ผู้ใช้เงินคริปโตบนเชน Solana กำลังถูกดูดเงินออกจากบัญชีนับพันรายโดยไม่ทราบสาเหตุ ตอนนี้รู้เพียงว่าคนที่ถูกโจมตีเป็นบัญชีเก่าที่ไม่ได้ใช้งานมานาน มูลค่าสินทรัพย์ที่ถูกขโมยออกจากบัญชีไปรวมกว่า 5.7 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 200 ล้านบาท
เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน ตอนนี้คำแนะนำสำหรับผู้ใช้ที่ถือทรัพย์สินบน Solana คือให้ย้ายสินทรัพย์ไปยังบัญชีใหม่ที่ใช้ประเป๋าเงินแบบฮาร์ดแวร์ หรือจะย้ายสินทรัพย์ไปยังศูนย์ซื้อขายก็ได้เหมือนกัน
ที่มา - Web3 is going great
Michael Saylor ซีอีโอคนดังแห่ง MicroStrategy บริษัทซอฟต์แวร์สำหรับองค์กรที่ช่วงหลังมาเน้นลงทุนในบิตคอยน์ จนเขากลายเป็นมีมแห่งโลกคริปโต ประกาศลาออกจากตำแหน่งซีอีโอ โดยจะไปรับตำแหน่งประธานบอร์ดบริหารแทน และให้ Phong Le ซึ่งปัจจุบันเป็นประธานบริษัท มารับตำแหน่งซีอีโอ
Saylor บอกว่าจากนี้เขาจะเน้นโฟกัสที่การลงทุนของบริษัทนั่นคือบิตคอยน์ โดยแยกบทบาทหน้าที่ให้ซีอีโอคนใหม่ Phong ดูแลส่วนธุรกิจซอฟต์แวร์องค์กร
ในไตรมาสที่ผ่านมา MicroStrategy ถือครองบิตคอยน์รวม 129,699 BTC มีต้นทุนเฉลี่ย 15,326 ดอลลาร์ต่อบิตคอยน์
ที่มา: MicroStrategy
Helium Network เป็นบริษัทด้านบล็อกเชน (หรือบ้างก็เรียก web3) ที่ทำระบบเครือข่ายเราเตอร์ LoRaWAN ผ่านมวลชนจำนวนมาก เพื่อให้บริการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT โดยนำแนวคิดบล็อกเชนและ token ($HNT) เข้ามาจัดสรรผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ลงทุนซื้อเราเตอร์มาให้บริการ
Helium เคยถูกยกย่องว่าเป็นกรณีศึกษาว่า web3 สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาในโลกจริงได้จริงๆ นะ (บทความในสื่อใหญ่อย่าง The New York Times ที่พาดหัวว่า Maybe There’s a Use for Crypto After All) แนวคิดของมันคือการสร้างเครือข่าย LoRaWAN โดยผู้ใช้ "ลงทุน" ซื้ออุปกรณ์ hotspot ราคาประมาณ 500 ดอลลาร์มาติดตั้งไว้เฉยๆ เปิดให้ Helium เข้ามาจัดการจากระยะไกล ซึ่ง Helium จะนำไปปล่อยเช่ากับ "ลูกค้าอุตสาหกรรมที่ต้องใช้งาน" และนำรายได้กลับเข้ามา "จ่ายคืน" ผู้ลงทุน โดยกระบวนการคิดค่าตอบแทนใช้ระบบ token เป็นสื่อกลางตามสมัยนิยม
แต่ในรอบ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา Helium กลับถูกแฉว่า แทบไม่มีรายได้จากการเช่า LoRaWAN เข้ามาจริงๆ และลูกค้าที่ Helium แปะโลโก้ไว้บนหน้าเว็บ ซึ่งมีแบรนด์ดังๆ อย่าง Lime และ Salesforce ก็ออกมาปฏิเสธว่าไม่เคยมีความสัมพันธ์กับ Helium แต่อย่างใด
เมื่อวานนี้ 29 ก.ค. 2565 สำนักงาน ก.ล.ต. ออกมาชี้แจงรายละเอียดเรื่อง Zipmex ประสบปัญหาสภาพคล่อง โดยมีคณะผู้บริหาร 3 รายมาชี้แจง ได้แก่ รื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ ก.ล.ต., ณัฐญา นิยมานุสร ผู้ช่วยเลขาธิการ ก.ล.ต. และ เอนก อยู่ยืน ผู้ช่วยเลขาธิการ ก.ล.ต. ร่วมตอบคำถามผ่านการไลฟ์
ประเด็นสำคัญของการชี้แจงคือ สำนักงาน ก.ล.ต. เพิ่งรับทราบข้อมูลเรื่อง Zipmex ที่สิงคโปร์ยื่นขอพักชำระหนี้จากสื่ออื่นๆ โดยไม่ได้รับการชี้แจงจาก Zipmex ประเทศไทย ส่วนประเด็นว่า ก.ล.ต. เคยรับทราบเรื่องบริการ ZipUp+ หรือไม่ คำตอบก็คือเพิ่งมาทราบเมื่อเกิดปัญหาขึ้นแล้ว
สำนักข่าว Bloomberg อ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัวตน 3 ราย ระบวุ่า SEC หรือก.ล.ต.สหรัฐฯ กำลังสอบสวนว่า Coinbase ให้บริการกระดานซื้อขายสินทรัพย์ที่เข้าข่ายว่าเป็นหลักทรัพย์และต้องขออนุญาตล่วงหน้าหรือไม่
การสอบสวนนี้ต่อเนื่องมาจากการจับกุม Ishan Wahi ที่ใช้ข้อมูลภายในซื้อสินทรัพย์ดิจิทัลล่วงหน้าก่อนประกาศเข้าซื้อขายในกระดานของ Coinbase โดยการดำเนินคดีกับ Ishan แสดงให้เห็นว่า SEC มองว่าสินทรัพย์ดิจิทัลในคดีนี้ 9 ตัวเป็นหลักทรัพย์ที่อยู่ภายใต้อำนาจของ SEC และใน 9 ตัวนี้มี 7 ตัวที่ซื้อขายอยู่ในกระดานของ Coinbase
ในวันนี้ ดร.เอกลาภ ยิ้มวิไล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Zipmex Thailand ได้แถลงการณ์ผ่านไลฟ์เพื่อรายงานสถานการณ์ล่าสุด ของบริการ ZipUp ที่ตอนนี้ระงับการถอนสินทรัพย์ชั่วคราว โดยมีหลายประเด็นสำคัญ
โดย ดร.เอกลาภ พูดถึงการรับการลงทุนเพิ่มเติม ว่าตอนนี้ได้เซ็น MOU กับนักลงทุนหลายรายแล้ว ซึ่งจะมีขั้นตอนอื่นต่อไป ส่วนประเด็นจากหน่วยงานกำกับดูแลนั้น Zipmex ได้รายงานให้ข้อมูลกับทาง ก.ล.ต. แล้ว
มีรายงานจาก Bloomberg ว่าแพลตฟอร์มซื้อขายคริปโตรายใหญ่ FTX กำลังเจรจาขอซื้อกิจการ Bithumb กระดานซื้อขายคริปโตของเกาหลีใต้ โดยได้เจรจามาหลายเดือนแล้ว แต่ยังไม่มีข้อสรุป
Bithumb เริ่มให้บริการซื้อขายคริปโตมาตั้งแต่ปี 2014 ที่ผ่านมาบริษัทมีรายงานปัญหาการถูกแฮกอยู่หลายต่อหลายครั้ง ล่าสุดก็อยู่ในกลุ่มกระดานซื้อขายที่ถูกสอบสวนขอข้อมูลจากทางการ ในประเด็น TerraUSD
หลังจาก Three Arrows Capital (3AC) กองทุนคริปโตรายใหญ่จากสิงคโปร์ประกาศล้มละลาย และลากเอาบริษัทคริปโตหลายแห่งล้มละลายหรือมีปัญหาสภาพคล่องตามไปด้วย
Su Zhu และ Kyle Davies สองผู้ก่อตั้ง 3AC ก็เงียบหายไป ติดต่อไม่ได้เลยเป็นเวลานาน 5 สัปดาห์ ก่อนโผล่มาให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg โดยไม่ยอมเปิดเผยว่าอยู่ที่ไหน แต่ Bloomberg อ้างข้อมูลจากทนายของทั้งคู่ว่าเป้าหมายปลายทางอยู่ที่ UAE
ผู้ก่อตั้งทั้งสองคนอธิบายเหตุผลที่หนีไปเพราะบอกว่าได้รับคำขู่ฆ่า แต่ก็ยังรักษาการติดต่อกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลาตั้งแต่วันแรก (กองทุนจดทะเบียนที่ British Virgin Islands แต่สำนักงานอยู่ในสิงคโปร์)
FBI จับกุม Ishan Wahi อดีตพนักงานตำแหน่ง Product Manager ของ Coinbase พร้อมกับ Nikhil Wahi น้องชายของ Ishan และแจ้งความดำเนินคดีกับ Sameer Ramani เพื่อนของ Nikhil ในฐานที่ร่วมกันใช้ข้อมูลภายในซื้อขายเหรียญคริปโตที่กำลังจะเข้าสู่กระดานซื้อขายของ Coinbase
Ishan ทำงานในทีมเลือกเหรียญเข้ากระดานโดยตรง ทำให้เขารู้ล่วงหน้าว่ากำลังจะมีเหรียญคริปโตใดได้เข้าซื้อขายในกระดานบ้าง หลังจากทำงานไปเกือบปี เขาเริ่มส่งข้อมูลให้ Nikhil และ Sameer ทั้งสองคนใช้บัญชี Ethereum ไม่เปิดเผยตัวตนเข้าซื้อเหรียญเท่านี้ล่วงหน้า เป็นจำนวน 14 ครั้ง รวมสินทรัพย์ 25 ตัว และขายออกหลังจาก Coinbase ประกาศนำเหรียญเข้ากระดานแล้ว รวมได้กำไรไปประมาณ 1.5 ล้านดอลลาร์
นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg ว่าจะแก้กฎระเบียบด้านการกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัล ที่ส่วนใหญ่ออกเมื่อปี 2561 ให้เข้มงวดกว่าเดิม เพื่อคุ้มครองนักลงทุนรายย่อย ที่อาจสูญเสียเงินเก็บทั้งหมดกับสินทรัพย์ดิจิทัล
นางสาวรื่นวดี ไม่ได้ให้ข้อมูลละเอียดว่า ก.ล.ต. จะแก้กฎระเบียบเกี่ยวข้องกับคริปโตอย่างไร บอกเพียงว่าการออกใบอนุญาตและการกำกับดูแลคริปโตจะเข้มงวดขึ้น
ข้อมูลของ ก.ล.ต. ระบุว่ามีบัญชีคริปโตในประเทศเคลื่อนไหว 305,000 บัญชีในเดือนมิถุนายน ลดลงจาก 556,000 บัญชีในเดือนพฤษภาคม
ข่าวร้ายของวงการคริปโตยังตามมาอย่างต่อเนื่อง Blockchain.com ตลาดแลกเปลี่ยนคริปโตชื่อดังอีกราย (คนละแห่งกับ Crypto.com และ Bitcoin.com แม้ชื่อคล้ายๆ กัน) ประกาศปลดพนักงานออก 150 คน หรือคิดเป็น 25% ของพนักงานทั้งบริษัท รวมถึงลดเงินเดือนพนักงานระดับบริหารและซีอีโอ
เหตุผลก็คล้ายๆ กับของบริษัทอื่น (เช่น Coinbase ที่ปลดถึง 1,100 คน หรือ Crypto.com ปลด 260 คน) คือตลาดคริปโตอยู่ในช่วงขาลง นอกจากนี้ Blockchain.com ยังได้รับผลกระทบจากกองทุน Three Arrows Capital ล้มละลาย มูลค่าความเสียหาย 270 ล้านดอลลาร์
Zipmex ออกเอกสารชี้แจงเพิ่มเติม หลังจากเมื่อคืนนี้ได้ชี้แจงว่าส่วนที่เกิดปัญหาคือบริการ ZipUp+ ซึ่งเป็นการนำเงินคริปโตไปฝากกินดอกเบี้ยกับ Babel Finance มูลค่ารวม 48 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ Celsius มูลค่าร่วม 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
เนื่องจาก Celsius นั้นเข้าสู่กระบวนการล้มละลายแล้ว ความหวังที่จะได้ทรัพย์สินคืนมาเต็มจำนวนคงมีค่อนข้างน้อย แต่สำหรับทาง Babel นั้นทาง Zipmex ระบุว่ากำลังอยู่ระหว่างการประเมินทางเลือก
จากประกาศของ Zipmex ที่แถลงว่าบริการ ZipUp นำสินทรัพย์ไปลงทุน และขาดสภาพคล่องทำให้ลูกค้าที่ฝากสินทรัพย์ไว้ได้รับผลกระทบ ก็ทำให้ผู้ให้บริการ exchange รายอื่นในไทย ทยอยออกประกาศชี้แจงเรื่องดังกล่าว สำหรับลูกค้าของตน
โดยทั้ง Bitkub, Satang และ Bitazza ต่างชี้แจง หลังจากมีประกาศของ Zipmex ออกมา โดยเนื้อหาคล้ายกัน บอกว่าสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้านั้นจะถูกฝากไว้และเก็บรักษา ไม่มีนโยบายนำไปหาผลประโยชน์ต่อ ลูกค้าสามารถฝากถอน หรือซื้อขายได้ตามปกติ
ดร.เอกลาภ ยิ้มวิไล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Zipmex Thailand แถลงการณ์ผ่านไลฟ์เมื่อเวลา 19.00 ว่าสาเหตุของปัญหาเกิดจากบริการ ZipUp ซึ่งเป็นบริการที่เปิดให้ลูกค้าสามารถนำสินทรัพย์ดิจิทัลไป "ฝาก" (stake) ไว้เพื่อแลกกับโบนัสหรือผลตอบแทนเพิ่มเติมได้ (เรียกอีกอย่างว่า "นำสินทรัพย์ดิจิทัลของเราไปให้กู้" ก็ได้)
Zipmex ประกาศสั่งระงับการถอนเงินออกจากแพลตฟอร์ม ทั้งเงินบาทและคริปโต (all fiat and crypto) เพื่อเสถียรภาพของแพลตฟอร์ม ซึ่งสาเหตุหลักๆ ที่ Zipmex ระบุก็หนีไม่พ้นความผันผวนของตลาด ปัญหาการเงินจากคู่ค้าและเหตุการณ์ Black Swan (เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ซึ่งอาจจะเกี่ยวกับเหรียญ Luna และ Three Arrows Capital)
Zipmex ระบุว่าคำสั่งระงับนี้มีผลชั่วคราว จนกว่าจะมีการประกาศเพิ่มเติม
ที่มา - Zipmex
Khashayar Farmanbar รัฐมนตรีพลังงานของสวีเดน ให้สัมภาษณ์ว่าเตรียมจำกัดการใช้พลังงานของเหมืองขุดคริปโตในประเทศ โดยเขาบอกว่าพลังงานเหล่านี้เอาไปให้โรงงานเหล็กยังมีประโยชน์มากกว่า "เราจำเป็นต้องเอาพลังงานไปใช้ในสิ่งที่มีประโยชน์มากกว่าบิตคอยน์"
สวีเดนเป็นหนึ่งใน Top 3 ประเทศยอดนิยมของยุโรปสำหรับการขุดเหมืองคริปโต (อีกสองประเทศคือเยอรมนีและไอร์แลนด์) ด้วยเหตุผลว่าค่าไฟฟ้ามีราคาถูก จากพลังงานสะอาดที่ผลิตได้ในประเทศ ตัวอย่างบริษัทเหมืองรายใหญ่ในสวีเดนได้แก่ Hive Blockchain Technologies Ltd. จากแคนาดา และ Genesis Mining Ltd. จากฮ่องกง
Aaron Davis และ Dan Finlay สองผู้ก่อตั้งโครงการ MetaMask ซอฟต์แวร์กระเป๋าเงินคริปโตยอดนิยม ออกมาให้สัมภาษณ์เป็นครั้งแรกกับเว็บข่าว Vice ยอมรับข้อเสียของคริปโตว่าเป็นการพนันและแชร์ลูกโซ่
MetaMask เป็นซอฟต์แวร์กระเป๋าเงินคริปโตที่นิยมมากที่สุดตัวหนึ่ง เป็นผลงานของบริษัท ConsenSys ที่พัฒนาซอฟต์แวร์สายคริปโตหลายตัว (อีกตัวคือ Infura ที่ใช้เขียน-อ่านข้อมูลลงบล็อกเชน) ตัวของ Dan Finlay เป็นพนักงานของ ConsenSys ส่วน Aaron Davis เป็นผู้ร่วมก่อตั้งโครงการ
ผู้ก่อตั้งทั้งสองคนให้ข้อมูลว่าปริมาณการใช้งาน MetaMask ลดลงตามตลาดคริปโตที่ซบเซาลง (แม้เติบโตจาก 1 ล้านคนมาเป็น 30 ล้านคนภายใน 2 ปี)
ความฝันของคนบางกลุ่มที่อยากเห็นรัสเซียใช้เงินคริปโต แก้ปัญหาการโดนแซงค์ชันจากชาติตะวันตก ไม่เป็นจริงอีกแล้ว หลังจากประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ลงนามกฎหมายห้ามใช้เงินและสินทรัพย์คริปโตในการจ่ายเงิน (payment) ซื้อสินค้าและบริการในรัสเซีย (ประเทศไทยก็มีประกาศ ก.ล.ต. แบบนี้มาก่อนแล้ว)
กฎหมายฉบับนี้ยังกำหนดเงื่อนไขกำกับดูแลของตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยน (exchange) ให้ต้องปฏิเสธธุรกรรมคริปโต หากพบว่าเป็นธุรกรรมเพื่อใช้ซื้อสินค้าและบริการ
กฎหมายฉบับนี้ผ่านสภาดูมา (สภาผู้แทนราษฏร) ตั้งแต่เดือนมิถุนายน และปูตินลงนามรับรองกฎหมายเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยจะมีผลบังคับใช้ในอีก 10 วันหลังลงนาม
เหตุการณ์ UST หลุดการผูกค่า นับเป็นจุดหนึ่งที่กดตลาดเงินคริปโตโดยรวมอย่างต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้ เมื่อวานนี้ก.ล.ต. เผยแพร่บทความวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ซื้อขายเหรียญ Luna โดยนายพงศธร ปริญญาวุฒิชัย ฝ่ายวิจัยของก.ล.ต.
รายงานแบ่งเหตุการณ์ออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ pre-stage คือช่วงที่ UST ยังผูกค่าเป็น 1 ดอลลาร์ได้อยู่, fall-stage ช่วงที่ UST เริ่มหลุดการผูกค่าแล้ว, และ bottom-stage กลไกรักษามูลค่า UST ทำงานจนกระทั่ง Luna ราคาต่ำติดดิน และมีการหยุดซื้อขาย
Celsius Network แพลตฟอร์มคริปโตอีกรายที่มีปัญหาสภาพคล่อง จนต้องล็อคเงินของผู้ใช้เมื่อกลางเดือนมิถุนายน ประกาศยื่นขอล้มละลายตามกฎหมาย Chapter 11 ของสหรัฐอเมริกา เพื่อเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการต่อไป
Celsius ระบุว่ามีเงินสดในมือ 167 ล้านดอลลาร์ เพียงพอต่อการดำเนินงานบางส่วนของบริษัทต่อ ระหว่างเข้ากระบวนการฟื้นฟูกิจการ เช่น การจ่ายเงินเดือนพนักงาน ส่วนลูกค้าก็ยังต้องรอโอกาสในการถอนเงินออกมาเช่นเดิม
คณะกรรมการด้านเสถียรภาพการเงิน (Financial Stability Board - FSB) หน่วยงานให้คำแนะนำระบบการเงินนานาชาติ ที่สมาชิกหลักคือกลุ่มชาติ G20 ออกมาเรียกร้องให้มีการกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลทั้งเงินคริปโต และ stablecoin ทั้งระบบ เนื่องจากเงินคริปโตเริ่มมีขนาดใหญ่และเมื่อวงการเงินคริปโตมีปัญหาก็อาจจะกระทบไปถึงระบบการเงินในระบบได้
FSB ระบุว่านานาชาติต้องยึดหลัก "กิจกรรมเหมือนกัน, ความเสี่ยงเหมือนกัน, ต้องถูกกำกับเหมือนกัน" โดยทุกวันนี้บริการสินทรัพย์ดิจิทัลจำนวนมากไม่ได้ถูกกำกับระดับเดียวกับบริการทางการเงินอื่นๆ เช่น การจดทะเบียนหรือขอใบอนุญาตให้บริการทางการเงิน ตลอดจนมาตรการป้องกันการฟอกเงินและการก่อการร้าย
สื่อเกาหลีใต้ Seoul Economic รายงานข่าวว่า Uprise บริษัทคริปโตสัญชาติเกาหลีใต้ สูญเงินลงทุนของลูกค้าไป 99% หลังจากนำเงินไปลงทุนในเหรียญ LUNA
ธุรกิจของ Uprise มีด้วยกัน 2 อย่างคือ Heybit รับเทรดคริปโตให้ลูกค้าด้วยอัลกอริทึม AI (ในเว็บใช้คำว่า Robo-Advisor) และ Iruda เป็นกองทุนคริปโตที่ไปลงทุนในตลาดโลก ส่วนที่ขาดทุนคือ Heybit ที่นำเหรียญคริปโตของลูกค้าไปเทรดในตลาดฟิวเจอร์ส และอ้างว่าใช้ AI ช่วยลดความเสี่ยงจากการเทรด
อย่างไรก็ตาม Heybit เข้าไปลงทุนในเหรียญ LUNA ซึ่งได้รับความนิยมสูงในเกาหลีใต้ (เหตุผลหนึ่งเพราะ Do Kwon เป็นคนเกาหลี) และเสียเงินไปราว 26.7 พันล้านวอน หรือประมาณ 700 ล้านบาท คิดเป็น 99% ของทรัพย์สินทั้งหมดที่ลูกค้าฝากให้ Heybit เทรดให้
Bitstamp แพลตฟอร์มซื้อขายฝากคริปโต ประกาศปรับนโยบายการให้บริการ โดยจะหักเงินบัญชีที่ไม่มีความเคลื่อนไหว 12 เดือนขึ้นไป และมีมูลค่าสินทรัพย์ในบัญชีรวมต่ำกว่า 200 ยูโร โดยจะหักค่าธรรมเนียมในการดูแลบัญชี 10 ยูโรต่อเดือน
หลังประกาศนี้ออกไป ผู้ใช้งานจำนวนหนึ่งไม่เห็นด้วย จึงทำให้ Bitstamp ต้องยกเลิกนโยบายดังกล่าว ระบุว่าเมื่อลูกค้ามีความเห็นแตกต่าง เราก็รับฟังและยกเลิกคำสั่งนั้น
ก่อนหน้านี้ Bitstamp บอกว่าที่ต้องหักค่าธรรมเนียมส่วนนี้ เพราะการดูแลรักษาบัญชีผู้ใช้งานมีต้นทุน พร้อมยืนยันว่าสถานะการเงินบริษัทยังคงแข็งแกร่ง ไม่มีปัญหาใด
ที่มา: Coindesk
บริษัทคริปโต Voyager Digital ที่ประกาศเบี้ยวหนี้ และหยุดให้ลูกค้าถอน ฝาก เทรดชั่วคราว เมื่อเดือนที่แล้ว ยื่นเข้ากระบวนการล้มละลายตามกฎหมาย Chapter 11 ของสหรัฐแล้ว
Stephen Ehrlich ซีอีโอของ Voyager บอกว่าการเข้ากระบวนการล้มละลายเพื่อปรับโครงสร้าง เป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการพิทักษ์ผลประโยชน์ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งรวมถึงลูกค้าด้วย
บริษัทบอกว่ามีเงินสดในมือ 110 ล้านดอลลาร์ และเงินคริปโตอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งจะใช้เป็นกระแสเงินสดให้บริษัทยังเดินหน้าต่อได้ระหว่างรอกระบวนการล้มละลาย
Voyager แพลตฟอร์มซื้อขายคริปโตที่เพิ่งประกาศปิดการฝาก-ถอนเงินไปวันก่อน เนื่องจากประสบปัญหาสภาพคล่อง ได้ยื่นเอกสาร Chapter 11 เข้าสู่กระบวนการขอล้มละลายแล้วต่อศาลนิวยอร์กใต้ ซึ่ง Steven Ehrlich ซีอีโอ Voyager บอกว่าขั้นตอนนี้ทำเพื่อพิทักษ์สินทรัพย์ให้กับเจ้าหนี้ และรักษาผลประโยชน์สูงสุดให้ผู้ถือหุ้น
ในเอกสารระบุว่าเจ้าหนี้ของ Voyager มีประมาณ 1 แสนราย ขนาดรายการสินทรัพย์อยู่ราว 1 พันถึง 1 หมื่นล้านดอลลาร์