้งโมดูลเท่าที่จำเป็นต้องใช้งานเพื่อประหยัดพื้นที่ (ตัวแกนของ Visual Studio 15 มีขนาดเพียง 320MB)
และเพื่อให้การติดตั้งสะดวกยิ่งขึ้น ไมโครซอฟท์จึงจัดชุดการติดตั้งสำหรับการพัฒนาโปรแกรมแต่ละแนว โดยเรียกว่า stack หรือ workload เบื้องต้นมีทั้งหมด 17 ประเภท ใครใช้งานแบบไหนก็คลิกทีเดียว ติดตั้งเฉพาะส่วนที่ต้องการใช้งานได้ทันที (มีทั้งเทคโนโลยีของไมโครซอฟท์เอง ไปจนถึงเทคโนโลยีของบริษัทอื่นอย่าง Python, Node.js, Cordova)
ไมโครซอฟท์เปิดตัว VSCode ตัวแก้ไขซอร์สโค้ดโอเพนซอร์สมาตั้งแต่งาน Build 2015 เกือบครบหนึ่งปี ตอนนี้ไมโครซอฟท์ก็ออกมาประกาศ VSCode 1.0
ความเปลี่ยนแปลงในรุ่น 1.0 นี้เป็นเรื่องของความเสถียรและประสิทธิภาพมากกว่าฟีเจอร์ โดยช่วงเปิดตัวฟีเจอร์ของ VSCode ยังไม่มากนัก โดยเฉพาะมันไม่รองรับส่วนขยายใดๆ ตอนนี้ VSCode มีส่วนขยายกว่า 1,000 ตัว ที่ช่วยให้ซัพพอร์ตการพัฒนาภาษายอดนิยมอย่าง Python, Go, React Native, หรือแม้แต่ C++
ผมเองใช้ VSCode เป็นตัวแก้ไขโค้ดหลักมาตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้วหลังจากลองอยู่หลายเดือน กระบวนการพัฒนาของมันค่อนข้างรวดเร็วและเห็นความก้าวหน้าชัดเจน ใครใช้กันอยู่มาแสดงความเห็นกันได้ครับ
ไมโครซอฟท์เพิ่งซื้อ Xamarin เมื่อเดือนที่แล้ว ในงาน Build 2016 วันที่สอง ก็มีข่าวใหญ่ที่หลายคนรอคอย
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Visual C++ for Linux Development ส่วนเสริมของ Visual Studio ที่ช่วยให้สามารถพัฒนาแอปพลิเคชั่นบนลินุกซ์ได้จากวินโดวส์โดยตรง
โดยตัวส่วนเสริมเองไม่ใช่การใช้คอมไพลเลอร์ของไมโครซอฟท์ไปคอมไพล์โปรแกรมสำหรับลินุกซ์แต่เป็นการรีโมตไปรัน g++ บนเครื่องปลายทาง และเชื่อมต่อกับ gdb เพื่อดึงข้อมูลกลับมาดีบั๊กบนวินโดวส์