Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

ispace บริษัทเอกชนด้านอวกาศของญี่ปุ่น รายงานสถานะของภารกิจ Mission 1 ที่จะนำยานอวกาศไร้มนุษย์ HAKUTO-R ลงจอดบนดวงจันทร์ ซึ่งกำหนดแตะพื้นผิวดวงจันทร์ที่เวลา 23:40น. วันที่ 25 เมษายน 2023 ตามเวลาในประเทศไทย

Takeshi Hakamada ซีอีโอ ispace แถลงว่าเกิดปัญหาขาดการติดต่อสื่อสารกับยาน HAKUTO-R ในขณะที่ยานใกล้ลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์บริเวณ Atlas Crater ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของดวงจันทร์ ในอีกระยะ 89 เมตร แม้ถึงตอนนี้ยังไม่สามารถติดต่อกับยานได้ แต่ก็อาจสรุปได้ว่าภารกิจการนำยานลงจอดบนดวงจันทร์ไม่เสร็จสมบูรณ์ทุกขั้นตอน

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

SpaceX ได้ปล่อยจรวด Super Heavy และจรวด Starship ออกจากฐานยิงที่ Boca Chica รัฐ Texas เรียบร้อยแล้วเมื่อคืนนี้ หลังจากเลื่อนแผนมาครั้งหนึ่งจากคืนวันจันทร์ ที่พบปัญหาระบบวาล์ว Pressurant แข็งตัว

อย่างไรก็ตามการทดสอบจรวดรูปแบบใหม่นี้ ยังไม่สามารถทำได้ครบตามแผนที่วางไว้ โดยหลังจากจรวดออกจากฐานยิงได้ 3 นาที Starship พบปัญหาการแยกตัวของยานที่ไม่เป็นไปตามแผน ทำให้ยานระเบิดกลางอากาศ จึงไม่สามารถเดินทางขึ้นไปทดสอบการบินตามแนววงโคจรเป็นเวลา 90 นาที ซึ่งเป็นการทดสอบภารกิจเริ่มต้น เพื่อลำเลียงสิ่งของและคนสู่อวกาศต่อไปได้

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

SpaceX ประกาศเลื่อนกำหนดการปล่อยจรวด Super Heavy และจรวด Starship ออกไปจากเดิม ที่มีแผนปล่อยจรวดเมื่อคืนนี้ตามเวลาในไทย โดยกำหนดการใหม่อยู่ในช่วงกรอบเวลาของวันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน 2023 ระหว่าง 8:28น. ถึง 9:30น. ตามเวลาท้องถิ่น CDT หรือตรงกับ 20:28-21:30น. ตามเวลาในไทย

Elon Musk ซีอีโอ SpaceX ทวีตว่าพบปัญหาระบบวาล์ว Pressurant แข็งตัว จึงต้องเลื่อนกำหนดปล่อยจรวด หลังทีมงานประเมินสถานการณ์ทั้งหมด ซึ่งถือเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ในการทดสอบจรวดแบบใหม่

ตามแผนงานนั้นจรวด Super Heavy จะขึ้นสู่ท้องฟ้า และเมื่อแยกจรวด Starship ออกมา จรวดก็จะกลับสู่มหาสมุทร ส่วน Starship จะบินตามแนววงโคจรในอวกาศเป็นเวลา 90 นาที และกลับลงสู่โลกในพื้นที่ใกล้กับฮาวาย

Tags:
Node Thumbnail

NASA เปิดตัวคณะนักบินอวกาศที่จะไปวนรอบดวงจันทร์ในปี 2024 กับภารกิจ Artemis II หลังจากภารกิจ Artemis I ประสบความสำเร็จ ในการส่งจรวดเปล่าไปบินวนรอบดวงจันทร์

นักบินอวกาศคณะนี้มีจำนวน 4 คน มาจาก NASA 3 คน และมาจาก CSA หน่วยงานอวกาศของแคนาดา 1 คน ได้แก่

  • Reid Wiseman (Commander)
  • Victor Glover (Pilot)
  • Christina Hammock Koch (Mission Specialist 1)
  • Jeremy Hansen (Mission Specialist 2, ตัวแทนจาก CSA)

นักบินของ NASA ทั้ง 3 คนล้วนแต่เคยไปอวกาศมาก่อนแล้วคนละหนึ่งครั้ง ได้แก่

Tags:
Node Thumbnail

NASA ประกาศความร่วมมือกับ DARPA หน่วยงานให้ทุนวิจัยกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เริ่มพัฒนาเครื่องยนต์จรวดพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสร้างจรวดความเร็วสูง สามารถเดินทางไปยังดาวอังคารได้ภายในเวลาไม่นาน และเปิดทางให้มนุษย์เดินทางไปดาวอังคารได้ในที่สุด

เครื่องยนต์พลังความร้อนนิวเคลียร์ (nuclear thermal) อาศัยความร้อนจากเตาปฎิกรณ์นิวเคลียร์ฟิชชั่นมาทำความร้อนให้กับของเหลวให้ขยายตัวและพ่นออกไปจากจรวดด้วยความเร็วสูงเพื่อผลักดันยานไปข้างหน้า แรงขับจากเครื่องยนต์แบบนี้สูงกว่าการเผาไหม้เชื้อเพลิงปกติสูงสุดสามเท่าตัว และ NASA เองเคยพยายามพัฒนาเครื่องยนต์แบบนี้ในโครงการ NASA’s Nuclear Engine for Rocket Vehicle Application and Rover ตั้งแต่ 50 ปีที่แล้วแต่ล้มเลิกไป

Tags:
Node Thumbnail

Virgin Orbit บริษัทยิงดาวเทียมของเครือ Virgin (แยกตัวออกมาจาก Virgin Galactic เพื่อมาทำเรื่องดาวเทียมอย่างเดียว) กำลังจะสร้างประวัติศาสตร์การยิงดาวเทียมครั้งแรกจากแผ่นดินอังกฤษ คืนนี้ตามเวลาประเทศไทย

การยิงดาวเทียมของ Virgin Orbit จะต่างจากการยิงจรวดที่เราคุ้นเคยกัน เพราะเป็นการนำเครื่องบิน Boeing 747 มาดัดแปลงให้ติดจรวด LauncherOne ที่ปีกเครื่องบินเพื่อส่งดาวเทียมอีกที กระบวนการคือนำเครื่องบิน (ชื่อเล่นว่า Cosmic Girl) บินขึ้นจากสนามบินตามปกติ เมื่อบินถึงความสูงประมาณ 10,000 เมตรจะปล่อยจรวด LauncherOne นำดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร

Tags:
Node Thumbnail

ยานอวกาศ Orion ที่ NASA ส่งไปวนรอบดวงจันทร์ตามภารกิจ Artemis I ตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน กลับสู่โลกเรียบร้อยแล้ว โดยเข้าสู่ชั้นบรรยากาศแล้วตกลงมาที่มหาสมุทรแปซิฟิก ใกล้กับคาบสมุทร Baja California ในเม็กซิโก

ภารกิจ Artemis I เป็นการส่งยานอวกาศที่ไร้มนุษย์ไปบินวนรอบดวงจันทร์เพื่อทดสอบระบบต่างๆ ตั้งแต่จรวด Space Launch System (SLS) ที่มีปัญหาเชื้อเพลิงรั่วบ่อยครั้ง, นำยานบนวนรอบดวงจันทร์ 2 รอบแล้วบินกลับโลก จนกระทั่งนำยาน Orion กลับสู่โลกอย่างปลอดภัย ใช้เวลาภารกิจทั้งหมด 25.5 วัน เดินทางไกลเป็นระยะทั้งหมด 1.4 ล้านไมล์ หรือ 2.1 ล้านกิโลเมตร

Tags:
Node Thumbnail

Yusaku Maezawa มหาเศรษฐีชาวญี่ปุ่น ซึ่งเป็นลูกค้าคนแรก และซื้อทริปแบบเช่าเหมาลำจรวดของ SpaceX ที่จะเดินทางไปดวงจันทร์ตั้งแต่ปี 2018 ล่าสุดเขาได้ประกาศรายชื่อศิลปินจากทั่วโลก ที่จะได้เดินทางไปกับเขาทั้งหมด 10 คน (มี 2 คน ที่เป็นตัวสำรอง)

โดยรายชื่อทั้ง 10 นั้น มีทั้งดีเจ Steve Aoki, T.O.P ศิลปินวง Big Bang, Tim Dodd ยูทูบเบอร์ รวมอยู่ด้วย ก่อนหน้านี้ Maezawa ประกาศแผนหาผู้ร่วมทริปหนึ่งคนในฐานะคู่แท้ ด้วยรูปแบบรายการเรียลลิตี้ แต่โครงการนี้ได้ยกเลิกไปก่อน

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

MIT ประกาศความสำเร็จในการทดลองโครงการ TeraByte InfraRed Delivery (TBIRD) เชื่อมต่อระหว่างสถานีภาคพื้นดินกับดาวเทียมขนาดเล็กบนวงโคจรระดับต่ำที่แบนวิดท์ระดับ 100Gbps

TBIRD เป็นส่วนหนึ่งในโครงการสาธิตเทคโนโลยี Pathfinder Technology Demonstrator (PTD) และ TBIRD ก็ติดตั้งไปกับดาวเทียม PTD-3 ในทางทฤษฎี TBIRD สามารถส่งข้อมูลได้แบนวิดท์สูงสุดถึง 200Gbps สูงกว่าการใช้คลื่นวิทยุนับสิบนับร้อยเท่า ทีมงานมีแผนจะทดสอบแบนวิดท์สูงสุดต่อไปหลังจากทดสอบที่ 100Gbps สำเร็จไปแล้วในครั้งนี้

Tags:
Node Thumbnail

ในที่สุดหลังจากเลื่อนมาหลายครั้ง วันนี้ NASA ก็ได้ปล่อยจรวด SLS ของโครงการ Artemis I ขึ้นสู่อวกาศแล้วเป็นที่เรียบร้อยเมื่อเวลา 1:47 น. ตามเวลาท้องถิ่น (ตรงกับ 13.47 น. ในวันนี้ตามเวลาประเทศไทย) จากฐานปล่อยจรวด 39B ที่ Kennedy Space Center ใน Florida

จรวด SLS (Space Launch System) นี้จะพายาน Orion ขึ้นสู่อวกาศ โดยยาน Orion นี้จะเดินทางมุ่งหน้าสู่ดวงจันทร์ และเดินทางเลยดวงจันทร์ไปเป็นระยะราว 40,000 ไมล์ ก่อนเดินทางกลับสู่โลกโดยไม่มีนักบินอวกาศไปด้วย โดยจะใช้เวลาในการทำภารกิจทั้งหมด 25 วันครึ่ง ซึ่งนี่คือภารกิจทั้งหมดของ Artemis I

Tags:
Node Thumbnail

หนึ่งในความทะเยอทะยานของมนุษยชาติที่ยังคงเดินหน้าคือการหาหนทางดำรงเผ่าพันธุ์ใช้ชีวิตเป็นการถาวรนอกโลก นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ทั้งระบบการเดินทาง, การผลิตและหมุนเวียนทรัพยากรเพื่อการดำรงชีพในอวกาศและบนดาวเคราะห์อื่นมากมาย แต่ปัญหาหนึ่งที่ยังไม่แน่ชัดก็คือมนุษย์เราสามารถสืบพันธ์กันนอกโลกได้หรือไม่?

เพื่อค้นหาคำตอบสำหรับข้อสงสัยดังกล่าวได้มีการทดลองทางวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในอวกาศ ตั้งแต่การทดลองกับแบคทีเรีย ไปจนถึงการศึกษาเรื่องการสืบพันธุ์ของหนู อย่างไรก็ตามยังไม่เคยมีการทดลองเรื่องการสืบพันธุ์ของสัตว์ใหญ่บนอวกาศมาก่อน และจีนตั้งเป้าว่าจะลองทำเรื่องนี้ด้วยการส่งลิงขึ้นไปผสมพันธุ์กันบนสถานีอวกาศ Tiangong ของตนเอง

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

ESA (องค์การอวกาศแห่งยุโรป) ได้ส่งยาน Solar Orbiter ขึ้นไปสำรวจถ่ายภาพดวงอาทิตย์ตั้งแต่ปี 2020 และเมื่อวันที่ 12 ตุลาคมที่ผ่านมา ยาน Solar Orbiter ได้เคลื่อนที่เข้าในระยะที่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดโดยมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์เพียง 1 ใน 3 ของระยะทางจากดวงอาทิตย์มายังโลก

ในช่วงเวลาดังกล่าว ยาน Solar Orbiter ได้ใช้กล้องบันทึกภาพแบบ Extreme Ultraviolet Imager (EUI) ถ่ายวิดีโอที่ทำให้เราได้เห็นโคโรนาของดวงอาทิตย์ที่ชัดเจนที่สุดครั้งหนึ่ง

Tags:
Node Thumbnail

หลังจากเลื่อนมาหลายครั้ง NASA ได้โพสต์บล็อกอัพเดตแผนการปล่อยจรวด Artemis I เป็นช่วงกลางดึกคืนวันที่ 13 พฤศจิกายนนี้

ช่วงเวลาที่เอื้อให้ปล่อยจรวดได้มีระยะเวลา 69 นาที เริ่มตั้งแต่เวลา 0.07 น. ของวันที่ 14 พฤศจิกายนตามเวลาท้องถิ่น และในกรณีที่ต้องเลื่อนการปล่อยจรวดออกไปอีก NASA ได้เตรียมแผนสำรองโดยเลือกช่วงเวลาตั้งแต่ 1.04 น. ของวันที่ 16 พฤศจิกายน หรือไม่ก็เวลา 1.45 น. ของวันที่ 19 พฤศจิกายน โดยแผนสำรองใน 2 วันดังกล่าวนั้นจะมีกรอบเวลาที่สามารถปล่อยจรวดได้ 2 ชั่วโมงในแต่ละรอบ

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

เกี่ยวกับโครงการ DART หลังตัวยานพุ่งชนดาวเคราะห์น้อย Dimorphos เมื่อวันที่ 27 กันยายนที่ผ่านมา และมีการเก็บข้อมูลด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศและยานอื่นๆ ตอนนี้ NASA ได้ยืนยันแล้วว่าการโคจรของดาวเคราะห์น้อย Dimorphos มีการเปลี่ยนแปลงหลังการชน ถือได้ว่าการทดสอบนี้ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของมัน

NASA ได้วิเคราะห์ภาพถ่ายหลายภาพเพื่อตรวจการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์น้อยหลังการชนและได้เผยแพร่บทความอธิบายการสรุปผลวิเคราะห์ภาพเหล่านั้น โดยดาวเคราะห์ Dimorphos มีคาบการโคจรเร็วขึ้น 32 นาที

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา NASA ได้ถ่ายทอดสดสัญญาณภาพจากการทดสอบโครงการ DART ซึ่งเป็นการทดสอบเทคโนโลยีปกป้องโลกด้วยการส่งยานอวกาศไปชนดาวเคราะห์น้อย โดยภาพจากยาน DART เองที่ถ่ายทอดสดมายังโลกแสดงให้เห็นการเคลื่อนที่เข้าพุ่งชนดาวเคราะห์น้อยตรงตามเป้าหมาย

ยาน DART ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อ 10 เดือนก่อน หลังการเดินทางอันยาวนานเป็นระยะทางร่วม 11 ล้านกิโลเมตร ในการเดินทางช่วงสุดท้ายระบบนำทางได้พายานที่มีมวล 570 กิโลกรัม มุ่งหน้าหาดาวเคราะห์น้อย Dimorphos อันเป็นเป้าหมายการชน โดยมีกล้อง DRACO ที่ติดตั้งบนยานทำหน้าที่คอยบันทึกภาพช่วงเวลาสุดท้ายก่อนการชน

Tags:
Node Thumbnail

ภารกิจยิงจรวด Artemis I รอบใหม่ 27 กันยายน มีเหตุให้ไม่ได้ยิงอีกแล้ว รอบนี้ [ยัง] ไม่มีอะไรพัง แต่ต้องเลื่อนเนื่องจากมีพายุ Ian จะขึ้นฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกาในช่วงเวลาเดียวกัน

NASA ระบุว่าตัดสินใจเลื่อนการยิงจรวดวันที่ 27 กันยายนแล้ว และกำลังประเมินสถานการณ์สภาพอากาศอีกครั้ง ว่าจะต้องนำจรวดกลับเข้าโรงเก็บ Vehicle Assembly Building ด้วยหรือไม่

ตามแผนของ NASA โอกาสยิงครั้งถัดไปคือวันที่ 2 ตุลาคม

ที่มา - NASA

Tags:
Node Thumbnail

อีกไม่ถึง 72 ชั่วโมงก็จะถึงกำหนดการชนของยาน DART ซึ่งเป็นการทดสอบเทคโนโลยีปกป้องโลกด้วยการเอายานอวกาศพุ่งชนดาวเคราะห์น้อย โดยภารกิจนี้จะมีการใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศ James Webb (JWST) และกล้องโทรทรรศน์อวกาศ Hubble ร่วมเก็บข้อมูลจากการทดสอบด้วย

การทดสอบของโครงการ DART นี้เป็นการส่งยานอวกาศไปชนดาวเคราะห์น้อย Dimorphos เพื่อจำลองเหตุการณ์ในกรณีที่มีเทหวัตถุเคลื่อนที่พุ่งเข้าหาโลกว่าจะสามารถส่งยานอวกาศไปชนมันเพื่อเบี่ยงทิศทางการเคลื่อนที่ให้เบนออกไม่พุ่งหาโลกได้หรือไม่ ซึ่งการทดสอบนี้จะมีการรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อมาศึกษาและวิเคราะห์พัฒนาโครงการในอนาคต

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

Vast สตาร์ทอัพจากประเทศสหรัฐอเมริกา ประกาศโครงการสร้างสถานีอวกาศวงโคจรต่ำที่มีระบบการสร้างแรงโน้มถ่วงเทียม

ในปัจจุบันนี้การปฏิบัติงานของนักบินอวกาศในสภาวะไร้น้ำหนักนั้นจะมีการควบคุมระยะเวลาปฏิบัติภารกิจเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยต่อร่างกาย เนื่องจากการใช้ชีวิตในสภาวะไร้น้ำหนักนั้นส่งผลต่อการสูญเสียมวลกระดูก, การสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ รวมทั้งปัญหาต่อการทำงานของสมอง ด้วยเหตุนี้แนวคิดการสร้างแรงโน้มถ่วงเทียมในอวกาศจึงเกิดขึ้นมาเพื่อเปิดประตูสู่ความเป็นไปได้ในการใช้ชีวิตเป็นระยะเวลานานขึ้นในอวกาศ

Tags:
Node Thumbnail

NASA ประกาศกำหนดวันยิงจรวด Artemis I อีกครั้ง เป็นวันที่ 27 กันยายน ในเวลา 11:37 a.m. EDT ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งตรงกับเวลา 22:37น. ในไทย มีกรอบเวลาการยิงจรวด (launch window) 70 นาที จรวดมีกำหนดกลับสู่โลกวันที่ 5 พฤศจิกายน

ในครั้งนี้ NASA ยังประกาศแผนสำรองพร้อมกันด้วย หากไม่สามารถยิงจรวดได้ตามกำหนดแรก โดยจะเลื่อนเป็นวันที่ 2 ตุลาคม เวลา 2:52 p.m EDT มีกรอบเวลา 109 นาที

Tags:
Node Thumbnail

Liu Jizhong เจ้าหน้าที่ศูนย์สำรวจดวงจันทร์และอวกาศจีนเปิดเผยว่า องค์การ National Space Adminictration (NASA ของจีน) ได้รับการอนุมัติให้ดำเนินภารกิจ Chang’e (Chang’e lunar program) ต่อโดยส่งยานอวกาศที่ไม่มีมนุษย์ไปดวงจันทร์เพิ่มอีก 3 ลำในช่วง 10 ปีต่อจากนี้ ภายหลังจากที่จีนค้นพบแร่ดวงจันทร์ใหม่จากตัวอย่างที่เก็บมาจากภารกิจ Chang’e-5

แร่ที่เพิ่งค้นพบถูกตั้งชื่อว่า Changesite-(Y) สำนักข่าวซินหัวของจีนอธิบายว่ามีลักษณะเหมือนคริสตัลโปร่งแสงและไม่มีสีที่มีก๊าซฮีเลียม-3 อยู่ภายใน ซึ่งคาดการณ์ว่าก๊าซดังกล่าวอาจเป็นแหล่งพลังงานในอนาคต การค้นพบแร่นี้ทำให้จีนกลายเป็นประเทศที่ 3 ที่ค้นพบแร่ใหม่จากดวงจันทร์

Tags:
Node Thumbnail

ภารกิจ Artemis I ยังเป็นมหากาพย์ไม่จบไม่สิ้น หลัง NASA เตรียมพยายามยิงจรวดเป็นรอบที่สองคืนนี้ราว 1.17 น.

ล่าสุด NASA ประกาศยกเลิกการยิงจรวดแล้ว หลังพบปัญหาไฮโดรเจนเหลวรั่วขณะเติมในถังเชื้อเพลิงของจรวด Space Launch System (SLS) ซึ่งเป็นอาการคล้ายๆ กับปัญหาของรอบที่แล้ว แต่รายละเอียดยังต้องรอการสอบสวนของ NASA อีกครั้ง

Tags:
Node Thumbnail

NASA ประกาศวันยิงจรวด Artemis I รอบใหม่วันที่ 3 กันยายน เวลาท้องถิ่น 2:17 p.m. EDT ตรงกับเวลาประเทศไทย 01.17 น.​ ของวันที่ 4 กันยายน โดยมีกรอบเวลาที่ยิงจรวดได้ (launch window) 2 ชั่วโมง

ความพยายามยิงจรวดตามภารกิจ Artemis I ครั้งแรกในวันที่ 29 สิงหาคม ไม่ประสบความสำเร็จ หลังพบปัญหาเครื่องยนต์หมายเลข 3 อุณหภูมิสูงกว่าเครื่องยนต์อื่นๆ (มีทั้งหมด 4 เครื่องยนต์) และปัญหาเชื้อเพลิงไฮโดรเจนรั่วในบริเวณชิ้นส่วน Tail Service Mast Umbilicals ของฐานยิง ซึ่งทีมวิศวกรกำลังแก้ไขปัญหากันอยู่

Tags:
Node Thumbnail

NASA ประกาศยกเลิกการยิงจรวดตามภารกิจ Artemis I ตามแผนการที่วางไว้ เนื่องจากพบปัญหาเชื้อเพลิงรั่วในเครื่องยนต์ของจรวด SLS

NASA บอกว่าจะพยายามแก้ปัญหาและประกาศวันยิงจรวดใหม่อีกครั้งในภายหลัง จากประกาศเดิมคราวก่อน โอกาสยิง (launch opportunity) รอบหน้าที่สภาพแวดล้อมเหมาะสมกับการยิงจรวดคือวันที่ 2 กันยายน และ 5 กันยายน

Tags:
Node Thumbnail

ในที่สุด ภารกิจ Artemis I ยิงจรวดไปวนรอบดวงจันทร์ของ NASA ที่ล่าช้ามาหลายรอบ ก็จะเกิดขึ้นแล้วจริงๆ ในวันนี้ 29 สิงหาคม 2022 มีกรอบเวลายิง 2 ช่วงโมง เริ่มตอน 19.33 น. ตามเวลาประเทศไทย (เวลาการถ่ายทอดสดจะเริ่ม 17.30 น. ผ่านทาง YouTube และเว็บไซต์ NASA)

ภารกิจ Artemis I มีความสำคัญเพราะเป็นก้าวแรกของ NASA ในการกลับสู่ดวงจันทร์ ถือเป็นการซ้อมครั้งแรกโดยยิงจรวดที่ยังไม่มีมนุษย์ (มีหุ่นนั่งไปแทนในที่นั่งมนุษย์) ก่อนส่งมนุษย์กลับไปดวงจันทร์อีกครั้งในภารกิจ Artemis III ราวปี 2025

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

หนึ่งในมุกที่เรามักจะนึกถึงเวลาเห็นภาพยนตร์เกี่ยวกับหายนะที่จะมีอุกกาบาตขนาดยักษ์ตกลงมาที่โลกคือการส่งอะไรสักอย่างพุ่งเข้าชนมันเพื่อให้มันเบี่ยงวิถีการเคลื่อนที่ไม่พุ่งตรงมาชนโลก ซึ่งที่ว่ามานี้คือไอเดียของโครงการ Double Asteroid Redirection Test (DART) เทคโนโลยีปกป้องโลกที่ NASA กำลังจะทดสอบจริงเดือนหน้า

ยาน DART มีน้ำหนัก 610 กิโลกรัม ติดตั้งระบบเซ็นเซอร์และซอฟต์แวร์เพื่อการนำทางสำหรับเคลื่อนที่พุ่งเข้าชนเป้าหมาย พร้อมกล้องถ่ายภาพเพื่อช่วยในการสังเกตการณ์และการนำทาง มันมีแผงโซลาร์เซลล์ที่เมื่อกางออกเต็มที่จะมีความยาว 8.5 เมตรทำหน้าที่สร้างพลังงานไฟฟ้าเลี้ยงระบบต่างๆ

Pages