Securities and Exchange Commission
SEC หรือ ก.ล.ต. สหรัฐ ตั้งข้อหา Justin Sun นักลงทุนคริปโตชื่อดัง รวมทั้ง 3 บริษัทที่เขาเป็นเจ้าของคือ Tron Foundation, BitTorrent Foundation และ Rainberry ในคดีฉ้อโกงหลักทรัพย์ (Securities Fraud) โดยระบุว่าบริษัทได้สร้างการซื้อขายเหรียญ TRX และ BTT ขึ้นมา โดยการซื้อขายเหล่านั้นไม่มีการโอนเปลี่ยนเจ้าของจริง แต่ทำเพื่อให้เห็นว่าเหรียญมีความเคลื่อนไหวตลอด
SEC ยังตั้งข้อหา ดารา-บุคคลมีชื่อเสียง รวม 8 คน ข้อหาไม่เปิดเผยว่าได้รับการสนับสนุนในการประชาสัมพันธ์ทำการตลาด TRX และ BTT ผ่านช่องทางโซเชียล ซึ่งใน 8 คนนี้มี Lindsay Lohan, Jake Paul และ Ne-Yo รวมอยู่ด้วย ทั้งนี้ Soulja Boy และ Austin Mahone ซึ่งอยู่ในรายชื่อดังกล่าว ได้เจรจาขอยุติคดีและจ่ายค่าปรับ 4 แสนดอลลาร์แล้ว
SEC หรือ ก.ล.ต. สหรัฐ ตั้งข้อหาบริษัท Terraform Labs และซีอีโอ Do Hyeong Kwon ว่าฉ้อโกงเกี่ยวกับหลักทรัพย์ (securities fraud) จากกรณีเหรียญ Luna และ Terra (UST)
ข้อกล่าวหาของ SEC ระบุว่า Terraform และ Kwon โฆษณาสินทรัพย์ดิจิทัลต่อนักลงทุนว่า token ที่ขายจะมีมูลค่าสูงขึ้น โดยให้ดอกเบี้ย/ผลตอบแทนสูงสุดถึง 20% รวมถึงหลอกลวงว่ามีบริษัทระบบจ่ายเงินรายใหญ่ของเกาหลีใต้ใช้บล็อกเชน Terra เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและปั่นราคาเหรียญด้วย พฤติกรรมเหล่านี้ถือว่าผิดกฎหมายหลักทรัพย์ของสหรัฐ
ในขั้นตอนถัดจากนี้ SEC ยื่นฟ้องต่อศาลเขตนิวยอร์กใต้ เพื่อเข้ากระบวนการยุติธรรมต่อไป
Securities and Exchange Commission (SEC) หรือ ก.ล.ต. สหรัฐ สั่งปรับบริษัทคริปโต Kraken ในข้อหาไม่จดทะเบียนการขายหลักทรัพย์ จากบริการรับฝากเหรียญแบบมีผลตอบแทน (staking-as-a-service) ซึ่งถือเป็นหลักทรัพย์ตามกฎหมายสหรัฐ
Kraken เริ่มนำเสนอบริการ staking มาตั้งแต่ปี 2019 โดยรับฝากเหรียญคริปโตจากนักลงทุน แล้วนำเหรียญไปวางค้ำประกันตามแนวทาง proof-of-stake เพื่อรับผลตอบแทนจากเครือข่ายบล็อกเชน แล้วนำเหรียญที่ได้มาแบ่งกำไรกัน ซึ่ง SEC บอกว่า Kraken พยายามโฆษณาว่าเป็นวิธีทำเงินแบบง่ายๆ โดยไม่เปิดเผยข้อมูลให้ครบถ้วน
Kraken ยอมยุติคดีนี้ โดยหยุดให้บริการ staking กับลูกค้าในสหรัฐทันที และจ่ายเงินค่ายุติคดี 30 ล้านดอลลาร์ แลกกับการที่ SEC ยังไม่ตัดสินว่า Kraken มีความผิดเต็มรูปแบบ
Caroline Ellison CEO ของ Alameda Research และ Gary Wang CTO ของ FTX Trading ถูกตั้งข้อหาฉ้อโกง และทั้งสองให้การรับสารภาพ พร้อมกันนี้ FBI ประกาศว่าได้ตัว Sam Bankman-Fried (SBF) ผู้ก่อตั้ง FTX แล้ว และกำลังนำตัวกลับสหรัฐฯ
อัยการสหรัฐฯ ระบุว่าคดี FTX ยังเดินหน้าต่อไป และหากใครรู้เบาะแสของคดีก็ขอให้ออกมาให้ข้อมูล
Ellison และ Wang ยังถูกตั้งข้อหาเพิ่มเติมในคดีฉ้อโกงนักลงทุนที่ SBF ถูกตั้งข้อหาไปก่อนหน้าเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
ที่มา - SEC
ก.ล.ต.สหรัฐฯ ประกาศตั้งข้อหาผู้ใช้ทวิตเตอร์ 8 ราย ที่เป็นคนดังแต่ละคนมีผู้ติดตามนับแสนราย โดยระบุว่าผู้ต้องหาทวีตล่อให้ผู้ติดตามเข้าใจว่าพวกเขากำลังไล่เก็บหุ้นบางตัวอยู่ และเมื่อมีคนซื้อตามจนราคาขึ้นจริงๆ ก็แอบขายหุ้นของตัวเองออกมาโดยไม่บอกผู้ติดตาม ทำให้ทั้ง 8 คนได้กำไรรวม 100 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 3,500 ล้านบาท
ผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั้ง 8 รายได้แก่ @PJ_Matlock, @MrZackMorris, @ohheytommy, @notoriousalerts, @Hugh_Henne, @LadeBackk, และ @Ultra_Calls นอกจากนี้ยังตั้งข้อหากับ Daniel Knight ผู้จัดรายการ podcast ที่เชิญแขกมาแนะนำหุ้นชวนให้คนซื้อตาม โดยก.ล.ต. สหรัฐฯ ระบุว่า Knight ก็ขายหุ้นสวนทำกำไรแบบเดียวก้นด้วย
ก.ล.ต.สหรัฐฯ (SEC) ตั้งข้อหากับ Samuel Bankman-Fried (SBF) ฐานฉ้อโกง (defrauding) ผู้ลงทุนใน FTX Trading ที่ลงทุนกับ FTX ไปแล้วกว่า 1,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เฉพาะในสหรัฐฯ มีผู้ลงทุนมากกว่า 90 คนรวมมูลค่าลงทุนประมาณ 1,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
คดีนี้ยังไม่ใช่คดีฉ้อโกงลูกค้าของ FTX ที่บริษัทเอาเงินของลูกค้าไปลงทุนกับ Alameda Research โดยตรง แต่ก็เกี่ยวข้องกันเนื่องจากคดีระบุถึง SBF ที่นำเสนอกับผู้ลงทุนในบริษัทว่า FTX เป็นตลาดซื้อขายคริปโตที่น่าเชื่อถือและมีความปลอดภัย โดยไม่ได้เปิดเผยกับผู้ลงทุนว่ามีความเกี่ยวข้องกับ Alameda Research อย่างไรบ้าง รวมถึงไม่เปิดเผยว่าทรัพย์ของบริษัทที่เป็นโทเค็น FTT นั้นมีความเสี่ยงเพียงใด
SEC หรือ ก.ล.ต. สหรัฐ สั่งปรับดาราสาวชื่อดัง Kim Kardashian ในข้อหาทำผิดกฎหมายการลงทุน โพสต์เชิญชวนให้ซื้อเหรียญ EthereumMax (EMAX) ผ่านช่องทางโซเชียลของเธอที่มีผู้ติดตามเป็นจำนวนมาก โดยไม่เปิดเผยว่าเธอได้รับเงินจาก EthereumMax มาเชียร์เหรียญ
Kim Kardashian ตกลงยอมความกับ SEC จ่ายค่าปรับรวม 1.26 ล้านดอลลาร์เพื่อยุติคดีกับ SEC และสัญญาไม่โปรโมทคริปโตนาน 3 ปี โดย Gary Gensler ประธาน SEC ให้สัมภาษณ์ว่าถือเป็นกรณีตัวอย่างที่คนดัง อินฟลูเอนเซอร์ ควรประกาศข้อมูลให้ครบถ้วนเวลาโพสต์เชิญชวนคนมาลงทุน
SEC หรือสำนักงาน ก.ล.ต. สหรัฐ ประกาศตั้งหน่วยงานใหม่ในสังกัด 2 แห่ง อยู่ภายใต้ฝ่าย Division of Corporation Finance ได้แก่
ก.ล.ต. สหรัฐมีหน่วยงานเฉพาะอุตสาหกรรมอยู่แล้ว 7 แห่ง ซึ่งจะช่วยรับผิดชอบงานสาขาต่างๆ ที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะ
สำนักข่าว Bloomberg อ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัวตน 3 ราย ระบวุ่า SEC หรือก.ล.ต.สหรัฐฯ กำลังสอบสวนว่า Coinbase ให้บริการกระดานซื้อขายสินทรัพย์ที่เข้าข่ายว่าเป็นหลักทรัพย์และต้องขออนุญาตล่วงหน้าหรือไม่
การสอบสวนนี้ต่อเนื่องมาจากการจับกุม Ishan Wahi ที่ใช้ข้อมูลภายในซื้อสินทรัพย์ดิจิทัลล่วงหน้าก่อนประกาศเข้าซื้อขายในกระดานของ Coinbase โดยการดำเนินคดีกับ Ishan แสดงให้เห็นว่า SEC มองว่าสินทรัพย์ดิจิทัลในคดีนี้ 9 ตัวเป็นหลักทรัพย์ที่อยู่ภายใต้อำนาจของ SEC และใน 9 ตัวนี้มี 7 ตัวที่ซื้อขายอยู่ในกระดานของ Coinbase
สำนักข่าว Bloomberg อ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัวตน ระบุว่า ก.ล.ต. สหรัฐฯ (SEC) กำลังสอบสวนว่า การที่ Binance ออกโทเค็น BNB ระดมทุนเมื่อปี 2017 นั้นจริงๆ แล้ว BNB เป็นหลักทรัพย์ที่ต้องจดทะเบียนก่อนตามกฎหมายหลักทรัพย์สหรัฐฯ หรือไม่ และยังสอบสวนประเด็นอื่นๆ อีกหลายประเด็น
Binance เปิดตัว BNB ครั้งแรกโดยระบุว่าจะนำกำไรจากกิจการตลาดคริปโต 20% มาซื้อ BNB เผาทิ้ง ซึ่งจะทำให้ BNB กลายเป็นหลักทรัพย์อย่างชัดเจน แต่ภายหลังก็เปลี่ยนแนวทางไปเป็นการใช้สูตร BNB Auto-Burn แทน
SEC หรือ ก.ล.ต. สหรัฐ ประกาศว่า NVIDIA ตกลงที่จะจ่ายเงิน 5.5 ล้านดอลลาร์ จากข้อกล่าวหาที่ SEC บอกว่าบริษัทไม่เปิดเผยข้อมูลสำคัญในการดำเนินงาน เกี่ยวกับยอดขายการ์ดจอในตลาดเหมืองคริปโต
ทั้งนี้ข้อกล่าวหาดังกล่าวไม่ได้พูดถึงสถานการณ์ปัจจุบัน แต่อ้างไปถึงช่วงปี 2017-2018 ซึ่งความต้องการการ์ดจอเพื่อทำเหมืองคริปโตเพิ่มสูงมากจนเป็นรายได้ที่มีนัยยะสำคัญ แต่ NVIDIA ที่รับทราบเหตุการณ์นี้ กลับไม่ได้ลงรายละเอียดในรายงานผลประกอบการ และบอกว่ายอดขายที่เพิ่มขึ้น เป็นการเติบโตจากกลุ่มตลาดเกมมิ่ง ซึ่ง SEC มองว่าจะทำให้ผู้ลงทุนใน NVIDIA เกิดความเข้าใจผิดได้
BlockFi บริการกระดานซื้อขายเงินคริปโต เจรจายอมความกับก.ล.ต. สหรัฐฯ ในฐานที่เปิดบริการให้กู้ยืมเงินคริปโตโดยไม่ได้รับอนุญาต แบ่งค่าปรับ 50 ล้านให้กับก.ล.ต.ของรัฐบาลกลาง และอีก 50 ล้านให้กับรัฐบาลอีก 32 รัฐที่ BlockFi ทำผิดกฎหมาย
BlockFi ให้บริการกู้ยืมเงินผ่านบริษัทลูกชื่อว่า BlockFi Lending LLC เป็นตัวกลางรับฝากและให้กู้ในชื่อบริการ BlockFi Interest Account (BIA) โดย BlockFi กินส่วนต่างดอกเบี้ยสองฝั่ง บริการนี้เริ่มให้บริการตั้งแต่เดือนมีนาคม 2019
หลังจากนี้ BlockFi จะหยุดให้บริการ BIA ในสหรัฐฯ ไปก่อน และเตรียมจะจดทะเบียนให้บริการตามกฎหมายต่อไป
ที่มา - SEC
Tesla ยื่นแสดงรายการทรัพย์สินกับ SEC หรือ กลต. สหรัฐฯ ระบุว่าในไตรมาสแรกของปี 2021 บริษัทซื้อบิตคอยน์ไป 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และสูญเสียมูลค่าของบิตคอยน์ที่ถืออยู่ไป 101 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่มีรายได้จากการทดลองขายบิตคอยน์บางส่วนของบริษัท ที่ 128 ล้านดอลลาร์
สรุปรวมยอดบิตคอยน์ที่ Tesla ถืออยู่ตอนในสิ้นปี 2021 อยู่ที่ 1.99 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งในช่วงนั้นบิตคอยน์มีมูลค่าอยู่ที่ราว 46,000 ดอลลาร์ หากคิดราคาตอนนั้นก็จะเป็นจำนวนประมาณ 43,000 BTC โดยมูลค่าปัจจุบันอยู่ที่ 43,000 ดอลลาร์ ต่ำกว่าเมื่อช่วงสิ้นปีเล็กน้อยแต่ก็นับว่าขึ้นมาสูงระดับนี้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ 22 มกราคม
สำนักงาน ก.ล.ต. สหรัฐ (SEC) เข้าสอบสวนบริษัทเกม Activision Blizzard จากปัญหาการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน ที่ถูกหน่วยงานด้านการจ้างงานในแคลิฟอร์เนียฟ้องเมื่อเดือนกรกฎาคม
SEC ยังส่งจดหมายเรียก Bobby Kotick ซีอีโอของ Activision Blizzard ไปให้การด้วย รวมถึงขอเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหานี้
อำนาจของ SEC ไม่ได้เกี่ยวข้องกับคดีเรื่องการคุกคามทางเพศโดยตรง แต่เป็นเรื่องการเปิดเผยข้อมูลว่า Activision Blizzard เจอคดีหรือข้อกฎหมายอะไรบ้างให้นักลงทุนรับทราบ
Gary Gensler ประธาน ก.ล.ต. สหรัฐ (Securities and Exchange Commission / SEC) ให้สัมภาษณ์กับ Financial Times ระบุว่าวงการเงินคริปโตจำเป็นต้องถูกกำกับดูแล เพื่อประโยชน์ของวงการเอง
Gensler บอกว่าถ้าพักเรื่องเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังเอาไว้ สินทรัพย์แบบคริปโตก็ไม่ต่างจากสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ ที่ต้องถูกกำกับดูแลในเรื่องการคุ้มครองผู้ลงทุน การป้องกันการใช้งานผิดกฎหมาย และเสถียรภาพทางการเงิน
เขาบอกว่ามูลค่าตลาดคริปโตทั่วโลกอยู่ราว 2 ล้านล้านดอลลาร์ ใหญ่เกินกว่าที่จะภาครัฐจะเพิกเฉยไม่สนใจแล้ว ประวัติศาสตร์สอนเราว่าถ้าไม่ถูกกำกับดูแล ตลาดนี้จะอยู่ได้อีกไม่นาน เพราะสุดท้ายแล้วการเงินเป็นเรื่องของความน่าเชื่อถือ (Finance is about trust, ultimately.)
ก.ล.ต. สหรัฐฯ (SEC) แจ้งความ Sung Mo Jun, Ayden Lee, และ Jae Hyeon Bae อดีตพนักงานของ Netflix พร้อมกับผู้ใกล้ชิด Jun อีกสองคนฐานใช้ข้อมูลภายในของบริษัทเพื่อซื้อขายหุ้นก่อนเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ (insider trading) โดยระบุว่าบุคคลทั้ง 5 ทำกำไรได้ 3 ล้านดอลลาร์จากการใช้ข้อมูลภายในเหล่านี้
คำฟ้องของ SEC ระบุว่าตัวการของเรื่องนี้คือ Jun ที่ใช้ข้อมูลตัวเลขสมาชิกของ Netflix มาซื้อขายหุ้น ตัวเขาเองเป็นพนักงาน Netflix ระหว่างปี 2016 ถึง 2017 และใช้ข้อมูลนี้เพื่อซื้อขายหุ้นโดยแจ้งข้อมูลนี้ให้กับพี่ชายและเพื่อนของพี่ชายด้วย หลังจาก Jun ออกจาก Netflix ไปแล้วก็ยังขอข้อมูลจากพนักงาน Netflix อีกสองรายต่อไป
SEC หรือ ก.ล.ต. สหรัฐ ประกาศหยุดรับการขอขายหุ้น IPO ของบริษัทจีนในตลาดหุ้นสหรัฐชั่วคราว หลังรัฐบาลจีนออกมาตรการคุมเข้มบริษัทจีนในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา ด้วยกฎเกณฑหลายอย่าง เช่น ความปลอดภัย หรือ การผูกขาดตลาด
เดิมทีรัฐบาลจีนห้ามบริษัทจีนในบางอุตสาหกรรม "ขายหุ้นให้ต่างชาติ" อยู่แล้ว ทำให้บริษัทจีนต้องใช้ท่า shell company สร้างบริษัทใหม่ขึ้นมาจดทะเบียนนอกประเทศ (เช่น หมู่เกาะเคย์แมน) ที่มีสัญญาธุรกิจกับบริษัทหลัก แล้วขายหุ้นของบริษัทนี้ในตลาดหุ้นสหรัฐแทน
โลก DeFi เริ่มมีการเทรดเหรียญ synthetic stock หรือเหรียญคริปโตอิงราคาหลักทรัพย์ มากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งบนแพลตฟอร์ม เช่น Mirror Protocol และ Synthetix โดยเหรียญ synthetic stock เหล่านี้ เป็นเหรียญที่ถูกสร้างขึ้นโดยอิงมูลค่าจากจริงของหลักทรัพย์ เช่นหุ้น Apple หรือ Tesla แต่กระบวนการซื้อขายไม่ต้องผ่านการกำกับดูแลเหมือนหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แต่อย่างใด
จากกรณี Volkswagen เปลี่ยนชื่อแบรนด์เป็น Voltswagen สะท้อนโลกยุครถยนต์ไฟฟ้า ที่สุดท้ายกลายเป็นมุก April's Fools ประกอบการเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้า ID.4 ในสหรัฐอเมริกา
คนที่ไม่ตลกด้วยคือ SEC หรือคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์สหรัฐ ที่เข้ามาตั้งคำถามว่ามุกนี้ของ Volkswagen ส่งผลต่อราคาหุ้นหรือไม่
Volkswagen Group of America บอกว่าได้รับคำขอข้อมูลจาก SEC แล้ว และยินดีให้ความร่วมมือ แต่ยังไม่มีข้อสรุปว่า SEC จะตัดสินอย่างไรบ้าง
ก.ล.ต. สหรัฐ (Securities and Exchange Commission หรือ SEC) ยื่นฟ้องบริษัท Ripple Labs Inc. และผู้บริหารอีก 2 รายคือ Christian Larsen ผู้ก่อตั้งและประธานบอร์ด กับ Bradley Garlinghouse ซีอีโอคนปัจจุบัน ในข้อหาระดมทุนผ่านการออกเหรียญคริปโต XRP โดยไม่ได้รับอนุญาตจาก SEC
SEC บอกว่า Ripple เสนอขายเหรียญ XRP เป็นมูลค่ารวม 1.3 พันล้านดอลลาร์นับตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นมา (ในจำนวนนี้ ผู้บริหารทั้งสองรายขายเหรียญเองส่วนตัวรวมกัน 600 ล้านดอลลาร์) ซึ่งเหรียญทั้งหมดถือเป็นหลักทรัพย์ที่ไม่ได้จดทะเบียน (unregistered securities) ซึ่งขัดกับกฎหมายสหรัฐ เพราะถือว่าไม่ให้ข้อมูลที่เพียงพอกับนักลงทุน
iQiyi (อ้ายฉีอี้) สตรีมมิ่งใหญ่เปรียบได้กับ Netflix แห่งจีน ผู้ลงทุนเบื้องหลังคือ Baidu กำลังถูกสอบสวนโดย กลต.สหรัฐฯ หรือ SEC ว่ามีการโกงเลขรายได้และจำนวนผู้ใช้งานหรือไม่
การสืบสวนมาจากสำนักวิจัย Wolfpack Research กล่าวหาว่า iQiyi เพิ่มตัวเลขรายได้ในปี 2019 จากประมาณ 8 พันล้านหยวน (1.13 พันล้านดอลลาร์) เป็น 13 พันล้านหยวน (1.98 พันล้านดอลลาร์) หรือจาก 27% เป็น 44% และยังบอกด้วยว่าบริษัทโก่งตัวเลขผู้ใช้งานและค่าใช้จ่ายด้วย
Zoom ผู้ให้บริการ Video Conference ขึ้นมายืนอยู่แถวหน้าในกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมาจากปัญหา COVID-19 และคนต้องทำงานจากบ้าน ซึ่งก็ทำให้ราคาหุ้นของ Zoom พุ่งขึ้นจากราว 70 เหรียญช่วงต้นเหมือนกุมภาพันธ์มาเป็นราว 140 เหรียญแล้วในปัจจุบันหรือเกือบ 112% หากนับตั้งแต่ต้นปี
กลต.สหรัฐฯ (SEC) แจ้งข้อหา Janardhan Nellore อดีตผู้ดูแลระบบไอทีของบริษัท Palo Alto Networks โดยระบุว่าเขาใช้สิทธิ์ผู้ดูแลระบบเข้าถึงรายงานทางการเงินจากระบบฐานข้อมูลและระบบ SAP ก่อนจะเอาเนื้อหาไปบอกเพื่อนของเขาอีก 4 คนเพื่อให้ซื้อขายหุ้น
รายงานของ SEC ระบุว่า Janardhan ส่งอีเมลแจ้งเพื่อนโดยใช้คำว่า "baby" แทนหุ้นบริษัท เช่น "exit baby" แปลว่าให้ขายหุ้นทิ้ง หรือ "enter few baby" แปลว่าให้ซื้อหุ้นเล็กน้อย กลุ่มเพื่อนของ Janardhan จะโอนเงินก้อนเล็กๆ ต่ำกว่าหมื่นดอลลาร์หลายครั้งเป็นค่าตอบแทนข้อมูล และหลบเลี่ยงการรายงานการโอนเงินขนาดใหญ่
SEC ระบุว่าโดยรวมแล้ว Janardhan และพวกทำเงินได้มากกว่า 7 ล้านดอลลาร์ แม้ช่วงหลังจะไม่ประสบความสำเร็จนักก็ตาม
Ericsson บริษัทอุปกรณ์โทรคมนาคมจากสวีเดน เปิดเผยว่าทำข้อตกลงยอมความกับกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (Department of Justice - DOJ) และคณะกรรมการกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์ (Securities and Exchange Commission - SEC) หลังตรวจพบว่า Ericsson ทำผิด กฎหมาย Foreign Corrupt Practices Act (FCPA) โดยจ่ายเงินใต้โต๊ะให้กับเจ้าหน้าที่รัฐบาลหลายประเทศ
กฎหมาย FCPA ห้ามไม่ให้บริษัทในสหรัฐ (Ericsson อยู่ในตลาด Nasdaq) จ่ายเงินใต้โต๊ะให้กับเจ้าหน้าที่รัฐในประเทศต่างๆ เพื่อหวังได้สัญญาจ้างงานหรือสั่งซื้อสินค้าเป็นสิ่งตอบแทน
Block.one บริษัทเทคโนโลยีบล็อคเชนถูก SEC หรือกลต.สหรัฐฯ สั่งปรับ 24 ล้านดอลลาร์ หลังบริษัททำการระดมทุนผ่านการทำ ICO โดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนหลักทรัพย์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
SEC ระบุว่า Block.one ได้ทำการระดมทุนผ่านทาง ICO ในช่วงเดือนมิถุนายน 2017-2018 ระดมทุนได้เงินนับพันล้านดอลลาร์ ซึ่งทาง Block.one ไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นสินทรัพย์ตามกฎหมายสินทรัพย์แห่งสหพันธรัฐ ซึ่ง SEC ระบุว่าเป็นความตั้งใจที่จะให้นักลงทุนไม่ได้รับข้อมูลที่จำเป็นต่อการตัดสินใจลงทุน