Unity ประกาศปลดพนักงาน 265 คน คิดเป็น 3.8% ของพนักงานทั้งหมดราว 7,000 คนทั่วโลก โดยรอบนี้เป็นการปลดพนักงานในทีมวิชวลเอฟเฟคต์ Weta Digital ของผู้กำกับ Peter Jackson ที่ซื้อมาในปี 2021 ด้วยราคา 1.63 พันล้านดอลลาร์
นอกจากนี้ Unity ยังปิดสำนักงาน 14 แห่งทั่วโลกเพื่อลดค่าใช้จ่าย พนักงานบางส่วนที่ทำงานในสำนักงานเหล่านี้จะได้สิทธิทำงานจากที่บ้าน ไม่ต้องกลับเข้าออฟฟิศ (เพราะไม่มีที่ให้นั่งอีก)
หลังจากประสบวิกฤตศรัทธาครั้งใหญ่ในปีนี้ ถึงขั้นซีอีโอต้องลาออก บริษัท Unity ได้เปิดตัวเอนจินเกมเวอร์ชันใหม่ Unity 6 ที่เปลี่ยนกลับมาใช้เลขรุ่นแบบดั้งเดิม จากที่ก่อนหน้านี้ใช้ระบบเลขรุ่นอิงตามปี
Unity 6 มีกำหนดออกปีหน้า 2024 โดยเป็นรุ่นซัพพอร์ตระยะยาว LTS มีจุดเด่นเรื่องปรับปรุงประสิทธิภาพ, สร้างเกมมัลติเพลเยอร์ได้ง่ายและเร็วขึ้น, รองรับ WebGPU สร้างเกมด้วย Unity แล้วแสดงผลในเบราว์เซอร์โดยตรง, รองรับอุปกรณ์กลุ่ม XR ดีขึ้นกว่าเดิม ส่วนรายละเอียดจะแถลงให้ทราบอีกทีในปีหน้า
Unity ประกาศว่า John Riccitiello จะเกษียณจากตำแหน่งซีอีโอ ประธานบริษัท ตลอดจนตำแหน่งในบอร์ดบริหาร มีผลทันที โดยแต่งตั้ง James M. Whitehurst ขึ้นเป็นซีอีโอชั่วคราว และแทนที่ตำแหน่งในบอร์ดของ Riccitiello ส่วน Roelof Botha ประธานบอร์ดอิสระ จะเป็นประธานบอร์ดคนใหม่ ทั้งนี้ Riccitiello จะยังอยู่เพื่อส่งมอบงานให้ผู้บริหารคนอื่นต่อ
John Riccitiello ร่วมงานกับ Unity มาตั้งแต่ 2013 เริ่มจากเป็นกรรมการบอร์ด และขึ้นเป็นซีอีโอในปี 2014 มีผลงานเด่นทั้งการเปลี่ยนระบบขายไลเซนส์เป็น Subscription ซึ่งช่วยให้ Unity เติบโตสูงในช่วงที่ผ่านมา, นำบริษัทไอพีโอเข้าตลาดหุ้น
Unity ออกมาขอโทษชุมชนนักพัฒนาเกมอย่างเป็นทางการ พร้อมประกาศแนวทางใหม่ของการคิดเงินค่าใช้งาน Unity Engine ดังนี้
ผู้ใช้เอนจิน Unity Personal ตัวฟรี จะไม่ถูกคิดเงินค่า Runtime Fee ใดๆ, ขยายเพดานรายได้จากเกมที่มีสิทธิใช้ Unity Personal จากเดิม 100,000 ดอลลาร์เป็น 200,000 ดอลลาร์, ยกเลิกเงื่อนไขบังคับแสดงหน้าจอ Made with Unity ออกให้ด้วย
ผู้ใช้เอนจิน Unity Pro และ Unity Enterprise มีเงื่อนไขการคิดเงินใหม่ดังนี้
จากกรณี Unity ยอมถอยหลังนักพัฒนาเกมประท้วงโมเดลการคิดเงินแบบใหม่ แม้ตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดของแผนการใหม่ประกาศออกมา แต่ Jason Schreier นักข่าวสายเกมของ Bloomberg ก็อ้างแหล่งข่าวภายในบริษัทว่า โอกาสยกเลิกแผนคิดเงินทั้งหมด ถอยกลับไปแบบเดิมนั้นแทบเป็นไปไม่ได้
แนวทางใหม่ของ Unity จะยังคิดเงินตามจำนวนการติดตั้งเกมเหมือนเดิม แต่ปรับวิธีการนับจำนวนจากระบบการนับของ Unity เอง (ที่ไม่มีใครรู้ว่าเป็นอย่างไร) มาเป็นให้นักพัฒนาเกมรายงานตัวเลขเอง (self-report), ไม่นับตัวเลขย้อนหลังในอดีต และจำกัดเพดานเงินที่ต้องจ่ายให้ Unity ที่ 4% ของรายได้เกม (เฉพาะเกมที่มีรายได้เกิน 1 ล้านดอลลาร์เท่านั้นด้วย)
หลังจาก Unity เปลี่ยนวิธีคิดเงินค่าเอนจินเกม จนโดนวิจารณ์อย่างหนัก ถึงขั้นโดนขู่ฆ่าจนต้องปิดสำนักงาน
ล่าสุด Unity ออกมาขอโทษผ่านทางโซเชียลแล้ว บอกว่าได้ยินเสียงวิจารณ์ของลูกค้า และเตรียมเปลี่ยนนโยบายที่ประกาศไปก่อนหน้านี้ โดยรายละเอียดจะแถลงในอีกไม่กี่วันข้างหน้า
บริษัท Unity Technologies Inc. ต้องปิดสำนักงานบางแห่งชั่วคราว หลังได้รับคำขู่ฆ่าจากผู้ที่ไม่พอใจ การเปลี่ยนแปลงไลเซนส์เอนจินเกมของบริษัท
ตัวแทนของ Unity ให้ข่าวว่าได้รับคำขู่ จึงต้องปิดสำนักงานก่อนเพื่อความปลอดภัยของพนักงาน ตามข่าวบอกว่าสำนักงานที่ปิดคือซานฟรานซิสโก และออสติน โดยข้อมูลจากหน้าสมัครงานของ Unity ระบุว่าบริษัทมีสำนักงานมากถึง 27 แห่งทั่วโลก ในทั้งอเมริกาเหนือ ยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ นิวซีแลนด์ โคลอมเบีย
Unity ประกาศวิธีการคิดเงินค่าใช้งานเอนจินเกมใหม่ เปลี่ยนมาคิดเงินตามจำนวนการติดตั้งเกม (installs) สร้างเสียงวิจารณ์จากนักพัฒนาเกมจำนวนมาก
ตัวเอนจิน Unity แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ Unity Editor ที่ใช้สร้างเกม และ Unity Runtime เป็นเอนจินที่ผนวกไปกับไฟล์ของเกม การเปลี่ยนแปลงนี้คือ Unity คิดเงินค่า Unity Runtime Fee ต่อเมื่อเกมเข้าเงื่อนไขครบ 2 ข้อคือ
Unity เริ่มเปิดให้นักพัฒนาเข้าใช้เครื่องมือพัฒนาแอพสำหรับ visionOS ระบบปฏิบัติการโลก 3D ของแอปเปิล ตามที่ประกาศไว้ในงาน WWDC23
การทดสอบยังไม่เปิดทั่วไป ต้องสมัครเข้าร่วมโครงการ Beta ของ Unity และได้รับการคัดเลือกก่อน
Unity ประกาศออกตัวรันไทม์ของเอนจินที่ทำงานบน Windows on Arm แบบเนทีฟ ตามที่ไมโครซอฟท์ประกาศไว้ในงาน Build 2023 เท่ากับว่าตอนนี้เกมหรือแอพต่างๆ ที่สร้างด้วย Unity จะสามารถรันบนอุปกรณ์ Windows ที่ใช้ชิป ARM64 ได้แบบเนทีฟ ได้ประสิทธิภาพเต็มรูปแบบ เพราะไม่ต้องผ่านอีมูเลเตอร์
ตอนนี้ Unity ยังรองรับ Windows on Arm เฉพาะตอนรันเท่านั้น ส่วนตอนสร้างและคอมไพล์บน Unity Editor ยังต้องใช้เครื่องที่เป็น x86 ซึ่ง Unity สัญญาว่ากำลังพัฒนาตัว Editor ให้รันบน Windows on Arm
ในงาน WWDC23 เมื่อคืน แอปเปิลให้รายละเอียดของแว่นตาผสมผสานโลกเสมือน Apple Vision Pro โดยบอกว่าทำงานด้วยระบบปฏิบัติการใหม่ visionOS ที่มีพื้นฐานมาจาก iOS มีส่วนติดต่อผู้ใช้งานเป็นแบบ 3D
อย่างไรก็ตามสิ่งท้าทายของแอปเปิลคือทำอย่างไรให้มีแอปมารันในแพลตฟอร์มใหม่มากพอ แบบที่เกิดขึ้นแล้วใน iOS, iPadOS แอปเปิลจึงประกาศความร่วมมือกับ Unity เพื่อนำเทคโนโลยีอย่าง PolySpatial มาช่วย เพื่อให้แอป 3D ที่พัฒนาบนพื้นฐานของ Unity อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นแอปใช้งานหรือเกม สามารถพอร์ตมารองรับให้ทำงานบน visionOS ได้ รวมถึงให้แอปอื่นมาปรับรูปแบบเป็น 3D ได้ง่ายขึ้นด้วย
Unity เตรียมปลดคนระลอกใหม่อีก 600 คน คิดเป็นราว 8% จากพนักงานทั้งหมด 7,000 คน โดยซีอีโอ John Riccitiello ให้สัมภาษณ์ว่าต้องการลดขนาดของบริษัทลง ให้ทำงานคล่องตัวกว่าเดิม รวมถึงมีแผนจะลดจำนวนสำนักงานลงจาก 58 แห่งทั่วโลก เหลือประมาณ 30 แห่ง
ก่อนหน้านี้ Unity เคยปลดคนมาแล้ว 2 รอบ คือ เดือนมิถุนายน 2022 ราว 200 คน และเดือนมกราคม 2023 อีกราว 300 คน
บริษัทเอนจินเกม Unity เสร็จสิ้นการควบรวมกับบริษัทโฆษณามือถือ ironSource จากอิสราเอล ตามที่ประกาศไว้เมื่อเดือนกรกฎาคม 2022
เป้าหมายของดีลนี้คือการสร้างแพลตฟอร์มเกมมือถือแบบครบวงจร ตั้งแต่การสร้าง (build), เผยแพร่ (publishing) และทำเงินจากการโฆษณา ก่อนหน้านี้ Unity มีแพลตฟอร์ม Unity Ads สำหรับโฆษณาอยู่แล้ว แต่การได้แพลตฟอร์มของ ironSource มาร่วมด้วยก็ช่วยให้การหารายได้แข็งแกร่งมากขึ้น
ก่อนหน้านี้เคยมีแพลตฟอร์มโฆษณาอีกรายคือ AppLovin สนใจมาควบรวมกับ Unity ด้วยเช่นกัน แต่สุดท้าย Unity ปฏิเสธและเลือกไปแต่งงานกับ ironSource
เอนจินเกมชื่อดัง Unity ประกาศรองรับ Windows on Arm ที่ไมโครซอฟท์กำลังผลักดันเต็มที่ ด้วยการประกาศว่าจะนำเอนจิน Unity มารันแบบเนทีฟบน Windows on Arm ด้วย แต่ยังไม่ระบุช่วงเวลาว่าจะเห็นกันเมื่อไร
ประกาศของ Unity มาพร้อมกับการวางขาย Windows Dev Kit 2023 ฮาร์ดแวร์ของไมโครซอฟท์สำหรับพัฒนา Windows on Arm ซึ่งเป็นสัญญาณว่าไมโครซอฟท์เริ่มเอาจริงแล้ว (สักที)
การได้เอนจินเกมดังอย่าง Unity เพิ่มเข้ามา ก็น่าจะช่วยให้ ecosystem ของ Windows on Arm เข้มแข็งมากขึ้น ก่อนหน้านี้มี Spotify ที่ออกแอพเวอร์ชัน Arm มาให้แล้ว
พัฒนาการล่าสุดของศึกแย่งชิง Unity โดยบอร์ดของ Unity ปฏิเสธข้อเสนอการควบรวมกิจการกับบริษัทโฆษณา AppLovin มูลค่า 17.5 พันล้านดอลลาร์
เราอาจรู้จัก Unity ในฐานะเอนจินเกม แต่รายได้ของ Unity มีทั้งจากไลเซนส์เอนจินเกม (ภาษาภายในเรียก Create) และจากบริการสำหรับนักพัฒนาเกม เช่น เซิร์ฟเวอร์ โฆษณา (Operate) ซึ่งปัจจุบันสัดส่วนรายได้พอๆ กันแล้ว
Unity พยายามแก้ปัญหาเรื่องรายได้น้อยกว่าที่ควร โดยจะควบรวมกับ ironSource บริษัทโฆษณาออนไลน์จากอิสราเอล หลังการควบรวม Unity จะถือหุ้น 73.5% ของบริษัทใหม่
AppLovin บริษัทแพลตฟอร์มโฆษณาบนมือถือและเกม ประกาศยื่นข้อเสนอขอควบรวมกิจการกับ Unity ผู้พัฒนาเอนจินเกมชื่อดัง โดยเสนอแลกหุ้นเดิมของ Unity เป็นหุ้นของ AppLovin คิดเป็นมูลค่าหุ้นที่เสนอรวม 17,540 ล้านดอลลาร์
หากดีลควบรวมนี้เสร็จสิ้นผู้ถือหุ้น Unity เดิม จะมีหุ้นในบริษัทควบรวมใหม่ที่ 55% ของหุ้นทั้งหมด และมีอำนาจการโหวตรวม 49% เนื่องจากมีหุ้นหลายคลาส
Adam Foroughi ซีอีโอ AppLovin มองว่าการควบรวมกิจการนี้ จะเสริมจุดแข็งทางธุรกิจร่วมกัน และทำให้บริษัทเติบโตได้มากขึ้น เป็นประโยชน์กับผู้ถือหุ้นทั้งสองฝ่าย โดย AppLovin เชี่ยวชาญด้านการตลาดแอปมือถือ และมีโซลูชันต่อยอด ส่วน Unity ก็มีเครื่องมือทรงพลังสำหรับผู้สร้างสรรค์เนื้อหา
Unity ประกาศเซ็นสัญญากับ Microsoft Azure เป็นพาร์ทเนอร์ด้านคลาวด์ เพื่อขยายโครงสร้างพื้นฐานของตัวเอง และนำซอฟต์แวร์ต่างๆ ในเครือที่มีเป็นจำนวนมาก (จากการซื้อกิจการรัวๆ ในรอบหลายปีที่ผ่านมา) มารันบนคลาวด์ให้มากขึ้น
Unity บอกว่าที่ผ่านมาเครื่องมือฝั่งเอนจิน 3D ออกแบบมาเพื่อรันในเครื่อง local เป็นหลัก ซึ่งมีข้อจำกัดด้านทรัพยากรมากกว่าการรันบนคลาวด์ ในภาพรวมบริษัทจึงต้องการขยายบริการไปอยู่บนคลาวด์มากขึ้น
ตัวอย่างบริการในเครือที่จะใช้ประโยชน์จาก Azure ได้แก่
Unity บริษัทเอนจินเกมชื่อดัง ประกาศควบกิจการกับ ironSource แพลตฟอร์มการหารายได้ผ่านโฆษณาของแอพมือถือ โดยใช้วิธีแลกหุ้นทั้งหมด
ironSource เป็นบริษัทจากอิสราเอล แต่ขายหุ้นอยู่ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก บริการของ ironSource มีสำหรับบริษัทผู้พัฒนาแอพมือถือ ที่ต้องการระบบวิเคราะห์การใช้งาน เพิ่มจำนวนผู้ใช้เข้าแอพ และหารายได้ (monetization) ผ่านการโฆษณา โดย ironSource เป็นทั้งเครือข่ายโฆษณา (ad network) เองและดึงโฆษณาจากเครือข่ายอื่นๆ มาแสดงผลในแอพด้วย
ดีลนี้ใช้วิธีควบรวมและแลกหุ้น โดยผู้ถือหุ้น Unity จะมีสัดส่วนหุ้น 73.5% ในบริษัทใหม่ ส่วน ironSource ถือ 26.5% บริษัทคาดว่ากระบวนการควบรวมจะเสร็จสิ้นในไตรมาส 4 ของปีนี้
บริษัท Unity เจ้าของเอนจินเกมยอดนิยม อาจเป็นบริษัทเทคโนโลยีรายล่าสุดที่ต้องปลดคน โดย Kotaku อ้างแหล่งข่าวในแวดวงหลายราย ระบุว่า Unity ปลดพนักงานออก "หลายร้อยคน" (hundreds) (ตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการคือ 300-400 คน แต่ยังไม่เสร็จสิ้นกระบวนการปลดคน แปลว่าอาจมีเพิ่มอีก)
สถิติจำนวนพนักงานของ Unity ที่เคยรายงานเมื่อกลางปี 2020 ตอนที่เข้าขายหุ้น IPO ในตลาดหลักทรัพย์คือ 3,300 คน แต่ถ้าประเมินจากจำนวนพนักงานบน LinkedIn/Glassdoor ตอนนี้น่าจะอยู่ราว 5,000 คน
ผู้ที่เขียนเกมด้วยเอนจิน Unity คงทราบกันดีว่าต้องใช้ภาษา C# เนื่องจากรากเหง้าของ Unity เริ่มมาจาก .NET (จะให้เจาะจงคือ Mono ที่เป็น .NET เวอร์ชันโอเพนซอร์ส) อย่างไรก็ตาม แนวทางของ Unity คือการปรับแต่งคอมไพเลอร์ รันไทม์ และภาษา C# ในแบบของตัวเอง ที่แตกต่างจาก C#/.NET ของไมโครซอฟท์
ปัญหาของเรื่องนี้คือ ชุดเครื่องมือ แพ็กเกจ และไลบรารีต่างๆ ของโลก .NET จึงไม่สามารถทำงานร่วมกับ Unity ได้ดีเท่าที่ควร บวกกับภาษา C# เวอร์ชันใหม่ๆ ก็ต้องรอให้ Unity ตามซัพพอร์ต ซึ่งต้องใช้เวลานาน
ล่าสุด Unity ประกาศทิศทางว่าจะมุ่งหน้าเข้าสู่โลก .NET กระแสหลัก แทนการเลือกคัสตอมเทคโนโลยีเอง โดยประกาศชัดว่าอยากเลิกใช้รันไทม์ Mono .NET เปลี่ยนมาเป็น CoreCLR ของ .NET เวอร์ชันหลักในปัจจุบัน (.NET Core)
ตลาดคลาวด์สำหรับให้บริการเกม เป็นอีกตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว และมีบริษัทเข้ามาสู่ตลาดนี้กันเรื่อยๆ ทั้งฝั่งผู้ให้บริการคลาวด์ยักษ์ใหญ่ (AWS, Azure, Google) และฝั่งบริษัทสายพัฒนาเกม
สัปดาห์นี้ Unity ในฐานะเจ้าของเอนจินเกมชื่อดัง ก็ประกาศว่า Unity Gaming Services (UGS) จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในเดือนมิถุนายน 2022 หลังทดสอบ Beta มาสักพักใหญ่ๆ
Unity Gaming Services (UGS) เป็นชุดเครื่องมือและบริการออนไลน์สำหรับบริษัทผู้พัฒนาเกม ตัวอย่างคือ Analytics, Authentication, Cloud Save, Economy, Relay (เกมเซิร์ฟเวอร์แบบ P2P), Lobby, Vivox (แชทระหว่างผู้เล่นในเกม), Matchmaking เป็นต้น วิธีการใช้งานเป็นแบบ pay per use คิดตามปริมาณเหมือนบริการคลาวด์ทั่วไป
Unity ประกาศซื้อกิจการ Ziva Dynamics บริษัทผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาซอฟต์แวร์ สำหรับสร้างคาแรกเตอร์ดิจิทัลแบบเสมือนจริง โดย Unity มีแผนนำเทคโนโลยีของ Ziva มาให้นักพัฒนาใช้งานเพิ่มเติม
ทั้งนี้ดีลซื้อกิจการดังกล่าวไม่ได้เปิดเผยมูลค่าออกมา
ซอฟต์แวร์ของ Ziva ถูกนำมาใช้สร้างตัวละครในเกมอาทิ Hellblade: Senua’s Sacrifice หรือ Spider-Man: Miles Morales รวมทั้งใช้ในภาพยนตร์-ซีรี่ส์อย่าง Game of Thrones กับ Godzilla vs. Kong
James Jacobs ซีอีโอ Ziva เผยว่าการเข้าร่วมกับ Unity ทำให้ความฝันของบริษัท ที่ต้องการทำให้เครื่องมือนี้เข้าถึงผู้ใช้งานที่กว้างมากขึ้นเป็นจริง
Unity ประกาศซื้อกิจการ Weta Digital บริษัทวิชวลเอฟเฟคต์สัญชาตินิวซีแลนด์ ที่ก่อตั้งโดย Peter Jackson ผู้กำกับภาพยนตร์ The Lord of the Rings ในราคา 1.625 พันล้านดอลลาร์
Weta Digital ก่อตั้งเมื่อปี 1993 มีผลงานทำวิชวลเอฟเฟคต์ (VFX) ให้กับภาพยนตร์ของ Peter Jackson ทุกเรื่อง เช่น The Lord of the Rings, King Kong, The Hobbit แต่ก็รับงานเอฟเฟคต์ให้ภาพยนตร์ค่ายอื่นๆ ด้วย เช่น The Avengers, Justice League, Planet of the Apes, The Hunger Games
Unity เผยผลสำรวจพฤติกรรม toxic หรือพฤติกรรมแย่ๆ ในเกมออนไลน์ ของชาวอเมริกันอายุ 18 ปีขึ้นไปจำนวน 2,076 คน ในกลุ่มนี้เป็นคนที่เคยเล่นเกมออนไลน์ภายใน 1 ปีที่ผ่านมา 1,167 คน พบว่าเกมเมอร์ถึง 72% เคยพบเห็นพฤติกรรมแย่ๆ ในเกมออนไลน์ และ 68% ระบุว่าเคยเป็นเหยื่อของพฤติกรรมแย่ๆ เหล่านี้
ประเภทของพฤติกรรมแย่ๆ ที่พบมากสุด คือการใช้คำพูดแสดงความเกลียดชัง, การทำพฤติกรรมแย่ๆ ในเกมเช่นขโมยของ ป่วนทีมตัวเอง และพฤติกรรมโกงเกม โดยมีผู้เล่นราว 22% ระบุว่าพบพฤติกรรมแย่ๆ เหล่านี้ บ่อยครั้ง หรือแทบทุกครั้งที่เล่นเกม
Unity ยังเดินหน้าซื้อกิจการอย่างต่อเนื่อง หลังซื้อซอฟต์แวร์สร้างต้นไม้ SpeedTree และรีโมทเดสก์ท็อป Parsec ล่าสุดประกาศซื้อ OTO บริษัทวิเคราะห์เสียงคุยแชทด้วย AI เพื่อแก้ปัญหาการกลั่นแกล้ง ดูถูกเหยียดหยามในหมู่เกมเมอร์