SpaceX ได้เข้าซื้อกิจการ Swarm Technologies สตาร์ทอัพผู้ให้บริการระบบดาวเทียมขนาดเล็กแบบกลุ่ม (constellation) สำหรับอุปกรณ์ IoT โดยข้อมูลนี้มีการเปิดเผยจากเอกสารที่ทาง Swarm ยื่นขอคำอนุมัติต่อ FCC หน่วยงานกำกับดูแลในสหรัฐ เนื่องจากต้องโอนย้ายดาวเทียมและสถานีฐานให้กับ SpaceX
ดีลนี้มีความน่าสนใจเพราะปกติ SpaceX มักไม่ซื้อกิจการเพื่อขยายธุรกิจ แต่เลือกพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาเอง ทั้งนี้เอกสารระบุว่าดีลนี้เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยไม่มีการเปิดเผยมูลค่าของดีล
ปัจจุบัน Swarm มีดาวเทียมขนาดเล็กทั้งหมด 120 ดวง ให้บริการรับส่งข้อมูลขนาดเล็ก เน้นกลุ่มลูกค้าทั้งภาคการเกษตร พลังงาน และขนส่ง ผ่าน IoT ซึ่งบริษัทมองว่าจะสามารถแย่งส่วนแบ่งจากบริการดาวเทียมแบบเดิมได้
Geometric Energy Corporation (GEC) บริษัทวิจัยและพัฒนาสัญชาติแคนาดา เปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมของดาวเทียม CubeSat หลังจ่ายเงินเช่าพื้นที่ Falcon 9 ในภารกิจ Doge-1 ของ SpaceX เป็นเหรียญ Dogecoin ล้วนๆ โดย CubeSat จะมีด้านหนึ่งเป็นจอภาพ พร้อมกล้องถ่ายหน้าจอสไตล์ไม้เซลฟี่ที่จะถ่ายทอดสดหน้าจอลง Youtube และ Twitch ด้วย
Doge-1 เป็นภารกิจส่งจรวด Falcon 9 ของ SpaceX ไปยังดวงจันทร์ ซึ่ง GEC เช่าพื้นที่สำหรับดาวเทียมน้ำหนัก 40 กิโลกรัมนี้ไว้ ก่อนหน้านี้ระบุว่าจะเป็นดาวเทียมเก็บข้อมูลอวกาศและดวงจันทร์ แต่ข้อมูลตอนนี้ระบุว่าดาวเทียมจะมีจอโฆษณาอยู่ด้วย โดย Doge-1 จะปล่อยดาวเทียมนี้โคจรในวงโคจรรอบโลก ก่อนจรวดจะบินต่อไปยังดวงจันทร์ต่อไป
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีข่าวเกี่ยวกับหนังสือ Power Play: Tesla, Elon Musk, and the Bet of the Century เขียนโดย Tim Higgins นักข่าว The Wall Street Journal ที่ตัว Elon Musk ออกมาบอกเองว่าเต็มไปด้วยเรื่องไร้สาระ ล่าสุด Elon เผยว่ากำลังจะมีหนังสือชีวประวัติของเขาอย่างเป็นทางการออกมาแล้ว
Netflix ประกาศสารคดี Countdown: Inspiration4 Mission To Space ติดตามภารกิจ Inspiration4 ที่เป็นภารกิจพลเรือนล้วนขึ้นสู่อวกาศไปกับยาน Dragon โดยตัวสารคดีจะฉายคร่อมไปกับตัวภารกิจที่น่าจะขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 15 กันยายนนี้
สารคดีมีทั้งหมด 5 ตอน สองตอนแรกจะฉายในวันที่ 6 กันยายน และอีกสองตอนจะฉายวันที่ 13 กันยายน ส่วนตอนสุดท้ายจะฉายสิ้นเดือนกันยายนหลังจบภารกิจ และวันที่ 14 กันยายนจะมีอนิเมชั่นเรื่อง A StoryBots Space Adventure ฉายคั่นโดยเป็นอนิเมชั่นสำหรับครอบครัวเล่าเรื่องภารกิจ Inspiration4 ตั้งแต่การทำงานของจรวด และการฝึกของนักบิน
ภารกิจ Inspiration4 จะขึ้นไปโคจรรอบโลกที่ความสูง 590 กิโลเมตรเป็นเวลา 5 วัน
หลังจาก Jeff Bezos เกษียณตัวเองจาก Amazon หันมาทำ Blue Origin เต็มตัว เราก็เห็นข่าวอย่างต่อเนื่อง (ทั้งหมดยังไม่พ้นเดือนแรกหลังเกษียณด้วยซ้ำ) เริ่มจากการนั่งจรวดขึ้นอวกาศความสูงระดับ 10 กิโลเมตร ที่เป็นข่าวไปแล้วทั่วโลก
ล่าสุด Bezos เขียนจดหมายเปิดผนึกถึง NASA อาสาจ่ายเงิน 2 พันล้านดอลลาร์ ให้โครงการ Human Landing System (HLS) พัฒนายานอวกาศไปดวงจันทร์รอบใหม่ ที่ถูกรัฐบาลสหรัฐตัดงบประมาณลง
SpaceX ประกาศร่วมมือกับ Google Cloud เพื่อนำระบบคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายคลาวด์ของ Google มาใช้งานกับ Starlink บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมภายใต้ SpaceX
ภายใต้ความร่วมมือนี้ SpaceX จะกำหนดที่ตั้งของสถานีภาคพื้น Starlink ที่ศูนย์ข้อมูลของ Google เพื่อให้ส่งข้อมูลได้อย่างปลอดภัยและมี latency ต่ำจากดาวเทียม Starlink กว่า 1,500 ดวงที่อยู่ในวงโคจรลงไปยังเครือข่ายของ Google Cloud และด้วยความสามารถด้านเครือข่ายของ Google Cloud จะช่วยซัพพอร์ตบริการอินเทอร์เน็ตของ Starlink ทั่วโลก
ช่วงนี้ถือว่าเป็นนาทีทองของ SpaceX ก็ว่าได้ เพราะทำภารกิจสำคัญติดๆ กันหลายภารกิจ ตั้งแต่การยิงจรวดส่งนักบินอวกาศไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ในภารกิจ Crew-2 เมื่อวันที่ 23 เมษายน และพานักบินอวกาศอีกทีมของภารกิจ Crew-1 จาก ISS กลับมายังโลกเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคมที่ผ่านมา แถมระหว่างนั้นก็ยังมียิงจรวด Falcon 9 ปล่อยดาวเทียม Starlink ควบคู่ไปด้วย
ล่าสุดเมื่อช่วงเช้าวันที่ 6 พฤษภาคม ตามเวลาประเทศไทย SpaceX ได้เดินหน้าทดสอบยิงจรวดต้นแบบ Starship SN15 จากฐานยิงที่เมือง Boca Chica รัฐ Texas โดยจรวดนี้ใช้เครื่องยนต์ Raptor จำนวน 3 เครื่อง ยิงขึ้นไปสูง 10 กิโลเมตร แล้วดับเครื่อง ก่อนจะพลิกตัวเป็นแนวราบแล้วปล่อยหล่นกลับลงมา จากนั้นก็ติดเครื่องตั้งลำอีกครั้งแล้วลงจอดได้สำเร็จ รวมทั้งหมดใช้เวลาราว 6 นาที
วานนี้เวลา 16.49 น. ตามเวลาประเทศไทย SpaceX และ NASA ได้ยิงจรวด Falcon 9 พานักบินอวกาศ 4 คนเดินทางออกสู่อวกาศ ภายใต้ภารกิจ Crew-2
หลังยิงจรวดออกไป บูสเตอร์ขั้นที่หนึ่งก็แยกตัวออกมาลงจอดที่โดรนลอยน้ำ และหลังจากนั้นบูสเตอร์ขั้นที่สองก็แยกตัวออกจากแคปซูล Dragon โดยแคปซูล Dragon ได้พานักบินอวกาศทั้ง 4 คนเดินทางต่ออีกราว 23 ชั่วโมงไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ หรือ ISS
ล่าสุดเมื่อเวลา 16.08 น. ที่ผ่านมา แคปซูล Dragon ได้เชื่อมต่อแบบหลวม (soft capture) เข้ากับ ISS และเชื่อมต่อเต็มรูปแบบ (hard capture) ในไม่กี่นาทีต่อมาได้สำเร็จ
วันนี้เมื่อเวลา 16.49 น. ตามเวลาประเทศไทย SpaceX และ NASA ได้ยิงจรวด Falcon 9 เริ่มภารกิจ Crew-2 พานักบินอวกาศ 4 คนไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ หรือ ISS โดยความพิเศษของภารกิจนี้คือการใช้แคปซูล Dragon ซ้ำจากภารกิจ Demo-2 เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2020 ซึ่งคราวนั้นมีนักบินอวกาศ 2 นาย และเป็นการส่งนักบินอวกาศจากแผ่นดินสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปี
นอกจากนี้ตัวบูสเตอร์ Falcon 9 ที่ใช้ในภารกิจนี้ ยังเป็นบูสเตอร์ตัวเดียวกับที่ใช้ในภารกิจ Crew-1 เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2020 อีกด้วย
NASA ประกาศเลือก SpaceX เป็นบริษัทผู้พัฒนายานอวกาศส่งมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ ภายใต้โครงการ Artemis ที่ตั้งเป้าส่งมนุษย์ไปเยือนดวงจันทร์อีกรอบ (เลือกตั้งชื่อ Artemis ให้สอดคล้องกับโครงการ Apollo ในอดีต)
โครงการ Artemis จะพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศใหม่หมดเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การไปดาวอังคาร ตั้งแต่ฐานยิงจรวด จรวด ยานอวกาศ ไปจนถึงชุดอวกาศ ตามแผนของ NASA จะแบ่งออกเป็น 3 เฟสคือ Artemis I ทดสอบยิงจรวดที่ไม่มีมนุษย์ ภายในปี 2021, Artemis II ยิงจรวดที่มีมนุษย์ภายในปี 2023 และ Artemis III ส่งมนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์จริงๆ ในปี 2024 โดยกำหนดว่าจะมีผู้หญิงไปเหยียบดวงจันทร์เป็นครั้งแรกด้วย
SpaceX ทดสอบนำยาน Starship SN10 ขึ้นบินไปยังระดับความสูง 10 กิโลเมตรแล้วลงจอด นับเป็นความพยายามลงจอดครั้งที่ 3 ของยาน Starship และเป็นครั้งแรกที่ประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ดีหลังจากลงจอดไป 8 นาทียานก็กลับระเบิด
ตัวยาน Starship นั้นสูงถึง 50 เมตรและบรรจุเชื้อเพลิงเต็มท่ได้ 1,200 ตัน พร้อมระวางบรรทุกอีก 100 ตัน ตัวยานติดตั้งเครื่องยนต์ Raptor 3 เครื่อง การลงสู่พื้นโลกเป็นการลงแบบแนวนอน ควบคุมทิศทางด้วยครีบข้างลำตัวยานสี่จุด และช่วงท้ายจึงใช้เครื่องยนต์ Raptor ผลักดันเพื่อลงจอดแบบ soft-landing
ยาน Starship นับเป็นความฝันระยะยาวของ SpaceX ที่จะสร้างยานที่สามารถเดินทางไปยังดวงจันทร์ และดาวอังคาร ยานออกแบบให้ใช้ซ้ำได้และสามารถเติมเชื้อเพลิงในอวกาศ
ขณะนี้มีผู้ใช้ทั่วไปได้รับจานดาวเทียม Starlink ตัวทดลองกันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดมีผู้ใช้คนหนึ่งทดสอบความเร็วได้ค่อนข้างแกว่งคือระหว่าง 77-130Mbps และ Elon Musk ได้เข้าไปตอบทวีตว่าความเร็วอินเทอร์เน็ตจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว เป็นประมาณ 300Mbps และค่า latency (ping) จะอยู่ที่ประมาณ 20ms ภายในปีนี้
นอกจากนี้ Elon ยังระบุว่า Starlink จะครอบคลุมเกือบทั้งโลกภายในสิ้นปีนี้ และจะครอบคลุมทั้งโลกภายในปีหน้า โดยขณะนี้ SpaceX พยายามส่งดาวเทียม Starlink ให้กระจายๆ กันเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่โลกมากที่สุดก่อน และจะเพิ่มความหนาแน่นของดาวเทียมในภายหลังเพื่ออุดจุดบอด
SpaceX ประกาศภารกิจท่องเที่ยวครั้งแรกของยาน Dragon ในชื่อ Inspitation4 เตรียมนำพลเรือน 4 คนขึ้นไปโคจรรอบโลก มีกำหนดขึ้นบินภายในสิ้นปี
ภารกิจครั้งนี้สนับสนุนค่าใช้จ่ายโดย Jared Isaacman ซีอีโอของบริษัท Shift4 Payment และทาง SpaceX จะคัดเลือกนักบินพลเรือนอีก 3 คนไปร่วมภารกิจ ทั้งสี่คนจะต้องฝึกแบบเดียวกับนักบินในภารกิจปกติ เช่น การทำงานในภาวะไร้น้ำหนัก, ทดสอบร่างกายในภาวะสุดขั้ว, ฝึกการเข้าออกยาน, และฝึกจำลองภารกิจเต็มรูปแบบ
ทาง SpaceX ระบุว่าภารกิจนี้จะกินเวลา "หลายวัน" และยานจะลงจอดในทะเลนอกชายฝั่งฟลอริดาร์
ที่มา - SpaceX
สัปดาห์ที่ผ่านมา SpaceX นำเสนอข้อมูลกับ FCC เพื่อขออนุมัติวงโคจรดาวเทียมเพิ่มเติมจากที่ตอนนี้ได้รับอนุญาตแล้ว 1,440 ดวง และยิงดาวเทียมไปแล้วถึง 955 ดวง โดยบริษัทมีเป้ายิงดาวเทียมถึงเดือนละ 120 ดวงทำให้วงโคจรจะเต็มโควต้าในเร็วๆ นี้
แต่ส่วนหนึ่งของการนำเสนอระบุว่า Starlink จะพัฒนาบริการจากตอนนี้ที่อยู่ระดับ 100Mbps ขึ้นไปจนถึง 10Gbps (เฉพาะขาดาวน์โหลด) และยังพยายามลด latency ให้ต่ำกว่า 30ms
ทาง SpaceX ต้องการวงโคจรระดับ 540-570 กิโลเมตรเป็นจำนวนมากเพื่อใช้คลื่นความถี่ให้คุ้มค่า บริษัทยังชี้ว่าหากดาวเทียมใช้งานไม่ได้ วงโคจรระดับต่ำนี้จะทำให้ดาวเทียมตกสู่ชั้นบรรยากาศโลกในเวลาเพียงสองปี
Elon Musk เปิดเผยว่า Starlink ชุดล่าสุด 10 ดวงที่ยิงไปนั้นมีลิงก์เลเซอร์ในตัว ทำให้สามารถส่งข้อมูลต่อไปยังดาวเทียมดวงอื่นๆ โดยไม่ต้องส่งข้อมูลลงสถานีภาคพื้นดิน นอกจากนี้ดาวเทียมรุ่นต่อไปที่จะยิงหลังจากนี้จะมีลิงก์ดาวเทียมในตัวทั้งหมด
ก่อนหน้านี้ทีมงาน Starlink เคยเปิดเผยว่าใช้ลิงก์ระหว่างดาวเทียมแบบวิทยุทำให้ส่งข้อมูลระหว่างดาวเทียมได้ระดับกิกะบิต และยังบอกว่ากำลังพัฒนาลิงก์แบบเลเซอร์ให้ถูกลง แต่ผ่านมาเพียงไม่กี่เดือนบริษัทก็เริ่มติดตั้งเลเซอร์ในดาวเทียมได้แล้ว
SpaceX เตรียมยิงจรวด Falcon 9 ตามภารกิจ Transporter-1 นำส่งดาวเทียมจำนวน 143 ดวงตามโครงการ Rideshare ที่เปิดให้จองเที่ยวบินไปเมื่อต้นปี 2020 นับเป็นการส่งดาวเทียมจำนวนมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา
ราคาตามหน้าเว็บโครงการ Rideshare ของ SpaceX คิดค่านำส่งดาวเทียมกิโลกรัมละ 5,000 ดอลลาร์ ขั้นต่ำ 200 กิโลกรัม ลูกค้าที่เปิดเผยตอนนี้มีบริษัท Planet ที่ซื้อสล็อตนำส่งดาวเทียม SuperDove รวดเดียว 48 ดวง ส่วน SpaceX เองก็นำส่งดาวเทียม Starlink ขึ้นไปด้วย 10 ดวง ประธานบริษัท Planet เองเคยระบุว่า SpaceX ลดค่านำส่งดาวเทียมจนเขาแทบไม่เชื่อ
SpaceX ทดสอบยาน Starship ให้บินที่ความสูง 40,000 ฟุตเป็นผลสำเร็จจนได้ข้อมูลการบินครบถ้วน อย่างไรก็ดีแรงดันเชื้อเพลิงช่วงท้ายกลับไม่พอ ทำให้ความเร็วในการลงจอดสูงเกินไปจนยานกระแทกกับพื้นระเบิดในการลงจอด
Elon Musk ระบุว่าการทดสอบประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี โดยได้ข้อมูลที่ต้องการทั้งหมดแล้ว
SpaceX เปิดตัวยาน Starship เมื่อปี 2019 โดยตัวยานจะมีระวางขนส่งถึง 150 ตัน และต้องใช้จรวด Super Heavy ที่ใช้เครื่องยนต์ Raptor จำนวนถึง 37 ตัวในการนำส่งขึ้นวงโคจร และตัวยาน Starship เองจะนำกลับมาใช้ซ้ำได้เต็มรูปแบบ
เมื่อเช้านี้ เวลา 5:30 น. ตามเวลาประเทศไทย SpaceX มีกำหนดการทดสอบยิงจรวดต้นแบบ Starship SN8 ที่อยู่ระหว่างการพัฒนา โดยต้องการยิงขึ้นไปที่ความสูงราว 12.5 กิโลเมตรแล้วกลับลงมา ซึ่งในอดีต SpaceX เคยเรียกการทดสอบลักษณะนี้ว่า "ทดสอบกระโดด" หรือ hop test
การทดสอบครั้งนี้จัดขึ้นที่โรงประกอบจรวดของ SpaceX เมือง Boca Chica รัฐ Texas โดยคอมพิวเตอร์ได้นับถอยหลังตามปกติ แต่เมื่อนับมาถึงวินาทีสุดท้าย (T-1) และเครื่องยนต์เริ่มทำงาน ระบบก็สั่งหยุดภารกิจเพราะตรวจพบสิ่งผิดปกติบางอย่าง
SpaceX ยื่นขออนุญาตให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่าย Starlink บนเครื่องบิน Gulfstream จำนวน 5 ลำเพื่อทดสอบการให้บริการ โดยพื้นที่ให้บริการครอบคลุมตั้งแต่ก่อนขึ้นบินและระหว่างบินทั้งเหนือแผ่นดินและน่านน้ำสหรัฐฯ
การให้บริการอินเทอร์เน็ตระหว่างการบินนับเป็นตลาดสำคัญของ Starlink นอกเหนือจากการให้บริการในพื้นที่ห่างไกล เนื่องจากอินเทอร์เน็ตบนเครื่องบินทุกวันนี้มีราคาแพงมาก และพื้นที่ให้บริการจำกัด โดยก่อนหน้านี้ SpaceX ก็เคยขอทดสอบบริการอินเทอร์เน็ตบนเรือของตัวเองมาก่อนแล้ว
เป็นธรรมเนียมของนักบินอวกาศที่จะต้องพกตุ๊กตาติดขึ้นไปบนกระสวยอวกาศด้วย เพื่อเป็นตัวบ่งชี้ถึงสภาพไร้น้ำหนัก (zero-gravity indicator) ว่ากระสวยออกจากชั้นบรรยากาศโลกไปแล้ว
ภารกิจ Crew-1 ล่าสุดของ NASA ที่นับเป็นภารกิจทางการแรกของ SpaceX และเพิ่งประสบความสำเร็จในการส่งนักบินอวกาศขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศไปเมื่อเช้านี้ เพื่อเชื่อมกับสถานีอวกาศนานาชาติต่อไป ซึ่งนักบินอวกาศ 4 คนได้เลือกตุ๊กตา Baby Yoda จาก The Mandalorian มาเป็น zero-gravity indicator ในภารกิจนี้
SpaceX นำส่งนักบิน 4 คนขึ้นสู่สถานีอวกาศนานาชาติในภารกิจ Crew-1 ที่เป็นภารกิจทางการครั้งแรกหลังจากเลื่อนมาจากเมื่อวานนี้เนื่องจากสภาพอากาศไม่อำนวย ตอนนี้ตัวยาน Dragon กำลังโคจรรอบโลกก่อนจะเข้าเชื่อมกับสถานีอวกาศนานาชาติในวันพรุ่งนี้
นักบินที่ร่วมภารกิจนี้ได้แก่ Mike Hopkins, Victor Glover, Shannon Walker, และ Soichi Noguchi นักบินจาก JAXA ของญี่ปุ่น
ภารกิจนี้เป็นภารกิจแรกของชุดภารกิจ 3 เที่ยวบินที่นาซ่าซื้อเที่ยวบินจาก SpaceX ให้บินปี 2020 ถึง 2021
ที่มา - SpaceX
Starlink เริ่มเปิดให้บริการแบบเก็บเงิน ตอนนี้ผู้ใช้ที่สมัครก็ต้องยินยอมตามข้อตกลงการใช้งาน โดยมีหมวดหนึ่งของข้อตกลงระบุถึงกฎหมายที่จะใช้ในกรณีเกิดข้อพิพาทระหว่างผู้ใช้กับบริษัท โดยระบุว่าหากยังใช้บริการอยู่ในวงโคจรโลก รวมถึงการโคจรรอบดวงจันทร์จะต้องใช้กฎหมายแคลิฟอร์เนียในสหรัฐฯ ยกเว้นการให้บริการบนดาวอังคารและบริการระหว่างเที่ยวบิน Starship ไปยังดาวอังคาร
ข้อตกลงระบุว่าผู้ใช้ต้องยอมรับว่าดาวอังคารไม่อยู่ภายใต้รัฐบาลใดบนโลกและข้อพิพาทต้องทำตามหลักการปกครองตนเองของนิคมดาวอังคาร
Starlink เริ่มส่งอีเมลเชิญผู้ใช้ทดสอบใช้อินเทอร์เน็ตดาวเทียมในชื่อโครงการ "ยอมลองยา ดีกว่าไม่มีเน็ต" (Better Than Nothing Beta) โดยมีค่าใช้จ่ายแยกเป็นค่าอุปกรณ์ 499 ดอลลาร์ หรือประมาณ 15,600 บาท และค่าบริการรายเดือน 99 ดอลลาร์หรือ 3,100 บาท โดยอีเมลเชิญชวนระบุว่าความเร็วโดยทั่วไปจะอยู่ที่ 50-150Mbps ขณะที่ความหน่วงอยู่ที่ 20-40ms โดยคาดว่าปีหน้าจะลดลงจนถึง 16-19ms ได้
SpaceX ฉลองการยิงจรวดประสบความสำเร็จครั้งที่ 100 หลังจากยิง Falcon 9 เพื่อนำส่งดาวเทียม Starlink ไปเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา โดยภารกิจแรกที่ประสบความสำเร็จของ SpaceX คือ Falcon 1 เมื่อเดือนกันยายน 2008
หากนับเที่ยวบินทั้งหมดของ SpaceX ตอนนี้จะนับได้ 104 เที่ยวบิน เป็นจรวดในกลุ่ม Falcon 9 ไปทั้งหมด 99 เที่ยวบิน และ Falcon 1 ทั้งหมด 5 เที่ยวบิน โดย Falcon 1 ล้มเหลวใน 3 เที่ยวแรก ส่วน Falcon 9 ล้มเหลวระหว่างยิงเพียงครั้งเดียว และมีการระเบิดขณะทดสอบอีกหนึ่งครั้ง
NASA ประกาศเลื่อนกำหนดวันยิงจรวดในภารกิจ Crew-1 จากเดิม 31 ตุลาคม ออกไปเป็นช่วงต้นถึงกลางเดือนพฤศจิกายน โดยระบุว่าเพื่อให้เวลา SpaceX แก้ไขปัญหา ทดสอบฮาร์ดแวร์ และเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมในจรวด Falcon 9 ที่ถูกค้นพบปัญหาก่อนหน้านี้
Crew-1 เป็นภารกิจนำนักบินอวกาศ 4 คน ไปประจำการบนสถานีอวกาศนานาชาติเป็นระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งเป็นโครงการส่งนักบินอวกาศของ SpaceX ถัดจากภารกิจ Demo-2 เมื่อเดือนพฤษภาคม ที่ส่งนักบินอวกาศขึ้นไปประจำการ 2 คน และกลับสู่โลกในเดือนสิงหาคม ด้วยยาน Dragon